เที่ยวอำเภอพร้าว เชียงใหม่ ที่พัก อาหาร สถานที่น่าสนใจ

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 29 ก.ค. 2019 2:55 pm

วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล (พระมหาธาตุเจดีย์ บารมี ๑๙ ยอด)อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

65669_561496730569034_1077361447_n.jpg
65669_561496730569034_1077361447_n.jpg (38.82 KiB) เปิดดู 94609 ครั้ง


วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองโบราณของอำเภอพร้าว สร้างสมัยพระราชวงศ์มังรายมหาราชแห่งอาณาจักรล้านนาไทย มีอายุการสร้าง ๗๓๐ ปี เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลหลังจากล่มสลายไปตามกาลเวลาเมื่อหลายร้อยปีก่อน เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๖ ได้มีการค้นพบวัดพระธาตุดอยเวียง มีการค้นพบพระธาตุภายในซึ่งบรรจุเส้นพระเกศาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากตำนานที่เล่าย้อนหลังถึงแบ่งเป็น ๔ ยุคในประวัติขององค์พระธาตุนี้ จากนั้นได้เริ่มพัฒนาบูรณะปฏิสังขรณ์ จนปัจจุบัน ได้ค้นพบโบราณวัตถุหลายรายการเช่น ก้อนอิฐที่จารึกตัวอักษรฝักขาม, ถ้วยชามสังคโลก, เครื่องปั้นดินเผา, ยอดฉัตรพระธาตุ (เจดีย์) ที่ทำจากทองจังโก้ และโบราณวัตถุอีกมากมาย

ประวัติพระพุทธรูปปางทรงเครื่อง (พระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดี) จำนวน ๑๐ องค์

องค์ที่ ๑ พระนามว่า พระมหาจักรพรรดิดับภยชัยมงคล (หลวงพ่อเศรษฐี) หล่อด้วยทองสำริด หน้าตัก ๘๔ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องล้านนาโบราณ
องค์ที่ ๒ พระนามว่า พระเจ้าล้านทองหล่อด้วยทองเหลือบริสุทธิ์ หน้าตัก ๔๒ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องเชียงแสนลังกาวงศ์

องค์ที่ ๓ พระนามว่า พระเจ้าแสนล้านหล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์ หน้าตัก ๓๙ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องเชียงแสนสิงห์สาม

องค์ที่ ๔ พระนามว่า พระเจ้าห้ามมารบันดาลโชคหล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์ ยืนสูง ๖๐ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องล้านนา

พระอัครสาวกปัจวัคคีย์ทั้ง ๕ องค์ หล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์ หน้าตัก ๒๑ นิ้ว ศิลปะล้านนาทรงเครื่องปางนั่งพนมมือ

E8496449-15.jpg
E8496449-15.jpg (77.87 KiB) เปิดดู 94609 ครั้ง


พระมหาธาตุดอยเวียงชัยมงคล เป็นธาตุเจดีย์โบราณที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอพร้าว มีขนาดความกว้างของฐานทั้งสี่ด้านรวม ๓๖ เมตร อดีตใช้เป็นที่พักทัพ ตั้งทัพของกษัตริย์ล้านนาเมื่อครั้งเดินทางผ่านเข้าออกเมืองพร้าว ในยามบ้านเมืองสงบ และยามศึกสงคราม เพราะยังปรากฏร่องรอยแนวคู่ค่ายให้เห็นรอบวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล จึงนับว่าเป็นสถานที่เก่าแก่ และสำคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่งของอำเภอพร้าว ที่ควรค่าแก่การศึกษา อนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการะบูชาสืบไป

วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ มีพระพุทธรูปประธาน คือ พระเจ้ามหาจักรพรรดิดับภัยชัยมงคล หรือหลวงพ่อเศรษฐี หล่อด้วยทองสำริด หน้าตัก ๘๔ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องล้านนาโบราณ

วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล ต.โหล่งขอด เป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่กว่า ๗๓๐ ปี ในอดีตเป็นสถานที่ตั้งทัพสมัยราชวงศ์มังราย โดยพญามังรายมหาราชได้สร้างเมืองพร้าวขึ้นในปีพ.ศ.๑๘๒๔

ประวัติพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล มีเอกสารระบุไว้ โดยจัดเรียงออกเป็น ๒ ยุคได้ดังนี้

ยุคที่ ๑ กำเนิดพระธาตุดอยเวียง อ้างในตำนานพระเจ้าเลียบโลก เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิเขตล้านนาไทย โดยเล่าสืบต่อกันว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาพักที่บนดอยเวียงแห่งนี้พร้อมด้วยพระอานนท์ ซึ่งดอยลูกนี้ตั้งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านจึงมีชาวบ้านพากันมาใส่บาตรพระพุทธเจ้ากันอย่างมากมายทุกวัน ก่อนหน้าที่พระพุทธเจ้าจะเดินทางต่อไปได้มอบเส้นพระเกศาให้แก่ชาวบ้านไว้สักการบูชา ชาวบ้านจึงร่วมแรงร่วมใจกันสร้างเจดีย์ครอบเส้นพระเกศาขึ้นเพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการบูชา ซึ่งปัจจุบันคือ พระธาตุดอยเวียง

ยุคที่ ๒ สมัยราชวงศ์มังราย ในปี พ.ศ.๑๘๒๔ พญามังรายได้สร้างเมืองพร้าวขึ้นสำหรับเป็นที่ตั้งทัพและสะสมเสบียงอาหาร โดยก่อนออกจากเมืองพร้าวได้แวะพักทัพบริเวณพระธาตุดอยเวียงในชุมชนบ้านหลวง ปัจจุบันยังมีหลักฐาน คือ การขุดแนวกำแพง เรียกว่า เวียงรอบพระธาตุดอยเวียงถึงสี่ชั้น และบนพระธาตุดอยเวียงยังมีวิหาร ซึ่งคาดว่าจะเป็นที่ประทับของกษัตริย์สมัยราชวงศ์มังรายที่เดินทางผ่าน โดยทุกครั้งจะต้องตั้งทัพบนพระธาตุดอยเวียงมาทุกยุคทุกสมัย เพื่อใช้เป็นสถานที่กราบไหว้นมัสการพระธาตุดอยเวียง เนื่องจากตั้งอยู่บนเนินเขา จึงเป็นชัยภูมิที่เหมาะสำหรับการพักทัพ

เมื่อปี พ.ศ.๑๙๒๘ พญากือนาธรรมมิกราช ได้เสด็จขึ้นมาเมืองพร้าวโดยทางสถลมารคนำขบวนช้าง ขบวนม้า ขบวนเดินเท้าจำนวนมาก โดยมีช้างเผือกเชือกหนึ่งบรรทุกพระธรรมคำภีร์และพระพุทธรูปสำคัญมาด้วย ซึ่งได้แวะพักและบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุดอยเวียงองค์นี้ก่อนที่จะเข้าสู่เมืองพร้าว

เนื่องจากบริเวณพระธาตุสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าวได้ทั้งหมด ในอดีตเวลาข้าศึกยกทัพมาก็สามารถมองเห็นได้โดยง่าย ปัจจุบันทางวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล ได้จัดสร้างเป็นระเบียงชมวิว ให้ผู้ที่เดินทางมาสักการะ ได้ชื่นชมความอุดมสมบูรณ์ผืนป่าสีเขียวของอำเภอพร้าวได้อย่างชัดเจน

E8496449-3.jpg
E8496449-3.jpg (99.9 KiB) เปิดดู 94609 ครั้ง


การเดินทางไปวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล สามารถเดินทางไปตามเส้นทางถนนเชียงใหม่-พร้าว ทางหลวงหมายเลข ๑๐๐๑ ถนนทางเข้าวัดอยู่ตรงกิโลเมตรที่ ๖๑ ระยะทางจากถนนทางเข้าวัดถึงวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล ประมาณ ๓ กิโลเมตร
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 29 ก.ค. 2019 3:16 pm

วัดดอยแม่ปั๋ง อยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว ห่างจากตัวเมืองตามเส้นทางสายเชียงใหม่ – แม่โจ้ - พร้าว (ทางหลวงหมายเลข๑๐๐๑) เป็นระยะทางประมาณ ๗๕ กิโลเมตร วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นวัดที่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เคยจำพรษาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๐๐๕ จนถึงมรณภาพในปี พ.ศ.๒๕๒๘ ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ วิหารไม้ กุฏิหลวงปู่แหวน กุฏิไม้ที่เรียกว่า โรงย่างกิเลส หรือ โรงไฟ และวิหารที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่แหวนเท่าองค์จริง
วัดดอยแม่ปั๋ง_resize.png
วัดดอยแม่ปั๋ง_resize.png (346.82 KiB) เปิดดู 94609 ครั้ง


กุฎิหลวงปู่แหวน_resize.jpg
กุฎิหลวงปู่แหวน_resize.jpg (120.66 KiB) เปิดดู 94609 ครั้ง

(กุฏิหลวงปู่แหวน)

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เกิดในตระกูลของช่างตีเหล็ก เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๐ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านนาโป่ง ตำบลหนองใน(ปัจจุบันเป็นตำบลนาโป่ง) อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยเป็นบุตรของนายใสกับนางแก้ว รามศิริ โดยมีน้องสาวร่วมบิดา - มารดาอีกหนึ่งคนคือ นางเบ็ง ราชอักษร และบิดามารดาของท่านได้ ตั้งชื่อว่า ญาณ ซึ่งแปลว่า ปรีชา กำหนดรู้

พอท่านมีอายุ ได้ประมาณ ๕ ขวบเศษ โยมมารดาของท่านก็ล้มป่วย แม้จะได้รับการดูแลเยียวยารักษาเป็นอย่างดีจากสามี แต่อาการของท่านก็มีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดเมื่อท่านรู้ตัวว่า คงจะไม่รอดชีวิตไปได้แน่แล้วท่านจึงได้เรียกหลวงปู่แหวน เข้าไปใกล้ แล้วกล่าวความฝากฝังเอาไว้ว่า ลูกเอํย...แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ล้วน กี่โกฎก็ตามแม่ไม่ยินดี แม่จะยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมา มีลูกมีเมียนะ... หลวงปู่แหวนพยักหน้า รับคำเท่านั้น ดวงวิญญาณของท่านก็ออกจากร่างไป มาอีกไม่นาน ดึกสงัดของค่ำคืนวันหนึ่งขณะที่คุณยายของหลวงปู่แหวนกำลังนอนหลับสนิทก็เกิดฝันประหลาด อันเป็นมงคลนิมิตหมายที่ดีงาม ท่านจึงได้นำเอาความฝันมาเล่าสู่ลูกหลานและหลวงปู่แหวนฟัง ในวันรุ่งขึ้นว่า เมื่อคืนนี้ ยายนอนหลับและได้ฝันประหลาดมาก ฝันว่าเจ้าไปนอนอยู่ในดงขมิ้น จนกระทั่งเนื้อตัวของเจ้าเหลือง อร่ามไปหมด ดูแล้วน่ารักน่าเอ็นดูยิ่งนัก ยายเห็นว่า เจ้านี้จะมีอุปนิสัยวาสนาในทางบวช ฉะนั้นยายขอให้เจ้าบวชตลอดชีวิต และขอให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมียเจ้าจะทำได้ไหม

paragraph__110_289.jpg
paragraph__110_289.jpg (112.93 KiB) เปิดดู 94609 ครั้ง


บรรพชา
จากนั้น วันเวลาผ่านมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ท่านมีอายุได้ ๙ ขวบ คุณยายของท่านที่ได้เลี้ยงดูแลเอาใจใส่มาอย่างทะนุถนอม ได้เรียกท่านพร้อมกับ หลานชายอีกคนหนึ่ง ที่เป็นญาติสนิทรุ่นราวคราวเดียวกัน เข้าไปหาแล้วพูดว่า ยายจะให้เจ้าทั้งสองบวชเป็น สามเณร เมื่อบวชแล้วไมต้องสึก เจ้าจะบวชได้ไหม ท่านหันมามองหลวงปู่แหวนอย่างตั้งใจฟังคำตอบ หลวงปู่แหวนก็พยักหน้ารับ พอใกล้เข้าพรรษา คุณยายของท่านจึงได้ตระเตรียมเครี่องบริขาร จนครบเรียบร้อยแล้ว จึงได้พาเด็กชายทั้งสองเข้าถวายตัวต่อพระอุปัชฌาย์ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า เข้าพรรษาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ชัย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นเด็กชาย ญาณ เป็นสามเณร แหวนนับแต่นั้นมา

ตลอดพรรษาที่ได้บรรพชา เป็นสามเณรนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้แต่ทำวัตร สวดมนต์ต์บ้างตามโอกาส เท่าที่พระภิกษุและ สามเณร ภายในวัดจะร่วมกันทำสังฆกรรม นอกจากนั้นก็จะใช้เวลา ไปในทางเล่นซุกซนตามประสาเด็ก ในที่สุดพระอาจารย์อ้วน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน มองเห็นว่าหากปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ จะทำให้สามเณรน้อยไม่มีความรู้ จึงพาไปฝากฝังถวาย เป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (ที่จริงน่าจะเป็นพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลมากกว่า เพราะหลวงปู่แหวนเกิด ๑๖ มกราคม ๒๔๓๐ ส่วนพระอาจารย์สิงห์เกิด ๒๗ มกราคม ๒๔๓๒ พระอาจารย์สิงห์อ่อนกว่าหลวงปู่แหวน ๒ ปี ) ณ วัดบ้านสร้างถ่อ อำเภอกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่น่าอัศจรรย์ ขณะที่พระอาจารย์อ้วนกำลังพาสามเณรน้อย เดินฝ่าเปลวแดดสีทองมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณวัดในยามบ่ายนั้น พระอาจารย์สิงห์ขนัง ศิษย์สำคัญสูงสุดของพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานคือ พระมั่น ภูริทัตโต กำลังมองที่ร่างสามเณรน้อย พลันก็บังเกิดฤทธิ์อำนาจ แห่งอภิญญาณทำให้ท่านเห็นรัศมีเป็นแสงสว่างโอภาส เปล่งประกายออกมาจากร่างของสามเณรน้อยผู้นี้ เป็นผู้ที่มีบุญญาธิการมาเกิด ดั้งนั้นพระอาจารย์สิงห์ จึงได้ถ่ายทอดความรู้ตลอดจนข้อวัตรปฏิบัติทั้งหมดให้

การออกจาริกแสวงบุญ
ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาธรรมกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้เข้าพบ ท่านเจ้า คุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนจากมหานิกายเป็น ธรรมยุติ และได้รับฉายาว่า สุจิณโณ จากนั้นได้ออกจาริกแสวงบุญต่อ ขณะที่ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่นฯ ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จังหวัดอุบลราชธานี มีศิษย์พระอาจารย์มั่นฯ ที่มีอัธยาศัย ที่ตรงกัน ๒ ท่านคือ พระขาว อนาลโย และ พระตื้อ อจลธัมโม เช่นเดียวกับคราวที่ จากท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ก็ได้ พระขาว จาริกแสวงธรรมเป็นเพื่อนจนถึงเมืองหลวงพระบาง

ปีพ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงปู่แหวนจำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง ในพรรษานั้นท่านอาพาธเป็นแผลที่ขาอักเสบต้องผ่าตัด โดยมีพระหนู สุจิตโต ซึ่งเดินทางมาจากดอยแม่ปั๋งพยายามอยู่ใกล้ๆ เมื่อครบ ๗ วัน ต้องกลับไปดอยแม่ปั๋ง เพราะอยู่ระหว่างพรรษา จนกระทั่งเดือนเมษายนในปีต่อมา อาการอาพาธจึงดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายสนิทยังเดินไปไหนไกลๆ ไม่ได้ นับแต่นั้นมาพระหนูได้พยายามอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูแลหลวงปู่แหวน ต่อมาพระหนูได้ดำริว่า ปัจจุบันหลวงปู่แหวนมีอายุมากแล้ว ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ด้วย เพื่อเป็นอุปัฏฐาก ถ้านิมนต์มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งก็จะได้ถวายการดูแลได้โดยง่ายไม่ต้องไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องเป็นเพียงความคิดของพระหนูเท่านั้น เพราะในเวลาดังกล่าว ดอยแม่ปั๋งยังไม่มีอะไรพร้อมแม้แต่กุฏิก็ยังไม่มี

Phrao03_resize.jpg
Phrao03_resize.jpg (117.15 KiB) เปิดดู 94608 ครั้ง

(ภาพ : Maha Mai)

ปีพ.ศ. ๒๕๐๕ ขณะที่หลวงปู่แหวนมีอายุ ๗๕ ปี คืนวันหนึ่งพระหนูนั่งภาวนาอยู่เกิดเป็นเสียงหลวงปู่แหวนดังขึ้นมาที่หูว่า จะมาอยู่ด้วยคนนะ หลังจากวันที่ได้ยินเสียงหลวงปู่แหวนอีกสามวัน พระอาจารย์หนูได้ถูกนิมนต์ไปที่วัดบ้านปงสถานที่ที่หลวงปู่แหวนอยู่ และถือโอกาสนิมนต์หลวงปู่แหวนมาที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย

เมื่อหลวงปู่แหวนได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ครั้งแรกท่านพักอยู่ที่กุฏิหลังเล็กๆ หลังหนึ่ง การมาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งนี้ ท่านได้มีข้อตกลงกับพระอาจารย์หนูว่า หน้าที่ต่างๆ และกิจทุกอย่างที่มีขึ้นในวัด ให้ตกเป็นภาระของพระอาจารย์หนูแต่เพียงผู้เดียว ส่วนท่านจะอยู่ในฐานะพระผู้เฒ่าผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่มีภาระใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้นหลวงปู่แหวนจะไม่รับนิมนต์โดยเด็ดขาด แม้ที่สุดถึงจะเกิดอาพาธหนักเพียงใดก็ตาม ท่านไม่ยอมนอนรักษาที่โรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านเคยปฏิบัติมาแล้วในกาลก่อน

นับตั้งแต่หลวงปู่แหวนได้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นเลย เพราะอากาศทางภาคเหนือสัปปายะสำหรับท่าน หลวงปู่แหวนได้มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งแห่งนี้ เมื่อวันที่ ๒ ก.ค.๒๕๒๘ สิริอายุ ๙๘ ปี

คำสอน
อดีตก็เป็นทำเมา อนาคตก็เป็นทำเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่ในปัจจุบัน ละอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นพุทโธ เป็นธัมโม ปัจจุบันก็พอแล้ว อดีต และอนาคตไม่ต้องคำนึงถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย วัน คืน เดือน ปี สิ้นไป หมดไป อายุเราก็หมดไป สิ้นไป หมั่นบำเพ็ญจิต บำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนาต่อไป

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรโร) วัดสัมพันธวงศาราม กรุงเทพมหานคร
พระครูจิตตวิโสธนาจารย์ (พระอาจารย์หนู สุจิตฺโต) วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
พระโสภณวิสุทธิคุณ (พระอาจารย์บุญเพ็ง กปฺปโก) วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น
หลวงปู่คำพอง ขนฺติโก วัดป่าอัมพวัน จ.เลย
พระศีลสังวร (พระอาจารย์เจริญ ราหุโล) วัดพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี
พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปญฺโญ วัดใหม่บ้านตาล จ.สกลนคร
พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป วัดอรัญวิเวก จ.เชียงใหม่
พระอาจาย์ประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ จ.เชียงใหม่
พระอาจารย์สมหมาย จิตฺตปาโล วัดป่าอนาลโย จ.นครปฐม
พระอาจารย์ทวี จิตฺตคุตฺโต วัดอรัญวิเวก (ป่าลัน) จ.เชียงราย
พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสโก วัดป่านาคำน้อย จ.อุดรธานี
พระโพธิญาณมุนี (พระอาจารย์เมือง พลวฑฺโฒ) วัดป่ามัชฌิมวาส จ.กาฬสินธุ์
พระอาจาย์บุญจันทร์ จนฺทสีโล วัดป่ากิ่วดู่ จ.เชียงใหม่
พระอาจารย์ไสว วํสวโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย
พระอาจารย์เลื่อน โอภาโส วัดพระธาตุฝุ่น จ.สกลนคร
พระอาจารย์สามดง จนฺทโชโต วัดป่าอรัญญพรหมมาราม จ.นคราชสีมา
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 29 ก.ค. 2019 3:48 pm

น้ำพุร้อนหนองครก ต.สันทราย ออนเซ็นเมืองพร้าว เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติที่มีอุณภูมิสูงถึง ๕๐ - ๙๐ องศาเซลเซียส
ชาวหนองครกได้อาบน้ำจากประปาน้ำอุ่นของหมู่บ้านทั้งปี หลังจากมีการต่อท่อจากบ่อน้ำพุร้อนไปยังหมู่บ้านถึง ๑๔๗ หลังคาเรือน กลายเป็นหมู่บ้านไร้หนาว ผิวพรรณดีกันทั่วหน้า

37_20101101114802..jpg
37_20101101114802..jpg (54.22 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


ตั้งอยู่ บ้านหนองครก หมู่ที่ ๑๐ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

pl0paa5wbvfOmEXYhQal-o_resize.jpg
pl0paa5wbvfOmEXYhQal-o_resize.jpg (85.28 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


pl0pad11df9tXYNDv5Q3-o_resize.jpg
pl0pad11df9tXYNDv5Q3-o_resize.jpg (93 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


ภาพ : สมาชิกหมายเลข 4331080 เว็บไซต์พันทิป
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 29 ก.ค. 2019 3:57 pm

มหาวิหารจีนวัดห้วยบง

pl0p4b59d9dsOGPQR5qo-o_resize.jpg
pl0p4b59d9dsOGPQR5qo-o_resize.jpg (75.76 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


มหาวิหารจีน วัดห้วยบง ตั้งอยู่โดดเด่นบนเชิงดอยในเขตบ้านห้วยบง ตำบลเขื่อนผาก(อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอ) วัดนี้เป็นอีกวัดสำคัญของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ไฮไลต์ของที่นี่ คือ “วิหารจีน” ซึ่งมีสถาปัตยกรรมสไตล์จีนอันงดงาม

pl0p6dpkifryb14Ex3u-o_resize.jpg
pl0p6dpkifryb14Ex3u-o_resize.jpg (97.23 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


ภาพ : สมาชิกหมายเลข 4331080 เว็บไซต์พันทิป
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 29 ก.ค. 2019 4:12 pm

ถ้ำดอกคำ วัดถ้ำดอกคำ ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

lp-mun-pic-39-01.jpg
lp-mun-pic-39-01.jpg (5.37 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


วัดถ้ำดอกคำ คือสถานที่ที่ “หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” บรรลุพระอรหัตผล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ ปัจจุบันเป็นวัดทางฝ่ายมหานิกายมีชื่อว่า วัดถ้ำดอกคำ

ถ้ำดอกคำ_resize.jpg
ถ้ำดอกคำ_resize.jpg (114.28 KiB) เปิดดู 44545 ครั้ง


คืนหนึ่ง หลวงปู่ชอบ(ฐานสโม) ท่านพักภาวนาอยู่กับองค์ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ภายในถ้ำดอกคำ บ้านสหกรณ์ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ คืนนั้นเวลาประมาณตีสามกว่า หลวงปู่ชอบท่านนั่งภาวนาอยู่ที่พักของท่าน จิตท่านในเวลานั้นสว่างไสวใสงามมาก แต่แล้วจู่ๆความสว่างไสวของจิตเกิดดับวูบลงไปอย่างกะทันหัน พร้อมกับมีเสียงกึกก้องกัมปนาทสะเทือนเลื่อนลั่นไปทั่วขุนเขา ท่านเปรียบเทียบว่าเสียงนี้ไม่ต่างอะไรกับระเบิดปรมาณูมาระเบิดอยู่ข้างๆตัวเรา จนท่านเกิดอาการสั่นไหวในจิตคล้ายกับผืนแผ่นพสุธาจะแตกสลายกลายเป็นจุล อาการเหล่านี้เกิดขึ้นภายในจิตของท่านเท่านั้น แต่สิ่งต่างๆที่อยู่ภายนอกก็เป็นปกติทุกอย่าง ตั้งแต่ท่านภาวนามาก็ไม่เคยประสบพบเจอกับอาการแบบนี้ของจิต ท่านจึงพิจารณาดูภายในว่าเกิดอะไรขึ้นกับจิตของตน พิจารณาดูจิตก็ไม่เห็นผิดปกติตรงไหน

ท่านจึงพิจารณาดูภายนอกว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น พอดึงจิตออกมาดูข้างนอก จิตท่านก็พุ่งตรงไปที่หลวงปู่มั่นทันที ท่านเห็นเทวดาพากันมาห้อมล้อมองค์ท่านหลวงปู่มั่นจำนวนมากเทวดาพากันมาจากทุกสวรรค์ชั้นภูมิ จนเต็มพื้นดินแผ่นฟ้านภากาศ ครั้งนั้นท่านว่าเทวดามาหาองค์ท่านหลวงปู่มั่นมากถึงสิบโกฏิ (หนึ่งโกฏิเท่ากับสิบล้าน) รัศมีบารมีเทวดาเปล่งประกายเจิดจ้าจนทำให้ทั่วบริเวณถ้ำดอกคำสว่างไสวด้วยรัศมีของเทพเจ้าเหล่าเทวดา

วัดถ้ำดอกคำ_resize.jpg
วัดถ้ำดอกคำ_resize.jpg (150.73 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


แต่รัศมีของเทวดาทั้งหลายยังไม่เท่ากับรัศมีธรรมขององค์ท่านหลวงปู่มั่น รัศมีธรรมขององค์ท่านสว่างไสวกว่ารัศมีเทวดามากมายจนเกินประมาณ หลังจากชื่นชมรัศมีบารมีธรรมขององค์ท่านหลวงปู่มั่นแล้วท่านก็ถอนจิตออกมา ท่านรำพึงในใจว่า“เหตุการณ์นี้ต้องสำคัญกับท่านอาจารย์ใหญ่อย่างแน่นอน”

ข้ามอีกวัน เวลาประมาณสี่โมงเย็น หลวงปู่ชอบท่านเข้าไปเตรียมน้ำสำหรับสรงองค์ท่านหลวงปู่มั่น ขณะที่ท่านผลัดผ้าให้กับองค์ท่านหลวงปู่มั่นนั้น หลวงปู่มั่นพูดขึ้นมาว่า “ที่หลวงปู่ชอบเห็นเทวดามาหาเราจำนวนมากนั้น พวกเทพเทวดาเขาพากันมาร่วมอนุโมทนาที่เราบรรลุธรรมธาตุพ้นทุกข์แล้ว จากนี้ต่อไปการเกิดของเราจะไม่มีอีกแล้ว ทุกอย่างของเรามันขาดสะบั้นลงไปหมดแล้ว พระอรหันต์ท่านสิ้นกิเลสเช่นไร เราก็สิ้นกิเลสแล้วเช่นนั้น”จากนั้นหลวงปู่มั่น ท่านได้ธุดงค์ไปที่ดอยนะโม เพื่อสนทนาธรรมกับลูกศิษย์ท่านหนึ่ง คือ หลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่มั่น ท่านออกวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่เชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๒ - ๒๔๘๒ ก่อนจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ประเภท ปฏิสัมภิทานุศาสน์ ๔ อย่างคือ ๑.อัตตปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในอรรถ ๒.ธัมมปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในธรรม ๓.นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในภาษา ๔.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในปฏิภาณ และที่ถ้ำดอกคำแห่งนี้ยังมีตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลก พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาถึงถ้ำนี้ เพื่อโปรดยักษ์ สองผัวเมีย ผู้เป็นมิจฉาทิฐิ โดยยักษ์ฝ่ายผัว ตั้งใจจะจับพระพุทธเจ้าไปเป็นอาหาร แต่พระองค์ทรงปราบด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ยักษ์สองผัวเมียสำนึกบาป จึงแต่งขันธ์ มีดอกบัวคำอยู่ในพานมากล่าวขอขมาพระพุทธเจ้าที่ถ้ำนี้ ถ้ำนี้จึงชื่อ “ถ้ำดอกคำ” แต่นั้นมา

วัดถ้ำดอกคำ จึงถือเป็นสถานที่อันเป็นมหามงคล และเป็นสถานที่รำลึกถึงหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บรรลุธรรมธาตุเป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

56800_resize.jpg
56800_resize.jpg (105.68 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


หนังสือ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ที่ ๑๔ ได้กล่าวเอาไว้ว่า..

พ.ศ. ๒๔๗๖ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สำเร็จพระอรหัตผลที่ถ้ำดอกคำ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว หลวงปู่มั่นได้บอกกับหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณและหลวงปู่ขาว อนาลโยที่ดอยนะโม(ดอยน้ำมัว)ว่า “ผมหมดงานที่จะทำแล้ว ก็อยู่สานกระบุง สานตะกร้า พอช่วยเหลือพวกท่านและลูกศิษย์ลูกหาได้บ้างเท่านั้น”
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 29 ก.ค. 2019 5:06 pm

อนุสรณ์สถานบรรลุธรรมหลวงปู่ขาว อนาลโย ตั้งอยู่ ณ ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

get_auc1_img_resize.jpg
get_auc1_img_resize.jpg (94.28 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


หลวงปู่ขาว อนาลโย “พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งเพชรน้ำหนึ่ง ผู้พิจารณาเมล็ดข้าวจนพ้นทุกข์” พระมหาเถระศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ท่านมีหลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นสหธรรมิกที่เกื้อกูลกันในทางธรรม ท่านเกิดในสกุลชาวนา ทำอาชีพเป็นชาวนาปลูกข้าวเลี้ยงตัว แม้ยามบวชปฏิบัติธรรมเร่งความเพียร ข้อธรรมที่ท่านใช้ในการพิจารณากระทั่งบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดก็ด้วยอาศัยเมล็ดข้าวที่ชาวไร่ชาวนาปลูกไว้ ยกขึ้นมาพิจารณาเป็นข้อธรรม ในเวลาต่อมาประชาชนและผู้นำในชุมชนจึงได้พร้อมใจกันสร้างอนุสรณ์สถานบรรลุธรรมหลวงปู่ขาว อนาลโย ขึ้นเพื่อระลึกถึงท่าน

ในราวพรรษาที่ ๑๖-๑๗ ณ เสนาสนะป่ากลางทุ่งนา บ้านโหล่งขอด หลวงปู่ขาวท่านได้นำเมล็ดข้าวยกขึ้นมาพิจารณาเป็นข้อธรรมจนพ้นทุกข์บรรลุธรรมชั้นสุดยอด โดยท่านเล่าว่า

__24_574_resize.jpg
__24_574_resize.jpg (87.24 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


“เย็นวันหนึ่ง เมื่อปัดกวาดเสร็จออกจากที่พักไปสรงน้ำ ได้เห็นข้าวในไร่ชาวเขากำลังสุกเหลืองอร่าม ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในขณะนั้นว่า ข้าวมันงอกขึ้นมาเพราะมีอะไรเป็นเชื้อพาให้เกิด ใจที่พาให้เกิด-ตายอยู่ไม่หยุด ก็น่าจะมีอะไรเป็นเชื้ออยู่ภายในเช่นเดียวกับเมล็ดข้าว เชื้อนั้นถ้าไม่ถูกทำลายเสียที่ใจให้สิ้นไป จะต้องพาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็แล้วอะไรเป็นเชื้อของใจเล่า ถ้าไม่ใช่กิเลสอวิชชา ตัณหาอุปาทาน ท่านคิดทบทวนไปมา โดยถืออวิชชาเป็นเป้าหมายแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ พิจารณาย้อนหน้าถอยหลัง อนุโลมปฏิโลมด้วยความสนใจอยากรู้ตัวจริงแห่งอวิชชา



นับแต่หัวค่ำจนดึกไม่ลดละการพิจารณาระหว่างอวิชชา กับ ใจ พอจวนสว่างจึงตัดสินใจกันลงได้ด้วยปัญญา อวิชชาขาดกระเด็นออกจากใจไม่มีอะไรเหลือ การพิจารณาข้าวก็มายุติกันที่ข้าวสุก หมดการงอกอีกต่อไป การพิจารณาจิตก็มาหยุดกันที่อวิชชาดับ กลายเป็นจิตสุกขึ้นมาเช่นเดียวกับข้าวสุก จิตหมดการก่อกำเนิดเกิดในภพต่างๆ อย่างประจักษ์ใจ สิ่งที่เหลือให้ชมอย่างสมใจคือความบริสุทธิ์แห่งจิตล้วนๆ ในกระท่อมกลางเขา มีชาวป่าอุปัฏฐากดูแล ขณะที่จิตผ่านดงหนาป่ากิเลสวัฏฏ์ไปได้แล้ว เกิดความอัศจรรย์อยู่คนเดียว ตอนอรุณรุ่งพระอาทิตย์ก็เริ่มสว่างบนฟ้า ใจก็เริ่มสว่างจากอวิชชาขึ้นสู่ธรรมอัศจรรย์ถึงวิมุตติหลุดพ้นในเวลาเดียวกันกับพระอาทิตย์อุทัย ช่างเป็นฤกษ์งามยามวิเศษเสียจริง”

หลวงปู่ขาวท่านมีอุปนิสัยเป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นในเป้าหมาย มีความเพียรกล้าทั้งสามอิริยาบถ ท่านเดินจงกรมเก่งมาก ตั้งแต่ฉันเสร็จก็เดินเข้าสู่ทางจงกรม ทำความเพียรละหรือถอดถอนกิเลสประเภทต่างๆ ที่เคยฝังจมอยู่ภายในใจสัตว์โลกไม่เคยบกบางเหมือนสิ่งอื่นๆ อีกทั้งท่านยังมีเมตตาธรรมเป็นเลิศ สง่างามประดุจช้างสาร ด้วยท่านมีอดีตชาติเกี่ยวพันกับสัตว์ป่า มีช้างเป็นต้น ไม่ว่าท่านจะไปเที่ยวที่ป่าเขาลึกเพียงไหน ช้างหัวหน้าฝูงมักจะเข้ามาหาคารวะท่าน ท่านรู้ภาษาสัตว์ และสัตว์เหล่านั้นก็รู้ภาษาของท่านเป็นอย่างดี

มูลเหตุที่ท่านออกบวชนั้น เกิดจากภรรยาของท่านมีชู้ เมื่อท่านได้พบภาพที่เป็นจริงคาหนังคาเขาตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน ท่านจึงเงื้อดาบสุดแรงเกิดหมายจะฆ่าฟันทั้งชายชู้และหญิงชั่วให้ตาย แต่ชายชู้เห็นก่อนจึงร้องขอชีวิต ด้วยสาวกบารมีญาณมากระตุ้นเตือน ทำให้ท่านเกิดจิตเมตตา จึงได้เรียกชาวบ้านมาดูเหตุการณ์ พร้อมทั้งประชุมญาติและผู้ใหญ่บ้าน ชายชู้ยอมรับผิด จึงได้ปรับสินไหมด้วยเงินพร้อมกับประกาศยกภรรยาให้ชายชู้อย่างเปิดเผย หลังจากนั้นท่านสลดสังเวชใจเป็นกำลัง ใจหมุนไปในทางบวชเพื่อหนีโลกอันแสนโสมม

หลวงปู่ขาวท่านสามารถระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติ ครั้งพุทธกาลท่านเคยเกิดเป็นพระภิกษุ ๑ ใน ๕๐๐ รูปติดตามพระเทวทัตผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่หลังจากได้ฟังธรรมจากพระสารีบุตร จึงหันกลับเข้ามาสู่สัมมาทิฏฐิ สถานที่ต่างๆ ที่ท่านอยู่จำพรรษามักจะเป็นสถานที่เคยเกิดเป็นคนหรือสัตว์ต่างๆ ในอดีตชาติ

ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ได้พรรณนาถึงเมตตาธรรมและตปธรรมของหลวงปู่ขาว ไว้ในหนังสือปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีข้อความตอนหนึ่งว่า

หลวงปู่ขาว1_resize.jpg
หลวงปู่ขาว1_resize.jpg (129.27 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


“ท่านอาจารย์องค์นี้มีความเด็ดเดี่ยวมาก การนั่งภาวนาตลอดสว่างท่านทำได้สบายมาก ถ้าไม่เป็นผู้มีใจกล้าหาญ กัดเหล็กกัดเพชรจริงๆ จะทำไม่ได้ จึงขอชมเชย อนุโมทนากับท่านอย่างถึงใจ เพราะเป็นที่แน่ใจในองค์ท่านร้อยเปอร์เซนต์ว่า เป็นผู้สิ้นภพสิ้นชาติอย่างประจักษ์ใจทั้งที่ยังครองขันธ์อยู่”
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 29 ก.ค. 2019 5:14 pm

โครงการอ่างเก็บน้ำแม่สะลวมอันเนื่องมาจากพระราชดำริบ้านสหกรณ์แปลง๕ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว

สระรวม_resize.jpg
สระรวม_resize.jpg (92.11 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


สะลวม_resize.jpg
สะลวม_resize.jpg (87.91 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 29 ก.ค. 2019 5:48 pm

สวนป่าน้ำรู ตั้งแต่ใน เขตอนุรักษ์ป่าน้ำรู ตั้งอยู่ในตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว เป็นสถานที่ท่องทางธรรมชาติรวมไปถึงระบบนิเวศน์แบบป่าชุมชน เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีตาน้ำขนาดใหญ่ โดยน้ำจะไหลออกมาจากตาน้ำ เป็นน้ำใสบริสุทธิ์เย็นฉ่ำ นักท่องเที่ยวสามารถลงไปเล่นน้ำในสระได้ น้ำไม่ลึกมากนัก จึงเล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ถือเป็นสสถานที่ท่องเที่ยวคลายร้อนในช่วงซัมเมอร์ประจำเมืองพร้าว

citypraw15_resize.jpg
citypraw15_resize.jpg (127.53 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


ภาพ : อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ป่าน้ำรู.jpg
ป่าน้ำรู.jpg (101.46 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 29 ก.ค. 2019 5:52 pm

ออบมืด เป็นลำธารสวยใสระยะทางประมาณ ๘ กิโลเมตรในหมู่บ้านปางตอย ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว มีลักษณะเป็นลำธารไม่กว้างมากนัก ไหลผ่านบริเวณกลางหมู่บ้าน บางช่วงมีก้อนหินสูงใหญ่ขนาบสองข้างของลำธาร และมีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมให้ร่มเงา ทำให้แสงแดดส่องลงมาไม่ถึงลำธาร ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า ออบมืด นักท่องเที่ยวสามารถที่จะลงไปเล่นน้ำในลำธารได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เทศบาลตำบลป่าไหน่ โทรศัพท์ ๐๕๓ ๐๑๗ ๕๖๗ - ๘
citypraw11_resize.jpg
citypraw11_resize.jpg (113.42 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


ภาพ : เทศบาลตำบลป่าไหน่

citypraw12_resize.jpg
citypraw12_resize.jpg (121.16 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 29 ก.ค. 2019 6:02 pm

พระเจ้าล้านทอง และวัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

พระเจ้าล้านทอง๑_resize.jpg
พระเจ้าล้านทอง๑_resize.jpg (90.76 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


เมื่อเดินทางจากอำเภอพร้าวไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๔ กิโลเมตร ไม่นานนักก็จะพบทางแยกไปยังหมู่บ้านหนองปลามัน ตำบลน้ำแพร่ ซึ่งก็คือทางไปวัดพระเจ้าล้านทองนั่นเองวัดแห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอพร้าว เนื่องจากสันนิษฐานว่าที่แห่งนี้ เคยเป็นที่ตั้งเมืองพร้าววังหินหรือเวียงหวายแต่เดิมนั่นเองซึ่งในปัจจุบันยังคงมีคูเมืองหลงเหลือ ให้เห็นอยู่โดยรอบวัด และเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเก่าแก่คู่เมืองพร้าว อันได้แก่ “ พระเจ้าล้านทอง ”

พระเจ้าล้านทอง ( พระเจ้าล้านตอง ) ถูกขนานนามว่า " พระเจ้าหลวง " เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพร้าววังหินมาช้านานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด ขนาดหน้าตัก ๑๘๐ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๒๗๔ เซนติเมตรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๒ ตอนที่ ๒ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘

1419079729.jpg
1419079729.jpg (142.13 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง

(ภาพ : moonfleet)

วัดพระเจ้าล้านทองเป็นวัดแห่งประวัติศาสตร์ ว่ากันว่าในอดีตนั้น นอกจากวัดแห่งนี้จะเป็นเมืองเก่าแก่แล้ว เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ยกทัพผ่านเมืองพร้าวนั้น พระองค์ได้ ทรงหยุดทัพ ณ วัดพระเจ้าล้านทองแห่งนี้อีกด้วย วัดพระเจ้าล้านทองนั้นไม่มีพระสงฆ์จำวัดอยู่เลย มีเพียงคำร่ำลือถึงอาถรรพ์ต่างๆ ซึ่งชาวเมืองพร้าวเชื่อกันว่า พระสงฆ์ผู้มีบุญญาธิการจริงๆเท่านั้น จึงจะจำพรรษาอยู่

ณ วัดเก่าแก่แห่งนี้ได้ ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ ของทุกปีนั้น ทางวัดจะมีประเพณีทำบุญเป็นประจำทุกปีนับว่าเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่ยังทรงคุณค่าในสายตาของชาวเมืองพร้าวเสมอมา และจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดกาล


ประวัติพระเจ้าล้านทอง

ตามหนังสือเวียงพร้าววังหิน

" พระเจ้าล้านทองวียงพร้าว เป็นฝีมือการสร้างแบบสุโขทัย สร้างเมื่อจุลศักราช ๘๘๘ และเป็นพระพุทธรูปที่ซึ่งมีความสำคัญทางจิตใจอย่างมาก ต่อคนเมืองพร้าว และทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือของทุกปี ทางวัดจะมีการจัด ให้มีการสรงน้ำพระขึ้น


ตามหนังสือคนดีเมืองเหนือ

" พ่อท้าวเกษกุมารได้ครองเมืองเชียงใหม่ สืบมาในปี พ.ศ. ๒๐๖๘ ทรงมีพระนามในการขึ้นครองราชย์ว่าพระเมืองเกษเกล้า พระองค์ได้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ที่เมืองพร้าวองค์หนึ่ง ซึ่งหล่อด้วยทองปัญจะโลหะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๙ เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้


ตามหนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าวของท่านพระครูโสภณกิติญาณ หน้า ๒

"พระเจ้าล้านทองเรียกอีกนามว่า พระเจ้าหลวง " ที่ฐานพระพุทธรูปมีข้อความจารึกเป็น หนังสือลายฝักขาม ซึ่งท่านผู้รู้ได้แปลไว้บ้างตอนว่า " ศาสนาพระได ๒๐๖๙ วัสสาแล…๘๘๘ ปี รวายเสด หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๖๙ ปีจอ อัฐศก" สมัยพระเกษ แก้วครอง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีท้าวเชียงตง ครองเวียงพร้าววังหิน ตามข้อมูลจากหนังสือดัง กล่าวสันนิษฐานได้ว่า พระพุทธรูปองค์นี้น่าจะหล่อขึ้น ณ บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองปัจจุบันซึ่งเป็นวัดในตัวเมืองชั้นในสมัยนั้น จากประวัติของเวียงพร้าววังหินจะทราบว่า หลังจากเวียงพร้าววังหินได้ร้างไปเพราะภัยสงครามของพระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ปี ๒๑๐๑ ผู้คนหนีออกจากเมืองหมด ปล่อยให้องค์พระเจ้าล้านทองประดิษฐานอยู่ในเมืองร้างนานถึง ๓๔๙ ปีจนมาถึง พ.ศ.๒๔๕๐ ได้มีดาบสนุ่งขาว ห่มขาวเป็นคนเชื้อชาติลาว เข้ามาอาศัยอยู่ที่วัดสันขวางตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว เชียงใหม่ ชื่อจริงว่าอย่างไรไม่ปรากฎหลักฐานแต่ชาวบ้านในสมันนั้นเรียกว่า ปู่กาเลยังยัง ที่เรียก อย่างนี้เนื่องจากว่า ชาวบ้านได้ยินบทสวดของท่านดาบสท่านนี้ขึ้นต้นว่า "กาเลยังยัง" จึง เรียกชื่อว่า ปู่กาเลยังยังท่านดาบสองค์นี้ชอบกินข้าวกับหัวตะไคร้ใส่ปลาร้าเป็นประจำหรือเป็นอาหารโปรดของท่าน ส่วนท่านกาเลยังยังท่านไม่กลัว เมื่อท่านกาเลยังยังอยู่ที่วัดสันขวางได้ไปเที่ยวชมทิวทัศน์บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง ตั้งอยู่บนฐานอิฐที่ชำรุดทรุดโทรมจะล้มมิล้มแหล่ และองค์พระพุทธรูปก็ถูกไฟป่าที่เผาเศษไม้ใบไม้แห้งกรอบ องค์พระประดิษฐานอยู่จนพระองค์ถูกรมควันไฟจนดำสนิท ท่านกาเลยังยังจึงได้หาก้อนอิฐซึ่งพอหาได้ในบริเวณนั้นมาชุบด้วยน้ำไก๋ (ชื่อไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียว) ซึ่งอยู่แถวนั้นมากมาย แล้วนำอิฐที่ชุบไก๋แล้วมาซ่อมแซมฐานพระพุทธรูป จนเป็นที่มั่นคงแล้วได้สร้างเพิงหมาแหงนด้วยเสาสี่ต้น มุงด้วยหญ้าคาเนื่องจากขาดคนดูแล เพิงหมาแหงนจึงถูกไฟป่าเผาไหม้หมด จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ท่านครูบาอินตา สาธร เจ้าอาวาสวัดหนองปลามัน ได้ร่วมกับคณะศรัทธามีความคิดที่จะบูรณะ

20181019_121723_resize.jpg
20181019_121723_resize.jpg (157.9 KiB) เปิดดู 44864 ครั้ง


บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองนั้นชาวบ้านไม่อยากสัญจรเข้าไป เนื่องจากกลัวต่อภูติผีปีศาจตามคำบอกเล่าของคนเฒ่า ใครไปทำอะไรแถวๆ นั้น มักจะเกิดความวิปริตจิตฟั่นเฟือน พูดจาไม่รู้เรื่อง เดือดร้อนถึงหมอผีต้องทำบนบานศาลกล่าวถึงจะหาย บางคนถึงตายไปก็มี
จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ท่านครูบาอินตา สาธร ได้ไปขอกุฎิวัดสันขวางของ ท่านครูบาปัญญา เชื้อสายไทยใหญ่ซึ่งชาวบ้านจะเผาทิ้ง นำมาสร้างวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าล้านทอง สาเหตุที่ชาวบ้านจะเผากุฏิ เนื่องจากกุฏิวัดสันขวางหลังนี้ ได้มาโดยท่าน พระยาเพชร และแม่เจ้านางแพอุทิศบ้านไม้สักขนาดใหญ่ของตนเอง สร้างเป็นกุฏิถวายแด่ท่านครูบาไว้เป็นที่จำวัดและอาศัย ซึ่งท่านทั้งสองมีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านครูบามาก แต่หลังจากได้สร้างกุฏิหลังใหม่ถวายได้ไม่นาน ท่านก็เกิดอาพาธทั้งๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ชาวบ้านซึ่งมีความรักในตัวครูบาเป็นอย่างมาก ต่างก็ลงความเห็นว่าอาการเจ็บป่วยของท่านคงมาจากกุฏิหลังใหม่เป็นแน่ ความทราบไปถึงครูบาอินตาซึ่งเป็นเจ้าอาวาส "วัดหนองปลามัน " จึงได้ไปขอกุฏิหลังนี้แล้วนำไปสร้างวิหาร ณ วัดพระเจ้าล้านทอง (ขณะนี้เหลือแต่ฐานของวิหารเท่านั้น ซึ่งอยู่ ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังปัจจุบัน)

ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้มีท่านครูบาอินถา แห่ง วัดพระเจ้าตนหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาเป็นองค์ประธานก่อสร้างวิหาร แบบจตุรมุขทางทิศตะวันตกของวิหารหลังเดิมจนเสร็จได้ประมาณ ๘๐% เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ แล้วได้ย้ายองค์พระเจ้าล้านทองขึ้นมาประดิษฐาน ณ วิหารหลังปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตรงกับเดือน ๕ เหนือ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีกุน จุลศักราช ๑๓๓๓ ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้มีการซ่อมแซมวิหารแบบจตุรมุข ให้มีสภาพดีขึ้นโดยการนำของ ท่านพระบุญชุ่มญาณสังวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเมือง อำเภอท่าขี้เหล็ก สหภาพเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมีพล.ท.ภุชงค์ นิลขำ (ถึงแก่กรรมแล้ว) กับคุณเทอดศักดิ์ แก้วสว่าง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินใน การซ่อมแซม วิหารหลังนี้ ด้วยเงินประมาณ ๑ ล้านบาทเศษ

นับได้ว่าวัดพระเจ้าล้านทองเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่สร้างมาแต่สมัยเวียงพร้าววังหิน เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญ และมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ควรค่าแก่การรักษาไว้ให้เป็นเดชเป็นศรีแก่เมืองพร้าวสืบไป
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 24 ส.ค. 2019 1:22 pm

พระธาตุยองผา
พระธาตุยองผาประดิษฐานตั้งอยู่บนหน้าผาบนดอยสูง หมู่บ้านป่าฮิ้น หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอพร้าว เส้นทางจากอำเภอไปตามถนนพร้าว – ปิงโค้ง ประมาณ ๔ กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามกับสำนักสงฆ์ป่าดอยเจดีย์เบี้ย การไปนมัสการพระธาตุยองผานั้นต้องเดินขึ้นบันไดร้อยกว่าขั้นจึงจะถึงตัวพระธาตุ เนื่องจากพระธาตุตั้งอยู่บนหน้าผาสูง บรรยากาศเงียบสงบ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ

ยองผา1.jpg
ยองผา1.jpg (154.36 KiB) เปิดดู 45202 ครั้ง

(ภาพ:จำนงค์ แก้วดี)

พระธาตุตั้งอยู่บนหน้าผา
ยองผา2.jpg
ยองผา2.jpg (163.53 KiB) เปิดดู 45202 ครั้ง


บันไดทางขึ้นพระธาตุ
ยองผา3.jpg
ยองผา3.jpg (143.41 KiB) เปิดดู 45202 ครั้ง

(ภาพ:Dannipparn)
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ที่พัก อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 24 ส.ค. 2019 1:49 pm

โครงการอ่างเก็บน้ำแม่โก๋น
โครงการอ่างเก็บน้ำในพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สถานที่ตั้ง บ้านเหล่า ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ภาพมุมสูงของอ่างเก็บน้ำแม่โก๋น เขียวชอุ่ม งดงาม
อ่างแม่โก๋น1_resize.jpg
อ่างแม่โก๋น1_resize.jpg (73.58 KiB) เปิดดู 45202 ครั้ง


ทางเดินบนสันอ่างทอดยาวสุดลูกหูลูกตา
อ่างแม่โก๋น2_resize.jpg
อ่างแม่โก๋น2_resize.jpg (77.53 KiB) เปิดดู 45202 ครั้ง


ผืนน้ำสีฟ้าครามดูสงบ เยือกเย็น
แม่โก๋น3_resize.jpg
แม่โก๋น3_resize.jpg (71.12 KiB) เปิดดู 45202 ครั้ง

ขอบคุณภาพจาก : Guy Marigold
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง แนะนำนวนิยาย

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน

cron