เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 26 ม.ค. 2020 4:35 pm

วัดพระธาตุดอยสุเทพ ไม่ทราบ ปี พ.ศ.
ภาพ : อูฐ เชียงใหม่
36038.jpg
36038.jpg (62.28 KiB) เปิดดู 9540 ครั้ง

วัดเชียงยืน​ ถนนมณีนพรัตน์​ พ.ศ.๒๔๔๓
ขอบคุณเจ้าของภาพ
36824.jpg
36824.jpg (33.8 KiB) เปิดดู 9540 ครั้ง

เมื่อ ๖๐ ปีกว่ามานี้ เมืองเชียงใหม่ยังมีกําแพงเมือง สูงรายรอบด้าน ผู้เขียน เกิด และ โตที่บ้านถนนราชวงษ์ตรงที่ที่เป็นโรงแรมมิตรภาพในปัจจุบันนี้ บ้านนั้นเป็นบ้าน ของคุณปู่ ก่อนสมัยที่ผู้เขียนเกิด ถนนราชวงษ์ตอนเหนือ เป็นตลาดสดที่คับคั่งทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย แต่เมื่อเกิดแล้วตลาดสด ก็เคลื่อนย้ายมาตั้งใหม่ ที่ ตลาดวโรรส ซึ่งเคยเป็นที่ ถวายพระเพลิงเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ซึ่งมีชื่อว่า “ข่วงเมรุ”

กําแพงเมืองเชียงใหม่ สมัยนั้นยังสมบูรณ์เป็นส่วนมาก แต่ได้เคยเห็นส่วนที่ชํารุดจะเป็นเพราะคนเดินผ่านจนกร่อนไป หรือ ผุพังไปตามสภาพแล้วคนเดินผ่านซ้ำเติมให้ทลายเร็ว ก็เป็นได้ เพราะผู้เขียนเคยติดตามเพื่อนในกําแพงเมืองที่สึกกร่อน ตอนถนนโรงแรมปรินส์ ใน ปัจจุบันนี้เพื่อจะเดินข้ามไปโรงเรียนสตรีประจํามณฑลพายัพ คือ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ในปัจจุบันนี้ ได้เห็นอิฐก้อนโต หนากว้าง ยาวกว่าที่เห็นในการสร้างประตูท่าแพในปี ๒๕๒๘ นี้มาก มีคนงัดเอาไปเรื่อยๆ จึงเกิดเป็นช่องกําแพงขาดจนเด็กๆ ก็เดินผ่านได้เช่นนี้ ภายหลัง จึงเกิดคนหัวใสคิดจะซื้อกําแพงเมือง เพื่อจะสร้างอาคารพาณิชย์

ดังที่ผู้เขียนเห็นการทลายกําแพงเมืองตอนหน้าโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลังจากที่ผู้เขียนย้ายไปรับราชการ อยู่ที่นครพนม และ มาเยี่ยมบ้านเชียงใหม่ ตกใจมากที่ได้ทราบว่ามีการทลายกําแพงเมืองเชียงใหม่หลายตอนแล้ว เมื่อครั้งนั้นแถมได้ทราบว่า มีการออกโฉนดให้แก่เอกชนเข้าเป็นเจ้าของที่ดินกําแพงเมืองที่ถูกทลายลงได้ด้วย ทําไมจึงเป็นเช่นนั้นได้?

ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่ผู้เขียน ย้ายมาดํารงตําแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสตรีวัฒโนทัยพายัพจึงร่วมร้องเอะอะคัดค้านการซื้อ กําแพงเมืองที่เหลือ มุมแจ่งหัวริน ไว้ขายนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศบ้าง น่าประหลาดนักที่ จังหวัดเชียงใหม่ก็มี “หัวนอก” เยอะแยะ ท่านเหล่านี้ทําไมลืมว่าประเทศอิตาลีเขาได้เงิน รายได้มหาศาลจากการ “ขายกรุงโรมให้นักท่องเที่ยวปีละหลายแสนล้านลีร์”เพียงแต่อิฐ หัก ๆ และไกด์เก่งเท่านั้นก็ทําเงินให้ประเทศได้แล้ว แต่นี่เรามีอิฐหักเพราะถูกปล่อยปละละเลย หรือสึกกร่อนตามธรรมชาติ ถูกทําลายอย่างจงใจ เช่นนี้ ไม่เสียดาย ไม่เสียใจได้อย่างไร?

กําแพงเมืองเชียงใหม่ด้านตะวันตกนั้นเมื่อเข้าไปชิดฐานกําแพง จําได้ว่าสูงถึงแหงนคอตั้งบ่า ข้าพเจ้าได้ไปถึงฐานกําแพงเมืองด้านตะวันตกบ่อย เพราะมีพี่ชายซึ่งเป็นลูกพี่คนหนึ่งซื้อที่ดินหลายไร่แถบนั้นทําสวน ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ถูกเลือกให้เอาอาหารแปลกๆ ที่ทํากัน ที่บ้านไปส่งพี่ชาย และเมื่อเข้าไปในบริเวณท้ายสวนของพี่ชายซึ่งอยู่ค่อนข้างลึกไปทางตะวันออก มองยังไม่เห็นยอดดอยสุเทพ แสดงว่ากําแพงเมืองตอนนั้นสูงมาก มีลักษณะทึบ แข็งแรง ใบเสมายังคงมีอยู่บ้าง ในตอนนั้นประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๒
[ตัดตอนจาก บทความเล็กๆน้อยๆจากเชียงใหม่ในอดีต โดย คุณหญิงสวาท รัตนวราห อดีตผู้อำนวยการ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ]


วัดพระเจ้าเม็งราย(วัดกาละก้อด) ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๑๗
ภาพ : เหนือฟ้า ปัญญาดี
36826.jpg
36826.jpg (40.38 KiB) เปิดดู 9540 ครั้ง

ขบวนแห่ลูกแก้ว ที่ถนนท่าแพ จ.เชียงใหม่ ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๐ - ๒๔๖๐ เห็นต้นมะฮอกกานีตลอดข้างทาง
เพจ : เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น
39175.jpg
39175.jpg (30.72 KiB) เปิดดู 9540 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 31 ม.ค. 2020 11:37 pm

ขัวเหล็กเชียงใหม่
ขอบคุณเจ้าของภาพ
40290.jpg
40290.jpg (23.65 KiB) เปิดดู 9509 ครั้ง

"พิงคนาครเซ็นเตอร์" สถานที่แห่งความทรงจำบนถนนห้วยแก้ว พิงคนาครเซ็นเตอร์ปิดกิจการไปน่าจะเกิน ๓๕ ปีแล้ว ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้คือโรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ รูปนี้น่าจะถ่ายก่อน พ.ศ.๒๕๒๐
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
40297.jpg
40297.jpg (23.26 KiB) เปิดดู 9509 ครั้ง

รถถีบเฒ่า
ขอบคุณเจ้าของภาพ
41838.jpg
41838.jpg (43.17 KiB) เปิดดู 9509 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 31 ม.ค. 2020 11:43 pm

งานส่งสการ พระครูสุเทพสิทธิคุณ หรือหลวงพ่อพันเทวาเพ่งตะวัน อายุ ๘๑ ปี พรรษา ๕๒ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒ พิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุชั่วคราว ปราสาทนกหัสดีลิงค์ วัดศรีบุญเรือง ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓



ขบวนแห่ครัวตาน ถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึก ณ วัดหมื่นล้าน จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๕
ภาพ : เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น
40977.jpg
40977.jpg (41.16 KiB) เปิดดู 9509 ครั้ง

บรรยากาศร่มรื่นริมคูเมืองเชียงใหม่ ช่วงประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๒ - ๒๕๑๓
ที่มา จากคอมเมนต์เพจ cm108
41840.jpg
41840.jpg (100.89 KiB) เปิดดู 9509 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 09 ก.พ. 2020 4:26 pm

ภาพพระเมรุของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ผู้ถ่ายคือหลวงอนุสารสุนทร เรือนที่มุงด้วยตองตึงที่เห็นในด้านซ้ายของภาพคือโรงครัวสำหรับเตรียมอาหารแก่ผู้มาร่วมงาน สถานที่คือข่วงเมรุซึ่งปัจจุบันคือตลาดวโรรส พระเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัยวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๐ มีพิธีออกพระเมรุเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๔
ภาพ : หนังสือ "ภาพถ่ายฟิล์มกระจกเมืองเชียงใหม่ โดย หลวงอนุสารสุนทร"
4242.jpg
4242.jpg (36.16 KiB) เปิดดู 9457 ครั้ง

อุโบสถวัดเกตการาม จ.เชียงใหม่ มีกิเลน ๒ ตัวที่ผนังอุโบสถโดยฝีมือช่างชาวจีน ภาพนี้คาดว่าน่าจะถ่ายก่อนปี ๒๔๖๐
หลวงอนุสารสุนทร ผู้ถ่ายภาพ ภาพจากหนังสือ "ภาพถ่ายฟิล์มกระจกเมืองเชียงใหม่ โดย หลวงอนุสารสุนทร"
4237.jpg
4237.jpg (52.14 KiB) เปิดดู 9457 ครั้ง

เบญจวรรณ วรรณประกาย นางสาวเชียงใหม่ ๒๕๑๓
รับการสวมมงกุฎบนเวทีประกวดในงานฤดูหนาว จ.เชียงใหม่
จาก...หนังสือ "สาวงาม สาวมงกุฎ"ของ คุณประเสริฐ เจิมจุติธรรม
5782.jpg
5782.jpg (41.58 KiB) เปิดดู 9431 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 24 ก.พ. 2020 4:50 pm

พระเจดีย์ วัดหมื่นกอง
วัดหมื่นกองหรือวัดหมื่นคองสร้างประมาณ พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๓๐ หมื่นกองหรือหมื่นคองเป็นผู้สร้าง หมื่นกองเป็นข้าราชการของพระเจ้าติโลกราชและเป็นเจ้าเมืองนครเขลางค์ พ.ศ.๒๐๑๗(คำว่าหมื่นเป็นบรรดาศักดิ์ของล้านนาไทยในสมัยก่อนถ้าเป็นทหารก็เป็นแม่ทัพ)
สำหรับพระเจดีย์องค์นี้เป็นศิลปะแบบพม่าคงสร้างในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ ในสมัยที่พม่าเข้ามาปกครองล้านนาไทย โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยบูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๑
ข้อมูลและภาพ : โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
12283.jpg
12283.jpg (95.94 KiB) เปิดดู 9375 ครั้ง


เรื่องเล่า"เปรตวัดหลวงจ๋อมตอง"
12290.jpg
12290.jpg (41.46 KiB) เปิดดู 9375 ครั้ง

เมื่อครั้งในอดีตเมื่อบ้านเมืองยังไม่เจริญ ยามค่ำคืนยังคงมืดสลัว แสงไฟยามค่ำคืนยังมีน้อย ยิ่งกลางคืนมีแสงวูบวาบ มองลางๆตะคุ่มตะคุ่มดูหลอนๆน่ากลัว

ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวจอมทองได้เล่าถึงความลี้ลับน่ากลัวของอาถรรพ์ของวัดหลวงจ๋อมตองที่มีอายุเกิน ๕๐๐ ปี ว่ามีสิ่งลี้ลับคอยปกปักรักษาเอาไว้ สิ่งสำคัญคือมีผีบ้านผีเรือน ผีเสื้อวัด เทวา ยักษา นาค คนธรรพ์ คอยดูแลองค์พระบรมธาตุเจ้าจอมทอง ซึ่งวัดหลวงจ๋อมตองตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ ใต้วิหารหลวงจะมีถ้ำอยู่ ในถ้ำจะมีสิ่งของมีค่าต่างๆมากมาย ปัจจุบันปากถ้ำถูกปิดตายเนื่องจากมีคนเคยเดินหลงเข้าไปมาแล้ว

กลางคืนบริเวณวัดในสมัยก่อนดูน่ากลัว ต้นยางสูงใหญ่ ต้นตาลสูงชะลูด ต้นโพธิ์และต้นไม้ใหญ่อื่นๆเวลาลมพัดสั่นไหว เสียงไม้เสียดกัน ดูวังเวงน่ากลัว

ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่าถึงวันพระมีคนเคยเห็น สิ่งลี้ลับที่เรียกว่า"เปรต" ร่างกายสูงใหญ่ สูงเท่าต้นตาล ปากเล็กเท่ารูเข็ม ส่งเสียงร้องขอส่วนบุญ ดูหวนโหยน่ากลัว เล่ากันว่าเปรตพวกนี้มาขอส่วนบุญ เนื่องจากชาติก่อนเกิดเป็นคนมักจะนำเงินบริจาค,เงินของวัดข้าวของของวัดมาใช้ส่วนตัว ทำให้เมื่อเสียชีวิตลงต้องมาใช้กรรมกลายเป็นเปรต ร้องขอส่วนบุญ เพื่อให้ผู้คนมาทำบุญอุทิศหลุดพ้นจากบาปกรรมที่ทำเอาไว้....

ข้อมูล : ข่าวด่วนจอมทอง รักคุณ
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 12 เม.ย. 2020 1:55 pm

บรรยากาศ"เชียงใหม่" พ.ศ.๒๔๙๖ จากการถ่ายทำภาพยนตร์ “สาวเครือฟ้า”
.....“สาวเครือฟ้า” เป็นภาพยนตร์ ๑๖ มม. เรื่องแรกที่ แท้ ประกาศวุฒิสาร สร้างในนามบริษัท ไทยไตรมิตรภาพยนตร์ กำกับโดย มารุต (ทวี ณ บางช้าง) นำแสดงโดย วิไลวรรณ วัฒนพานิช และ ชลิต สุเสวี เล่าเรื่องราวความรักอันรันทดระหว่างสาวท้องถิ่นชื่อ เครือฟ้าและร้อยตรีพร้อม นายทหารหนุ่มที่ถูกส่งมาประจำการยังเชียงใหม่ ภาพยนตร์ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๙๖ ที่โรงภาพยนตร์นิวโอเดียน และได้รับความนิยมอย่างมาก ก่อนที่ วิไลวรรณ วัฒนพานิช จะได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ผู้แสดงนำฝ่ายหญิง จากบทบาทดังกล่าว ในงานประกวดภาพยนตร์ไทยครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ส่งผลให้ภาพยนตร์ได้กลับเข้ามาฉายในโรงภาพยนตร์ชั้นหนึ่งอีกครั้งถึง ๓ โรง ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญในยุคนั้น

......ปัจจุบัน ภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ในสถานะหายสาบสูญ เหลือไว้แต่เพียงเบื้องหลังการถ่ายทำที่ แท้ ประกาศวุฒิสาร ศิลปินแห่งชาติ ได้เก็บรักษาไว้ และมอบให้หอภาพยนตร์อนุรักษ์ ต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๔๙ แท้ได้นำฟุตเทจภาพเบื้องหลังนี้มาตัดต่อและบรรยายเสียงประกอบด้วยตนเอง เพื่อเผยแพร่ในวีดิทัศน์รวมผลงานคงเหลือของเขาชุด “หนังแท้” ก่อนที่หอภาพยนตร์จะนำฟิล์มมาสแกนภาพใหม่ และตัดต่อลงเสียงเดิมตามที่แท้เคยทำไว้ เพื่อฉายในกิจกรรม “๑๐๐ ปี สุภาพบุรุษเสือแท้” เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๒
ที่มา : https://www.youtube.com/channel/UCH-mZx ... 7dOUk_D7xw

สงกรานต์เชียงใหม่บริเวณสี่แยกพุทธสถานเชิงสะพานนวรัฐ พ.ศ.๒๔๙๖
ถ่ายภาพโดยคุณลุงบุญเสริม สาตราภัย ผู้ถ่ายภาพ ต้นฉบับเป็นภาพขาวดำแล้วนำมาลงสีภายหลังดูงดงามอย่างยิ่ง
จาก...http://www.compasscm.com/view/1841
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
45375.jpg
45375.jpg (35.49 KiB) เปิดดู 9093 ครั้ง

ถนนสุเทพ หลัง มช.พ.ศ.๒๔๙๕ ภาพจากการถ่ายทำภาพยนตร์ “สาวเครือฟ้า”
43200.jpg
43200.jpg (27.01 KiB) เปิดดู 9093 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 12 เม.ย. 2020 9:06 pm

วิหารและศาลาด้านทิศเหนือของวัดพระธาตุดอยสุเทพ เมื่อ ๑๐๐ กว่าปีที่แล้ว(ประมาณ พ.ศ.๒๕๕๐ -๒๕๖๐)
ผู้ถ่ายภาพคือหลวงอนุสารสุนทร จาก...หนังสือ "ภาพถ่ายฟิล์มกระจกเมืองเชียงใหม่ โดย หลวงอนุสารสุนทร" ของ บริษัทสุเทพ จำกัด
45380.jpg
45380.jpg (30.14 KiB) เปิดดู 9093 ครั้ง

วัดผาลาด บนดอยสุเทพ ถ่ายประมาณ พ.ศ.๒๔๕๕ - ๒๔๖๘
จาก ... หนังสือ Atlas-Geography of Siam ผลิตเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ ที่ประเทศ ฝรั่งเศส

วัดผาลาด เดิมสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากือนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสี่ยงทายเพื่อหาสถานที่สำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุ ตามตำนานสร้างพระธาตุดอยสุเทพ ช้างที่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้น ได้เดินทางมุ่งตรงไปทางดอยอ้อยช้างทิศตะวันตกของเมือง พระเจ้ากือนาพร้อมทั้ง พญาลิไทย จาก เมืองสุโขทัย และเหล่าเสนาอำมาตย์ ก็แห่ฆ้อง กลอง ตามหลังช้างไป

เมื่อไปถึงยอดดอยแห่งหนึ่งช้างก็หยุดและย่อเข่าลง พระเจ้ากือนาพร้อมทั้งบริวารต่างเห็นพ้องกันว่าควรประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ ที่นั้น วัดผาลาดเป็นวัดป่า ๑ ใน ๓ วัด ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย แห่งนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า ๕๐๐ ปี เคยถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าไป แต่ก็ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ให้มีสถานภาพเป็นวัดที่สวยงามในปัจจุบัน
ภาพ : weerapong wongtan
45382.jpg
45382.jpg (68.98 KiB) เปิดดู 9093 ครั้ง

เจ้าทิพวัน ณ เชียงใหม่(กฤดากร ณ อยุธยา)ในหม่อมเจ้าบวรเดชฯ ฟ้อนนำกระบวนเครื่องพระขวัญของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในพิธีทูลพระขวัญ บริเวณหน้าศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๙ มีเจ้านายฝ่ายเหนือ(ผู้หญิง)ฟ้อนทั้งหมด ๗ คู่ คู่หน้าสุดคือ เจ้าทิพวัน คู่กับ เจ้าส่วนบุญ ภรรยาเจ้าจักร์คำขจรศักดิ์ ในภาพนี้ไม่เห็นเจ้าส่วนบุญ แต่เห็นแขนขวาของท่านที่ด้านขวาของภาพ จาก...หนังสือ"สมุดภาพรัชกาลที่ ๗ เสด็จฯมณฑลพายัพ"จัดพิมพ์โดยสถาบันพระปกเกล้า
45384.jpg
45384.jpg (41.04 KiB) เปิดดู 9093 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » พุธ 20 พ.ค. 2020 5:03 pm

เรื่องเล่าจากแฟนเพจ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ "#คนที่โดนเวนคืนที่ดิน" #จากการสร้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ FB Supitchanan Pattasayakul ได้เล่าว่าบุคคลในรูปภาพคือคุณตาของเธอ
68590.jpg
68590.jpg (39.18 KiB) เปิดดู 5539 ครั้ง

ท่านเป็นเจ้าของเดิมของที่ดินใกล้ๆโรงอาหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อรัฐบาลมีนโยบายจะสร้าง มช.ก็มีการเจรจาขอเวนคืนที่ดินกับชาวบ้าน ซึ่งเจ้าของที่ดินก็ให้ความร่วมมือ โดยครอบครัวของเธอนำเงินที่ได้จากการเวนคืนที่ดินไปซื้อที่บริเวณ มช.ซอย ๗ และอยู่มาจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับคุณ Sunun Panupaisal เล่าว่า ตอนแรกรัฐบาลตั้งใจจะสร้างมหาวิทยาลัยที่จังหวัดพิษณุโลก แต่ราคาที่ดินแพง ต่างกับเชียงใหม่ที่ส่วนหนึ่งให้ฟรี ส่วนหนึ่งก็ราคาถูกกว่ามาก #กว่าจะมาเป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีผู้มีอุปการคุณเป็นจำนวนมาก ที่เสียสละ ย้ายที่อยู่อาศัย เพื่อให้ลูกหลานได้ศึกษาเล่าเรียน เป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาคแห่งแรกแห่งนี้

คุณ Supitchanan Pattasayakul เล่าเป็นภาษาเหนือ ดังนี้ “นี่คือ ฮูปป้ออุ๊ย(คุณตา) ของข้าเจ้า บ้านเดิมป้ออุ๊ยอยู่ตรงจุดตี้โกล้กับโฮงอาหารคณะวิศวะฯ มช.ในปัจจุบัน...แม่เล่าหื้อฟังว่า ต้นตระกูลข้าเจ้าเกิดและอยู่ในตี้ดินผืนหั้นกั๋นมาแต่ดั้งเดิมเป๋นทอดๆ จากรุ่นสู่รุ่น (แม่เกยปาไปผ่อตวยว่า บ้านเก๊าของป้ออุ๊ยอยู่ตั๊ดใด) พอรัฐบาลมีนโยบายจะสร้างมหา"ลัย ทางก๋ารเปิ้นก่อมาเจรจาขอเวนคืนตี้ดิน จาวบ้านตึงหมดก่อหื้อความร่วมมือจ้าดดี เพราะเปิ้นก่อต่างดีใจ๋ตี้เจียงใหม่เฮาจะมีมหา'ลัยไว้หื้อลูกหลานได้ฮ่ำได้เฮียนสูงๆ ต๋อนนั้นก่อมีก๋ารทำตี้ดินจัดสรรขาย แหมะๆฮั้ว มช.ในปัจจุบัน พอป้ออุ๊ยได้เงินค่าเวนคืนตี้ดินมา แกก่อไปซื้อตี้แป๋งบ้าน ก่อคือ เขยิบออกมาบะไกล๋จากตี้อยู่เดิม ตระกูลตางแม่และญาติๆนับเป๋นคนกลุ่มแรกตี้มาบุกเบิกสร้างบ้านอยู่ตรงหั้น (หลัง มช.ซอย 7 ซอยเยื้องๆกับประตู๋หอนาฬิก๋า) เกิดมาแต่หน้อยๆข้าเจ้าก่อได้ยินจื้อ แม่นายกิมฮ้อ แต่บะเกยเจอตั๋วเปิ้นนะเจ้า เวลาไปทำบุญตี้วัดฝายหินซึ่งเป๋นวัดตี้อยู่ติดกับฮั้ว มช. ข้าเจ้าก่อจะต้องก๋ายบ้านแม่นายตลอด (ตางขึ้นหลิ่งไปร้านอาหารกาแล) บริเวณเขตบ้านแม่นายกิมฮ้อกว้างขนาด ข้าเจ้าเกยเข้าไปแอ่วสมัยละอ่อน เพราะมีคนฮู้จักเป็นคนงานดูแลสวนหื้อแม่นาย ถึงแม่นายกิมฮ้อเปิ้นจะต๋ายไปเมินแล้ว แต่ ลูกเปิ้นก่อยังเก็บตี้แปลงนี้ไว้เต๊าบะเดี่ยว...แม่บอกว่า ตอนเวนคืนตี้ดินหื้อตางก๋าร ป้ออุ๊ยกึ๊ดไว้ว่า ซักวันนึงขอหื้อมีลูกหลานเปิ้นได้เฮียนในฮั้ว มช.และข้าเจ้าก่อทำหื้อเปิ้นสมหวังได้...สมัยก่อนสอบเข้า มช.ประกาศผลสอบตางทีวี ป้ออุ๊ยนั่งหน้าจอลุ้นแหมะฮาก เปิ้นบอกไว้ว่า ถ้าสอบติด มช.เปิ้นจะหื้อค่าขนม ๕๐๐ พอฮู้ผลสอบ เปิ้นดีใจ๋ขนาด ฟั่งเดินไปหยิบตังค์ ๕๐๐ หื้อข้าเจ้าโวยว่อง

ส่วนคุณ Sunun Panupaisal เล่าว่า “ใช่เลย เพราะเราเป็นเด็กอพ่อเราบอกว่าไม่ต้องไปเรียนมหาวิทยาลัยที่กทม.แล้ว มีคนใจบุญหลายคนที่เชียงใหม่ยกที่ดินให้ ที่จริงรัฐบาลอยากตั้งมหาวิทยาลัยทางภาคเหนือที่พิษณุโลก แต่ผู้ว่าฯและ ชาวบ้านขายที่ดินแพง ในขณะเดียวกันที่เชียงใหม่ให้ฟรี&ส่วนหนึ่งขายให้ราคาถูก จึงเป็นเรื่องโชคดีของเชียงใหม่จ้า พ่อเราพาไปเที่ยวเชียงใหม่ ๒๕๐๗ พาเข้าไปเที่ยวในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วย แต่ตอนนั้นเราค้านในใจเพราะอยากไปเรียนมหาวิทยาลัยในกทม. แต่ในที่สุดก็มาเป็นลูกศิษย์มช.อันเป็นที่รักของเราจ้า”

ขอขอบคุณเรื่องเล่าทุกเรื่อง ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน...

ด้านล่างเป็นข้อมูล #ประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“เราต้องการมหาวิทยาลัยประจำลานนาไทย”
“เพื่อศักดิ์ศรีของคนเมือง เราต้องมีมหาวิทยาลัยแห่งลานนาไทย”
“จงสู้จนสุดใจขาดดิ้น เพื่อมหาวิทยาลัยแห่งลานนาไทย”

ถ้อยคำเหล่านี้ล้วนบ่งบอกถึงการเรียกร้องของประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงที่ต้องการให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นทั้งสิ้น หากจะกล่าวไปแล้วความคิดในการขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกสู้ภูมิภาคมีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ในสมัยของพันเอก หลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนาวาเอกหลวงสินธุสงครามชัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้เชิญ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในขณะนั้นไปปรึกษา เรื่องการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค แต่ในที่สุดก็ต้องหยุดชะงักไปเพราะเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา

ต่อมาได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวอีกครั้งเมื่อสงครามเสร็จสิ้นลง กล่าวคือเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ นายทองดี อิสราชีวิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเรื่องมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ กระทู้ดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลพิจารณาขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกไปสู่ภูมิภาคตามที่เคยดำริไว้แต่เดิม ซึ่งสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของประชาชนชาวเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคือ “หนังสือพิมพ์คนเมือง” ซึ่งมีนายสงัด บรรจงศิลป์ เป็นบรรณาธิการ ได้เสนอข่าวการตั้งกระทู้ถามของนายทองดี อิสราชีวิน เรื่องมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้งเชิญชวนให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นผ่านหนังสือพิมพ์ดังกล่าวนั้นด้วย

เหตุการณ์เริ่มเข้มข้นขึ้นตามลำดับ เมื่อหนังสือพิมพ์คนเมือง ฉบับวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๖ ได้เริ่มต้นรณรงค์เรียกร้องให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคเหนือขึ้น และนับตั้งแต่ฉบับวันที่ ๖ มิถุนายน –๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๖ รวม ๘ สัปดาห์ต่อเนื่องกัน ผ่านทาง “บทนำ” และคอลัมน์ “ออกข่วง” ซึ่งตั้งหัวข้ออภิปรายเรื่อง “ ควรตั้งมหาวิทยาลัยภาคเหนือหรือไม่?” เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี

ข้อคิดเห็นส่วนใหญ่ต้องการให้มีมหาวิทยาลัยภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ทั้งสิ้น เช่น ให้เหตุผลว่า “…..เป็นการเผยแพร่ศีลธรรม วัฒนธรรม และจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลานนาไทย…..เชียงใหม่เป็นนครที่ใหญ่กว้างขวาง ภูมิประเทศเหมาะแก่การจะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยมาก ทั้งอากาศก็สบาย การคมนาคม การสาธารณูปโภคก็สะดวกสมบูรณ์….”

ไม่เพียงแค่การเสนอข่าวอย่างต่อเนื่องของหนังสือพิมพ์คนเมืองเท่านั้น ประการสำคัญได้มีการพิมพ์บัตรวงกลมสีแดงเข้ม บัตรแสตมป์สีแดงเข้ม และบัตรห่วงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งล้วนแต่พิมพ์ข้อความที่เป็นการเรียกร้องให้มีมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น โดยสิ่งเหล่านี้ได้แจกจ่ายเผยแพร่ให้แก่สาธารณชนทั้งในเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง รวมทั้งเผยแพร่ไปทั่วประเทศ

อาจกล่าวได้ว่านอกจากหนังสือพิมพ์คนเมืองจะเป็นหลักในการเรียกร้องมหาวิทยาลัยแล้ว หนังสือพิมพ์คนเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ และหนังสือพิมพ์ไทยล้านนาของจังหวัดลำปางก็มีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน โดยการเป็นสื่อให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น รวมทั้งการรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของการเรียกร้อง

บัตรห่วง แสตมป์ และป้ายวงกลมการเรียกร้องมหาวิทยาลัย

ประชาชนชาวเชียงใหม่ได้เรียกร้องให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยแสดงความคิดเห็นเรียกร้องให้ตั้งมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคผ่านคอลัมน์ “ออกข่วง” ของหนังสือพิมพ์คนเมืองซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและได้โฆษณาเผยแพร่ข้อความเรียกร้องในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ด้วย เช่น “จงสู้จนสุดใจขาดดิ้น เพื่อมหาวิทยาลัยแห่งลานนาไทย” และ “เพื่อศักดิ์ศรีของคนเมือง เราต้องมีมหาวิทยาลัยแห่งลานนาไทย” เป็นต้น นอกจากการรณรงค์ผ่านบทความและข้อความโฆษณาแล้วหนังสือพิมพ์คนเมืองยังได้พิมพ์บัตรต่างๆเพื่อแจกจ่าย นักเรียนและประชาชน ดังต่อไปนี้

๑. บัตรแสตมป์สีแดงเข้ม มีข้อความเขียนไว้ว่า “เราต้องการมหาวิทยาลัยประจำลานนาไทย” มีวัตถุประสงค์ให้นำไปติดไปกับซองจดหมายคู่กับดวงตราไปรษณีย์หรือปิดบนเอกสารคู่ไปกับอากรแสตมป์และติดทั่วๆไปตามแต่ผู้ใช้จะเห็นสมควรเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงความต้องการของชาวเชียงใหม่

๒. บัตรวงกลมสีแดง มีข้อความเขียนว่า “ในภาคเหนือ เราต้องการ มหาวิทยาลัย โปรดร่วมกันต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งมหาวิทยาลัย ประจำภาคเหนือ”


๓. บัตรห่วงมหาวิทยาลัย มีข้อความเขียนว่า “ห่วงมหาวิทยาลัย เราประชาชนคนภาคเหนือมีความเชื่อมั่นว่า การจัดให้มีสถาบันการศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยขึ้นในลานนาไทยนั้นเป็นความจำเป็นอย่างรีบด่วน เราเชื่อว่าอนาคตและความวัฒนาสถาพรของลานนาไทยนั้นขึ้นอยู่กับแรงปณิธานของลูกลานนาไทยทุกคน เพราะมหาวิทยาลัยแห่งนี้เท่านั้น ที่จะเป็นแหล่งผลิตปัญญาชนคนลานนาเพื่อออกไปทำประโยชน์และเป็นผู้นำของลานนาไทยในอนาคต” บัตรนี้มีความประสงค์ที่จะให้นักเรียนและประชาชนทั้งหลายส่งไปถึงญาติมิตรแล้วให้กระจายเพิ่มขึ้นไปทั่วประเทศ


นอกจากหนังสือพิมพ์คนเมืองจะเป็นสื่อให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเพื่อเรียกร้องมหาวิทยาลัยในภาคเหนือแล้ว ในขณะนั้นหนังสือพิมพ์ไทยลานนาแห่งจังหวัดลำปางก็ได้เสนอข่าวและความเคลื่อนไหวในการเรียกร้องมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน
การรณรงค์เรียกร้องของชาวลานนาไทยที่ต้องการมหาวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงใหม่ แม้จะไม่ได้ผลในทันที แต่ก็เป็นการกระตุ้นเตือนรัฐบาลให้เริ่มคิดอย่างจริงจังในเวลาต่อมา

ที่มา หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หอศิลป์ปิ่นมาลา)
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » อังคาร 17 พ.ย. 2020 11:05 am

Railway Terminas Hotel
151421.jpg
151421.jpg (182.72 KiB) เปิดดู 4707 ครั้ง

โรงแรมรถไฟเชียงใหม่ เข้าใจว่าเป็นโรงแรมแห่งแรกของเชียงใหม่ ภาพเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หันหน้าเข้าหาอาคารสถานีรถไฟ เปิดในปี พ.ศ. ๒๔๖๔

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่๒ โรงแรมรถไฟมีทหารญี่ปุ่นพักอยู่เต็ม จึงเป้าหมายโจมตีแห่งหนี่ง จนระเบิดลงเสียหายไปทั้งหมด รวมทั้งสถานีรถไฟ

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ สถานีรถไฟเชียงใหม่หลังนี้ ถูกเครื่องบินของฝ่ายสัมพัธมิตรทิ้งระเบิดพังพินาศไปพร้อมกับชีวิตคนนับร้อย รวมทั้งอาคารบ้านเรือน โกดังเก็บสินค้า โรงแรม ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงราบเรียบไปหมดเมื่อวัน ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๖

หลังจากสถานีเชียงใหม่ถูกระเบิดทางราชการต้องประกาศงดใช้สถานีรถไฟแห่งนี้ไปหลายปี ผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถไฟต้องไปขึ้นลงที่สถานีป่าเส้า จังหวัดลำพูน แทน ต่อมาเมื่อสงครามสงบแล้วจึงได้สร้างสถานีรถไฟขึ้นมาใหม่ในที่เดิมในปี พ.ศ.๒๔๘๘ และเปิดอีกครั้งในปี พ. ศ.๒๔๙๑

โรงแรมรถไฟเชียงใหม่ ต่อมาหลังสงครามกลายเป็นสถานที่ทีลือว่าผีดุมาก ต่อมาสร้างใหม่เป็นโรงแรมใหญ่หรูหรา อาคารคอนกรีต และ ถูกทุบทิ้งเมื่อทรุดโทรม เมื่อราวยี่สิบปีก่อน (ราวๆ พ.ศ.๒๕๔๖) ปัจจุบันสร้างเป็นสวนสาธารณะ

ขอบคุณเจ้าของภาพ

เรือนไม้ที่ บ้านดงป่าแดง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
9553.jpg
9553.jpg (109.43 KiB) เปิดดู 4706 ครั้ง

ภาพ : Kibkae Tiwakorn Srithikan
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » จันทร์ 06 มิ.ย. 2022 5:52 am

#เจดีย์หลวง #เชียงใหม่ เมื่อ 51 ปีก่อน
ภาพถ่าย วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1971(2514)
284377907_526946682407529_4220977735479005172_n.jpg
284377907_526946682407529_4220977735479005172_n.jpg (307.27 KiB) เปิดดู 3272 ครั้ง

วัดเจดีย์หลวงก่อนการบูรณะ ขณะนั้นเต็มไปด้วยวัชพืช และ นักท่องเที่ยว เอามอเตอร์ไซค์ขับตามถนน เข้าไปถึง เจดีย์หลวง ได้
วัดเจดีย์หลวงวรวิหารเป็นพระอารามหลวงในจังหวัดเชียงใหม่มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ราชกุฏาคาร วัดโชติการามสร้างขึ้นในรัชสมัย#พญาแสนเมืองมา เจ้าหลวงองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้าง ในปี พ.ศ. 1928 - 1945 และมีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ใหญ่ที่สุดในล้านนา ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญ ครั้งหนึ่งในอดีตกาล บนเจดีย์ด้านทิศตะวันออกเคยเป็นจุดที่ประดิษฐาน #พระแก้วมรกต เจดีย์ ตั้งอยู่พื้นที่กลางเวียง ใน เขตกำแพงเมืองเชียงใหม่

ที่มา : ปี้น้อยหนานแตงโม ฉตสาขาโก เทววํโส
285488471_322029760106234_57905913180014479_n.jpg
285488471_322029760106234_57905913180014479_n.jpg (117.5 KiB) เปิดดู 3272 ครั้ง

☆☆☆..ราวห้าปี๋ก่อนย้ายงานฤดูหนาวจากโฮงเฮียนยุพราชฯ มาตี้ "โต้ง(ทุ่ง)หนองบัว"มีก๋านถุ่ย,ถมดินคันนาลงใส่หนองบัว, "หล้างบ่าหล้าง"ไปตุ๊บทุบเอาแผวก๋ำแปงเวียงเจียงใหม่ ลงถมตั๊ดตี้ เป๋นสนามเล่น(ฟุต)บอลบัดเดี่ยวนี้ หาว่ามันจะได้เเน่นดี...วัดป่าไผ่ปันสาทหิ้น ตางใต้วัดกู่เต้าโดนไถธาตุเจดีย์ลงก่อนเปิ้น ไถวิหารอยู่จู(ถึง)ฮั้วเหล็กสนามบอลลงก๋างหนอง, ถัดมาเป๋นวัดต้นต๋าลวันออกหนองโดนไถเป๋นถ้วนสอง...กำนี้ละ ก่ปากั๋นมาเล็งผ่อวัดกู่เต้าอ้างว่า ซ้ำเตื้อก่มีตุ๊พระมาอยู่ซ้ำเตื้อบ่มีพระมาอยู่วัสสา เป๋นก๋านชาวบ้านต้องเปลี่ยนมาเฝ้าอยู่เจื่อ(บ่อย) เล็งแล้วถ้าตัดซื่อเอาแนวก๋ำแปงสนามฯ ก่ตั๊ดวิหารหลวงจะว่าจะใดกั๋น? คันจาวกู่เต้าจ๊างเผือกฮู้เรื่องตี้"งำ"ไว้(เรื่องลับ) ก่ปากั๋นออกมา"ทะ"(ห้าม,ปราม)บอกว่า เป๋นวิหารตี้ครูบาศีลธรรมสะหลีวิไจยแป๋งไว้ เป๋นขี้มือเปิ้น จะมา"ซิด"มาตัดบ่ได้เป๋นอันขาด, คันว่าจะตัดสนามกีฬามาแผวติดวิหารก่บ่ยอมใดๆ...ก๋ำลังตี้ยัง"สึงสังอึงอัง"(ชักเย่อ,ต่อกร)กั๋นอยู่, วัดพระสิงห์หันท่าบ่ดี เลยส่งตุ๊มหาต๋นหนึ่งมาอยู่วัส
สากิ๋นวัดกู่เต้ากั้นไว้ เรื่องก่ดักเงียบไป

☆☆☆...กำนี้ก่เหลือวัดสะหลีบุญเฮือง(ศรีบุญเรือง) วัดนี้ขึ้นกับวัดสะหลีเจียงยืน เปิ้นอัสสะอาศัยเปิ้งอิงกั๋นมา วัดนี้ก่ยังดีอยู่ หนหลังมาถึงจะเก่าเป๋นฮกเป๋นพงพ่อง แต่ก่รอดถูกขุดธาตุ เจาะเอาใจ๋พระเจ้าย้อนวัดกับจาวเจียงยืนผลัดกั๋นมาผ่อกอย, คันล่วงมาได้แหมเป๋นสิบปี๋เป๋นยามตี้วัดเจียงยืน ขาดตุ๊พระมาอยู่วัสสา..."มันจะมีหวะนั่น วัดสะหลีบุญเฮีอง ก่มาหมดมาเสี้ยงอายุเป๋นวัดเป๋นวา ศรัทธาวัดเก๊าก่บ่มี เปิ้งเอาก้าศรัทธาวัดเจียงยืน...ต๊าย(ท้าย)มาคนเฒ่าคนแก่ เอาสวยข้าวตอกดอกไม้ไปไหว้ขอสมาลาโต้ดแล้ว ก่ออกมายืนฮ่ำยืนไห้ปากั๋นผ่อรถไถทุบพังถุ่ยเอาวิหาร เอาธาตุก๋ำแปงลง, เป๋นเหียะอันใดบ่ได้...

ขอขอบพระคุณเจ้าของภาพ"วัดกู่เต้า"ซึ่งถ่ายในปี 2463 (1920) อายุภาพได้102 ปีครับ ภาพถ่ายไปทางตะวันตกซึ่งรก เพราะสมัยนั้นเป็นด้านหลังวัดแต่ปัจจุบันเป็นด้านหน้าวัด, ในอดีตนั้น ด้านหน้าวัดอยู่ทางตะวันออกติดกำแพงเวียงเชียงโฉม(เวียงบัว)มีคูน้ำกั้นระหว่างกำแพงกับหนองบัวเจ็ดกอ,จึงเรียกวัดกู่เต้าว่า กู่เต้าเวียงบัว ครับ..(งานฤดูหนาวฯจัดขึ้นเป็นปีเเรกที่ "ทุ่งหนองบัว" ในปี 2497 ครับ)

ที่มา : เลาะเวียง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พฤหัสฯ. 28 ก.ค. 2022 3:18 pm

ภาพเก่าของบ้านกาด สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๕ รถในภาพเป็นรถของพ่อสมัย - แม่เฮือนคำ ประกอบกิจ
ภาพ : SANPATONG CLUB
123899.jpg
123899.jpg (44.58 KiB) เปิดดู 3071 ครั้ง

โฮงหนังบ้านกาดสันป่าตอง ของพ่อสมัย - แม่เฮือนคำ ประกอบกิจ เปิดกิจการ พ.ศ.๒๕๑๐
ภาพ : SANPATONG CLUB
bangad.jpg
bangad.jpg (133.57 KiB) เปิดดู 3071 ครั้ง


เจ้านายฝ่ายเหนือฟ้อนนำขันบายศรีต้นเก้าชั้น สำหรับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเตรียมเข้ากระบวนแห่ทูลพระขวัญ มีเจ้านายสกุล ณ เชียงใหม่ ฝ่ายหน้าแต่งกายนุ่งผ้าน้ำเงิน สวมเสื้อเยียรบับเดินกำกับตามประเพณี กระบวนเครื่องพระขวัญของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเจ้านายฝ่ายเหนือฟ้อนนำหน้า ดังนี้

คู่ที่ ๑ เจ้าแก้วนวรัฐ (เจ้าแก้ว ณ เชียงใหม่) เจ้าผู้ครองเมื่องเชียงใหม่ กับ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้ามหาพรม ณ น่าน) เจ้าผู้ครองนครน่าน
คู่ที่ ๒ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (เจ้าน้อยจักรคำ ณ ลำพูน) เจ้าผู้ครองนครลำพูน กับเจ้าราชวงศ์ (เจ้าแก้วภาพเมรุ ณ ลำปาง) ลำปาง
คู่ที่ ๓ เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยแก้ว ณ เชียงใหม่) เชียงใหม่ กับเจ้าชัยสงคราม (เจ้าสมพมิตร์ ณ เชียงใหม่) เชียงใหม่
คู่ที่ ๔ เจ้าราชภาคินัย (เจ้าเมืองน้อยชื่น ณ เชียงใหม่) กับเจ้าราชสัมพันธวงศ์ ลำพูน
คู่ที่ ๕ เจ้าชัยวรเชฐ เชียงใหม่ กับเจ้าราชสัมพันธวงศ์ (เจ้าสิงแก้ว ณ เชียงใหม่) เชียงใหม่
คู่ที่ ๖ เจ้าประพันธพงศ์ เชียงใหม่ กับเจ้าชัยสงคราม ลำปาง
คู่ที่ ๗ เจ้ากาวิลวงศ์ ณ เชียงใหม่ กับเจ้าวงศ์เกษม ณ ลำปาง

การแต่งกายของเจ้านายเวลาฟ้อน นุ่งเกี้ยว สวมเสื้อเยียรบับ คาดสำรด ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
กระบวนเครื่องพระขวัญของสมเด็จพระบรมราชินี มีเจ้านายผู้หญิงฝ่ายเหนือฟ้อนนำหน้า ดังนี้

คู่ที่ ๑ เจ้าทิพยวรรณ กฤดากร ณ อยุธยา ในหม่อมเจ้าบวรเดช กับเจ้าส่วนบุญ ภรรยาเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ลำพูน
คู่ที่ ๒ เจ้าบัวทิพย์ บุตรีเจ้าแก้วนวรัฐ ซึ่งเป็นภรรยาเจ้าราชภาคินัย กับเจ้ารำเจียก บุตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์
คู่ที่ ๓ เจ้าศิริประกาย บุตรีเจ้าแก้วนวรัฐ ซึ่งเป็นภรรยาเจ้ากาวิลวงศ์ กับเจ้าวรรณรา บุตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์
คู่ที่ ๔ เจ้าเรณูวรรณา ภรรยาเจ้าบุรีรัตน์ เชียงใหม่ กับเจ้าทิพวาร ภรรยาเจ้าหมื่นแก้ว เชียงใหม่
คู่ที่ ๕ เจ้าเรือนแก้ว ภรรยาเจ้าราชภาติกวงศ์ เชียงใหม่ กับเจ้าจันทนา ภรรยาเจ้าประพันธพงศ์ เชียงใหม่
คู่ที่ ๖ เจ้าวงศ์จันทร์ บุตรีเจ้าราชบุตร เชียงใหม่ กับเจ้ารวงคำ บุตรีเจ้าราชสัมพันธวงศ์ ลำพูน
คู่ที่ ๗ เจ้าประกายคำ บุตรีเจ้าจักรคำจขรศักดิ์ กับเจ้าบุษบง บุตรีเจ้าบุญวาทวงศ์มานิต ลำปาง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

ย้อนกลับ

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน

cron