ฤๅหลีกพ้น

บทกวี โคลง กลอน ต่างๆ

ฤๅหลีกพ้น

โพสต์โดย arunsuk » เสาร์ 01 พ.ย. 2008 9:18 pm

รูปภาพ

ใครเล่าจักหลีกพ้นวังวนวัฏ
สุดจะขัดหลีกรึ้งเมื่อถึงฝั่ง
สรรพสัตว์นั่นแท้แค่มรณัง
มิอาจรั้งชีพไว้ดั่งใจปอง

อันมนุษย์สัตว์ใดในโลกหล้า
มรณารออยู่เป็นคู่สอง
เกิดและตายร่วมอยู่ดั่งคู่ครอง
ตามครรลองแห่งธรรมและกรรมเวร

ที่วายชนม์พ้นผ่านซึ่งวารหวัง
หมดกำลังเพียงฝากสิ่งยากเข็ญ
ญาติการ่วมรับช่วยดับเวร
หวังให้เป็นอานิสงส์ส่งเทวัญ

ดั่งคำพระสอนไว้ให้ตระหนัก
จงเพียรพักสดับไว้ไม่แปรผัน
อันสิ่งแท้เที่ยงชี้ในชีวัน
คือ ตาย อันจุดหมายยากถ่ายเท

สัพเพ สัตตา มะรันติจะ มะริงสุจะ มะริสสาเร
ตะเถวาหัง มะริสสามิ นัตถิ เม เอตถะ สังสะโย

ว่าสัตว์โลกทั้งหลาย ตาย รออยู่
จงหมายรู้ความตายเช่นสายโซ่
ล่ามเอาไว้ผูกหลักเช่นพักโค
สุดจะโผผันผายลี้กายลับ

อนิจจังนั่นแท้มิแปรเปลี่ยน
เกิด แก่เวียน เจ็บลงแล้วปลงดับ
แม้นสังขารก็พังภินท์ทั้งสินทรัพย์
สุดจะนับของเราเกินเอาไป

คงเหลือชื่อชั่วดีมีหลักฐาน
แม้เนิ่นนานยังผนึกจารึกได้
หากทำดีคงมั่นเป็นขวัญใจ
แม้นชั่วไซร้คงสดับรับประณาม

อานิสงส์แห่งคำในธรรมนี้
หากวจีซึ้งซาบมิหยาบหยาม
ขอเป็นแรงกายใจแด่ไทยคาม
สิ้นเคราะห์ความโพยภัยที่ได้พาน

ขอให้สันติธรรมจงนำจิต
พาชีวิตร่มเย็นเป็นสุขศานติ์
ขออวยพรหมู่มิตรหวังนิพพาน
ถึงวิมานวิมุตติศรัยยามไกลกัน.
แก้ไขล่าสุดโดย arunsuk เมื่อ เสาร์ 01 พ.ย. 2008 10:47 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
arunsuk
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 88
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 05 ต.ค. 2008 8:54 pm

Re: ฤๅหลีกพ้น

โพสต์โดย Pran » เสาร์ 01 พ.ย. 2008 10:29 pm

d
แก้ไขล่าสุดโดย Pran เมื่อ อังคาร 29 ก.ย. 2009 6:42 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Pran
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 30
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 01 พ.ย. 2008 10:00 pm

Re: ฤๅหลีกพ้น

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 02 พ.ย. 2008 9:04 pm

:D อ่านแล้วต้องรีบทำความดีแล้วค่ะ

ไม่รู้ว่าจะหมดเวลาวันไหน อิอิ
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ฤๅหลีกพ้น

โพสต์โดย arunsuk » จันทร์ 03 พ.ย. 2008 11:46 am

คุณ Pran

รูปภาพ

วัฏฏะสงสาร หรือสังสารวัฏ

ในความหมายทางพุทธศาสนาแล้ว ก็คือวงจรของการเวียนว่ายตายเกิด หมุนเวียนกันเกิดแก่เจ็บตายกันไปตามกฏแห่งกรรมของตนซึ่งมีทั้งสุขและทุกข์ วนเวียนเป็นกงล้อ หาจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดมิได้

กฏแห่งกรรมก็คือ ทำดีใด้ดี ทำชั่วใด้ชั่วนั่นเอง อธิบายให้เขาฟังง่ายๆว่า เราทำสิ่งดีๆ ก็จะเกิดสิ่งดีๆขึ้นในชีวิต
แต่ถ้าทำความชั่ว ก็จะประสพพบกับสิ่งไม่ดีต่างๆตามมา เป็นหลักศีลธรรมง่ายๆของทุกศาสนา กฏแห่งกรรมนี้ เป็นตัวดึงดูดให้เราและสรรพสัตว์ทั้งหลาย เสวยผลแห่งการกระทำของตนอยู่ในสังสารวัฏ ไม่รู้จักจบสิ้น หากไม่ได้พบพระสัทธรรมแห่งพุทธศาสนา
ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพบเห็นวงจรนี้ จึงใช้พระปัญญาอันประเสริฐของท่านตรวจสอบหาวิธีที่จะหนีออกจากวงจรอุบาทว์นี้ ในที่สุดก็ตรัสรู้ ปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ รู้แจ้งถึงวิธีที่จะหลุดพ้นออกจากวงจรอุบาทว์นี้ เมื่อพระองค์ทรงหลุดพ้นไปแล้ว จึงนำเอาวิธีการนั้นมาสั่งสอน เวไนย์สัตว์ทั้งหลาย ให้หลุดพ้นจากวัฏฏะสงสารนี้ โดยที่พระองค์ทรงเรียกสภาพที่หลุดพ้นนั้นว่า "นิพพาน"

นิพพาน คือ ดับไม่มีเชื้อเหลือ ดับหมด คือดับทั้งกิเลสทั้งขันธ์ ,ความสิ้นไปแห่งตัณหา,ความดับทุกข์ ,บรมสุข
การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ครับ.

ดีใจที่ได้พบกันอีกครั้งครับคุณ....ปราณรวี ศรีอรุณ.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
arunsuk
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 88
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 05 ต.ค. 2008 8:54 pm

Re: ฤๅหลีกพ้น

โพสต์โดย arunsuk » จันทร์ 03 พ.ย. 2008 11:56 am

คุณ ฝน..

รูปภาพ

อย่ารอเลยครับ การสร้างบุญกุศล เสมือนการก่อสร้างรากฐานของบ้าน
การทำบุญเช่นการก่ออิฐ ใครทำมากก็ได้ความมั่นคงแข็งแรงมาก
เพราะเหตุที่ว่าเราไม่อาจรู้ถึงโลกหน้าได้ว่าเป็นเช่นไร
ในวิสัยของชาวพุทธนั้น สิ่งที่ควรยึดเป็นหลักการพื้นฐานคือ

การทำดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส
หมั่นรักษาศีล เจริญสติสมาธิ นั่นแหละปัญญาจะเกิดครับ.

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
arunsuk
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 88
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 05 ต.ค. 2008 8:54 pm

Re: ฤๅหลีกพ้น

โพสต์โดย ภาษาสยาม » จันทร์ 03 พ.ย. 2008 4:06 pm

ก็พยายามทำบุญ ทำกุศลอยู่เสมอค่ะ

ที่สำคัญใจเราก็ต้องเป็นกุศลด้วย จริงมั้ยคะ
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ฤๅหลีกพ้น

โพสต์โดย arunsuk » จันทร์ 03 พ.ย. 2008 5:22 pm

คุณฝนฯ

รูปภาพ

การทำบุญนั้นสามารถกระทำได้ตามหลักแห่ง บุญกิริยาวัตถุ ซึ่งมีข้อควรพิจารณาดังนี้ครับ

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำดังต่อไปนี้

บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม

บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม

บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด

บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์

บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ

บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป

บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ” เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย

บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป

บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป

บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ

บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ ยิ่งได้มีการเตรียมกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งใจจรดเข้าสู่ศูนย์กลางกาย หยุดในหยุด เข้าไปแล้วก็ยิ่งได้รับบุญมหาศาลตามความละเอียดประณีตที่เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป.
(บางส่วนจาก เวปวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ราชบุรี)
ภาพประจำตัวสมาชิก
arunsuk
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 88
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 05 ต.ค. 2008 8:54 pm


ย้อนกลับไปยัง บทกวี

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน

cron