ย้อนเวียงกุมกาม ตามรอยวังหิน คืนถิ่นสัตยาภพ

Re: ย้อนเวียงกุมกาม ตามรอยวังหิน คืนถิ่นสัตยาภพ

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 03 ก.ค. 2011 7:00 am

รพ.สต.ม่วงสร้อย สสอ.ปาย

ชื่นชมนะคะ ชอบมาเรื่องนี้ เพิ่งอ่านจบไป มีนางเองตั้ง 2 คน แต่อยากเป็น"ระมิงค์" เพราะมิอาจเอื้อมไปเป็นเจ้าเป็นนาย คนเมืองเหมือนกันเจ้า ^^

จาก FACEBOOK
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: ย้อนเวียงกุมกาม ตามรอยวังหิน คืนถิ่นสัตยาภพ

โพสต์โดย admin » พุธ 03 ส.ค. 2011 9:47 pm

Vanessa Santiwong หนูว่าอ่านตอนเอรกก็เหมือนนิยายทั่วไปนะคะเเต่กลับซ่อนประเด็นที่สำคัญกับความรักเอาไว้ได้เนียนมากจนหนูอ่านไม่รู้กี่รอบก็ยังชอบหน้าที่ว่าอ้ายเสมาจะตายในศึกเเล้วระมิงค์ก็มาร้องไห้อ่ะค่ะ ชอบมากอ่านเเล้วน้ำตาจะไหลพอๆกับกษัตริยาเลยค่ะ

ที่มา http://www.facebook.com/home.php#!/page ... 72?sk=wall
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: ย้อนเวียงกุมกาม ตามรอยวังหิน คืนถิ่นสัตยาภพ

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 28 ส.ค. 2011 7:09 pm

วางไม่ลง...สัตยาภพ – น้ำฟ้า

1991.jpg
1991.jpg (26.62 KiB) เปิดดู 7975 ครั้ง


โดยสร้อยสยาม สร้อยบุหลัน สร้อยมันตราเมื่อ 28 สิงหาคม 2011 เวลา 11:28 น.
"สัตยาภพ" เขียนขึ้นเพื่อเล่าขานถึงตำนานบ้านเกิดเมืองนอนซึ่ง "น้ำฟ้า" ภาคภูมิยิ่งนัก ในฐานะลูกแม่ระมิงค์คนหนึ่ง
หากที่มากกว่านั้นคือความรู้สึกผูกพันอย่างลึกซึ้งต่อถิ่นเกิด จน "สัตยาภพ" ได้ปรากฏขึ้นอวดสายตานักอ่านในบรรณพิภพ
ความรักของตัวละครในเรื่องอย่าง "ระมิงค์ - แสนเสมา" และ "เจ้าจันทร์แว่นฟ้า - เจ้าศรีธรรมา" อาจถูกลบเลือนไปด้วยวันเวลากว่า
๔๐๐ ปี และไร้ร่องรอยแม้แต่การจารึกเป็นตัวอักษร ด้วยเมืองทั้งเมืองกลับกลายเป็นพิภพใต้ดินที่สุดปัญญาจะค้นหาหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ คงเหลือเพียงรอยจำในตำนาน
หากกาลเวลาอาจหาญพร่าผลาญวิญญาณรักอันมั่นคง..ฤๅแม้กระทั่งสัตยาธิษฐาน...ได้กระนั้นหรือ ??
ระมิงค์ สาวงามผู้หลุดเข้าไปสู่ประตูกาลเวลาสู่เวียงกุมกามเมื่อปี ๒๑๐๑ ได้พบรักกับแม่ทัพใหญ่ แสนเสมา ผู้หาญกล้าสละชีพเพื่อ
พ่อเมืองเช่น เจ้าศรีธรรมา หากความรักมิได้ตายไปในสมรภูมิรบ ด้วยดวงวิญญาณที่มั่นคงของคนทั้งคู่พร้อมสัตยาสาบานที่มีต่อกัน
เจ้าจันทร์แว่นฟ้า แม่เมืองผู้งามยิ่งกว่าใครในแผ่นดิน ตัดรักเจ้าศรีธรรมาด้วยน้ำมือองค์เอง เพราะความสูญเสียจากภัยริษยาของ
เจ้าม่านเหมย รักสามเส้าที่ไม่ว่าจะภพใดชาติใดก็ยังมีให้เห็นมิได้ขาด ด้วยมนุษย์นั้นหลงมัวเมาอยู่แต่กิเลสไม่รู้จบรู้สิ้น
คำตัดรักจากใจที่คับแค้น...และคำรักจริงจากใจอันคงมั่น อย่างใดเล่าจะอยู่เหนือกาลเวลาและชนะทุกสิ่ง ?
หากที่ยิ่งใหญ่กว่าความรักของหญิง-ชายนั้น คือความรักในแผ่นดิน ยอมตายแต่อย่าหมายแผ่นดิน!!
สัตยาภพได้ฉายภาพประวัติศาสตร์ครั้งเวียงกุมกามเคยรุ่งโรจน์ด้วยความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของบ้านเมือง
จนถึงวันที่ต้องพ่ายแพ้ต่อกองทัพอันเกรียงไกรของพระเจ้าบุเรงนอง จนแม้กระทั่งความล่มสลายของเวียงซึ่งเคยยิ่งใหญ่
วังเจ้าวังนาย บ้านเรือน ผู้คน หายวับ !!
ชีวิตที่ยอมพลีเพื่อบ้านเมือง เลือดที่หลั่งรินลงทาแผ่นดินนั้น เพียงเพื่อรักษาเอกราชไว้เพื่อชนรุ่นหลัง...มิใช่หรือ ?
บุญ กรรม ชะตาบันดาลได้ทุกสิ่ง หากยิ่งไปกว่านั้นมนุษย์นี่เองที่กำหนดชะตาอันเหนือกาลเวลา
หลายครั้งที่จิตใจมนุษย์นั้นมีอำนาจเสียยิ่งกว่าอำนาจใดในโลกหล้า !!
นอกเหนือจากความเป็นล้านนาที่ปรากฏในเนื้อเรื่องอย่างชัดเจนแล้ว ตำนาน ประวัติศาสตร์ อีกทั้งความรัก
"น้ำฟ้า" ก็นำมาเล่าให้เราฟังอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากแต่แจ่มชัด ชวนให้ค่อยเดินตามไปแม้ในความมืด
ด้วยไม่รู้หนทางข้างหน้า แต่กระนั้น...ก็ยังมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
เจ้าศรีธรรมา เจ้าจันทร์แว่นฟ้า เจ้าม่านเหมย แสนเสมา ระมิงค์
พร้อมที่จะบอกเล่าเรื่องราวเหล่านั้นให้ท่านฟังใน...สัตยาภพ
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: ย้อนเวียงกุมกาม ตามรอยวังหิน คืนถิ่นสัตยาภพ

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 03 ก.พ. 2013 6:30 am

ขอบคุณทีมงาน "ตะวันฉายในม่านเมฆ"
ที่เอา "สัตยาภพ" ไปวางเด่นหราระหว่างน้องแต้ว นฐพร และ บอย ปกรณ์ แบบนี้นะคะ ^_^


549855_476499252387950_1788985377_n.jpg
549855_476499252387950_1788985377_n.jpg (20.1 KiB) เปิดดู 7384 ครั้ง


นาทีที่ ๑.๐๐ เป็นต้นไป

บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

ย้อนกลับ

ย้อนกลับไปยัง แนะนำนวนิยาย

ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน

cron