เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

ทำสวนผสมผสานทั้งปลูกพืช ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และเลี้ยงสัตว์ ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย Namfar » พุธ 03 พ.ค. 2017 7:30 pm

วิธีกำจัดไรไก่ชนและขจัดกลิ่นเหม็นในเล้าไก่

พ่อพันธุ์ไก่บ้าน-650x439.jpg
พ่อพันธุ์ไก่บ้าน-650x439.jpg (47.28 KiB) เปิดดู 15257 ครั้ง



กำจัดไรไก่ด้วยเปลือกทุเรียน

เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมักจะประสบปัญหาเรื่องไรไก่ และกลิ่นเหม็นในเล้าไก่ คุณสมศรี เพชรดง เกษตรกรบ้านโนนสมบรูณ์ อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการกำจัดไรไก่และกลิ่นเหม็นในเล้าไก่ ด้วยวิธีการที่แสนง่ายดังนี้

เพียงนำเปลือกทุเรียนที่ยังไม่แห้งมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปตากแห้งประมาน 3 แดด พอแห้งได้ที่แล้วให้นำไปรองรังไก่ก่อนที่จะเอาเศษฟางใส่ทับอีกที วิธีการนี้ช่วยกำจัดไรไก่ได้อย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว

นอกกำจัดไรไก่แล้วเปลือกทุเรียนแห้งยังสามารถดับกลิ่นมูลไก่ตามเล้าไก่ได้อีกด้วย โดยนำเปลือกทุเรียนแห้งไปวางเป็นจุดๆตามเล้าไก่ สรรพคุณของเปลือกทุเรียนที่ตากแห้งแล้วเมื่อนำมาสูดดมจะมีกลิ่นจะหอมคล้ายยาจีน จึงสามารถดับกลิ่นมูลไก่ได้เป็นอย่างดี




วิธีกำจัดไรไก่ชนและขจัดกลิ่นเหม็นในเล้าไก่

วิธีการทำโดยนำใบตะไคร้หอม 3 กก.มาหั่นเป็นชิ้นๆและนำไปตากแห้งประมาณ 3 แดด หลังจากนั้นลองนำใบตะไคร้หอมมาสูดดมดูจะได้กลิ่นที่หอม นำใบตะไคร้หอมประมาณ 2 กำมือไปโรยในรังไก่ที่กำลังฟักไข่อยู่นั้น กลิ่นจากใบตะไคร้หอมแห้งนี้สามารถกำจัดไรไก่ที่เป็นปัญหาของเกษตรกรที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองได้อย่างดี และสามารถดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในเล้าไก่ได้โดยการนำใบตะไคร้หอมแห้งโรยตามเล้าไก่ กลิ่นของใบตะไคร้สามารถดับกลิ่นมูลไก่ได้เป็นอย่างดีเยี่ยม

วิธีนี้เป็นภูมิปัญญาของคุณพ่อสมพาส สุโลก เกษตรกรบ้านหันเทา ต.ปะโค อ.กุดจับ จ.อุดรธานี เป็นวิถีการดำเนินชีวิตของชาวชนบทที่นำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมในพื้นที่อย่างลงตัว

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 21 พ.ค. 2017 4:24 pm

วิธีทำมะม่วงให้ออกตามจุดที่เราต้องการ

18527597_1324629987614834_8931115037950874059_n.jpg
18527597_1324629987614834_8931115037950874059_n.jpg (82.1 KiB) เปิดดู 15238 ครั้ง


การปฏิบัติ

1.เมื่อใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่เริ่ม "แผ่กาง" ให้เด็ดทิ้ง (เด็ดด้วยมือ) ทั้งหมด

2.เด็ดใบอ่อนทิ้งแล้ว เริ่มบำรุงทางใบด้วยสูตรสะสมตาดอก 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน.....ช่วงนี้งดการให้น้ำทางรากเด็ดขาด

3.สะสมตาดอกครบกำหนดแล้ว ให้เปิดตาดอกด้วย "ฮอร์โมนไข่ + 13-0-46 + ไธโอยูเรีย" (ฮอร์โมนไข่สูตรสเปน) 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

ผลลัพธ์เมื่อไม่มี "ตุ่มตา" ที่ซอกใบปลายยอด เนื่องจากถูกเด็ดใบทิ้งแล้ว และพัฒนาขึ้นมาใหม่ไม่ทัน ต้นจะพัฒนาตาที่อยู่ใต้เปลือกบริเวณโคนกิ่ง (กิ่งแก่) หรือใต้เปลือกบริเวณลำต้นขึ้นมาแล้วกลายเป็นตุ่มตาที่มีดอกออกมาได้แทน

หลักการและเหตุผล :

1.มะม่วงเป็นไม้ผลประเภทออกดอกติดผลที่โคนใบปลายกิ่ง ผลจากการบำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก (สะสมแป้งและน้ำตาล) แล้วปรับ C/N เรโช ไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือ ถ้าปรับ C/N เรโชแล้ว N ยังมากกว่า C (อาจเป็นเพราะ N จากน้ำฝน) เมื่อเปิดตาดอก มะม่วงต้นนั้นจะออกเป็นใบอ่อนแทนออกเป็นดอก

2.ผลจากการให้อาหารกลุ่มสร้าง C ที่เคยให้ไว้เมื่อครั้งบำรุงด้วยสูตรสะสมตาดอกนั้น แม้มะม่วงต้นนั้นจะแตกใบอ่อนออกมา แต่สารอาหารกลุ่มนั้นบางส่วนยังคงเหลืออยู่ภายในต้น ซึ่งสารอาหารกลุ่มนี้ยังพร้อมที่จะส่งเสริมให้มะม่วงออกดอกชุดใหม่ได้
ประสบการณ์ตรง :

สวนมะม่วงที่ประสบความสำเร็จจากการปฏิบัติบำรุงตามแนวนี้ ได้แก่ สวนมะม่วงน้ำดอกไม้ที่เขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา
สวนมะม่วงน้ำดอกไม้-เขียวเสวย-ฟ้าลั่น ที่ อ.ไชโย จ.อ่างทอง ส่วนมะม่วงขาวนิยม ที่บางบอน กทม. และ สวนมะม่วงขาวนิยม ที่ อ.บางแพ จ.ราชบุรีออกดอกติดผลที่โคนกิ่ง ทั้งกิ่งอ่อน กิ่งแก่ กิ่งกลางอ่อนกลางแก่ และกลางลำต้นได้ดอกที่ออกมานี้เมื่อบำรุงตามขั้นตอนปกติ ก็สามารถพัฒนาเป็นผลระดับเกรด เอ. ได้เช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจากลุงคิมภาพประกอบข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 21 พ.ค. 2017 8:27 pm

#การขยายพันธุ์ชมพู่

18519685_10203255808953325_3601433831771968422_n.jpg
18519685_10203255808953325_3601433831771968422_n.jpg (16.88 KiB) เปิดดู 15105 ครั้ง


1.ตัดยอดชมพู่(เลือกเอาที่ใบแก่ๆสีเขียวเข้ม)

2.แช่น้ำยาเร่งราก

3.เสียบใส่ก้อนโอเอซีส ถ้าไม่มีใช้เปลือกมะพร้าวแทนได้

4.รดน้ำนำไปชำในที่ร่มหรือเรือนเพาะชำจนออกราก

5.นำไปปลูกลงกระถางหรือถุงเพราะชำรอจนโตได้ที่แล้วค่อยนำไปปลูก
(#วิธีนี้ใช้ขยายพันธ์มะนาวก็ได้)

น้ำยาเร่งราก ทำเอง ประหยัดค่าใช้จ่าย มีสูตรไม่มาก

- กะปิ ยี่ห้อใดก็ได้

- เครื่องดื่มชูกำลัง ยี่ห้อใดก็ได้

- น้ำเปล่า

- กะปิเพียวๆ เพียงปลายนิ้ว เอามาพอกตรงกิ่งตอนแล้วพอกซ้ำด้วยขุยมะพร้าวชุ่มน้ำ มัดให้แน่น เร่งรากได้

- เครื่องดื่มชูกำลัง ผสมน้ำอัตราส่วน 1ต่อ5 แช่ขุยมะพร้าวสำหรับพอกกิ่งตอนให้ชุ่ม เร่งรากได้ดี

- กะปิ 1 เครื่องดื่มชูกำลัง 1 ผสมเข้ากัน ใช้เป็นหัวเชื้อ นำไปผสมกับน้ำอีกในอัตรา 1 ฝาต่อน้ำ 5 ลิตร หรือหัวเชื้อ 2 ฝา ต่อน้ำ 5 ลิตร ทำน้ำยาเร่งรากได้ดีมาก

นำน้ำที่ผสมฉีดพ่นกล้วยไม้ เร่งรากได้ดี แช่กิ่งชำ หน่อสำหรับเพาะ เร่งรากได้ดี

18556427_10203255809633342_5343910635326354501_n.jpg
18556427_10203255809633342_5343910635326354501_n.jpg (37.72 KiB) เปิดดู 15105 ครั้ง


ติดตามข้อมูล: https://goo.gl/kdI7ro

Cr.ศูนย์รวมความรู้การเกษตร
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 23 ก.ค. 2017 3:25 pm

เด็กสิงห์บุรีลาออกจากงานมาดูแลพ่อป่วย ตัดสินใจเลี้ยงปูนา ด้วยทุนเพียง 1,000 บ. โกยรายได้เป็นล้าน

111.jpg
111.jpg (157.84 KiB) เปิดดู 15025 ครั้ง


หลังผู้เป็นพ่อพลัดตกต้นไผ่ความสูงเกือบ 2 เมตร แถมแม่ก็ป่วย ทำให้ “ปานศิริ ปาดกุล” หรือ ตูมตาม ลูกชายคนเดียวในวัยเพียง 22 ปี ต้องกลายเป็นเสาหลักหาเลี้ยงครอบครัว เคยลำบากแม้กระทั่งไม่มีเงินซื้อข้าวสารกิโลกรัมละ 33 บาท เคยเป็นหนี้นอกระบบ ต้องทำสารพัดอาชีพแต่สุดท้ายจับทางถูก หันมาเลี้ยงปูนา บังคับผสมพันธุ์ปีละ 3 ครั้ง ส่งขายร้านอาหาร บางเดือนสร้างรายได้หลักล้านบาท

คุณตูมตาม เล่าว่า หลังจบปริญญาตรี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ทำงานที่แรกในแผนกบัญชี บริษัทแห่งหนึ่ง จากนั้นย้ายไปอยู่โรงงานผลิตอะไหล่โทรศัพท์มือถือที่จังหวัดปทุมธานี ทำงานประจำได้ราว 5 เดือน ก็ลาออก เพราะต้องกลับบ้านเกิดที่จังหวัดสิงห์บุรีไปดูแลพ่อซึ่งประสบอุบัติเหตุขาหัก เดินไม่ได้

222.jpg
222.jpg (111.08 KiB) เปิดดู 15025 ครั้ง


“ผมทำงานประจำ รับเงินเดือน 2 หมื่นบาท อยู่ราว 5 เดือน พอรู้ว่าพ่อในวัย 60 ปี ประสบอุบัติเหตุตกต้นไผ่ความสูงกว่า 2 เมตร ก็เลือกที่จะลาออก แล้วกลับบ้านมาดูแล พร้อมกับแบ่งเบาภาระบุพการี ด้วยการเป็นเสาหลักหารายได้เลี้ยงปากท้อง 3 คน”

ในเบื้องต้นเด็กหนุ่มอนาคตไกลใช้เงินเก็บที่มีอยู่ซื้ออาหารและสิ่งจำเป็น ทว่าผ่านไปซักระยะ เงินเก็บเริ่มไม่พอ คราวนี้ต้องไปกู้เงินทั้งในระบบและนอกระบบ ตูมตามบอกว่า เนื่องจากพ่อเดินไม่ได้ ต้องกินอาหารผ่านสายยางอยู่ 5 เดือน แม่ก็ป่วย ขณะที่ทั้งบ้านเหลือเงินเพียง 1,000 บาท



เงินติดตัวเพียง 1,000 บาทสุดท้าย เด็กหนุ่มใช้วิธีนำไปลงทุนขายไก่ย่าง หมูปิ้ง เจ้าตัว บอกว่า ขายดี พอมีรายได้มาหล่อเลี้ยงครอบครัว ทว่าขายไปสักระยะเริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น หนที่สุดจำต้องเลิกขาย แล้วหันมาใช้วิธีพรีออเดอร์สินค้า ผ่านเฟซบุ๊ก กินกำไรส่วนต่าง

“ผมเลิกขายหมูปิ้ง ไก่ย่าง แล้วหันมาใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊กด้วยการรับพรีออเดอร์สินค้าจำพวกผักสด ปลา เอากำไรกิโลกรัมละ 20 – 30 บาท”

ตูมตาม บอกว่า รายได้จากการพรีออเดอร์สินค้าจำพวกอาหารสดค่อนข้างดี มีเงินหมุนเวียนในครอบครัวแต่ละเดือนเป็นหมื่น แต่นานวันอยากหาความยั่งยืนให้กับชีวิต และแล้วจู่ๆ ก็คิดเลี้ยงปูนาขึ้นมา

“ในตลาดมีคนรับพรีออเดอร์สินค้ามากขึ้น ผมเลยคิดว่าอยากจะขยับขยายหาอาชีพอื่นที่มั่นคงกว่า ประกอบกับส่วนตัวชอบกินปูนามาก (ปูที่ใส่ส้มตำ) เคยไปหาตามท้องนา 5-6 ชั่วโมง ไม่สามารถหาได้ เลยเกิดความคิด จะเลี้ยงขาย”



ด้วยความชอบกินปูนา ตูมตาม บอกว่า ใช้เงินเก็บที่มีอยู่จากการรับพรีออเดอร์สินค้า 2 หมื่นบาท ลงทุนเลี้ยงปูนาในบ่อปูน บนที่ดินที่มีอยู่ 1ไร่ 44 ตารางวา สั่งปูนา คละไซส์มาจากหลายจังหวัด ครั้งแรกราว 4 ตัน

การเลี้ยงปูนาครั้งแรกของตูมตามนั้นไม่สำเร็จ เด็กหนุ่ม บอกว่า ตายหมดเลย 4 ตัน เนื่องจากว่าเลี้ยงในบ่อปูน ซึ่งมีความเย็น อีกทั้งใส่น้ำประปาลงไปอีกมีคลอรีน ปูนาปรับสภาพไม่ทัน ตายเกลี้ยง
ด้วยความไม่ยอมแพ้ และกลับไปหาข้อมูลเพิ่มเติม คราวนี้ตูมตามสั่งปูนามาเลี้ยงอีกครั้ง แต่เขาพัฒนาด้วยการเลือกซื้อพ่อแม่พันธุ์ปูนามาเลี้ยงแทนการซื้อตัวเล็ก เพราะปูนาตัวเล็กจะบอบบางตายง่ายกว่าพ่อแม่พันธุ์ ปัจจุบันเลี้ยงปู 2 สายพันธุ์ คือ ปูนาธรรมดา ตัวจะมีขนาดเล็ก และ ปูนาพันธุ์กำแพง ตัวใหญ่ รสชาติมัน



สำหรับวิธีการเลี้ยง เจ้าของฟาร์ม บอกว่า หลังจากได้ปูนาพ่อแม่พันธุ์มาแล้ว ให้เลี้ยงในบ่อดินเหนียว ใส่น้ำให้ดินแฉะๆ สร้างบรรยากาศตามธรรมชาติ เลี้ยงต่อไป จนปูนาเริ่มกินอาหารได้เอง ประมาณ 5 วัน ค่อยย้ายไปอยู่บ่อปูน บ่อปูนที่ใช้เลี้ยงปู มี 70 บ่อ ขนาดบ่อละ 2×3 เมตร 1บ่อเลี้ยงปูได้ประมาณ 10,000 ตัว

การให้อาหาร สำหรับพ่อแม่พันธุ์ เจ้าของฟาร์ม จะให้อาหารวันละ 2 มื้อ ช่วงเช้ามืด และช่วงค่ำ เป็นอาหารปลาดุกเม็ดเล็กโปรตีน 32 หรือจะเสริมด้วยรำข้าวก็ได้ วางตามพื้นดิน เมื่ออาหารเม็ดโดนน้ำและดินก็จะละลาย ช่วงกลางคืนและช่วงเช้ามืด ปูนาจะออกมากิน ส่วนอาหารของลูกปูนาลงเดิน จนถึงอายุ 3 เดือน เป็นไข่แดงต้มสุก ให้อาหารวันละ 1 มื้อช่วงเช้า



สำหรับเทคนิคบังคับผสมพันธุ์ปีละ 3 ครั้ง ตูมตามเผยว่า โดยปกติปูนาจะออกลูกเพียงปีละ 1 ครั้ง ช่วงประมาณต้นเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนแต่เพื่อให้มีปูจำหน่ายตลอดทั้งปี ผมบังคับให้ปูผสมพันธุ์และออกลูกได้ปีละ 2-3 ครั้ง วิธีการคือ หลังจากปูนาออกลูกไปแล้วในช่วงฤดูฝน ให้ปล่อยดินแห้งแตกระแหง จากนั้นให้ฉีดน้ำเข้าไปเต็มที่ ทำให้ปูนาคิดว่าเข้าฤดูฝนอีกครั้งก็จะออกมาผสมพันธุ์กันเอง

ด้านการตลาด เด็กหนุ่มคนเมืองสิงห์ บอกว่า ขายทั้งปูสด ปูดอง และนำปูมาแปรรูปเป็นน้ำพริกเผา กะปิปู ส่งขายร้านอาหาร บางเดือนสร้างรายได้หลักล้านบาท



ผมขายปูทั้งตัวเล็กที่ใช้ตำส้มตำกิโลกรัมละ 80-100 บาท ส่วนปูตัวใหญ่ที่กำลังลอกคราบ เรียกว่าปูนิ่มกิโลกรัมละ 1,200 บาท และก้ามปูกิโลกรัมละ 1,000 บาท ส่งตามร้านอาหาร ภัตตาคาร รวมถึงขายพ่อแม่พันธุ์ด้วยคู่ละ 100 บาท นอกจากนี้ยังมีการนำปูนามาเพิ่มมูลค่าเป็น ปูดอง กะปิปูนา น้ำพริกเผาปู”

ที่มา http://www.sarakdeeweb.com/2017/07/1000_21.html
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » ศุกร์ 06 ต.ค. 2017 1:12 pm

-ถั่วเน่าของคนเหนือ คือ ถั่วเหลืองที่เราท่านรู้จัก เห็ดถั่วเน่า คือ เห็ดชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นบนกาก ซาก ซัง ต้นเปลือกถั่วเหลืองที่สีเอาเมล็ดออกแล้ว และทิ้งให้แดดฝนย่อยสลาย

original_DS55.jpg
original_DS55.jpg (22.48 KiB) เปิดดู 14870 ครั้ง


-เห็ดถั่วเน่า เป็นเห็ดดอกเล็ก ต้น ใบ ขาวนวล ทานได้ยามดอกเล็ก หากปล่อยให้บานสีดำคล้ำไม่น่าทาน และรสแย่

-เห็ดถั่วเน่า นำมาทานอาหารได้หลายชนิด คุณสมบัติที่ดี คือ แม้ผ่านความร้อนเนื้อก็ยังนุ่ม เหนียว กรอบ สำคัญมีรสหวาน กลิ่นหอม คนต่างถิ่น ได้ชิมทานเกิดความกำซาบลิ้น พลันนึกว่าทานเห็ดโคนป่าที่ราคาแพง ด้วยความคารวะรสกล่มกล่อมลิ้นจึงเรียกว่า "เห็ดโคนน้อย" ทั้งที่จริงเห็นโคนป่า และ เห็ดถั่วเน่า ต่างเหล่ากอ สายพันธุ์ไกลลิบ

-เห็ดถั่วเน่า ขึ้นได้บนซากพืชหลายชนิดนอกเหนือจากถั่วเหลือง เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด กากถั่วเขียว แม้กระทั้งแฝก หรือ หญ้าที่กำลังเน่าเปลื่อย ราของเห็ดถั่วเน่า มีในธรรมชาติเส้นใยหยาบ ใหญ่ สีขาว มองเห็นได้ในห้วงที่พืชเริ่มย่อย และมีความร้อนในกองสูง จึงนับว่ามีประโยชน์ในการย่อยสลายซากพืชให้มีขนาดเล็กลงก่อนที่ราอื่นๆจะรับหน้าที่ต่อ


-ในเมืองไทยมีการเพาะเห็ดชนิดนี้เป็นการค้า ผลผลิตส่วนใหญ่ ต้ม ดองในน้ำเกลือบรรจุขวด หรือ กระป๋องเพื่อส่งออกต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน จีน สิงค์โปร มาเลเซีย และญี่ปุ่น เป็นมูลค่าไม่น้อย

-เห็ดถั่วเน่าเพาะได้สองแบบ คือ แบบธรรมชาติ และแบบอุตสหกรรม(เพาะในโรงเรือน)



-การเพาะเห็ดถั่วเน่าในธรรมชาติ ทำได้ง่ายโดย

1.กองซากซัง เช่น กากถั่วเหลือง สูงประมาณ 1 คืบ โรยปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 46-0-0 หรือ 21-0-0 แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

2.หากฝนตกชุกคลุมผ้าพลาสติก อบกองเชื้อให้ร้อน แต่ถ้าไม่มีฝนคลุมวัสดุพลางแสง เช่น ทางมะพร้าว หรือ สแลนพลาสติก แต่ต้องหมั่นรดน้ำไม่ให้กองแห้ง

3.ห้วง 3-5 วันแรก อากาศในกองวัสดุร้อน อาจมองเห็นไอร้อนจากกองวัสดุเป็นควัน เป็นเวลาที่เส้นใยราเจริญเติบโต จากนั้น 3-4 วัน เส้นใยหนาแน่นขึ้น เห็นเป็นสีขาวเต็มกอง และเริ่มเป็นตุ่มดอกเห็ดเกิดขึ้น จากนั้น 1-2 วันก็สามารถทยอยเก็บดอกเห็ดไปรับประทานได้ โดยต้องเก็บทุกวัน และควรเก็บเวลาบ่าย หากเก็บตอนเช้าจะต้องเก็บตอนเย็นอีกรอบเพราะเห็ดเจริญเติบโตไว(บานไว)

-เห็ดถั่วเน่า ออกดอกมาก ทานไม่ทัน อาจเก็บไว้ได้นานโดยวิธีง่าย แค่ เก็บมาตัดราก ทำความสะอาดโดยการล้างน้ำ วางให้สะเด็ดน้ำ แล้วใส่ถุง บรรจุในตู้เย็น ช่องแช่แข็งเก็บไว้ได้นานนับปีโดยไม่เสียรสชาดและความสด ส่วนเทคนิคในการประกอบอาหารคือ ปรุงเครื่องผัด หรือ เครื่องต้ม-แกงไว้ก่อน รอจนเดือด ใส่เห็ดถั่วเน่าที่แช่แข็งไว้โดยไม่ต้องนำมาละลายน้ำก่อน


-เห็ดถั่วเน่า นอกจากทานอร่อย ยังมีสรรพคุณทางยา เป็นที่ยอมรับ คือ มีวิตามิน หลากหลายชนิด และมีอนุมูลอิสระ ต่อต้านมะเร็ง ป้องกันเชื้อไวรัสในคน


-เห็ดถั่วเน่ามีราคาถูก และหาทานง่ายพอควรในฤดูกาลนี้ ลองทานดูสักครั้งซิครับ อาจติดใจจนลืมไม่ลง
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 04 ก.พ. 2018 10:15 am

เคล็ดลับการทำให้ต้นบัวดินออกดอก

20180115_105638_resize.jpg
20180115_105638_resize.jpg (221.25 KiB) เปิดดู 14599 ครั้ง


หากต้องการให้ออกดอกควรงดให้น้ำ ๑ - ๒ เดือน จากนั้นให้รดน้ำติดต่อกันเป็นเวลา ๓ วันติดกันก็จะทำให้บัวดินออกดอกตามช่วงเวลาที่เราต้องการ ส่วนการปลูกลงดินให้ใช้วิธี ขุดหัวบัวดินขึ้นมาผึ่งลมไว้ประมาณ ๖ - ๑๐ สัปดาห์จากนั้นนำไปปลูกใหม่ก็จะทำให้ออกดอกได้เช่นกัน
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » อังคาร 13 มี.ค. 2018 2:43 pm

จะไปซื้อวิตามินแพงๆมากินทำไม ๑๐ ผักพื้นบ้าน มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ต้านความจำเสื่อม ชะลอแก่

001.jpg
001.jpg (65.27 KiB) เปิดดู 14454 ครั้ง


ในผักมีวิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ และสารอาหารอื่นๆ สามารถป้องกันสมองเสื่อมได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ผักพื้นบ้านซึ้งหาได้ตามท้องถิ่นผักที่แนะนำทั้ง ๑๐ เป็นผักที่หาได้ง่ายๆ ใกล้ๆ ตัว

ผักหวาน

ผักหวานมีรสชาติหวานสมชื่อ นิยมนำไปนึ่งแล้วจิ้มกับน้ำพริกแจ่วสารพัดชนิด นอกจากนี้ยังใช้ทำแกงได้อร่อยอีกต่างหาก คนอีสานนิยมนำไปแกงใส่ไข่มดแดง อันเป็น อาหารยอดฮิต หรือแกงใส่ปลาย่างผสมใบชะอม ทำเป็นแกงอ่อมก็อร่อยดี ทางเหนือนิยมแกงผักหวานใส่ปลาย่างกับวุ้นเส้น งบผักหวานใส่มดแดงสุดอร่อย และคนกรุง ยังนำผักหวานไปผัดกับน้ำมันร้อนๆ ปรุงด้วยซีอิ๊ว เหยาะเกลือนิดก็อร่อย

ประโยชน์ของผักหวาน

ป้องกันโรคเกี่ยวกับปราสาท และสมอง เช่น อัลไซเมอร์

ป้องกันโรคมะเร็ง

ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

ป้องกันโรคเบาหวาน

ช่วยลดความอ้วน

ช่วยบำรุงร่างกาย

ต้านอนุมูลอิสระ

แก้ร้อนใน

ช่วยลดไข้

แก้น้ำดีพิการ

แก้อาการเบื่อเมา

บรรเทาอาการปวดมดลูก

แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

ใบ และน้ำยางจากใบนำมาเคี้ยวหรือกลั้วภายในปาก สำหรับแก้ลิ้นเป็นฟ้า

ใบ และยอดอ่อนนำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้กระหายน้ำ ป้องกันโรคปากนกกระจอก

ผักกูด

ผักกูดอร่อยต้องกินหน้าแล้งเพราะรสชาติไม่ฝาดเหมือนในฤดูอื่น ๆ อร่อยตรงจืดอมหวานเนื้อกรอบ ส่วนใหญ่นิยมกินยอดและใบอ่อน ผักกูดน้ำไม่นิยมกินสด มักเอา ไปต้มหรือเอาไปลวก นอกจากกินเป็นผักแนม ผักกูดน้ำยังใช้ ต้ม ยำ ทำแกงหรือผัดกับน้ำมันเฉยๆ ก็อร่อยเหลือหลาย เคล็ดลับการทำแกงส้มผักกูดควรใส่ปลาช่อนถึง จะเข้ากันได้ดี

ใบชะพลู

ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบดกหนา ชะพลูมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ภาคเหนือเรียกว่าผักแค ผักปูนา พลูนก พลูลิง ภาคใต้เรียกว่าผักนมวา อีสานเรียกว่าผักอีเลิด ผักเล็ก ผักปูลม ใบชะพลูมีกลิ่นหอม รสเผ็ดอ่อนๆ เป็นผักสดที่นิยมกินกับอาหารรสแซบ เช่น ลาบ น้ำตก ปลาย่าง ร่วมถึงน้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นเครื่องปรุงที่เสริมรสอาหารได้ดี อาทิ แกงแคของภาคเหนือ ส่วนภาคอีสานนิยมใส่ในแกงอ่อมต่างๆ แกงขนุนอ่อน แกงหัวปลี ภาคใต้ใช้แกงกะทิใส่ใบชะพลูกับหอยแครง ส่วนภาคกลางนิยมใส่แกงคั่วหอย ขม หรือกินกับข้าวมันส้มตำ และที่นิยมมากที่สุดคือกินเป็นใบห่อเมี่ยงคำที่ให้รสชาติเข้ากันอย่างดี กินแล้วช่วยบำรุงธาตุ ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

บัวบก

คนไทยทั่วทุกภาคนิยมกินบัวบก แต่ชื่อที่เรียกจะแตกต่างกันไป ภาคเหนือและอีสานเรียก ผักหนอก ภาคใต้เรียกผักแว่น ใบบัวบกมีรสขมอ่อนๆ กลิ่นหอมและเป็นพืชที่ กินสดๆ ได้ทั้งก้านและใบ จึงเป็นผักแกล้มอาหารรสเข้มข้นจานต่างๆ ได้อร่อย เช่น แกล้มน้ำพริก ส้มตำ

นอกจากทำอาหารแล้วบัวบกยังนำมาคั้น ผสมน้ำตาลเล็กน้อย เป็นน้ำสมุนไพรดื่มให้รสหวาน หอม เย็นชุ่มคอ บัวบกช่วยระบายความร้อน แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง แก้ไมเกรน ชาวจีนเชื่อว่า บัวบกแก้ช้ำใน ทำให้เลือดกระจาย หายฟกช้ำเร็วขึ้น

ประโยชน์ของบัวบก

ใบบัวบกช่วยคืนความอ่อนเยาว์ ย้อนอายุและวัย

ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ

ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน

มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย

ประโยชน์ของใบบัวบก ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา เพราะบัวบกมีวิตามินเอสูง

ช่วยรักษาอาการตาอักเสบบวมแดง ด้วยการใช้ใบบัวบกล้างน้ำสะอาด คั้นเอาแต่น้ำนำมาหยดที่ตา ๓-๔ ครั้ง

ต่อวัน

ช่วยบำรุงประสาทและสมองเหมือนใบแปะก๊วย

ช่วยทำให้ความจำดีขึ้นและทำให้มีปฏิภาณไหวพริบเพิ่มมากขึ้น

ช่วยเพิ่มความจำในผู้สูงอายุ

ช่วยเพิ่มสมาธิ แก้สมาธิสั้น

ช่วยเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจเฉพาะหน้า

ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว

ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ

ช่วยผ่อนคลายความเครียด

ผักปลัง

ชาวเหนือเรียกผักปั๋ง กินอร่อยได้ทั้งยอดอ่อน ใบอ่อนและดอกอ่อน กินเป็นผักต้ม ลวกหรือนึ่งสุก จิ้มน้ำพริก ชาวเหนือนิยมกินกับน้ำพริกดำ น้ำพริกตาแดง เอาไปแกง กับถั่วเน่า จอ(แกงชนิดหนึ่งของชาวเหนือมีรสเปรี้ยวแต่ไม่เผ็ด)ผักปั๋งใส่มะนาว ดอกเอาจอกับแหนม ชาวเหนือกับอีสานเอายอดอ่อนกับดอกอ่อนไปแกงส้ม เคล็ดลับ ความอร่อย ควรใส่ผักปลังลงในหม้อเป็นสิ่งสุดท้ายหลังจากน้ำแกงเดือดเต็มที่ เวลาใส่ผักลงไปควรกดให้จม พอเดือดสักพักก็ปิดไฟ ไม่ควรรอให้เดือดนาน เพราะจะ ทำให้ผักปลังเละไม่น่ากิน ชาวเมืองกรุงทำเป็นผัดผักไฟแดง หรือผัดน้ำมันหอย ผักปลังช่วยในการระบาย จึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย

ไหลบัว

ไหลบัว คือ หน่ออ่อนของต้นดอกบัวหลวงที่ยังไม่โผล่พ้นน้ำ ซึ่งต่างจากสายบัวที่เป็นส่วนก้านดอกของบัวสาย ไหลบัวมีความกรอบและรสชาติหวานมันจึงนิยมนำมากิน สด คนอีสานนิยมกินเป็นผักสดกับส้มตำ แต่คนภาคกลางนิยมนำไปแกงส้ม ผัด หรือไม่ก็กินสดๆ ปัจจุบันเป็นไหลบัวผัดกุ้งเป็นเมนูยอดนิยมในภัตตาคารจีน ถือเป็นยา เย็น ช่วยบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลียและบำรุงหัวใจ

ผักแพว

ผักแพวหรือที่คนอีสานเรียกว่าผักแพ้ว ผักพริกม้า ส่วนคนเหนือเรียกผักไผ่ ความอร่อยของผักแพวอยู่ที่กลิ่นหอมและรสร้อนแรง จึงนิยมกินเป็นผักสดแนมกับ อาหารรสจัดแทบทุกชนิด และนำไปปรุงเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารประเภทลาบ และใส่แกงปลารสจัด เพื่อตัดกลิ่นคาวปลาพร้อมกับปรุงอาหารประเภทหอยเพื่อเสริม ความหอม กินแล้วช่วยขับลมในกระเพาะดีนัก

ประโยชน์ของผักแพว

ผักแพวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย และช่วย

ในการชะลอวัย (ใบ)

ช่วยป้องกันและต่อต้านมะเร็ง (ใบ)

ช่วยป้องกันโรคหัวใจ (ใบ)

ใบใช้รับประทานช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)

ช่วยบำรุงประสาท (ราก) รสเผ็ดของผักแพวช่วยทำให้เลือดลมในร่างกายเดินสะดวกมากขึ้น (ใบ)

ใบยอ

น่าอัศจรรย์ใจที่รสขมของใบยอ และกลิ่นเฉพาะตัวนี้ มีบทบาทอย่างมากในอาหารไทยทั่วทุกภาค ที่เด่นสุดคือ ภาค กลางใช้เป็นผักรองกระทงห่อหมก เพราะความ อร่อยของห่อหมกเข้ากันได้ดีกับใบยอ และยังไม่มีผักอื่นเข้ามาแข่งได้ ส่วนภาคอีสานนำไปทำแกงอ่อมใบยอ และภาคใต้ก็มีแกงรสเด็ดไม่แพ้กันคือ แกงเผ็ดปลาใส่ ขมิ้นใบยอ การกินใบยอให้อร่อยควรตัดเส้นกลางใบออกและลวกก่อนนำมาแกง จะช่วยลดความขมได้ ใบยอช่วยบำรุงร่างกาย แก้ปวดท้อง ท้องร่วง

ย่านาง

จัดเป็นพืชประจำครัวภาคเหนือและอีสาน ภาคเหนือเรียกว่า จ้อยนาง ครัวอีสานใช้ใบย่านางผสมกับข้าวเบือ (ข้าวสารที่ตำละเอียด ใช้ผสมกับน้ำแกงเพื่อให้น้ำแกง ข้น) มาทำแกงหน่อไม้ไผ่ป่า เป็นลักษณะต้มเปอะ คือแกงที่มีน้ำขลุกขลิก ใบย่านางทำให้เกิดรสกลมกล่อมอมหวาน อีกทั้งเพื่อกลบรสขื่นและขมนิด ๆ ของหน่อไม้สด นอกจากนี้ยังผสมซุปหน่อไม้ ใส่แกงขี้เหล็กแบบพื้นบ้าน แกงกับยอดหวาย ภาคเหนือใส่ในแกงพื้นเมืองที่คล้ายกัน ใบย่านางที่นำมาใช้ในการทำอาหารนั้นยิ่งใส่มาก เท่าไร ยิ่งทำให้อาหารจานนั้นอร่อยยิ่งขึ้น กินย่านางช่วยดับพิษร้อนถอนพิษไข้ได้

หัวปลี

ปลีกล้วยที่ใช้ทำอาหารส่วนใหญ่เป็นปลีกล้วยน้ำว้า เพราะฝาดน้อยและหาง่ายกว่ากล้วยพันธุ์อื่น ๆ หัวปลีสีแดงเมื่อแกะใบเลี้ยงออกจนถึงชั้นที่มีสีขาวนวล จะนำ มาผ่าปลีตามยาวเป็นส่วนๆ แล้ว ต้องนำไปแช่น้ำผสมน้ำมะขามเปียกหรือน้ำมะนาวก่อน เพื่อรักษาปลีกล้วยให้ขาวนวลน่ากิน อาหารไทยนิยมกินปลีกล้วยสดกับ เต้าเจี้ยวหลน กะปิคั่ว ผัดไทย ชุบแป้งทอด ปรุงเป็นแกงเลียง หัวปลีแก้โลหิตจาง ลดความดันโลหิต แก้ร้อนใน กระหายน้ำ

ประโยชน์ของหัวปลี

ปลีกล้วยมีสรรพคุณช่วยบำรุงฟันให้แข็งแรง และช่วยให้ฟันขาวสะอาด

ประโยชน์ของปลีกล้วยช่วยบำรุงน้ำนม สำหรับแม่ลูกอ่อน

ปลีกล้วยเป็นเกราะป้องกันกระเพราะ ช่วยแก้ปวดท้อง รักษาโรคกระเพราะอาหารอักเสบ

ปลีกล้วยใช้รักษาแผลสด ดูดหนอง และบรรเทาอาการบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ปลีกล้วยสรรคุณดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

ปลีกล้วยช่วยบำรุงธาตุ บำรุงเลือด เพิ่มความเปล่งปลั่ง ดูมีเลือดฝาด

ปลีกล้วยดีต่อผู้ป่วยโลหิตจาง และยังช่วยให้เลือดไหลเวียนดี

ปลีกล้วยมีสรรพคุณช่วยบำรุงลำไส้

ปลีกล้วยช่วยรักษาแผลในปากให้หายเร็วขึ้น ช่วยแก้ร้อนใน แผลปากเปื่อย

ปลีกล้วยช่วยให้หน้าอกเต่งตึง สมบูรณ์ ไม่หย่อนยาน

ประโยชน์ของปลีกล้วยช่วยเพิ่มธาตุเหล็กในร่างกาย

สรรพคุณปลีกล้วยช่วยบำรุงผิวพรรณให้นวลเนียน ดูมีน้ำมีนวล

ขอบคุณบทความจาก http://www.rak-sukapap.com
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 14 พ.ค. 2018 11:40 am

การปักชำ "พิทูเนีย"

ตัดยอดให้ยาวสัก ๑ นี้ว ใช้ ขุยมะพร้าว+ทรายเป็นวัสดุชำ ตามความเคยชิน..ที่เคยชำยอดดอกไม้มา ทุกคนมักจะรดน้ำทันทีเมื่อ ชำ ยอดดอกไม้เสร็จ....แต่..พิทูเนียจะทำแบบนั้นไม่ดี..ถึงทำไม่ได้ เพราะความชื้นจากน้ำจะทำให้ยอดเน่าไปก่อน...ในช่วงฤดูฝน...เราควร รดน้ำที่วัสดุชำให้เปียกก่อน...พอปักชำเสร็จห้ามรดน้ำตาม และควรหาพลาสติกใสมาคุลมไว้ตามในภาพ..เพื่อ ป้องกัน การคลายน้ำ ในยอดพันธ์ไปหมดก่อน

J7500316-1.jpg
J7500316-1.jpg (165.49 KiB) เปิดดู 13346 ครั้ง


ผ่านไป สัก ๕ วัน ต้องเปิดพาสสติก แง้มๆๆไว้นิดๆๆตามในภาพ หากเปิดหมดเลย จะทำให้ ยอดพันธ์คลายน้ำไปในทันที ต้องให้ยอดพันธุ์ค่อยๆๆปรับตัวไปก่อน

J7500316-2.jpg
J7500316-2.jpg (146.52 KiB) เปิดดู 13346 ครั้ง


ยอดใสๆๆในอาทิตย์แรกไม่ได้หมายความว่า มีราก...รากจะเกิด ตอน ที่ยอดชำเรี่มเข้าวันที่ ๑๐ - ๑๕ วันจึงจะมีราก อายุ ๒๐ วันขึ้นจึงจะแข็งแรง พอที่นำไปปลูกได้

ที่มา Handsome old
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 26 พ.ค. 2018 2:48 pm

การปลูกผักหวานป่าให้ได้ผล



อีกเทคนิค...


" เทคนิคปลูกต้นผักหวานป่า แบบสวนเกษตรอินทรีย์บ้านสันคู " มีดังนี้...


1. เลือกใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเมล็ดมาปลูก จะให้ผลผลิตดีและอายุยืนกว่า แบบกิ่งตอน

2. ปลูกพืชพี่เลี้ยงไว้ก่อนที่จะปลูกต้นผักหวานป่า เช่น ต้นมะขามเทศ,ชะอม,,โสน,กระถิน,ต้นแค ฯลฯ พืชที่กล่าวมานี้จัดเป็นพืชตระกูลถั่วทั้งหมด เลือกปลูกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือจะหลายอย่างก็ได้... สำหรับเราเลือกใช้ต้นแค ซึ่งปลูกไปพร้อมๆกับต้นผักหวาน และต้นมะขามเทศ (ต้นมะขามเทศนี่ ปลูกล่วงหน้ามาก่อนนานแล้ว) เป็นพืชพี่เลี้ยง

3.เลือกทิศทางที่จะปลูกให้เหมาะสมตามสภาพของแสงแดด ต้นผักหวานป่านั้นไม่ชอบแดด ชอบอยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ มีแสงรำไร

4.ระยะห่าง ระหว่างต้นและระหว่างแถว ~ 2 x 2 เมตร

5.ขุดหลุมปลูก กว้าง และ ลึก เท่ากับขนาดของถุงต้นพันธ์ุ แล้วผสมปุ๋ยคอก( 2-3 กำมือ/ต้น) กับดิน ใส่รองก้นหลุมไว้

6.เตรียมนำต้นพันธุ์ลงหลุมปลูก โดย ใช้กรรไกรตัดโดยรอบก้นถุง แล้วค่อยๆแกะถุงพลาสติกด้านล่างออกเท่านั้นตรงนี้ต้องระวังให้มากเป็นพิเศษเพราะปลายของรากแก้วจะมาขดตัวอยู่ในซอกมุมของถุง ถ้ารากแก้วหักหรือขาดโอกาสที่ต้นผักหวานป่าจะตายมีสูง แต่ถ้าเกิดพลาดทำรากขาดไปบ้าง ก็ปลูกไปเถอะ..เผื่อรอด ! ..ค่อยๆหย่อนต้นพันธุ์ลงหลุมโดยที่ไม่เอาถุงดำออก คือ ปลูกไปทั้งถุงนั่นแหละ มันอาจจะดูแปลกๆสักหน่อย แต่ตรงนี้นี่แหละที่เป็นเทคนิค...ที่ทำให้ต้นผักหวานของเรา รอดตายมาได้เกือบทุกต้น...

7.หาเศษใบไม้แห้ง หรือฟางข้าวมาคลุมโคนต้นไว้เพื่อรักษาความชื้น หลังจากนั้นต้องหาวัสดุอะไรก็ได้เช่น ตะเข่ง,ตะกร้า,แสลน มาคลุมไว้ เพื่อช่วยบังแสงในช่วงบ่าย ต้นผักหวานจะไม่เหี่ยวเฉาเลยแม้แดดจะร้อนมากเพียงใด ของเราใช้ตะกร้าพลาสติก ควรครอบไว้จนกว่าต้นผักหวานจะมีอายุได้อย่างน้อย 6 เดือนก็เอาออกได้.... หรือจะเจาะรูก้นตะกร้าแบบนี้ก็ได้เพื่อเป็นการปกป้องลมและแสงแดดได้อีกระดับหนึ่ง เพราะ ต้นผ้กหวานอายุ 6เดือนนั้นยังไม่แข็งแรงมากนัก

8.ให้น้ำ 1 ครั้ง /สัปดาห์ หรือ ดูตามสภาพอากาศ ,ส่วนปุ๋ยคอกให้เดือนละ 1 ครั้ง -ทางดิน และให้น้ำขี้หมู 1 ครั้ง/สป.-ทางใบ ด้วยจะดีมาก

ob_a0413c_img-0847-color_resize.jpg
ob_a0413c_img-0847-color_resize.jpg (425.13 KiB) เปิดดู 13270 ครั้ง


จากผลการทดลองปลูกผักหวานป่าของเราพบว่า ....

1) ต้นผักหวานที่่ตายไป 8 ต้นนั้นเกิดจากรากหักตอนแกะถุงปลูก... ข้อเสนอแนะ ควรซื้อต้นพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่านี้มาปลูกคือเริ่มมีใบ 3-4 ใบก็พอเพราะรากแก้วยังไม่ยาวมากเหมือนต้นที่โตๆ ทำให้เวลาแกะถุงปลูกรากไม่ขาด

2) ต้นผักหวานเจริญเติบโตช้ามากในช่วงแรก เพราะเนื่องจากความเข้าใจผิดคิดว่าต้นผักหวานป่า ไม่ชอบน้ำ ชอบแบบแล้งๆไม่จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่ก็ได้... ข้อเสนอแนะ ทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า ต้นผักหวานป่านั้น ถึงแม้จะทนแล้งได้ดี แต่ถ้าเราดูแลเหมือนปลูกพืชทั่วๆไป แค่นี้ต้นผักหวานก็จะเจริญเติบโตได้ดีกว่านี้แน่นอน


ทั้งหมดนี้ก็เป็นเทคนิคการปลูกและการดูแลผักหวานป่าแบบที่ไม่ยากเลย...สำหรับวิธีการปลูกแบบนี้ได้รับการชี้แนะมาจากคุณลุงคนขายต้นพันธุ์ผักหวานป่า ทางสวนเกษตรอินทรีย์บ้านสันคูต้องขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ...

ที่มา สวนเกษตรอินทรีย์บ้านสันคู
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย ภาษาสยาม » ศุกร์ 05 ต.ค. 2018 11:32 am

วิธีบังคับมะพร้าวธรรมดาให้เป็นมะพร้าวกะทิ

1342008564.jpg
1342008564.jpg (34.16 KiB) เปิดดู 11526 ครั้ง


หลายคนคงอาจจะรู้จัก และเคยรับประทานกันมาบ้าง โดยมะพร้าวกะทินั้นเกิดจากการผสมเกสรด้วยฝีมือมนุษย์ เป็นการบังคับทำให้มะพร้าวธรรมดาเป็นมะพร้าวกะทิ ซึ่งมีหลากหลายทางด้วยกัน เกษตรกรหรือนักวิจัยจะมีแบบฉบับของแต่ละคน แต่วันนี้ขอหยิบวิธีการทำมะพร้าวธรรมดา ให้กลายเป็นมะพร้าวกะทิมาให้ทดลองทำกันดู



ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าวกะทิ ก็เอาถุงพลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว ๑ จั่นคือ ๑ ทะลาย จั่นไหนถูกห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้น หรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ ทั้งนี้ จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่นเริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออกโดยทั่วไปมะพร้าวในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ ๘๐-๙๐ % จะเป็นมะพร้าวกะทิ วิธีนี้เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบชั่วคราวมะพร้าวในทะลายอื่นๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าวกะทิ

ให้นำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือกขึ้นมาราว ๓๐ ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลาย ตรงข้ามกับหน่อให้กะลามะพร้าวขาด จนเห็นเนื้อสีขาว และจาวสีเหลืองภายในกะลามะพร้าว จากนั้นก็คว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลาออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็ม ให้แน่นพอประมาณสามารถนำไปปลูกได้ มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ ๕๐% หากจะเพิ่มปริมาณ ก็สามารถทำได้ โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิ มาเพาะ แล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็นมะพร้าวกะทิ ได้ถึง 80-90% เลยทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าเราจะใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิคือ มะพร้าวกลางติดผลเป็นทะลายปล่อยให้ผลแก่คาต้นก่อน ตัดทะลายลงมา เอาผลแต่ละผลเขย่าฟังดูถ้าไม่ได้ยินเสียงน้ำในผลดังกระฉอกมาเลย นั่นหมายถึงมะพร้าวผลนั้นเป็น “ มะพร้าวกะทิ ” อย่างแน่นอนไม่ต้องปอกเปลือก หรือทุบดูเนื้อในทุกผลให้เสียเวลา ทำหรือฝึกบ่อยๆ เราจึงจะชำนาญ ช่วงแรกๆ อาจมีผิดบ้างเป็นธรรมดา คนโบราณก็ใช้วิธีแบบนี้เหมือนกัน


วิธีการผ่ารับประทาน


คนเฒ่าคนแก่ก็บอกเคล็ดลับว่า ถ้าต้องการให้เนื้อในของ “ มะพร้าวกะทิ ” ฟู หรือเหนียวแน่นอร่อย ต้องนวดก่อน โดยเอาผลที่ปอกเปลือกแล้วกระแทกกับพื้นปูนเบาๆ รอบๆ ผลให้ทั่ว กะเวลาจนแน่ใจว่าพอแล้วจึงนำผลไปผ่าครึ่ง เราก็จะพบว่าเนื้อในมะพร้าวจะฟูเป็นสีขาวคล้ายปุยฝ้าย ใช้ช้อนตักรับประทานได้เลย รสชาติหวานมันหอมอร่อยมาก


ขอบคุณข้อมูลจาก tidface.com
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » ศุกร์ 24 พ.ค. 2019 2:54 pm

วิธีปักชำต้นไม้ให้ได้ผล

koh100326-013-696x464.jpg
koh100326-013-696x464.jpg (61.03 KiB) เปิดดู 6303 ครั้ง


วิธี ” ปักชำ ” ต้นไม้สามารถทำได้กับต้นไม้หลายชนิด บางชนิดเหมาะสำหรับเพาะเมล็ด บางอย่างสามารถแยกกอ นำหัวไหล หรือรากสะสมอาหารใต้ดินออกมาปลูก บางชนิดก็เหมาะสำหรับตอนกิ่ง รวมถึงการปักชำต้นไม้


เราเลือกวิธี ปักชำ ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ ในการเพิ่มจำนวนต้นไม้ โดยมีคำแนะนำดีๆ จากคนใกล้ตัว คุณอุไร จิรมงคลการบรรณาธิการหนังสือเล่ม สำนักพิมพ์บ้านและสวน ซึ่งนอกจากจะเขียนหนังสือเกี่ยวกับพรรณไม้ไว้มากมายแล้ว ยังเป็นนักสะสมต้นไม้ตัวยง ใครเคยลองปักชำแล้วไม่ได้ผล ต้องลองอ่านดู รับรองว่า ต่อไปนี้จะปลูกต้นอะไรก็ง่ายนิดเดียว


ปักชำต้นไม้คืออะไร
การปักชำคือ การนำส่วนต่างๆ ของพืช ได้แก่ กิ่ง ใบ รากมาปลูกในสภาพที่เหมาะสม เพื่อให้ชิ้นส่วนนั้นเกิดรากและแตกต้นใหม่ขึ้นมาแต่ที่นิยมและพบเห็นได้ทั่วไปคือการนำกิ่งหรือท่อนพันธุ์มาปักชำ เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้ต้นใหม่จำนวนมากๆ ในคราวเดียวกัน

การปักชำให้ได้ผลดีขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความยากง่ายในการออกรากของกิ่งหรือท่อนพันธุ์นั้นๆ ช่วงเวลาในการปักชำ เช่น ปักชำในเวลาเช้าหรือเย็นจะช่วยลดปัญหาการคายน้ำได้ ความอ่อนแก่ของกิ่งพันธุ์ สภาพแวดล้อมทั้งเรื่องของความชื้นและแสง ชนิดของกิ่งที่นำมาปักชำ เช่น ถ้าเป็นกิ่งที่มีดอกและผลติดอยู่ จะออกรากยากกว่ากิ่งที่มีแต่ใบเพียงอย่างเดียวเนื่องจากอาหารสะสมส่วนหนึ่งถูกใช้ไปกับการออกดอกและผลแล้วนั่นเอง

ปักชำ พืชที่ปักชำได้ผล
ไม้ประดับส่วนใหญ่สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำได้



ต้นอะไรปักชำได้บ้าง
ไม้ประดับส่วนใหญ่สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำได้เกือบทั้งสิ้น ที่นิยมได้แก่ ไฮเดรนเยีย โกสน เล็บมือนาง เทียนทองมะลิ โมก ชบา พู่เรือหงส์ เปเปอโรเมีย ไผ่ฟิลิปปินส์ด่างพุดพิชญา เล็บครุฑ โฮย่า ลั่นทม ใบเงิน ใบทอง ใบนากฯลฯ ข้อดีของการปักชำก็คือ ได้พืชต้นใหม่ที่ตรงตามพันธุ์เดิมไม่ค่อยมีการกลายพันธุ์ และยังเหมาะกับต้นไม้ที่ไม่ติดเมล็ดหรือติดเมล็ดยาก เช่น เข็ม ชบา มะลิ แต่ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกันคือ พืชที่ได้จากการปักชำจะไม่มีรากแก้ว จึงมีโอกาสโค่นล้มได้ง่าย โดยเฉพาะกรณีที่เป็นต้นไม้ใหญ่

วิธีเลือกและเตรียมกิ่งปักชำ
ควรเลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ลักษณะของกิ่งชนิดนี้ให้สังเกตว่ามีเปลือกสีน้ำตาลปนเขียว (กิ่งอ่อนเกินไปมักจะเน่าง่าย ส่วนกิ่งแก่เกินไปก็จะออกรากยาก)

วิธีเลือกและเตรียมกิ่งปักชำ

1. ตัดกิ่งให้มีความยาวประมาณ 3 – 6 นิ้ว โดยตัดใต้ข้อ เพราะบริเวณนั้นจะมีอาหารสะสมและมีฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้แตกตาใหม่ ตัดเฉียงประมาณ 45 องศา(เพื่อเพิ่มพื้นที่การแตกรากได้มากขึ้น)


2. ควรตัดให้มีใบติดอยู่ ถ้าใบมีขนาดใหญ่หรือจำนวนมากเกินไป ลิดใบออกให้เหลือครึ่งหนึ่ง หรือเหลือใบที่ปลายยอดสัก 3 – 4 ใบ จากนั้นตัดใบออก หรือ ของใบ และลิดใบล่างออกให้หมด เพื่อลดการคายน้ำ



3. โดยปกติรากของกิ่งชำจะออกตามบาดแผล แต่หากต้นไม้ที่ต้องการปักชำเป็นไม้ที่เนื้อค่อนข้างแข็ง(สังเกตว่าสามารถลอกเปลือกได้)ให้กรีดเป็นรอยแผลตรงๆ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร 3 – 4 รอย เพื่อเพิ่มพื้นที่การแตกรากให้มากขึ้น หรือหากพืชชนิดนั้นออกรากยาก ควรนำไปจุ่มฮอร์โมนเร่งราก(โดยใช้ในอัตราตามที่ระบุในฉลาก)หรือใช้สารป้องกันเชื้อราร่วมด้วย


4. ปักชำลงในวัสดุลึกประมาณ ของความยาวกิ่งวัสดุปักชำที่นิยมใช้ ได้แก่ ขี้เถ้า แกลบ (ควรแช่น้ำก่อนประมาณ 3 วัน เพื่อลดความเป็นด่างยกเว้นขี้เถ้าแกลบที่เก่าแล้ว) ข้อดีคือมีความร่วนซุยสูง พืชจึงแตกรากได้ดีทั้งยังไม่เกาะตัวกับรากต้นไม้ จึงทำให้ย้ายปลูกง่ายโดยที่รากไม่ขาด หากไม่มีอาจใช้ดินร่วนทั่วไปผสมกับขุยมะพร้าว และทรายหยาบ อัตราส่วน 1 : 1 : 1 หลังปักชำเสร็จแล้วควรรดน้ำตามทันทีซึ่งอาจใช้สารป้องกันเชื้อรารดในขั้นตอนนี้ก็ได้เช่นกัน



5. กรณีที่ ปักชำ ปริมาณมากๆ ควรคลุมกระบะเพาะชำด้วยพลาสติกใส เพื่อเก็บรักษาความชื้น ขณะเดียวกัน ยังให้แสงส่องผ่านลงไปได้ แต่กรณีที่มีจำนวนไม่มากนัก สามารถนำใส่ถุงพลาสติก หรือใช้ขวดพลาสติก ครอบแก้วทรงระฆังครอบเพื่อควบคุมไม่ให้ความชื้นออกมาจนกว่าจะแตกใบใหม่


6. หากปักชำใส่กระบะหรือกระถางที่เคลื่อนย้ายง่าย ควรนำไปวางในบริเวณที่มีแสงส่องถึงเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต โดยที่สภาพอากาศบริเวณนั้นควรได้รับความชื้นและอุณหภูมิเหมาะสม วิธีวัดคือ ให้ลองลงนั่งดูถ้ารู้สึกว่าเย็นสบาย ตรงนั้นคือที่ที่เหมาะสำหรับวางต้นไม้ปักชำ หรือวางบนพื้นอิฐมอญเย็นๆ ชื้นๆ ก็ได้


พืชที่มีใบบางหรือไม้อวบน้ำบางชนิดไม่จำเป็นต้องเด็ดใบออก เช่น พวงแสด ฤๅษีผสม กุหลาบหิน

พืชที่มียาง เช่น ลั่นทม โป๊ยเซียน ไม่ควรตัดแล้วนำมาปักชำทันที เพราะมีโอกาสเน่าง่าย หลังจากตัดกิ่งแล้วควรวางผึ่งลมในที่ร่มให้ยางแห้งและแผลปิดก่อนประมาณ 3 – 5 วัน จึงนำไปปักชำ

เราสามารถดัดแปลงตู้ปลาใบเก่าให้เป็นโรงเรือนเพาะชำขนาดย่อมได้ โดยวางต้นไม้ในตู้ปลาหล่อน้ำที่ด้านล่างเล็กน้อยและปิดตู้ทับอีกชั้น

บางครั้งอาจมีกรณีปักชำไปแล้วแตกใบใหม่ แต่ยังออกรากไม่ได้ เช่น กุหลาบ เพราะต้นไม้ยังใช้อาหารสะสมจากกิ่งอยู่ ดังนั้นอาจลองดึงโคนต้นเบาๆหากมีแรงตึงมือแปลว่าต้นไม้เริ่มแตกรากแล้ว

ที่มา บ้านและสวน
ไฟล์แนป
koh100326-007.jpg
koh100326-007.jpg (32.3 KiB) เปิดดู 6303 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย บ้านเพียงพอ เมื่อ ศุกร์ 24 พ.ค. 2019 3:01 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » ศุกร์ 24 พ.ค. 2019 2:57 pm

นอกจากกิ่งแล้ว ชิ้นส่วนอื่นของพืช เช่น ใบและราก ก็สามารถนำมาปักชำได้

koh100326-016-696x492.jpg
koh100326-016-696x492.jpg (36.08 KiB) เปิดดู 6303 ครั้ง


นอกจากการปักชำกิ่งซึ่งเป็นที่นิยมและทำได้ง่ายที่สุดแล้ว เรายังสามารถนำชิ้นส่วนอื่น เช่น ใบและราก มาปักชำได้เช่นกัน พืชที่ใช้ใบปักชำได้มักมีใบอวบหนา ผิวใบเป็นมัน ลักษณะการตัดชำใบมักขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของใบชนิดนั้นๆ เช่น ลิ้นมังกร ให้ตัดใบตามยาวเป็นชิ้นสั้นๆ ประมาณ 2 – 3 นิ้ว


ส่วนพืชที่มีแผ่นใบกว้าง เช่น บีโกเนีย ใช้วิธีตัดใบเป็นส่วนๆโดยมีเส้นใบติดมาด้วย พืชต้นใหม่จะเกิดบริเวณรอยตัดนั้น

สำหรับพืชที่มีก้านใบยาว ควรตัดชำใบให้มีก้านติด เช่นแอฟริกันไวโอเลต และยังมีพืชบางชนิดที่ออกรากได้บริเวณขอบใบเช่น คว่ำตายหงายเป็น เพียงแค่จัดวางใบแก่ลงบนวัสดุที่มีความชื้นระยะหนึ่งก็จะแตกรากและเกิดต้นใหม่ได้

ส่วนการปักชำราก พืชที่สามารถตัดชำราก ได้แก่ แคแสดสาเก ทับทิม มะไฟ ฝรั่ง โดยตัดรากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 – 2 เซนติเมตรเป็นท่อนๆ นำมาปักชำลงในวัสดุปลูกลักษณะตั้งตรงหรือวางนอนก็ได้

นอกจากนี้ที่พบเห็นบ่อยๆ คือ ปีบ รากแขนงที่อยู่ใกล้ผิวดินจะแตกออกมาเป็นพืชต้นใหม่ขนาดเล็กมากมาย เราสามารถตัดเป็นท่อนๆ และนำไปปลูกได้เช่นกัน

ที่มา บ้านและสวน
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง บ้านเพียงพอ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน

cron