เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

ทำสวนผสมผสานทั้งปลูกพืช ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และเลี้ยงสัตว์ ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 14 มี.ค. 2017 6:31 pm

ผักไฮโดรโปนิกส์

60.jpg
60.jpg (284.52 KiB) เปิดดู 12052 ครั้ง


ไฮโดรโปนิกส์ (hydroponics) หรือ ผักไฮโดรโปนิกส์ คือ การปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน หรือเป็นการปลูกพืชผักในน้ำที่มีธาตุอาหารพืชละลายอยู่ หรือเป็นการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืช และอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ผักไร้ดิน” ก็ได้ ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืชที่กำลังได้รับความนิยม โดยเฉพาะการปลูกพืชผักที่เราใช้เป็นอาหาร เนื่องจากการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์จะช่วยประหยัดพื้นที่ในการปลูกและไม่ปนเปื้อนเปื้อนสารเคมีต่าง ๆ ในดิน ทำให้ได้พืชผักที่มีความสะอาดเป็นอาหาร

ในอดีตตัวอย่างของความพยายามในช่วงแรก ๆ ที่จะปลูกพืชไร้ดินก็คือ สวนลอยบิบาโลน (ราว 600 ปีก่อนครีสตกาล) และสวนลอยแห่งอัสเต็กซ์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11) ส่วนนักวิจัยการปลูกปลูกพืชไร้ดินคนแรก ๆ ก็คือ ชาวอังกฤษที่ชื่อ จอห์น วูดเวิด (John Woodward) เมื่อปี ค.ศ.1700 เขาได้ทดลองปลูกพืชในน้ำ โดยได้เติมดินลงไปหลายชนิด ซึ่งการปลูกครั้งนั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่านอกจากน้ำแล้วยังมีสารอื่น ๆ ที่พืชต้องการ และเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักสรีรวิทยาพืชชาวเยอรมัน ชื่อซาคส์ (Sachs) และคนอพ (Knop) ได้ทำการปลูกพืชในสารละลายอย่างง่ายของเกลืออนินทรีย์ ส่วนศาสตราจารย์ Gericke แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และเมื่อปี ค.ศ.1929 เขาได้แสดงให้เห็นว่าพืชสามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่ต้องใช้ดิน และสามารถเจริญเติบโตไปได้จนเต็มที่ โดยเขาได้ทำการปลูกมะเขือเทศในน้ำจนได้ผลขนาดใหญ่อย่างน่าแปลกใจ และเขาได้ทำการเทียบคำศัพท์ในภาษากรีก ที่มีความหมายว่า “การเกษตร” คือ geoponics ที่หมายถึง ศาสตร์แห่งการปลูกพืชโดยใช้ดิน ด้วยเหตุนี้เขาจึงคิดคำใหม่ว่า “ไฮโดรโปนิกส์” (hydroponics) ที่หมายถึง การปลูกพืชในน้ำ ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า hydros ที่แปลว่าน้ำ และ ponos ที่แปลว่างาน ซึ่งเมื่อนำมารวมกันจะมีความหมายว่า “การทำงานที่เกี่ยวกับน้ำ”

ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่า “ไฮโดรโปนิกส์” (hydroponics) มาจากการผสมคำระหว่างคำ 3 คำ คือ ไฮโดร (hydro) ที่แปลว่าน้ำ, โปโนส (ponos) ซึ่งเป็นภาษากรีกที่แปลว่าการทำงาน, และคำว่า อิกส์ (ics) ที่แปลว่าศาสตร์หรือศิลปะ เมื่อรวม 3 คำเข้าด้วยกันจึงมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “ศาสตร์หรือศิลปะว่าด้วยการทำงานของน้ำ”

ในปัจจุบันก็มีเทคนิคการปลูกผักแบบไร้ดินกันหลากหลายรูปแบบด้วยกัน มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการปลูกพืชในน้ำเท่านั้น เพราะบางกรณีจะมีการใช้วัสดุปลูกทดแทนดินทั้งหมดและรดด้วยสารละลายธาตุอาหารพืช หรือที่เรียกกันว่า ซับส์เทรต คัลเจอร์ (substrate culture) หรือมีเดีย คัลเจอร์ (media culture) หรือแอกกรีเกตไฮโดรโปนิกส์ (aggregate hydroponics) จากเทคนิคดังกล่าวจึงนิยมเรียกว่า “การปลูกพืชไร้ดิน” หรือ “การปลูกโดยไม่ใช้ดิน” (soilless culture) ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการปลูกพืชในน้ำก็ดี หรือการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์รูปแบบอื่น ๆ ก็ดี บางครั้งก็อาจจะเรียกรวมว่า ๆ “soilless culture” แทนคำว่า “hydroponics” ก็ได้ครับ

การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ กับการปลูกผักออแกนิก (การปลูกผักแบบธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติเป็นหลัก) ถ้ามองผิวเผินแล้วจะคิดว่าการปลูกพืชทั้งสองวิธีนี้มีความแตกต่างกันมาก และอาจมองว่าการปลูกผักแบบไร้ไม่เป็นการปลูกผักแบบธรรมชาติ แต่ถ้ามองให้ลึกซึ้งแล้วเราก็จะทราบว่าการปลูกผักทั้งสองวิธีนี้คือการปลูกแบบธรรมชาติเหมือนกัน เนื่องจากปุ๋ยธรรมชาติหรือปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหลายเริ่มแรกพืชจะยังนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ เพราะจะต้องถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดินจนกลายเป็นสารอนินทรีย์ก่อนพืชถึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ในระบบไฮโดรโปนิกส์เราจะให้สารละลายธาตุอาหารที่เตรียมขึ้นจากปุ๋ยอนินทรีย์บริสุทธิ์แทน รากและขนอ่อนก็จะดูดธาตุอาหารและน้ำได้ไม่ว่าจะจากดินหรือจากระบบไฮโดรโปนิกส์ในลักษณะที่เหมือนกัน สรุปก็คือ การปลูกพืชไร้ดินเป็นการปลูกแบบเป็นธรรมชาติเหมือนกับการปลูกบนดิน เพียงแต่เป็นการปลูกพืชที่ใช้เทคโนโลยีที่มีการจัดการที่ดีกว่า
ประโยชน์ของระบบไฮโดรโปนิกส์

1. ข้อดีที่เป็นจุดแข็งของผักชนิดนี้ก็การได้ผลผลิตที่สะอาดกว่าการปลูกในดิน ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ผักที่ได้มีความสวยงามน่ารับประทาน ผักมีรสชาติดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และผักสดที่ได้จะมีความนุ่มและกรอบกว่าผักที่ปลูกในดิน

2. การปลูกผักแบบไฮโดรไปนิกส์ไม่ต้องใช้ดินในการเพาะปลูก จึงสามารถปลูกได้ทุกที่ ปลูกได้ทั้งพืชขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่ปลูกน้อย (เช่น ผู้ที่อาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์) และไม่มีขอบเขตไม่ว่าจะเป็นการปลูกในจำนวนน้อยเพื่อใช้บริโภคเองภายในครัวเรือนหรือปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ในเชิงธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เองวิธีนี้จึงเป็นที่นิยมในการปลูกเป็นอย่างมากในเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น เนเธอแลนด์ เป็นต้น

3. ช่วยทำให้มีสิ่งแวดล้อมในการปลูกที่เราสามารถควบคุมเองได้มากขึ้นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช เพราะเราสามารถกำจัดตัวแปรต่าง ๆ ที่ไม่ทราบออกไปจากการทดลองได้จำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกผักบนดิน

4. การปลูกผักรูปแบบนี้สามารถนำมาใช้ได้กับพืชหลายชนิด (ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการปลูกด้วย) ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ รวมไปถึงพืชไม้เลื้อยไปจนถึงพืชยืนต้น แต่ในด้านการผลิตเชิงธุรกิจแล้ว จะนิยมปลูกพืชจำพวกผักและไม้ผล ซึ่งเป็นพืชที่เก็บเกี่ยวช่วงอายุสั้นกันมากกว่า

5. พืชผักเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้เร็วกว่าการปลูกพืชผักในดินอย่างน้อยประมาณ 1-2 สัปดาห์

6. ผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพและมีความสม่ำเสมอมากกว่าการเพาะปลูกในดินปกติ เพราะสามารถจัดการและควบคุมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมต่อพืชที่ปลูกได้ จึงสามารถผลิตพืชได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพราะสามารถเพิ่มรอบการผลิตได้มาก มีอายุสั้น และได้คุณภาพสูง

7. ระบบการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์จะช่วยประหยัดน้ำมากกว่าการปลูกพืชผักในดินปกติไม่น้อยกว่า 10 เท่า จึงทำให้สามารถปลูกพืชผักได้แม้ในฤดูแล้งหรือนอกฤดูกาลได้ และยังให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอีกด้วย

8. การปลูกผักประเภทนี้จะมีความสม่ำเสมอของการให้น้ำได้ดีกว่าการปลูกพืชผักในดินปกติ และยังสามารถควบคุมการให้น้ำได้ตามความต้องการของพืชได้ด้วย

9. เราสามารถควบคุมการให้ธาตุอาหารของพืชผักได้ง่ายกว่าการปลูกพืชผักในดิน เพราะช่วยแก้ปัญหาความไม่สม่ำเสมอของธาตุอาหารในดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน ช่วยควบคุมปริมารและรูปของจุลธาตุที่พืชผักต้องการจำนวน 7 ธาตุ (ธาตุเหล็ก, โบรอน, คลอรีน, แมงกานีส, โมลิบดีนัม, ทองแดง, สังกะสี) ให้อยู่รูปที่รากของพืชผักสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และไม่ให้ในปริมาณที่มากเกินไปจนเป็นพิษต่อพืชผักที่ปลูก ช่วยควบคุมค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ได้ง่าย ซึ่งค่า pH นี้เองที่มีส่วนในการควบคุมรูปของธาตุอาหารให้อยู่ในรูปแบบที่พืชผักสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที อีกทั้งวิธีการนี้ยังช่วยให้ธาตุอาหารของพืชไม่สูญหาย ทั้งในรูปแบบการถูกชะล้างไปจากดิน การจับตัวกับธาตุบางชนิดในดินที่ตกตะกอนไป หรือการเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในรูปแบบที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมผลตกค้างองการมีธาตุอาหารสะสมในพืช ในดิน และในสภาพแวดล้อมจนเกิดเป็นพิษต่อระบบนิเวศ

10. การปลูกพืชผักแบบไฮโดรโปนิกส์สามารถควบคุมโรคในดินได้ง่ายกว่าการปลูกพืชผักในดิน

11. เนื่องจากเป็นการปลูกพืชผักโดยไม่ใช้ดิน จึงทำให้พืชไม่มีโรคที่เกิดในดิน ไม่มีวัชพืชมารบกวน ไม่ต้องทำการจัดการดิน และยังสามารถปลูกพืชผักใกล้กันมากได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์มีผลผลิตที่มากกว่าเดิมในพื้นที่จำกัด

12. หมดปัญหาเรื่องสภาพดินในการที่ไม่มีความเหมาะสม เช่น ดินเค็ม ดินเป็นกรดหรือด่าง รวมไปถึงสภาพการขาดแคลนน้ำต่าง ๆ

13. การจัดการลดปริมาณของไนเตรทในพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินจะทำได้ง่ายกว่าพืชที่ปลูกบนดิน เพราะเราสามารถกำหนดใช้ความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่ปลูกเลี้ยงได้ระดับต่ำ หรือเลือกใช้สารละลายธาตุอาหารที่มีความเข้มข้นต่ำมาก นอกจากนี้การลดไนเตรทยังทำได้ด้วยการให้พืชได้รับแสงเพียงพอและอย่าให้พืชขาดโมลิบดีนัม (พืชผักที่มีไนเตรทสูง เมื่อนำมาบริโภคจะเกิดโทษต่อร่างกาย เพราะไนเตรทเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นไนไตรท์ ซึ่งสามารถยับยั้งการพาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ในร่างกายของเม็ดเลือดแดงได้ ทำให้เกิดอาการขาดอากาศเฉียบพลัน และยังสามารถไปรวมกับสารประกอบอะมีนในร่างกาย และกลายเป็นไนโตรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งได้)

14. การปลูกผักแบบไร้ดินก็มีประโยชน์ในด้านภูมิทัศน์เช่นกัน เพราะเราสามารถผลิตพืชสวนประดับเพื่อใช้ประดับอาคารได้

15. ช่วยในการประหยัดต้นทุนต่าง ๆ เช่น ค่าแรงงาน เนื่องจากการปลูกผักในระบบนี้จะเป็นระบบที่ไม่ต้องมีการเตรียมแปลงเพาะปลูกขนาดใหญ่เหมือนการปลูกพืชผักในดิน จึงไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องการเตรียมดิน การยกร่อง ค่าปุ๋ย รวมไปถึงค่ากำจัดวัชพืชต่าง ๆ และช่วยลดการนำเข้าของผักและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่าขนส่งได้อีกด้วย เพราะเราสามารถเลือกผลิตใกล้แหล่งรับซื้อได้ จึงทำให้มีศักยภาพในเชิงการค้าสูง

16. สามารถสร้างอาชีพทำรายได้ให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจ และผู้ด้อยโอกาสทางร่างกายได้ เช่น ผู้พิการโดยกำเนิด ทหารผ่านศึกที่ได้รับความพิการจากการสู้รบ เป็นต้น

17. ในด้านประโยชน์อย่างอื่น เช่น มีประโยชน์ในด้านการส่งเสริมการนันทนาการในครอบครัว เพราะการปลูกผักไว้เพื่อบริโภคภายในครอบครัวก็ช่วยทำให้เกิดความเพลินเพลินใจและทำให้รู้หลักการปลูกพืชในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี และการปลูกพืชไร้ดินยังมีประโยชน์ในด้านการศึกษาอีกด้วย เช่น การศึกษาทดลองของนักเรียน นักศึกษา รวมไปถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจ เป็นต้น

18. ช่วยส่งเสริมศักยภาพในการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ เนื่องจากเราสามารถควบคุมอุณหภูมิของสารอาหารและจัดการผลิตพืชผักเมืองหนาวที่เป็นคุ้นเคยของชาวต่างชาติได้ มันจึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานได้บริโภคพืชผักที่ตนคุ้นเคย

19. การปลูกพืชผักไร้ดินกับโครงการอวกาศ จะทำให้ยานอวกาศหรือสถานีอวกาศสามารถปลูกพืชผักไรดินได้เอง และการปลูกพืชผักไร้ดินไม่เพียงแต่จะก่อประโยชน์กับชีวิตและความเป็นอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดประโยชน์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในอนาคตเป็นอย่างมาก


ข้อเสียของระบบไฮโดรโปนิกส์

• การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์จะมีต้นทุนการผลิตเริ่มต้นค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ในการเพาะปลูกต่าง ๆ มากมายและมีราคาแพง แต่มีศักยภาพในการคืนทุนเร็ว (ในปัจจุบันเราสามารถหาซื้อชุดปลูกผักสำเร็จรูปได้ในแบบราคาย่อมเยา หรือจะศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อทำเองก็ได้)

• ผู้ปลูกต้องมีความชำนาญและมีประสบการณ์มากพอสมควรในการควบคุมดูแล เพราะถ้าไม่มีความรู้หรือไม่มีความสามารถในการจัดการที่ดีพอก็อาจทำให้พืชผักที่ปลูกมีปริมาณธาตุอาหารในพืชสูงได้

• ผู้ปลูกจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของสรีรวิทยาของชนิดพืชที่จะปลูก รวมไปถึงพื้นฐานทางเคมีและธาตุอาหารที่พืชต้องการ

• การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ต้องมีการควบคุมดูแลอย่างสม่ำเสมอ

• วัสดุที่ใช้ในการเพาะปลูกบางอย่างจะเน่าเปื่อยหรือสลายตัวได้ยาก ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมได้ ถ้าหากไม่มีการจัดการที่ดีพอ

• มีข้อจำกัดของชนิดพืชที่ปลูกมีค่อนข้างสูง ทำให้การเลือกพืชที่จะเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์จะต้องมีการศึกษาตลาดอย่างถี่ถ้วน และควรเป็นพืชที่แตกต่างจากพืชที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปบนดิน

• นอกจากนี้ในบริเวณที่จะติดตั้งระบบไฮโดรโปนิกส์ จะต้องมีระบบไฟฟ้าและระบบน้ำที่พร้อม เนื่องจากเป็นพื้นฐานของการติดตั้งระบบการปลูกด้วยวิธีนี้

ประโยชน์ของผักไฮโดรโปนิกส์

1. ผักไฮโดรโปนิกส์เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และไม่มีสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย

2. มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสูง เนื่องจากการปลูกผักไร้ดินเป็นการนำสารละลายธาตุอาหารมาละลาย โดยใช้ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการพืช เช่นเดียวกับการปลูกพืชบนดิน แต่ต่างกันตรงที่ผักที่ปลูกในดินจะต้องอาศัยจุลินทรีย์มาเปลี่ยนเป็นอาหาร ทำให้บางครั้งหากในดินมีธาตุโลหะหนักที่เป็นพิษต่อผู้บริโภค จุลินทรีย์ก็จะเปลี่ยนให้พืชสามารถดูดธาตุที่เป็นพิษเข้าไปได้ ในขณะที่การปลูกพืชไร้ดิน จะสามารถควบคุมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ ผู้บริโภคจึงได้รับประทานผักสดสะอาดที่มีความปลอดภัยสูง

3. ข้อดีของการบริโภคผักไฮโดรโปนิกส์ คือ การคงคุณประโยชน์ที่โดดเด่นที่สุดของผักเอาไว้ได้อย่างเต็มที่ เช่น กากใยอาหาร ที่เป็นตัวช่วยในการล้างผนังลำไส้และเป็นตัวช่วยในการขับถ่าย

4. มีการรับรองว่าพืชผักไร้ดินจะมีปริมาณแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์เท่ากับพืชผักที่ปลูกบนดินหรือสูงกว่าเล็กน้อย แต่พืชผักไร้ดินจะมีกลิ่นที่มาจากน้ำมันหอมระเหยและมีรสชาติน่าชวนชิมมากกว่าพืชผักที่ปลูกบนดิน

5. ผักไฮโดรโปนิกส์ที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นผักสลัดที่นำมารับประทานสด เช่น ผักกรีนคอส (Green Cos) เป็นผักที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง นอกจากจะใช้เป็นส่วนประกอบในสลัดแล้ว ยังนิยมนำไปผัดน้ำมันอีกด้วย, ผักกรีนโอ๊ค (Green Oak) หรือ ผักเรดโอ๊ค (Red Oak) เป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี โฟเลท และธาตุเหล็ก, ผักเรดคอรัล (Red Coral) เป็นผักที่อุดมไปด้วยใยอาหาร โฟเลท สารต้านอนุมูลอิสระ รวมไปถึงเบต้าแคโรทีน, ผักบัตเตอร์เฮด (Butterhead) เป็นผักที่อุดมไปด้วยโฟเลทและสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น

ความปลอดภัยของผักไฮโดรโปนิกส์

ความปลอดภัยในการบริโภคผักไฮโดรโพนิกส์ เป็นสิ่งที่ถูกถามกันมามากคำถามหนึ่ง ด้วยความกังวลที่ว่าผักชนิดนี้ต้องแช่ในสารละลายธาตุอาหารที่เป็นสารเคมีอย่างหนึ่ง เมื่อบริโภคเข้าไปอาจทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดูดกินอาหารทางรากในรูปของแร่ธาตุที่อยู่ในรูปของอิออนหรือประจุเท่านั้น แม้ว่าเราจะปลูกพืชลงในดินแล้วทำการให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเหล่านี้ก็ยังไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจนกว่าจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดินจนกระทั้งกลายเป็นแร่ธาตุที่อยู่ในลักษณะของเคมีธาตุอาหารพืช แล้วละลายอยู่ในน้ำในดิน จากนั้นพืชจึงดูดซึมไปใช้งานได้
สรุปแล้วก็คือ ไม่ว่าเราจะปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์หรือปลูกพืชในดิน พืชก็จะต้องดูดใช้อาหารในรูปของประจุของแร่ธาตุ ซึ่งก็เรียกว่าเป็น “เคมี” เช่นกัน โดยพืชจะนำเอาแร่ธาตุต่าง ๆ ไปใช้ในการสร้างสารประกอบอินทรีย์โมเลกุลใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ โปรตีน แป้ง ไขมัน หรือวิตามินต่าง ๆ ให้มนุษย์นำมาบริโภคอีกที ดังนั้น ถ้าคุณไม่กังวลว่าจะรับประทานผักที่ปลูกบนดินด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คุณก็ไม่ควรที่จะกังวลกับการบริโภคผักที่ปลูกในสารละลายหรือผักไฮโดรโปนิกส์เช่นกัน

ส่วนเรื่องการสะสมของไนเตรทที่เป็นอนุมูลของไนโตรเจนนั้น ที่พืชต้องการนำไปใช้มากในช่วงการพัฒนาด้านลำต้น กิ่ง หรือใบ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกรูปแบบใดก็จะต้องพบว่ามีไนเตรทอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งถ้ามีไม่เกิน 2,500-3,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งกิโลกรัมน้ำหนักสดของผัก ก็ถือว่าเป็นผักที่ปลอดภัยครับ และในประเทศไทยเราเองก็มีแสงแดดค่อนข้างจัด พืชจึงมีการสังเคราะห์แสงค่อนข้างสูง ทำให้อัตราการเปลี่ยนแปลงไนเตรทในต้นพืชกลายเป็นกรดอะมิโนกลูตาเมทเกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว ส่งผลให้มีปริมาณของไนเตรทลดลง อีกทั้งการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ก็สามารถลดไนเตรทก่อนการเก็บเกี่ยวได้ง่าย โดยการงดให้ธาตุอาหารหรือเลี้ยงพืชในอัตรา EC ต่ำกว่า 1.0 ประมาณ 1-3 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวพืชก็จะสามารถช่วยลดปริมาณของไนเตรทได้
คำแนะนำสำหรับบางท่านที่อาจมีความสงสัยเกี่ยวกับเรื่องสารตกค้างที่มีอยู่ในผักไฮโดรโปนิกส์ วิธีการรับประทานผักไฮโดรไปนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นผักที่หาซื้อมาจากตลาดหรือปลูกได้เองจากแปลง ก่อนนำมาบริโภคให้นำผักไปแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง ผักจะอิ่มตัว และคายสารที่ตกค้างออกมาทั้งหมด ทำให้สามารถนำมาบริโภคได้อย่างปลอดภัย

References ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย pasasiam » พุธ 15 มี.ค. 2017 6:53 pm

#วิธีปลูกต้นหม่อนกินผลสด

17353578_1254125361331964_2487844512618986380_n.jpg
17353578_1254125361331964_2487844512618986380_n.jpg (57.98 KiB) เปิดดู 12050 ครั้ง


ระยะปลูก อาจปลูกเป็นแถว แต่ละต้นห่างกัน 4 เมตร เพื่อเผื่อรัศมีทรงพุ่มไว้อย่างน้อย 2.00 เมตร หรือจะปลูกในแปลงพื้นที่สี่เหลี่ยมด้วยระยะปลูก 4.00 x 4.00 เมตรก็ได้

การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมลึก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 10 กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาว ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อหลุม และปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 250 กรัมต่อหลุม หรือจะให้แม่นยำต้องใส่ตามค่าการวิเคราะห์ดิน คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วกลบหลุมด้วยหน้าดินให้พูนเล็กน้อย

วิธีการปลูก ขุดดินบนหลุมที่เตรียมไว้ให้ลึกพอประมาณ แล้วนำต้นหม่อนที่เตรียมไว้ด้วยวิธีการต่างๆลงปลูกกลบดินให้แน่น

การบังคับทรงต้น ต้นหม่อนที่ปลูกจากกิ่งชำชนิดล้างราก หรือชนิดชำถุง หรือปลูกด้วยท่อนพันธุ์จากกิ่งพันธุ์โดยตรง เมื่อต้นหม่อนเจริญเติบโตได้ประมาณ 6-12 เดือน จะต้องบังคับทรงพุ่มโดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียงกิ่งเดียวไว้เป็นต้นตอ

มีความสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร จากพื้นดิน ปล่อยให้หม่อนแตกกิ่งใหม่หลายๆกิ่ง เก็บกิ่งที่สมบูรณ์ไว้ กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ให้ตัดทิ้งเพื่อให้ด้านล่างโปร่ง ง่ายต่อการปฏิบัติดูแลรักษาด้านเขตกรรมต่างๆ เช่น การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การพรวนดิน การตัดแต่งกิ่งแขนงและการเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นต้น อนึ่งสำหรับหม่อนที่ปลูกในปีแรกๆ ลำต้นและระบบรากยังเจริญเติบโตไม่มาก อาจจะหักล้มได้ง่าย ดังนั้นจะต้องทำการยึดลำต้นไว้ด้วยไม้ หรือไม้ไผ่ให้แน่นหนา

การใส่ปุ๋ย ในปีที่ 2 ให้ใส่ปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ตามการวิเคราะห์ความต้องการปูนขาวของดินเพิ่ม ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 250 กรัมต่อต้น

การให้น้ำ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้น้ำหม่อนในระยะที่หม่อนติดผลแล้ว (โดยปกติจะมีฝนหลงฤดูหรือฝนชะช่อมะม่วงผ่านเข้ามา จะทำให้ต้นหม่อนแตกตาติดดอก ถ้าไม่มีฝนหลงฤดู หลังโน้มกิ่ง รูดใบ ต้องให้น้ำกระตุ้นการแตกตาแทนน้ำฝน) หากขาดน้ำจะทำให้ผลหม่อนฝ่อก่อนที่จะสุก หรือทำให้ผลหม่อนมีขนาดเล็ก

การตัดแต่งกิ่งและการดูแลรักษาทรงพุ่ม ตัดเฉพาะกิ่งแขนงที่ไม่สมบูรณ์และเป็นโรคทิ้ง เพื่อลดการสะสมโรคและแมลการบังคับให้หม่อนติดผลนอกฤดูกาล ใช้วิธีการบังคับต้นหม่อน เพื่อให้ได้ผลผลิตผลหม่อนในระยะเวลาที่ต้องการ มีวิธีการดังนี้

1) ทำการโน้มกิ่งหม่อนที่ปลูกแบบทรงพุ่ม โดยการโน้มกิ่งให้ปลายยอดขนานกับพื้น หรือโน้มลงพื้นดิน รูดใบหม่อนออกให้หมด พร้อมทั้งตัดยอดส่วนที่เป็นกิ่งสีเขียวออกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ใช้เชือกผูกโยงติดไว้กับหลักไม้ไผ่ ซึ่งปักไว้บนพื้นดินสำหรับยึดเชือกไว้

2) หลังการโน้มกิ่ง 8-12 วัน ดอกหม่อนจะแตกออกพร้อมใบ จากนั้นจะมีการพัฒนาการของ ผลหม่อน โดยผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาว สีชมพู สีแดง และสีม่วงดำ ตามลำดับ โดยใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน ผลจะเริ่มแก่และสุก สามารถเก็บไปรับประทานสดหรือนำไปแปรรูปได้ มีระยะเวลาในการเก็บผลประมาณ 30 วันต่อต้น เพราะผลหม่อนจะทยอยสุก เนื่องจากออกดอกไม่พร้อมกัน

เมื่อต้นหม่อนมีอายุตั้งแต่ 2 ปี เป็นต้นไปจะให้ผลผลิตผลหม่อนประมาณ 1.5-35 กิโลกรัม(ประมาณ 750-1,850 ผลต่อครั้งต่อต้น) เพียงพอต่อการบริโภคผลสดทั้งครอบครัวทุกวัน ตลอดปี ซึ่งร่างกายต้องการวันละ 10-30 ผลเท่านั้น อีกทั้งยังมีผลหม่อนสดไว้แปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่มได้อีกหลายชนิด เช่น น้ำหม่อน แยมหม่อน เชอเบทหม่อน ฯลฯ

ที่มา ศูนย์รวมความรู้เกษตร
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย pasasiam » พุธ 15 มี.ค. 2017 7:06 pm

วิธีเพาะเห็ดฟางจากต้นกล้วย



สำหรับพื้นที่ไม่ได้ปลูกข้าวคงหาฟางยากเราสามารถเลือกใช้วัสดุอื่นมาทดแทนซึ่งต้นกล้วยและผักตบชวาเป็นตัวเลือกที่ดีเพราะ มาทำเชื้อเห็ดฟางอย่างง่ายจากดอกเห็ดฟางสด ทำได้ด้วยตัวเอง ข้อดีของการใช้ต้นกล้วยหรือผักตบชวาทำเชื้อเห็ดฟาง

1. เป็นวัสดุที่จัดหาได้ง่าย มีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น
2. ต้นทุนต่ำและทำได้ง่าย
3. ปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์
4. สามารถคัดเลือกสายพันธุ์เห็ดฟางได้ตามความต้องการ
เส้นใยเห็ดฟางแข็งแรงสมบูรณ์ และให้ผลผลิตสูง

การเตรียมเชื้อเห็ดฟางจากดอกเห็ดฟางสด

ส่วนประกอบ

1. ต้นกล้วยหรือผักตบชวาตากแห้ง 1 กิโลกรัม
2. ถุงพลาสติกชนิดใส ขนาด 6×9 นิ้ว 10 ใบ
3. มีดคัทเตอร์ 1 ด้าน
4. แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 70% 1 ขวด
5. แก้วเปล่า 1 ใบ
6. เข็มเย็บกระดาษ 1 อัน
7. ดอกเห็ดฟางสด (ดอกตูม) 1 ดอก
8. กระดาษที่สะอาด 1 แผ่น
9. สำลีเล็ดน้อย
10. น้ำสะอาดเล็กน้อย

กรรมวิธี

1.นำต้นกล้วยสดหรือผักตบชวา และควรเป็นต้นกล้วยตัดใหม่ๆ มาหั่นเป็นแว่นๆ หนาประมาณ ½ -1 เซนติเมตร ถ้าเป็นต้นกล้วยที่มีเครือแล้วให้เก็บส่วนของก้านเครือทิ้งให้หมด แล้วใช้มีดสับต้นกล้วยที่หั่นแล้วให้ละเอียดเล็กน้อยประมาณ 1-2 เซนติเมตร นำไปผึ่งแดด โดยมีแผ่นพลาสติกหรือวัสดุรองพื้นที่สะอาดเกลี่ยให้บางๆ ประมาณ 4-5 วัน ควรกลับกองต้นกล้วยทุกวันจนต้นกล้วยแห้งสนิทจึงนำไปใช้เป็นเชื้อเห็ดฟาง หรือใส่ถุงพลาสติกเก็บรักษาไว้ใช้ต่อไป

2. นำต้นกล้วยหรือผักตบชวา ที่แห้งแล้วดังกล่าวข้างต้น วางบนพื้นซีเมนต์หรือบนแผ่นพลาสติก พรมด้วยน้ำสะอาดผสมคลุกเคล้าจนทั่ว แล้วนำไปตรวจสอบให้มีความชื้นหมาดๆ โดยการใช้มือกำต้นกล้วยแล้วบีบให้แน่น เมื่อคลายมือออกต้นกล้วยจะเป็นก้อนเล็กน้อย หรือรู้สึกชื้นมือ ถ้าบีบแล้วน้ำหยดหรือซึมออกตามง่ามมือแสดงว่าความชื้นมากเกินไปต้องผึ่งลมทิ้งไว้ให้ความชื้นระเหยไปประมาณ 1-2 ชั่วโมง (ความชื้นมากเกินไปเส้นใยเห็ดฟางจะไม่เจริญ)

3. บรรจุต้นกล้วยหรือผักตบชวาลงถุงประมาณ ½ ถุง หรือมีน้ำหนักประมาณถุงละ 200 กรัม (ต้นกล้วยแห้งหนึ่งกิโลกรัม บรรจุได้ประมาณ 15-20 ถุง) นำไปตั้งเรียงไว้เป็นแถวๆ

4. นำดอกเห็ดฟางสดมาทำความสะอาด โดยใช้มีดคัทเตอร์ตัดแบ่งบริเวณโคนดอกเห็ดฟางที่สกปรกหรือมีวัสดุเพาะติดโคนดอกมาออกให้หมด ควรทำอย่างระมัดระวัง อย่าให้ดอกเห็ดฟางกระทบกระเทือนหรือชอกช้ำมาก

5. เทแอลกอฮอล์ลงในแก้วประมาณ ½ แก้ว แล้วนำดอกเห็ดฟางที่ตัดแต่งแล้วจุ่มลงไปจนมิดดอกเห็ดฟางแล้วนำออกมาวางในแก้วที่สะอาด ปล่อยให้แอลกอฮอล์ระเหยออกจากดอกเห็ดฟางจนแห้ง (ห้ามนำดอกเห็ดฟางแช่ลงในแอลกอฮอล์แล้วแช่ทิ้งไว้)
6. นำสำลีจุ่มลงในแอลกอฮอล์แล้วนำไปเช็ดถูทำความสะอาดใบมีดคัทเตอร์ ใช้มีดตัดส่วนของดอกเห็ดฟาง ส่วนใดก็ได้อย่างระมัดระวังขนาดประมาณ 1 ตารางเซนติเมตร หนาประมาณ 1 มิลลิเมตร ใส่ลงไปในถุงที่บรรจุต้นกล้วยเตรียมไว้ ถุงละ 1 ชิ้นทุกถุง เห็ดฟาง 1 ดอก ใช้ได้ประมาณ 10 ถุง

7. จับปากถุงแล้วเขย่าให้เนื้อเยื่อดอกเห็ดฟางอยู่ในบริเวณกึ่งกลางด้านข้างถุงพอดีแล้วแนบปากถุงพับลงมา 2-3 ครั้ง เย็บปากถุงด้วยเข็มเย็บกระดาษ 2-3 ครั้ง เป็นอันว่าเสร็จ 1 ถุง ให้ทำถุงต่อไปจนเสร็จสิ้นทั้งหมด

8. นำถุงเชื้อเห็ดฟางบรรจุลงในตะกร้าหรือลังไม้ เรียงเป็นแถว ทับซ้อนกันได้ไม่เกิน 2 ชั้น แล้วนำไปบ่มเชื้อในอุณหภูมิห้องปกติ (30 องศาเซลเซียส) ประมาณ 10-15 วัน เส้นใยเห็ดฟางจะเจริญจนเต็มถุง จึงนำไปเพาะหรือนำไปต่อเชื้อเพื่อขยายให้มีปริมาณมากขึ้นต่อไป

วิธีเพาะเห็ด(จำนวนที่ใช้ต่อ 1 ถุง)

1.ต้นกล้วยหั่นตากแห้งเพาะเห็ดฟางจากต้นกล้วยหรือผักตบชวาเพาะเห็ดฟางจากต้นกล้วยหรือผักตบชวา 5 กิโล
2.น้ำสะอาด 5 ลิตร
3.แป้งข้าวเหนียวหรือแป้งสาลี 3 กรัม หรือ 1 ช้อนชา
4.เชื้อเห็ดฟางที่ดี 1 ถุง
5.ผักตบชวาสดหั่น (อาหารเสริมที่ใช้ในขั้นตอนการเพาะ) 1 กก.

วิธีทำ

นำต้นกล้วยมาหั่นให้มีขนาดยาว 1/2 นิ้ว เนื่องจากต้นกล้วยสดไม่สามารถที่จะนำมาเพาะเห็ดฟางได้ เนื่องจากมีสารแทนนิล ทำให้เส้นใย เห็ดฟางไม่เจริญ ต้องทำลายสารดังกล่าวโดยการตากแดดให้แห้ง 3-4 แดด นำต้นกล้วยหั่นที่ตาดแดดแล้ว อาหารเสริมหรือผักตบชวาสดหั่น และ เชื้อเห็ดฟาง นำมาส่วนผสมทั้ง 3 อย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากันผสมด้วยน้ำสะอาดให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ก่อนนำมากองลงพื้น เกลี่ยแผ่กองวัสดุเพาะเห็ดฟางออกหนาประมาณ 2 – 3 นิ้ว นำเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้แล้ว ผสมคลุกเคล้าเข้ากับวัสดุเพาะเห็ดฟางให้ทั่วถึง จึงใส่บรรจุลงในถุงๆ ละประมาณ 5 กิโลกรัม ยกถุงกระแทกกับพื้นหรือใช้มือกดให้วัสดุเพาะเห็ดฟางแน่นพอสมควร กดจากภายนอกถุงเพาะให้วัสดุเพาะเห็ดฟางมีความหนาประมาณ 20 เซนติเมตร . จับและรวบปากถุงเป็นจีบเข้าหากัน แล้วมัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น โดยมัดในจุดที่สูงสุดของปากถุง เพื่อให้ถุงมีลักษณะเป็นกระโจม ซึ่งเมื่อฝนตกลงมามาก ต้องพับปากถุงลงมา เพื่อป้องกันน้ำฝนเข้าภายในถุง พับตรงระดับที่ 50 – 70 เซนติเมตรจากก้นถุง ให้ปากถุงที่มัดห้อยลงด้านล่าง หรือด้านข้างของถุงนั้น และ. นำถุงบรรจุวัสดุเพาะเห็ดฟางไปตั้งไว้ในสถานที่เพาะหรือแขวนไว้ในที่ที่มีความชุ่มชื้น เช่น ในร่มเงาต่างๆ หรือใต้ร่มไม้ก็ได้ ตั้งไว้เช่นนั้นนานประมาณ 8 – 10 วัน ดอกเห็ดฟางจะเกิดขึ้นบนผิวของวัสดุเพาะเห็ดฟางภายในถุงนั้น ผลผลิตเห็ดฟางที่ได้รับ 0.5-0.6 กก./ ถุง เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 3-5 ครั้งต่อรุ่นต่อถุง

ที่มา Facebook เกษตร อินเตอร์เชียงใหม่
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 02 เม.ย. 2017 12:44 pm

เทคนิควิธีแก้ปัญหามะม่วงไม่มีลูก

1467276283.jpg
1467276283.jpg (131.76 KiB) เปิดดู 11935 ครั้ง


ต้นมีการแตกใบอ่อนอยุ่เสมอ สาเหตุเพราะ ดินนั้นๆได้รับไนโตรเจนมากเกินไป

สาเหตุการไม่ออกดอก
การใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปีเป็นผลให้มะม่วงเจริญเติบโตทางด้านกิ่งและใบมากเกินไป เรียกว่า “ เฝือใบ ” จะสังเกตเห็นว่าลำต้น กิ่ง ใบ เจริญงอกงามดี แต่ไม่ผลิตาดอก ทั้งนี้เพราะปัจจัยที่ทำให้ต้นมะม่วงแทงช่อดอกนั้น ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของปริมาณสารประกอบคาร์โบไฮเดรตและไนโตรเจนที่สะสมอยู่ที่ใบและยอดมีปริมาณพอเหมาะ แต่ถ้ามีการสะสมปริมาณสารประกอบไนโตรเจนสูงกว่าคาร์โบไฮเดรต พืชจะเจริญทางด้านกิ่งใบและแตกใบอ่อน

โดยธรรมชาติแล้ว ต้นมะม่วงต้องการปุ๋ยและน้ำในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลและตัดแต่งกิ่งแล้ว เพื่อเป็นการเร่งให้มะม่วงแตกใบอ่อนให้เร็วที่สุด การให้ปุ๋ยในช่วงนี้อาจทำสองระยะ ห่างกันประมาณหนึ่งเดือน พร้อมการดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ มะม่วงจะแตกใบอ่อนสองสามชุด เมื่อหมดฝน ควรงดการให้ปุ๋ยและลดการให้น้ำลง การขาดน้ำในขีดจำกัดจะทำให้ต้นมะม่วงหยุดการเจริญทางด้านกิ่งและใบ เรียกว่า quot ระยะพักตัว ” ช่วงนี้มักเป็นระยะฤดูฝนทิ้งช่วงและย่างเข้าฤดูหนาว ซึ่งต้นมะม่วงจะได้สะสมคาร์โบไฮเดรตให้อยู่ในปริมาณสูงกว่าไนโตรเจน สภาพความชื้นในดินที่ลดลงนี้ทำให้การงดซึมน้ำขึ้นไปใช้ในลำต้นน้อยลง ไนโตรเจนจากรากถูกลำเลียงขึ้นไปสู่ยอดและใบได้น้อยลงด้วย ขณะเดียวกันปริมาณน้ำในลำต้นน้อย ทำให้ความเข้มข้นของคาร์โบไฮเดรตและฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกมากพอแก่การกระตุ้นการสร้างตาดอกระยะนี้จึงสังเกตเห็นต้นมะม่วงมียอดอวบ กิ่งอ้วนกลม ใบแข็ง หนา เมื่อขยำใบมะม่วงจะรู้สึกว่าแข็งและกรอบ สภาพดังกล่าวแสดงว่าต้นมะม่วงพร้อมจะผลิดอกแล้ว

แสงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการผลิดอก ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือ ทรงพุ่มของต้นมะม่วงหนาทึบเกินไปเพราะไม่ได้รับการตัดแต่งกิ่ง ทำให้แสงไม่สามารถส่องไปทั่วทุกส่วนของกิ่งและใบในทรงพุ่ม ในสภาพเช่นนี้การสร้างตาดอกก็จะน้อยลงด้วย

ฉะนั้นจึงควรตัดกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวผลแล้ว เพื่อให้แสงสว่างส่องได้ทุกส่วนของทรงพุ่ม ใบมะม่วงทุกใบได้มีการสังเคราะห์แสงอย่างเต็มที่ และเป็นการทำลายที่อยู่อาศัยของแมลงที่ชอบหลบซ่อนอยู่ในส่วนที่ใบหนาทึบ ซึ่งแสงแดดส่องไปไม่ถึงอีกด้วย

ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการผลิดอกออกผลของมะม่วงตามที่ได้กล่าวแล้วนั้น สามารถควบคุมเพื่อให้มะม่วงออกตอกตามฤดูกาลได้ โดยต้องเตรียมการตั้งแต่หลังฤดูการเก็บเกี่ยว ตามปรกติมะม่วงจะเก็บเกี่ยวผลได้ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน

หลังการเก็บเกี่ยวแล้วควรตัดแต่งกิ่งในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ควรตัดกิ่งออกร้อยละ ๒๐-๓๐ ของจำนวนกิ่งเดิม ต่อจากนั้นจึงให้ปุ๋ยและน้ำสม่ำเสมอ อาจใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีก็ได้มะม่วงจะแตกยอดอ่อนติดต่อกันประมาณสองสามชุดในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน

วิธีบำรุงมะม่วงในช่วงหน้าฝน

บำรุงมะม่วงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการตาดอกช่วงหน้าฝน ต้องเน้นบำรุงด้วยเทคนิค “กดใบอ่อนสู้ฝน” โดยให้ทางใบด้วย 0-42-56 หรือ 0-21-74 สลับด้วยแคลเซียม โบรอน. นมสด. ฮอร์โมนไข่.อาจจะให้บ่อยๆ แบบวันต่อวัน – วันเว้นวัน หรือให้ทันทีหลังฝนตกใบแห้ง ทั้งนี้เพื่อให้ต้นได้สะสมอาหารกลุ่ม ซี. ให้มีปริมาณมากกว่าอาหารกลุ่ม เอ็น.(จากฝน) อยู่ตลอดเวลานั่นเอง...

ถ้ากดใบอ่อนสู้ฝนไม่สำเร็จ ต้นยังแตกใบอ่อน ให้ใช้เทคนิคเด็ดยอดอ่อนที่แตกใหม่ทิ้งทั้งหมด แล้วบำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอกจนกว่าจะหมดฝน เมื่อหมดฝนแล้วลงมือเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 + ไธโอยูเรีย + ฮอร์โมนไข่ มะม่วงต้นนั้นก็จะออกดอกที่ซอกใบปลายกิ่ง ท้องกิ่งแม้แต่บนลำต้น ทั้งนี้เป็นเพราะไม่มีปลายยอดให้ดอกออกนั่นเอง ผลที่ออกผิดตำแหน่งเช่นนี้สามารถบำรุงให้มีคุณภาพดีได้ไม่ต่างจากผลปลายอด

ก่อนหมดฤดูฝนใบอ่อนชุดสุดท้ายจะเริ่มแก่ ควรงดให้น้ำและปุ๋ย เพื่อให้มะม่วงเข้าสู่ระยะพักตัวเพื่อสะสมอาหาร ในระยะนี้จะสังเกตเห็นใบมะม่วงมีสีเขียวเข้ม ใบหนาและแข็ง ประกอบกับย่างเข้าสู่ช่วงต้นของฤดูหนาวอากาศเย็นจะกระตุ้นให้มะม่วงผลิตาดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม แต่ถ้ามีฝนตกในช่วงนี้ประกอบกับมีไนโตรเจนในดินสูง มะม่วงจะดูดซึมธาตุอาหารไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว อาจทำให้แตกยอดอ่อน

วิธีแก้ไขคือต้องลดปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจนในดินโดยการใส่ปุ๋ยสูตรที่มีเฉพาะโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน เพื่อช่วยเหนี่ยวนำให้ในโตรเจนที่หลงเหลืออยู่ในดินถูกลำเลียงไปใช้ในการแตกยอดอ่อน ตามะม่วงซึ่งจะเจริญเป็นตาดอกนั้นจะมีลักษณะอวบอ้วนเป็นจะงอยเด่นชัด ส่วนตาที่จะเจริญไปเป็นยอดและใบจะมีลักษณะผอมและตั้งตรง นอกจากการดูแลดังว่านี้แล้วใช้วิธีรมควันต้นมะม่วง ซึ่งเป็นวิธีโบราณ ควรกระทำในช่วงที่ใบมะม่วงสะสมอาหารไว้เต็มที่แล้ว การรมควันจะเร่งให้ใบแก่ของมะม่วงหลุดร่วงก่อนเวลาปรกติ ก่อนที่ใบจะร่วง อาหารที่สะสมที่ใบจะเคลื่อนย้ายกลับไปสะสมที่ปลายยอด ทำให้มีสภาพเหมาะสมแก่การผลิตาดอก นอกจากนี้ยังพบว่า ในควันไฟมีแก๊สเอทิลีน ethylene ซึ่งเป็นสารตัวการสำคัญที่กระตุ้นให้มะม่วงออกดอกอีกด้วย สำหรับวัสดุที่ใช้ในการสุมไฟ ได้แก่ ใบไม้แห้ง กิ่งไม้ แกลบ และเศษวัชพืช เมือหมดฝนให้หยุดการน้ำโดยเด็ดขาด เพื่อให้มันสะสมอาหารเพือแทงช่อดอก

ในช่วงเดือนมิถุนายน ให้ทำการตัดแต่งกิ่ง ก่อนตัดแต่งกิ่ง ต้องดูก่อนว่าดินมีความชื้นพอหรือไม่ ในพื้นที่ชลประทาน หรือพื้นที่ที่มีน้ำสะดวกแนะนำให้รดน้ำดินให้ชุ่ม แต่ถ้าเป็นพื้นที่แล้งอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ต้องรอให้ฝนตกใหญ่ 3-4 ครั้งก่อน จึงจะแต่งกิ่ง เพราะถ้าดินแห้งแล้ง แต่งกิ่งไปแล้ว โอกาสที่ใบอ่อนจะออกเสมอกันมีน้อยมาก

มะม่วงต้นแก่อายุหลายสิบปีให้ผลผลิตน้อยและคุณภาพไม่ค่อยดี แก้ไขด้วยการตัดแต่งกิ่งแบบทำสาวแล้วบำรุงเลี้ยงยอดใหม่ 1 ปีก็จะกลับมาให้ผลผลิตดกและดีเหมือนต้นยังสาว หรือมะม่วงที่ขนาดต้นใหญ่และสูงมาก ใบมาก กิ่งแน่นทรงพุ่ม ฤดูกาลที่ผ่านมาออกดอกติดผลบ้างไม่ออกบ้าง ขนาดผลเล็ก ไม่ดก คุณภาพไม่ดี ไม่เคยตัดแต่งกิ่งปรับทรงพุ่มและไม่เคยปฏิบัติบำรุงใดๆ ทุกอย่างปล่อยตามธรรมชาติทั้งสิ้น ก็สามารถทำให้ออกดอกได้ โดยเริ่มบำรุงทางรากแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องอย่างน้อย 3-6 เดือนฝัง ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก และ 8-24-24 หว่านทั่วบริเวณทรงพุ่มแล้วรดน้ำทุก 7-10 วัน จากนั้นให้เสริมทางใบด้วยสูตรเปิดตาดอก 2-3 สูตรสลับกัน ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะพบว่าต้นเริ่มอั้นตาดอกหรือใบปลายกิ่งเริ่มแก่จัด เมื่อเห็นว่ามีอาการอั้นตาดอกดีแล้วให้ลงมือเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 + 0-52-34 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม สลับครั้งกับ ฮอร์โมนไข่ + สาหร่ายทะเล ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงเช้าแดดจัด 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน มะม่วงเก่าแก่ต้นนั้นก็จะออกดอกมาให้ชม รุ่นปีแรกอาจจะไม่มากนักแต่รุ่นปีต่อๆไปจะมากขึ้นเนื่องจากความสมบูรณ์ต้นที่สะสมเอาไว้

ที่มา เกษตรชาวบ้าน
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 02 เม.ย. 2017 12:52 pm

วิธีทำฮอร์โมนไข่เปิดตาดอกมะนาว

17634782_1269660733111760_6541614083711871834_n.jpg
17634782_1269660733111760_6541614083711871834_n.jpg (85.62 KiB) เปิดดู 11902 ครั้ง


สิ่งที่ต้องเตรียม

1.ไข่ไก่ ประมาณ 5 กิโลกรัม

2.น้ำตาลอ้อย หรือกากน้ำตาล 5 กิโลกรัม

3.นมเปรี้ยว 3 ขวด

4.แป้งข้าวหมาก 3 ลูก

วิธีการทำ

บดแป้งข้าวหมากให้ละเอียด เทผสมกับนมเปรี้ยว แล้วปั่นไข่ไก่ทั้งเปลือกให้ละเอียดผสมลงไป ผสมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลอ้อยลงไป คนให้ส่วนผสมเข้ากัน จากนั้นปิดฝาภาชนะ หมักในที่ร่ม 7-10 วัน ก่อนการใช้ให้เราสังเกตว่าฮอร์โมนไข่ที่เราหมักนั้นหนืดหรือเหลว ถ้าหนืดหรือแห้งมากให้ใช้น้ำมะพร้าวอ่อนเติมลงไปเพื่อลดความหนืดแล้วจึงตวงออกมาใช้ ก่อนการใช้ฮอร์โมนไข้ให้เอาเศษหญ้า ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกออกจากโคนต้นเพื่อไม่ให้ไนโตรเจนละลายไปเลี้ยงลำต้น จากนั้นใช้ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดลงที่โคนต้นที่เตรียมไว้แล้ว พร้อมๆ กันกับผสมฮอร์โมนไข่ 10 ซีซี บวกกับน้ำตาลทราย 2-3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทางใบ โดยอาจจะใช้ ร่วมกับปุ๋ย 0-52-34 อัตรา 10 กรัม, ไวตาไลเซอร์ 5 กรัม และ น้ำมะพร้าวอ่อน 100 ซี.ซี. เพิ่มเข้าไปอีกก็ได้เพื่อช่วยเสริมและกระตุ้นการเปิดตาดอกให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นโดยฉีดพ่นให้กระจายทั่วทรงพุ่มให้เปียกชุ่มโชก ฉีดอาทิตย์ละครั้งเพื่อให้กระตุ้นให้มะนาวเตรียมแตกใบอ่อนพร้อมต่อการออกดอก

สูตรเปิดตาดอกมะนาว(แบบฝนตกชุกๆ)มีปัญหาเรื่องกรดใบอ่อน

13-0-46 (1000)กรัม + ไธโอยูเรีย (1000)กรัม + ธาตุอาหารรอง-อาหารเสริม+สารหร่าย 200 ซีซี+แคลเซียมโบรอน200ซีซี +สมุนไพรกำกัดแมลง
ฉีดช่วงเข้าครับ 1 รอบแล้วหลังจากนั้นอีก 7 วันฉีดสูตรเดิมอีก 1 รอบ แล้วนับเวลาถอยหลัง อีก 15 วันดอกมะนาวจะเริ่มออกดอก

#หมายเหตุ ใบมะนาวจะร่วงครับไม่ต้องตกใจ แต่จะล่วงเฉพาะใบแก่เท่านั้นครับ แล้วหลังจากนั้นมะมาวจะออกช่อและดอกมาพร้อมกัน

#วิธีทำมะนาวออกนอกฤดู

ในการบังคับให้มะนาวออกดอกติดผลนอกฤดู ก็คือการทำให้มะนาวออกดอกในเดือนตุลาคม ดังนั้นเดือนกันยายนเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวต้องงดปุ๋ย งดน้ำ เพื่อที่จะบังคับมะนาวให้มีผลผลิตนอกฤดู โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ตัดแต่งกิ่งและเด็ดผลมะนาวที่เหลือบนต้นออกให้หมด เพื่อบำรุงต้น เร่งการสร้างยอดใหม่ ใบใหม่ เพราะผลมะนาวที่คุณภาพดีที่สุดคือผลที่เกิดจากยอดใหม่ ผลที่เกิดจากกิ่งเก่าคุณภาพจะด้อยลงมา ผลที่คุณภาพต่ำสุดคือผลที่เกิดติดกิ่ง

2. หลังตัดแต่งกิ่งเสร็จใช้ปุ๋ยเคมี 15 – 15 – 15 ใส่หนึ่งกำมือต่อวง หากไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย ต้นจะไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร และพบอาการผลเหลืองที่ไม่ได้เกิดจากอาการม้านแดดมากกว่าปกติ เนื่องจากการให้ผลผลิตในปีที่ผ่านมา ต้นมะนาวใช้ธาตุอาหารในการเลี้ยงลูกในปริมาณที่มากนั้นเอง จึงจำเป็นต้องได้รับปุ๋ยเคมีบ้าง

3. เพิ่มวัสดุปลูกในวงบ่อเนื่องจากในแต่ละปีวัสดุปลูกจะยุบลงผุพังไปบ้างในปีที่ผ่านมา อาจเพิ่มกาบมะพร้าว เศษฟาง ใบไม้ หรือขี้เถ้าแกลบ ซึ่งวัสดุพวกนี้จะช่วยเก็บความชื้นได้เป็นอย่างดีและยังเป็นวัสดุที่ช่วยเก็บรักษาปุ๋ยที่จ่ายมาทางระบบน้ำก่อนจะค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้ต้นมะนาวใช้ ป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารอันเกิดจากการไหลบ่า หรือการระเหย

4. ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ได้จากการหมักหอยเชอรี่ 30 กก. เศษผลไม้ 10 กก. กากน้ำตาล 10 กก. สารเร่งพด.2 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ20 ลิตร (สูตรนี้สามารถใช้ฉีดพ่นทางใบ ในอัตรา 20 - 25 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรได้) ในส่วนของการให้ปุ๋ยชีวภาพทางระบบน้ำนั้น เทคนิคคือใช้ปุ๋ยชีวภาพในอัตรา 5 ลิตร ต่อน้ำ 1,250 ลิตร ให้ทุก 5 - 7 วัน โดยจะให้ครั้งละ 3 – 5 นาที เพื่อให้เศษวัสดุบริเวณโคนต้นชุ่มก็พอ หลังจากนั้นก็ให้น้ำตามปกติ เพราะน้ำจะค่อย ๆ ละลายธาตุอาหารลงไปให้ต้นมะนาวและยังเป็นการใช้ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

5. ในระยะนี้ต้องดูแลสวนมะนาวให้ดี เนื่องจากมีโรคและแมลงเข้าทำลายในระยะยอดอ่อน คือ เพลี้ยไฟ และโรคแคงเกอร์ ควรใช้สารกำจัดแมลงที่สกัดจากสมุนไพรทางธรรมชาติ เช่น สมุนไพรที่ มีรสเผ็ด ขม เหม็น เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด สะเดา หรือบอระเพ็ด คือให้ใช้สมุนไพรดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง 30 กก. กากน้ำตาล 10 กก. สารเร่งพด.7 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 30 ลิตร หมัก 20 วัน นำมาฉีดพ่นในอัตรา 25 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 - 15 วัน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และควรใช้ในระยะก่อนเก็บเกี่ยวไม่น้อยกว่า 2 เดือน

6. ให้งดน้ำและงดปุ๋ยมะนาวจนเห็นว่าใบเหี่ยวและหลุดร่วงประมาณ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นก็ให้น้ำตามปกติ ปุ๋ยเคมีที่ใช้เพื่อเปิดตาดอกในระยะนี้ คือ ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูง เช่น 12 – 24 – 12 หรือ 15 – 30 -15 ปริมาณ 1 กำมือต่อวงบ่อ และควรรดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้ปุ๋ยละลายต่อไป

สำหรับเกษตรกรบางท่าน เลือกใช้วิธีพลาสติกคลุมบ่อในช่วงนี้ด้วย แต่ต้องพิจารณาปัจจัยที่ว่า พลาสติกก่อให้เกิดไอน้ำเกาะบริเวณผิวด้านในพลาสติก ซึ่งทำให้ลดความชื้นในดินยาก หากจะให้ได้ผลดี ในวันที่แดดออกต้องแกะพลาสติกออกให้น้ำระเหย หากฝนตกต้องคลุมพลาสติก เป็นการจัดการที่ยากในกรณีที่ไม่มีแรงงานเพียงพอ

7. หลังติดดอกแล้วก็ให้น้ำตามปกติเช้า – เย็น (ระบบน้ำหยดจะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที) จนกระทั่งมะนาวออกผลผลิต ก็เป็นจบขั้นตอนการทำมะนาวนอกฤดู

ติดตามข้อมูลได้ที่ :http://farmlandthai.blogspot.com/

เครดิตรูปภาพจากสวนมะนาววงบ่อพะเยา
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 02 เม.ย. 2017 4:57 pm

#วิธีทำฮอร์โมนเร่งรากสูตรเข้มข้น

17634328_1503080536403613_3735505792989567817_n.jpg
17634328_1503080536403613_3735505792989567817_n.jpg (17.68 KiB) เปิดดู 11899 ครั้ง


อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1.กะปิ

2.ข้าวโพดหวานดิบ

3.น้ำมะพร้าวแก่

หากต้องแช่กิ่งพันธุ์ให้ผสมน้ำมะพร้าวแก่

หากต้องการทำเก็บใส่กระปุกไว้ ให้ใช้ข้าวโพดหวานและกะปิก็พอ

ไซโตไคนินเป็นฮอร์โมนของพืชที่พบครั้งแรกในน้ำมะพร้าว ข้าวโพดหวาน และต่อมาพบในกะปิโดยสารนี้มีความสามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ กระตุ้นการแตกรากได้เป็นอย่างดี

ไซโตไคนิน (cytokinins)
ไซโตไคนินเป็นฮอร์โมนของพืชที่พบครั้งแรกในน้ำมะพร้าว โดยสารนี้มีความสามารถกระตุ้น การแบ่งเซลล์ ซึ่งต่อมาพบว่าสารนี้คือ 6-furfuryladenine เป็นสารที่มีสูตรโครงสร้างแบบพูรีน (Purine) จากคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ได้จึงเรียกสารนี้ว่าไคเนติน (Kinetin)

หลังจากนั้นก็มีผู้พบสารที่มีสูตรโครงสร้างและคุณสมบัติคล้ายกับไคเนตินอีก หลายชนิด จึงรวม เรียกสารเหล่านี้ว่าไซโตไคนิน ไซโตไคนินที่พบในพืชคือ ซีอะติน (Zeatin) แหล่งสร้างไซโตไค นินในพืชที่อยู่ปลายราก ปมราก และพบทั่วไปในต้นพืช เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิก นอก จากนี้พบในรูปสารอิสระในเอมบริโอและผลที่กำลังเจริญเติบโต ผลของไซโตไคนินกับพืชจะเกิด ร่วมกับสารกระตุ้นการทำงาน (co-factor) อื่นๆ ถ้าไม่มีสารเหล่านี้ไซโตไคนินจะไม่แสดงผลกับพืช

ในปัจจุบันได้มีการสังเคราะห์ไซโตไคนินขึ้นในห้องปฏิบัติการหลายชนิดและนิยม ใช้กันอย่าง แพร่หลายในทางการเกษตรและทางการค้า ไซโตไคนินเหล่านี้มีคุณสมบัติช่วยในการแบ่งเซลล์ และสามารถใช้ชะลอหรือยืด อายุของส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ ดอก และผลให้สดอยู่ได้นาน

ตลอดจนมีการนำมาใช้ในสูตรอาหารเพื่อเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างแพร่หลาย ไซโตไคนิน สังเคราะห์ที่สำคัญและนิยมใช้กันมากได้แก่ เบนซิลอะดีนิน (Benzyl aminopurine หรือ BAP) เททระไฮโดรไพรานิล เบนซิลอะดีนิน (Tetrahydropyranyl benzyl adenine หรือ
TBA) เป็นต้น

ศึกษาเกษตรแบบพอเพียงได้ที่ : http://www.farmlandthai.com/
ศึกษาเพิ่มเติมหลักการงาน : https://goo.gl/CJeJj
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 02 เม.ย. 2017 4:58 pm

วิธีเลี้ยงปลาซิว

14925676_1337914836253518_3168067253450936136_n.jpg
14925676_1337914836253518_3168067253450936136_n.jpg (37.34 KiB) เปิดดู 11899 ครั้ง


ขั้นตอนการเลี้ยงปลาซิว

1.เตรียมบ่อเลี้ยงขนาดบ่อ 2x4 เมตร ลึก 1 เมตร (เป็นบ่อปูนหรือบ่อพลาสติกก็ได้)

2.หลังจากเตรียมบ่อแล้วให้ทำการเปิด น้ำเข้าบ่อสูง 80 เซนติเมตร และนำท่อนกล้วยลงแช่ในบ่อเพื่อดูดซับกลิ่นปูนแลกลิ่นเคมีจากพลาสติก แช่นาน 1 สัปดาห์

3.นำปลาซิวลงบ่อเลี้ยงประมาณ 10 กิโลกรัม

4.อาหารให้รำอ่อน วันละ 1 ครั้ง

5.ระบบการถ่ายน้ำให้ทำการถ่ายน้ำโดย การเปิดก๊อกน้ำใส่บ่อและทำตัวจุกระบายน้ำออกจากบ่อที่ก้นบ่อด้วย และนำมุ้งเขียวกันไว้ไม่ให้ปลาหลุดออกจากบ่อตามท่อระบายน้ำ(ให้ทำการถ่ายน้ำปีละ 1 ครั้ง)

6.ปรับปรุงสภาพน้ำโดยใส่น้ำหมักฮอร์โมนแม่ ½ ลิตร ต่อ เดือน

7.อาหารเสริมสามารถนำปลวกมาสับให้ละเอียดเพื่อนำไปเป็นอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนให้ปลาซิวได้ เลี้ยงไว้ 2-3 เดือนสามารถจับขายหรือกินได้ การจำหน่ายราคากิโลกรัมละ 100 บาท

14937447_1337914682920200_2420840866599092668_n.jpg
14937447_1337914682920200_2420840866599092668_n.jpg (55.71 KiB) เปิดดู 11899 ครั้ง


สูตรน้ำหมักฮอร์โมนแม่

นำยอดผักบุ้ง หน่อไม้ หน่อกล้วยมาสับรวมกัน 10 กก. ใส่กากน้ำตาล ฟอสเฟต รำละเอียด เกลือ ในอัตราส่วน 10:10:2.5:2 ขีด และน้ำอีก 70 ลิตร คนให้เข้ากัน ตามด้วยหัวเชื้อ 1 ลิตร หมักไว้ 15 วันเป็นอันว่าเสร็จ

ข้อมูล : รักบ้านเกิดดอทคอม

ภาพประกอบ : อินเทอร์เน็ต
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย Namfar » พฤหัสฯ. 06 เม.ย. 2017 8:56 pm

วิธีการปลูกชะอม และเทคนิคการปลูกชะอม 1 ต้น ร้อยยอด

14285638981428564067l.jpg
14285638981428564067l.jpg (100.38 KiB) เปิดดู 11893 ครั้ง


วิธีการขยายพันธุ์ชะอม สามารถทำได้โดย การตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง หรือการโน้มกิ่งชะอมฝังดินทำให้แตกรากใหม่เกิดเป็นต้นใหม่เพิ่มขึ้น เกษตรกรสามารถทำการขยายพันธุ์เองได้ หรือหาซื้อกิ่งพันธุ์ได้ตามร้านขายกิ่งพันธุ์ไม้ทั่วไป

วิธีการปลูกชะอม

ถ้าใช้กิ่งตอนจะนิยมยกร่องแล้วขุดหลุมปลูกบนร่อง ทั้งนี้เพราะป้องกันน้ำท่วมขังทำให้รากชะอมเน่าตายได้ โดยทั่วไปจะปลูกห่างกันต้นละประมาณ 30-50เซนติเมตร เป็นแถวเป็นแนวหรือปลูกเป็นแปลงระยะห่างของแถวประมาณ 1 เมตร ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ จะนิยมปลูกแบบแถวคู่ ระยะห่างของแถว 1 เมตร แต่ถ้าปลูกริมรั้วบางครั้งก็ใช้แถวคู่ ระยะห่างระหว่างแถวและระหว่างต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร

การดูแลและการเก็บยอดชะอม

เมื่อปลูกชะอมได้ประมาณสัก 3 เดือน ให้รดน้ำวันเว้นวัน ต้นชะอมจะชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะเพราะจะทำให้รากเน่าตายได้ ชะอมก็จะเริ่มแตกยอดอ่อนมาให้เก็บไปขายหรือใช้บริโภคได้แล้ว

และเมื่อเก็บยอดชะอมไปขาย ชะอมก็จะแตกยอดใหม่มาเรื่อย ๆ ควรดูแลรักษาต้นชะอมโดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหลังจากปลูกชะอมได้ 2-3 เดือน จะทำให้ต้นชะอมแข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดี

การกระตุ้นการแตกยอดอ่อนของชะอม เกษตรกรจะใช้ปุ๋ยยูเรีย เพื่อกระตุ้นการแตกยอดใหม่ของชะอม แต่ควรใช้ในอัตราที่น้อยและต้องใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักด้วยจะทำให้ดินดีมีความอุดมสมบูรณ์มาก ต้นชะอมจะเจริญเติโตดีด้วยการกระตุ้นการแตกยอดอ่อนของชะอม

อีกวิธีหนึ่งก็คือใช้น้ำหมักชีวภาพ ที่หมักจากยอดอ่อนของพืชชนิดต่าง ๆ ปริมาณการใช้อัตราส่วนน้ำหมัก 1 ลิตร ต่อน้ำ 40 ลิตร รดทุก 7 วัน ชะอมจะแตกยอดอ่อนได้ดีและช่วยให้ต้นแข็งแรงดีด้วย แต่ก็ควรใส่ปุ๋ยหมักในดินให้กับต้นชะอมด้วยจะดีมากจากการปลูกชะอมโดยวิธีธรรมชาตินี้เกษตรกรทำกันมานานแล้วเป็นอย่างนี้สืบต่อเรื่อยมา

สำหรับวิธีการปลูกชะอม 1 ต้น ร้อยยอด

ต้นชะอมเป็นไม้เลื้อยจะแตกยอดตามกิ่งและเกษตรกรจะเก็บยอดอ่อนไปจำหน่ายหรือบริโภคฉะนั้นการปลูกชะอมก็ไม่จำเป็นต้องปลูกหลายต้น แต่เราจะปลูกต้นชะอม 1 ต้น แล้วปล่อยให้ชะอมมันเลื้อยทอดยอดไปเรื่อย ๆ โดยเราก็จะจับลำต้นชะอม ให้ทอดยอดสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วใช้เชือกฟางมัดไว้กับหลักที่ปักไว้เป็นแถวห่างกัน ระยะ 50 เซนติเมตรให้ต้นชะอมเลื้อย ขนานกับพื้นดินสูง 50 เซนติเมตร ยาวไปเรื่อย ๆ โดยปักหลักมัดกิ่งไม่ให้ล้มชะอมก็จะออกยอดตามลำต้นยาวไปเรื่อย ๆ เรียกว่าปลูกชะอม 1 ต้นแต่เก็บได้ร้อยยอด เป็นการประหยัดพื้นที่ปลูกชะอม และถ้าเราจะเปลี่ยนหลักไม้ไปปลูกผักหวานแทนข้าง ๆ หลักที่ปักไว้ ก็จะมีผักอีกชนิดหนึ่งไว้รับประทานได้อีกด้วย และนี่ก็คือการจัดการการปลูกผัก วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง


สำหรับท่านที่สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณสรณพงษ์ บัวโรย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7 สำนักงานการเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม โทร.08-1315-3843


ที่มา: http://www.gotoknow.org/posts/129728
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย Namfar » พฤหัสฯ. 06 เม.ย. 2017 9:01 pm

ปลูกมะม่วงส่งออก 250 ไร่ ผลผลิต 1 ไร่ ได้ 1 ตัน แบบไม่ต้องพึ่งระบบน้ำ

4-8-e1491377203688-696x928.jpg
4-8-e1491377203688-696x928.jpg (128.78 KiB) เปิดดู 11893 ครั้ง


คุณสุวิทย์ คุณาวุฒิ มีอาชีพทำสวนมะม่วงมาตั้งแต่สมัยรุ่นคุณพ่อ ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาปี 2528 ได้เข้ามาซื้อที่ทำสวนมะม่วงจำนวน 35 ไร่ ที่บ้านเลขที่ 54 หมู่ 9 ตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร.089-8343299 หลังจากนั้นได้มีการขยายสวนจนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ และเข้าสู่ระบบ GAP ตั้งแต่ พ.ศ. 2547

“ทำมะม่วงมาตั้งแต่เกิด รุ่นที่สองแล้ว พ่อแม่ทำมาก่อน เกิดมาก็อยู่กับมะม่วงเลย”คุณสุวิทย์บอก

ใจจริงคุณสุวิทย์อยากขยายสวนมากกว่านี้แต่ภรรยาห้ามไว้ก่อน

ที่สวนนี้ปลูกมะม่วงหลายพันธุ์ แต่จะปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เป็นส่วนใหญ่ ประมาณ 150 ไร่ ส่วนพื้นที่เหลือก็ปลูกมะม่วงสายพันธุ์อื่นๆ คละเคล้ากันไป

“ถ้าพูดถึงเรื่องพันธุ์มะม่วง คุณสุวิทย์บอกว่า ตอนนี้ที่มาแนวหน้า สำหรับตลาดส่งออก ต้องเป็นน้ำดอกไม้สีทอง ส่วนตลาดภายในมะม่วงขายตึก” คุณสุวิทย์กล่าว



ราดสารเมื่อไหร่

ที่สวนคุณสุวิทย์ จะเริ่มราดสารช่วงเดือนพฤษภาคม ใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง ตามลำดับ โดยจะไม่ทำทั้งหมด จะใช้วิธีทะยอยทำ โดยตั้งเป้าหมายไว้กี่ไร่ ก็ราดสารเท่านั้น ราดสารตามอัตราที่มีแนะนำและบวกเพิ่มตามสูตรของตัวเองอีกนิดหน่อย

วิธีการใส่ปุ๋ย

คุณสุวิทย์ได้กล่าวแนะนำการใส่ปุ๋ยว่า

“ปุ๋ยจะใส่ไม่เยอะ ใส่สองครั้ง ครั้งแรกใส่สูตรเสมอ 15-15-15 ถ้าต้นใหญ่ๆ ใส่ไม่เกิน 1 กิโลกรัม ต้นรองลงไปให้ใส่ประมาณครึ่งกิโลกรัม ใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง สูตร 15-5-20 เพราะว่าตัวกลางสวนนี้มีอยู่ค่อนข้างมาก ที่สวนคุณสุวิทย์เป็นที่ดอนไม่ได้รดน้ำ จะใส่ปุ๋ยช่วงหลังจากราดสาร คือให้กินให้อิ่ม แต่ถ้าสวนไหนมีระบบน้ำ ควรใส่ช่วงที่ติดผลผลิตแล้ว” คุณสุวิทย์กล่าว

คุณสุวิทย์นำดินไปวิเคราะห์ พบว่า แปลงปลูกของเขามีตัวกลางสูง หมายถึงฟอสฟอรัส

พื้นที่ปลูกมะม่วง 250 ไร่ ไม่มีระบบน้ำเลย อาศัยน้ำฝน เจ้าของให้ปุ๋ยตั้งแต่ก่อนฝนหยุดตก

ได้รับคำแนะนำว่า หลังฝนตกไม่ควรให้ปุ๋ย สำหรับสวนไม่มีระบบน้ำ เพราะต้นไม้นำไปใช้ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม คุณสุวิทย์บอกว่า หากมีระบบน้ำจะได้เปรียบ เพราะหลังเก็บผลผลิต รีบเตรียมต้น ใส่ปุ๋ยให้น้ำ ผลผลิตจะมีเร็วขึ้น


มะม่วงมหาชนก


ผลผลิตมะม่วง 1 ไร่ 1 ตัน

หลังราดสารมะม่วงเขียวเสวย 60 วัน ถ้ามะม่วงพันธุ์เบา ฟ้าลั่น น้ำดอกไม้ ขายตึก ใช้เวลาประมาณ 45วัน

ผลผลิตที่ได้น้ำดอกไม้ต้นอายุ 20-30ปี ให้ผลผลิตประมาณ 200-300กิโลกรัม

ต้นอายุ 10ปี ได้ผลผลิต 100-150 กิโลกรัม เฉลี่ยแล้วมะม่วง 1 ไร่ ให้ผลผลิต 1 ตัน

ราคามะม่วงน้ำดอกไม้ถ้าส่งออกจะขึ้นอยู่กับระยะเวลา ถ้าแปลงแรกเก็บผลผลิตช่วงเดือนพฤศจิกายน ช่วงนั้นขายได้กิโลกรัม ละ 110 บาท แต่ถ้าช่วงเมษายน ราคาจะเหลือประมาณ 70บาท


โรงคัดมะม่วงระบบปิด


เทคนิคผลิตมะม่วงส่งออก

คุณสุวิทย์พูดถึงการผลิตมะม่วงเพื่อส่งออกว่า อันดับแรกที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องของการคุมยา การห่อผลต้องเว้นระยะ มีการจดบันทึกชนิดของสารต้องห้าม สารชนิดใดใช้แล้วตกค้างนานก็ไม่ควรใช้

สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราบางตัวที่ใช้ไม่ได้



การห่อผล

มะม่วงมีอายุประมาณ 50-60 วัน เหมาะแก่การห่อ ห่อเสร็จทิ้งไว้อีก 45วัน ผลจะโต ยิ่งห่อเล็กเท่าไหร่ผิวยิ่งสวยเนียน

การห่อตั้งแต่มะม่วงผลยังเล็ก มะม่วงจะสลัดลูกเจ้าของต้องเสียเวลาแกะถุงที่ห่อมาห่อลูกใหม่


มะม่วงที่ห่อผล ที่สวนคุณสุวิทย์
“ช่อดอกก็สำคัญต้องฉีดยาบ่อยยิ่งถ้าทำนอกฤดูวันสองวันก็ต้องฉีดแล้ว เน้นฆ่าเชื้อราเพราะดอกจะเน่า ถ้าไม่ฉีด เช่นฝนตกวันนี้ดึกๆผมต้องไปฉีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืนผลผลิตก็จะติดน้อยลงมา ถ้าปล่อยไว้นานวันช่อดอกจะดำเสีย ตัวนี้สำคัญมาก ฉีดเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีแล้วก็ต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพด้วย”เจ้าของสวนพูดถึงการดูแลที่สำคัญมาก



มะม่วงน่าปลูกอย่างไร และปลูกอย่างไรถึงจะขายได้

คุณสุวิทย์ยืนยันว่ามะม่วงยังเป็นไม้ผลที่น่าปลูกอยู่ แต่เน้นว่าต้องเป็นคนที่สนใจจริงๆ ถ้าจะให้ดีต้องมีกลุ่มไว้ปรึกษาหารือในเรื่องของปัญหา หรือมีการแลกเปลี่ยนความคิดกัน

“ตลาดมะม่วงยังไปได้อีกไกล ตอนนี้ผลผลิตไม่พอกับความต้องการ ราคามะม่วงค่อนข้างสูงอยู่ มะม่วงถือว่ายังเป็นพืชที่น่าสนใจ” คุณสุวิทย์กล่าว

ที่มา เทคโนโลยีชาวบ้าน
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย Namfar » พฤหัสฯ. 06 เม.ย. 2017 9:06 pm

ทำเกษตรอินทรีย์ส่งขาย สร้างรายได้จากราคา 10-12 บาท ให้เป็นกิโลกรัมละ 30 บาท ได้ไม่ยาก

ka-2.jpg
ka-2.jpg (178.95 KiB) เปิดดู 11893 ครั้ง


ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสรักสุขภาพกำลังมาแรงแซงโค้งกันเลยทีเดียว ผู้รักสุขภาพทั้งหลายก็จะหาเวลาให้กับตัวเอง ในช่วงเช้าหรือเย็นเพื่อออกกำลังกาย เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง

แม้แต่ในเรื่องของอาหารการกินนั้น ก็เป็นสิ่งที่ผู้รักสุขภาพใส่ใจด้วยไม่แพ้กัน จะเห็นได้จากการบริโภคข้าวอินทรีย์ หรือแม้แต่การกินผักออร์แกนิกต่างๆ ที่ปลูกโดยไม่มีเรื่องของการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมดินตลอดจนการเก็บเกี่ยว ทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามการปลูกแบบระบบอินทรีย์เท่านั้น โดยจะเห็นผักอินทรีย์เหล่านี้มีจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น


คุณณรงค์ชัย ปาระโกน ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติดอกคำ อยู่ที่ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า เกษตรกรในแถบนี้ได้มีการทำเกษตรแบบอินทรีย์มากว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งเป็นแบบเกษตรที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปลูกผัก ตลอดจนถึงการปลูกข้าวอินทรีย์และแปรรูปส่งจำหน่ายทำการตลาดเอง


คุณณรงค์ชัย ปาระโกน กล่าวว่า “ผมเริ่มทำเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ ปี 2538 เราก็ใช้การผลิตแบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) ต่อมาเมื่อมีมาตรฐาน พีจีเอส ที่เป็นมาตรฐานระดับประเทศเข้ามา ทางสมาชิกภายในกลุ่มก็เริ่มที่จะสนใจ ทำให้เราได้มีการปรับเปลี่ยนมาเป็น พีจีเอส จึงทำให้เวลานี้ทางกลุ่มมีสมาชิกเพิ่มขึ้น และที่สำคัญในเรื่องของการตลาดก็เข้ามาหาทางกลุ่มเรามากขึ้นอีกด้วย” คุณณรงค์ชัย กล่าว

ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์แห่งนี้ และสมาชิกภายในกลุ่ม ได้มีการปลูกผักหลากหลายชนิด เพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการของตลาด และที่สำคัญภายในกลุ่มยังได้เน้นการพัฒนาปรับปรุงดิน โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รวมทั้งปุ๋ยพืชสดเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน

เมื่อดินที่ใช้สำหรับปลูกพืชมีคุณภาพดี คุณณรงค์ชัย บอกว่า จะทำให้พืชผักเจริญเติบโตได้ดีแม้ปลูกในระบบอินทรีย์แบบไม่ใช้สารเคมี

สำหรับผู้ที่อยากทำพื้นที่ของตนเองให้เป็นการปลูกพืชแบบระบบอินทรีย์ แต่เนื่องจากสมัยก่อนมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดแมลงศัตรูพืชมาก่อน คุณณรงค์ชัย บอกว่า ต้องให้พื้นที่ปลอดภัยจากสารเหล่านั้นอย่างน้อย 3 ปี โดยค่อยๆ ปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก จากนั้นเก็บตัวอย่างดินส่งไปตรวจสอบหาค่า pH ของดิน พร้อมทั้งตรวจว่าในดินมีธาตุอาหารตัวใดอยู่บ้าง หากตัวไหนที่ขาดแต่พืชมีความต้องการ ก็เพิ่มเติมลงไป แล้วจึงจะมาปลูกพืชในระบบอินทรีย์ได้แบบเต็มรูปแบบ

“เนื่องจากเราทำเกษตรแบบอินทรีย์ เรื่องการกำจัดแมลงศัตรูพืชนี่สำคัญ เมื่อเราปลูกผักแล้ว เราจะป้องกันด้วยการฉีดพ่นด้วยสารสกัดสมุนไพร ใช้จำนวนไม่มากเท่าไหร่ นอกนั้นก็ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ บางทีธรรมชาติจะช่วยจัดการกันเอง เพราะไม่ได้ใช้สารเคมี ฉะนั้น แมลงที่เป็นประโยชน์ก็จะไม่ได้ถูกทำลาย เขาก็จะช่วยทำลายแมลงศัตรูพืช เรื่องนี้สำคัญมาก” คุณณรงค์ชัย บอกถึงการป้องกันแมลงศัตรูพืช



ส่วนในเรื่องของการตลาด คุณณรงค์ชัย ให้ข้อมูลว่า ผักที่ปลูกในระบบอินทรีย์ ณ เวลานี้ สินค้ามีจำนวนไม่พอจำหน่าย เนื่องจากมีซุปเปอร์มาร์เก็ตหลายที่เริ่มเข้ามาติดต่อขอซื้อสินค้ามากขึ้น แต่กำลังการผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะการทำเกษตรอินทรีย์มีวิธีการผลิตที่ไม่ง่ายนัก ซึ่งเกษตรกรที่ต้องการเข้าสู่การปลูกพืชในระบบนี้ต้องเรียนรู้และมีความอดทน

ซึ่งเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์จนประสบผลสำเร็จแล้ว คุณณรงค์ชัย บอกได้เลยว่า ในเรื่องของราคานั้นได้กำไรเพิ่มขึ้น 15-20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการทำเกษตรแบบทั่วไป

“ยกตัวอย่าง แตงกวา ปลูกทั่วไปจำหน่ายอยู่ที่ราคา 10-12 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ถ้าปลูกในแบบระบบอินทรีย์ จะได้ราคาผลผลิตตกอยู่ที่ กิโลกรัมละ 30 บาท ราคาก็จะเห็นได้ว่าดีกว่าครึ่งต่อครึ่ง เมื่อทดลองปลูกแบบระบบอินทรีย์ คุณจะรู้เลยว่าผลผลิตที่ได้แทบจะไม่ต่างกัน ขอให้ดินเราดี เน้นเรื่องปรับปรุงบำรุงดินให้ดี ผลผลิตดีแน่นอน แถมจำหน่ายได้ราคาด้วย” คุณณรงค์ชัย อธิบาย

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการการันตีถึงกระบวนการผลิตที่สามารถตรวจสอบได้ สำหรับท่านใดที่สนใจหรือท่านใดที่บริโภคผักอินทรีย์อยู่แล้ว ต้องการความมั่นใจว่ามีกระบวนการผลิตเป็นอย่างไร อยากเรียนรู้เพิ่มเติมสามารถเข้ามาเยี่ยมชมภายในศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ได้ ซึ่งคุณณรงค์ชัยยินดีต้อนรับและให้คำแนะนำ ติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ (089) 266-3880
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » เสาร์ 08 เม.ย. 2017 7:42 am

การเพาะเลี้ยงปลาช่อน

cropped-e0b88ae0b988e0b8ade0b899.jpg
cropped-e0b88ae0b988e0b8ade0b899.jpg (51.21 KiB) เปิดดู 6607 ครั้ง


ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ มีชื่อสามัญ STRIPED ANAKE-HEAD FISH และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa striatus ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดี ก้างน้อย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด จึงทำให้การบริโภคปลาช่อนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันปริมาณปลาช่อนที่จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง เนื่องจากการทำประมงเกินศักยภาพการผลิตตลอดจนสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำเสื่อมโทรมตื้นเขิน ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ทำให้ปริมาณปลาช่อนในธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และความต้องการบริโภค การเลี้ยงปลาช่อนจึงเป็นแนวทางหนึ่งซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนโดยนำลูกปลาที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติและจากการเพาะขยายพันธุ์มาเลี้ยงให้เป็นปลาโตขนาดตลาดต้องการต่อไป
อุปนิสัย

โดยธรรมชาติปลาช่อนเป็นปลาประเภทกินเนื้อ กินสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ รวมทั้งปลาขนาดเล็กและแมลงในน้ำชนิดต่างๆ เป็นอาหารเมื่ออาหารขาดแคลน ปลาจะมีพฤติกรรมกินกันเองโดยปลาช่อนตัวใหญ่จะกินปลาตัวเล็ก


รูปร่างลักษณะ

ปลาช่อนเป็นปลาที่มีเกล็ด ลำตัวอ้วนกลม ยาวเรียว ท่อนหางแบนข้าง หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่ ปากกว้างมาก มีฟันซี่เล็กๆ อยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง ครีบหางกลม ลำตัวส่วนหลังมีสีดำ ท้องสีขาว ด้านข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียง มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ปลาช่อนจึงสามารถเคลื่อนไหวไปบนบกหรือฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานานๆ
การผสมพันธุ์วางไข่

ปลาช่อนสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดปี สำหรับฤดูกาลผสมพันธุ์วางไข่จะเริ่มตั้งแต่ มีนาคม – ตุลาคม ช่วงที่มีความพร้อมที่สุดคือ มิถุนายน – กรกฎาคมในฤดูวางไข่ จะสังเกตความแตกต่างระหว่างปลาเพศผู้กับเพศเมียอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาเพศเมีย ลักษณะท้องจะอูมเป่ง ช่องเพศขยายใหญ่ มีสีชมพูปนแดง ครีบท้องกว้างสั้น ส่วนปลาเพศผู้ ลำตัวมีสีเข้มใต้คางจะมีสีขาว ลำตัวยาวเรียวกว่าปลาเพศเมีย

ตามธรรมชาติปลาช่อนจะสร้างรังวางไข่ในแหล่งน้ำนิ่งความลึกของน้ำประมาณ 30 –100 เซนติเมตร โดยปลาตัวผู้จะเป็นผู้สร้างรังด้วยการกัดหญ้าหรือพรรณไม้น้ำ และใช้หางโบกพัดตลอดเวลาเพื่อที่จะทำให้พื้นที่เป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 –40 เซนติเมตร ปลาจะกัดหญ้าที่บริเวณกลางของรัง ส่วนพื้นดินใต้น้ำ ปลาก็จะตีแปลงจนเรียบ หลังจากที่ปลาช่อนได้ผสมพันธุ์วางไข่แล้ว พ่อแม่ปลาจะคอยรักษาไข่อยู่ใกล้ๆ เพื่อมิให้ปลาหรือศัตรูอื่นเข้ามากินจนกระทั่งไข่ฟักออกเป็นตัว ในช่วงนี้พ่อแม่ปลาก็ยังให้การดูแลลูกปลาวัยอ่อน เมื่อลูกปลามีขนาด 2 – 3 เซนติเมตร จึงแยกตัวออกไปหากินตามลำพังได้ ซึ่งระยะนี้เรียกว่า ลูกครอก หรือลูกชักครอก ลูกปลาขนาดดังกล่าวน้ำหนักเฉลี่ย 0.5 กรัม ปลา 1 กิโลกรัมจะมีลูกครอก ประมาณ 2,000 ตัว ลูกครอกระยะนี้จะมีเกษตรกรผู้รวบรวมลูกปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นอาชีพนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้เลี้ยงปลาอีกต่อหนึ่งในราคากิโลกรัมละ 70 – 100 บาท ซึ่งรวบรวมได้มากในระหว่างเดือนมิถุนายน – ธันวาคม

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

ปลาช่อนที่นำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่มีรูปร่าง ลักษณะสมบูรณ์ ไม่บอบช้ำและมีน้ำหนักตั้งแต่ 800 – 1,000 กรัมขึ้นไป และอายุ 1 ปีขึ้นไป

ลักษณะแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปลาช่อนที่ดีซึ่งเหมาะสมจะนำมาใช้ในการเพาะพันธุ์ แม่พันธุ์ควรมีส่วนท้องอูมเล็กน้อย ลักษณะติ่งเพศมีสีแดงหรือสีชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบาๆที่ท้องจะมีไข่ไหลออกมามีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน ใส ส่วนพ่อพันธุ์ติ่งเพศควรจะมีสีชมพูเรื่อๆปลาไม่ควรจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอมมากเกินไป เป็นปลาขนาดน้ำหนัก 800 – 1,000 กรัม

การเพาะพันธุ์ปลาช่อน

ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่ประชาชนนิยมบริโภค ทำให้ปริมาณปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด สำหรับเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาช่อน เนื่องจากเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งนี้ ลูกปลาช่อนที่เกษตรกรรวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อนดังนั้นการเพาะพันธุ์ปลาจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตพันธุ์ปลาช่อน

ในการเพาะพันธุ์ปลาช่อนต้องคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาช่อนที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งจะมีอายุ 1ปีขึ้นไป ขนาดน้ำหนัก 800 – 1,000 กรัม บ่อเพาะพันธุ์ควรมีระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0 – 1.5 เมตร และมีการถ่ายเทน้ำบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี มีการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนมีน้ำเชื้อและไข่ที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น

การเพาะพันธุ์ปลาช่อน ทำได้ 2 วิธี คือ

1. การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ วิธีนี้ควรใช้บ่อเพาะพันธุ์เป็นบ่อดินขนาด 0.5 – 1.0 ไร่ พร้อมทั้งจัดสภาพสิ่งแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 1:1 ให้ปลาเป็ดผสมรำเป็นอาหารในปริมาณ 2.5 – 3.0 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา

2. การเพาะพันธุ์โดยวิธีการผสมเทียมด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรี ดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาช่อนด้วยวิธีผสมเทียมโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อหรือปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ได้แก่ LHRHa หรือ LRH – a โดยใช้ร่วมกับโดมเพอริโดน (Domperidone)

การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาช่อนโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่นั้น ด้วยการฉีดเพียงครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 30 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ร่วมกับโดมเพอริโดน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ส่วนพ่อพันธุ์ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 15 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัมร่วมกับโดมเพอริโดน 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม จากนั้นประมาณ 8–10 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้เนื่องจากไข่ปลาช่อนมีไขมันมากเมื่อทำการผสมเทียมจึงต้องล้างน้ำหลายๆครั้ง เพื่อขจัดคราบไขมัน นำไข่ไปฟักในถังไฟเบอร์กลาสขนาด 2 ตัน ภายในถังเพิ่มออกชิเจนผ่านหัวทรายโดยเปิดเบาๆ ในกรณีที่ปล่อยให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันเอง หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้วต้องแยกไข่ไปฟักต่างหากเช่นกัน

การฟักไข่

ไข่ปลาช่อนมีลักษณะกลมเล็ก เป็นไข่ลอย มีไขมันมาก ไข่ที่ดีมีสีเหลือง ใส ส่วนไข่เสียจะทึบ ไข่ปลาช่อนฟักเป็นตัวภายในเวลา 30 –35 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 27 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด – ด่าง 7.8 ความกระด้าง 56 ส่วนต่อล้าน

การอนุบาลลูกปลาช่อน

ลูกปลาที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ลำตัวมีสีดำ มีถุงไข่แดงสีเหลืองใสปลาจะลอยตัวในลักษณะหงายท้องขึ้นอยู่บริเวณผิวน้ำ ลอยอยู่นิ่งๆไม่ค่อยเคลื่อนไหว หลังจากนั้น 2 – 3 วันจึงพลิกตัวกลับลง และว่ายไปมาตราปกติโดยว่ายรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณผิวน้ำ

ลูกปลาช่อนที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัว เมื่อถุงไข่แดงยุบ วันที่ 4 จึงเริ่มให้อาหารโดยใช้ไข่แดงต้มสุกบดละลายกับน้ำผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากินวันละ 3 ครั้ง เมื่อลูกปลามีอายุย่างเข้าวันที่ 6 จึงให้ไรแดงเป็นอาหารอีก 2 สัปดาห์ และฝึกให้อาหารเสริม เช่น ปลาป่น เนื้อปลาสดบด โดยใส่อาหารในแท่นรับอาหารรูปสี่เหลี่ยมซึ่งมีทุ่นผูกติดอยู่ ถ้าให้อาหารไม่เพียงพออัตราการเจริญเติบโตของลูกปลาจะแตกต่างกัน และพฤติกรรมการกินกันเอง ทำให้ตราการรอดตายต่ำจึงต้องคัดขนาดลูกปลา การอนุบาลลูกปลาช่อนโดยทั่วไปจะมีอัตราการรอดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆละ 50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำ

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา

การเลี้ยงปลาช่อนเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้น นิยมเลี้ยงในบ่อดิน ซึ่งมีหลักการเตรียมบ่อดินเหมือนกับการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่วๆไป ดังนี้

1. ตากบ่อให้แห้ง

2. ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน ในอัตราประมาณ 60 – 100 กิโลกรัม / ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 5 – 7 วัน

3. ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลา ในอัตราประมาณ 40 – 80 กิโลกรัม/ไร่

4. สูบน้ำเข้าบ่อโดยกรองน้ำเพื่อไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ จนกระทั่งมีระดับน้ำลึก 30–40 เซนติเมตร ระยะไว้ 1 – 2 วันจึงปล่อยลูกปลา ลูกปลาจะได้มีอาหารกินหลังจากที่ได้เตรียมอาหารธรรมชาติในบ่อ (ข้อ 3) เรียบร้อยแล้ว

5. ก่อนปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำ ในภาชนะลำเลียงและบ่อให้ใกล้เคียงกัน สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า

ขั้นตอนการเลี้ยง

ปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อ อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาช่อนเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยทั่วไปเกษตรกรนิยมเลี้ยงด้วยปลาเป็ด

1. อัตราการปล่อยปลา ลูกปลาขนาด 8 – 10 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 30 – 35 ตัว / กิโลกรัม ควรปล่อยในอัตรา 40-50 ตัว/ตารางเมตร และเพื่อป้องกันโรคซึ่งอาจจะติดมากับลูกปลา ให้ใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยงอัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร / น้ำ 100 ตัน) ในวันแรกที่จะปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น

2. การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาช่อนลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงลูกปลาช่อนมีขนาดเล็ก คือ ปลาเป็ดผสมรำในอัตราส่วน 4 : 1 หรืออัตราส่วนปลาเป็ด 40 เปอร์เซ็นต์ รำ 30 เปอร์เซ็นต์ หัวอาหาร 30 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลา วางอาหารไว้บนตะแกรงหรือภาชนะแบนลอยไว้ใต้ผิวน้ำ 2 – 3 เซนติเมตร ควรวางไว้หลายๆจุด

3. การถ่ายเทน้ำ ช่วงแรกความลึกของน้ำในบ่อควรอยู่ที่ระดับ 30 – 40 เซนติเมตร แล้วค่อยๆเพิ่มระดับน้ำ สัปดาห์ละ 10 เซนติเมตร จนได้ระดับ 50 เซนติเมตร จึงถ่ายน้ำวันละครั้ง หลังจากอนุบาลลูกปลาในบ่อดินประมาณ 2 เดือน ปลาจะเติบโตไม่เท่ากัน ใช้อวนลากลูกปลาเพื่อคัดขนาด มิฉะนั้นปลาขนาดใหญ่จะกินปลาขนาดเล็ก

4. ผลผลิต หลังจากอนุบาลปลาในช่วง 2 เดือนแล้ว ต้องใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 4 – 5 เดือน จะให้ผลผลิต 1 – 2 ตัว/กิโลกรัม เช่นเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน จะได้ผลผลิตมากกว่า 6,000 กิโลกรัม

5. การจับ เมื่อปลาโตได้ขนาดตลาดต้องการจึงจับจำหน่าย ก่อนจับปลาควรงดอาหาร 1 – 2 วัน

6. การป้องกันโรค โรคของปลาช่อนที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหา คุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งสาเหตุเกิดจากการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ โดยการหมั่นสังเกตว่าเมื่อปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดการให้อาหารทันที
ผลผลิต

ช่วงเวลาในการเลี้ยงปลาช่อนประมาณ 8 – 9 เดือน สำหรับปลาลูกครอก ส่วนปลาช่อนที่เริ่มเลี้ยงจากขนาดปลารุ่น 20 ตัว / กิโลกรัม ถึงขนาดตลาดต้องการ ใช้เวลาเลี้ยงอีก 5 เดือน น้ำหนักจะอยู่ระหว่าง 0.6 – 1.0 กิโลกรัม โดยทั่วไปน้ำหนักปลาที่ตลาดต้องการขนาด 0.5 – 0.7 กิโลกรัม สำหรับอัตราแลกเนื้อประมาณ 5 – 6 : 1 กิโลกรัม ผลผลิต 12 ตัน/ไร่

สำหรับปลาผอมและเติบโตช้า เกษตรกรเลี้ยงปลาช่อนเรียกว่า ปลาดาบ นอกจากนี้น้ำที่ระบายออกจากบ่อปลาช่อน ควรนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลาบึก ปลานิล ฯลฯ

การลำเลียง

ใช้ลังไม้รูปสี่เหลียมผืนผ้าภายในกรุสังกะสีกว้าง 58 เซนติเมตร ยาว 94 เซนติเมตร ความสูง 38 เซนติเมตร จุปลาได้ 50 กิโลกรัม สามารถขนส่งโดยรถยนต์บรรจุไปทั่วประเทศ จังหวัดสุพรรณบุรีจัดว่าเป็น

แหล่งเลี้ยงและส่งจำหน่ายปลาช่อนอับดับหนึ่งของประเทศโดยส่งไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าภาคอื่นๆ สำหรับภาควันออกเฉียงเหนือต้องการปลาน้ำหนัก 300 – 400 กรัม และ 700 – 800 กรัม ส่วนภาคเหนือต้องการปลาน้ำหนักมากกว่า 300 – 400 กรัม และ มากกว่า 500 กรัมขึ้นไป

โรคปลาและการป้องกัน โรคพยาธิและอาการของปลาช่อนส่วนใหญ่ได้แก่

1. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย คือ แอโรโมนาส โฮโดรฟิลา เฟลคซิแบคเตอร์ คอลัมนาริส และไมโครแบคทีเรียม อาการของโรคโดยทั่วไปที่พบ ได้แก่ ผิวหนังบริเวณเกล็ดเกิดแผลที่มีลักษณะช้ำเป็นจุดแดงๆ สีลำตัวซีดหรือด่างขาว เมือกมากผิดปรกติ เกล็ดหลุด แผลเน่าเปื่อย ว่ายน้ำผิดปรกติ เสียการทรงตัวหรือตะแคงข้าง เอาตัวซุกขอบบ่อ ครีบเปื่อยแหว่งตาฟางหรือตาขุ่นขาว ตาบอด ปลาจะกินอาหารน้อยลง

2. โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก อาทิ เห็บระฆัง ปลิงใส ฯลฯ พยาธิเห็บระฆังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง เป็นแผลขนาดเล็กตามผิวตัวและเหงือก การรักษาใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ลิตร ต่อน้ำ1,000 ลิตรแช่ประมาณ 24 ชั่วโมง หรือ 25-50 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ประมาณ 24 ชั่วโมง

3. โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน เช่น พยาธิหัวหนาม พบในลำไส้ ลักษณะอาการตัวผอมและกินอาหาร ลดลง การรักษาใช้ยาถ่ายพยาธิ แต่ทางที่ดีควรใช้วิธีป้องกัน

วิธีป้องกันโรค

ในฟาร์มที่มีการจัดการที่ดีจะไม่ค่อยประสบปัญหาปลาเป็นโรคแต่ในฟาร์มที่มีการจัดการไม่ดี ปัญหาปลาเป็นโรคตายมักจะเกิดขึ้นเสมอบางครั้งปลาอาจตายในระหว่างการเลี้ยงสูงถึง 60 –70 เปอร์เซ็นต์ ประกอบกับปลาเป็ดที่นำมาใช้เลี้ยงในปัจจุบันคุณภาพมักจะไม่สดเท่าที่ควรและหากมีเศษอาหารเหลือตกค้างในบ่อจะทำให้บ่อเกิดการเน่าเสียเป็นเหตุให้ปลาตาย ดังนั้นจึงควรมีวิธีป้องกันดังนี้ คือ

1. ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมและปลอดภัยก่อนปล่อยลูกปลา

2. ซื้อพันธุ์ปลาที่มีสุขภาพแข็งแรงและปราศจากโรค

3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเห็นอาการผิดปรกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว

4. หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว 3 – 4 วัน ควรราดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 – 3 ลิตรต่อปริมาณ/ปริมาตรน้ำ

100 ตัน และหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 – 5

ลิตรต่อปริมาณ/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน (การใช้น้ำยาฟอร์มาลินควรระวังเรื่องปริมาณออกซิเจนในน้ำ

ถ้าต่ำมากควรมีการให้อากาศด้วย)

5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับพื้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ

6. อย่าให้อาหารมากเกินความต้องการของปลา

ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดีอีกทั้งยัง สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายรูปแบบ จึงมีผู้นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทำให้แนวโน้มด้านการตลาดดี สามารถส่งผลผลิตและผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้

ปัญหาอุปสรรค

1. เนื่องจากปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อและกินจุ จำเป็นต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำในช่วงการเลี้ยง

2. ต้นทุนอาหารการเลี้ยงปลาส่วนใหญ่หากใช้ปลาทะเลเป็นหลักซึ่งมีราคาสูงขึ้นก็จะมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตปลาช่อนสูงขึ้นตามไปด้วย
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » เสาร์ 08 เม.ย. 2017 7:49 am

การปลูกเมล่อน

1755453_1470196451.jpg
1755453_1470196451.jpg (86.27 KiB) เปิดดู 6607 ครั้ง

(ภาพจากฟาร์มเมล่อนเพื่อชุมชนหนองประดู่ เขาอีโก้ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี)

เมล่อน อยู่ในตระกูล Cucurbitaceae ได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งพืชตระกูลแตง”กันเลยทีเดียว เพราะเป็นพืชที่มีรสหวาน กลิ่นหอม อร่อย โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบทวีปแอฟริกา
โดยเมล่อนจะสามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม
1. C. melon var.cantaloupensis กลุ่ม Cantaloupe โดยสีของเนื้อเป็นสีส้ม เปลือกจะมีลักษณะผิวขรุขระ เป็นร่องยาว มีน้ำหนักประมาณ 1 – 3 กก.
2. C. melon var. recticulatus กลุ่ม Persian melon, musk melon โดยสีของเนื้อเป็นสีส้ม หรือ สีเขียว เปลือกจะมีลักษณะเป็นตาข่ายสานกัน เป็นลายนูน และจะมีขนาดเล็กกว่าแคนตาลูป
3. C. melon car.conomon กลุ่ม oriental picking melon
4. C. melon var.inodorus กลุ่ม winter melon เป็นเมลอนผิวเรียบ
5. C. melon var,flexuosus กลุ่ม snak melon เป็นกลุ่มของแตงไทย ที่เราคุ้นเคยกัน
โดยเมล่อนจัดว่าเป็นพืชที่โตได้ในดินหลากหลายชนิด แต่ด้วยความที่เมล่อนไม่สามารถอยู่ในน้ำขังได้
แต่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ สภาพดินที่เหมาะสมเลยเป็นดินร่วนปนทราย เพราะระบายน้ำได้ดี และไม่อมน้ำ
แต่ในเมลอนที่มีอายุมากจะต้องการน้ำที่ลดน้อยลง และค่า pH ที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 6.5 – 7 หรือเป็นกลาง และเหมาะกับสภาพอากาศ โดยรากของเมล่อนจะมีระบบรากแก้วที่อาจลงไปในดินลึกถึง 120ซม. และมีรากอยู่เยอะในแนวนอน ซึ่งอยู่ลึกลงไปในดินประมาณ 30ซม. ไม่ร้อนจนเกินไป อุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 25 – 35 องศาเซลเซียสต้องการแสงแดดที่เพียงพอให้อบอุ่น และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
การเตรียมดิน
• ดินที่ปลูก ควรเป็นดินร่วนปนทราย
• หลังจากได้ดินแล้ว ก็เริ่มไถหน้าดิน ให้ลึกประมาณ 20-30ซม.
• ตากแดดทิ้งไว้ เพื่อฆ่าเชื้อโรค 13 – 15วัน โดยจำต้องปิดโรงเรือนที่ปลูกให้สนิท
พยายามไม่ให้มีอากาศถ่ายเท เพราะเราต้องการเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น
• หลังจากนั้น ดูค่า pH ที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 6.5 – 7 ถ้าดินเป็นกรดให้ใส่ปูนขาวช่วย
• ให้ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก และปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 ประมาณ 40-60 กิโลกรัม/ไร่ และทำการไถแปร
• หลังจากนั้นให้พรวนดิน พร้อมกับยกแปลงให้สูงขึ้น 35 ซม. สันแปลงห่างกัน 1.5เมตร
• วางสายน้ำหยด ในลักษณะหงาย ให้น้ำ เพื่อความชุ่มชื่นของดิน
• คลุมด้วยพลาสติก เพื่อรักษาความชื้นให้กับดินและกับวัชพืข พร้อมกับเจาะหลุมปลูกไว้ให้ห่างกันประมาณ
50 x 60 ซม. แต่ถ้าหากดินนั้น เคยปลูกเมล่อนมาหลายครั้งติดต่อกัน ควรทำตามขั้นตอนดังนี้ก่อน

• ควรจะ พักการเพาะปลูกประมาณ 2-4 เดือน
• เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นบ้าง เช่นพืชตระกูลถั่ว
• ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา พร้อมกับปุ๋ยคอก ในการช่วยปรับปรุงสภาพของดิน

วิธีการเพาะกล้าเมล่อน
1.การบ่มเมล็ด
• การบ่มเมล็ดให้เริ่มเหมือนการบ่มทั่วๆไปคือ แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำผสมอโทนิค (ต้องไม่แช่จนมากเกินปริมาณน้ำ) โดยอัตราส่วนคือ น้ำ1ลิตรกับอโทนิค 1 cc. แช่เมล็ด20นาที
• เมื่อแช่จนครบกำหนดเวลาแล้ว ให้วางบนผ้าขาวบาง หรือกระดาษเพาะกล้า
• นำถุพลาสติกมาห่ออีกครั้งและเก็บไว้ในที่มิดชิด และอยู่ในอุณหภูมิประมาณ 27-30 องศาเซลเซียส ใช้เวลา1วัน

2. เพาะกล้า
• นำดินใส่ลงไปในถาดเพาะกล้า โดยให้วางทำมุม 45องศา ในแนวนอน โหยให้รากแทงลงในดิน ต้องระวังไม่ให้รากอ่อนเสียหาย และกลบด้วยดินเล็กน้อย พร้อมกับรดน้ำให้ชุ่ม
• หลังจากนั้น นำถาดเพาะกล้าไปเก็บในที่ๆมีแสงแดด หรือเก็บโรงเพาะกล้า
• ในระยะ 10-15วัน ต้องรดน้ำให้ชุ่มอยู่ตลอดทุกวัน
3. ย้ายกล้า
• เริ่มย้ายตั้งแต่อายุไม่เกิน 15วัน หรือ เห็นใบแท้ออกมาได้ประมาณ 2ใบ

สิ่งที่ควรทำและต้องระวังในระหว่างย้ายกล้า
1. ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก ต้องรดน้ำแปลงปลูกให้ชุ่มเป็นเวลา 2วัน
2. ควรระวังไม่ให้รากขาดหรือได้รับการกระทบกระเทือนมาก เพราะจะทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี
3. ฉีดยาป้องกันเชื้อรา
4. หากต้องย้าย ไปที่ห่างกันมากๆ เมื่อไปถึง ต้องพักต้นกล้าก่อนอย่างน้อย 1-2วัน
5. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายกล้า คือช่วงเย็น เพราะอากาศจะไม่ร้อน
6. ความกว้างของหลุมปลูก ควรมรขนาดพอๆกับหลุมถาดเพาะกล้า
7. กลบดินต้นกล้าเมื่อย้ายเสร็จแล้ว
การขึ้นยอดและเตรียมค้าง
• ช่วงเวลาที่ควรใช้ในการขึ้นยอดที่สุดคือช่วงเช้า
• การจัดเถาของเมล่อนคือ 1เถา ต่อ เมล่อน 1ต้น และเมื่อเริ่มออกยอด ให้ทำการพันยอดไว้กับ
เชือก พยายามอย่าปล่อยให้ยอดเลื้อย ควรทพอย่างน้อย 2วัน/ครั้ง
การเด็ดแขนง
• หลังย้ายแปลงปลูกเสร็จแล้วประมาณ 9-1วัน ให้เด็ดแขนงข้อที่ 1-8ออก
• ช่วงเวลาที่ควรทำคือช่วงเช้า และควรทำในช่วงที่ขนาดยังไม่ใหญ่ เพราะแผลจะแห้งเร็วกว่า
หลังจากนั้น พ่นกันเชื้อราในตอนเย็น
• การเด็ดแขนงมีส่วนช่วยทำให้ ยอดเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น
ไว้แขนงก่อนผสม และ การตัดแต่งแขนง
• เด็ดยอดแขนงให้เหลือ 2ใบ
• เลี้ยงแขนงข้อ 9-12 เพื่อไว้ผสม เหนือจากข้อ 12 ให้เด็ดแขนงย่อยออก
• ในข้อ 25 ให้เด็ดใบให้เหลือประมาณ 22- 25 ใบ


ผสมเกสร
• ช่วงเวลาที่เหมาะสม แก่การผสมเกสรคือ ช่วง 7โมง ถึง 10โมง เช้าของวัน
• ให้เลือกผสมดอก 2-3 แขนง/ต้น
• ผสมน้ำกับนูริช อัตราส่วน 15 cc. ต่อน้ำ 20ลิตร โดยพ่นทุกๆ 3วัน เป็นเวลา 2อาทิตย์
• โดยดอกตัวผู้จะอยู่บริเวณข้อบนของลำต้น
• จดบันทึกจำนวนดอกที่ผสม อาจจะหาอะไรพันไว้เพื่อกำหนดวันที่จะเก็บเกี่ยวของแต่ละต้น
การแขวนผล และการคัดเลือก
• ยึดผลกับค้างที่ไว้ใช้ยึดต้นเมล่อน และใช้เชือกคล้องที่ขั้วผล เพื่อรองรับน้ำหนัก
• ให้เลือกผลที่มีรูปทรงไข่ ผลสมบูรณ์, ใหญ่, ไร้รอยขีดข่วน
• ไม่มีโรคและแมลง
• เมื่อคัดได้ลูกที่ดีที่สุดแล้ว ควรตัดที่เหลือทิ้ง ให้เหลือเพียงแค่ ผลเดียวเท่านั้น
• ภายหลังที่ผสมเกสร 18วัน ควรเพิ่มปุ๋ยและน้ำ เพื่อให้ผลเจริญเติบโตได้เต็มที่
• ควรให้ผลได้รับแสงสม่ำเสมอ และอยู่ในที่โปร่ง
การเก็บเกี่ยวและระยะเวลา
• ระยะเวลาจะประมาณ 40-45วัน หลังจากผสมดอกแล้ว ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์
และฤดูกาลด้วย
• โดยในช่วงระยะผลเริ่มสุก ความต้องการน้ำของเมล่อนจะลดน้อยลง
• ตาข่ายเริ่มขึ้นนูนเห็นได้ชัด สีเริ่มเขียวเข้ม
• ดูที่ก้นผล ถ้าก้นผลนิ่ม แสดงว่าสุกมากเกินไป
• ต้นต้องไม่มีโรค
• ตรงขั้วของผลจะยกนูนขึ้น
• ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ไม่ควรวางเมล่อนไว้บนพื้น ควรหาภาชนะมาใส่จะดีที่สุด
• ควรเก็บไว้ในที่อุณหภูมิไม่สูงและไม่โดนแดด เพื่อลดการหายใจของตัวเมล่อน
การเก็บรักษา
• ระยะเก็บรักษาจะอยู่ได้ประมาณ 2-3สัปดาห์
• จะต้อง ไม่มีโรค และแมลง ติดมาด้วย
• หลังจากเก็บให้ล้างทำความสะอาด และเก็บในอุณหภูมิประมาณ10 องศาเซลเซียส
โดยไม่เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
1. ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก ต้องรดน้ำแปลงปลูกให้ชุ่มเป็นเวลา 2วัน
2. ควรระวังไม่ให้รากขาดหรือได้รับการกระทบกระเทือนมาก เพราะจะทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี
3. ฉีดยาป้องกันเชื้อรา
4. หากต้องย้าย ไปที่ห่างกันมากๆ เมื่อไปถึง ต้องพักต้นกล้าก่อนอย่างน้อย 1-2วัน
5. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายกล้า คือช่วงเย็น เพราะอากาศจะไม่ร้อน
6. ความกว้างของหลุมปลูก ควรมรขนาดพอๆกับหลุมถาดเพาะกล้า
7. กลบดินต้นกล้าเมื่อย้ายเสร็จแล้ว
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง บ้านเพียงพอ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน

cron