การใช้ภาษาไทย..ยังไงกันแน่

เสวนาภาษาไทย

Re: การใช้ภาษาไทย..ยังไงกันแน่

โพสต์โดย admin » พฤหัสฯ. 31 ต.ค. 2019 8:01 pm

ความต่าง “เผยแผ่” กับ “เผยแพร่”

ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เอกสารที่ออกมาจากหน่วยงานเหล่านี้มักจะใช้คำว่า “เผยแผ่” มากกว่า “เผยแพร่” มีเหตุผลอะไรซ่อนอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่คำทั้งสองนี้ดูเหมือนจะคล้ายหรือเหมือนกัน และสามารถใช้แทนกันได้

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า

เผยแผ่ ก. ทำให้ขยายออกไป ขยายออกไป เช่น เผยแผ่พระศาสนา.

เผยแพร่ ก. โฆษณาให้แพร่หลาย เช่น เผยแพร่ความรู้.

คำอธิบายต่อไปนี้เป็นความต่างระหว่าง “เผยแผ่” กับ “เผยแพร่” ที่คาดว่าทำให้ท่านผู้อ่านกระจ่างแจ้งขึ้น สามารถแยกความต่างได้

เผยแผ่ เป็นการทำให้ขยายออกไปโดยไม่ทิ้งหลักเดิม ของเดิมเป็นอย่างไรก็ขยายออกไปตามนั้นทุกประการ เช่นแผ่เสื่อ แผ่สาด ท่านผู้อ่านที่เคยแผ่เสื่อ ลองนึกภาพดู เมื่อแผ่เสื่อออกไป เสื่อผืนนั้นก็ขยายกว้างออกไป และที่ขยายออกไปก็เป็นเสื่อผืนนั้นนั่นเอง

เผยแพร่ เป็นการทำให้ขยายออกไปเหมือนกัน แต่ต้องทิ้งของเดิมไป ตัดขาดจากของเดิมไป เช่น การแพร่ของเชื้อโรค เชื้อโรคที่แพร่จากสถานที่แห่งหนึ่งไปอีกที่หนึ่งเป็นเชื้อโรคคนละตัวกัน ไม่ใช่เชื้อโรคตัวเดียวกัน

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจึงมักใช้คำว่า เผยแผ่ กล่าวคือ พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนมาอย่างไร ผู้ที่นำไปเผยแผ่ก็นำคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้นไปเผยแผ่ให้ขยายออกไป โดยไม่ทั้งหลักตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้ ไม่นำความคิดหรือความเห็นของตนเองสอดแทรกเข้าไปด้วย

เว็บเซต์ราชบัณฑิตยสถาน
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: การใช้ภาษาไทย..ยังไงกันแน่

โพสต์โดย admin » พฤหัสฯ. 31 ต.ค. 2019 8:03 pm

คำที่มักเขียนผิด
20190913_144418_resize.jpg
20190913_144418_resize.jpg (70.04 KiB) เปิดดู 19075 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: การใช้ภาษาไทย..ยังไงกันแน่

โพสต์โดย admin » พฤหัสฯ. 31 ต.ค. 2019 8:05 pm

20190913_144501_resize.jpg
20190913_144501_resize.jpg (57.85 KiB) เปิดดู 9431 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: การใช้ภาษาไทย..ยังไงกันแน่

โพสต์โดย admin » พฤหัสฯ. 31 ต.ค. 2019 8:06 pm

20190913_144517_resize.jpg
20190913_144517_resize.jpg (64.49 KiB) เปิดดู 9431 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: การใช้ภาษาไทย..ยังไงกันแน่

โพสต์โดย admin » พฤหัสฯ. 31 ต.ค. 2019 8:06 pm

20190913_144538_resize.jpg
20190913_144538_resize.jpg (65.42 KiB) เปิดดู 9431 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: การใช้ภาษาไทย..ยังไงกันแน่

โพสต์โดย admin » ศุกร์ 01 พ.ย. 2019 10:15 am

คำที่มักเขียนผิด
17766_resize.jpg
17766_resize.jpg (104.75 KiB) เปิดดู 9430 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: การใช้ภาษาไทย..ยังไงกันแน่

โพสต์โดย admin » ศุกร์ 01 พ.ย. 2019 10:16 am

คำที่มักเขียนผิด
17767_resize.jpg
17767_resize.jpg (58.29 KiB) เปิดดู 9430 ครั้ง


#อ่านก่อนเชื่อตามภาพ
แซว ให้เขียนไม่มีไม้ไต่คู้ ที่ปรากฏคำว่า แซ็ว ในพจนานุกรมราชบัณฑิตเล่มล่าสุด เป็นเพราะ "พิมพ์ผิด" แซวคือคำที่ถูก
17768_resize.jpg
17768_resize.jpg (58.72 KiB) เปิดดู 9430 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: การใช้ภาษาไทย..ยังไงกันแน่

โพสต์โดย admin » พุธ 27 พ.ย. 2019 6:08 am

ระแทะ หมายถึง เกวียนขนาดเล็ก มีทั้งชนิดโถงและชนิดมีประทุน
65447.jpg
65447.jpg (62.91 KiB) เปิดดู 9348 ครั้ง


คำนี้มักพบในวรรณคดี เช่นในบทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ตอนสังคามาระตาแต่งถ้ำ มีบทกลอนว่าดังนี้

“ที่แต่งถ้ำก็ทำไม่หยุดพัก ฉลุฉลักลายเลิศเฉิดฉัน
ที่ปลูกต้นไม้ในสวนนั้น เกณฑ์กันรดน้ำวุ่นวายไป
ที่ต้นไหนตายก็ให้ผลัด เร่งรัดกันมาหาปลูกใหม่
ทำทั้งระแทะทองอำไพ ไว้ในสวนเสร็จดังบัญชา”

คำว่า ระแทะ มาจากภาษาเขมรว่า รเทะ (อ่าน รอ-เต๊ะฮฺ) แปลว่า เกวียน รถ คำนี้ภาษาเขมรยืมมาจากภาษาบาลีและสันสกฤตว่า รถ (อ่าน ระ- ถะ) แปลว่า สิ่งที่เคลื่อนไป หมายถึง ยานพาหนะมีล้อ ได้แก่ เกวียน รถ รถศึก

ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง สนทนากับคนภาษาไทย

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 145 ท่าน

cron