หน้า 2 จากทั้งหมด 13

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 29 ก.ค. 2019 3:48 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
น้ำพุร้อนหนองครก ต.สันทราย ออนเซ็นเมืองพร้าว เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติที่มีอุณภูมิสูงถึง ๕๐ - ๙๐ องศาเซลเซียส
ชาวหนองครกได้อาบน้ำจากประปาน้ำอุ่นของหมู่บ้านทั้งปี หลังจากมีการต่อท่อจากบ่อน้ำพุร้อนไปยังหมู่บ้านถึง ๑๔๗ หลังคาเรือน กลายเป็นหมู่บ้านไร้หนาว ผิวพรรณดีกันทั่วหน้า

37_20101101114802..jpg
37_20101101114802..jpg (54.22 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


ตั้งอยู่ บ้านหนองครก หมู่ที่ ๑๐ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

pl0paa5wbvfOmEXYhQal-o_resize.jpg
pl0paa5wbvfOmEXYhQal-o_resize.jpg (85.28 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


pl0pad11df9tXYNDv5Q3-o_resize.jpg
pl0pad11df9tXYNDv5Q3-o_resize.jpg (93 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


ภาพ : สมาชิกหมายเลข 4331080 เว็บไซต์พันทิป

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 29 ก.ค. 2019 3:57 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
มหาวิหารจีนวัดห้วยบง

pl0p4b59d9dsOGPQR5qo-o_resize.jpg
pl0p4b59d9dsOGPQR5qo-o_resize.jpg (75.76 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


มหาวิหารจีน วัดห้วยบง ตั้งอยู่โดดเด่นบนเชิงดอยในเขตบ้านห้วยบง ตำบลเขื่อนผาก(อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอ) วัดนี้เป็นอีกวัดสำคัญของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ไฮไลต์ของที่นี่ คือ “วิหารจีน” ซึ่งมีสถาปัตยกรรมสไตล์จีนอันงดงาม

pl0p6dpkifryb14Ex3u-o_resize.jpg
pl0p6dpkifryb14Ex3u-o_resize.jpg (97.23 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


ภาพ : สมาชิกหมายเลข 4331080 เว็บไซต์พันทิป

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 29 ก.ค. 2019 4:12 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ถ้ำดอกคำ วัดถ้ำดอกคำ ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

lp-mun-pic-39-01.jpg
lp-mun-pic-39-01.jpg (5.37 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


วัดถ้ำดอกคำ คือสถานที่ที่ “หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” บรรลุพระอรหัตผล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ ปัจจุบันเป็นวัดทางฝ่ายมหานิกายมีชื่อว่า วัดถ้ำดอกคำ

ถ้ำดอกคำ_resize.jpg
ถ้ำดอกคำ_resize.jpg (114.28 KiB) เปิดดู 47338 ครั้ง


คืนหนึ่ง หลวงปู่ชอบ(ฐานสโม) ท่านพักภาวนาอยู่กับองค์ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ภายในถ้ำดอกคำ บ้านสหกรณ์ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ คืนนั้นเวลาประมาณตีสามกว่า หลวงปู่ชอบท่านนั่งภาวนาอยู่ที่พักของท่าน จิตท่านในเวลานั้นสว่างไสวใสงามมาก แต่แล้วจู่ๆความสว่างไสวของจิตเกิดดับวูบลงไปอย่างกะทันหัน พร้อมกับมีเสียงกึกก้องกัมปนาทสะเทือนเลื่อนลั่นไปทั่วขุนเขา ท่านเปรียบเทียบว่าเสียงนี้ไม่ต่างอะไรกับระเบิดปรมาณูมาระเบิดอยู่ข้างๆตัวเรา จนท่านเกิดอาการสั่นไหวในจิตคล้ายกับผืนแผ่นพสุธาจะแตกสลายกลายเป็นจุล อาการเหล่านี้เกิดขึ้นภายในจิตของท่านเท่านั้น แต่สิ่งต่างๆที่อยู่ภายนอกก็เป็นปกติทุกอย่าง ตั้งแต่ท่านภาวนามาก็ไม่เคยประสบพบเจอกับอาการแบบนี้ของจิต ท่านจึงพิจารณาดูภายในว่าเกิดอะไรขึ้นกับจิตของตน พิจารณาดูจิตก็ไม่เห็นผิดปกติตรงไหน

ท่านจึงพิจารณาดูภายนอกว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น พอดึงจิตออกมาดูข้างนอก จิตท่านก็พุ่งตรงไปที่หลวงปู่มั่นทันที ท่านเห็นเทวดาพากันมาห้อมล้อมองค์ท่านหลวงปู่มั่นจำนวนมากเทวดาพากันมาจากทุกสวรรค์ชั้นภูมิ จนเต็มพื้นดินแผ่นฟ้านภากาศ ครั้งนั้นท่านว่าเทวดามาหาองค์ท่านหลวงปู่มั่นมากถึงสิบโกฏิ (หนึ่งโกฏิเท่ากับสิบล้าน) รัศมีบารมีเทวดาเปล่งประกายเจิดจ้าจนทำให้ทั่วบริเวณถ้ำดอกคำสว่างไสวด้วยรัศมีของเทพเจ้าเหล่าเทวดา

วัดถ้ำดอกคำ_resize.jpg
วัดถ้ำดอกคำ_resize.jpg (150.73 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


แต่รัศมีของเทวดาทั้งหลายยังไม่เท่ากับรัศมีธรรมขององค์ท่านหลวงปู่มั่น รัศมีธรรมขององค์ท่านสว่างไสวกว่ารัศมีเทวดามากมายจนเกินประมาณ หลังจากชื่นชมรัศมีบารมีธรรมขององค์ท่านหลวงปู่มั่นแล้วท่านก็ถอนจิตออกมา ท่านรำพึงในใจว่า“เหตุการณ์นี้ต้องสำคัญกับท่านอาจารย์ใหญ่อย่างแน่นอน”

ข้ามอีกวัน เวลาประมาณสี่โมงเย็น หลวงปู่ชอบท่านเข้าไปเตรียมน้ำสำหรับสรงองค์ท่านหลวงปู่มั่น ขณะที่ท่านผลัดผ้าให้กับองค์ท่านหลวงปู่มั่นนั้น หลวงปู่มั่นพูดขึ้นมาว่า “ที่หลวงปู่ชอบเห็นเทวดามาหาเราจำนวนมากนั้น พวกเทพเทวดาเขาพากันมาร่วมอนุโมทนาที่เราบรรลุธรรมธาตุพ้นทุกข์แล้ว จากนี้ต่อไปการเกิดของเราจะไม่มีอีกแล้ว ทุกอย่างของเรามันขาดสะบั้นลงไปหมดแล้ว พระอรหันต์ท่านสิ้นกิเลสเช่นไร เราก็สิ้นกิเลสแล้วเช่นนั้น”จากนั้นหลวงปู่มั่น ท่านได้ธุดงค์ไปที่ดอยนะโม เพื่อสนทนาธรรมกับลูกศิษย์ท่านหนึ่ง คือ หลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่มั่น ท่านออกวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่เชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๒ - ๒๔๘๒ ก่อนจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ประเภท ปฏิสัมภิทานุศาสน์ ๔ อย่างคือ ๑.อัตตปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในอรรถ ๒.ธัมมปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในธรรม ๓.นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในภาษา ๔.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในปฏิภาณ และที่ถ้ำดอกคำแห่งนี้ยังมีตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลก พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาถึงถ้ำนี้ เพื่อโปรดยักษ์ สองผัวเมีย ผู้เป็นมิจฉาทิฐิ โดยยักษ์ฝ่ายผัว ตั้งใจจะจับพระพุทธเจ้าไปเป็นอาหาร แต่พระองค์ทรงปราบด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ยักษ์สองผัวเมียสำนึกบาป จึงแต่งขันธ์ มีดอกบัวคำอยู่ในพานมากล่าวขอขมาพระพุทธเจ้าที่ถ้ำนี้ ถ้ำนี้จึงชื่อ “ถ้ำดอกคำ” แต่นั้นมา

วัดถ้ำดอกคำ จึงถือเป็นสถานที่อันเป็นมหามงคล และเป็นสถานที่รำลึกถึงหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บรรลุธรรมธาตุเป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

56800_resize.jpg
56800_resize.jpg (105.68 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


หนังสือ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ที่ ๑๔ ได้กล่าวเอาไว้ว่า..

พ.ศ. ๒๔๗๖ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สำเร็จพระอรหัตผลที่ถ้ำดอกคำ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว หลวงปู่มั่นได้บอกกับหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณและหลวงปู่ขาว อนาลโยที่ดอยนะโม(ดอยน้ำมัว)ว่า “ผมหมดงานที่จะทำแล้ว ก็อยู่สานกระบุง สานตะกร้า พอช่วยเหลือพวกท่านและลูกศิษย์ลูกหาได้บ้างเท่านั้น”

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 29 ก.ค. 2019 5:06 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
อนุสรณ์สถานบรรลุธรรมหลวงปู่ขาว อนาลโย ตั้งอยู่ ณ ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

get_auc1_img_resize.jpg
get_auc1_img_resize.jpg (94.28 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


หลวงปู่ขาว อนาลโย “พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งเพชรน้ำหนึ่ง ผู้พิจารณาเมล็ดข้าวจนพ้นทุกข์” พระมหาเถระศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ท่านมีหลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นสหธรรมิกที่เกื้อกูลกันในทางธรรม ท่านเกิดในสกุลชาวนา ทำอาชีพเป็นชาวนาปลูกข้าวเลี้ยงตัว แม้ยามบวชปฏิบัติธรรมเร่งความเพียร ข้อธรรมที่ท่านใช้ในการพิจารณากระทั่งบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดก็ด้วยอาศัยเมล็ดข้าวที่ชาวไร่ชาวนาปลูกไว้ ยกขึ้นมาพิจารณาเป็นข้อธรรม ในเวลาต่อมาประชาชนและผู้นำในชุมชนจึงได้พร้อมใจกันสร้างอนุสรณ์สถานบรรลุธรรมหลวงปู่ขาว อนาลโย ขึ้นเพื่อระลึกถึงท่าน

ในราวพรรษาที่ ๑๖-๑๗ ณ เสนาสนะป่ากลางทุ่งนา บ้านโหล่งขอด หลวงปู่ขาวท่านได้นำเมล็ดข้าวยกขึ้นมาพิจารณาเป็นข้อธรรมจนพ้นทุกข์บรรลุธรรมชั้นสุดยอด โดยท่านเล่าว่า

__24_574_resize.jpg
__24_574_resize.jpg (87.24 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


“เย็นวันหนึ่ง เมื่อปัดกวาดเสร็จออกจากที่พักไปสรงน้ำ ได้เห็นข้าวในไร่ชาวเขากำลังสุกเหลืองอร่าม ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในขณะนั้นว่า ข้าวมันงอกขึ้นมาเพราะมีอะไรเป็นเชื้อพาให้เกิด ใจที่พาให้เกิด-ตายอยู่ไม่หยุด ก็น่าจะมีอะไรเป็นเชื้ออยู่ภายในเช่นเดียวกับเมล็ดข้าว เชื้อนั้นถ้าไม่ถูกทำลายเสียที่ใจให้สิ้นไป จะต้องพาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็แล้วอะไรเป็นเชื้อของใจเล่า ถ้าไม่ใช่กิเลสอวิชชา ตัณหาอุปาทาน ท่านคิดทบทวนไปมา โดยถืออวิชชาเป็นเป้าหมายแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ พิจารณาย้อนหน้าถอยหลัง อนุโลมปฏิโลมด้วยความสนใจอยากรู้ตัวจริงแห่งอวิชชา



นับแต่หัวค่ำจนดึกไม่ลดละการพิจารณาระหว่างอวิชชา กับ ใจ พอจวนสว่างจึงตัดสินใจกันลงได้ด้วยปัญญา อวิชชาขาดกระเด็นออกจากใจไม่มีอะไรเหลือ การพิจารณาข้าวก็มายุติกันที่ข้าวสุก หมดการงอกอีกต่อไป การพิจารณาจิตก็มาหยุดกันที่อวิชชาดับ กลายเป็นจิตสุกขึ้นมาเช่นเดียวกับข้าวสุก จิตหมดการก่อกำเนิดเกิดในภพต่างๆ อย่างประจักษ์ใจ สิ่งที่เหลือให้ชมอย่างสมใจคือความบริสุทธิ์แห่งจิตล้วนๆ ในกระท่อมกลางเขา มีชาวป่าอุปัฏฐากดูแล ขณะที่จิตผ่านดงหนาป่ากิเลสวัฏฏ์ไปได้แล้ว เกิดความอัศจรรย์อยู่คนเดียว ตอนอรุณรุ่งพระอาทิตย์ก็เริ่มสว่างบนฟ้า ใจก็เริ่มสว่างจากอวิชชาขึ้นสู่ธรรมอัศจรรย์ถึงวิมุตติหลุดพ้นในเวลาเดียวกันกับพระอาทิตย์อุทัย ช่างเป็นฤกษ์งามยามวิเศษเสียจริง”

หลวงปู่ขาวท่านมีอุปนิสัยเป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นในเป้าหมาย มีความเพียรกล้าทั้งสามอิริยาบถ ท่านเดินจงกรมเก่งมาก ตั้งแต่ฉันเสร็จก็เดินเข้าสู่ทางจงกรม ทำความเพียรละหรือถอดถอนกิเลสประเภทต่างๆ ที่เคยฝังจมอยู่ภายในใจสัตว์โลกไม่เคยบกบางเหมือนสิ่งอื่นๆ อีกทั้งท่านยังมีเมตตาธรรมเป็นเลิศ สง่างามประดุจช้างสาร ด้วยท่านมีอดีตชาติเกี่ยวพันกับสัตว์ป่า มีช้างเป็นต้น ไม่ว่าท่านจะไปเที่ยวที่ป่าเขาลึกเพียงไหน ช้างหัวหน้าฝูงมักจะเข้ามาหาคารวะท่าน ท่านรู้ภาษาสัตว์ และสัตว์เหล่านั้นก็รู้ภาษาของท่านเป็นอย่างดี

มูลเหตุที่ท่านออกบวชนั้น เกิดจากภรรยาของท่านมีชู้ เมื่อท่านได้พบภาพที่เป็นจริงคาหนังคาเขาตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน ท่านจึงเงื้อดาบสุดแรงเกิดหมายจะฆ่าฟันทั้งชายชู้และหญิงชั่วให้ตาย แต่ชายชู้เห็นก่อนจึงร้องขอชีวิต ด้วยสาวกบารมีญาณมากระตุ้นเตือน ทำให้ท่านเกิดจิตเมตตา จึงได้เรียกชาวบ้านมาดูเหตุการณ์ พร้อมทั้งประชุมญาติและผู้ใหญ่บ้าน ชายชู้ยอมรับผิด จึงได้ปรับสินไหมด้วยเงินพร้อมกับประกาศยกภรรยาให้ชายชู้อย่างเปิดเผย หลังจากนั้นท่านสลดสังเวชใจเป็นกำลัง ใจหมุนไปในทางบวชเพื่อหนีโลกอันแสนโสมม

หลวงปู่ขาวท่านสามารถระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติ ครั้งพุทธกาลท่านเคยเกิดเป็นพระภิกษุ ๑ ใน ๕๐๐ รูปติดตามพระเทวทัตผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่หลังจากได้ฟังธรรมจากพระสารีบุตร จึงหันกลับเข้ามาสู่สัมมาทิฏฐิ สถานที่ต่างๆ ที่ท่านอยู่จำพรรษามักจะเป็นสถานที่เคยเกิดเป็นคนหรือสัตว์ต่างๆ ในอดีตชาติ

ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ได้พรรณนาถึงเมตตาธรรมและตปธรรมของหลวงปู่ขาว ไว้ในหนังสือปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีข้อความตอนหนึ่งว่า

หลวงปู่ขาว1_resize.jpg
หลวงปู่ขาว1_resize.jpg (129.27 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


“ท่านอาจารย์องค์นี้มีความเด็ดเดี่ยวมาก การนั่งภาวนาตลอดสว่างท่านทำได้สบายมาก ถ้าไม่เป็นผู้มีใจกล้าหาญ กัดเหล็กกัดเพชรจริงๆ จะทำไม่ได้ จึงขอชมเชย อนุโมทนากับท่านอย่างถึงใจ เพราะเป็นที่แน่ใจในองค์ท่านร้อยเปอร์เซนต์ว่า เป็นผู้สิ้นภพสิ้นชาติอย่างประจักษ์ใจทั้งที่ยังครองขันธ์อยู่”

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 29 ก.ค. 2019 5:14 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
โครงการอ่างเก็บน้ำแม่สะลวมอันเนื่องมาจากพระราชดำริบ้านสหกรณ์แปลง๕ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว

สระรวม_resize.jpg
สระรวม_resize.jpg (92.11 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


สะลวม_resize.jpg
สะลวม_resize.jpg (87.91 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 29 ก.ค. 2019 5:48 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
สวนป่าน้ำรู ตั้งแต่ใน เขตอนุรักษ์ป่าน้ำรู ตั้งอยู่ในตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว เป็นสถานที่ท่องทางธรรมชาติรวมไปถึงระบบนิเวศน์แบบป่าชุมชน เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีตาน้ำขนาดใหญ่ โดยน้ำจะไหลออกมาจากตาน้ำ เป็นน้ำใสบริสุทธิ์เย็นฉ่ำ นักท่องเที่ยวสามารถลงไปเล่นน้ำในสระได้ น้ำไม่ลึกมากนัก จึงเล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ถือเป็นสสถานที่ท่องเที่ยวคลายร้อนในช่วงซัมเมอร์ประจำเมืองพร้าว

citypraw15_resize.jpg
citypraw15_resize.jpg (127.53 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


ภาพ : อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ป่าน้ำรู.jpg
ป่าน้ำรู.jpg (101.46 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 29 ก.ค. 2019 5:52 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ออบมืด เป็นลำธารสวยใสระยะทางประมาณ ๘ กิโลเมตรในหมู่บ้านปางตอย ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว มีลักษณะเป็นลำธารไม่กว้างมากนัก ไหลผ่านบริเวณกลางหมู่บ้าน บางช่วงมีก้อนหินสูงใหญ่ขนาบสองข้างของลำธาร และมีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมให้ร่มเงา ทำให้แสงแดดส่องลงมาไม่ถึงลำธาร ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า ออบมืด นักท่องเที่ยวสามารถที่จะลงไปเล่นน้ำในลำธารได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เทศบาลตำบลป่าไหน่ โทรศัพท์ ๐๕๓ ๐๑๗ ๕๖๗ - ๘
citypraw11_resize.jpg
citypraw11_resize.jpg (113.42 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


ภาพ : เทศบาลตำบลป่าไหน่

citypraw12_resize.jpg
citypraw12_resize.jpg (121.16 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 29 ก.ค. 2019 6:02 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
พระเจ้าล้านทอง และวัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

พระเจ้าล้านทอง๑_resize.jpg
พระเจ้าล้านทอง๑_resize.jpg (90.76 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


เมื่อเดินทางจากอำเภอพร้าวไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๔ กิโลเมตร ไม่นานนักก็จะพบทางแยกไปยังหมู่บ้านหนองปลามัน ตำบลน้ำแพร่ ซึ่งก็คือทางไปวัดพระเจ้าล้านทองนั่นเองวัดแห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอพร้าว เนื่องจากสันนิษฐานว่าที่แห่งนี้ เคยเป็นที่ตั้งเมืองพร้าววังหินหรือเวียงหวายแต่เดิมนั่นเองซึ่งในปัจจุบันยังคงมีคูเมืองหลงเหลือ ให้เห็นอยู่โดยรอบวัด และเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเก่าแก่คู่เมืองพร้าว อันได้แก่ “ พระเจ้าล้านทอง ”

พระเจ้าล้านทอง ( พระเจ้าล้านตอง ) ถูกขนานนามว่า " พระเจ้าหลวง " เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพร้าววังหินมาช้านานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด ขนาดหน้าตัก ๑๘๐ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๒๗๔ เซนติเมตรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๒ ตอนที่ ๒ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘

1419079729.jpg
1419079729.jpg (142.13 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง

(ภาพ : moonfleet)

วัดพระเจ้าล้านทองเป็นวัดแห่งประวัติศาสตร์ ว่ากันว่าในอดีตนั้น นอกจากวัดแห่งนี้จะเป็นเมืองเก่าแก่แล้ว เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ยกทัพผ่านเมืองพร้าวนั้น พระองค์ได้ ทรงหยุดทัพ ณ วัดพระเจ้าล้านทองแห่งนี้อีกด้วย วัดพระเจ้าล้านทองนั้นไม่มีพระสงฆ์จำวัดอยู่เลย มีเพียงคำร่ำลือถึงอาถรรพ์ต่างๆ ซึ่งชาวเมืองพร้าวเชื่อกันว่า พระสงฆ์ผู้มีบุญญาธิการจริงๆเท่านั้น จึงจะจำพรรษาอยู่

ณ วัดเก่าแก่แห่งนี้ได้ ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ ของทุกปีนั้น ทางวัดจะมีประเพณีทำบุญเป็นประจำทุกปีนับว่าเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่ยังทรงคุณค่าในสายตาของชาวเมืองพร้าวเสมอมา และจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดกาล


ประวัติพระเจ้าล้านทอง

ตามหนังสือเวียงพร้าววังหิน

" พระเจ้าล้านทองวียงพร้าว เป็นฝีมือการสร้างแบบสุโขทัย สร้างเมื่อจุลศักราช ๘๘๘ และเป็นพระพุทธรูปที่ซึ่งมีความสำคัญทางจิตใจอย่างมาก ต่อคนเมืองพร้าว และทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือของทุกปี ทางวัดจะมีการจัด ให้มีการสรงน้ำพระขึ้น


ตามหนังสือคนดีเมืองเหนือ

" พ่อท้าวเกษกุมารได้ครองเมืองเชียงใหม่ สืบมาในปี พ.ศ. ๒๐๖๘ ทรงมีพระนามในการขึ้นครองราชย์ว่าพระเมืองเกษเกล้า พระองค์ได้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ที่เมืองพร้าวองค์หนึ่ง ซึ่งหล่อด้วยทองปัญจะโลหะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๙ เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้


ตามหนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าวของท่านพระครูโสภณกิติญาณ หน้า ๒

"พระเจ้าล้านทองเรียกอีกนามว่า พระเจ้าหลวง " ที่ฐานพระพุทธรูปมีข้อความจารึกเป็น หนังสือลายฝักขาม ซึ่งท่านผู้รู้ได้แปลไว้บ้างตอนว่า " ศาสนาพระได ๒๐๖๙ วัสสาแล…๘๘๘ ปี รวายเสด หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๖๙ ปีจอ อัฐศก" สมัยพระเกษ แก้วครอง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีท้าวเชียงตง ครองเวียงพร้าววังหิน ตามข้อมูลจากหนังสือดัง กล่าวสันนิษฐานได้ว่า พระพุทธรูปองค์นี้น่าจะหล่อขึ้น ณ บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองปัจจุบันซึ่งเป็นวัดในตัวเมืองชั้นในสมัยนั้น จากประวัติของเวียงพร้าววังหินจะทราบว่า หลังจากเวียงพร้าววังหินได้ร้างไปเพราะภัยสงครามของพระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ปี ๒๑๐๑ ผู้คนหนีออกจากเมืองหมด ปล่อยให้องค์พระเจ้าล้านทองประดิษฐานอยู่ในเมืองร้างนานถึง ๓๔๙ ปีจนมาถึง พ.ศ.๒๔๕๐ ได้มีดาบสนุ่งขาว ห่มขาวเป็นคนเชื้อชาติลาว เข้ามาอาศัยอยู่ที่วัดสันขวางตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว เชียงใหม่ ชื่อจริงว่าอย่างไรไม่ปรากฎหลักฐานแต่ชาวบ้านในสมันนั้นเรียกว่า ปู่กาเลยังยัง ที่เรียก อย่างนี้เนื่องจากว่า ชาวบ้านได้ยินบทสวดของท่านดาบสท่านนี้ขึ้นต้นว่า "กาเลยังยัง" จึง เรียกชื่อว่า ปู่กาเลยังยังท่านดาบสองค์นี้ชอบกินข้าวกับหัวตะไคร้ใส่ปลาร้าเป็นประจำหรือเป็นอาหารโปรดของท่าน ส่วนท่านกาเลยังยังท่านไม่กลัว เมื่อท่านกาเลยังยังอยู่ที่วัดสันขวางได้ไปเที่ยวชมทิวทัศน์บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง ตั้งอยู่บนฐานอิฐที่ชำรุดทรุดโทรมจะล้มมิล้มแหล่ และองค์พระพุทธรูปก็ถูกไฟป่าที่เผาเศษไม้ใบไม้แห้งกรอบ องค์พระประดิษฐานอยู่จนพระองค์ถูกรมควันไฟจนดำสนิท ท่านกาเลยังยังจึงได้หาก้อนอิฐซึ่งพอหาได้ในบริเวณนั้นมาชุบด้วยน้ำไก๋ (ชื่อไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียว) ซึ่งอยู่แถวนั้นมากมาย แล้วนำอิฐที่ชุบไก๋แล้วมาซ่อมแซมฐานพระพุทธรูป จนเป็นที่มั่นคงแล้วได้สร้างเพิงหมาแหงนด้วยเสาสี่ต้น มุงด้วยหญ้าคาเนื่องจากขาดคนดูแล เพิงหมาแหงนจึงถูกไฟป่าเผาไหม้หมด จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ท่านครูบาอินตา สาธร เจ้าอาวาสวัดหนองปลามัน ได้ร่วมกับคณะศรัทธามีความคิดที่จะบูรณะ

20181019_121723_resize.jpg
20181019_121723_resize.jpg (157.9 KiB) เปิดดู 47657 ครั้ง


บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองนั้นชาวบ้านไม่อยากสัญจรเข้าไป เนื่องจากกลัวต่อภูติผีปีศาจตามคำบอกเล่าของคนเฒ่า ใครไปทำอะไรแถวๆ นั้น มักจะเกิดความวิปริตจิตฟั่นเฟือน พูดจาไม่รู้เรื่อง เดือดร้อนถึงหมอผีต้องทำบนบานศาลกล่าวถึงจะหาย บางคนถึงตายไปก็มี
จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ท่านครูบาอินตา สาธร ได้ไปขอกุฎิวัดสันขวางของ ท่านครูบาปัญญา เชื้อสายไทยใหญ่ซึ่งชาวบ้านจะเผาทิ้ง นำมาสร้างวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าล้านทอง สาเหตุที่ชาวบ้านจะเผากุฏิ เนื่องจากกุฏิวัดสันขวางหลังนี้ ได้มาโดยท่าน พระยาเพชร และแม่เจ้านางแพอุทิศบ้านไม้สักขนาดใหญ่ของตนเอง สร้างเป็นกุฏิถวายแด่ท่านครูบาไว้เป็นที่จำวัดและอาศัย ซึ่งท่านทั้งสองมีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านครูบามาก แต่หลังจากได้สร้างกุฏิหลังใหม่ถวายได้ไม่นาน ท่านก็เกิดอาพาธทั้งๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ชาวบ้านซึ่งมีความรักในตัวครูบาเป็นอย่างมาก ต่างก็ลงความเห็นว่าอาการเจ็บป่วยของท่านคงมาจากกุฏิหลังใหม่เป็นแน่ ความทราบไปถึงครูบาอินตาซึ่งเป็นเจ้าอาวาส "วัดหนองปลามัน " จึงได้ไปขอกุฏิหลังนี้แล้วนำไปสร้างวิหาร ณ วัดพระเจ้าล้านทอง (ขณะนี้เหลือแต่ฐานของวิหารเท่านั้น ซึ่งอยู่ ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังปัจจุบัน)

ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้มีท่านครูบาอินถา แห่ง วัดพระเจ้าตนหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาเป็นองค์ประธานก่อสร้างวิหาร แบบจตุรมุขทางทิศตะวันตกของวิหารหลังเดิมจนเสร็จได้ประมาณ ๘๐% เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ แล้วได้ย้ายองค์พระเจ้าล้านทองขึ้นมาประดิษฐาน ณ วิหารหลังปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตรงกับเดือน ๕ เหนือ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีกุน จุลศักราช ๑๓๓๓ ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้มีการซ่อมแซมวิหารแบบจตุรมุข ให้มีสภาพดีขึ้นโดยการนำของ ท่านพระบุญชุ่มญาณสังวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเมือง อำเภอท่าขี้เหล็ก สหภาพเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมีพล.ท.ภุชงค์ นิลขำ (ถึงแก่กรรมแล้ว) กับคุณเทอดศักดิ์ แก้วสว่าง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินใน การซ่อมแซม วิหารหลังนี้ ด้วยเงินประมาณ ๑ ล้านบาทเศษ

นับได้ว่าวัดพระเจ้าล้านทองเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่สร้างมาแต่สมัยเวียงพร้าววังหิน เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญ และมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ควรค่าแก่การรักษาไว้ให้เป็นเดชเป็นศรีแก่เมืองพร้าวสืบไป

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 24 ส.ค. 2019 1:22 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
พระธาตุยองผา
พระธาตุยองผาประดิษฐานตั้งอยู่บนหน้าผาบนดอยสูง หมู่บ้านป่าฮิ้น หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอพร้าว เส้นทางจากอำเภอไปตามถนนพร้าว – ปิงโค้ง ประมาณ ๔ กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามกับสำนักสงฆ์ป่าดอยเจดีย์เบี้ย การไปนมัสการพระธาตุยองผานั้นต้องเดินขึ้นบันไดร้อยกว่าขั้นจึงจะถึงตัวพระธาตุ เนื่องจากพระธาตุตั้งอยู่บนหน้าผาสูง บรรยากาศเงียบสงบ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ

ยองผา1.jpg
ยองผา1.jpg (154.36 KiB) เปิดดู 48354 ครั้ง

(ภาพ:จำนงค์ แก้วดี)

พระธาตุตั้งอยู่บนหน้าผา
ยองผา2.jpg
ยองผา2.jpg (163.53 KiB) เปิดดู 48354 ครั้ง


บันไดทางขึ้นพระธาตุ
ยองผา3.jpg
ยองผา3.jpg (143.41 KiB) เปิดดู 48354 ครั้ง

(ภาพ:Dannipparn)

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 24 ส.ค. 2019 1:49 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
โครงการอ่างเก็บน้ำแม่โก๋น
โครงการอ่างเก็บน้ำในพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สถานที่ตั้ง บ้านเหล่า ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ภาพมุมสูงของอ่างเก็บน้ำแม่โก๋น เขียวชอุ่ม งดงาม
อ่างแม่โก๋น1_resize.jpg
อ่างแม่โก๋น1_resize.jpg (73.58 KiB) เปิดดู 48354 ครั้ง


ทางเดินบนสันอ่างทอดยาวสุดลูกหูลูกตา
อ่างแม่โก๋น2_resize.jpg
อ่างแม่โก๋น2_resize.jpg (77.53 KiB) เปิดดู 48354 ครั้ง


ผืนน้ำสีฟ้าครามดูสงบ เยือกเย็น
แม่โก๋น3_resize.jpg
แม่โก๋น3_resize.jpg (71.12 KiB) เปิดดู 48354 ครั้ง

ขอบคุณภาพจาก : Guy Marigold

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 24 ส.ค. 2019 2:22 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
วัดพระธาตุดอยนางแล อำเภอพร้าว
พระศรีมหาธาตุพระพักตร์ (พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี) ตั้งอยู่บนดอยนางแล บ้านสันปง หมู่ที่ ๕ ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ดอยนี้มีข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ จึงเรียกชื่อว่าดอยนางแล เดิมชื่อว่า พระศรีมหาธาตุพระพักตร์ เพราะพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระพักตร์ ของพระพุทธเจ้า ต่อมานานมาก พระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้ ชำรุดทรุดโทรม หักพัง ชาวพุทธจึงร่วมกันซ่อมแซมเพิ่มเติม ทำกันใหม่ โดยไม่ทราบความเป็นมาแต่เดิม จึงเรียกชื่อใหม่ว่า พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี เพราะปรียอดพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้ ทำด้วยหินแก้วมณี

ดอยนางแล_resize.jpg
ดอยนางแล_resize.jpg (123.37 KiB) เปิดดู 47566 ครั้ง


พระศรีมหาธาตุพระพักตร์ พระโกศาจารย์ปั่น พระนางศรีไส พระบิดามารดา เจ้าเมืองเวียงคำ กับพ่อขุนเพ็ง พระนางชายา พระบิดามารดาเจ้าเมืองเชียงอิน (เชียงใหม่) เป็นผู้สร้าง ซึ่งได้พระบรมสารีริกธาตุพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า มาจากเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ.๑๗๑๔

เจ้าแม่กวนอิม_resize.jpg
เจ้าแม่กวนอิม_resize.jpg (93.55 KiB) เปิดดู 47566 ครั้ง


หลวงปู่ประกายแก้ว บรรลุธรรมขั้น๒ สกิทาคามี เป็นผู้จัดการก่อสร้างดูแลมาตลอด เดิมหลวงปู่ประกายแก้วเคยเป็นอำมาตย์ของเมืองเวียงคำมาก่อน วัดกับพระศรีมหาธาตุพระพักตร์สร้างพร้อมกัน เมื่อวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒๘ เดือน เมษายน พ.ศ.๑๗๓๖ ในพื้นที่ ๒ ไร่ พระบรมธาตุเจดีย์ กว้าง ๔ วา ยาว ๔ วา สูง ๕ วา สร้างด้วยหินแก้วทั้งองค์ สร้างศาลาอาศรม ๕ หลัง รอบพระบรมธาตุเจดีย์ ๔ ทิศ ๔ หลัง

สำหรับชาวพุทธพักอาศัยเมื่อไปนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ หน้าพระบรมธาตุเจดีย์ 1 หลัง สำหรับตั้งเครื่องสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ต่อมาเป็นเวลานาน ศาลาอาศรม พระบรมธาตุเจดีย์หินแก้วชำรุด ทรุดโทรม หักพัง ชาวพุทธจึงร่วมกันสร้างขึ้นมาใหม่ลักษณะรูปทรงจึงเปลี่ยนไปจากเดิม

พระบรมสารีริกธาตุพระพักตร์ มีลักษณะกลมแบนสีขาว ขนาดเท่าลูกหมาก อยู่ในกลักทองเหลือง กว้าง ๑ เตรียก ยาว ๑ คืบ บรรจุอยู่ในส่วนบนของพระบรมธาตุเจดีย์ ชั้นล่างลงมาบรรจุดอกไม้ ธูปเทียน ทองแดง เครื่องอัฐบริขารทองคำที่สร้างพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้ เดิมตรงนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองเชียงอิน (เชียงใหม่) จึงไม่ต้องทำภาพยนตร์ ไว้ดูแลรักษาพระบรมธาตุเจดีย์สิ่งอัศจรรย์ของพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้คือ จะมีอากาศสีแดงเข้มอยู่ รอบ ๆ พระบรมธาตุเจดีย์อยู่ตลอด

นางแล 1_resize.jpg
นางแล 1_resize.jpg (93.8 KiB) เปิดดู 47566 ครั้ง


ข้อมูลจาก ปากพนังทำนาย
ภาพ : D Man Khamlapit

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 24 ส.ค. 2019 2:40 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ตำนานดอยนางแลในอดีตกาล พุทธศตวรรษที่ ๑๗ แห่งอาณาจักรล้านนา
ดอยนางแลเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระเจ้าแสนคำลือ เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นที่เคารพนับถือของชุมชน ในท้องถิ่น มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคสมัยของพระเจ้าพรหมมหาราช ผู้กอบกู้ชาติบ้านเมืองกลับคืนจากขอมที่ยึดครองอาณาจักรน่านเจ้าของไทย (พ.ศ.๑๕๙๙) ต่อพระเจ้าพรหมราชได้สร้างเมืองให้พระราชโอรสไปปกครองชื่อเมือง เวียงหินนคร พระองค์ทรงปกครองไพร่ฟ้าด้วยหลักทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ประชาราษฎร์มีความจงรักภักดีเคารพบูชาประดุจเทพเจ้า

20190817_071400_resize.jpg
20190817_071400_resize.jpg (65.25 KiB) เปิดดู 47566 ครั้ง

(ดอยนางแลทอดยาวทางทิศตะวันตกของอำเภอพร้าว)

หลังจากพระเจ้าพรหมมหาราชได้เสด็จสวรรคต เวียงหินนครเมืองลูกหลวงตกอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าแสนคำลือ พระราชโอรสองค์ที่ ๗ (พระเจ้าพรหมมหาราชมีพระราชโอรส ๘ พระองค์ พระราชธิดา ๒ พระองค์) พระองค์ทรงปกครองประชาราษฎร์ด้วยหลักทศพิธราชธรรม เจริญรอยตามพระราชบิดา บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข และแล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็บังเกิดขึ้น คือดวงแก้วชะตาเมืองได้เกิดสูญหาย ค้นหาจนทั่วไม่พบที่ใดเลย พระเจ้าแสนคำลือทรงพิจารณาโทษของพระองค์ด้วยการสละราชสมบัติให้พระเจ้าแสนหวีผู้เป็นพระอนุชาน้องชายของพระองค์ปกครองสืบต่อไป

ส่วนพระองค์ได้เสด็จออกผนวชเป็นพระดาบส นุ่งขาวห่มขาว อยู่บนภูเขาด้านทิศตะวันตกของเวียงหินนคร ก่อนเสด็จออกผนวชพระนางเจ้าศรีสุชาดาพระราชชายาของพระองค์ ขอติดตามเสด็จออกผนวชด้วย พระเจ้าแสนคำลือไม่ทรงอนุญาต ได้ตรัสห้าม กลัวพระชายาจะไปทุกข์ลำบาก และกลัวชาวเมืองจะครหานินทาจะทำให้การบำเพ็ญพรหมจรรย์ของพระองค์มัวหมอง พระนางเจ้าศรีสุชาดาทรงห่วงใยในพระสวามีมาก จึงตัดสินพระทัยไปอธิษฐานบวชศีลจาริณี บำเพ็ญเนกขัมมะบารมี อยู่บนหอคอยกลางใจเมืองเวียงหินนคร บำเพ็ญพระราชกุศลเพื่อเสริมพระบารมีให้พระเจ้าแสนคำลือดาบสให้พ้นจากวิบากกรรม พระนางทรงบำเพ็ญบารมีขั้นสูงสุด ปรมัตถะบารมี ไม่เสวยพระกระยาหารติดต่อกันนานถึง ๑๒ วัน จนในที่สุดพระหทัยวายสิ้นพระชนม์บนหอคอย พระเนตรทั้ง ๒ ไม่หลับ ยังจ้องมองไปที่ภูเขาซึ่งพระสวามีของพระนางทรงบวชอยู่

เวลาต่อมาพระเจ้าแสนหวีได้ถวายพระเพลิงบรมศพของพระนาง ปรากฎว่าพระอัฐิของพระนางเจ้ากลายเป็นพระธาตุ ได้อัญเชิญขึ้นไปถวายพระเจ้าแสนคำลือดาบส พร้อมกับได้กล่าวเล่าเรื่องราวของพระนางเจ้าฯ ให้ฟัง พระเจ้าแสนคำลือดาบสซาบซึ้งในความจงรักภักดีของพระนาง จึงรับสั่งให้สร้างพระสถูปเจดีย์ขึ้นบนยอดเขา เพื่อบรรจุพระอัฐิธาตุของพระนางไว้เป็นอนุสรณ์ ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกพระนามสถูปเจดีย์องค์นี้ว่า “พระธาตุดอยนางแล” สถานที่ปฏิบัติธรรมของพระเจ้าแสนคำลือดาบสจึงเป็นสำนักปฏิบัติธรรมของพระธาตุดอยนางแล สืบมาจนถึงทุกวันนี้

ราวๆต้นฤดูฝนของทุกปีนั้นจะมีการจัดสรงน้ำพระธาตุ( ขึ้นธาตุ )ทุกปี เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล แก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ซึ่งในงานนั้นจะจัดให้ มีการสรงน้ำพระธาตุ การแข่งขันจุดบั้งไฟ และมหรสพต่างๆอีกมากมาย

มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า พญาแสนคำลือเป็นผู้สร้างวัดบนดอยนางแล และวัดพระธาตุกลางใจเมืองก่อนพญากือนากษัตริย์เชียงใหม่องค์ที่ ๖ สันนิษฐานว่าวัดคงจะกลายเป็นวัดร้างก่อนที่พญากือนาจะสร้าง เนื่องจากในอดีตวัดต่างๆจะสร้างด้วยไม้จึงผุพังได้ง่าย อีกทั้งไม่ได้ทำการจารึกไว้ คนทั่วไปจึงเข้าใจว่าผู้สร้างวัดพระธาตุกลางใจเมือง (สะดือเมือง) ครั้งแรก คือพญากือนา

ทั้งนี้วัดพระธาตุกลางใจเมืองถือเป็นใจบ้านใจเมืองของเมืองพร้าวมาแต่ครั้งอดีต จึงควรให้ความสำคัญให้อยู่เป็นศรีบ้านศรีเมืองสืบไป

อ้างอิง : เรื่องราวมุขปาฐะ,ข้อมูลจากกระทรวงวัฒนธรรม

เมื่อกล่าวถึงวัดพระธาตุดอยนางแลแล้ว หากไม่กล่าวถึงวัดสันปงก็คงจะเป็นบทความที่ไม่สมบูรณ์นัก เนื่องจากทั้งสองวัดมีความเชื่อมโยงกันในสมัยที่ อดีต "พระครูใบฎีกานิกร ธรรมวาที" ยังเป็นพระนักเทศน์ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย (ต่อมาต้องปาราชิกจนต้องสึกจากการเป็นพระ)อดีต "พระครูใบฎีกานิกร ธรรมวาที" ได้พัฒนาวัดสันปงและวัดพระธาตุดอยนางแลจนมีทัศนียภาพและสถาปัตยกรรมที่สวยงาม

พระเกศแก้วสันปง_resize.jpg
พระเกศแก้วสันปง_resize.jpg (186.07 KiB) เปิดดู 47566 ครั้ง

(พระธาตุเกตุเเก้วจุฬามณี วัดสันปง)

วัดสันปง ตั้งอยู่หมู่ ๕ ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดราษฎร์ มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.๒๔๒๓


พระเกศแก้ว วัดสันปง_resize.jpg
พระเกศแก้ว วัดสันปง_resize.jpg (109.17 KiB) เปิดดู 47566 ครั้ง


ภาพ : Peary Pie