เที่ยวอำเภอพร้าว เชียงใหม่ ที่พัก อาหาร สถานที่น่าสนใจ

เสวนาภาษาไทย

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 24 ส.ค. 2019 1:22 pm

พระธาตุยองผา
พระธาตุยองผาประดิษฐานตั้งอยู่บนหน้าผาบนดอยสูง หมู่บ้านป่าฮิ้น หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอพร้าว เส้นทางจากอำเภอไปตามถนนพร้าว – ปิงโค้ง ประมาณ ๔ กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามกับสำนักสงฆ์ป่าดอยเจดีย์เบี้ย การไปนมัสการพระธาตุยองผานั้นต้องเดินขึ้นบันไดร้อยกว่าขั้นจึงจะถึงตัวพระธาตุ เนื่องจากพระธาตุตั้งอยู่บนหน้าผาสูง บรรยากาศเงียบสงบ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ

ยองผา1.jpg
ยองผา1.jpg (154.36 KiB) เปิดดู 45190 ครั้ง

(ภาพ:จำนงค์ แก้วดี)

พระธาตุตั้งอยู่บนหน้าผา
ยองผา2.jpg
ยองผา2.jpg (163.53 KiB) เปิดดู 45190 ครั้ง


บันไดทางขึ้นพระธาตุ
ยองผา3.jpg
ยองผา3.jpg (143.41 KiB) เปิดดู 45190 ครั้ง

(ภาพ:Dannipparn)
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 24 ส.ค. 2019 1:49 pm

โครงการอ่างเก็บน้ำแม่โก๋น
โครงการอ่างเก็บน้ำในพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สถานที่ตั้ง บ้านเหล่า ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ภาพมุมสูงของอ่างเก็บน้ำแม่โก๋น เขียวชอุ่ม งดงาม
อ่างแม่โก๋น1_resize.jpg
อ่างแม่โก๋น1_resize.jpg (73.58 KiB) เปิดดู 45190 ครั้ง


ทางเดินบนสันอ่างทอดยาวสุดลูกหูลูกตา
อ่างแม่โก๋น2_resize.jpg
อ่างแม่โก๋น2_resize.jpg (77.53 KiB) เปิดดู 45190 ครั้ง


ผืนน้ำสีฟ้าครามดูสงบ เยือกเย็น
แม่โก๋น3_resize.jpg
แม่โก๋น3_resize.jpg (71.12 KiB) เปิดดู 45190 ครั้ง

ขอบคุณภาพจาก : Guy Marigold
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 24 ส.ค. 2019 2:22 pm

วัดพระธาตุดอยนางแล อำเภอพร้าว
พระศรีมหาธาตุพระพักตร์ (พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี) ตั้งอยู่บนดอยนางแล บ้านสันปง หมู่ที่ ๕ ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ดอยนี้มีข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ จึงเรียกชื่อว่าดอยนางแล เดิมชื่อว่า พระศรีมหาธาตุพระพักตร์ เพราะพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระพักตร์ ของพระพุทธเจ้า ต่อมานานมาก พระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้ ชำรุดทรุดโทรม หักพัง ชาวพุทธจึงร่วมกันซ่อมแซมเพิ่มเติม ทำกันใหม่ โดยไม่ทราบความเป็นมาแต่เดิม จึงเรียกชื่อใหม่ว่า พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี เพราะปรียอดพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้ ทำด้วยหินแก้วมณี

ดอยนางแล_resize.jpg
ดอยนางแล_resize.jpg (123.37 KiB) เปิดดู 44774 ครั้ง


พระศรีมหาธาตุพระพักตร์ พระโกศาจารย์ปั่น พระนางศรีไส พระบิดามารดา เจ้าเมืองเวียงคำ กับพ่อขุนเพ็ง พระนางชายา พระบิดามารดาเจ้าเมืองเชียงอิน (เชียงใหม่) เป็นผู้สร้าง ซึ่งได้พระบรมสารีริกธาตุพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า มาจากเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ.๑๗๑๔

เจ้าแม่กวนอิม_resize.jpg
เจ้าแม่กวนอิม_resize.jpg (93.55 KiB) เปิดดู 44774 ครั้ง


หลวงปู่ประกายแก้ว บรรลุธรรมขั้น๒ สกิทาคามี เป็นผู้จัดการก่อสร้างดูแลมาตลอด เดิมหลวงปู่ประกายแก้วเคยเป็นอำมาตย์ของเมืองเวียงคำมาก่อน วัดกับพระศรีมหาธาตุพระพักตร์สร้างพร้อมกัน เมื่อวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒๘ เดือน เมษายน พ.ศ.๑๗๓๖ ในพื้นที่ ๒ ไร่ พระบรมธาตุเจดีย์ กว้าง ๔ วา ยาว ๔ วา สูง ๕ วา สร้างด้วยหินแก้วทั้งองค์ สร้างศาลาอาศรม ๕ หลัง รอบพระบรมธาตุเจดีย์ ๔ ทิศ ๔ หลัง

สำหรับชาวพุทธพักอาศัยเมื่อไปนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ หน้าพระบรมธาตุเจดีย์ 1 หลัง สำหรับตั้งเครื่องสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ต่อมาเป็นเวลานาน ศาลาอาศรม พระบรมธาตุเจดีย์หินแก้วชำรุด ทรุดโทรม หักพัง ชาวพุทธจึงร่วมกันสร้างขึ้นมาใหม่ลักษณะรูปทรงจึงเปลี่ยนไปจากเดิม

พระบรมสารีริกธาตุพระพักตร์ มีลักษณะกลมแบนสีขาว ขนาดเท่าลูกหมาก อยู่ในกลักทองเหลือง กว้าง ๑ เตรียก ยาว ๑ คืบ บรรจุอยู่ในส่วนบนของพระบรมธาตุเจดีย์ ชั้นล่างลงมาบรรจุดอกไม้ ธูปเทียน ทองแดง เครื่องอัฐบริขารทองคำที่สร้างพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้ เดิมตรงนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองเชียงอิน (เชียงใหม่) จึงไม่ต้องทำภาพยนตร์ ไว้ดูแลรักษาพระบรมธาตุเจดีย์สิ่งอัศจรรย์ของพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้คือ จะมีอากาศสีแดงเข้มอยู่ รอบ ๆ พระบรมธาตุเจดีย์อยู่ตลอด

นางแล 1_resize.jpg
นางแล 1_resize.jpg (93.8 KiB) เปิดดู 44774 ครั้ง


ข้อมูลจาก ปากพนังทำนาย
ภาพ : D Man Khamlapit
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 24 ส.ค. 2019 2:40 pm

ตำนานดอยนางแลในอดีตกาล พุทธศตวรรษที่ ๑๗ แห่งอาณาจักรล้านนา
ดอยนางแลเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระเจ้าแสนคำลือ เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นที่เคารพนับถือของชุมชน ในท้องถิ่น มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคสมัยของพระเจ้าพรหมมหาราช ผู้กอบกู้ชาติบ้านเมืองกลับคืนจากขอมที่ยึดครองอาณาจักรน่านเจ้าของไทย (พ.ศ.๑๕๙๙) ต่อพระเจ้าพรหมราชได้สร้างเมืองให้พระราชโอรสไปปกครองชื่อเมือง เวียงหินนคร พระองค์ทรงปกครองไพร่ฟ้าด้วยหลักทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ประชาราษฎร์มีความจงรักภักดีเคารพบูชาประดุจเทพเจ้า

20190817_071400_resize.jpg
20190817_071400_resize.jpg (65.25 KiB) เปิดดู 44774 ครั้ง

(ดอยนางแลทอดยาวทางทิศตะวันตกของอำเภอพร้าว)

หลังจากพระเจ้าพรหมมหาราชได้เสด็จสวรรคต เวียงหินนครเมืองลูกหลวงตกอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าแสนคำลือ พระราชโอรสองค์ที่ ๗ (พระเจ้าพรหมมหาราชมีพระราชโอรส ๘ พระองค์ พระราชธิดา ๒ พระองค์) พระองค์ทรงปกครองประชาราษฎร์ด้วยหลักทศพิธราชธรรม เจริญรอยตามพระราชบิดา บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข และแล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็บังเกิดขึ้น คือดวงแก้วชะตาเมืองได้เกิดสูญหาย ค้นหาจนทั่วไม่พบที่ใดเลย พระเจ้าแสนคำลือทรงพิจารณาโทษของพระองค์ด้วยการสละราชสมบัติให้พระเจ้าแสนหวีผู้เป็นพระอนุชาน้องชายของพระองค์ปกครองสืบต่อไป

ส่วนพระองค์ได้เสด็จออกผนวชเป็นพระดาบส นุ่งขาวห่มขาว อยู่บนภูเขาด้านทิศตะวันตกของเวียงหินนคร ก่อนเสด็จออกผนวชพระนางเจ้าศรีสุชาดาพระราชชายาของพระองค์ ขอติดตามเสด็จออกผนวชด้วย พระเจ้าแสนคำลือไม่ทรงอนุญาต ได้ตรัสห้าม กลัวพระชายาจะไปทุกข์ลำบาก และกลัวชาวเมืองจะครหานินทาจะทำให้การบำเพ็ญพรหมจรรย์ของพระองค์มัวหมอง พระนางเจ้าศรีสุชาดาทรงห่วงใยในพระสวามีมาก จึงตัดสินพระทัยไปอธิษฐานบวชศีลจาริณี บำเพ็ญเนกขัมมะบารมี อยู่บนหอคอยกลางใจเมืองเวียงหินนคร บำเพ็ญพระราชกุศลเพื่อเสริมพระบารมีให้พระเจ้าแสนคำลือดาบสให้พ้นจากวิบากกรรม พระนางทรงบำเพ็ญบารมีขั้นสูงสุด ปรมัตถะบารมี ไม่เสวยพระกระยาหารติดต่อกันนานถึง ๑๒ วัน จนในที่สุดพระหทัยวายสิ้นพระชนม์บนหอคอย พระเนตรทั้ง ๒ ไม่หลับ ยังจ้องมองไปที่ภูเขาซึ่งพระสวามีของพระนางทรงบวชอยู่

เวลาต่อมาพระเจ้าแสนหวีได้ถวายพระเพลิงบรมศพของพระนาง ปรากฎว่าพระอัฐิของพระนางเจ้ากลายเป็นพระธาตุ ได้อัญเชิญขึ้นไปถวายพระเจ้าแสนคำลือดาบส พร้อมกับได้กล่าวเล่าเรื่องราวของพระนางเจ้าฯ ให้ฟัง พระเจ้าแสนคำลือดาบสซาบซึ้งในความจงรักภักดีของพระนาง จึงรับสั่งให้สร้างพระสถูปเจดีย์ขึ้นบนยอดเขา เพื่อบรรจุพระอัฐิธาตุของพระนางไว้เป็นอนุสรณ์ ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกพระนามสถูปเจดีย์องค์นี้ว่า “พระธาตุดอยนางแล” สถานที่ปฏิบัติธรรมของพระเจ้าแสนคำลือดาบสจึงเป็นสำนักปฏิบัติธรรมของพระธาตุดอยนางแล สืบมาจนถึงทุกวันนี้

ราวๆต้นฤดูฝนของทุกปีนั้นจะมีการจัดสรงน้ำพระธาตุ( ขึ้นธาตุ )ทุกปี เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล แก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ซึ่งในงานนั้นจะจัดให้ มีการสรงน้ำพระธาตุ การแข่งขันจุดบั้งไฟ และมหรสพต่างๆอีกมากมาย

มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า พญาแสนคำลือเป็นผู้สร้างวัดบนดอยนางแล และวัดพระธาตุกลางใจเมืองก่อนพญากือนากษัตริย์เชียงใหม่องค์ที่ ๖ สันนิษฐานว่าวัดคงจะกลายเป็นวัดร้างก่อนที่พญากือนาจะสร้าง เนื่องจากในอดีตวัดต่างๆจะสร้างด้วยไม้จึงผุพังได้ง่าย อีกทั้งไม่ได้ทำการจารึกไว้ คนทั่วไปจึงเข้าใจว่าผู้สร้างวัดพระธาตุกลางใจเมือง (สะดือเมือง) ครั้งแรก คือพญากือนา

ทั้งนี้วัดพระธาตุกลางใจเมืองถือเป็นใจบ้านใจเมืองของเมืองพร้าวมาแต่ครั้งอดีต จึงควรให้ความสำคัญให้อยู่เป็นศรีบ้านศรีเมืองสืบไป

อ้างอิง : เรื่องราวมุขปาฐะ,ข้อมูลจากกระทรวงวัฒนธรรม

เมื่อกล่าวถึงวัดพระธาตุดอยนางแลแล้ว หากไม่กล่าวถึงวัดสันปงก็คงจะเป็นบทความที่ไม่สมบูรณ์นัก เนื่องจากทั้งสองวัดมีความเชื่อมโยงกันในสมัยที่ อดีต "พระครูใบฎีกานิกร ธรรมวาที" ยังเป็นพระนักเทศน์ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย (ต่อมาต้องปาราชิกจนต้องสึกจากการเป็นพระ)อดีต "พระครูใบฎีกานิกร ธรรมวาที" ได้พัฒนาวัดสันปงและวัดพระธาตุดอยนางแลจนมีทัศนียภาพและสถาปัตยกรรมที่สวยงาม

พระเกศแก้วสันปง_resize.jpg
พระเกศแก้วสันปง_resize.jpg (186.07 KiB) เปิดดู 44774 ครั้ง

(พระธาตุเกตุเเก้วจุฬามณี วัดสันปง)

วัดสันปง ตั้งอยู่หมู่ ๕ ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดราษฎร์ มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.๒๔๒๓


พระเกศแก้ว วัดสันปง_resize.jpg
พระเกศแก้ว วัดสันปง_resize.jpg (109.17 KiB) เปิดดู 44774 ครั้ง


ภาพ : Peary Pie
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 24 ส.ค. 2019 3:07 pm

วัดพระธาตุกลางใจเมือง(สะดือเมือง)

0000-พระธาตุกลางใจเมือง อ.พร้าว จ (7)_resize.jpg
0000-พระธาตุกลางใจเมือง อ.พร้าว จ (7)_resize.jpg (96.21 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง


วัดพระธาตุกลางใจเมือง สร้างขึ้นในสมัย พระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ แล้วได้ทรงประทานนามว่า “วัดสะดือเมือง” อันหมายถึงจุดศูนย์กลางของเวียงพร้าววังหิน แล้วก็มีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด จนกระทั่งถึงพุทธศักราช ๒๑๐๑ ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า วัดพระธาตุสะดือเมืองก็ถูกปล่อยให้เป็นวัดร้างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นับเป็นเวลานานร่วม ๓๗๑ ปีทีเดียว

นานวันเข้าคนเดินผ่านไปผ่านมาก็จะมองเห็นองค์พระธาตุตระหง่านอยู่ จนมาถึงวันที่ ๒๔ ตุลาคม เดือนเกี๋ยงเหนือ ( เดือน ๑๑) แรม ๕ ค่ำ พ.ศ.๒๔๗๒ ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย แห่งสำนักบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ได้เดินทางมาพักที่ถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว คณะศรัทธาพี่น้องอำเภอพร้าวทราบข่าว ท่านครูบาเจ้ามาพักที่ถ้ำเชียงดาวก็ได้พากันไปนมัสการทำบุญร่วมกับท่านเป็นจำนวนมาก พ่ออุ้ยคำตัน จันทร์จรมานิตย์ ก็ได้อาราธนานิมนต์ท่านมาอำเภอพร้าวท่านก็รับนิมนต์ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ท่านก็ออกเดินทางจากถ้ำเชียงดาว สมัยนั้นทางเข้าสู่อำเภอพร้าวไม่มีทางรถยนต์ ท่านต้องย้อนล่องใต้สู่ทางเดินเข้าอำเภอแม่แตง ผ่านมาทางบ้านช่อแล อำเภอแม่แตง มาทางแม่วะ แม่จวน ห้วยหินฝน มานอนค้างที่วัดแม่แพง อำเภอพร้าว เพราะเดินทางโดยเท้าขึ้นเขาลงห้วย มาพักฉันอาหารเช้าที่วัดแม่แวนหลวง อำเภอพร้าว มาถึงวัดสันทรายเวลา ๑๗ นาฬิกาของวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๒ มาพักที่วัดสันทราย ๑ คืน ตอนกลางคืนท่านก็เข้าวิปัสสนา พอรุ่งเช้าท่านก็บอกแก่คณะศรัทธาที่มาทำบุญเป็นจำนวนมากพร้อมกันกับพ่ออุ้ยคำตัน จันทร์จรมานิตย์ ที่ปฏิบัติใกล้ชิดท่าน ว่า “อาตมาจะสร้างวัด วัดที่อาตมาจะสร้างนั้น ไม่ใช่วัดสันทราย เมื่อคืนนี้มีรุกขเทวดามาอาราธนาให้สร้างวัดที่สำคัญยิ่งมาแต่อดีต อยู่ห่างจากวัดนี้ไปทางทิศตะวันออก...”

เมื่อฉันอาหารเช้าเสร็จแล้ว ท่านก็ออกเดินทางนำหน้าคณะศรัทธามุ่งหน้ามาทางทิศตะวันออก พอมาถึงวัดร้าง ( วัดพระธาตุ ) ท่านก็บอกว่า วัดนี้ตรงกับที่รุกขเทวดามาบอก ท่านก็พาคณะศรัทธาค้นตามกองอิฐ ตามองค์พระธาตุซึ่งพังลงมาตามกาลเวลาอันนานแสนนาน ประมาณ ๒ ชั่วโมง ท่านก็ได้พบศิลาจารึก เป็นหินสีดำนิล ปรากฏว่ามีตัวหนังสือของภาคเหนือมีใจความว่า “วันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีชวด พ.ศ.๑๙๒๘ กือนาธรรมมิกราชา ( ผู้สร้าง ) วัดนี้ชื่อว่าสะดือเมือง “ พบของจำนวนมาก ท่านจึงมีผอบบรรจุพระธาตุ เทียนเงินเทียนทอง ส่วนหินสีดำนิลนั้นท่านครูบาว่าเป็นของมีค่ามาก บรรจุไว้ในองค์พระธาตุ ให้รักษาไว้กับวัดมีระฆังทองปนเงิน ๑ อัน สลักอักษรขอมโดยรอบ เสียงกังวานมาก ท่านสร้างพระธาตุ โบสถ์ พร้อมๆกันเป็นเวลาสองเดือนก็เสร็จบริบูรณ์แล้ว ก็ได้ถวายทานและตั้งชื่อใหม่ว่า วัดพระธาตุกลางใจเมือง วัดนี้เป็นวัดวิเวกเพราะอยู่ห่างจากหมู่บ้าน ๑ ถึง ๒ กิโลเมตร เมื่อท่านสร้างเสร็จแล้วก็เดินทางกลับไปวัดบ้านปางและได้สร้างวัดสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน อีกเป็นจำนวนมากเมื่อท่านมรณภาพไป ทางคณะกรรมการก็ได้แบ่งอัฐิดูกแขนเบื้องขวา มาบรรจุไว้ที่วัดพระธาตุกลางใจเมือง ให้เป็นที่สักการบูชาแก่ทุกๆ คน

พี่น้องชาวอำเภอพร้าว และอำเภอใกล้เคียงจะมาสรงน้ำพระธาตุ และอัฐิของครูบาเจ้าทุกเดือน ๙ เหนือ ( เดือน ๗ไทย) ขึ้น๑๕ ค่ำ เป็นประจำทุกปี เป็นประเพณีที่พี่น้องชาวอำเภอพร้าวจะลืมเสียไม่ได้ พอเดือน ๙ เหนือ มาถึง วันขึ้น ๑๔ ค่ำ จะมีการสมโภชน์ตลอดคืน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ จะมีการจุดบอกไฟเป็นพุทธบูชาตลอดวัน

+1_resize.jpg
+1_resize.jpg (85.86 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง


ประวัติย่อของไม้ศรีมหาโพธิ์ ๓ ต้นของ วัดพระธาตุกลางใจเมือง ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อสมัยพุทธกาลก่อนโน้น มีพระอรหันต์เจ้าชื่อโมคคัลลานะ ได้เดินทางเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้ามาสู่ล้านนาประเทศคือแคว้นล้านนาไทย ได้ผ่านมาอำเภอพร้าว มาทางทิศใต้ถึงบ้านโหล่งขอด สายบาตรของท่านทำท่าจะขาด จึงให้ท้าวมหายักษ์ไปขอด้ายจากชาวบ้านมาเย็บต่อสายบาตรของท่าน ปรากฏว่าไม่ได้ชาวบ้านบอกไม่มี ท่านจึงขอดสายบาตรของท่านที่นั่นจนปรากฏได้นามชื่อว่าขอดมาจนทุกวันนี้ ( ที่น่าอัศจรรย์ว่าชาวบ้านโหล่งขอดปลูกฝ้ายไม่มีดอกฝ้ายจนเท่าทุกวันนี้ ) ท่านได้เดินทางสู่ทิศเหนือ มาพักที่ถ้ำ ปัจจุบันนี้ตั้งอยู่เชิงเขาด้านทิศตะวันออกของตัวอำเภอปัจจุบันห่างประมาณ ๗ กิโลเมตร จนได้ชื่อว่าถ้ำโมคคัลลานะมาจนทุกวันนี้ และท่านได้ผ่านมาทางวัดพระธาตุ ท่านได้ใช้ท้าวมหายักษ์เอากิ่งไม้ศรีมหาโพธิ์ ซึ่งท้าวมหายักษ์ได้นำมาพร้อมกับท่าน ตัดออกเป็น ๓ ท่อน เอามาปลูกไว้เรียงไปทางทิศตะวันตก ๑ ๒ ๓ ตามลำดับจนปรากฏมาทุกวันนี้ ตามตำนานเมืองเหนือระบุว่าท่านได้เอาเสาอินทขิลมาฝังไว้ที่วัดพระธาตุ ท้าวมหายักษ์ก็เลยถวายดาบไว้ที่วัดพระธาตุด้วย ต่อจากนั้นท่านได้ไปสู่ดอยขุนโก๋น ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือตัวอำเภอพร้าวประมาณ ๘ กิโลเมตร ตำนานกล่าวมหายักษ์ได้กวนใจท่านจนท่านหนีมาอยู่ถ้ำดอกคำ ท้าวมหายักษ์ได้เอาดอกไม้คำมากับท่านที่ถ้ำจนได้ชื่อว่า ถ้ำดอกไม้คำ มาจนทุกวันนี้

ไม้ศรีมหาโพธิ์ต้นแรก ( ต้นที่ติดกับวัด ) เมื่อประมาณร้อยปีเศษ กลางคืนเกิดพายุฝนกระหน่ำลงมาอย่างหนักทำให้ต้นไม่ศรีต้นแรก ซึ่งมีกิ่งก้านสาขางามนั้นล้มคลืนลงมาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งเป็นหลุมหนองน้ำ ตามคำบอกของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน บอกว่าสมัยวัดพระธาตุสร้างอยู่นั้นพอถึงฤดูฝนน้ำจะขัง ปลาชุมมาก ชาวบ้านใกล้เคียงชอบเอาไซ ( เครื่องดักปลา ) ไปดักไว้ตามกิ่งไม้ศรีมหาโพธิ์ซึ่งล้มลงมานั้นเป็นประจำ อยู่มาอีก ๒ ปี มีคืนหนึ่งเกิดฝนตกหนัก แผ่นดินไหว ฟ้าร้องฟ้าผ่าตลอดคืน พอรุ่งเช้าชาวบ้านไปยกไซเอาปลา แต่ปรากฏว่าไม้ศรีมหาโพธิ์ได้ลุกขึ้นตั้งต้นดังเดิม โดยมีไซเครื่องมือดักปลาของชาวบ้านไปติดบนยอดไม้ศรีมหาโพธิ์หมด ชาวบ้านพากันแตกตื่นไปดู บางคนก็หาไม้ไปค้ำไว้สมัยนั้นบ้านที่อยู่ใกล้ที่สุดคือบ้านสันศรี มีพ่อต๊าวอาจ แม่แก้ว เป็นนายบ้าน ได้นำลูกบ้านไปแผ้วถางเอาไม้ค้ำ กลัวไม้ศรีมหาโพธิ์จะล้มลงมาอีก พ่อต๊าวอาจก็เลยเปลี่ยนชื่อบ้านสันศรีมาเป็นศรีค้ำ จนทุกวันนี้ พอไม้ศรีมหาโพธิ์ลุกขึ้นเองได้พอวันต่อมาเวลาบ่าย ตามคำบอกของผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุมากหลายคนในหมู่บ้านที่มีชีวิตอยู่ ท่านบอกว่าจะมีควันออกจากต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ สีขาวพุ่งพวยขึ้นสู่ท้องฟ้า เป็นลำยาวอยู่ถึง ๗ วัน ๗ คืน ในขณะนั้นจะมีประชากรทั้งใกล้และไกล ก็พากันเอาน้ำอบ น้ำหอมมาสะสรงกราบไหว้บูชาเป็นจำนวนมาก พอถึงสงกรานต์เมืองเหนือ จะมีชาวบ้านในอำเภอ ต่างอำเภอ ต่างจังหวัดมาเที่ยวอำเภอพร้าว จะมากราบไหว้บูชาเป็นประจำทุกปี

ภาพ : Google Sites พระเพลิน
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 24 ส.ค. 2019 3:24 pm

เข้าวัดทุ่งน้อย ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว เพื่อกราบครูบาอินสม สุมะโน

วัดทุ่งน้อย1_resize.jpg
วัดทุ่งน้อย1_resize.jpg (51.11 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง


ครูบาอินสม สุมโน แห่งวัดทุ่งน้อย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ครูบาอินสม สุมโน (พระครูสีลวุฒากร) พระอริยะสงฆ์ แห่งวัดทุ่งน้อย ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ศิษย์สาย ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย นักบุญแห่งล้านนาไทย

ครูบาอินสมนั้นเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือครูบาเจ้าศรีวิชัยในการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพจนสำเร็จลุล่วง ท่านผู้พร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกล เป็นผู้หนักแน่นมั่นคงในพระพุทธศาสนา ดำเนินตามปฏิปทาที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ยึดติดกับลาภยศใดๆทั้งสิ้น ตลอดจนสิ้นอายุขัยของท่าน ปฏิปทาประการสำคัญที่เด่นชัดยิ่ง คือ เมตตาธรรม ซึ่งท่านได้ช่วยสงเคราะห์ผู้อื่นที่มีความเดือดร้อน เมื่อมาขอความเมตตา ท่านก็ช่วยให้พ้นจากทุกข์ภัยได้มีความสุข โดยมิได้เลือกชั้นวรรณะ หมู่เหล่า ยากดีมีจนอย่างไรชีวิตของท่านจึงเป็นชีวิตที่ทรงคุณค่า เกิดมาเพื่อยังประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนทุกหมู่เหล่า ดั่งรังสีแห่งสังฆรัตนที่เปล่งประกายให้แสงสว่างแก่โลกมนุษย์ จึงนับว่าครูบาอินสมเป็นพระสุปฏิปันโนโดยแท้จริง

11181338_833121013432368_3460294693042536337_n.jpg
11181338_833121013432368_3460294693042536337_n.jpg (35.92 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง


ในหนังสือปฏิปทาของท่านครูบาอินสม สุมโน ที่คณะศิษย์พิมพ์ถวาย เมื่อปี พ.ศ ๒๕๒๘ ได้บอกเล่าถึงประวัติของท่านว่า

ครูบาอินสม สุมโน มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านป่าหวาย หมู่ ๗ ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเดิมนั้นบ้านป่าหวายขึ้นกับบ้านทุ่งน้อย หมู่ ๖ ตำบลบ้านโป่ง อาณาเขตติดต่อกันต่อมาทางราชการแยกบ้านป่าหวายไปขึ้นกับบ้านหนองไฮ หมู่ ๗ เพราะการไปมาลำบากต้องข้ามน้ำแม่งัด ละแวกดังกล่าวชาวบ้านส่วนใหญ่อพยพมาจากที่อื่น เช่น บ้านแม่เหียะ อำเภอหางดง บ้านแม่แรม บ้านแม่ริม และจากเมืองเชียงราย

ครูบาอินสม สุมโน เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ ๒๔๔๔ บุตรของนายแปง นางเที่ยง เปาะนาค ฝ่ายโยมบิดาเป็นคนบ้านงิ้วเฒ่า อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ส่วนโยมมารดาป็นคนบ้านหนองอาบช้าง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โยกย้ายมาอยู่ที่อำเภอพร้าว ครูบาอินสม มีพี่น้อง ๔ คน คือ ครูบาอินสม สุมโน นายตุ้ย เปาะนาค นายดวงแก้ว เปาะนาค และนางสาวหน้อย เปาะนาค

วัยเด็กครูบาอินสม มีหน้าที่เลี้ยงควายและเลี้ยงน้องดังเด็กชาวบ้านทั่วไป เมื่ออายุ ๑๒ ขวบได้มาอยู่วัดเป็นขะโยมวัดทุ่งน้อย จึงได้มีโอกาสเรียนหนังสือตัวเมืองล้านนา ได้ ๑ ปี เมื่อประมาณปี พ.ศ ๒๔๕๖ และแล้วอนิจจาโยมพ่อของท่านก็ได้เสียชีวิต ท่านจึงบวชจูงหัว(บวชหน้าไฟ)เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณบิดา ต่อมาก็ได้บวชบรรพชาจริง เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ ๒๔๕๖ โดยมีครูบาคำอ้ายสีธิวิชโย หรือชาวบ้านเรียกชื่อท่านว่า ครูบาสีธิ เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อเป็นเณรได้ ๗ พรรษา อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ ๗ เดือนมิถุนายน พ.ศ ๒๔๖๔ ณ ศาลากลางลำน้ำแม่งัด มีครูบาคำอ้าย สีธิวิชโย เป็นพระอุปัชฌาย์ ครูบาเมืองใจ๋ อินทจักโก เจ้าอาวาสวัดบ้านโป่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และครูบาอุต อุตตโม เจ้าอาวาสวัดป่าฮิ้น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ นับตั้งแต่นั้นมาท่านได้เล่าเรียนวิชาปฏิบัติธรรมวินัยกับครูบาคำอ้าย สีธิวิชโย วัดทุ่งน้อย(ชาวบ้านเรียกครูบาสีธิ) ครูบาคำจันทร์ วัดท่ามะเกี๋ยง ครูบาเมืองใจ๋ อินทจักโก วัดบ้านโป่ง ครูบาอุต อุตตโม วัดป่าฮิ้น และครูบาชนัญ ธนันชโย วัดป่าลัน จนมีความรู้แตกฉานสำเร็จวิชาทุกแขนง

“ท่านครูบาสีธิ นี้เป็นชาวอำเภอพร้าวโดยกำเนิด เป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงของอำเภอพร้าวในสมัยนั้น มีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวท่านมากมาย ท่านเป็นผู้อุดมด้านวิชาอาคม ทั้งความขลังและมหานิยม สามารถรู้ภาษานกภาษาหนูได้ อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐาน มีสมาธิที่แข็งกล้า เป็นที่เคารพนับถือของพุทธสาสนิกชนในอำเภอพร้าว โดยเฉพาะพระเถระในอำเภอและต่างอำเภอก็มาขอเรียนวิชากับท่าน”

“เมื่อครั้งที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย (ครูบาศีลธรรม) นักบุญแห่งล้านนาไทย ท่านมาบูรณะวัดพระธาตุกลางใจเมือง ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว ท่านได้มาพำนักและจำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุกลางเมือง ในวันอุโบสถศีล พระภิกษุสงฆ์ต้องเข้าอุโบสถทำพิธีกรรมทางศาสนา ครูบาสีธิซึ่งอยู่ในวัยชรามากแล้วก็ไปร่วมอุโบสถด้วย สมัยนั้นทางเดินระหว่างวัดทุ่งน้อยไปยังวัดพระธาตุกลางใจเมืองลำบากมาก ครูบาอินสมและลูกศิษย์วัดจึงได้ทำเสลี่ยงให้ท่านนั่งไป ครั้นข่าวคราวทราบถึงครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านก็รีบมาช่วยหามเสลี่ยงให้ครูบาสีธิไปยังอุโบสถวัดพระธาตุกลางใจเมือง และระหว่างทางท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยยังบอกกับ ครูบาอินสมและลูกศิษย์วัดคนอื่นๆด้วยว่า ท่านครูบาสีธิเป็นพี่ชายของท่านในชาติปางก่อน และมาพบกันในชาตินี้จึงมาแสดงความนับถือและยึดถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างตลอดมา”

“ครูบาอินสม สุมโน ได้ร่วมปฏิบัติธรรมกับครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย เมื่อครั้งที่ท่านได้มาบูรณะวัดพระธาตุกลางใจเมือง หลังจากช่วยครูบาเจ้าศรีวิชัยบูรณะวัดพระธาตุกลางใจเมืองเสร็จแล้ว ท่านก็ได้ติดตามไปร่วมสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ โดยได้พำนักที่วัดสวนดอก อำเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลาแรมปี”

การเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งน้อย ท่านครูบาอินสม สุมโน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ ๒๔๖๕ สืบจากครูบาสีธิ ท่านได้เริ่มพัฒนาหมู่บ้านและวัดให้เจริญรุ่งเรืองตลอดมา ครูบาอินสมได้ปฏิบัติธรรมวินัย เจริญรอยตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และครูบาอาจารย์ของท่านมาโดยตลอด

อนึ่งด้วยท่านมีวิชา ความรู้เรื่องยาสมุนไพรแผนโบราณดี ชาวบ้านสมัยนั้นจึงมาขอรับการรักษาจากท่านอยู่เสมอ สำหรับเรื่องพุทธาคมของท่านนั้นได้มีผู้เฒ่าท่านหนึ่งเล่าว่า มีวัวตัวหนึ่งที่เขาเลี้ยงไว้ดุร้ายมาก เวลาตอนใกล้ค่ำเขาจะต้องย้ายวัวเพื่อนำมาผูกในโรงเรือน เขาถูกวัวขวิดจนได้รับบาดเจ็บแทบเอาชีวิตไม่รอดมาถึง๓ ครั้ง จึงได้มาปรึกษาและขอรับยารักษาตัว พร้อมเล่าเหตุการณ์ให้ท่านครูบาฟัง ครูบาก็ให้ยาและเศษผ้าเหลืองมาผืนหนึ่ง ให้นำไปผูกกับปลายไม้เรียวเมื่อเข้าไปหาวัวหรือสัตว์ดุร้ายต่างๆ ผู้เฒ่าก็นำไปปฏิบัติตาม ผลคือวัวดุร้ายตัวนั้นถึงกับหมอบลงไป ไม่กล้าลุกขึ้นมาขวิดเหมือนก่อน และยอมให้จับจูงเชือกจูงเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ เรื่องนี้เป็นที่ทราบกันในท้องถิ่น ถึงกิตติศัพท์ความรอบรู้เชี่ยวชาญในสรรพวิชาต่างๆ ของท่านนั้นมีมากมาย ท่านเคยบอกกับศิษย์ของท่านอยู่เสมอว่า อย่าได้หลงอะไรมากนัก ที่ท่านให้วัตถุมงคลต่างๆไปก็เป็นเพียงการผูกใจและให้กำลังใจ เมื่อนำไปใช้ที่ถูกที่ควรก็ทำให้แคล้วคลาดจากอันตรายได้ แต่ก็ต้องเป็นไปตามกฎแห่งกรรม สิ่งเหล่านี้เมื่อมีแล้วก็ทำให้สุขใจอบอุ่นใจแก่ตนเองและครอบครัว

ครูบาอินสม สุมโน ได้เผยแผ่พระศาสนาอย่างหนึ่งด้วยการเทศนาธรรมแบบพื้นบ้าน ด้วยภาษาล้านนา และสอนการทำสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน ให้แก่คณะศิษยานุศิษย์ ตลอดจนศรัทธาสาธุชนทั่วไป ทั้งได้ทำการสอนหนังสือพื้นเมือง ภาษาล้านนาไทย แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้ที่สนใจ โดยไม่ปิดบังอำพลาง ผลที่ท่านได้สร้างคุณงามความดีไว้มาก ตั้งแต่เด็กจนถึงเฒ่าแก่ชรา ทั้งงานส่วนตัวและส่วนรวม เป็นที่ประจักแก่สายตาของชุมชนทั้งหลายมาโดยตลอด ส่งผลให้ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศ ชั้นโท เป็นพระครูสีลวุฒากร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๓๕ นำความปิติยินดีมายังศรัทธาสาธุชนเป็นอย่างยิ่ง แต่ท่านครูบาอินสม หาได้มีความปิติยินดีไม่ กลับบอกให้คณะศิษย์เอาไปส่งคืน เพราะกลัวจะเป็นความทุกข์ กว่าลูกศิษย์จะอธิบายให้ท่านเข้าใจต้องใช้เวลานานทีเดียว

ท่านครูบาอินสม สุมโน ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ ณ วัดทุ่งน้อย เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ ๒๕๔๐ เวลา ๑๓.๕๕ น.ด้วยโรคชรา สิริรวมอายุได้ ๙๖ ปี ๗๖ พรรษา และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดทุ่งน้อย เมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ ๒๕๔๒ ท่านได้จากพวกเราไปก็เพียงรูปกายเท่านั้น ส่วนนามธรรมชื่อเสียงคุณงามความดีของท่านยังไม่สูญสิ้นไป สิ่งที่พวกเราพึงกระทำเพื่อเป็นการบูชาพระคุณของท่าน ก็คือการนำเอาธรรมะ คำสั่งสอนของท่านมาประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง เป็นการน้อมนำรำลึกถึงท่านอย่างแท้จริง

อ้างอิง : หนังสือปฏิปทาของท่านครูบาอินสม สุมโน


กู่เวียงยิง บ้านทุ่งน้อย ตำบลบ้านโป่ง
ซากโบราณสถานกู่เวียงยิง จุดที่ขุนเครื่องพระโอรสพระองค์ใหม่ในพญามังรายต้องธนูสิ้นประชนม์

กู่เวียงยิง.jpg
กู่เวียงยิง.jpg (56.58 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง


พญามังราย มีทหารผู้ซื่อสัตย์ผู้หนึ่งชื่อว่า ขุนฟ้าเป็นชนเชื้อสาย ละว้า แต่มีความเฉลียวฉลาดและซื่อสัตย์มีความจงรักภักดีต่อพระองค์ยิ่งนักได้รับอาสาไปทำกลอุบายต่าง ๆ นานา ต่อพระยายีบา ผู้ครองเมืองหริภุญชัย เป็นเวลานานถึง ๗ ปี เช่นในฤดูร้อน แผ่นดินแห้งผากได้เกณฑ์ชาวบ้านชาวเมืองไปขุดเหมืองส่งน้ำ ชาวบ้านสอบถามก็บอกว่าเป็นคำสั่งของเจ้าเหนือหัว พอถึงฤดูฝนข้าวเต็มนาก็เกณฑ์ชาวบ้านชาวเมืองไปปลูกบ้านสร้างเมือง ชาวบ้านแบกไม้ หามเสาผ่านทุ่งนาอย่างทุลักทุเลทำให้ไร่นาเสียหายมาก ครั้นชาวบ้านชาวเมืองสอบถามก็ตอบอย่างเดิม จึงทำให้ไพร่ฟ้าประชาชนจงเกลียดจงชังท่านพระยายีบาเป็นที่ยิ่ง ในขณะที่ท่านพญามังรายได้ส่งขุนฟ้าไปเมืองหริภุญชัยแล้ว จึงรับสั่งให้ราชโอรสองค์ใหญ่ ทรงพระนามว่าขุนเครือง ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๓ พรรษาให้ไป ครองเมืองเชียงราย ส่วนพญามังรายครองราชย์สมบัติ ณ เมืองฝาง ฝ่ายขุนเครื่อง ราชโอรส เสด็จไปครองเมืองเชียงราย อยู่ไม่นานนักอำมาตย์ผู้หนึ่ง มีชื่อว่า ขุนใสเวียง ได้กราบทูลยุยงให้คิดกบฎต่อพระบิดา โดยให้ชิงเอาราชสมบัติ เมืองเชียงรายเสีย และให้จัดกำลังพลแข็งเมืองฝ่ายพญามังรายทรงทราบ จึง ปรารภว่าขุนเครืองผู้มีบุญน้อยจะมาคิดแย่งราชสมบัติกูผู้เป็นพ่อเช่นนี้ จักละไว้มิได้จึงมอบให้ขุนอ่องซึ่งเป็นทหารผู้ไว้วางพระราชหฤทัยผู้หนึ่ง ไปเชิญขุนเครื่องผู้โอรสให้มาเฝ้าที่เมืองฝาง ในขณะที่ราชโอรสเดินทางจากเมืองเชียงราย จะมาเฝ้า พระราชบิดาตามคำบอกเล่าของขุนอ่อง ท่านพญามังรายจึงมอบให้ทหารผู้แม่น ธนูได้ดักยิงที่กลางทางด้วยธนูอาบยาพิษ ทำให้ขุนเครืองสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง ณ ที่แห่งหนึ่งในเขตอำเภอพร้าว บริเวณนั้นพญามังรายได้เสด็จมาจัดการพระศพราชโอรสและทรงให้สถาปนา บริเวณ ที่ขุนเครืองถูกปลงพระชนม์นั้นเป็นอาราม เรียกว่า วัดเวียงยิง มีซากเจดีย์ร้างอยู่แห่งหนึ่งอยู่บนเนินเขาที่บ้านทุ่งน้อย ตำบล บ้านโป่งอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ชาวบ้านเรียกว่า วัดเชียงยิง หรือวัดกู่ยิง(วัดสันป่าเหียง) ครั้นแล้วก็โปรดให้อัญเชิญพระศพไปฌาปนกิจเสียที่เมืองเชียงรายและในวัดแห่งนี้ต่อมาเป็นวัดร้าง และมีพระพุทธรูปเก่าแก่ประดิษฐานอยู่ ๒ องค์ มีลักษณะสวยงามมาก ขณะนี้เก็บไว้ที่ วัดป่าลัน ตำบลบ้านโป่ง และที่วัดหนองอ้อตำบลเวียง เรียกว่า พระฝนแสนห่า
ที่มา หนังสือเวียงพร้าววังหิน
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 24 ส.ค. 2019 3:50 pm

พระธาตุ ดอยนะโม บ้านทุ่งบวกข้าว ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว
พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุดอยนะโม (น้ำมัว) ประดิษฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลวงปู่มั่นภูริทัตโต เคยมาพักบำเพ็ญสมณธรรมที่ดอยนะโม ซึ่งต่อมามีหลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่พร ได้มาพักอยู่วัดพระธาตุดอยนะโมแห่งนี้

77456_resize.jpg
77456_resize.jpg (96.7 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง


จุดที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่นั้น คือที่ปักกลดธุดงค์กัมมัฏฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ขณะที่ท่านมาพักบำเพ็ญสมณธรรมที่ดอยนะโม

วัดกลางเวียง ตั้งอยู่บ้านขามสุ่มเวียง ถนนเขื่อนเพชร หมู่ที่ ๒ ตำบลเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
อุโบสถวัดกลางเมือง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒
1352007481_resize.jpg
1352007481_resize.jpg (149.29 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง



ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพร้าว อยู่ในเขตวัดกลางเวียง อำเภอพร้าว
สร้างครั้งแรกราว พ.ศ.๒๔๑๔ เป็นเสาไม้ประดู่ ปลายเสาประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง
1352002902_resize.jpg
1352002902_resize.jpg (136.2 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง

(ภาพ : tuk-tuk@korat)

ประเพณีอิลทขีลบูชาเสาหลักเมืองพร้าว
เสาหลักเมืองพร้าว .jpg
เสาหลักเมืองพร้าว .jpg (84.57 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง


อ่านแผ่นพับ มนต์สเน่ห์เมืองพร้าว เทศบาลนครเวียงพร้าว http://www.wiangphrao.go.th/km/km01.pdf
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 24 ส.ค. 2019 4:38 pm

ร้านพร้าวพราว
พร้าวพราว_resize.jpg
พร้าวพราว_resize.jpg (56.75 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง

ร้านอาหารสไตล์น่ารัก อบอุ่น ที่ใช้วัตถุดิบจากพืชผลทางการเกษตรและอื่นๆที่ปลูกใน อ.พร้าว มาทำเมนูอาหาร ขนม เครื่องดื่ม เลขที่ ๒๖๐ บ้านหลวง หมู่ ๖ ต.โหล่งขอด อ.พร้าว โทร.๐๙๕-๖๗๕-๖๕๐๙
พร้าวพราว2.jpg
พร้าวพราว2.jpg (24.34 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง


ลานคูณวิวดอยพร้าวแอนด์รีสอร์ท จ.เชียงใหม่(ที่พักและอาหาร)
๙๔ หมู่.๕ ต.ทุ่งหลวง อ.พร้าว เชียงใหม่ โทร.โทร: ๐๕๓-๘๘๙-๘๑๖ , ๐๕๓-๔๗๔-๗๓๙,๐๘๑-๙๖๑-๖๗๐๒
ลานคูณ1_resize.jpg
ลานคูณ1_resize.jpg (62.39 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง
ไฟล์แนป
img-ครัวลานคูน_(1)_resize.jpg
img-ครัวลานคูน_(1)_resize.jpg (80.66 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 24 ส.ค. 2019 5:20 pm

เฮือนไฮ่ผ่อดาว ม้าเมือง
ที่ตั้ง ๗๓/๒ หมู่๕ ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
เฮือนไฮ่ผ่อดาว1.jpg
เฮือนไฮ่ผ่อดาว1.jpg (38.91 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง


เฮือนไฮ่ผ่อดาว2.jpg
เฮือนไฮ่ผ่อดาว2.jpg (21.27 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง


เป็นศูนย์อนุรักษ์ม้า และสัตว์ต่างๆ เป็นถานที่ท่องเที่ยวที่ให้บริการ ทั้งร้านอาหาร ที่พัก ให้อาหารสัตว์เลี้ยง และบริการขี่ม้า
มีทั้งสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถไปเที่ยวได้ตามสะดวก

เฮือนไฮ่ผ่อดาว3.jpg
เฮือนไฮ่ผ่อดาว3.jpg (20.94 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง


เฮือนไฮ่ผ่อดาว4.jpg
เฮือนไฮ่ผ่อดาว4.jpg (22.72 KiB) เปิดดู 44983 ครั้ง


ราคาห้องพัก : ๔๙๙/คืน ต่อ1หลัง สามารถนอนได้ ๒ ท่าน พร้อมอาหารเช้า ชา และกาแฟ

โทร : ๐๘๒ - ๑๙๐ - ๙๓๔๙

เวลาทำการ : ๐๙:๐๐ - ๑๐:๐๐ น. ทุกวัน
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 24 ส.ค. 2019 5:36 pm

อ้อมดอย รีสอร์ต - พร้าว
๑๔๔ หมู่ ๒ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โทร.๐๘๑-๙๒๕-๕๘๕๕
อ้อมดอย1.jpg
อ้อมดอย1.jpg (73.06 KiB) เปิดดู 44911 ครั้ง


บ้านพักริมน้ำ
อ้อมดอย2.jpg
อ้อมดอย2.jpg (109.63 KiB) เปิดดู 44911 ครั้ง


มุมสูงอ้อมดอยรีสอร์ต รื่นรมย์ สงบเงียบ เหมาะแก่การพาครอบครัวไปพักผ่อน
1974814_17013114260050677696_resize.jpg
1974814_17013114260050677696_resize.jpg (63.58 KiB) เปิดดู 44907 ครั้ง


ขาลุยสามารถกางเต๊นท์ได้สบายๆ
1974814_17013114260050677698_resize.jpg
1974814_17013114260050677698_resize.jpg (76.72 KiB) เปิดดู 44907 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 25 ส.ค. 2019 6:22 pm

วัดป่าอาจารย์มั่น (ภูริทัตโต) บ้านแม่กอย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

วัดป่า1_resize.jpg
วัดป่า1_resize.jpg (59.27 KiB) เปิดดู 46194 ครั้ง


ในอดีตพื้นที่วัดป่าอาจารย์มั่น ภูริทัตโต นี้ ส่วนหนึ่งเคยเป็นวัดในบวรพุทธศาสนามาก่อน ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นโดยชาวมอญ แต่จะเป็นในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทราบเพียงว่าวัดนี้ชาวบ้านเรียกกันต่อๆมาว่า “วัดป่าแดง” เนื่องด้วยแต่เดิมนั้นบริเวณนี้เต็มไปด้วยป่าไม้แดงเป็นจำนวนมาก ต่อมาวัดนี้ถูกทอดทิ้งอยู่กลางป่าจนกลายเป็นวัดร้าง มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมทั่วบริเวณ แต่ก็ยังมีร่องรอยซากปรักหักพังบางส่วนปรากฏให้เห็นอยู่ ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๒-๒๔๘๓ ขณะที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายสมถวิปัสสนากรรมฐาน ได้เที่ยวจาริกขึ้นมาในเขตจังหวัดต่างๆในภาคเหนือเพื่อบำเพ็ญสมณธรรมนั้น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตได้เคยมาปักกลดพักบำเพ็ญเพียร ณ บริเวณสถานที่วัดร้างป่าแดงแห่งนี้อยู่หลายครั้ง และยังได้อยู่จำพรรษาอีก ๑ พรรษา

กุฏิหลวงปู่มั่น_resize.jpg
กุฏิหลวงปู่มั่น_resize.jpg (124.03 KiB) เปิดดู 46194 ครั้ง


อนึ่งในช่วงที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ขึ้นมาพำนักบำเพ็ญเพียรสมณธรรม ณ บริเวณวัดร้างป่าแดงนั้น บรรดาพระภิกษุที่เป็นลูกศิษย์ของท่านจำนวนมาก อาทิเช่น พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี , พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร ม พระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ , พระอาจารย์พรหม จิรปุญโญ, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร,พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ , พระอาจารย์ขาว อนาลโย ฯลฯ ได้เคยมากราบนมัสการและรับฟังโอวาท จากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อยู่เสมอๆอีกด้วย

กาลเวลาผ่านไป ในราวประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๖ คณะศรัทธาในเขตอำเภอพร้าวจังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้เคยอุปปัฏฐากพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต สมัยที่ท่านได้มาบำเพ็ญเพียรสมณธรรม ณ บริเวณวัดร้างป่าแดงนี้ อาทิ นายสมัย ตวละ, นายผาย (ไม่ทราบนามสกุล), นายอุดม ปันต๊ะ ฯลฯ ได้ดำริร่วมกันที่จะพัฒนาวัดร้างป่าแดงนี้ให้กลับเป็นวัดที่มีภิกษุสงฆ์เข้าจำพรรษาได้อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์โบราณสถานแห่งนี้ให้คงอยู่ถาวร และอนุรักษ์สถานที่ที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้เคยมาดำนักบำเพ็ญเพียรสมณธรรมไว้เป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงท่านตลอดไป

มหาธาตุมณฑป_resize.jpg
มหาธาตุมณฑป_resize.jpg (74.83 KiB) เปิดดู 46194 ครั้ง


น่าเสียดายที่บริเวณวัดร้างป่าแดงที่เคยมีพื้นที่กว้างขวางนั้น ได้ถูกประชาชนบุกรุกเข้าไปจับจองถากถางป่าแปรสภาพเป็นเรือกสวนไร่นา รวมทั้งขอให้ราชการออกเอกสารสิทธิ์เข้าครอบครองทำกินหมดแล้ว ยังเหลือพื้นที่ที่ยังคงเป็นป่าที่มีซากปรักหักพังบริเวณที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เคยปักกลดพำนักบำเพ็ญเพียรสมณธรรม เนื้อที่เพียง ๑ ไร่ ยังไม่กลายเป็นทุ่งนา แต่ทางราชการก็ได้ออกเอกสารสิทธิ์ให้ประชาชนถือสิทธิ์ครอบครองไปแล้ว ทางคณะศรัทธาก็มิได้ละความพยายาม ต่างพากันไปเจรจาขอซื้อพื้นที่ดังกล่าวจากประชาชนกลับคืนมา พร้อมกับการติดต่อขอซื้อสวนลำไยที่อยู่ติดกันได้อีกประมาณ ๘ ไร่เศษ รวมแล้วก็เป็นพื้นที่ประมาณ ๙ ไร่เศษ ซึ่งก็เพียงพอที่จะดำเนินการก่อสร้างเป็นวัดขึ้นมาได้

ปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นต้นมา ได้มีการเริ่มก่อสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นโดยความอุปถัมภ์จากท่านพระอาจารย์สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาป่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งคณะศรัทธาจากอำเภอพร้าว อำเภอเชียงดาว อำเภอเชียงใหม่ และจากกรุงเทพมหานคร ในการสร้างสำนักสงฆ์นี้ได้อาราธนาพระอาจารย์ทองสุก อุตตรปัญโญ ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์สิม พุทธาโร มาเป็นประธานสงฆ์และดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ

ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ทางคณะสงฆ์และคณะศรัทธาของ “สำนักสงฆ์พระอาจารย์มั่น” ได้มอบหมายให้นายอุดม ปันต๊ะ ซึ่งเป็นไวยาวัจกรของสำนักสงฆ์เป็นผู้ยื่นเรื่องราวต่อทางราชการ ทำการก่อสร้างยกฐานะขึ้นเป็นวัดต่อไปและก็ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้างยกฐานะขึ้นเป็นวัดได้ตามการประกาศของอธิบดีกรมการศาสนา ลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ และต่อมาได้มีการประกาศเป็นทางราชการตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาขึ้น โดยมีชื่อว่า “วัดป่าอาจารย์มั่น” ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐ พร้อมกันนี้ทางฝ่ายบริหารของคณะสงฆ์ก็ได้แต่งตั้งพระอาจารย์ทองสุก อุตตรปัญโญ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสเป็นองค์แรก เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ วัดป่าอาจารย์มั่นมีพระสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นต้นมา

วัดป่า2_resize.jpg
วัดป่า2_resize.jpg (98.78 KiB) เปิดดู 46194 ครั้ง


อ้างอิง : http://www.dhammathai.org/

พ.ศ. ๒๔๘๑ เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พนฺธุโล) นิมนต์หลวงปู่มั่นกลับภาคอีสาน หลวงปู่มั่นจึงมอบหมายให้หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ดูแลสำนักสงฆ์บ้านแม่กอย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ [วัดร้างป่าแดง หรือ วัดป่าอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) ในปัจจุบัน] ซึ่งในอดีตชาติของหลวงปู่มั่นนั้นเคยเป็นหมูป่า มีแหล่งหากินในบริเวณดังกล่าว ต่อมาหมูป่าตัวนั้นถูกนายพรานฆ่าตาย ท่านพลัดหลงมายังหมู่บ้านนี้เพื่อมาโปรดสุนัขแม่ลูกอ่อนตัวหนึ่ง เมื่อท่านแผ่เมตตาให้หมาแม่ต๊องแล้ว ๔ วันต่อมามันก็ตาย หลวงปู่บอกกับแม่อุสาที่มาส่งข่าวให้ท่านทราบว่า “พี่เอ้ย(พี่สาว)ได้พ้นวิบากกรรมแล้ว !”

หลวงปู่พรหมนั้นเป็นหัวหน้าสำนักสงฆ์บ้านแม่กอยจนกระทั่งหลวงปู่ขาว ขาว อนาลโย ธุดงค์มา จึงส่งไม้ต่อให้หลวงปู่ขาวเป็นหัวหน้าสำนักสงฆ์แทน แล้วหลวงปู่พรหมก็ออกธุดงค์เข้าประเทศพม่าเป็นครั้งที่ ๒ โดยไปทางเมืองโต่น(เมืองต่วน)

อ้างอิง : หนังสือ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ที่ ๑๔
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 25 ส.ค. 2019 7:08 pm

กุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต วัดป่าเมี่ยงแม่สาย ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
อีกหนึ่งธรรมสถาน" ที่พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ได้เที่ยวจาริกบำเพ็ญสมณธรรม ภายหลังกลายเป็น "มงคลสถาน" ให้กุลบุตรกุลธิดาได้ดำเนินรอยตามปฏิปทาของท่าน

ป่าเมี่ยง1_resize.jpg
ป่าเมี่ยง1_resize.jpg (85.92 KiB) เปิดดู 46194 ครั้ง


ณ สำนักสงฆ์ป่าเมี่ยงแม่สาย ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ แห่งนี้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เดินทางธุดงค์มาปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่งนี้ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ การเดินทางมาในขณะนั้นมีโยมสม ขัติแก้ว ผู้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินสวนเมี่ยงแก่หลวงปู่มั่น ต่อมาได้มีหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ขาว อนาลโยและหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นคณะสงฆ์รับการถวายที่ดินดังกล่าว

ป่าเมี่ยง3_resize.jpg
ป่าเมี่ยง3_resize.jpg (83.97 KiB) เปิดดู 46194 ครั้ง


สถานที่แห่งนี้นับเป็นที่สัปปายะอย่างแท้จริงดังเป็นที่ประจักษ์ชัดถึงการเดินทางมาปฏิบัติธรรมธรรมของพระอริยสงฆ์สายธรรมยุตจำนวนหลายรูป ณ ที่แห่งนี้เดิมมีทั้งกุฏิของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ แต่ได้ผุพังไปกับกาลเวลา คงเหลือแต่เฉพาะกุกิหลวงปู่มั่นที่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้มีสภาพดีขึ้นมาในปัจจุบัน


ตามที่คณะปฏิบัติการวิทยาการ อพ.สธ. ได้เดินทางไปสำรวจพันธุ์พืชบริเวณหมู่บ้านป่าเมี่ยงแม่สาย ได้มีจิตศรัทธาร่วมกันในอันที่จะเผยแพร่ปฏิปทา คุณความดีของพระอริยะสงฆ์จึงมีความเห็นร่วมกันที่จะสร้างหุ่นเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงปู่มั่นเพื่อประดิษฐานไว้บนกุฏิ พร้อมเครื่องอัฐบริขาร ตลอดจนประวัติคุณความดีของท่านได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายสืบไป

ป่าเมี่ยง4_resize.jpg
ป่าเมี่ยง4_resize.jpg (82.04 KiB) เปิดดู 46194 ครั้ง


ประวัติของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมสายวัดป่า

พุทธศาสนิกชนหลายคนคงรู้จักนาม พระครูวินัยธรภูริทัตโต หรือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เนื่องจากถือกันว่าท่าน คือ พระบุพพาจารย์แห่งพระวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทย อันเป็นผลมาจากความมุ่งมั่นศึกษาและปฏิบัติภาวนาอย่างจริงจังจนบรรลุธรรม โดยท่านจะพำนักอยู่ตามป่าเขา เป็นที่มาของชื่อที่เรียกขานกันว่า พระฝ่ายอรัญวาสี พระธุดงคกรรมฐาน หรือ พระป่า ตลอดเส้นทางธรรมของหลวงปู่มั่น ทุ่มเทชีวิตให้กับการบำเพ็ญธุดงควัตรไม่เว้นวาย จนส่งผลเป็นประสบการณ์ทางธรรมที่มีคุณค่ามากมาย

หลังจากบรรลุธรรมแล้ว หลวงปู่มั่นได้เดินทางกลับไปยังภาคอีสาน พร้อมกับความมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดความรู้ด้านการภาวนาที่ท่านเพียรศึกษามาอย่างยาวนาน ด้วยความถึงพร้อมทั้งปฏิบัติ ปริยัติ และปฏิเวธ ของหลวงปู่มั่น จึงได้รับการยกย่องจากผู้มีศรัทธาในพุทธศาสนาทั้งหลายว่า "เป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร" มีผู้ติดตามศึกษากับท่านเป็นจำนวนมาก ทำให้พระป่าสายพระอาจารย์มั่น มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกขณะ จนสามารถขยายงานการเผยแผ่ธรรมในภาคอีสานได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในจังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร อุบลราชธานีและขอนแก่น จากนั้นแนวทางการสอนของท่านก็แพร่กระจ่ายไปตามภูมิภาคต่าง ๆ เกิดกองทัพธรรมอันเข้มแข็ง มีศิษยานุศิษย์เป็นพระเถระซึ่งเป็นที่เคารพของสมณะ และประชาชนมากมายในทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย

เส้นทางชีวิตของ หลวงปู่มั่น ภูมิทัตโต ได้ยุติลงด้วยสิริอายุ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา ทว่ามรดกธรรมของท่านจะยังคงดำรงอยู่ต่อไปตราบนานเท่านาน

ภาพ : JinnyTent
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง สนทนากับคนภาษาไทย

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน

cron