พระเจ้าล้านทอง และวัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

- พระเจ้าล้านทอง๑_resize.jpg (90.76 KiB) เปิดดู 36541 ครั้ง
เมื่อเดินทางจากอำเภอพร้าวไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๔ กิโลเมตร ไม่นานนักก็จะพบทางแยกไปยังหมู่บ้านหนองปลามัน ตำบลน้ำแพร่ ซึ่งก็คือทางไปวัดพระเจ้าล้านทองนั่นเองวัดแห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอพร้าว เนื่องจากสันนิษฐานว่าที่แห่งนี้ เคยเป็นที่ตั้งเมืองพร้าววังหินหรือเวียงหวายแต่เดิมนั่นเองซึ่งในปัจจุบันยังคงมีคูเมืองหลงเหลือ ให้เห็นอยู่โดยรอบวัด และเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเก่าแก่คู่เมืองพร้าว อันได้แก่ “ พระเจ้าล้านทอง ”
พระเจ้าล้านทอง ( พระเจ้าล้านตอง ) ถูกขนานนามว่า " พระเจ้าหลวง " เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพร้าววังหินมาช้านานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด ขนาดหน้าตัก ๑๘๐ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๒๗๔ เซนติเมตรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๒ ตอนที่ ๒ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘

- 1419079729.jpg (142.13 KiB) เปิดดู 36541 ครั้ง
(ภาพ : moonfleet)
วัดพระเจ้าล้านทองเป็นวัดแห่งประวัติศาสตร์ ว่ากันว่าในอดีตนั้น นอกจากวัดแห่งนี้จะเป็นเมืองเก่าแก่แล้ว เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ยกทัพผ่านเมืองพร้าวนั้น พระองค์ได้ ทรงหยุดทัพ ณ วัดพระเจ้าล้านทองแห่งนี้อีกด้วย วัดพระเจ้าล้านทองนั้นไม่มีพระสงฆ์จำวัดอยู่เลย มีเพียงคำร่ำลือถึงอาถรรพ์ต่างๆ ซึ่งชาวเมืองพร้าวเชื่อกันว่า พระสงฆ์ผู้มีบุญญาธิการจริงๆเท่านั้น จึงจะจำพรรษาอยู่
ณ วัดเก่าแก่แห่งนี้ได้ ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ ของทุกปีนั้น ทางวัดจะมีประเพณีทำบุญเป็นประจำทุกปีนับว่าเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่ยังทรงคุณค่าในสายตาของชาวเมืองพร้าวเสมอมา และจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดกาล
ประวัติพระเจ้าล้านทอง
ตามหนังสือเวียงพร้าววังหิน
" พระเจ้าล้านทองวียงพร้าว เป็นฝีมือการสร้างแบบสุโขทัย สร้างเมื่อจุลศักราช ๘๘๘ และเป็นพระพุทธรูปที่ซึ่งมีความสำคัญทางจิตใจอย่างมาก ต่อคนเมืองพร้าว และทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือของทุกปี ทางวัดจะมีการจัด ให้มีการสรงน้ำพระขึ้น
ตามหนังสือคนดีเมืองเหนือ
" พ่อท้าวเกษกุมารได้ครองเมืองเชียงใหม่ สืบมาในปี พ.ศ. ๒๐๖๘ ทรงมีพระนามในการขึ้นครองราชย์ว่าพระเมืองเกษเกล้า พระองค์ได้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ที่เมืองพร้าวองค์หนึ่ง ซึ่งหล่อด้วยทองปัญจะโลหะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๙ เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้
ตามหนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าวของท่านพระครูโสภณกิติญาณ หน้า ๒
"พระเจ้าล้านทองเรียกอีกนามว่า พระเจ้าหลวง " ที่ฐานพระพุทธรูปมีข้อความจารึกเป็น หนังสือลายฝักขาม ซึ่งท่านผู้รู้ได้แปลไว้บ้างตอนว่า " ศาสนาพระได ๒๐๖๙ วัสสาแล…๘๘๘ ปี รวายเสด หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๖๙ ปีจอ อัฐศก" สมัยพระเกษ แก้วครอง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีท้าวเชียงตง ครองเวียงพร้าววังหิน ตามข้อมูลจากหนังสือดัง กล่าวสันนิษฐานได้ว่า พระพุทธรูปองค์นี้น่าจะหล่อขึ้น ณ บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองปัจจุบันซึ่งเป็นวัดในตัวเมืองชั้นในสมัยนั้น จากประวัติของเวียงพร้าววังหินจะทราบว่า หลังจากเวียงพร้าววังหินได้ร้างไปเพราะภัยสงครามของพระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ปี ๒๑๐๑ ผู้คนหนีออกจากเมืองหมด ปล่อยให้องค์พระเจ้าล้านทองประดิษฐานอยู่ในเมืองร้างนานถึง ๓๔๙ ปีจนมาถึง พ.ศ.๒๔๕๐ ได้มีดาบสนุ่งขาว ห่มขาวเป็นคนเชื้อชาติลาว เข้ามาอาศัยอยู่ที่วัดสันขวางตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว เชียงใหม่ ชื่อจริงว่าอย่างไรไม่ปรากฎหลักฐานแต่ชาวบ้านในสมันนั้นเรียกว่า ปู่กาเลยังยัง ที่เรียก อย่างนี้เนื่องจากว่า ชาวบ้านได้ยินบทสวดของท่านดาบสท่านนี้ขึ้นต้นว่า "กาเลยังยัง" จึง เรียกชื่อว่า ปู่กาเลยังยังท่านดาบสองค์นี้ชอบกินข้าวกับหัวตะไคร้ใส่ปลาร้าเป็นประจำหรือเป็นอาหารโปรดของท่าน ส่วนท่านกาเลยังยังท่านไม่กลัว เมื่อท่านกาเลยังยังอยู่ที่วัดสันขวางได้ไปเที่ยวชมทิวทัศน์บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง ตั้งอยู่บนฐานอิฐที่ชำรุดทรุดโทรมจะล้มมิล้มแหล่ และองค์พระพุทธรูปก็ถูกไฟป่าที่เผาเศษไม้ใบไม้แห้งกรอบ องค์พระประดิษฐานอยู่จนพระองค์ถูกรมควันไฟจนดำสนิท ท่านกาเลยังยังจึงได้หาก้อนอิฐซึ่งพอหาได้ในบริเวณนั้นมาชุบด้วยน้ำไก๋ (ชื่อไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียว) ซึ่งอยู่แถวนั้นมากมาย แล้วนำอิฐที่ชุบไก๋แล้วมาซ่อมแซมฐานพระพุทธรูป จนเป็นที่มั่นคงแล้วได้สร้างเพิงหมาแหงนด้วยเสาสี่ต้น มุงด้วยหญ้าคาเนื่องจากขาดคนดูแล เพิงหมาแหงนจึงถูกไฟป่าเผาไหม้หมด จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ท่านครูบาอินตา สาธร เจ้าอาวาสวัดหนองปลามัน ได้ร่วมกับคณะศรัทธามีความคิดที่จะบูรณะ

- 20181019_121723_resize.jpg (157.9 KiB) เปิดดู 36541 ครั้ง
บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองนั้นชาวบ้านไม่อยากสัญจรเข้าไป เนื่องจากกลัวต่อภูติผีปีศาจตามคำบอกเล่าของคนเฒ่า ใครไปทำอะไรแถวๆ นั้น มักจะเกิดความวิปริตจิตฟั่นเฟือน พูดจาไม่รู้เรื่อง เดือดร้อนถึงหมอผีต้องทำบนบานศาลกล่าวถึงจะหาย บางคนถึงตายไปก็มี
จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ท่านครูบาอินตา สาธร ได้ไปขอกุฎิวัดสันขวางของ ท่านครูบาปัญญา เชื้อสายไทยใหญ่ซึ่งชาวบ้านจะเผาทิ้ง นำมาสร้างวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าล้านทอง สาเหตุที่ชาวบ้านจะเผากุฏิ เนื่องจากกุฏิวัดสันขวางหลังนี้ ได้มาโดยท่าน พระยาเพชร และแม่เจ้านางแพอุทิศบ้านไม้สักขนาดใหญ่ของตนเอง สร้างเป็นกุฏิถวายแด่ท่านครูบาไว้เป็นที่จำวัดและอาศัย ซึ่งท่านทั้งสองมีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านครูบามาก แต่หลังจากได้สร้างกุฏิหลังใหม่ถวายได้ไม่นาน ท่านก็เกิดอาพาธทั้งๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ชาวบ้านซึ่งมีความรักในตัวครูบาเป็นอย่างมาก ต่างก็ลงความเห็นว่าอาการเจ็บป่วยของท่านคงมาจากกุฏิหลังใหม่เป็นแน่ ความทราบไปถึงครูบาอินตาซึ่งเป็นเจ้าอาวาส "วัดหนองปลามัน " จึงได้ไปขอกุฏิหลังนี้แล้วนำไปสร้างวิหาร ณ วัดพระเจ้าล้านทอง (ขณะนี้เหลือแต่ฐานของวิหารเท่านั้น ซึ่งอยู่ ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังปัจจุบัน)
ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้มีท่านครูบาอินถา แห่ง วัดพระเจ้าตนหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาเป็นองค์ประธานก่อสร้างวิหาร แบบจตุรมุขทางทิศตะวันตกของวิหารหลังเดิมจนเสร็จได้ประมาณ ๘๐% เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ แล้วได้ย้ายองค์พระเจ้าล้านทองขึ้นมาประดิษฐาน ณ วิหารหลังปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตรงกับเดือน ๕ เหนือ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีกุน จุลศักราช ๑๓๓๓ ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้มีการซ่อมแซมวิหารแบบจตุรมุข ให้มีสภาพดีขึ้นโดยการนำของ ท่านพระบุญชุ่มญาณสังวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเมือง อำเภอท่าขี้เหล็ก สหภาพเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมีพล.ท.ภุชงค์ นิลขำ (ถึงแก่กรรมแล้ว) กับคุณเทอดศักดิ์ แก้วสว่าง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินใน การซ่อมแซม วิหารหลังนี้ ด้วยเงินประมาณ ๑ ล้านบาทเศษ
นับได้ว่าวัดพระเจ้าล้านทองเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่สร้างมาแต่สมัยเวียงพร้าววังหิน เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญ และมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ควรค่าแก่การรักษาไว้ให้เป็นเดชเป็นศรีแก่เมืองพร้าวสืบไป