หน้า 1 จากทั้งหมด 2

Re: เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพืชและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 15 ก.ค. 2019 9:24 am
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
เหตุใดปีนี้ประเทศไทยจึงฝนแล้งมากขนาดนี้ มารู้จักปรากฏการณ์เอลนีโญ – ลานีญ่า กัน จะได้ไม่ต้องไปโทษว่าใครเป็นตัวอัปมงคลทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล

elnino_lanina.jpg
elnino_lanina.jpg (25.17 KiB) เปิดดู 15629 ครั้ง


เอลนีโญ่ เป็นรูปแบบสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน โดยเกิดขึ้นเฉลี่ยทุกห้าปี (เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีคาบเวลาที่แน่นอน ไม่ได้เกิดขึ้นทุกปี ขณะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งอาจกินเวลา ๒ – ๓ เดือนหรือนานกว่า) เอลนีโญจึงมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “El Niño – Southern Oscillation” เรียกอย่างสั้นว่า "ENSO" หมายถึงความผันผวนซึ่งเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ลักษณะของเอลนีโญ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก โดยอุ่นขึ้นหรือเย็นลงผิดปกติ ซึ่งเรียกว่า เอลนีโญและลานีญาตามลำดับ และความดันบรรยากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเขตร้อน ซึ่งเรียกว่า ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นได้สองกรณี: เอลนีโญ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรอุ่นขึ้นผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ส่วนลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรเย็นลงผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก กลไกที่ทำให้เกิดความผันแปรดังกล่าวยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย

สภาวะปกติ
โดยปกติ บริเวณเส้นศูนย์สูตรเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ลมสินค้าตะวันออก (Eastery trade winds) จะพัดจากประเทศเปรู (ชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้) ไปทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก แล้วยกตัวขึ้นบริเวณเหนือประเทศอินโดนีเซีย ทำให้มีฝนตกมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ กระแสลมสินค้าพัดให้กระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันทางตะวันตก จนมีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลปกติประมาณ ๖๐ – ๗๐ เซนติเมตร แล้วจมตัวลง กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรซีกเบื้องล่างเข้ามาแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวซีกตะวันออก นำพาธาตุอาหารจากก้นมหาสมุทรขึ้นมา ทำให้ปลาชุกชุม เป็นประโยชน์ต่อนกทะเลและการทำประมงชายฝั่งของประเทศเปรู

ปรากฏการณ์เอลนีโญ
เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลังลง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ส่งผลกระทบให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลาและนกทะเล ชาวประมงจึงขาดรายได้

ปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ยังก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ การที่เกิดไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซีย ก็เป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญ

สภาวะลานีญา
ลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติแต่รุนแรงกว่า กล่าวคือ กระแสลมสินค้าตะวันออก (Trade wind) ที่พัดไปทางทิศตะวันออกมีกำลังแรงทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ ลมค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซียทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก แต่ที่บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูน้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันออก ทำให้เกิดธาตุอาหารและฝูงปลาชุกชุม

เราอาจกล่าวอย่างง่ายว่า เอลนีโญทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทางกลับกันลานีญาทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งเอลนีโญและลานีญาเกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตรเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัด

ภาพถ่ายจากดาวเทียมโทเพกซ์/โพซีดอน (Topex/Poseidon) ในภาพแสดงให้เห็นความต่างระดับของน้ำทะเลบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิก สีขาวแสดงระดับน้ำซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ๑๔ เซนติเมตร สีม่วงหรือสีเข้มแสดงระดับน้ำซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ –๑๘ เซนติเมตร ขณะที่เกิดลานีญา - เอลนีโญ



อ้างอิง
ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์

Climate Prediction Center (2005-12-19). "Frequently Asked Questions about El Niño and La Niña". National Centers for Environmental Prediction. สืบค้นเมื่อ 2019-07-14.


K.E. Trenberth, P.D. Jones, P. Ambenje, R. Bojariu , D. Easterling, A. Klein Tank, D. Parker, F. Rahimzadeh, J.A. Renwick, M. Rusticucci, B. Soden and P. Zhai. "Observations: Surface and Atmospheric Climate Change". In Solomon, S., D. Qin, M. Manning, Z. Chen, M. Marquis, K.B. Averyt, M. Tignor and H.L. Miller. Climate Change 2007: The Physical Science Basis. Contribution of Working Group I to the Fourth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change. Cambridge,UK: Cambridge University Press. pp. 235–336.

"El Niño Information". California Department of Fish and Game, Marine Region.

Re: เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพืชและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว

โพสต์เมื่อ: อังคาร 17 ธ.ค. 2019 2:56 pm
โดย บ้านเพียงพอ
ดอกมังกร
02(138)_resize.jpg
02(138)_resize.jpg (107.33 KiB) เปิดดู 15501 ครั้ง

ดอกมังกร เป็นพืชที่ได้รับความนิยมปลูกมากในอเมริกาและแอฟริกาเหนือ ซึ่งลักษณะของมันเหมือนกับปากของมังกรที่มีการเปิดและปิด แต่ถ้าหากปล่อยให้มันแห้งเหี่ยว รูปร่างของดอกมังกรก็จะเปลี่ยนแปลงคล้ายกับ หัวกระโหลกมนุษย์ ตามความเชื่อโบราณเชื่อว่า หากปลูกไว้ในบ้านจะช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายป้องกันโรคร้ายและคำสาป หากผู้หญิงนำมารับประทานจะช่วยให้สาวตลอดกาล ไม่แก่ชรา ซึ่งต่อมาในยุควิคตอเรีย ดอกมังกรถูกนำไปเป็นสัญลักษณ์ของการหลอกลวง ความลึกลับ ความสงสัย และเชื่อกันว่าหากใครที่นำดอกมังกรไปซ่อนไว้ในเสื้อผ้าจะทำให้มีเสน่ห์น่าหลงใหลมากยิ่งขึ้น
04(61)_resize.jpg
04(61)_resize.jpg (41.17 KiB) เปิดดู 15501 ครั้ง

ด้าน Johanna L. Roose นักชีวเคมี อธิบายถึงลักษณะของดอกมังกรที่มีรูปร่างคล้ายกับหัวกระโหลกว่า หลังจากที่ดอกมังกรได้รับการผสมเกสรกลีบดอกจะค่อยๆแห้งเหี่ยวไป เกสรตัวเมียที่มีละอองเรณูและรูปร่างที่เกิดจากช่องรังไข่ เมื่อมันถูกทิ้งไว้จนตายก็จะเกิดช่องโหว่ มีลักษณะคล้ายเบ้าตาและช่องปาก ทำให้ดอกมังกรที่เหี่ยวแล้วมีลักษณะเหมือนกะโหลก
05(56)_resize.jpg
05(56)_resize.jpg (65.9 KiB) เปิดดู 15501 ครั้ง

Re: เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพืชและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 14 ก.ย. 2020 6:35 am
โดย admin
มารู้จักพันธุ์อะโวคาโด ผลไม้ที่มีประโยชน์ไขมันดี
124171.jpg
124171.jpg (31.57 KiB) เปิดดู 3247 ครั้ง

-พันธุ์แฮสส์ (Hass) ผลรูปแพร์ ผิวขรุขระมาก ผิวสีเขียวเข้ม เมื่อสุกอาจเป็นสีเขียวหรือม่วงเข้ม ผลมีขนาดเล็กน้ำหนักประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ กรัม เนื้อสีเหลือง เมล็ดเล็กถึงขนาดกลาง ช่วงเก็บเกี่ยวผลเดือนธันวาคม–กุมภาพันธ์ มีไขมัน ๒๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นพันธุ์การค้าอันดับ ๑ ของโลก เหมาะที่จะนำส่งออกไปขายตลาดต่างประเทศ หรือในห้างสรรพสินค้า ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคและแมลง

-บูช ๗ (Booth-7)
ผลค่อนข้างกลม ผลขนาดกลางน้ำหนักประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ กรัม ผิวผลขรุขระ สีเขียว เปลือกหนา เนื้อสีเหลืองอ่อน รสดี เมล็ดขนาดกลาง ติดอยู่ในช่องเมล็ดแน่น เมื่อสุกแก่จะมีรอยจุดสีน้ำตาล มีไขมัน ๗-๑๔ เปอร์เซ็นต์ ช่วงเก็บเกี่ยวผลประมาณวันที่ ตุลาคม ถึง ธันวาคม อายุ ๕ ปี ๒๔๙ ผลต่อต้น เหมาะปลูกในประเทศไทย ค่อนข้างทนต่อโรค ดูแลรักษาง่าย ออกผลดก และมีผลขนาดใหญ่ เหมาะที่จะขายในตลาดทั่วไป ตลาดท้องถิ่น ไม่เหมาะที่จะส่งออกขายไปต่างประเทศ
124172.jpg
124172.jpg (29.31 KiB) เปิดดู 3247 ครั้ง

- ปีเตอร์สัน (Peterson)
ผลขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลค่อนข้างกลม น้ำหนักผล ๒๐๐ – ๓๐๐ กรัม เนื้อสีเหลืองอมเขียว เมล็ดใหญ่อยู่ในช่องเมล็ดแน่น เนื้อสีเหลืองอมเขียว รสชาติดี ช่วงเก็บเกี่ยวผล กรกฎาคม – กันยายน เหมาะปลูกในประเทศไทย ข้อดีคือสามารถเก็บเกี่ยวได้เร็ว ผลดก ปลูกและดูแลรักษาได้ง่าย เหมาะที่จะขายในตลาดทั่วไป ตลาดท้องถิ่น ไม่เหมาะที่จะส่งออก

- เฟอร์เออเต่ Fuerte
ผลรูปแพร์ ผิวขรุขระเล็กน้อย ผิวสีเขียวเข้ม เนื้อสีเหลืองครีม เมล็ดขนาดกลาง น้ำหนักผลประมาณ ๑๕๐ - ๓๐๐ กรัม รสดี ช่วงเก็บเกี่ยวผลเดือนตุลาคม – ธันวาคม ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรค เป็นพันธุ์การค้าอันดับ ๒ ของโลก เหมาะที่จะนำส่งออกไปขายตลาดต่างประเทศ หรือในห้างสรรพสินค้า

สถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์