บ้านไร่ในฝัน..บ้านเพียงพอ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูลความรู้ทั่วไปและการทำบุญ

Re: บ้านไร่ในฝัน..บ้านเพียงพอ

โพสต์โดย pasasiam » อาทิตย์ 30 ต.ค. 2016 4:51 pm

บ้านไร่ในฝัน"บ้านเพียงพอ"

ปลูกกัลปพฤกษ์ ๔ ต้น ชมพูพันธ์ทิพย์ ๒ ต้น นางพญาเสือโคร่ง ๔ ต้น

ประดู่แดง ๒ ต้น ราชพฤกษ์ ๔ ต้น อินทนิล ๒ ต้น และสุพรรณิการ์ ๒ ต้น

พอถึงฤดูกาลต้นไม้จะผลัดใบ เหลือแต่ดอกสีสันสดใส จะได้มองเห็นเด่นสง่าอยู่กลางทุ่งนาตั้งแต่ไกลๆ

15529_resize.jpg
15529_resize.jpg (115.43 KiB) เปิดดู 76374 ครั้ง


15528_resize.jpg
15528_resize.jpg (109.97 KiB) เปิดดู 76374 ครั้ง



บ้านไร่ในฝัน"บ้านเพียงพอ"

ตั้งอยู่ หมู่ ๗ ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่


"บ้านเพียงพอ" เริ่มต้นจากความรักธรรมชาติผสมผสานความรักในวิถีชาวบ้าน วิถีล้านนา ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ ทีละนิดทีละหน่อย สร้างและทำให้งดงาม น่าอยู่ ทำทุกอย่างด้วยมือ รังสรรค์ด้วยใจ

#บ้านเพียงพอ เราอยู่อย่างพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงไม่จำเป็นต้องเป็นการเกษตรอย่างเดียว แต่เราเป็นครอบครัวเกษตรกรค่ะ เราจึงเลือกที่จะใช้พื้นที่มรดกตกทอดจากบรรพบุรุษให้เกิดประโยชน์ เราวางแผน เราลงมือทำอย่างตั้งใจ เราไม่เอาเปรียบใคร และมีความสุขที่ได้ทำ

จำหน่าย กุ้งเครย์ฟิช (Crayfish) กุ้งก้ามแดง เดรสทรัคเตอร์ และสโนว์ ปลาดุก ปลาช่อน มะละกอแขกนวลดำเนิน มันหวานญี่ปุ่น (ม่วงโอกินาวา และเหลืองมงกุฏ) ผักกาด ถั่วฝักยาว ลำไย กล้วย สตรอว์เบอร์รี่ พันธุ์พระราชทาน ๘๐ มะม่วง ลำไย กระท้อน มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ ชวนชม ทานตะวัน แกลดิโอลัส ฯลฯ


ชมความงดงามตามธรรมชาติ ติดตามเพจ บ้านไร่ในฝัน บ้านเพียงพอ https://www.facebook.com/banrainaifunbanpiangpor/

เพจ กุ้งก้ามแดง https://www.facebook.com/namfarcrayfishchiangmai/
แก้ไขล่าสุดโดย pasasiam เมื่อ อาทิตย์ 30 ต.ค. 2016 5:12 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: บ้านไร่ในฝัน..บ้านเพียงพอ

โพสต์โดย pasasiam » อาทิตย์ 30 ต.ค. 2016 5:01 pm

บ่าแป๋ (ฝักเหมือนถั่วฝักยาว แต่จะสั้นกว่า ต้มกินตอนหน้าหนาว อร่อยนัก)

15570_resize.jpg
15570_resize.jpg (106.44 KiB) เปิดดู 76374 ครั้ง


มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ

15530_resize.jpg
15530_resize.jpg (101.39 KiB) เปิดดู 76374 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: บ้านไร่ในฝัน..บ้านเพียงพอ

โพสต์โดย pasasiam » อาทิตย์ 30 ต.ค. 2016 5:03 pm

แตงโม
15572_resize.jpg
15572_resize.jpg (95.78 KiB) เปิดดู 75898 ครั้ง


มะละกอแขกนวลดำเนิน
15573_resize.jpg
15573_resize.jpg (108.59 KiB) เปิดดู 75898 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: บ้านไร่ในฝัน..บ้านเพียงพอ

โพสต์โดย pasasiam » อาทิตย์ 30 ต.ค. 2016 5:05 pm

ถั่วผักยาว

15574_resize.jpg
15574_resize.jpg (102.73 KiB) เปิดดู 75898 ครั้ง


ผักกาด
15575_resize.jpg
15575_resize.jpg (107.32 KiB) เปิดดู 75898 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: บ้านไร่ในฝัน..บ้านเพียงพอ

โพสต์โดย pasasiam » อาทิตย์ 30 ต.ค. 2016 5:07 pm

กล้วย
15578_resize.jpg
15578_resize.jpg (70.81 KiB) เปิดดู 75898 ครั้ง


มะเขือเทศ
15579_resize.jpg
15579_resize.jpg (101.07 KiB) เปิดดู 75898 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: บ้านไร่ในฝัน..บ้านเพียงพอ

โพสต์โดย pasasiam » อาทิตย์ 30 ต.ค. 2016 5:09 pm

แกลดิโอลัส

82020_resize.jpg
82020_resize.jpg (68.62 KiB) เปิดดู 75898 ครั้ง


สตรอว์เบอร์รี่
15581_resize.jpg
15581_resize.jpg (106.37 KiB) เปิดดู 75898 ครั้ง


บ้านไร่ในฝัน"บ้านเพียงพอ"

ตั้งอยู่ หมู่ ๗ ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

"บ้านเพียงพอ" เริ่มต้นจากความรักธรรมชาติผสมผสานความรักในวิถีชาวบ้าน วิถีล้านนา ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ ทีละนิดทีละหน่อย สร้างและทำให้งดงาม น่าอยู่ ทำทุกอย่างด้วยมือ รังสรรค์ด้วยใจ

จำหน่าย กุ้งเครย์ฟิช (Crayfish) กุ้งก้ามแดง เดสทรัคเตอร์ และสโนว์ ปลาดุก ปลาช่อน มะละกอแขกนวลดำเนิน มันหวานญี่ปุ่น (ม่วงโอกินาวา และเหลืองมงกุฏ) ผักกาด ถั่วฝักยาว ลำไย กล้วย สตรอว์เบอร์รี่ พันธุ์พระราชทาน ๘๐ มะม่วง ลำไย กระท้อน มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ ชวนชม ข้าวโพด แตงโม ทานตะวัน แกลดิโอลัส ฯลฯ

ชมความงดงามตามธรรมชาติ ติดตามเพจ บ้านไร่ในฝัน บ้านเพียงพอ https://www.facebook.com/banrainaifunbanpiangpor/

เพจ กุ้งก้ามแดง https://www.facebook.com/namfarcrayfishchiangmai/
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: บ้านไร่ในฝัน..บ้านเพียงพอ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อังคาร 01 พ.ย. 2016 8:21 am

บ้านไร่ในฝัน"บ้านเพียงพอ"

S__1974274_resize.jpg
S__1974274_resize.jpg (93.21 KiB) เปิดดู 75423 ครั้ง


ตั้งอยู่ หมู่ ๗ ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่


"บ้านเพียงพอ" เริ่มต้นจากความรักธรรมชาติผสมผสานความรักในวิถีชาวบ้าน วิถีล้านนา ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ ทีละนิดทีละหน่อย สร้างและทำให้งดงาม น่าอยู่ ทำทุกอย่างด้วยมือ รังสรรค์ด้วยใจ

#บ้านเพียงพอ เราอยู่อย่างพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงไม่จำเป็นต้องเป็นการเกษตรอย่างเดียว แต่เราเป็นครอบครัวเกษตรกรค่ะ เราจึงเลือกที่จะใช้พื้นที่มรดกตกทอดจากบรรพบุรุษให้เกิดประโยชน์ เราวางแผน เราลงมือทำอย่างตั้งใจ เราไม่เอาเปรียบใคร และมีความสุขที่ได้ทำ

จำหน่าย กุ้งเครย์ฟิช (Crayfish) กุ้งก้ามแดง เดรสทรัคเตอร์ และสโนว์ ปลาดุก ปลาช่อน มะละกอแขกนวลดำเนิน มันหวานญี่ปุ่น (ม่วงโอกินาวา และเหลืองมงกุฏ) ผักกาด ถั่วฝักยาว ลำไย กล้วย สตรอว์เบอร์รี่ พันธุ์พระราชทาน ๘๐ มะม่วง ลำไย กระท้อน มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ ชวนชม ทานตะวัน แกลดิโอลัส ฯลฯ

2238_resize.jpg
2238_resize.jpg (100.58 KiB) เปิดดู 75423 ครั้ง


ชมความงดงามตามธรรมชาติ ติดตามเพจ บ้านไร่ในฝัน บ้านเพียงพอ https://www.facebook.com/banrainaifunbanpiangpor/

เพจ กุ้งก้ามแดง https://www.facebook.com/namfarcrayfishchiangmai/
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: บ้านไร่ในฝัน..บ้านเพียงพอ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อังคาร 01 พ.ย. 2016 1:47 pm

การทำปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ)
1. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 1 ส่วน ( กระสอบ)
2. แกลบดิบ 1 ส่วน ( กระสอบ)
3. รำละเอียด 1 ส่วน ( กระสอบ)
4. จุลินทรีย์ EM 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)
5. กากน้ำตาล 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)
6. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง
วิธีทำ
ขั้นที่ 1 เตรียมจุลินทรีย์ EM , กากน้ำตาล , น้ำสะอาด , ผสมไว้ในถังน้ำ
ขั้นที่ 2 นำมูลสัตว์ + รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
ขั้นที่ 3 นำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM ในขั้นที่ 1 จุ่มให้เปียกแล้วบีบพอหมาดๆ
นำมาคลุกกับส่วนผสม ขั้นที่ 2 ให้เข้ากันจะได้ความชื้น 40 – 50 %( กำแล้วไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ)
การ หมัก เอาส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงในกระสอบป่าน , ถุงปุ๋ย ที่อากาศถ่ายเทได้ โดยบรรจุลงไป ? ของกระสอบไม่ต้องกดให้แน่น นำไปวางลงในที่มีฟางรอง เพื่อการระบายอากาศในส่วนส่วนล่างพลิกกลับกระสอบ ในวันที่ 2,3,4 ทุกๆ วัน ในวันที่ 2 – 3 อุณหภูมิ จะสูงถึง 50 0c – 60 0c วันที่ 4 และวันที่ 5 อุณหภูมิเย็นลงจนปกติตรวจดูไม่ให้อุณหภูมิเกิน 36 0c ปุ๋ยแห้งสนิทสามารถนำไปใช้ได้
การเก็บรักษา
เก็บรักษาเมื่อโบกาฉิแห้งสนิทควรเก็บรักษาในที่ร่ม ไม่โดนฝนและไม่โดนแดด สามารถเก็บรักษา
ได้นานประมาณ 1 ปี
วิธีใช้
1. ใช้ปุ๋ยแห้งในแปลงปลูกต้นไม้ทุกชนิดในอัตราส่วนปุ๋ยแห้ง 1 กำมือ/พื้นที่ 1 ตรม. แล้วทำการเพาะปลูกได้
2. พืชผักที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น ฟักทอง , แตงกวา , ถั่วฝักยาว , กระหล่ำปลี ใช้ปุ๋ยแห้งรองก้นหลุมก่อนปลูกใช้ประมาณ 1 กำมือ
3. ไม้ยืนต้น , ไม้ผล ควรรองก้นหลุ่มด้วย เศษหญ้า – ใบไม้ ฟางแห้ง และปุ๋ยแห้งประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋ ส่วนไม้ยืนต้น , ไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยแห้ง ให้รอบทรงพุ่มแล้วคลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง , ฟางแห้ง
4. ไม้ดอก , ไม้ประดับ , ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยแห้งสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ รอบๆ โคนต้น
ข้อควรจำ
เมื่อใช้ปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) ต้องใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นด้วยเสมอ เพื่อให้จุลินทรีย์ ที่พักตัวทำงานได้ดี

ที่มา http://www.kasedtakon.com/

วิธีการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพตัวขยาย
อัตราส่วนเริ่มต้น เหมาะสำหรับทำใช้ในครัวเรือน และพื้นที่น้อย
– ถังพลาสติกที่มีฝาปิดใส่น้ำสะอาด 8 ลิตร ถ้าเป็นน้ำประปาก็ขังไว้ให้หมดคลอรีน 3-4 วัน
– ใส่กากน้ำตาล 300 ซีซี (ครึ่งขวดเล็ก) คนให้กากน้ำตาลละลาย
– ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ 300 ซีซี คนให้เข้ากัน (หัวเชื้อแอ๊คติโนมัยซิท หรือหัวเชื้อบาซิลลัส )
– ปิดฝาซีนให้แน่น 3-4 วัน
เมื่อครบ 3-4 วัน พอเปิดฝาถังออกจะเกิดฝ้าขาวลอยอยู่ด้านบน
นั่นแสดงว่าขบวนการหมักสมบูรณ์ดี ประโยชน์การใช้ถ้านำไปใช้กับสิ่งแวดล้อม
ประมง การปศุสัตว์ใช้เวลาหมัก 3-7 วันก็สามารถนำไปใช้ได้แล้ว เพราะว่าเอาแค่จุลินทรีย์ไม่ได้เอาธาตุอาหาร
แต่ถ้าใช้กับต้นไม้ ให้หาธาตุอาหารมาใส่ และหมักไปถึง 3 เดือน ให้ความเป็นกรดลดลงเสียก่อน
แต่เนื่องจากความแตกต่างของพืชแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน เช่น พืชบางชนิดต้องการดอก
บางชนิดต้องการผล บางชนิดต้องการต้นและใบ
ถ้าจะเร่งต้น เร่งใบ ก็เอา พืชประเภท ไนโตรเจน มาใส่ เช่น กระถิน กระเฉด คะน้า กวางตุ้ง ถั่วต่างๆ
เอามาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันให้ได้ 1 ก.ก.สับเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ถุงตาข่าย นำไปหมัก 3 เดือน
ถ้าเร่งดอก ก็ใช้หนอ่ไม้ฝรั่ง ใบแก่ชะอม มูลค้างคาว หินฟอสเฟต เปลือกกุ้ง ฟักทอง บล๊อกโคลี่ เปลือกไข่
ถ้าเร่งผล ก็พวก ผลไม้สุก กล้วยหอมงอม พริกสด กระเจี๊ยบเขียว
อัตราการใช้ 1-2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีด พ่น ราด รด วันเว้นวัน จะช่วยปรับปรุงดิน ธาตุอาหารจะช่วยบำรุงต้นไม้
ใช้กับสิ่งแวดล้อม นำไปใส่ท่อเพื่อขจัดไขมันอุดตัน ใส่แหล่งน้ำเพื่อขจัดน้ำเสีย ใส่ห้องน้ำดับกลิ่น
ใช้กับปศุสัตว์ 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 50 ลิตร ให้สัตว์กิน ผสมน้ำ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อขจัดกลิ่น
ฮอร์โมนเร่งโต เร่งดอก เร่งใบ เร่งราก
วัสดุอุปกรณ์
1.ยอดกระถิน (เก็บตอนเช้ามืดยังไม่ถูกแสงแดด) 1 กก.
2.หัวไชเท้า 1 กก.
3.มะพร้าวขูด 1 กก.
4.น้ำมะพร้าวแก่ 19 ลิตร
5.จุลินทรีย์ 1 ลิตร
ขั้นตอนที่ 1
การขยายจุลินทรีย์ในน้ำมะพร้าว นำจุลินทรีย์ 1 ลิตร ผสมลงในน้ำมะพร้าวแก่ จำนวน 19 ลิตร คนให้เข้ากัน 1-3 วันแรกเปิดฝาระบายอาศวันละครั้งหมักไว้ 15 วัน
ขั้นตอนที่ 2
ก็บยอดกระถินตอนเช้ามืดสับหรือโขลกให้พอแตก หัวไซเท้าสับหรือโขลกให้พอแตก มะพร้าวขูดนำทั้ง 3 อย่างมาห่อผ้าเสื้อยึดอย่างหนา แช่ในน้ำมะพร้าวที่ขยายในจุลินทรีย์ หมักไว้ 15 วัน ยกถุงพืชออบีบน้ำ นำน้ำหมักที่ได้บรรจุใส่ขวดเก็บไว้ใช้ในการฉีดพ่นเป็นฮอร์โมน
ประโยชน์ : เป็นฮอร์โมนเร่งโต เร่งดอก เร่งใบ เร่งราก
อัตราการใช้ : 40 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร ควรฉีดพ่น 10-15 วันต่อครั้ง
ที่มา http://www.kasedtakon.com/


วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อการเกษตร
เราสามารถใช้พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ เช่นหอยเชอรี่ ทำน้ำหมักชีวภาพได้

ส่วนผสม : พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง นำมาทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วนต่อกากน้ำตาล 1 ส่วน (ใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน

วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือนหรือนานกว่านั้น ได้เป็นน้ำหมักแล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้
วิธีใช้
สูตรบำรุงใบพืชผักผลไม้ ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หากต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก
สูตรเพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้ดินร่วนซุย ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
สูตรกำจัดวัชพืช ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน หากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า
หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา เมื่อนำไปผสมอีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น
ที่มา http://www.kasedtakon.com/
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: บ้านไร่ในฝัน..บ้านเพียงพอ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อังคาร 01 พ.ย. 2016 1:48 pm

องค์ความรู้สืบสานแนวพระราชดำริ เรื่อง ดิน
แนวพระราชดำริเรื่อง “ดิน””ดิน” เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างหนึ่งเคียงคู่กับ “น้ำ” ในการทำเกษตร ต่อให้มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่มีดินที่เลว กล่าวคือ โครงสร้างแน่น อัดตัวเป็นก้อน ปราศจากซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช ก็เป็นการยากต่อการปลูกพืชไม่ว่าพืชชนิดใดๆ ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญของดิน โดยเฉพาะการปรับปรุงบำรุงดินและการจัดสรรที่ดิน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของประเทศที่ทำการเกษตรเป็นหลักอย่างไทยเราจึงนำมาซึ่งแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาดินที่สำคัญดังนี้
1. การแก้ปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร
ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา งานจัดและพัฒนาที่ดินเป็นงานแรกๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญ ทรงเริ่มโครงการพัฒนาที่ดินหุบกะพง ตามพระราชประสงค์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาการไม่มีที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นสำคัญ ดังพระราชดำรัสไว้ ณ สำนักงาน กปร. ในปี พ.ศ. 2531 ว่า
“มีความเดือดร้อนอย่างยิ่งว่าประชาชนในเมืองไทยจะไร้ที่ดิน และถ้าไร้ที่ดินแล้วก็จะทำงานเป็นทาสเขา ซึ่งเราไม่ปรารถนาที่จะให้ประชาชนเป็นทาสคนอื่น แต่ถ้าเราสามารถที่จะขจัดปัญหานี้ โดยเอาที่ดินจำแนกจัดสรรอย่างยุติธรรม อย่างมีการจัดตั้งจะเรียกว่านิคม หรือจะเรียกว่าหมู่หรือกลุ่ม หรือสหกรณ์ก็ตาม ก็จะทำให้คนที่มีชีวิตแร้นแค้นสามารถที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้”
พระราชดำริแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเรื่องดิน คือ ทรงนำเอาวิธีการปฏิรูปที่ดินมาใช้ในการจัดและพัฒนาที่ดินที่เป็นป่าเสื่อมโทรม รกร้าง ว่างเปล่า นำมาจัดสรรให้เกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินได้ประกอบอาชีพในรูปของหมู่บ้านสหกรณ์ และโครงการจัดและพัฒนาที่ดินในรูปแบบอื่นๆ ทั้งนี้โดยให้สิทธิทำกินชั่วลูกชั่วหลาน แต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ในการถือครอง พร้อมกับจัดบริการพื้นฐานให้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการจัดพื้นที่ทำกินให้ราษฎรชาวไทยภูเขา สามารถดำรงชีพอยู่ได้เป็นหลักแหล่ง โดยไม่ต้องทำลายป่าอีกต่อไป
ในการจัดพื้นที่ต่าง ๆ ดังที่กล่าวมานี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีหลักการว่าต้องมีการวางแผนการจัดการให้ดีเสียตั้งแต่ต้น โดยใช้แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศช่วย ไม่ควรทำแผนผังที่ทำกินเป็นลักษณะตารางสี่เหลี่ยมโดยไม่คำนึงถึงสภาพภูมิประเทศ แต่ควรจัดสรรพื้นที่ทำกินแนวพื้นที่รับน้ำจากโครงการชลประทาน นั่นคือ จะต้องดำเนินโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรควบคู่ไปกับการพัฒนาแหล่งน้ำ เช่น โครงการนิคมสหกรณ์หุบกะพงในพระบรมราชูปถัมภ์ อ.ชะอำ จ. เพชรบุรี โครงการจัดพัฒนาที่ดินทุ่งลุยลาย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ และโครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเหล่านี้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ 1) เพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ในด้านการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2) เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรมีที่ดินสำหรับประกอบอาชีพและอยู่อาศัย 3) เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรรู้จักพึ่งตนเอง และช่วยเหลือส่วนรวม ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม บางโครงการมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจในการบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่องที่ทำกินของราษฎรที่ถูกอพยพออกจากพื้นที่2. การอนุรักษ์และฟื้นฟูดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยและให้ความสำคัญมากขึ้นในงานอนุรักษ์และฟื้นฟูดิน ที่มีสภาพธรรมชาติและปัญหาที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค โดยเขียนไว้ในเอกสารพระราชทานว่า “ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรม ต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้ มีแร่ธาตุที่เรียกว่า ปุ๋ย ส่วนประกอบสำคัญคือ 1) N (nitrogen) ในรูป nitrate 2) P (phosphorus) ในรูป phosphate 3) K (potassium) และแร่ธาตุ อื่นๆ O H Mg Fe มีระดับ เปรี้ยว ด่าง ใกล้เป็นกลาง (pH 7) มีความเค็มต่ำ มีจุลินทรีย์ มีความชื้นพอเหมาะ (ไม่แห้ง ไม่แฉะ) มีความโปร่งพอเหมาะ (ไม่แข็ง)” จึงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาที่ดินที่เน้นเฉพาะเรื่องมากขึ้น เช่น การศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินทราย ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาดินพรุในภาคใต้ และที่ดินชายฝั่งทะเล รวมถึงการแก้ไขปรับปรุงและฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมพังทลายจากการชะล้างหน้าดิน ตลอดจนการทำแปลงสาธิตการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเสื่อมโทรม เพื่อให้พื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องดินจากหลายๆ สาเหตุ กลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อีก
ดังนั้น โครงการต่างๆ ในระยะหลัง จึงเป็นการรวบรวมความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติจากหลากหลายสาขา มาใช้ร่วมกันในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ แนวคิดและตัวอย่างการจัดการทรัพยากรดินในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 แห่ง ที่ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นตัวอย่างในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การขยายพันธุ์พืชเพื่ออนุรักษ์ดินและบำรุงดิน และสนับสนุนให้เกษตรกรเรียนรู้เข้าใจวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน สามารถนำไปปฏิบัติได้เอง ทรงมีพระราชดำริว่า “การปรับปรุงที่ดินนั้นต้องอนุรักษ์ผิวดิน ซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ไม่ให้ไถ หรือลอกหน้าดินทิ้งไป สงวนไม้ยืนต้น ที่ยังเหลืออยู่ เพื่อที่จะรักษาความชุ่มชื่นของผืนดิน”
แนวพระราชดำริในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูดิน ที่สำคัญแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
1) แบบจำลองการพัฒนาพื้นที่ที่มีสภาพขาดความสมบูรณ์ ดินปนทราย และปัญหาการชะล้างพังทลาย
2) การแก้ปัญหาดินเปรี้ยว โดยทฤษฎีแกล้งดิน
3) การอนุรักษ์ดินโดยหญ้าแฝก
4) การห่มดิน
2.1 แบบจำลองการฟื้นฟูบำรุงดินที่มีสภาพขาดความสมบูรณ์ ดินปนทราย และปัญหาการชะล้างพังทลาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัยการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ ที่มีสภาพปัญหาต่างกันตามภูมิสังคม ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาดูงานและนำความรู้ไปปรับใช้ตามสภาพปัญหาพื้นที่
2.2 การแก้ปัญหาดินเปรี้ยวด้วย “ทฤษฎีแกล้งดิน”
ดินเปรี้ยวหรือดินพรุ เป็นสภาพธรรมชาติของดินที่เกิดจากอินทรียวัตถุสะสมจำนวนมาก เป็นเวลานานจนแปรสภาพเป็นดินอินทรีย์ที่มีความเป็นกรดกำมะถันสูง เมื่อดินแห้งกรดกำมะถันจะทำปฏิกิริยากับอากาศ ทำให้แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเกษตรได้ผลน้อยไม่คุ้มทุน พบมากในภาคตะวันออกและภาคใต้ และบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ในการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ “แกล้งดิน” โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการแกล้งดิน เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการแกล้งดินให้เปรี้ยว ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไปเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรต์ (Pyrite หรือ FeS2) ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (O2) ในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถัน (sulphuric Acid) ออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น “แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด” จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ 1. ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรต์อยู่ เพื่อไม่ให้สารไพไรต์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์ (Oxidization)
2. การปรับปรุงดินมี 3 วิธีการ ตามสภาพของดินและความเหมาะสม ได้แก่ ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด ดินจะเปรี้ยวจัดในช่วงดินแห้งหรือในฤดูแห้ง ดังนั้นการชะล้างควรเริ่มในฤดูฝนเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำชลประทาน การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดต้องกระทำต่อเนื่องและต้องหวังผลในระยะยาว มิใช่กระทำเพียง 1 หรือ 2 ครั้งเท่านั้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่จำเป็นต้องมีน้ำมากพอที่จะใช้ชะล้างดินควบคู่ไปกับการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน ให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์มาก เมื่อดินคลายความเปรี้ยวลงแล้วจะมีค่า pH เพิ่มขึ้น อีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมินัมที่เป็นพิษก็เจือจางลงจนทำให้พืชสามารถ เจริญเติบโตได้ดี ถ้าหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตช่วย ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี ถ้าหากใช้ปุ๋ยในโตรเจนและฟอสเฟตช่วยก็สามารถทำการเกษตรได้ ใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน ปูนที่หาได้ง่ายในท้องที่ เช่น ใช้ปูนมาร์ล (mar) สำหรับภาคกลาง หรือปูนฝุ่น ( lime dust ) สำหรับภาคใต้ หว่านให้ทั่ว 1-4 ตันต่อไร่แล้วไถแปรหรือพลิกกลบคืน ข้อควรจำคือ ไม่มีสูตรตายตัว โดยปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในความเป็นกรดของดิน
การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมา ในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรงและถูกปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน โดยเริ่มจากหว่านปูนให้ทั่วพื้นที่ ใช้ปูน 1-2 ตันต่อไร่ แล้วไถกลบ จากนั้นใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดออกจากหน้าดิน และควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์มากเพื่อป้องกันไม่ให้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เพราะจะทำดินกลายเป็นกรด
3. การปรับสภาพพื้นที่มีอยู่ 2 วิธี ได้แก่
การปรับผิวหน้าดิน โดยการทำให้ผิวหน้าดินลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลออกไปสู่คลองระบายน้ำได้หรือ ถ้าเป็นการทำนาก็จัดตกแต่งแปลงนาและคันนา ให้สามารถเก็บกักน้ำและสามารถระบายน้ำออกได้ถ้าต้องการ
การยกร่องปลูกพืช วิธีนี้ใช้สำหรับพื้นที่ที่จะทำการปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น แต่วิธีนี้จำเป็นจะต้องมีแหล่งน้ำชลประทาน เพราะจะต้องขังน้ำไว้ในร่องเพื่อใช้ถ่ายเทเปลี่ยน เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด ในการขุดร่องนี้ เกษตรกรจะต้องทราบว่าในพื้นที่นั้นมีดินชั้นเลนซึ่งเป็นดินที่มีสารประกอบไพไรต์มากอยู่ลึกในระดับใด เพราะเมื่อขุดร่องจะให้ลึกเพียงระดับดินเลนนั้น โดยทั่วไปจะลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร ขั้นตอนการปรับปรุงดินเพื่อทำการเกษตรประเภทต่างๆ
ขั้นตอนการขุดร่องสวน วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร
ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกข้าว
ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกพืชล้มลุก
ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกไม้ผล2.3 การอนุรักษ์ดินด้วยหญ้าแฝก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 ทรงตรัสว่าหญ้าแฝกเป็นหญ้าของไทยสามารถใช้อนุรักษ์ดินและน้ำได้ดี ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ในขณะนั้นยังไม่มีใครรู้จักหญ้าแฝก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระองค์แรกที่ทำการทดลองเลี้ยงและปลูกหญ้าแฝกเป็นจำนวน 1 ล้านถุงแรกที่ดอยตุง หลายหน่วยงานพยายามค้นหาหญ้าแฝกตามสถานที่ต่างๆ แต่ก็ล้มเหลว จนต้องเชิญ ดร.เต็ม สมิตินันท์ ปรมาจารย์ทางด้านพฤกษศาสตร์ ท่านก็ไปช่วยหาหญ้าแฝกทั่วประเทศ ในที่สุดก็เจอหญ้าแฝกที่เพชรบุรี เป็นหญ้าแฝกที่มีกอใหญ่มาก จากนั้นก็เริ่มรวบรวมหญ้าแฝก กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานแรกที่ทำการรวบรวมหญ้าแฝก โดยรวบรวมมาจากหลายจังหวัด ขณะนี้สามารถรวบรวมสายพันธุ์ของหญ้าแฝกได้กว่า 100 สายพันธุ์ ถ้าพบที่สงขลาเรียกว่าสายพันธุ์สงขลา พบที่กำแพงเพชรเรียกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร พบที่อุดรก็เรียดว่าสายพันธุ์อุดร จากการสำรวจพบว่ามีกระจายอยู่ทั่วประเทศ กรมพัฒนาที่ดินได้นำเอาหญ้าแฝกมาป้องกันการชะล้างพังทลายหน้าดินตามลำคลอง อ่างเก็บน้ำ หญ้าแฝกช่วยกรองทำให้น้ำใส
(ที่มา :จากการบรรยาย ดร.วีระชัย ณ นคร 27 สิงหาคม 2553 ในการเสวนา “เกษตรยั่งยืน ฟื้นฟูภูมิปัญญา พัฒนาสู่สากล” ในงาน ทักษิณวิชาการ-เกษตรแฟร์ ครั้งที่ 6 และงานนิทรรศการปิดทองหลังพระฯ)ประโยชน์ของหญ้าแฝก
หญ้าแฝกมีรากยาวที่สุดในบรรดาพืชตระกูลหญ้าทั้งหมด ดินที่แข็งมากก็ทำให้ร่วนซุยด้วยหญ้าแฝก ภายใน 6-8 เดือน หญ้าแฝกจะหยั่งรากลึกชอนไชให้ดินเกิดรูพรุนทำให้ดินใช้ประโยชน์ได้ และสามารถฟื้นฟูดินที่เสื่อมสภาพให้ใช้ประโยชน์ได้ภายใน 1 – 2 ปี
ประโยชน์ของหญ้าแฝกมีดังนี้
1) ปรับปรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของดิน
2) ป้องกันการชะล้างพังทะลายของดินในพื้นที่เปิดใหม่ลาดชันหรือในพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก
3) ช่วยป้องกันการสูญเสียหน้าดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตะกอนดินที่ถูกน้ำกัดเซาะและพัดพามา โดย จะถูกกอหญ้าแฝกดักไว้เมื่อเวลาผ่านไปหลาย ๆ ปีจะกลายเป็นขั้นบันไดดินตามธรรมชาติ
4) ช่วยลดความรุนแรงและความเร็วของน้ำไหลบ่าเมื่อน้ำไหลมาปะทะแนวกอแฝก แล้วน้ำจะซึมลงสู่ดิน น้ำบางส่วนจะไหลผ่านแนวกอแฝกอย่างช้า ๆ
5) ช่วยเสริมความมั่นคงแข็งแรงตามแนวตลิ่ง ฝายกั้นน้ำ ทางระบายน้ำ คลองส่งน้ำ ริมถนนสูง
6) ใช้เป็นวัสดุคลุมดินรักษาความชุ่มชื้นและควบคุมวัชพืช
7) สามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์และปุ๋ยหมักได้เป็นอย่างดี
8) สามารถนำรากหญ้าแฝกหอมมาสกัดเพื่อทำน้ำหอม และเครื่องหอม ได้แก่ ใช้อบเสื้อผ้า ทำสบู่ผสมกับสีผึ้ง และดินสอพอง
9) สามารถนำไปทำเป็นสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์หัตถกรรมและเครื่องปั้นดินเผา
10) นำใบใช้ทำตับหญ้ามุงหลังคา ใช้ทำเครื่องประดับ เครื่องใช้ เช่น กระเป๋า พัด ไม้แขวนเสือ ส่วนรากใช้ทำน้ำมันหอม สบู่ ยาสมุนไพรรักษาโรคบางชนิด เช่น รากบดละเอียดผสมน้ำแก้ไข้ แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดี รากต้มดื่มช่วยละลายนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
11) เพื่อการฟื้นฟูสภาพดินในพื้นที่ที่เป็นดินเกลือ มีการทดลองปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ดินเค็มเพื่อดูดเกลือ และปลูกด้านข้างของลำคลองที่เป็นดินเกลือ พบว่าหญ้าแฝกสามารถเติบโตได้”หญ้าแฝกเป็นพืชที่ระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพงช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษาและทดลองปลูกในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวางโดยพิจารณาจากลักษณะของภูมิประเทศ คือ บนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและช่วยเก็บความชื้นของดินไว้ด้วย บนพื้นที่ราบให้ปลูกหญ้าแฝกรอบแปลงพืชไร่ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่เพื่อที่รากของหญ้าแฝกจะอุ้มน้ำไว้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในดิน” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝก – ลักษณะของหญ้าแฝก
– การขยายพันธุ์หญ้าแฝก
– การดูแลรักษาหญ้าแฝก
– รูปแบบการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรม
– การปลูกหญ้าแฝกตามหลักวิชาการ
2.4 การห่มดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการดูแลและรักษาดินอีกทางหนึ่ง นั่นคือ “การห่มดิน” เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้น จุลินทรีย์ทำงานได้ดี อันจะส่งผลให้ดินบริเวณนั้นทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและพัฒนาทรัพยากรดินให้เกิดแร่ธาตุ ทั้งนี้การห่มดินมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีการ เช่น ใช้ฟางและเศษใบไม้มาห่มดินหรือวัสดุอื่นตามที่หาได้ตามสภาพทั่วไปของพื้นที่, การใช้พรมใยปาล์ม (wee drop) ซึ่งทำมาจากปาล์มที่ผ่านการรีดน้ำมันแล้ว เริ่มจากการนำทะลายปาล์มมาตะกุยให้เป็นเส้น ๆ ก่อนจะเอาไปอัดให้เป็นแผ่นเป็นผ้าห่มดิน นอกจากประโยชน์ที่กล่าวไปแล้ว การห่มดินยังจะช่วยคลุมหน้าดินไม่ให้วัชพืชขึ้นรบกวนต้นไม้/พืชหลักอีกด้วยกรณีตัวอย่างการนำแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้
จ่าเอกเขียน สร้อยสม นายจันทร์ ชาญแท้
นายสมโชค สำราญ
นายสำรอง แตงพลับ
นายอนิรุทธิ์ ศรีสุรินทร์
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
กรมพัฒนาที่ดิน ดร.พิสุทธิ์ วิจารณ์สรณ์ โครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ
ดร.วีระชัย ณ นคร มูลนิธิชัยพัฒนา
ดร.อุทัย จารณศรี โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
นายเจษฎา สาระ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จ.เพชรบุรี
นายเกริกเกียรติ ทินนา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จ.เชียงใหม่
-.-.-.-.-.-.-.–.-.-.–.-.-.–.-.-.-.–.-.-.-.-.-.–.-.-.–.-.-.-.-..–.-..-.-.–.-.-.
สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
๙๘๙ อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น ๒๖ ปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐
ที่มา http://www.kasedtakon.com/
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: บ้านไร่ในฝัน..บ้านเพียงพอ

โพสต์โดย pasasiam » อาทิตย์ 13 พ.ย. 2016 11:37 am

แพงพวยฝรั่งเศส

14611068_1780132868926695_3250331578259383828_n.jpg
14611068_1780132868926695_3250331578259383828_n.jpg (77.98 KiB) เปิดดู 75389 ครั้ง


ดอกโซลันน่า โกลเดน Solanna Golden

14937367_1783326655273983_12562523908837117_n_resize.jpg
14937367_1783326655273983_12562523908837117_n_resize.jpg (131.4 KiB) เปิดดู 75389 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: บ้านไร่ในฝัน..บ้านเพียงพอ

โพสต์โดย pasasiam » อาทิตย์ 13 พ.ย. 2016 11:40 am

ดอกแอฟริกันเดซี่ (พันธุ์ไม้ที่ปลูก)

15073337_181767648950335_4243660999275852971_n.jpg
15073337_181767648950335_4243660999275852971_n.jpg (41.2 KiB) เปิดดู 71803 ครั้ง


15056305_181767645617002_4632285318939677990_n_resize.jpg
15056305_181767645617002_4632285318939677990_n_resize.jpg (173.02 KiB) เปิดดู 71803 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย pasasiam เมื่อ อาทิตย์ 13 พ.ย. 2016 11:47 am, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: บ้านไร่ในฝัน..บ้านเพียงพอ

โพสต์โดย pasasiam » อาทิตย์ 13 พ.ย. 2016 11:43 am

ดอกพีทูเนีย สีชมพูสด-สีม่วง สายพันธุ์ฟิปโตไลซี่ (พันธุ์ไม้ที่ปลูก)

15037086_1783384498601532_2900946998778395744_n.jpg
15037086_1783384498601532_2900946998778395744_n.jpg (48.53 KiB) เปิดดู 71803 ครั้ง


15036169_180940522366381_8735691058594674712_n.jpg
15036169_180940522366381_8735691058594674712_n.jpg (38.83 KiB) เปิดดู 71803 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย pasasiam เมื่อ อาทิตย์ 13 พ.ย. 2016 11:48 am, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ทั่วไป

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน

cron