พระพิจารณ์พาณิชย์ (พิจารณ์ ปัณยวณิช) ต้นตระกูลปัณยวณิช

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: พระพิจารณ์พาณิชย์ (พิจารณ์ ปัณยวณิช) ต้นตระกูลปัณยวณิช

โพสต์โดย ภาษาสยาม » ศุกร์ 16 ธ.ค. 2022 10:56 pm

เขียนถึงการเข้าโรงเรียนของ คุณภัทรา ปัณยวณิช
224487_2.jpg
224487_2.jpg (104.94 KiB) เปิดดู 4329 ครั้ง

เขียนถึงการเข้าโรงเรียนของ คุณธนา ปัณยวณิช
224486_2.jpg
224486_2.jpg (130.99 KiB) เปิดดู 4329 ครั้ง

เขียนถึงการเข้าโรงเรียนของ คุณหริ ปัณยวณิช
224490_2.jpg
224490_2.jpg (133.83 KiB) เปิดดู 4329 ครั้ง

เขียนถึงการเข้าโรงเรียนของ คุณพิดดี ปัณยวณิช
224488_2.jpg
224488_2.jpg (122.57 KiB) เปิดดู 4329 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: พระพิจารณ์พาณิชย์ (พิจารณ์ ปัณยวณิช) ต้นตระกูลปัณยวณิช

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 18 ธ.ค. 2022 6:52 am

224564.jpg
224564.jpg (5.59 KiB) เปิดดู 4325 ครั้ง


ข้อมูลเกี่ยวกับ "พระพิจารณ์พาณิชย์" จากบทความ "พระพิจารณ์พาณิชย์...แผ่นดินสำหรับสิ่งที่งอกเงยได้..."

โดย อาบ นคะจัด รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกริก บางเขน กรุงเทพฯ อดีตหัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(ม.ก.) อดีตผู้ประสานงานโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนา ม.ก. อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ม.ก. ฯลฯ

ตีพิมพ์ในหนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสเปิดป้าย “ตึกพิจารณ์พาณิชย์” คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

๑.พระพิจารณ์พาณิชย์แผ่นดินสำหรับสิ่งที่งอกเงยได้
ข้าพเจ้าได้รู้จักท่านคุณพระพิจารณ์พาณิชย์(พิจารณ์ ปัณยวณิช) เป็นครั้งแรกในชีวิต ขณะที่ท่านเป็นอธิบดีกรมสหกรณ์ กระทรวงเกษตราธิการ และข้าพเจ้าเป็นเสมียนพนักงานซึ่งสอบได้และได้รับการบรรจุเข้าทำงานในกรมนั้นเมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านออกจากราชการตำแหน่งอธิบดี เพื่อรับบำเหน็จบำนาญ เหตุสูงอายุเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงอยู่ใต้ปกครองบังคับบัญชาของท่านที่กรมสหกรณ์เพียง ๒ ปี แต่วิถีชีวิตจะต้องได้ไปอยู่ใต้ปกครองของท่านต่อไปอีก กล่าวคือ เมื่อข้าพเจ้าสอบได้และได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานสหกรณ์พาณิชย์ตรี กรมสหกรณ์พาณิชย์ กระทรวงสหกรณ์ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๖ แล้ว ได้โอนมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ตรี คณะสหกรณ์ กรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงเกษตร เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งมีคุณพระพิจารณ์พาณิชย์เป็นคณบดี(คนแรก)อยู่ก่อนแล้วตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นต้นมา และท่านได้ลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ท่านจึงดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสหกรณ์ติดต่อกันเป็นเวลา ๒๐ ปี คือตั้งแต่ท่านอายุ ๕๓ ปี ถึงอายุ ๗๓ ปี

ข้าพเจ้ามีวาสนาได้อยู่ใต้การปกครองดูแลของท่านในสองหน่วยงาน รวมเป็นเวลา ๑๑ ปี ๖ เดือน ได้รับความเมตตาจากท่านเป็นการส่วนตัวคือ ท่านเป็นผู้ใหญ่ไปขอหมั้น น.ส.ชูศรี ฉายางาม ให้แก่ข้าพเจ้าและเป็นเจ้าภาพฝ่ายชายประกอบพิธีมงคลสมรสให้ข้าพเจ้าด้วย นอกจากนี้ท่านยังช่วยขออนุมัติจากท่านอธิการบดี (อินทรี จันทรสถิตย์) สร้างบ้านพักราชการหลังเล็กชั้นเดียวในที่ดินของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้านกรมป่าไม้ ให้เป็นเรือนหอแก่ข้าพเจ้าอีกด้วย ดังนั้นคุณพระพิจารณ์พาณิชย์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก จึงเป็นคนธรรมดาที่ไม่ใช่ธรรมดาในทางมั่งมีความดีงามในตัวท่าน กล่าวคือ ท่านเป็นคนมีน้ำใจ มีเมตตาธรรม มีการดำรงตนเรียบง่าย ถ่อมตน ซื่อสัตย์ มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตดีมาก ขยันในการงานสม่ำเสมอ ในฐานะผู้บริหารงาน ท่านใส่ใจติดตามงานไม่ทอดทิ้ง ท่านมอบหมายงานให้ผู้ที่ท่านไว้วางใจแล้วท่านจะคอยกำกับอยู่ห่าง ๆ ไม่แทรกแซงโดยไม่เหมาะสม ท่านเป็นผู้นำของหน่วยงานโดยประพฤติตนเสมือนบิดาซึ่งปกครองดูแลคนในครอบครัวด้วยอาทร และท่านทำตัวประหนึ่งเป็น “แผ่นดินสำหรับสิ่งที่งอกเงยได้”

ต่อไปนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมจิตอธิษฐานคารวะอย่างยิ่งต่อดวงวิญญาณของท่าน เพื่อทำประวัติชีวิตและงานของท่านบางส่วนมาเล่าสำหรับเป็นคติเตือนใจพวกเรา ให้องอาจในการประพฤติตนให้ดีงามบนจุดหนึ่งของแผ่นดินนี้ที่ท่านได้ใช้ชีวิตและแรงกายแรงใจของท่านช่วงหนึ่งแผ้วถางไว้สำหรับให้พวกเรางอกเงยขึ้นมาได้


๒.ชั่วโมงบินของชีวิต
คุณพระพิจารณ์พาณิชย์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๖ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ รวมเป็นชั่วโมงบินของชีวิต จำนวน ๗๗๔,๗๔๔ ชั่วโมง หรือ ๓๒,๒๘๑ วัน หรือ ๘๘ ปี ๕ เดือน ๑๑ วัน สถานที่ท่านเกิด คือ ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร บิดาชื่อนายชม มารดาชื่อนางนกแก้ว ท่านได้รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์โท และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นขุนพิจารณ์พาณิชย์ หลวงพิจารณ์พาณิชย์ และพระพิจารณ์พาณิชย์ ตามลำดับ

๓.การศึกษาและงานเอกชน
เมื่ออายุ ๙ ปี ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นเวลา ๘ ปี จบหลักสูตรไทยและอังกฤษของโรงเรียน ได้รับประกาศนียบัตรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ เมื่ออายุได้ ๑๗ ปีแล้ว ได้เป็นครูโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน รวม ๓ ปี จนอายุ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๔๕๐-๒๔๕๓)

๔.งานราชการเกี่ยวกับสหกรณ์ในทางปฏิบัติ
(๑) ต่อมาได้ทำงานเป็นข้าราชการตำแหน่งครูประจำชั้น โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ตั้งอยู่ริมประตูพิมานไชยศรีในพระบรมมหาราชวัง) สังกัดกรมมหาเล็ก ในระหว่างท่านมีอายุ ๒๑-๒๕ ปี รวมเป็นเวลาประมาณ ๔ ปี (๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๘)

(๒) ท่านได้โอนจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือน มาสังกัดกรมพาณิชย์ และสถิตพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดำรงตำแหน่งเริ่มตั้งแต่ ผู้ช่วยนายเวรชั้น ๑ ถึงตำแหน่งเจ้ากรมชั้น ๒ ครั้งแรกกรมที่ท่านโอนมาสังกัดชื่อ “กรมสถิติพยากรณ์” ตั้งขึ้นดำเนินงานเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์” เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๘ ในกรมใหม่นี้ได้มี “สหกรณ์” ขึ้นมาเพราะว่ากรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ในยุคนั้นมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมเศรษกิจภูมิภาค คือ เศรษฐกิจการเกษตร ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ในหมู่ชาวนาชาวไร่(เกษตรกร)ขึ้นเป็นสมาคมแรกเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๙ ชื่อ “สหกรณ์หาทุนวัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้” ที่ อ.เมือง จ.พิษณุโลก มีสมาชิก ๑๖ คน มีทุนดำเนินงาน ๓,๐๐๐ บาท คุณพระพิจารณ์พาณิชย์ได้ทำงานในกรมนี้ตั้งแต่อายุ ๒๕ ปีถึง ๔๑ ปี รวมเป็นเวลาประมาณ ๑๖ ปี (๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘ – ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ )

(๓) เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ หน่วยงานที่ท่านทำอยู่ได้โอนมาสังกัดหน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่ ท่านดำรงตำแหน่ง ช่วยนายทะเบียนสหกรณ์ และตำแหน่ง ช่วยอธิบดีกรมสหกรณ์ ทบวงเกษตราธิการ กระทรวงเศรษฐการ (คือกระทรวงพาณิชย์ปัจจุบัน) ท่านทำงานอยู่ที่กรมสหกรณ์ ทบวงเกษตราธิการระหว่างอายุ ๔๒ ปีถึง ๕๒ ปี เป็นเวลาประมาณ ๑๐ ปี ( ๑เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๕)

(๔)กรมสหกรณ์ ได้โอนมาสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งยกฐานะจากทบวงเกษตราธิการ ท่านได้ดำรงตำแหน่งรักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมสหกรณ์แล้วดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสหกรณ์ จนออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุในช่วงนี้ ท่านมีอายุระหว่าง ๕๓ ปี - ๖๐ ปี รวมเวลาทำงานเกือบ ๘ ปี (๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕-๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๒)

(๕)เวลาที่ท่านทำงานเกี่ยวกับสหกรณ์ในหน่วยงาน (๒),(๓), และ (๔) รวมเป็น ๓๓ ปี

๕.งานราชการเกี่ยวกับสหกรณ์ในทางวิชาการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ คุณพระพิจารณ์พาณิชย์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของคณะสหกรณ์ ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสหกรณ์อยู่ด้วย (เปลี่ยนเป็นคณะสหกรณ์และเศรษฐศาสตร์,คณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์,คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ..) สังกัดกรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖) กระทรวงเกษตร ระหว่างดำรงตำแหน่งคณบดีได้ดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรรมการมูลนิธิอานันทมหิดลสาขาเกษตรศาสตร์ด้วย ท่านดำรงตำแหน่งคณบดีอยู่ตั้งแต่ท่านอายุ ๕๓ ปีถึงอายุ ๗๓ ปี รวมเป็นเวลาประมาณ ๒๐ ปี (๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ – ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖)

333982_3.jpg
333982_3.jpg (54.93 KiB) เปิดดู 4316 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: พระพิจารณ์พาณิชย์ (พิจารณ์ ปัณยวณิช) ต้นตระกูลปัณยวณิช

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 18 ธ.ค. 2022 6:53 am

๖.งานธนาคารเพื่อการสหกรณ์
ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ พ.ศ.๒๔๘๖ และเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ คุณพระพิจารณ์พาณิชย์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการสหกรณ์ (ปัจจุบันคือ ธ.ก.ส.) ติดต่อกันตั้งแต่ท่านอายุ ๖๐ ปี ถึงอายุ ๗๖ ปีรวมเป็นเวลาประมาณ ๑๗ ปี (๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓-๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๙)
228178_2.jpg
228178_2.jpg (111.22 KiB) เปิดดู 4316 ครั้ง


๗.งานกรรมการร้านสหกรณ์

ท่านได้ร่วมริเริ่มจัดตั้งและเป็นประธานกรรมการร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด เป็นเวลาติดต่อกัน ๓๘ ปี คือตั้งแต่ท่านอายุ ๕๐ ปี ถึงอายุ ๘๘ ปี (พ.ศ.๒๔๘๓ - ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑)

๘.งานอื่น
นอกจากงานที่เกี่ยวกับสหกรณ์โดยตรงแล้ว คุณพระพิจารณ์พาณิชย์ยังได้ทำงานเกี่ยวกับสหกรณ์โดยทางอ้อมอีกมาก เช่น

(๑)เป็นกรรมการบริษัทข้าวไทย จำกัด ซึ่งสหกรณ์ภาคเกษตรต่างๆถือหุ้นอยู่ด้วย ติดต่อกันเป็นเวลา ๒๐ ปี ระหว่างที่ท่านมีอายุ ๕๖ ปี ถึง ๗๖ ปี (พ.ศ.๒๔๘๙-๒๕๐๙)

(๒)เป็นกรรมการธนาคารมณฑล จำกัด ซึ่งเป็นธนาคารที่ให้สินเชื่อเกี่ยวกับการเกษตรติดต่อกันเป็นเวลา ๑๘ ปีระหว่างอายุ ๕๘ - ๗๖ ปี(พ.ศ.๒๔๙๑-๒๕๐๙)

(๓)เป็นกรรมการผู้จัดการ พิทยาลงกรณมูลนิธิ ที่ท่านเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งขึ้นและเป็นประธานจัดการติดต่อกันเป็นเวลา ๒๙ ปี ระหว่างท่านมีอายุ ๕๘ ปีถึง ๘๘ ปี (พ.ศ. ๒๔๙๑-๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑)


๙.วิเคราะห์ชีวิตและงาน

เมื่อวิเคราะห์ชีวิตและงานของคุณพระพิจารณ์พาณิชย์แล้ว น่าจะพอสรุปได้บางทัศนะ ต่อไปนี้

(๑)ท่านเป็นคนที่รักษาความดีและความเก่งให้มีอยู่ในตนเองได้โดยตลอดชีวิต จึงมีผู้มีอำนาจของหน่วยงานต่างๆได้มอบหมายให้ท่านบริหารหรือร่วมบริหารหน่วยงานต่างๆจำนวนมาก และสืบต่อมาไม่ขาดสายตลอดชีวิตของท่าน สังคมที่มีคนที่มีความดีและความเก่งอยู่ในตนจำนวนหนึ่งในยุคสมัยหนึ่งๆแม้จะมีจำนวนไม่มากนัก ก็ย่อมสามารถทำให้คนส่วนมากในสังคมได้รับ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากชีวิตและงานของตนได้มาก เช่น ณ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐ มีประชากรไทยอยู่ประมาณ ๖๑.๗๙ ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อมจากสหกรณ์ จำนวนประมาณ ๓๓.๘๙ ล้านคน หรือร้อยละ ๕๔.๘๕ ประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์และคนในครัวเรือนของสมาชิกสหกรณ์ได้รับโดยตรงและโดยอ้อมประมาณร้อยละ ๕๕ ของคนไทยทั้งประเทศดังกล่าวนี้ คุณพระพิจารณ์พาณิชย์ได้เป็นผู้ร่วมริเริ่มก่อตั้งวางรากฐานร่วมกับพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ และภายหลังยุคของกรมหมื่นพิทยาลงกรณแล้ว คุณพระพิจารณ์พาณิชย์ยังได้มีชีวิตและมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญในการกำกับดูแลและส่งเสริมขบวนการสหกรณ์ให้ขยายไปทั่วภูมิภาคของประเทศทั้งด้านปฎิบัติการและด้านวิชาการสืบต่อมาอีกยาวนาน

(๒)ท่านอดีตนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ พจน์ สารสิน วิเคราะห์ชีวิตและงานของคุณพระพิจารณ์พาณิชย์ไว้ตอนหนึ่งในหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระพิจารณ์พาณิชย์ว่า

“…คุณพระพิจารณ์พาณิชย์เป็นหลานบิดาข้าพเจ้า...การเขียนประวัติคุณพระพิจารณ์พาณิชย์ฯนั้นไม่สามารถจะเขียนอะไรได้อย่างยืดยาว เพราะเป็นผู้ที่เกิดมาศึกษาเสร็จแล้วก็ตั้งหน้าทำราชการอย่างเดียวด้วยความซื่อตรงและสุจริต ที่ข้าพเจ้าจำได้แม่นยำก็บทบาทที่คุณพระพิจารณ์พาณิชย์ฯได้มีในเรื่องสหกรณ์และธนาคารเกษตรกรและสหกรณ์ เริ่มได้ตามเสด็จกรมหมึ่นพิทยาลงกรณร่วมกับข้าราชการอื่นๆ ได้ไปอินเดียศึกษาระบบสหกรณ์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นประเทศในเอเชียที่จัดระบบสหกรณ์ขึ้น ต่อมาได้มาจัดระบบสหกรณ์ในประเทศไทย จึงนับได้ว่าเป็นผู้เริ่มก่อตั้งวางรากฐานของการสหกรณ์มาตั้งแต่เริ่มแรก และก็ได้รับราชการในกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวกับการสหกรณ์ตลอดจนเกษียณอายุ คุณพระพิจารณ์ฯ เป็นคนซื่อตรง พร้อมที่จะช่วยเหลือคนอื่นๆ เสมอ ฉะนั้นจึงมีแต่มิตร ไม่มีศัตรู ระหว่างรับราชการอยู่ก็มิได้ประกอบธุรกิจอื่นใดส่วนตัวเลย ดังนั้นจึงมีความเป็นอยู่อย่างธรรมดา มอบชีวิตจิตใจให้ราชการแต่อย่างเดียว ถือได้ว่าสมควรเป็นบุคคลที่ควรได้รับการสรรเสริญ

(๓)พวกเราทั้งปวง ได้สรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญ ที่ท่านอดีตนากรัฐมนตรี ฯพณฯ พจน์ สารสิน ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้นแล้ว ในวันนี้ (๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐) โดยร่วมกันทำบุญและเปิดป้ายอาคารหลังหนึ่งให้ชื่อว่า “อาคารพิจารณ์พาณิชย์” ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลัง “อาคารพิทยาลงกรณ” บัดนี้ ดวงวิญญาณและชื่อของเอกบุรุษทั้งสองท่าน ร่วมกันริเริ่มก่อตั้งวางรากฐานของการสหกรณ์ในประเทศไทยมาตั้งแต่แรกได้มาอยู่ใกล้ชิดกันติดกัน ณ สถานศักดิ์สิทธิ์ที่ให้การศึกษาวิชาเกี่ยวกับสหกรณ์ บนแผ่นดินส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริเวณคณะเศรษฐศาสตร์และคณะบริหารธุรกิจ ซึ่งงอกเงยมาจากคณะสหกรณ์ในอดีต

ของให้ดวงวิญญาณของ “สหกรณเทพ” ทั้งสอง จงโอบอุ้มคุ้มครองให้พวกเราทั้งปวงเจริญงอกงามสืบต่อไป

อาบ นคะจัด
๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๐

228179_2.jpg
228179_2.jpg (107.54 KiB) เปิดดู 4316 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: พระพิจารณ์พาณิชย์ (พิจารณ์ ปัณยวณิช) ต้นตระกูลปัณยวณิช

โพสต์โดย ภาษาสยาม » ศุกร์ 23 ธ.ค. 2022 1:10 pm

ประวัติพระพิจารณ์พาณิชย์ จากหนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสเปิดป้ายตึกพิจารณ์พาณิชย์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร วันอังคาร ที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐
ซึ่งเป็นข้อมูลมาจากหนังสือที่ระลึกพระราชทานเพลิงศพพระพิจารณ์พาณิชย์
messageImage_1671774836370_2.jpg
messageImage_1671774836370_2.jpg (29.97 KiB) เปิดดู 4316 ครั้ง


พระพิจารณ์พาณิชย์ ม.ป.ช. ม.ว.ม.
พระพิจารณ์พาณิชย์ (พิจารณ์ ปัณยวณิช) เป็นบุตรนายชม และนางนกแก้ว ปัณยวณิช เกิดที่ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๓

พ.ศ.๒๔๔๒ เข้าศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เมื่อโรงเรียนตั้งอยู่ตำบลสำเหร่ แล้วย้ายมาอยู่ที่ถนนประมวญ เป็นเวลา ๘ ปี เรียนจบหลักสูตรไทยและอังกฤษของโรงเรียน ได้รับประกาศนียบัตรเมื่อพ.ศ. ๒๔๕๐ และเป็นครูโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยรวม ๓ ปี ถึงพ.ศ.๒๔๕๓

พระพิจารณ์พาณิชย์ สมรสกับนางยิ้ม ปัณยวณิช และมีบุตรธิดารวม ๗ คน คือ

๑.พลตำรวจตรี สุนิต ปัณยวณิช

๒.นางวรี วงศ์ทิพย์ มีบุตรชื่อ นายเสาวรส วงศ์ทิพย์,นายฉัตรณรงค์ วงศ์ทิพย์(ปัณยวณิช) และนายพงษ์ทัต วงศ์ทิพย์

๓.นางสาวนิธิ ปัณยวณิช (ถึงแก่กรรม)

๔.นางภัทรา รัตนสาสน์ สมรสกับนายจำรัส รัตนสาสน์ มีบุตรธิดาชื่อ นางสาวภาวิณี รัตสาสน์,นายพิทยา รัตนสาสน์,นางกานดา อยู่น้อย และนายวีระเดช รัตนสาสน์

๕.นางธนา ดุลยจินดา มีบุตรธิดาชื่อแพทย์หญิงไธวดี ดุลยจินดา,นายธาดา ดุลยจินดา,นายธานี ดุลยจินดา,นางสาวมณฑาทิพย์ ดุลยจินดา และนายธานินทร์ ดุลยจินดา

๖.นายหริ ปัณยวณิช สมรสกับนาง สุชาดา (ณ ระนอง) ปัณยวณิช มีบุตรชื่อนายกิตติ ปัณยวณิช และเด็กชาย จิตติน ปัณยวณิช (ณ ระนอง)

๗.นางสาว พิดดี ปัณยวณิช

การรับราชการ
๑๕ เมษายน ๒๔๕๔ – ๑๖ มกราคม ๒๔๕๘ ครูประจำชั้นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบรมราชชูปถัมภ์(ตั้งอยู่ริมประตูพิมานไชยศรีในพระบรมมหาราชวัง) สังกัดกรมมหาดเล็ก

๑๗ มกราคม ๒๕๔๘ – ๓๑ ธันวาคม ๒๔๖๐ ผู้ช่วยนายเวรชั้น๑ สังกัดกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระมหาคลังสมบัติ โดยพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยาการณ์ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดงานสหกรณ์ในประเทศไทยได้ทรงขอโอนมาจากกรมมหาดเล็ก

๑ มกราคม ๒๔๖๐ – ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔ นายเวรกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

๑ ธันวาคม ๒๔๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๔๗๑ นายเวรชั้น ๑ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

๑ เมษายน ๒๔๗๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๔๗๔ เจ้ากรมชั้น ๒ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

๑ เมษายน ๒๔๗๕ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๗๗ ผู้ช่วยนายทะเบียนสหกรณ์ กระทรวงเกษตรพาณิชยการ

๑ มิถุนายน ๒๔๗๗ – ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕ ผู้ช่วยอธิบดีกรมสหกรณ์ ทบวงเกษตราธิการ กระทรวงเศรษฐการ ต่อมาในระยะนี้ กรมสหกรณ์เปลี่ยนมาสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ

๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕ – ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๘๕ รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมสหกรณ์ กระทรวงเกษตร

๑๖ พฤษภาคม ๒๔๘๕ – ๓๑ ธันวาคม ๒๔๙๒ อธิบดีกรมสหกรณ์ กระทรวงเกษตร

๑ มกราคม ๒๔๙๓ ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุ รวมรับราชการติดต่อกันเป็นเวลา ๓๘ ปี เศษ

การไปราชการต่างประเทศ
๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๖๕ โดยเสด็จพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงไปดูงานสหกรณ์ ณ ประเทศพม่า และประเทศอินเดีย ในตำแหน่งเจ้าพนักงานสหกรณ์ และเลขานุการในพระองค์ เป็นเวลา ๖ เดือน

การปฏิบัติราชการพิเศษ
ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๐ - พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชนชาติศัตรู เนื่องจากประเทศไทยประกาศสงคราม กับ ประเทศเยอรมนีและออสเตรีย ใน ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พระราชวงศ์เธอกรมหมี่นพิทยาลงกรณ ทรงมีหนังสือลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๑ ทูล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เสนาบดีกระทรวงพระคลังสมบัติว่า ปัญหาจุกจิกในงานของผู้พิทักษ์ทรัพย์มีเป็นมากนักล้วนแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายและหนังสือสัญญาทั้งนั้น แต่ไม่เคยมีปัญหารายใดเลย ไม่ว่าเกี่ยวกับของเล็กน้อยหรือของใหญ่ หรือเรื่องทำใหม่ประการใด ซึ่งเมื่อผู้พิทักษ์ทรัพย์ศัตรูค้นสอบในเรื่องแล้วจะชี้แจงไม่ได้ สุดแต่ว่าทรัพย์มาถึงมือผู้พิทักษ์ทรัพย์แล้วเป็นทราบเรื่องได้ทั้งนั้น การที่ทำได้เช่นนี้ เป็นด้วยความภักดีต่องานของเจ้าพนักงานซึ่งทำงานติดต่อตลอดมาตั้งแต่ต้นจนปลาย งานพิทักษ์ทรัพย์ศัตรูนี้ย่อมนับเป็นส่วนหนึ่งแห่งราชการสงครามทั่วทุกประเทศ ในประเทศเรานี้ ผู้ได้รับราชการสงครามได้รับพระราชทานบำเหน็จความชอบกันทุกแผนกเว้นแค่ในแผนกพิทักษ์ทรัพย์ศัตรูเท่านั้น ในครั้งนี้อันเป็นเวลาที่จะปิดสำนักงาน หม่อมฉันจึงเห็นสมควรทูลเสนอ ความชอบข้าราชการซึ่งได้พากเพียรสนองพระเดชพระคุณมา จนราชการสำเร็จลุล่วงไป ผู้ที่รับราชการแผนกนี้ตั้งแต่วันประกาศสงครามมาจนราชการเสร็จสิ้นไป มี ๔ คน ซึ่งมี พระพิจารณ์พาณิชย์ ด้วยคนหนึ่งจึงขอทูลเสนอความชอบซึ่งควรได้รับพระราชทานบำเหน็จความชอบ แล้วแต่พระมหากรุณา

ราชการอื่นๆ
๑ ตุลาคม ๒๔๘๖ – ๓๐ กันยายน ๒๕๐๖ ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะสหกรณ์ คณบดี คณะสหกรร์และเศรษฐศาสตร์ คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งคณบดีในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล สาขาเกษตรศาสตร์ ด้วย

๑ ตุลาคม ๒๕๐๖ ขอลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ และตำแหน่งกรรมการสมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องจากมีภาระหน้าที่การงานที่จะต้องปฎิบัติทางด้านอื่นอยู่เป็นอันมาก

ต่อมา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหนังสือลงวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ แจ้งว่า ได้พิจารณาเห็นว่า พระพิจารณ์พาณิชย์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิอย่างยิ่งในทางสหกรณ์ ในฐานะที่พระพิจารณ์พาณิชย์เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสหกรณ์ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ที่ประชุมคณบดีเห็นสมควรอย่างยิ่งที่จะขอพระราชทานปริญญาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่พระพิจารณ์พาณิชย์ คณะอาจารย์และนิสิตของคณะฯ จะยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ถ้าพระพิจารณ์พาณิชย์จะรับพระราชทานตามข้อเสนอของทางมหาวิทยาลัย

พระพิจารณ์พาณิชย์มีหนังสือลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ แจ้งว่า ได้ทราบแล้วด้วยความยินดี และขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างสูงในการให้เกียรติแก่พระพิจารณ์พาณิชย์ในครั้งนี้ แต่ได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรที่จะขอให้รอไว้ก่อน และขอให้เรียนที่ประชุมคณบดีทราบด้วย

รับพระราชทานยศ
๒๑ เมษายน ๒๔๕๕ รองเสวกตรี
๘ มีนาคม ๒๔๕๗ รองเสวกโท
๘ ธันวาคม ๒๔๕๙ รองอำมาตย์โท
๑๘ มกราคม ๒๔๖๒ รองอำมาตย์เอก
๑๓ มกราคม ๒๔๖๔ อำมาตย์ตรี
๑ มกราคม ๒๔๖๖ อำมาตย์โท

รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๕๙ ขุนพิจารณ์พาณิชย์
๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๒ หลวงพิจารณ์พาณิชย์
๑ มกราคม ๒๔๖๗ พระพิจารณ์พาณิชย์

เครื่องราชอิสยาภรณ์และเหรียญที่ได้รับพระราชทาน
๓ ธันวาคม ๒๔๕๔ เหรียญเงินบรมราชาภิเษก
๑ มกราคม ๒๔๕๘ เบจมาภรณ์มงกุฎไทย(วิจิตราภรณ์)
๔ ธันวาคม ๒๔๖๖ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๙ จุรถาภรณ์มงกุฎไทย
๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๔ ตริตราภรณ์มงกุฎไทย
๒๐ กันยายน ๒๔๘๐ ตริตราภรณ์ช้างเผือก
๒๐ กันยายน ๒๔๘๐ จักรพรรดิมาลา
๑๙ กันยายน ๒๔๘๕ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
๔ ธันวาคม ๒๔๙๑ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
๔ ธันวาคม ๒๔๙๒ ประถมมาภรณ์มงกุฎไทย
๕ ธันวาคม ๒๔๙๗ ประถมมาภรณ์ช้างเผือก
๕ ธันวาคม ๒๕๐๑ มหาวิชิรมงกุฏไทย
๕ ธันวาคม ๒๕๐๖ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

งานอิ่นๆ
๑ มกราคม ๒๔๙๓ – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๐๙ กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการสหกรณ์
๒๔๘๓ – ๖ กรกฎาคม ๒๕๒๑ ประธานกรรมการร้านค้าสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด
๒๔๙๒ – ๖ กรกฎาคม ๒๕๒๑ กรรมการจัดการพิทยาลงกรณ มูลนิธิ โดยเป้นผู้ริเริ่มจัดตั้งพิทยาลงกรณมูลนิธิ ขึ้น
๒๔๙๑ – ๒๕๐๙ กรรมการธนาคารมณฑล จำกัด
๒๔๘๙ – ๒๕๐๙ กรรมการบริษัทข้าวไทยจำกัด

พระพิจารณ์พาณิชย์ เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง เคยเป็นนักฟุตบอลฝีเท้าดีของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ระหว่างรับราชการเป็นอธิบดีกรมสหกรณ์ได้เคยวิ่งเร็วชนะเลิศในบรรดาข้าราชการสูงอายุ พระพิจารณ์พาณิชย์ไม่ค่อยได้เจ็บไข้ ปฎิบัติงานต่างๆ ได้ด้วยดีตลอดมา ในบั้นปลายชีวิต ในราวต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๑ สุขภาพเริ่มทรุดโทรมลงตามวัย แพทย์ได้ทำการตรวจรักษาเกี่ยวกับโรคหัวใจและยังคงรักษาตัวอยู่ที่บ้าน จนกระทั่งแพทย์แนะนำให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๒๑ วันรุ่งขึ้นที่ ๒๔ มิถุนายน ยังสนทนากับผู้ที่มาเยี่ยมเยียนได้อย่างดี หลังจากนั้นก็มีอาการมากชึ้น แต่ยังคงมีสติดีตลอดเวลา เนื่องจากระบบหายใจเกี่ยวกับปอดไม่ดีขึ้นจึงได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๒๑ เวลา ๐๓.๒๐น. ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมอายุได้ ๘๘ ปี ๑ เดือนเศษ

“….กล่าวทางด้านมหาวิทยาลัย ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนิสิตย่อมเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยอาจารย์จะต้องเรียนรู้ในนิสัยใจคอ ชีวิตความเป็นอยู่และพยายามช่วยเหลือขัดเกลาความประพฤติของนิสิตให้เป็นไปในทางที่ดีงาม ตลอดจนคอยระวังดูผลการศึกษาของเค้าด้วย เมื่อเห็นสมควรจะช่วยเหลือส่งเสริมหรือแก้ไขอย่างไร ก็พึงทำให้สมกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ว่า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา ควรอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ ได้แก่ ๑.คำแนะนำดี ๒.ให้เรียนดี ๓.บอกศิลปะให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง ๔.ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง ๕.ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย(คือศิษย์จะไปไหนในทิศไหนก็ไม่อดอยาก)....”

พระพิจารณ์พาณิชย์
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: พระพิจารณ์พาณิชย์ (พิจารณ์ ปัณยวณิช) ต้นตระกูลปัณยวณิช

โพสต์โดย ภาษาสยาม » ศุกร์ 23 ธ.ค. 2022 1:18 pm

คำนิยมถึงพระพิจารณ์พาณิชย์ จาก อาจารย์มานิตย์ กิจไพฑูรย์
ซึ่งเขียนบอกเล่าถึงความเมตตาของพระพิจารณ์พาณิชย์ต่อศิษย์และผู้ใต้บังคับบัญชา
ซึ่งได้ยืนยันว่า ทุกคนล้วนรักและเคารพพระพิจารณ์พาณิชย์และเรียกว่า "คุณพ่อ"
227467.jpg
227467.jpg (38.76 KiB) เปิดดู 4316 ครั้ง

227468.jpg
227468.jpg (42.79 KiB) เปิดดู 4316 ครั้ง

227469.jpg
227469.jpg (45.26 KiB) เปิดดู 4316 ครั้ง

227470.jpg
227470.jpg (43.93 KiB) เปิดดู 4316 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: พระพิจารณ์พาณิชย์ (พิจารณ์ ปัณยวณิช) ต้นตระกูลปัณยวณิช

โพสต์โดย ภาษาสยาม » ศุกร์ 23 ธ.ค. 2022 1:19 pm

227471.jpg
227471.jpg (40.95 KiB) เปิดดู 4316 ครั้ง

227472.jpg
227472.jpg (37.01 KiB) เปิดดู 4316 ครั้ง

ประกาศคณะเศรษฐศาสตร์ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานวันเปิดตึกพิจารณ์พาณิชย์
227474.jpg
227474.jpg (29.43 KiB) เปิดดู 4316 ครั้ง

227475.jpg
227475.jpg (17.27 KiB) เปิดดู 4316 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: พระพิจารณ์พาณิชย์ (พิจารณ์ ปัณยวณิช) ต้นตระกูลปัณยวณิช

โพสต์โดย ภาษาสยาม » จันทร์ 13 มี.ค. 2023 7:35 am

ลูกหลานร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ คุณย่าหนุน นางธนา ปัณยวณิช
วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๓ ณ วัดราชนัดดารามวรวิหาร
364303_2.jpg
364303_2.jpg (104.32 KiB) เปิดดู 3112 ครั้ง

364301_2.jpg
364301_2.jpg (97.89 KiB) เปิดดู 3112 ครั้ง

รวมญาติ..ร่วมรับประทานอาหาร ร้านมาเรียกาเด้น ราชพฤกษ์
272659_2.jpg
272659_2.jpg (96.01 KiB) เปิดดู 3112 ครั้ง

โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร
270618_2.jpg
270618_2.jpg (98.87 KiB) เปิดดู 3107 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: พระพิจารณ์พาณิชย์ (พิจารณ์ ปัณยวณิช) ต้นตระกูลปัณยวณิช

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 04 มิ.ย. 2023 6:46 pm

บุตรคนแรกของพระพิจารณ์พาณิชย์ พลตำรวจตรี สุนิต ปัณยวณิช
ภาพขณะดำรงตำแหน่ง ผู้กำกับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ คนที่ ๘
ตำแหน่งขณะนั้น คือ พ.ต.อ.สุนิต ปัณยวณิช (พ.ศ.๒๕๐๒ –๒๕๐๓)
397579_2.jpg
397579_2.jpg (63.29 KiB) เปิดดู 2348 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

ย้อนกลับ

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 60 ท่าน

cron