กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 18 เม.ย. 2019 9:25 pm

เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๙ แม่เจ้าหม่อมราชวงศ์รถแก้วราชเทวี และเจ้าดรุณดารา ณ ลำพูน

65516.jpg
65516.jpg (56.82 KiB) เปิดดู 7427 ครั้ง


ครอบครัวของเจ้าราชดนัย (เจ้ายอดฟ้า ณ น่าน) โอรสเจ้าหลวงเมืองน่าน และเจ้าหญิงสุพรรณวดี เทพวงค์ ธิดาเจ้าหลวงเมืองแพร่
65510.jpg
65510.jpg (78.27 KiB) เปิดดู 7427 ครั้ง

เจ้าราชดนัย (ยอดฟ้า ณ น่าน) หรือ เจ้าน้อยยอดฟ้า เจ้าราชดนัยแห่งนครน่าน อดีตพระยาราชบุตรแห่งนครแพร่ และเป็นราชโอรสในพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๓ กับแม่เจ้ายอดหล้า

เจ้าน้อยยอดฟ้า เสกสมรสกับเจ้าหญิงสุพรรณวดี เทพวงศ์ ราชธิดาในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย กับแม่เจ้าบัวไหล เจ้าน้อยยอดฟ้า มีตำแหน่งเดิมเป็น พระยาราชบุตร พระยาราชบุตรนครแพร่ และรับราชการเป็นนายตำรวจอยู่ในเมืองนครแพร่ มียศเป็น ร้อยตำรวจเอกพระยาราชบุตร ต่อมาปีพ.ศ.๒๔๔๖ ภายหลังจากกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้าบิดาได้ขอย้ายพระยาราชบุตรไปรับราชการที่เมืองนครน่าน และขอรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าราชดนัย เจ้าราชดนัยแห่งนครน่าน ท่านจึงได้พาครอบครัวไปพำนักอยู่นครน่าน จึงกระทั่งถึงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๐ เจ้าราชดนัยป่วยเป็นโรคฝีในปอด ถึงแก่กรรมเมื่อชนมายุได้ ๔๗ ปี
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 18 เม.ย. 2019 9:30 pm

ธิดาเจ้าหลวงเมืองแพร่
เจ้ากาบคำ เจ้าเวียงชื่น เจ้าสุพรรณวดี (ยืน) เจ้ายวงคำ และเจ้าหอมนวล



65502.jpg
65502.jpg (148.47 KiB) เปิดดู 7427 ครั้ง


เจ้านิรมิต สิริสุขะ ทายาทเจ้าเมืองน่าน คุณแม่ของเชอร์รี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ และปู้เป้ รามาวดี
เจ้านิรมิตเป็นธิดาของเจ้าคำนพ มหาวงศนันท์ และเจ้าบุญตุ้ม มหาวงศนันท์ (สกุลเดิม ณ น่าน) โดย เจ้าบุญตุ้ม นั้นเป็นธิดาในเจ้าอุปราชสิทธิสาร ณ น่าน ผู้เป็นโอรสในเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๖๒
ไฟล์แนป
jaonang.jpg
jaonang.jpg (68.66 KiB) เปิดดู 7375 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 14 ส.ค. 2019 11:14 pm

ความรักอันมีต้นเหตุมาจากการเมือง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ แห่งราชวงศ์จักรี และพระราชชายาดารารัศมี เจ้าหญิงล้านนา

เจ้าดารา_resize.jpg
เจ้าดารา_resize.jpg (60.72 KiB) เปิดดู 7155 ครั้ง


เจ้าดารารัศมี พระราชชายา มีพระนามเดิมว่า "เจ้าดารารัศมี" พระนามลำลองเรียกกันในหมู่พระประยูรญาติว่า "เจ้าอึ่ง" ประสูติเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา (หากนับทางเหนือ เป็นเดือน ๑๐) หรือตรงกับวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ เมื่อเวลา ๐๐.๓๐ น.เศษ ณ คุ้มหลวงกลางเวียง นครเชียงใหม่ (ที่ตั้งของ "ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิม) เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์กับแม่เจ้าเทพไกรสรพระมหาเทวี ซึ่งแม่เจ้าเทพไกรสรนั้นเป็นพระราชธิดาในพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ และแม่เจ้าอุสาห์ พระมหาเทวี เจ้าดารารัศมีมีพระเชษฐภคินีร่วมพระโสทรหนึ่งพระองค์ คือ เจ้าจันทรโสภา

เมื่อทรงพระเยาว์ เจ้าดารารัศมีทรงพระอักษรทั้งฝ่ายล้านนา สยาม และภาษาอังกฤษ จนแตกฉาน ทั้งยังได้ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ จนนับได้ว่าทรงเป็นผู้รอบรู้ในด้านขนบประเพณีอันเก่าแก่เหล่านั้นดีที่สุดคนหนึ่งทีเดียว ในด้านการกีฬานั้นเล่า ก็โปรดการทรงม้าเป็นอย่างยิ่ง

เหตุแห่งการเสด็จเข้าวังหลวง

หลังจากอังกฤษได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองพม่าแล้ว อังกฤษได้พยายามขยายอิทธิพลเข้ามายังนครเชียงใหม่และหัวเมืองเหนือ โดยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรได้ส่งราชทูตมาทูลขอเจ้าดารารัศมี พระราชธิดาพระองค์เล็กอันประสูติแต่แม่เจ้าเทพไกรสรมหาเทวีในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม ในเวลานั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ทรงมีรับสั่งกราบทูลตอบกลับไปว่าอย่างไร โดยสมเด็จพระราชินีนาถได้พระราชทานเงื่อนไขว่า หากยกเจ้าหญิงดารารัศมีให้เป็นพระราชธิดาบุญธรรมในสมเด็จพระราชินีนาถแล้วไซร้ เจ้าหญิงดารารัศมีจะได้ทรงครองพระอิสริยยศในทางราชการเป็นภาษาอังกฤษว่า "Princess of Siam" เทียบเท่ากับพระราชโอรส-พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยามทุกประการและเวียงพิงค์เชียงใหม่จะได้มีอำนาจมากกว่าเดิมอีกด้วย แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลว่า หากเจ้าหญิงดารารัศมีได้เป็นพระราชธิดาบุญธรรมในสมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งอังกฤษแล้ว นครเชียงใหม่อาจจะต้องกลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษไป เนื่องจากในสมัยนั้นมีการล่าอาณานิคมเป็นเมืองขึ้นตามประเทศต่างๆ แม้ว่าจะเป็นข้อเสนอที่ดูผิวเผินเพียงแค่เจรจาไมตรี หากมองดูลงไปให้ลึกซึ้งอังกฤษต้องการนครเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นเช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง (พม่า แล รัฐฉานหรือ เมิงไต นั่นเอง) อย่างไรก็ตาม ความดังกล่าวได้ทราบถึงพระเนตรพระกรรณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร (เวลานั้นดำรงตำแหน่งเทียบได้กับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในภาคพายัพ) ได้อัญเชิญพระกุณฑล (ตุ้มหู) และพระธำมรงค์เพชร ไปพระราชทานเป็นของเฉลิมพระขวัญแก่เจ้าหญิงดารารัศมี นัยว่าเป็นของทรงหมั้นนั่นเอง รวมทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์ฯ พระราชทานเจ้าหญิงดารารัศมีตามแบบอย่างเจ้านายใน "ราชวงศ์จักรี" เป็นกรณีพิเศษ (ปล. แม่เจ้าเทพไกรสรพระมหาเทวี พระราชชนนีได้สิ้นพระชนม์ล่วงลับไปในปี ๒๔๒๖ นี้เอง) คล้อยหลัง ๓ ปี ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๙ (ตรงกับ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ อัฐศก จุลศักราช ๑๒๔๘) ในปี ๒๔๒๙ นั้น พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้เสด็จลงมายังกรุงเทพฯ เพื่อร่วมในพระราชพิธีลงสรง และสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เจ้าหญิงดารารัศมีได้โดยเสด็จพระราชบิดาลงมากรุงเทพฯ ในครั้งนี้ด้วย และได้รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอม ตำแหน่งพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เลยประทับอยู่ ณ กรุงเทพพระมหานครนับแต่นั้นมา

images.jpg
images.jpg (7.81 KiB) เปิดดู 7155 ครั้ง


เหตุแห่งการเมืองไปสู่ความรักระหว่างสองพระองค์

เมื่อพระองค์เสด็จเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวัง พระราชบิดาได้พระราชทานเงินค่าตอไม้ (ค่าสัมปทานไม้สักในเขตแคว้นล้านนา ซึ่งตอนนั้นถือกันว่าป่าไม้สักทั้งหมดในดินแดนล้านนาเป็นของพระเจ้านครเชียงใหม่ทั้งสิ้น จะยกประทานแก่ผู้ใดก็ได้ ในกรณีนี้ทรงยกผลประโยชน์เป็นค่าสัมปทานประทานพระราชธิดา) เพื่อสร้างพระตำหนักขนาดใหญ่ขึ้นใหม่ในเขตพระราชฐานชั้นใน ในพระบรมมหาราชวังเพื่อเป็นที่ประทับของ เจ้าจอมเจ้าดารารัศมี และข้าราชบริพารในพระองค์ ในระหว่างที่ประทับอยู่ใน พระบรมมหาราชวัง ทรงดำรงพระองค์อย่างเรียบง่าย มิได้สนพระทัยต่อการถูกมองพระองค์ว่าเป็น "เจ้าหญิงเมืองลาว" แต่ประการใด ทรงให้ข้าราชบริพารในพระตำหนักแต่งกายด้วยผ้าซิ่นแบบล้านนา เหมือนเมื่อครั้งที่ยังประทับอยู่ ณ คุ้มหลวงนครเชียงใหม่ทุกประการ รวมทั้งโปรดให้ให้ศึกษาศิลปะดนตรีไทย ดนตรีสากล การขับร้อง และการฟ้อนรำ ทั้งนี้ เจ้าจอมเจ้าดารารัศมีสามารถทรงเครื่องดนตรีได้หลากหลายชนิด แต่ที่โปรดและทรงได้ถนัดที่สุดคือ จะเข้ เจ้าจอมเจ้าดารารัศมี ยังทรงสนพระทัยในการถ่ายรูปซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ในสมัยนั้น นอกเหนือไปจากพระปรีชาสามารถด้านการทรงม้า (ปล.ใช้คำราชาศัพท์กับพระองค์ แม้ว่าขณะนั้นยังทรงเป็นเพียงเจ้าจอมพระสนมเอก ก็เพราะว่าทรงประสูติในพระฐานันดรศักดิ์อันสูงส่งเป็นถึงพระราชธิดาในพระเจ้านครเชียงใหม่ซึ่งเป็นพระเจ้าประเทศราช ประสูติแต่พระมหาเทวีเอกอัครมเหสี ซึ่งก็เป็นเจ้าหญิงที่สูงศักดิ์มาแต่เดิม คือ แม่เจ้าเทพไกรสรมหาเทวี พระราชชนนีในเจ้าจอมเจ้าดารารัศมีเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พระเจ้านครเชียงใหม่พระองค์ที่ ๖ ประสูติแต่แม่เจ้าอุสาห์มหาเทวี องค์อัครมเหสีเช่นกัน แลแม่เจ้าอุสาห์มหาเทวี นั้นเล่าก็ประสูติเป็นพระราชธิดา ในพระเจ้ามโหตรประเทศ พระเจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ ๕ กับ แม่เจ้าสุวรรณคำแผ่น มหาเทวี องค์อัครมเหสีอีกด้วย นับว่าทรงมีสายราชตระกูลสูงยิ่งทั้งสองฝ่าย คือทรงเป็นพระราชธิดาในพระเจ้านครเชียงใหม่กับ แม่เจ้ามหาเทวี อัครมเหสี และพระชนนี กับพระอัยกี (ยาย) ก็ยังเป็นพระราชธิดาในพระเจ้านครเชียงใหม่กับมหาเทวี อัครมเหสีเช่นเดียวกัน นับว่าทรงเป็นราชนารีที่สืบเชื้อสายขัตติยะอย่างเข้มข้นสืบเนื่องกันมาถึง๓ชั่วพระองค์ จึงนับว่าทรงมีพระชาติกำเนิดสูงส่งอย่างยิ่ง) จึงสมควรที่จะใช้คำราชาศัพท์กับพระองค์ แม้ว่าธรรมเนียมของกรุงเทพฯ จะห้ามไม่ให้ใช้คำราชาศัพท์กับบุคคลนอกราชวงศ์จักรีก็ตามที

ขณะนั้นยังทรงเป็นเพียงเจ้าจอมพระสนม ยังไม่ได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้านายในราชวงศ์จักรี จนกระทั่งปี ๒๔๕๑ ที่เจ้าจอมมารดาเจ้าดารารัศมีมีพระประสงค์จะเสด็จกลับไปเยือนนครเชียงใหม่ รัชกาลที่ ๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเจ้าจอมมารดาเจ้าดารารัศมี ขึ้นเป็นพระมเหสีอีกพระองค์หนึ่ง ดำรงพระอิสริยยศ "พระราชชายา" และดำรงฐานันดรศักดิ์เจ้านายแห่งพระราชวงศ์จักรีนับแต่นั้น ถึงแม้จะทรงศักดิ์เป็นพระมเหสีในตำแหน่งพระราชชายา แต่กระบวนเสด็จพระราชดำเนินคืนสู่นครเชียงใหม่ครั้งนั้น รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการพระราชทานอย่างเต็มตามโบราณราชประเพณีเสมอด้วยทรงครองพระอิสริยยศพระมเหสีในตำแหน่ง "พระอัครชายาเธอ" เลยทีเดียว ดังปรากฏความตามสำเนาพระราชหัตถเลขาที่พระราชทานไปยังผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดกระบวนเสด็จครั้งนั้นอย่างชัดเจน

ด้วยการดำรงพระองค์อย่างเรียบง่าย หากแต่แฝงไว้ด้วยพระปรีชาญาณ ความมุ่งมั่น และความเชื่อมั่นในพระองค์ กอปรกับความจงรักภักดีที่ทรงมีต่อพระราชสวามี จึงเป็นที่โปรดปรานฯ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในที่สุดเจ้าารารัศมี ซึ่งขณะนั้นยังทรงดำรงตำแหน่ง "เจ้าจอมดารารัศมี" ก็ทรงพระครรภ์ และมีพระประสูติกาลพระราชธิดา เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ทรงพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี (อ่านว่า วิ-มน-นาก-นะ-พี-สี) ในคราวนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่ง "เจ้าจอมดารารัศมี" ขึ้นที่ "เจ้าจอมมารดาดารารัศมี"

พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี หรือพระนามเรียกขานในหมู่ข้าราชบริพารว่า "เสด็จเจ้าน้อย" เป็นที่โปรดปรานฯ ใน พระราชบิดา ยิ่งนัก ด้วยทรงเป็นเจ้าหญิงพระองค์น้อยที่ฉลองพระองค์ซิ่นแบบเจ้านายเมืองเหนือตลอดเวลา เป็นที่น่าเสียดายว่า พระธิดามีพระชันษาเพียง ๓ ปี ๔ เดือน ๑๘ วัน ก็ได้ประชวรและสิ้นพระชนม์ลง เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๕ (ต่อมาทรงได้รับโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามพระอัฐิขึ้นเป็น "พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี" "พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี" และ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี" ตามลำดับ)

การสิ้นพระชนม์ของพระราชธิดาในคราวนี้นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสียพระทัยยิ่งนัก ทรงมีรับสั่งกับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวโทษพระองค์เอง ว่า "ทรงเสียพระทัยยิ่งนัก ที่ทรงมิได้สถาปนาพระยศพระราชธิดาให้เป็น "เจ้าฟ้า" ตามศักดิ์แห่งพระมารดาซึ่งเป็นเจ้าหญิงพระราชธิดาในพระเจ้าประเทศราช เป็นเหตุให้พระธิดาสิ้นพระชนม์" แต่สำหรับเจ้าจอมมารดาดารารัศมีแล้วนั้น ทรงเสียพระทัยอย่างที่สุด ไม่สามารถรับสั่งเป็นคำพูดได้ ทรงฉีกทำลายพระฉายาลักษณ์ที่ "พระราชสวามี" ประทับร่วมอยู่กับ "พระองค์" และ "พระราชธิดา" เสียจนหมดสิ้น อย่างไรก็ตาม หลังจากทรงได้รับลายพระหัตถเลขา จากพระราชบิดาที่ส่งมาประทานแล้ว ทำให้ทรงมีกำลังพระทัยดีขึ้นโดยลำดับ ต่อมาภายหลัง เจ้าจอมมารดาดารารัศมีมิได้มีพระประสูติกาลอีกเลย ทั้งที่โดยความจริงแล้วนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระทัยเอาไว้ก็ตาม ไม่ว่าจะอย่างไร เจ้าจอมมารดาเจ้าดารารัศมี ก็ยังทรงมุ่งมั่นรับใช้เบื้องพระยุคลบาท และถวายความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระบรมราชสวามีอย่างหาที่สุดไม่ได้

โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น "เจ้าดารารัศมี พระราชชายา"

เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศ "เจ้าจอมมารดา เจ้าดารารัศมี" ขึ้นเป็นเจ้านายในราชวงศ์จักรี มีพระอิสริยยศเป็นพระมเหสีพระองค์หนึ่ง ออกพระนามว่า "เจ้าดารารัศมี พระราชชายา" นับเป็นพระอิสริยยศในตำแหน่งพระมเหสีเทวีที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จึงนับได้ว่า "เจ้าดารารัศมี พระราชชายา" เป็นพระมเหสีลำดับที่ ๕ ในเวลานั้น (ลำดับที่ ๑-๔ มีรายพระนามดังนี้ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี และพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ไม่นับ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอัครวรราชกัลยา และพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ สมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์แรกและพระมเหสีทั้ง ๒ พระองค์ที่สวรรคตและ สิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้านั้นแล้ว)

การเสด็จประพาสนครเชียงใหม่

นับแต่พระราชชายาเสด็จมาประทับในพระบรมมหาราชวัง ก็มิได้เสด็จกลับเชียงใหม่อีกเลย แม้คราวที่ พระราชบิดาถึงพิราลัยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ก็ตาม ครั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ พระเชษฐาต่างพระมารดา (ก็คือเจ้าอินทวโรรสนั้นมิได้ประสูติแต่แม่เจ้าพระมหาเทวีดังเช่นพระราชชายาฯ) ได้ลงมาเฝ้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชชายาจึงกราบถวายบังคมขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสด็จนิวัตินครเชียงใหม่ เพื่อทรงเยี่ยมพระประยูรญาติพร้อมกับเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ พระเชษฐา ในครานั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาต ด้วยไม่ทรงต้องการขัดพระทัยพระราชชายา

อย่างไรก็ตาม การเสด็จพระราชดำเนินของพระราชชายา ในคราวนี้นั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเป็นห่วงและเอาพระทัยใส่ยิ่งนัก ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชสวามี เสด็จพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน ตลอดจนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาส่งเสด็จ พระราชชายาฯเพื่อทรงประทับในขบวนรถไฟพระที่นั่ง ณ สถานีรถไฟสามเสน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ พระราชโอรสในเจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่ โดยเสด็จพระราชดำเนินไปส่งพระราชชายาฯ ถึงตำบลปากน้ำโพ นครสวรรค์ ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของทางรถไฟสายเหนือ ตลอดการเสด็จพระราชดำเนิน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดข้าราชการเป็นหมวดหมู่ กรม กองโดยเสด็จพระราชชายาฯ มีธงดารารัศมี ประจำพระองค์พระราชชายาฯ ประดับ เพื่อแสดงถึงฐานะของพระมเหสีอันสูงศักดิ์ และให้ข้าราชการ กรมการเมืองทั้งหลายตลอดเส้นทางที่เสด็จพระราชดำเนินกลับคืนนครเชียงใหม่นั้นจัดเตรียมการรับเสด็จเสมือนหนึ่งว่าทรงดำรงตำแหน่ง พระอัครชายาเธอ ทีเดียว เมื่อ พระราชชายาฯ เสด็จถึงปากน้ำโพ ได้เสด็จพระราชดำเนินต่อโดยทางชลมารค ทรงประทับในเรือเก๋งประพาส มีเรือในขบวนเสด็จกว่า ๕๐ ลำ มีการปักธงทิวเป็นขบวนไปตามลำน้ำปิง เมื่อผ่านเขตอำเภอ จังหวัด มณฑลใด มีเจ้าหน้าที่ปลูกพลับพลาประทับร้อน ประทับแรม และคอยรับเสด็จตลอดเขตของตนทุกแห่งทั่วไป

การเดินทางเป็นไปอย่างล่าช้า ใช้เวลานานถึง ๒ เดือน ๙ วัน จึงเสด็จพระราชดำเนินถึงยังนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๒ ณ ที่นั้น เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ ซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ พร้อมด้วย พระประยูรญาติ เจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการทหาร พลเรือน ประชาชนแต่ละอำเภอ คหบดีทั่วทั้งดินแดนล้านนา ต่างจัดขบวนแห่ของตน มีขบวนทหาร ตำรวจ ข้าราชการขี่ม้าเข้าแถวนำ แต่งขบวนเป็นภาพคนสมัยโบราณ คนป่า เรื่องชาดกรามเกียรติ์ และนิทานพื้นบ้าน มีขบวนกลองชนะ กลองสะบัดไชย กลองเมือง แตรวง กลองพม่า ต่อกันเป็นระยะๆ ตามหน้าบ้านมีการตั้งเครื่องบูชารายทางมิได้ขาด จนกระทั่งถึงที่ประทับที่คุ้มหลวงนครเชียงใหม่ ซึ่งจัดเป็นข้างหน้าข้างใน มี สนม กรมวังกำกับอย่างใน พระบรมมหาราชวังทุกประการ และมีทหารกองเกียรติยศตั้งคอยรับเสด็จพระราชชายาฯอย่างสง่างาม

ระหว่างประทับที่เชียงใหม่ พระราชชายาฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพระประยูรญาติยังนครลำพูน และ นครลำปาง และได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในที่ต่างๆ รวมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระธาตุ พระพุทธบาท และปูชนียสถานสำคัญต่างๆอย่างทรงสำราญพระราชหฤทัย ตลอดเวลาในการเสด็จประพาสนครเชียงใหม่ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชโทรเลข และพระราชหัตถเลขา แสดงความรักอาทรห่วงใย มาพระราชทานพระราชชายาฯไม่ขาด และ พระราชชายาฯ ก็ทรงพระโทรเลข หรือ ลายพระหัตถ์ตรัสเล่าเรื่องราวต่างๆถวายกลับไปโดยตลอด

การเสด็จนิวัติพระนคร
พระราชชายาฯ ประทับอยู่ ณ นครเชียงใหม่ได้หกเดือนเศษ ก็ถึงคราวเสด็จนิวัติ พระนคร ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเตรียมการรับเสด็จพระราชชายาฯอย่างยิ่งใหญ่ มีขบวนรับเสด็จอย่างมืดฟ้ามัวดิน ขบวนเรือเสด็จประกอบด้วยเรือถึง ๑๐๐ ลำเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประทับเรือยนต์หลวงมารอรับเสด็จพระราชชายาฯที่อ่างทอง แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมกัน ๒ พระองค์ไปประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน ในการนี้ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสร้อยพระกรเพชรล้ำค่าเป็นของพระขวัญ ทรงประทับแรมอยู่ ณ พระราชวังบางปะอิน เป็นเวลา ๒ ราตรี จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงพระนคร ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดพระราชทานเลี้ยงฉลองขึ้นตำหนัก ตำหนักสวนฝรั่งกังไส (พระราชวังดุสิต) ซึ่งเป็นตำหนักใหม่ที่โปรดเกล้าฯ สร้างพระราชทานพระราชชายาฯเป็นพิเศษ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้านายฝ่ายเหนือ ที่โดยเสด็จพระราชชายาฯลงมากรุงเทพฯครั้งนี้ร่วมโต๊ะเสวยด้วยทุกองค์

"วันวิปโยค" พระสวามีเสด็จสวรรคต

หลังจากเสด็จนิวัติ กรุงเทพมหานคร|พระนคร พระราชชายาฯ ได้ทรงประทับอยู่ในพระราชวังดุสิต อย่างสำราญพระราชหฤทัยที่ได้ทรงกลับมารับใช้เบื้องพระยุคลบาท พระราชสวามีได้เพียง ๑๐ เดือน ก็ต้องทรงประสบกับเหตุวิปโยคคราใหญ่ในพระชนม์ชีพอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชสวามี ได้เสด็จสวรรคต ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ นับรวมเวลาที่ พระราชชายาฯ ได้ถวายการรับใช้เบื้องพระยุคลบาท เป็นเวลา ๒๓ ปีเศษ

images (1).jpg
images (1).jpg (5.99 KiB) เปิดดู 7155 ครั้ง


นับแต่สิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชชายาฯ ยังทรงประทับใน พระราชวังดุสิต มาโดยตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๕๗ จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกราบถวายบังคมลา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเสด็จนิวัตินครเชียงใหม่เป็นการถาวร เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ก็เสด็จพระราชดำเนินคืนสู่นครเชียงใหม่ โดยเสด็จออกเดินทางเมื่อ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ และเสด็จพระราชดำเนินถึงยังนครเชียงใหม่ในวันที่ ๒๒ เดือนเดียวกัน ได้เข้าประทับยัง คุ้มท่าเจดีย์กิ่ว ริมแม่น้ำปิง ตั้งแต่นั้น

อ้างอิง : จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, นายแพทย์. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๕
ภราดร ศักดา, เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๗ เจ้าดารารัศมีถวายตัวเป็นพระราชชายา ร.๕, คอลัมน์ เปิดประตูลานนา, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
หนานอินแปง. พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เจ้าหญิงแห่งเวียงพิงค์สู่ราชสำนักอย่างทรงเกียรติ
วิกิพีเดีย
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 27 ต.ค. 2019 9:05 pm

“ความรักของเจ้าอุบลวรรณา” ในหนังสือเรื่อง “เดินทางหนึ่งพันไมล์ บนหลังช้าง ในรัฐฉาน”
U-bonwanna.jpg
U-bonwanna.jpg (135.88 KiB) เปิดดู 6971 ครั้ง


นายแฮลเล็ต กล่าวถึงการที่ เจ้าอุบลวรรณา ได้พา “เจ้าสุขเกษม” ซึ่งเป็นลูกชายคนหัวปี พร้อมด้วยหลานสาว คือเจ้าดารารัศมี ไปเยี่ยมเขา โดยเด็กทั้งสอง น่าจะมีอายุห่างกันสัก ๒ ปี แสดงว่าตอนนั้นเจ้าดารารัศมีอยู่ในความดูแลของเจ้าน้า แทนที่ เจ้าแม่ ซึ่งพิราลัยแล้ว
“เจ้าสุขเกษม” ที่นายแฮลเล็ต เอ่ยนามคนนี้ เป็นคนละคนกับ “เจ้าน้อยศุขเกษม” ในตำนานรักมะเมียะ ซึ่งเป็นโอรสของพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์สุดท้าย


นายแฮลเล็ต ยังบันทึกต่อไปอีกด้วยว่า บิดาของเจ้าสุขเกษมนั้นเป็นสามัญชน ไม่ได้มีเชื้อเจ้า จึงไม่เป็นที่ยอมรับ ของชายาพระเจ้าเชียงใหม่ (เจ้าทิพเกสร) เท่าใดนัก ส่วนธิดาของเจ้าอุบลวรรณา เพียงองค์เดียวที่เกิดจากสามีคนแรก ได้สมรสกับเจ้าสิงห์คำ ลูกคนโต ของ เจ้าราชบุตร

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ แฮลเล็ต บันทึกเรื่องความรักของเจ้าอุบลวรรณา กับ ชายธรรมดา ที่ไม่ได้เป็นพวกเจ้าอีกหลายคน ถือเป็นเรื่องน่าสนใจ แต่นักประวัติศาสตร์กระแสหลัก พยายามไม่พาดพิงถึงทั้งๆ ที่น่าจะหยิบยกมาเป็นอุทาหรณ์ ของเจ้าหญิงใจเด็ด ที่กล้าแหกกฎมณเฑียรบาล

หลังจากเจ้ามหาวงศ์ และ พ่อของเจ้าสุขเกษมแล้ว เจ้าอุบลวรรณาก็แอบแต่งงานเงียบๆ กับพ่อค้าไม้สักชาวพม่า ซึ่งเป็นคนในบังคับอังกฤษผู้หนึ่ง แต่แล้วพระประยูรญาติ ก็ใช้กฎเหล็กของฐานันดรมากีดกั้นสกัดรักครั้งที่ ๓ไปให้พ้นจากวงจรชีวิต

เจ้าอุบลวรรณาไม่ยอมแพ้ต่อชะตากรรม ยังปลูกต้นรักใหม่ กับพ่อค้าพม่าสามัญชนอีกคน และกำลังวางแผนแอบนัดพบกันในคืนเดือนมืด แต่แล้ว หม่องผู้นั้นก็ถูกวิสามัญฆาตกรรม แบบ “ฆ่าตัดตอน” เสียก่อน เจ้าอุบลวรรณาเป็นเดือดเป็นแค้นยิ่งนักเฝ้าตามสืบหา ตัวฆาตกรด้วยความฟูมฟายอยู่นานหลายปี ในที่สุดก็ครองโสดเป็นหม้าย เนื้อหอมตลอดกาล

เจ้าอุบลวรรณานั้นไม่ใช่หญิงธรรมดา ชีวิตของท่านช่างชวนฝัน ท่านเป็นคนฉลาดและค้าขายเก่งอันดับหนึ่ง มีที่ดินมากมาย ป่าไม้สักที่กว้างใหญ่ไพศาล มีช้าง บ่าวไพร่และข้าทาส ท่านมีความรักที่ร้อนแรงดังเช่น “พระอาทิตย์ในฤดูร้อน”

(อ้างอิง: คอลัมน์ ปริศนาโบราณคดี, มติชนสุดสัปดาห์)

โกศพระศพ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ต่างบนราชรถน้อย แห่ขบวนจากคุ้มเจดีย์กิ่ว มายังพระเมรุ ณ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๗๗
39953.jpg
39953.jpg (36.25 KiB) เปิดดู 6865 ครั้ง


39954.jpg
39954.jpg (17.53 KiB) เปิดดู 6865 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 08 ธ.ค. 2019 1:53 pm

นายพลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน ประทับบนช้าง ในขบวนนำเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พระราชดำเนินเข้าเมืองเชียงใหม่ วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๙ ในภาพคือบริเวณถนนท่าแพ
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
1149.jpg
1149.jpg (43.1 KiB) เปิดดู 6850 ครั้ง

มหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย ซึ่งหลังจากเจ้าหลวงบุญวาทย์วงษ์มานิต ถึงแก่พิราลัย รัฐบาลสยามก็ไม่แต่งตั้ง ผู้ใดมาเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางอีกเลย
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
1143.jpg
1143.jpg (14.83 KiB) เปิดดู 6850 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 13 ธ.ค. 2019 6:38 pm

#พระราชชายาดารารัศมีกับพระปรีชาสามารถด้านการขี่ม้า
ถ้าหากจะเอ่ยถึงพระปรีชาสามารถของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีนั้นนับว่าเป็นมเหสีที่ทรงม้าเก่งที่สุดในบรรดามเหสีทุกพระองค์ ถ้าหากใครเคยผ่านไปแถวถนนวิภาวดีหรือแถวรังสิตจะเห็นป้ายในค่ายทหารที่อันเชิญพระนามของพระองค์ไปตั้งเป็นชื่อของสนามม้านั้นเพื่อเป็นเกียรติยศ ชื่อสนามม้ารัศมี [ข้อมูลจากเพจราชินี เจ้าจอม หม่อมห้าม ในอดีต]
0eec4e53e9d20224f5f0fccfe1705813.jpg
0eec4e53e9d20224f5f0fccfe1705813.jpg (18.17 KiB) เปิดดู 6814 ครั้ง

3684.jpg
3684.jpg (41.75 KiB) เปิดดู 6814 ครั้ง


เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (เจ้าบุญทวงศ์) เจ้าหลวงลำปาง พร้อมแม่เจ้าเมืองชื่น ชายา ธิดา และผู้ติดตาม
3686.jpg
3686.jpg (74.7 KiB) เปิดดู 6814 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 31 ธ.ค. 2019 9:45 pm

เจ้าน้อยค่ำคน(เจ้าผู้ชอบข่มเหงชาวบ้าน)ผู้อื้อฉาว ในตำนาน
10935.jpg
10935.jpg (37.96 KiB) เปิดดู 6734 ครั้ง

ชื่อจริงว่า "เจ้าน้อยคำคง" เป็นบุตรคนสุดท้องของเจ้าหญิงฟองสมุทร กับ เจ้าไชยวงศ์ เป็นคนที่ไม่กลัวใคร เป็นนักเลงหัวไม้ สร้างวีรกรรมมากมาย จนเจ้า หลวงเชียงใหม่ คือ เจ้ากาวิโรรสสุริยะวงศ์ และ เจ้าอินทวิชยานนท์ ต้องสั่งจำคุกจำคอกอยู่เป็นประจำ ช่วงที่ติดคุกมีงานขึ้นดอยสุเทพ ถูกปล่อยให้มาทำบุญ กลับไปเล่นการพนัน จนมีเรื่องต้องกลับเข้าคุกอีกรอบ บ้านท่านอยู่ใกล้วัด พระเณรตีกลอง เจ้าน้อยรำคาญนิมนต์เณรไปตีกลองที่บ้าน ตีห้ามหยุด ถ้าหยุดจะโดนเฆี่ยน อีกทั้งท่าน ยังอาฆาต เจ้ากาวิโรรสสุริยะวงศ์ เพราะมีความแค้นกัน เนื่องจากท่านเข้าใจว่าเจ้ากาวิโรรสสุริยะวงศ์ สั่งฆ่าพี่ชายท่าน คือ เจ้ามหาเทพ เจ้าน้อยคำคงเป็นคนที่เล่นของ วันใดของขึ้น คลั่งมากๆ บางครั้งก็แหกคุกเจ้าน้อยแผ่นฟ้า (เจ้าราชภาคินัย) ต้องตามจับ

เจ้าน้อยคำคง จะท้ายทายให้เข้ามาจับ ท่านขู่โดยการให้ลูกน้องเอาหอกดันก้นท่านขึ้นหลังช้าง ทำให้เจ้าน้อยแผ่นฟ้าไม่กล้าเข้าจับ ต้องให้เจ้ามหาวงศ์สันทราย ซึ่งเป็นพี่ชายท่าน จะเป็นคนมาจับตัวท่านเข้าคุกเอง บางครั้ง เจ้าน้อยคำคง ถูกส่งไปรบ กับเงี้ยว กะให้ตายให้ตายในสนามรบ แต่ท่านก็ ดันกลับมาได้ พร้อมกับกวาดต้อนเชลยมามากมาย มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านไปเมืองชายขอบ เมืองยวม ซึ่งเป็นเมืองของยายท่าน คือ แม่เจ้าตาเวย ชาวกะเหรี่ยงแดง ไปแม่น้ำคง (สาละวิน) หันก้นให้ฝรั่งในฝั่ง เมืองพม่ายิง แต่ฝรั่งยิงปืน ยิงเท่าไหร่ก็ไม่ออก ชื่อ "คำคง" เป็นชื่อที่เจ้าแม่ของท่านตั้งให้ ซึ่งมีชื่อคล้ายกัยเจ้าลุงของท่าน คือ เจ้าราชวงศ์คำคง (เจ้าพ่อเจ้าอินทวิทชยนนท์) ชื่อทั้งสองนี้เป็นอนุสรณ์ ความรักของเจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น กับ แม่เจ้าตาเวย ที่พบรักกันที่ฝั่งน้ำคง เจ้าหญิงฟองสมุทร เป็นธิดาเจ้าเศรษฐีคำฝั้น (เจ้าหลวงเชียงใหม่) กับแม่เจ้าตาเวย (ชาวกะเหรี่ยงแดง และเป็นเศรษฐีนีป่าไม้) ส่วนเจ้าไชยวงศ์เป็นบุตรคนโตของเจ้าหญิงศรีแก้ว และ เจ้า
มหาพรหม (เชียงตุง) เจ้าหญิงศรีแก้ว เป็นธิดาเจ้าน้อยกาวิละ บุตรเจ้านายพ่อเรือนบุตรเจ้าหนานทิพย์ช้าง เมืองลำปาง

เจ้าน้อยคำคง คนท่านเป็นคนสุดท้อง มีพี่น้อง คือ เจ้าจันทร์สม เจ้ามหาเทพ เจ้ามหาวงศ์สันทราย และ ท่านมีธิดา คือ เจ้าหญิงยวงแก้ว (เสียชีวิตที่กรุงเทพฯ โดดตึกตาย ขณะที่ตามพระราชยาเจ้าดารัศมี ไปอยู่ในวัง ด้วยเหตุ เล่นเพื่อน )

บั้นปลายชีวิต เจ้าน้อยคำคงท่านไม่ได้แก่ตายตามอายุขัย...ด้วยว่า ในสมัยที่ไปรบแถบๆ เมืองยาง เหล่านั้น ได้กวาดต้อนหมู่ยางมาเป็นลูกหาบ และ เอายางมาทำผามคน.. คือให้ยางขี่คอกันแบกหลังคาผาม.. ห้ามกระดุกกระดิก ใครกระดิดโดนหวายฟาด....ซึ่งการกระทำครั้งนั้น สร้างความเจ็บแค้นแก่ยางมาก จึงได้ตู้(ทำคุณไสย์ )ใส่เจ้าน้อยคำคน.. ก่อนที่ท่านจะตาย ได้อาเจียนเป็นเลือด และ มีสะจาเป็กแสง ที่ท่านฝังในตัวให้ข่ามคง...ออกมาจนหมด และ ก็ขาดใจตายในที่สุด
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับ

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 75 ท่าน

cron