กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย Namfar » พฤหัสฯ. 10 ธ.ค. 2015 4:43 pm

ข่าวลือทั่วนครเชียงใหม่ที่ว่าสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระเจ้ากรุงอังกฤษ ชาติมหาอำนาจทรงสู่ขอเจ้าหญิงดารารัศมี ราชบุตรีเจ้านครเชียงใหม่ ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม พร้อมทั้งมีพระราชดำริจะสถาปนาให้เป็นเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์อังกฤษ และเป็น “ทายาทเจ้านครเชียงใหม่ “ ที่จะครองนครต่อไปในอนาคต

K8120501-3.jpg
K8120501-3.jpg (26.42 KiB) เปิดดู 13437 ครั้ง



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อเจ้าหญิงดารารัศมี มากแท้สุดจะพรรณนา ฯ มีเรื่องบางกรณีที่มีเจ้านายฝ่ายหญิงระดับสูงของพระราชวงศ์เคยกล่าวประนามและสบประมาท หมิ่นลับหลังเจ้าดารารัศมี ซึ่งในขณะที่ไปรับราชการฝ่ายในเป็น “ เจ้าจอม “ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช ในพระราชสำนัก เมื่อเรื่องมาถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระราชดำรัสและตรัสตักเตือนสติบรรดาเจ้านายระดับสูงตลอดจนเจ้าจอมห้ามให้ทรงทราบความนัยและความสำคัญของเจ้าจอมดารารัศมี เจ้าหญิงแห่งนครเชียงใหม่ พระราชบุตรีของพระเจ้าอินทวิไชยยานนท์ กับเจ้าแม่ทิพย์ไกรสรมหาเทวี ผู้เป็นพระราชบุตรของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พระเจ้านครเชียงใหม่ที่ ๖ ไม่ใช่สามัญชน หาควรลบหลู่ไม่

พร้อมกับทรงอธิบายถึงเหตุการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจกำลังคิดแบ่งมณฑลภาคเหนือของกรุงสยามมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๖ นับตั้งแต่เจ้าหญิงดารารัศมี เพิ่งมีอายุ ๑๑ ชันษามาแล้ว และได้ทรงตรัสเล่าถึงแผนการของพวกข้าหลวงใหญ่อังกฤษผู้สำเร็จราชการแคว้นเชียงตุง ได้กราบบังคมทูล จะให้ควีนวิคตอเรีย พระเจ้ากรุงอังกฤษ ทรงสู่ขอเจ้าหญิงดารารัศมี ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม และให้เป็นทายาทเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และนับถือยกย่องให้เป็นเจ้านายในพระราชวงศ์ “ วินเซอร์ “ โดยสถาปนาเป็นพิเศษตามแผนจะยึดครองหัวเมืองประเทศราชในมณฑลพายัพ แต่พระเจ้าอินทวิไชยยานนท์ กับแม่เจ้าทิพย์ไกรสรไม่ทรงสนับสนุนและแสดงความจงรักภักดีต่อพระบรมวงศ์จักรี ไม่ปรวนแปรและเอนเอียงไปยุ่งกับพวกต่างชาติมหาอำนาจ มาตรแม้นพวกต่างชาติจะหวังดีอย่างไร ยกย่องอย่างไรก็จะไม่ขอรับความช่วยเหลือเกื้อกูลใด ๆ เพราะนับเป็นร้อยๆปีที่ผ่านมา พระราชวงศ์จักรีได้ช่วยคุ้มครองป้องกันภัยและสถาปนา ยกย่องบรรพชนของเจ้านายฝ่ายเหนือมาตลอดหลายชั่วคนแล้ว เป็นข้าในพระบรมราชวงศ์นี้จะเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นมิได้ นี่เป็นความดีของพระบิดาพระมารดาของเจ้าหญิงดารารัศมี แต่ถ้าพวกเจ้าอินทวิไชยยานนท์ผันแปรไป ยกเจ้าหญิงดารารัศมีให้เป็นพระราชธิดาบุญธรรมแล้วของควีนวิคตอเรีย พระเจ้ากรุงอังกฤษแล้ว การเมืองจะผันแปรรูปไปได้ทั้งนั้นก็ไม่ทราบได้ เพราะไทยเราไม่สามารถจะไปสู้รบกับอังกฤษได้เลยในขณะนั้น จึงขอให้ทุกคนรำลึกถึงข้อนี้บ้าง ขออย่ามองเจ้าหญิงดารารัศมีไปในแง่ร้ายเลย

พระประวัติของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีในสมัยพระเยาว์ชนมายุได้ ๑๑ ชันษา และมีข่าวเรื่องสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียจะทรงขอไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม ตามข่าวที่โจทย์กล่าวขานกันใน พ.ศ. ๒๔๒๖ – ๒๔๒๗ เป็นความจริงหรือไม่เพียงใดนั้น เรื่องดังกล่าวนี้ในสมัยที่เจ้าน้อยปิงเมือง ณ เชียงใหม่ อดีตนายอำเภอพร้าว จ. เชียงใหม่ คนแรกที่บุกเบิกสร้างอำเภอในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ นั้น ท่านได้มีชีวิตมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๘ อายุท่านได้ ๗๙ ปีแล้ว ท่านได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับสมเด็จพระจักรพรรดินีวิคตอเรีย พระมหากษัตริย์ของกรุงอังกฤษจะส่งเจ้าหญิงดารารัศมีต่อพระเจ้าอินทวิไชยยานนท์เป็นความจริงให้ผู้เขียนซึ่งท่านรักประดุจหลานสนิทของท่านคนหนึ่ง และท่านได้บรรยายถ่ายอุบัติกาลต่างๆ เกี่ยวกับชีวประวัติของเจ้านายฝ่ายเหนือในราชวงศ์ “ทิพย์จักราธิวงศ์” ให้ทราบพร้อมกับข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับการปกครองในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ อันเกี่ยวกับเมืองนครเชียงใหม่
ท่านเจ้าน้อยปิงเมือง ณ เชียงใหม่ ท่านเป็นนักครองรุ่นแรกของกระทรวงมหาดไทยที่ได้รับราชการเป็นนายอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่เป็นนักประวัติศาสตร์และนักจดบันทึกคนสำคัญในเหตุการณ์ต่างๆ ในอุบัติกาลที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง และกว่านั้นบรรพบุรุษของท่านคือ พระเจ้าเชียงใหม่ช้างเผือก น้อย ธรรมลังกาเป็นปู่ทวดของท่าน พระเจ้ามโหตรประเทศราชาคือ ปู่ของท่าน และเจ้าอุปราชน้อยปัญญาเป็นผู้รั้งรักษาการเจ้าเมืองเชียงแสน ในฐานะเป็นเจ้าอุปราชเป็นเจ้าบิดาของท่านได้เป็นนักจดบันทึกเหตุการณ์สืบๆ ต่อมาตลอดจนถึงตัวท่าน

สำหรับเรื่องเกี่ยวกับพระประวัติของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ท่านได้เล่าว่า ตอนนั้นใน พ.ศ. ๒๔๒๖ ท่านมีอายุย่างเข้า ๒๗ ปีแล้ว และได้เป็นมหาดเล็กอยู่กับพ่อเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ โอรสองค์กลางของพระเจ้าอินทวิไชยยานนท์ ซึ่งขณะดังกล่าวนี้เจ้าอินทวโรรสพระนามเดิมว่า เจ้าสุริยาเมฆะ ยังมีพระยศเป็น เจ้าสุริยวงศ์ อยู่ และช่วยราชการพระเจ้าอินทวิไชยยานนท์ ผู้เป็นพระบิดาท่านได้เล่าให้ฟังว่า

“งานโสกันต์ตัดจุกเจ้าดารารัศมีซึ่งมีพระชนม์ได้ ๑๑ ชันษานั้น เป็นความคิดของเจ้าพระยารัตนาธิเบศสมัยเป็นพระยาเทพประชุน ข้าหลวงใหญ่เมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๗ มาแล้ว ท่านเองได้ตั้งชื่อให้เจ้าหญิงองค์พี่ใส่นามว่า “จันทรโสภา” และองค์น้องว่า “ดารารัศมี” องค์พี่มีบุญน้อยสิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่อายุ ๕ ชันษา คงเหลือแต่องค์น้อง และท่านเจ้าคุณเทพประชุนแนะนำเสนอให้ไว้จุก เพราะเป็นเจ้านายชั้นสูง พระราชบุตรีของเจ้าผู้ครองนครและเป็น “เจ้า” ให้ถือเป็นแบบอย่างเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี พ่อเจ้าชีวิตเฒ่า (หมายถึง พระเจ้าอินทวิไชยยานนท์) ก็ถือปฏิบัติตามแบบทุกอย่าง ครั้นพระชนมายุได้ ๑๑ ชันษา ก็กระทำพิธีโสกันต์คือโกนจุกนั่นเอง เมื่อก่อนเจ้านายฝ่ายเหนือไม่เคยมีและไม่เคยทำมาก่อน และได้กระทำเฉพาะเจ้าดารารัศมีองค์เดียวเท่านั้น ภายหลังก็ไม่ปรากฏว่า พระราชบุตรีเจ้าผู้ครองนครคนใดกระทำพิธีดังกล่าวนี้อีกเลย

พอกระทำพิธีโสกันต์เสร็จไม่กี่วันเสียงลือเล่าอ้างกันไปในหมู่พวกหัวหน้าพวกชาวพม่าต่องซู่ไทยใหญ่ (เงี้ยว) และได้กระจายต่อไปยังบรรดาชนสามเผ่าดังกล่าว ซึ่งเป็นคนในบังคับรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งได้ครอบครองแคว้นเชียงตุงต่อแดนของไทยไว้หมดแล้ว ว่ากันว่า สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียจักรพรรดินีกรุงอังกฤษจะทรงขอรับเอาเจ้าหญิงดารารัศมีไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม จะยกย่องเสมอเจ้านายในพระราชวงศ์อังกฤษ ให้มียศเทียบเท่าพระองค์เจ้าและจะให้เป็น เจ้าหญิงแห่งนครเชียงใหม่และเรื่องนี้พระเจ้าอินทวิไชยยานนท์ ได้ทรงเรียก พวกเฮ็ดแมนอังกฤษ หัวหน้าชนชาติพม่า และต่องซู่ไทยใหญ่มาไต่ถามว่าได้ข่าวมาจากไหน ถึงข่าวลือดังกล่าวนี้แล้วลือกันไปทั้งบ้านทั้งเมืองไปจนถึงพสกนิกรชาวเชียงใหม่ ตลอดไปกระทั่งถึงพระยาราชเสนาเสือ พยัคฆนันท์ และพระราชสัมภากร (ชุ่ม) พระอุดรพิสดาร (สายยู) ข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่ต่างตื่นเต้นและมาถามพระเจ้าอินทวโรรสว่ามีการติดต่อกับทางรัฐบาลอังกฤษดังข่าวลือจริงหรือไม่

ปรากฏว่าเฮ็ดแมนชาวไทยใหญ่ และต่องซู่ (ปะโอ) ให้การว่า นายร้อยเอกเซอร์ยอร์ช สก๊อต ผู้สำเร็จราชการอังกฤษเมืองเชียงตุง ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนเมืองเชียงใหม่ได้ประกาศแก่ชาวเชียงตุงว่า พระนางเจ้าวิคตอเรียพระเจ้ากรุงอังกฤษได้มีพระราชดำริจะขอเอาเจ้าหญิงดารารัศมีมาเป็นพระราชธิดาบุญธรรมแล้ว ต่อไปเชียงใหม่กับเชียงตุงจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยจะทรงตั้งเจ้าหญิงดารารัศมีเป็นทายาทเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่อีกด้วย และทางเฮ็ดแมนชาวพม่า (หัวหน้าคนในบังคับอังกฤษ) ก็ได้กราบทูลพ่อเจ้าอินทวิไชยยานนท์ว่า ชาวพม่าที่เดินทางจากเมืองย่างกุ้ง (แรงกูน) ได้ข่าวมา เช่นเดียวกับที่เมืองเชียงตุง โดยชาวพม่าพากันกล่าวขานกันทั่วไปหมดว่า ต่อไปเมืองเชียงใหม่กับเมืองเชียงตุงจะรวมกันเป็นแคว้นเดียวกันแล้วโดยไม่ต้องรบราฆ่าฟันกัน ทั้งนี้โดยพระเจ้าอินทวิไชยยานนท์จะยอมยกพระราชบุตรีชื่อสอว์ดารารัศมี ให้เป็นพระราชธิดาบุญธรรม แต่สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียจะสถาปนา สอว์ดารารัศมี (สอว์ หมายถึงคำว่าเจ้า ตามสำเนียงพม่าและไทยใหญ่เรียก “เจ้า”)

เมื่อเรื่องราวเป็นไปดังนี้ พระเจ้าอินทวิไชยยานนท์เลยประกาศให้พวกหัวหน้าชนเผ่าเมืองขึ้นของอังกฤษทราบในโอกาสนั้นเลยว่า เรื่องทั้งหมดไม่เป็นความจริงทั้งสิ้น และยังยืนยันว่าเมืองเชียงใหม่และบรรดาเจ้านายในพระราชวงศ์ฝ่ายเหนือ “ทิพย์จักราธิวงศ์” ยังจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์สยาม อยู่ตลอดเวลา มิได้ผันแปรและเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใดทั้งสิ้น

K6539337-0.jpg
K6539337-0.jpg (24.81 KiB) เปิดดู 13437 ครั้ง


นี่คือเหตุการณ์ที่มาของข่าวลือกันไปทั้งบ้านทั้งเมือง ซึ่งมีส่วนจริงอยู่บ้างว่าตัวการเสนอความเห็นในเชิงการเมืองขู่ขวัญรัฐบาลไทยตามขั้นตอนในการเตรียมยึดดินแดนไทยที่อยู่ในเขตเชียงใหม่ โดยเซอร์ยอร์ชสก๊อต ผู้สำเร็จราชการแคว้นฉาน (ไทยใหญ่) เหนือแคว้นแดนสยาม เสนอความคิดให้สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระเจ้าจักรพรรดินีอังกฤษ ดำเนินพระราโชบายด้วยวิธีการดังกล่าวเพื่อขู่ขวัญรัฐบาลไทยให้กระวนกระวายใจ และระแวงเจ้าเชียงใหม่
และในปีนั้นเอง..พระยาราชเสนา (เสือพยัคฆนันท์) ข้าหลวงใหญ่กับพระราชสัมภากร (ชุ่ม) ได้ถูกย้ายกลับไปรับราชการในกรุงเทพมหานคร ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชากร (พระองค์เจ้าคัคณางยุคล) มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงตรวจการณ์พิเศษต่างพระเนตรพระกรรณ และส่งพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) มาเป็นข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่และ ๕ หัวเมือง พร้อมทั้งพระราชทานกุณฑลและพระธำมะรงค์ฝังเพชร พระราชทานเป็นพิเศษแก่เจ้าหญิงดารารัศมี พร้อมกับยกย่องฐานันดรศักดิ์ของเจ้าหญิงให้สูงขึ้น โดยทรงโปรดเกล้า ฯ ให้มีทำเนียบพระพี่เลี้ยงชายหญิงประดับพระบารมีโดยให้มีบรรดาศักดิ์แบบอย่างพระราชบุตรี พระเจ้าประเทศราชอันสูงส่งโดยแต่งตั้งนางเต็ม พระพี่เลี้ยงขึ้นเป็นนางกัลยารักษ์ และแต่งตั้งนายน้อยบุญทา พระพี่เลี้ยงผู้ชายเป็นพญาพิทักษ์เทวี เหตุการณ์ตอนนี้ตรงกับพ.ศ.๒๔๒๗

ผู้ค้นคว้ารวบรวมเรื่องนี้ได้รับการบอกเล่าในเห็นการณ์ดังกล่าวแล้ว ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ในขณะที่เจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่ ภริยาของเจ้าอุตรกาลโกศล (เจ้าศุขเกษม ณ เชียงใหม่) ศรีสะใภ้ของมหาอำมาตย์โทพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งเคยถวายตัวอยู่กับเสด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมีตั้งแต่เด็กอยู่ในราชสำนักพระราชวังดุสิตในพระตำหนักฝรั่งกังไสตั้งแต่เด็กจนเป็นสาวใหญ่เกือบ ๑๐ ปี ก็ได้เล่าเรื่องคำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ารัชกาลที่ ๕ ที่ทรงตรัสให้บรรดาพระบรมราชเทวีและเจ้านายในพระราชวงศ์ ตลอดจนเจ้าจอมหม่อมห้ามเกี่ยวกับพระประวัติของเสด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ก่อนที่จะเข้ามาเป็น “เจ้าจอม” รับราชการฝ่ายในเมื่อตอนเข้ามาใหม่ๆ ในครั้งกระโน้นได้เล่าให้ฟังคล้ายๆ กันกับที่เจ้าน้อยปิงเมืองท่านได้กรุณาเล่าให้ฟัง




ที่มา : จากหนังสือ เพ็ชร์ลานนา
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย Namfar » พฤหัสฯ. 10 ธ.ค. 2015 6:52 pm

8fmg2.jpg
8fmg2.jpg (110.06 KiB) เปิดดู 13436 ครั้ง


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติกับ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี (อ่านว่า วิ-มน-นาก-นะ-พี-สี) หรืออีกพระนามในหมู่ข้าราชบริพารว่า เสด็จเจ้าน้อย ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีฉลูเอกศก จ.ศ. ๑๒๕๑ ตรงกับวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๒

สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะโรงจัตวาศก จ.ศ. ๑๒๕๔ ตรงกับวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๕ สิริพระชันษา ๔ ปี

เสด็จเจ้าน้อย ทรงเป็นที่โปรดปรานใน พระราชบิดายิ่งนัก ด้วยทรงเป็นเจ้าหญิงพระองค์น้อยที่ฉลองพระองค์ซิ่นแบบเจ้านายเมืองเหนือตลอดเวลา การสิ้นพระชนม์ของพระราชธิดาพระองค์เดียว ในครานี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสียพระทัยยิ่งนัก ทรงมีรับสั่งกับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวโทษพระองค์เอง ว่า ทรงเสียพระทัยยิ่งนักที่ทรงมิได้ตั้งพระธิดาให้เป็น "เจ้าฟ้า" เป็นเหตุให้พระธิดาสิ้นพระชนม์" ส่วนพระราชชายาเจ้าดารารัศมีผู้เป็นพระราชมารดา คงมิต้องบรรยายความรู้สึกว่าทรงเสียพระทัยเพียงใดออกมาได้ ทรงทำลายภาพพระฉายาทิสลักษณ์หมู่ ๓ พระองค์ ด้วยพระองค์เอง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย Namfar » พฤหัสฯ. 10 ธ.ค. 2015 7:44 pm

King_Intawichayanon.jpg
King_Intawichayanon.jpg (19.36 KiB) เปิดดู 12810 ครั้ง


พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ ๗

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ หรือ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พหลเทพยภักดี ศรีโยนางคราชวงษาธิปไตย์ มโหดดรพิไสยธุรสิทธิธาดา ประเทศราชานุภาวบริหารภูบาลบพิตร สถิตยชิยางคราชวงษ พระเจ้านครเชียงใหม่ เดิมทรงพระนามว่า เจ้าอินทนนท์ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนถึงวันพระราชสมภพ เป็นเจ้าโอรสในพระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง) พระยาราชวงศ์นครเชียงใหม่ กับแม่เจ้าคำหล้า และเป็นเจ้าราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาคำฟั่นกับแม่เจ้าเนตรนารีไวยตาเวย ซึ่งเป็นพระราชธิดาในเจ้าฟ้าเมืองยางแดง อันเป็นเมืองกะเหรี่ยงที่ร่ำรวยไปด้วยทรัพยากรไม้ขอนสักจำนวนมหาศาล จนได้รับการยกย่องว่าเป็นเศรษฐีนีป่าไม้ของพม่า (ผู้ได้รับกรรมสิทธิ์ครอบครองป่าไม้ในแถบขุนยวมทั้งหมด)

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ มีราชอนุชาและราชขนิษฐา ร่วมราชบิดา ๑๖ พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
๑.พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗
๒.เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์) เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ - เจ้าปู่ของเจ้าพันธ์คำ (ณ เชียงใหม่) สุขุม ภริยาคุณประสาท สุขุม บุตรของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
๓. เจ้าราชภาติกวงศ์ น้อยเทพวัง ณ เชียงใหม่ เจ้าราชภาติกวงศ์นครเชียงใหม่
๔. เจ้าน้อยไชยลังกา ณ เชียงใหม่
๕. เจ้าฟองนวล ณ เชียงใหม่
๖.เจ้าดวงเทพ ณ เชียงใหม่
๗.เจ้าบุญฝ้าย ณ เชียงใหม่
๘. เจ้าคำทิพย์ ณ เชียงใหม่
๙.เจ้าน้อยไชยวงศ์ ณ เชียงใหม่
๑๐. เจ้าดวงทิพย์ ณ เชียงใหม่ - เจ้าปู่ใน "เจ้าทิพย์สมาตย์ ณ เชียงใหม่" "คุณหญิง เจ้าฉมชบา (ณ เชียงใหม่) วรรณรัตน์" "เจ้าวัฒนา (ณ เชียงใหม่) โชตนา"
๑๑. เจ้าบุญสม ณ เชียงใหม่
๑๒. เจ้าบัวใส ณ เชียงใหม่
๑๓. เจ้าบัวเที่ยง ณ เชียงใหม่
๑๔. เจ้ากาบเมือง ณ เชียงใหม่
๑๕.เจ้าน้อยอ๋อ ณ เชียงใหม่
๑๖. เจ้าหญิงแว่นคำ ณ เชียงใหม่

ราชโอรส ราชธิดา

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ มีเจ้าราชโอรสและราชธิดา รวม ๑๑ องค์ซึ่งอยู่ในสกุล ณ เชียงใหม่ มีพระนาม ดังนี้

กับเจ้าทิพไกรสร - ราชธิดาในพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖ กับเจ้าอุษา (มีราชธิดา ๒ องค์) คือ เจ้าจันทรโสภา ณ เชียงใหม่ และเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

กับเจ้ารินคำ - ราชธิดาในเจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๖ (มีราชโอรส ๑ องค์)คือ มหาอำมาตย์โท เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๘

กับหม่อมบัวเขียว (มีราชโอรส ๒ องค์) คือ มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙ และ เจ้าหญิงจอมจันทร์ ณ เชียงใหม่


กับเจ้าเทพ - เจ้านายในราชตระกูล "ณ ลำปาง" (มีราชโอรส ๒ องค์) คือ เจ้าน้อยโตน ณ เชียงใหม่ และ เจ้าแก้วปราบเมือง ณ เชียงใหม่

กับหม่อมช่างซอ (มีราชโอรส ๑ องค์) คือ เจ้าน้อยมหาวัน ณ เชียงใหม่ - ราชโอรสองค์ใหญ่


กับหม่อมคำ (มีราชโอรส ๑ องค์ ราชธิดา ๑ องค์ )คือ เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัตติยะ ณ เชียงใหม่) เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่
เจ้าคำข่าย ณ เชียงใหม่ - สมรสกับเจ้าน้อยมหาวงศ์ ณ เชียงใหม่ คหบดีแห่งบ้านสันทรายมหาวงศ์, โอรสใน "เจ้าหญิงฟองสมุทร" ราชธิดาในพระยาคำฟั่น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓ และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑ " และเป็นราชปนัดดา (หลาน-ปู่ทวด) ใน "เจ้าฟ้าจุฬามณีสิริเมฆ ภูมินทนรินทาเขมาธิบติราชา (เจ้าฟ้าชายสาม), เจ้าฟ้านครเชียงตุง องค์ที่ ๑" ผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์มังราย


กับหม่อมป้อม (มีราชธิดา ๑ องค์)คือ เจ้าหญิงคำห้าง ณ เชียงใหม่ - สมรสกับ "เจ้าราชภาคินัย น้อยสิงห์โต ณ เชียงใหม่, เจ้าราชภาคินัยนครเชียงใหม่"




กู่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ บนยอดดอยอินทนนท์
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เสด็จขึ้นครองนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ จนกระทั่งถึงแก่พิราลัยในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๐ ด้วยโรคชรา รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร ๒๔ ปี ภายหลังเสด็จพิราลัย พระอัฐิส่วนหนึ่งได้เชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปพระอัฐิใน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ณ วัดสวนดอก (พระอารามหลวง) และอีกส่วนหนึ่งอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปบนยอด ดอยอินทนนท์ อันเป็นที่ซึ่งพระองค์ทรงรักและหวงแหนมากที่สุด และได้นามตามพระนามของพระองค์ด้วยนั่นเอง

ราชกรณียกิจ
พ.ศ. ๒๔๑๗ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงสถาปนาแม่ฮ่องสอน ขึ้นเป็นเมืองแห่งใหม่
พ.ศ. ๒๔๒๐ ทรงดำริให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง เชื่อมไปยังท่าวัดเกต
พ.ศ. ๒๔๒๖ ทรงตั้งเมืองฝางขึ้นเป็นเมืองแห่งใหม่ และส่งเจ้ามหาวงศ์ ไปเป็นเจ้าเมืองฝาง
พ.ศ. ๒๔๓๓ ทรงส่งของขวัญถวายแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในพระราชพิธีโสกันต์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ซึ่งเป็นพระอภิบาลในเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นผู้ดูแลช้างนั้น มีชื่อว่า "ช้างพลายมงคล" ช้างพลายมงคล แต่งเป็นช้างเอราวัณสามเศียร ในขบวนแห่พิธีโล้ชิงช้า พ.ศ. ๒๔๓๗


การศาสนา

ด้านการศาสนาในสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้ปรากฏว่าพระองค์ทรงทำนุบำรุงวัดวาอารามหลายแห่งจนปรากฏถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา อาทิ
พ.ศ. ๒๓๙๘ ทรงสร้างอุโบสถวัดกิตติ
พ.ศ. ๒๔๑๓ ทรงรื้อหอคำของพระเจ้ากาวิโรรสฯ ไปสร้างเป็นวิหารหลวงวัดกิตติ
พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงสร้างวิหารวัดพระธาตุดอยสุเทพ และยังสร้างอุโบสถวัดเชียงมั่นในปีเดียวกัน
พ.ศ. ๒๔๑๘ ทรงฉลองวิหารวัดข่วงสิงห์ และรื้อหอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศฯ ไปสร้างวิหารวัดพันเตา
พ.ศ. ๒๔๑๙ ฉลองวัดพระธาตุดอยสุเทพ
พ.ศ. ๒๔๒๐ ทรงรื้อท้องพระโรงของพระเจ้ากาวิโรรสฯ ไปสร้างวิหารวัดแสนฝาง สร้างวิหารวัดเชียงมั่น และฉลองสะพานข้ามแม่น้ำปิงตรงวัดเกตุการาม
พ.ศ. ๒๔๒๒ ถวายคัมภีร์ชุดทศชาติชาดก และธรรมชาดกต่างๆ
พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรงสร้างวิหารวัดเจดีย์หลวง ตลอดจนสร้างกุฏิ อุโบสถ วิหารพระนอน ซ่อมหอมณฑปเสาอินทขีล และกุมภัณฑ์
พ.ศ. ๒๔๒๔ ทรงหล่อระฆังใบใหญ่ไว้ที่วัดข่วงสิงห์ และได้ยกช่อฟ้าวัดเจดีย์หลวง
พ.ศ. ๒๔๓๒ ฉลองวิหารวัดขี้เหล็กร่มหลวง และโปรดให้ซ่อมแซมพระธาตุดอยสุเทพ
พ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงฉลองถวายทานวิหารและสะพานที่ถ้ำตับเตา อำเภอฝาง ถวายทานวิหารพระบาทสี่รอย และตั้งสังฆราชา ๗ องค์

เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เสด็จประพาสประทับพักแรมบนยอดดอยอินทนนท์ และโปรดให้สร้างกู่บรรจุพระอัฐิของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ไว้บนจุดสูงสุดของยอดดอยอินทนนท์ ต่อมากองทัพอากาศได้สร้างเจดีย์องค์เล็กไว้ข้างกู่องค์เดิม เพื่อเทิดพระเกียรติพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ กระทั่งเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ เจ้านายฝ่ายเหนือ พร้อมด้วยคณะทหารอากาศ และประชาชนร่วมกันสร้างกู่ขึ้นมาใหม่ครอบกู่องค์เดิมให้สมพระเกียรติ

ที่มา วิกิพีเดีย
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย ภาษาสยาม » เสาร์ 19 ธ.ค. 2015 6:25 pm

นางอั้วเชียงแสน มเหสีพญางำเมือง กษัตริย์แห่งเมืองพะเยา(ภูกามยาว)

12596.jpg
12596.jpg (34.6 KiB) เปิดดู 11989 ครั้ง


นางอั้วเชียงแสนมีพระนามว่า “สิม” หนังสือบางเล่มจึงเรียกพระนางว่า “นางอั้วสิม” โดยคำว่า “นางอั้ว”นั้นไม่ใช่พระนามประจำพระองค์แต่อย่างใด แต่เป็นคำที่หลายแว่นแคว้นใช้เรียกสตรีชั้นสูง (เชียงราย เชียงแสน พะเยา สิบสองปันนา ฯลฯ) การใช้คำว่านางอั้วจะบ่งบอกสถานะว่าเป็นเจ้าหญิงจากเมืองใด อาทิ นางอั้วเชียงแสน เป็นพระราชธิดากษัตริย์เชียงแสน เป็นต้น

นางอั้วเชียงแสนเป็นสตรีที่มีความงามพร้อมเป็นที่ติดตาต้องใจแก่ผู้พบเห็น พระนางได้พบกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งเมืองสุโขทัยหลังจากที่พ่อขุนรามฯเสด็จไปยังเมืองพะเยาในช่วงสงกรานต์ เพื่อดำหัวพญางำเมืองผู้ซึ่งเคยเป็นศิษย์สำนักสมอคอลเช่นเดียวกัน(บ้างเรียกดอยด้วน บ้างเรียกสำนักสุกกะทันตะฤษี) พ่อขุนรามคำแหงนั้นเกิดจิตปฏิพัทธ์ต่อนางอั้วทันทีที่ได้พบเห็น แต่ก็เก็บงำความในพระทัยไว้มิได้แพร่งพรายแต่อย่างใด

เหตุการณ์ที่เป็นจุดพลิกผันระหว่างพญางำเมืองกับนางอั้วเชียงแสน คือ เมื่อนางอั้วได้ทรงปรุงแกงถวายกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ พญางำเมืองทรงชิมแล้วตรัสว่า “ชามปากกว้าง แกงมากไปหน่อย รสชาติจืดชืดไม่เข้มข้น” (คงประมาณว่า น้ำแก๋งนักไปหน้อย จ๋าง บ่ลำ)เหตุนี้ทำให้นางอั้วเสียพระทัยมาก พ่อขุนรามฯจึงทรงประโลมและเสวยแกงนั้นจนหมดหม้อ ความสนิทชิดเชื้อของนางอั้วและพ่อขุนรามฯก็คงจะเริ่มต้นจากจุดนี้

หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น นางอั้วก็ขัดเคืองพระทัยไม่ทรงยอมให้พญางำเมืองเสด็จมาหา ทำให้ช่องว่างระหว่างทั้งสองพระองค์ขยายใหญ่ขึ้น จวบจนพ่อขุนรามคำแหงเข้ามาแทรกกลางในที่สุด ตำนานเมืองสุโขทัยกล่าวว่า พ่อขุนรามคำแหงทรงรู้ว่านางอั้วมีความปฏิพัทธ์ต่อพระองค์จึงลอบเข้าหาพระนางจนได้เสียกัน แต่ตำนานเมืองพะเยากล่าวว่า ขณะที่พญางำเมืองเสด็จไปหารือกับพญามังรายในเรื่องการศึกนั้น พ่อขุนรามคำแหงได้ปลอมแปลงพระองค์เป็นพญางำเมืองเข้าหานางอั้วจึงได้เสียกัน เมื่อพญางำเมืองเสด็จกลับเรื่องจึงแดงขึ้นมา พญางำเมืองจึงทรงสั่งให้จับพ่อขุนรามคำแหงไปขังเอาไว้ในสุ่มไก่ แล้วจึงมีพระราชสาส์นทูลเชิญพญามังรายมาตัดสินคดีความ ซึ่งพญามังรายก็ไกล่เกลี่ยให้อโหสิกรรมต่อกัน และให้สิทธิ์พญางำเมืองเรียกสินไหมได้ตามแต่เห็นควร หลังจากนั้นกษัตริย์ทั้งสามพระองค์จึงกระทำสัตย์ปฏิญาณว่าจะเป็นสหายกัน ไม่ทรยศหักหลังกัน สถานที่กระทำสัตย์ปฏิญาณครั้งนั้นคือ บริเวณแม่น้ำอิง(ในสมัยนั้นชื่อแม่น้ำภู) นักประวัติศาสตร์พะเยาคาดเดาว่าสาเหตุที่พระนางยอมแก่พ่อขุนรามคำแหงนั้นน่าจะเป็นด้วยเหตุผลทางการเมืองมากกว่าความขัดเคืองพระสวามี เนื่องจากช่วงนั้นความสัมพันธ์ระหว่างเชียงแสนกับพะเยาไม่ราบรื่นนัก การมีความสัมพันธ์กับกษัตริย์สุโขทัยจึงเป็นการคานอำนาจไม่ให้พญามังรายมารุกรานเมืองพะเยา อีกทั้งทำให้พ่อขุนรามคำแหงไม่กล้ารุกล้ำเมืองพะเยาอีกด้วย

แม้ทุกสิ่งจะคลี่คลายไปแล้ว ทว่าพญางำเมืองก็คงยากที่จะระงับพระทัยมิได้บังเกิดความอับอายได้ เพราะนี่มิใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับนางอั้วเชียงแสน เนื่องจากเมื่อครั้งที่พญางำเมืองยกทัพไปตีเมืองปัว (ปัจจุบันคืออำเภอปัว จังหวัดน่าน) ได้รับชัยชนะ ต่อมาพญาผานองราชบุตรของเจ้าเมืองปัวได้ยกทัพมาตีเอาเมืองคืน เมื่อสำเร็จพญาผานองก็มีรับสั่งให้จับนางอั้วเชียงแสนไปเป็นชายาของพระองค์อยู่ระยะหนึ่ง(พงศาวดารเมืองน่าน ภาคที่ ๑๐ ได้ระบุว่า นางอั้วเชียงแสนเคยเป็นชายาของพญาผานอง)

บั้นปลายชีวิตของนางอั้วเชียงแสนเป็นช่วงเวลาเดียวกับการสถาปนาเมืองเชียงใหม่ เมื่อพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ ได้เชิญพญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหง ร่วมพิจารณาสร้างเมือง เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว พญางำเมืองเสด็จกลับ โดยพญามังรายทรงมอบผอบมณีรัตนะ อันเป็นสมบัติต้นวงศ์แห่งลาวลังกราช และทรงเวนคืนเมืองพาน เมืองเชียงเคี่ยน และเมืองเทิงให้ พร้อมกับพระราชทานสตรีชั้นสูงให้อีกผู้หนึ่ง ฝ่ายพระนางอั้วเชียงแสนทรงทราบว่า พระราชสวามีมีพระชายาใหม่ ก็มีพระทัยโทมนัสยิ่ง รับสั่งให้เสนาอำมาตย์จัดแจงม้าพระที่นั่ง เสด็จออกติดตามพระสวามี หมายจักประหารพระชายาใหม่ให้สิ้นพระชนม์ แต่พระนางก็สิ้นพระชนม์เสียกลางทาง ด้วยเหตุพระทัยแตก พญางำเมืองทรงทราบด้วยความสลดพระทัยยิ่ง แต่มิรู้จะทำประการใดจึงจัดพระราชทานเพลิงพระศพพระนางอั้วเชียงแสนตามประเพณี ต่อมาได้มอบราชกิจต่าง ๆ ในการปกครองบ้านเมืองให้พญาคำแดงราชบุตร แล้วเสด็จไปประทับพักผ่อนที่เมืองงาว หรือเมืองเงิน (อำเภองาว จังหวัดลำปาง)

(เรียบเรียงจาก รักหลังราชบัลลังก์,ประเสริฐ ณ นคร. ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด,วิกิพีเดีย,หนังสือพิมพ์พะเยารัฐ)
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย Namfar » พุธ 30 มี.ค. 2016 7:58 pm

เจ้าหญิงฟองแก้ว ณ เชียงใหม่ ผู้ยึดมั่นในฮีตฮอยล้านนา จนขอแยกทางกับสามี

K4770953-21.jpg
K4770953-21.jpg (92.4 KiB) เปิดดู 12658 ครั้ง


เจ้าหญิงฟองแก้ว เป็นธิดาในเจ้าน้อยบัวละวงษ์ ณ เชียงใหม่ พระบิดาถวายให้ตามเสด็จพระราชชายา เจ้าดารารัศมีตั้งแต่ยังเล็ก จึงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในตำหนักของพระราชชายา ในพระราชวังจนเติบโตเป็นสาวรุ่นงดงาม

เมื่อเข้าสู่วัยสาว ด้วยความงามอันเลื่องลือของเหล่าข้าหลวงนางในตำหนักพระราชชายา ที่แต่งกายงามแบบชาวล้านนา คือ นุ่งซิ่น ผมยาว เกล้ามวย ทั้งยังเล่นดนตรี และร่ายรำได้งดงามอ่อนช้อย จึงไม่พ้นที่จะมีบุรุษมาสนใจและมอบความรักให้ ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นเหล่ามหาดเล็กน้อยใหญ่ ไปจนถึงเสนาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เจ้าหญิงฟองแก้วเองก็เช่นกัน

โดยเริ่มจาก เจ้าจอมมารดาชุ่ม ได้มาสู่ขอเจ้าหญิงให้แก่พี่ชายของท่าน แต่พระราชชายาทรงปฏิเสธ ด้วยทรงมองว่าไม่เหมาะสม (คิดว่าพี่ชายของเจ้าจอมคงจะสูงอายุพอสมควร) ต่อมากรมหมื่นปราบปรปักษ์ ทรงสู่ของเจ้าหญิงฟองแก้วให้แก่โอรสของพระองค์ คือ ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล ณ อยุธยา (ขณะนั้นรับราชการ กินตำแหน่งจมื่นภักดีจงขวา มหาดเล็กนั้นเอง ) พระราชชายาทรงอนุญาต ทั้งสองจึงได้สมรสกัน มีบุตรชายหนึ่งคน คือ มล. เทียม มาลากุล ณ อยุธยา

ทัศนคติของชาวกรุงสมัยนั้น มองว่าเชื้อสายทางฝ่ายเหนือทั้งหมดนั้นเป็นลาว และค่อนข้างจะมองไปในแง่ลบ คือเหยียดหยามว่าต่างชั้น และต้อยต่ำกว่าชาวสยาม เพราะเป็นเพียงประเทศราชเท่านั้น ผู้ใหญ่ทางฝ่ายสามีจึงไม่ใคร่จะพอใจในการสมรสกันของทั้งสองนัก ด้วยอับอายที่จะต้องตอบคำถามแก่ผู้คนในสังคม ถึงสาเหตุที่มีสะใภ้เป็นลาว จึงบังคับให้เจ้าหญิงฟองแก้วตัดผมแบบชาวสยามทั่วไป คือ ทรงดอกกระทุ่มจอนยาวและแต่งกายแบบชาวสยามทั่วไป เพื่อขจัดคำครหา แทนที่ ม.ร.ว.ปุ้มผู้เป็นสามีจะปกป้องภรรยาของตน กลับยื่นคำขาดแก่เจ้าหญิงฟองแก้วให้ตัดผมทิ้งเสียและเปลี่ยนเครื่องแต่งกายให้เหมือนคนอื่นทั่วไป ไม่เช่นนั้นจะแยกทางกับเจ้าหญิง เพื่อล้างความอับอายที่มี

เจ้าหญิงฟองแก้วนั้นแม้จะรักบุตรมาก แต่ไม่ทรงคิดจะละทิ้งความเป็นล้านนาของตน จึงนำความกราบทูลพระราชชายา ซึ่งพระองค์ทรงกริ้วมาก และให้เจ้าหญิงแยกทางกับสามี มาอยู่ที่ตำหนักกับพระองค์เช่นเดิม โดยรับหน้าที่เป็นต้นห้องแทนคุณหญิงบุญปั๋น เทพสมบัติที่ออกเรือนไป เจ้าหญิงฟองแก้วจึงกลับมารับใช้พระราชชายาอีกครั้ง และพยายามจะนำบุตรชายมาเลี้ยงเอง แต่ทางม.ร.ว.ปุ้มไม่ยินยอม ท่านจึงใช้ชีวิตอยู่ในตำหนักและตามเสด็จพระราชชายา ต่อมาได้สมรสกับเจ้าวุฒิ ณ ลำพูน แต่ก็ได้แยกกันอยู่อีกครั้ง และท่านก็ใช้ชีวิตเพียงลำพังจนกระทั่งท่านเสียชีวิตลงด้วยวัยเพียง ๔๐ เศษๆเท่านั้น

ที่มา หนังสือเพ็ชร์ลานนา
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย Namfar » เสาร์ 28 พ.ค. 2016 9:22 am

"เจ้านางบัวสวรรค์"

12144264_1490866001242354_1398036336_n.jpg
12144264_1490866001242354_1398036336_n.jpg (51.22 KiB) เปิดดู 12592 ครั้ง


เจ้านางบัวสวรรค์เป็นธิดาในเจ้าก้อนแก้วอินแถลงเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงหรือที่เรียกอย่างลำลองว่าเจ้าฟ้าเฒ่าและเจ้านางจันฟอง เจ้านางบัวสวรรค์เป็นที่โปรดปรานของเจ้าฟ้าและทุกคนในหอหลวงเพราะว่ามีหน้าตาหมดจดงดงาม

บรรดาธิดาเจ้าขุนส่าและเจ้าแว่นแก้วแห่งเมืองลอกจ๊อกยังกล่าวชมว่าเจ้าบัวสรรค์นั้นงดงามที่สุด กล่าวกันว่าเจ้าฟ้าโปรดเจ้านางบัวสวรรค์มากถึงให้ถือกุญแจหีบสมบัติท้องพระคลังหลวง ด้วยเหตุนี้ใครๆจึงเรียกเจ้านางบัวสวรรค์ว่า ”เจ้านางเศรษฐี”

ในสมัยนั้นชีวิตในหอหลวงเมืองเชียงตุงรุ่งเรืองจนถึงขีดสุด เจ้านายชายหญิงในราชสำนักได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี ในขณะที่เจ้านายทางหัวเมืองล้านนายังคงนั่งช้างนั่งเกวียนแต่เจ้านางบัวสวรรค์มักขับรถไปพักผ่อนที่ดอยเหมยซึ่งในสมัยนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่เปรี้ยวและนำสมัยมาก มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่งบรรดาเจ้านางไปพักผ่อนกันที่ดอยเหมย มีเจ้านางองค์หนึ่งถูกผีเข้า เจ้านางบัวสรรค์ต้องขับรถมารับเจ้าฟ้าเฒ่าที่หอหลวงเพื่อไปไล่ผี

เจ้านางบัวสวรรค์สืบทอดคาถาอาคมจากเจ้าฟ้าเฒ่ามาทั้งหมดและครองตัวเป็นโสดมาตลอดชีวิต หรืออีกสาเหตุหนึ่งคือเจ้านางเพียบพร้อมไปด้วยรูปและทรัพย์สมบัติจึงไม่มีชายใดที่เหมาะสมเป็นคู่ครอง เจ้านางบัวสวรรค์มีสิ่งของราคาแพงใช้ อาทิเช่น ซิ่นไหมคำปิง ที่เจ้านางสุคันธาเล่าว่า
“ เจ้าพี่บัวสวรรค์นั้นเป็นคนสวย หุ่นดี คงมีซิ่นไหมคำปิงอยู่หลายผืนกระมัง..... .เจ้าปี้บัวสวรรค์เปิ้นฮ่างงาม ของเปิ้นมีนักก้าหา..."

เมื่อเจ้ากองไทพี่ชายร่วมมารดาของเจ้านางบัวสวรรค์ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง ในวันที่เกิดเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์เจ้ากองไท เจ้านางเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมดและเห็นหน้าคนร้าย แต่ทว่าเจ้านางก็ไม่ยอมบอกว่าเป็นใครเเละความลับนี้ก็ตายไปพร้อมกับเจ้านางบัวสวรรค์นั่นเอง

เจ้านางบัวสวรรค์เดินทางมาบางกอกอยู่หลายครั้ง เมื่อหอหลวงเชียงตุงล่มสลาย เจ้านางอยากจะมาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่กับพี่น้อง แต่ด้วยเหตุผลบางประการเจ้านางบัวสวรรค์จึงต้องอยู่ที่เมืองเชียงตุงจนกระทั่งถึงแก่กรรมที่หอใหม่เมืองเชียงตุง

ที่มา : สุทธิศักดิ์ แต้มลิก

"เจ้านางบัวสวรรค์" เจ้านางบัวสวรรค์ ผู้เลอโฉม และฉลาดปราดเปรื่อง ผู้ครองความโสดชั่วชีวิต เป็นบุตรสาวของเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลงที่ท่านเมตตามากที่สุด โดยท่านได้ถ่ายทอดวิชาอาคมของท่านให้เจ้านางสืบต่อเพียงผู้เดียวเท่านั้น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เจ้าขุนศึกได้ช่วยบริหารบ้านเมือง และตรวจเยี่ยมชาวเมืองที่ต่างแตกแยกไปหลบสงครามแล้วกลับมารวมตัวกันใหม่ และส่งลูกมาเรียนที่เชียงใหม่ ที่บ้านหม่อมธาดาถนนวัวลายได้มีการประชุมของรัฐฉานกับพม่าที่ปางโหลง แต่เจ้าขุนศึกไม่ได้ไปเพราะเป็นทหารของอังกฤษ อยู่ จึงมีการเขม่นจากทหารพม่ากับเจ้าขุนศึก เจ้าขุนศึกได้รับโทรเลขจากย่างกุ้งให้ไปประชุมมีกำหนด ๒ วัน จึงรับคำเชิญไปโดยเครื่องบินออกจากเชียงตุงในตอนเช้า เมื่อไปถึงทหารพม่ากลับพาตัวไปกักกันไว้ และไม่ให้ใครทราบว่าอยู่ที่ใด คหบดีคนเชียงตุงที่ไปค้าขายที่ย่างกุ้งได้แอบส่งโทรเลขมายังเจ้านางบัวสวรรค์ ว่าเจ้าขุนศึกถูกกักขังโดยทหารพม่า แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด ขอให้เจ้านางขึ้นไปด่วน และพักที่บ้านของเขา เมื่อเจ้านางทราบเรื่อง คืนนั้นเจ้านางก็นำบริวารหญิง-ชายมาที่โถง เจ้านางบัวสวรรค์เลือกเด็กสาวที่ขวัญอ่อนที่สุดมาปิดตาให้สนิท และให้หันหน้าไปยังเมืองย่างกุ้ง นั้นจึงท่องคาถาที่ได้รับการถ่ายทอดจากเจ้าพ่อ และบอกให้เด็กมองเข้าไปในเมืองย่างกุ้ง ถ้าเห็นแล้วให้บอก เมื่อเด็กเห็นแล้วก็บอกว่า เห็นเมืองย่างกุ้งแล้ว เจ้านางบัวสวรรค์ก็ถามว่า เจ้าฟ้าขุนศึกเป็นอย่างไร เด็กก็ตอบว่า เจ้าอยู่ในห้องเพียงผู้เดียว ไม่ได้รับอันตรายใดๆ เมื่อทราบเช่นนั้น วันรุ่งขึ้นเจ้านางบัวสวรรค์ก็ได้ออกเดินทางไปย่างกุ้ง และสั่งการจัด ทำพิธีบูชาที่หอหลวง โดยให้หม่อมธาดา ภริยาเจ้าขุนศึกทำพิธี ๑๑ วัน โดยทำของบูชาไปถวายตามจุดที่เจ้านางบัวสวรรค์บอกไว้ติดต่อกัน ทำอย่างนี้ด้วยจิตบริสุทธิ์ และครบถูกวิธี เจ้าขุนศึกจะได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ ในช่วงวันทำพิธีเจ้าแม่นางบุญยวงได้มานั่งเป็นประธานสั่งการบริวารอย่างละเอียด ในวันสุดท้ายของพิธีบูชาเป็นการส่งเคราะห์นพเกล้า เอารูปเจ้าฟ้าและเสื้อผ้าใส่ในพิธีนี้ด้วย ปรากฏผลบุญบันดาลให้เจ้าฟ้าขุนศึกได้รับการปล่อยตัวกลับเชียงตุงพร้อมเจ้านางบัวสวรรค์ ครบสิบเอ็ดวันพอดี หลังจากนั้นเจ้าขุนศึกก็อพยพมาอยู่เชียงใหม่ และไม่กลับไปเชียงตุงอีกเลย
แก้ไขล่าสุดโดย Namfar เมื่อ เสาร์ 28 พ.ค. 2016 10:49 am, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย Namfar » เสาร์ 28 พ.ค. 2016 9:26 am

13315227_967458956686436_8490261768977582933_n.jpg
13315227_967458956686436_8490261768977582933_n.jpg (18.07 KiB) เปิดดู 12595 ครั้ง



หีบพระศพของเจ้านางบัวสวรรค์
483039_207898949341200_1751268571_n.jpg
483039_207898949341200_1751268571_n.jpg (73.26 KiB) เปิดดู 12595 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย Namfar » พฤหัสฯ. 29 มิ.ย. 2017 8:39 pm

งานพระศพเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้านครเจียงใหม่องค์สุดท้าย พระบิดาของเจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) หรือเจ้าน้อยศุขเกษม

งานพระศพเจ้าแก้วนวรัฐ.jpg
งานพระศพเจ้าแก้วนวรัฐ.jpg (137.88 KiB) เปิดดู 12072 ครั้ง


เจ้าแก้วนวรัฐประสูติเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๕ เป็นราชโอรสในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ประสูติแต่แม่เจ้าเขียว และเป็นเจ้านัดดา (หลานปู่) ในพระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง) พระยาราชวงศ์นครเชียงใหม่ เจ้าแก้วนวรัฐมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดา ๑ พระองค์ คือ เจ้าหญิงจอมจันทร์ ณ เชียงใหม่ เมื่อโตขึ้นได้เลื่อนอิสริยยศตามลำดับ จนกระทั่งในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๔ จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้านครเชียงใหม่ มีราชทินนามว่า เจ้าแก้วนวรัฐ ประพัทธ์อินทนันทพงษ์ ดำรงนพิสีนครเขตร ทศลักษณเกษตรอุดม บรมราชสวามิภักดิ์ บริรักษ์ปัจฉิมานุทิศ สุจริตธรรมธาดา มหาโยนางคราชวงษาธิบดี ท่านถึงแก่พิราลัย เมื่อเวลา ๒๑.๔๐ น. ของวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร ๒๘ ปี สิริพระชันษา ๗๖ ปี
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 10 ก.ค. 2017 9:36 pm

เจ้าสร้อยดารา สิโรรส พระธิดาเจ้าบัวทิพย์กับ ร้อยตรี เจ้ากุย สิโรรส เจ้าสร้อยดารา สิโรรส ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๑๐ ปี
เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ เป็นพระธิดาในเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ เกิดแต่เจ้าจามรีวงศ์ มีพี่น้องคือ เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) และเจ้าราชบุตร (วงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่)

เจ้าสร้อยดารา สิโรรส.jpg
เจ้าสร้อยดารา สิโรรส.jpg (69 KiB) เปิดดู 12041 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย Namfar » เสาร์ 22 ก.ค. 2017 6:27 am

ชีวิตอันแสนเศร้าในวังหลวงของเจ้าหญิงดารารัศมี ทรงเผชิญปัญหาชีวิตอย่างหนัก จนบางครั้งอยากจะเสวยลูกลำโพงให้วิกลจริตไปเสียเพราะทน “มือมืด” แกล้งไม่ไหว เผื่อบางทีทางกรุงเทพฯ จะส่งกลับบ้าน

12299368_936315633112905_2393841821679279911_n.jpg
12299368_936315633112905_2393841821679279911_n.jpg (80.41 KiB) เปิดดู 12841 ครั้ง


ความรักยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของชาติไทย พิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระปิยมหาราช กับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี แห่งราชวงศ์ฝ่ายเหนือ อันมีผลสืบเนื่องทางการเมืองที่มิได้มีความหมายถึงการสามารถรวมกันเป็นปึกแผ่นแน่นหนาของผืนแผ่นดินในแหลมทองเท่านั้น แต่เป็นความรักความหลังอันแฝงด้วยการเมืองด้วยเอกราชอธิปไตยเป็นเดิมพันนี้ไม่เคยมีปรากฏเป็นข้อเขียนในหน้าหนังสือเล่มใดมาก่อน และจะเป็นบันทึกหลักฐานแห่งเดียวของอนุชนรุ่นต่อไป

รอบๆ เมืองไทยสมัยนั้น สมัยที่เมืองเชียงใหม่ ยังต้องส่งราชบรรณาการไปถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพฯ เป็นประจำปี มีเหตุผันผวนยุ่งเหยิงอุบัติขึ้นทุกแห่งหน ทางด้านเหนือ ด้านตะวันตก และด้านใต้ของพรมแดนกำลังถูกย่ำยีบีฑาโดยจักรวรรดินิยมอังกฤษอย่างน่า สะพรึงกลัว ทางด้านตะวันออกเล่า ฝรั่งเศสก็กำลังจะกลืนอินโดจีนอันรวมญวน – เขมร – ลาวเข้าไว้ ประเทศไทยในฐานแดนกันชนระหว่างสองพี่เบิ้มจึงพลอยร้อนระอุคุกรุ่น พยายามประคับประคองมิให้แผ่นดินต้องถูกแล่เนื้อเถือหนัง ถูกเชือดเฉือนประดุจบ้านใกล้เรือนเคียงให้ดีที่สุดเท่าที่จะพึงกระทำ อันพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าที่ทรงธำรงรักษาประเทศรอดพ้นปากเหยี่ยวปากกาจะประจักษ์เห็นเด่นชัดในระยะนี้เอง ถ้ามิฉะนั้นแล้วลักษณะรูปขวานของประเทศไทยก็คงจะเว้าแหว่ง เพราะการบั่นทอนทำลายอย่างไม่น่าดู
ณ ที่นี้จะขอเริ่มต้นด้วยความรักในประวัติศาสตร์ตอนที่ยังมิมีผู้ใดทราบมาก่อน คือตอนพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เสด็จพระราชดำเนินสู่กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก ก่อนพระราชพิธีอภิเษกอันเกริกเกียรติในพระราชวังหลวงนั้น

หลังจากขบวนเรือหางแมงป่องที่พาพระองค์พร้อมทั้งเจ้านายราชวงศ์ฝ่ายเหนือที่ไปส่งถึงนครสวรรค์แล้ว เรือยนต์พระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจัดมารับก็พาพระองค์ท่านต่อไปยังพระนครศรีอยุธยาและมีพระตำหนักประทับพักร้อนที่บางปะอินก็มีพระราชพิธีรับขวัญ ซึ่งสมเด็จพระปิยมหาราช บรรดาเจ้านายแห่งราชวงศ์จักรีเสด็จมารออยู่ก่อนแล้ว เจ้านายองค์เล็กๆ ที่ไม่ยอมห่างสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ก็มีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พระราชชายาได้รับพระราชทานเงินร้อยชั่ง และของถวายอื่นๆ อีกและมีการฉลองกินเลี้ยงใหญ่โตมโหฬาร

ครั้นขบวนเรือถึงกรุงเทพฯ ก็เข้าจอดเทียบที่แพวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) มีเจ้านายต่างกรม ๒ – ๓ องค์ เสด็จมารับพร้อมทั้งเจ้านายฝ่ายกรมโขน กรม จากแพที่ประทับขบวนแห่พระราชชายาเข้าสู่พระบรมมหาราชวังเป็นไปอย่างสมพระเกียรติ มีพนักงานชาววังถือหีบหมากเงินหีบหมากทอง กระโถนเงิน กระโถนทอง ตามเสด็จ มีเจ้าหญิงฝ่ายเหนือตามขบวนหลายองค์ อาทิ เจ้าข่ายแก้ว ณ เชียงใหม่ เจ้าบัวระวรรณ ณ เชียงใหม่ ขบวนได้ผ่านเข้าประตูอนงคมนตรีไปยังพระราชวังกรงนก เข้าประทับยังห้องสมเด็จ พระตำหนักภายในห้องประดับประดาแพรวพราวตระการตา ทั้งนี้ โปรดเกล้าฯ ให้อยู่ในความอุปถัมภ์ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ตอนนั้นพระราชชายาเจ้าดารารัศมี มีพระชนมายุเพียง ๑๔ พรรษาเท่านั้น

ชีวิตทุกชีวิตย่อมหลีกหนีความยุ่งยากไม่พ้น แต่ “แดดดีมีมาภายหลังฝน” ฉันใด พระราชชายาเจ้าก็ทรงประสบมรสุมทำนองเดียวกัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพระสนมกำนัลภายในวังพากันอิจฉาตาร้อน คิดเสียว่าพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงมีพื้นอยู่ทางภาคเหนือและคนทางเหนือในสมัยนั้น ได้รับการคบค้าสมาคมและต้อนรับจากภาคกลางอย่างต่ำต้อยด้อยหน้า เมื่อพูดถึง “ลาว” แล้ว เจ้าจอมหม่อมห้ามคงเข้าใจว่า สมเด็จพระปิยมหาราชก็คงจะทางเห็นด้วยกับการกระทำกลั่นแกล้งหยามเหยียดต่างๆ ที่พวกเธอทั้งหลายมีต่อพระราชชายาของพระองค์ ซึ่งวิธีการเล่นสกปรกต่างๆ ก็ทำให้พระราชชายาทรงรู้สึกกลัดกลุ้มรุ่มร้อนพระทัยเป็นยิ่งนัก

ตามคำบอกเล่าของท่านผู้ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า แม้แต่ในขันทองสรงน้ำของพระองค์ก็มีกระดาษเขียนตัวอักษรเลขยันต์คล้ายคาถาอะไรวางอยู่ และน้ำในห้องสรงของพระองค์ก็ถูกโรยด้วยหมามุ่ย อยู่ดีๆ บางทีก็มีถุงเงินพระราชทานของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง มาวางอยู่ตามทวารห้องบรรทมเพื่อหาเรื่องให้พระราชชายาว่าขโมยมา อย่าว่าแต่อะไรเลยภายในสวนสวรรค์ข้างๆ พระตำหนัก ยังมีสิ่งปฏิกูลของมนุษย์ทิ้งเรี่ยราดอยู่ทั้งๆ ที่เจ้านายหญิงฝ่ายเหนือที่ติดตามรับใช้พระราชชายาจะคอยระแวดระวังพระองค์ท่านทุกฝีก้าวปกป้องผองภัยให้ตลอดเวลา จู่ๆ ก็มีตัวบุ้งตัวหนอนไต่ยั้วเยี้ยตามพระแท่นบรรทมเล็กหน้าห้อง สร้างความรำคาญพระทัยมิให้ให้พระองค์ทรงสุขเกษมได้เลย

บางทีพระองค์ทรงได้ยินเสียงตะโกนลั่นผ่านหน้าห้องบรรทมว่า “ เหม็นปลาร้า” บ่อยครั้งที่พระกระยาหารบรรจุวางบนถาดเงินก็ถูกกีดกันมิให้ผ่านเข้าออกทวาร ยิ่งกว่านั้นเครื่องเพชรอันหาค่ามิได้ของในหลวงก็มาปรากฏวางทิ้งอยู่ในพระตำหนักของพระราชชายา ผู้ที่ปรนบัติรับใช้พระองค์ก็พลอยถูกจงเกลียดจงชัง มีคนเอาปลาทูใส่กะลามะพร้าวไปวางไว้บนสำรับกับข้าว พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงมีขันติอดทนอย่างน่าชมเชย พระองค์ท่านมิได้ทรงแพร่งพรายเรื่องราวอะไรต่างๆนานาให้สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงทราบเลย นอกจากบุคคลที่ใกล้ชิดยุคลบาทเพียงไม่กี่คน อาทิ คุณประภาส สุขุม ธิดาของเจ้าพระยายมราช เป็นต้น ข้ารับใช้จากฝ่ายเหนือก็มี แม่เขียว – เจ้าบึ้ง หรือ เจ้าหญิงบัวระวรรณ ณ เชียงใหม่ ผู้เป็นคู่ทุกข์คู่ยากของพระองค์แท้จริง

ด้วยเหตุนี้เอง พระราชชายาเจ้าดารารัศมีซึ่งไม่เคยลืมเจ้าหญิงบัวระวรรณ ณ เชียงใหม่ ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ถึงจะมีอะไรหนักนิดเบาหน่อยพระองค์ก็ไม่ทรงถือสาหาเรื่อง ซึ่งถ้าเป็นบุคคลอื่นก็มีหวังถูกเฆี่ยนตีหรืออัปเปหิไปแล้ว แต่นี่พระองค์ทรงรำลึกถึงเหตุการณ์ในพระราชวังหลวงครั้งนั้น ครั้งถวายตัวต่อสมเด็จพระปิยมหาราชด้วยกัน และโดยเฉพาะก็ตอนที่พระองค์ได้รับความวิปโยคโศกศัลย์ต่างๆ จาก “มือมืด” ทั้งหลายนี่เอง

หลายครั้งที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงเหนื่อยหน่ายต่อชีวิตอันไม่เที่ยงแท้แน่นอน พระองค์ท่านมิได้ทรงคาดคิดมาก่อนว่า ขนาดพระองค์ท่านเป็นถึงพระธิดาของเจ้าผู้ครองนครที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ เป็นพระธิดาองค์เดียวที่เจ้าพ่อโปรดปรานที่สุด จะเรียกร้องต้องการสิ่งใดเป็นได้สมพระประสงค์ทุกสิ่งอัน ทรงจับจ่ายใช้สอยเงินทองได้อย่างเต็มที่ และทรงมีข้าราชบริพารรับใช้ปราศจากอนาทรร้อนใจ เหตุไฉนพระองค์จึงต้องทรงตกระกำลำบากเมื่อมาประทับในพระราชวังหลวง ซึ่งควรจะอบอุ่นหฤหรรษ์ ด้วยความรักยิ่งยวดที่สมเด็จพระปิยมหาราช ราชสวามีทรงมีต่อพระองค์

พระราชชายาบ่นกับผู้ใกล้ชิดว่า พระองค์ใคร่จะเสวยลำโพง (มะเขือบ้า) เป็นคนวิกลจริต แล้วทางกรุงเทพฯจะได้ส่งกลับนครเชียงใหม่บ้านเกิดให้รู้แล้วรู้รอด จะได้พ้นจากความลำบากยากแค้นเสียที และผู้ใกล้ชิดของพระองค์ได้ทัดทานไว้ว่าขอให้อดใจรอจนกว่าเหตุร้ายจะกลายเป็นดีในวันหนึ่ง ว่ากันว่าเจ้าจอมแส (ข้าหลวงของพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์หรือพระนางเรือล่ม) ที่โดยลำดับเครือญาติเป็นน้องหม่อมของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เคยยั่วเย้าพระราชชายาเจ้าดารารัศมีว่าหน้าอกไม่สวย ซึ่งพระองค์ท่านก็มิได้ทรงตอบโต้ว่ากล่าวประการใด

อย่างไรก็ดี ความก็ล่วงรู้ถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจนได้พระองค์ทรงเล็งเห็นความร้าวฉานภายในพระราชฐานว่าเรื่องนี้มิใช่เป็นเรื่องเล็กน้อยเสียแล้ว ถ้าทรงขืนปล่อยไว้จะลุกลามไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายในประเทศและอาจถึงระหว่างประเทศก็ได้ อันเป็นการขัดแย้งกับนโยบายที่พระองค์ทรงหวังตั้งพระทัยจะรวบรวมหัวเมืองเหนือมารวมกับส่วนอื่นๆ ให้เป็นประเทศไทยอันหนึ่งอันเดียวกันจะแบ่งแยกเสียมิได้ และขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงเล็งเห็นการณ์ไกลว่าถ้าหากมิเช่นนั้นแล้ว แผ่นดินล้านนาไทยทั่วภาคก็มีหวังถูกอังกฤษฮุบเอาเพราะประเทศอังกฤษในเวลานั้น ได้กลืนเอาภาคเหนือของประเทศพม่าเข้าไว้โดยเรียบร้อยยกให้เป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย นักการเมืองของอังกฤษผู้แสวงประโยชน์จากความเป็นทาสของชาวเอเชียกำลังจ้องมองดูหัวเมืองฝ่ายเหนือด้วยความพิสมัยใคร่ตะครุบเป็นที่สุด ด้วยเหตุนี้เองสมเด็จพระปิยมหาราชจึงทรงว่ากล่าวตักเตือนบรรดาเจ้าจอม หม่อมห้ามพระสนมกำนัลให้ยุติการกลั่นแกล้งทำพิเรนทร์ต่างๆ กระทบกระเทือนพระทัยพระราชชายาโดยเด็ดขาด

แล้วก็โดยไม่นึกฝันเช่นเดียวกัน ดังภาษิตอังกฤษว่า “ ภายหลังพายุร้ายก็ถึงซึ่งความสงบ” พระราชชายาเจ้าดารารัศมีก็ผ่านยุคเข็ญทารุณทางจิตใจและไม่มีผู้ใดกล้ากลั่นแกล้งทำให้เสียชื่อเสียงอีกเลย บุคคลที่ตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์กับท่านกลับยิ้มแย้มแจ่มใสผูกสนิทชิดชอบและเป็นญาติดี ทั้งนี้รวมทั้งเจ้าจอมแสอีกคนหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ นับว่าทรงมีพระคุณต่อพระราชชายาอย่างยิ่ง เป็นที่ทราบกันภายหลังว่า พระองค์มิได้ทรงเชื่อหรือสนพระทัยกับการยุยงส่งเสริมจากพระสนมกำนัลเลย พระองค์ท่านทรงทราบดีว่าคุณธรรมของเจ้านายฝ่ายเหนือนั้นสูงส่งเกินกว่าที่จะมาทำเสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียงของราชวงศ์ ลักขโมยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ดุจดังที่พระราชชายาโดนกล่าวหามาแต่แรก

ที่มา หนังสือ เพชร์ลานนา
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย Namfar » เสาร์ 22 ก.ค. 2017 11:53 pm

เจ้าชายสายเลือดล้านนาที่ถูกลืม พระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์

1509929_625796927524695_2475960156881626270_n.jpg
1509929_625796927524695_2475960156881626270_n.jpg (55.25 KiB) เปิดดู 13155 ครั้ง


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าหญิงทิพเกสร ผู้เป็นธิดาในเจ้าสุริยะ ณ เชียงใหม่ (โอรสเจ้าหนานมหาวงศ์ ณ เชียงใหม่) และเจ้าสุวัณณา ณ เชียงใหม่ (ธิดาในเจ้าอุตรการโกศล หรือ น้อยมหาพรหม ณ เชียงใหม่) จึงนับเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือในราชวงศ์ทิพย์จักร พระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ นับเป็นเจ้านายไทยพระองค์แรกและเป็นคนไทยคนที่ ๒ ที่จบการศึกษาในวิชาระดับปริญญาเอก พระนาม "ดิลกนพรัฐ" หมายถึง "ศรีเมืองเชียงใหม่"

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔๔ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทิพเกษร เจ้านายฝ่ายเหนือในราชวงศ์ทิพย์จักร ประสูติในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ขณะที่มีพระชนมายุได้เพียง ๑๖ พรรษา เจ้าจอมมารดาก็ได้ถึงแก่อนิจกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เป็นต้นมา จึงทรงอยู่ในความดูแลของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา

พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐได้ทรงเสกสมรสกับเจ้าศิริมา ณ เชียงใหม่ พระญาติซึ่งกล่าวกันว่าเป็นเจ้าหญิงแห่งเมืองเหนือที่มีพระสิริโฉมยิ่งนัก ทรงครองรักอยู่ได้ไม่นาน พระชายาก็ถึงแก่พิราลัยอย่างกะทันหัน ด้วยทรงเป็นตะคริวขณะกำลังสรงน้ำในสระน้ำภายในพระราชวังดุสิต พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงเสียพระทัยอย่างมิอาจจะหักห้ามได้ ประชวรหนักและท้ายที่สุดได้ทรงตัดสินพระทัยปลงพระชนม์เองด้วยพระแสงปืนในวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕ หลังจากทรงกรมได้เพียง ๒ เดือนเท่านั้น สิริพระชนมายุ ๒๘ พรรษา แต่ในหนังสือ เลาะวัง ซึ่งเขียนโดยจุลลดา ภักดิภูมินทร์ (หม่อมหลวงศรีฟ้า ลดาวัลย์) ให้ข้อมูลว่า "...ไม่ปรากฏว่าทรงมีหม่อมห้ามและโอรส ธิดา จึงไม่มีทายาทสืบสกุล" และ "ว่ากันว่า ทรงขัดข้องพระทัยเรื่องราชการงานเมือง เมื่อไม่ได้ดังที่ตั้งพระทัยดีเอาไว้ ก็ทรงน้อยพระทัย หุนหัน ไม่ได้มีเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ ส่วนพระองค์แต่อย่างใด"

วันที่ ๑๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๕๕ เสียงพระแสงปืนสนั่นก้อง พร้อมกับดวงพระวิญญาณที่ปลิดปลิวออกจากร่างของพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี ด้วยการปลง พระชนม์พระองค์เอง ซึ่งขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง ๒๙ ชันษา

พระประวัติโดยย่อของพระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์ ได้ปรากฏในหนังสือ ราชกุลวงศ์ ตอน “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชกาลที่ ๕” (อ้างใน สุพจน์ แจ้งเร็ว. ศรีเมืองเชียงใหม่ ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๗ หน้า ๙๒) ว่า “ที่ ๔๔ พระองค์เจ้าชายดิลกนพรัฐ ประสูติ ณ วันเสาร์ เดือน ๖ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษแลเยอรมันเป็นดอกเตอร์วิทสตาตส์ วิสเซนชัพท์ ในมหาวิทยาลัยทุบบิงเงน ในรัชกาลที่ ๕ เป็นอำมาตย์เอก เจ้ากรมพลัมภังกระทรวงมหาดไทย ถึงรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๕๕ และเลื่อนเป็นมหาอำมาตย์ตรี คงตำแหน่งในกระทรวงมหาดไทย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ปีชวด พ.ศ. ๒๔๕๕ พระชันษา ๒๙ ปี เจ้าจอมมารดาคือ เจ้าทิพเกสร ณ เชียงใหม่”จะเห็นว่า มีพระองค์เจ้าดิลกนั้น มีพระมารดา เป็นเจ้าหญิงจากเชียงใหม่ ในตระกูล “เจ้าเจ็ดตน” หรือ “ทิพจักราธิวงศ์” ซึ่งเมื่อสืบสายตระกูลของพระองค์ จากหนังสือ “เจ้าหลวงเชียงใหม่” จะได้ดังนี้ พระมารดาของพระองค์ ซึ่งก็คือ เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสร ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากเชียงใหม่พระองค์แรกที่ไปเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

เจ้าหญิงทิพย์เกสร ได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๖ ซึ่งก่อนหน้าที่เจ้าหญิงทิพเกสรเข้าถวายตัว ก็ได้ลงมาศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี ของการอยู่ในพระราชสำนัก ของเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ) ทรงเป็นผู้อภิบาล และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานรรัตน์ราชมานิต (โต มานิตกุล) เป็นผู้อุปการะเป็นบุตรีบุญธรรม ด้วยตอนแรก ซึ่งตอนนี้ เจ้าจอมเจ้าทิพเกสรเป็นเจ้าจอมเพียงพระองค์ ที่ถือว่า มาจากที่อื่น ในตอนนั้นชาววังรู้จักล้านนา แต่เพียงว่า “ลาว” โดยที่ไม่รู้ว่า ล้านนา กับ ลาว นั้น แตกต่างกันอย่างไรบ้าง … และคำว่า ”ลาว” ในความรู้สึกของคนกรุงเทพฯ เวลานั้น เห็นเป็นเพียง “อีกินกิ้งก่ากินกบ” เจ้าหญิงทิพเกสรนั้นเชื่อแน่ว่า ทรงได้รับการดูหมิ่นเหยียดยามจากบรรดาเจ้าจอมต่าง ๆ เป็นแน่ ซึ่งหลังจากนั้น ครั้นเมื่อเจ้าหญิงดารารัศมี ซึ่งมีศักดิ์เป็นถึงธิดาเจ้าหลวงเชียงใหม่ เข้ามาถวายตัวก็ไม่เว้นที่จะถูกกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา ไม่ว่าจะเป็น มีกระดาษที่เขียนอักษรเลขยันต์อยู่ในขันทองสรงน้ำ และน้ำในห้องสรงก็ถูกโรยด้วยหมามุ่ย หรือแม้แต่ใส่ร้ายป้ายสีว่าขโมยถุงเงินของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็มี เป็นต้น

เมื่อเจ้าจอมเจ้าทิพเกสรประสูตพระราชโอรส ในปี ๒๔๒๗ ด้วยเหตุที่มีสายพระโลหิตสัมพันธ์กับเจ้านายฝ่ายเหนือ พระองค์จึงได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระราชบิดาว่า “ดิลกนพรัฐ”จดหมายเหตุ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิรุณหิศฯ ทรงบันทึกเมื่อพระชันษา ๖ พรรษาไว้ตอนหนึ่งว่า “วันอังคาร วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๗

สองโมงเช้าไปอ่านหนังสือ เลิกสามโมงนาน ให้แก้วเกล้าจุกแล้วกลับมาตำหนัก บ่ายสี่โมงนานไปบน เฝ้าที่ออกขุนนาง เสด็จขึ้นเกือบค่ำ เสด็จลงสมโภชน้องชายลูกทิพเกสร ทูลหม่อมบนประทานชื่อว่า ดิลกนพรัฐ สมเด็จแม่ทรงแปลประทานเราว่า ศรีเมืองเชียงใหม่ สมโภชเสร็จ เสด็จที่หอ ประทับตรัสกับเจ้านาย ทูลเหม่อมอาองค์น้องก็เสด็จมา เรากลับมาตำหนักนอนสี่ทุ่ม ฟังป้าโสมอ่านหนังสือสามก๊ก”
งานสมโภชที่ทรงบันทึกนั้น ก็คือ สมโภชเดือน พระชันษาครบ ๑ เดือนเต็ม และพระนามที่พระราชทาน อันมีความหมายว่า ศรีเมืองเชียงใหม่ นั้น นับว่าแสดงถึงความผูกพันระหว่าง สยาม กับ ล้านนา อันมีเชียงใหม่เป็นประธาน ทั้งนี้เนื่องจากว่า มีพระมารดา เป็นสายสกุล “ณ เชียงใหม่”และในอีกแง่หนึ่งก็คือการผสานความสัมพันธ์ในด้านการเมืองระหว่างสยามและล้านนาไปในตัวอีกด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นศิษย์ของแหม่มแอนนา เลียวโนเวน ทรงศรัทธาในความเจริญก้าวหน้าทุกประการของยุโรป ฉะนั้น จึงทรงส่งพระราชโอรส ออกไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เพื่อนำเอาความเจริญต่าง ๆ มาพัฒนาสยามประเทศต่อไป

สำหรับพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐนั้น เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ระหว่างเดือน เมษายน ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ซึ่งขณะนั้น พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้มีพระชันษาครับ ๑๓ ปีบริบูรณ์ การเสด็จประพาสยุโรปในครั้งนั้นได้มีพระราชโอรสติดตามไปด้วย ๔ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย (กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์), สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร (กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์) ,พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ (กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร) และ พระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์(กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี)

เมื่อ ถึงอังกฤษ พระองค์เจ้าดิลกได้ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียน วอร์เรนฮิลล์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อนที่จะย้ายไปที่โรงเรียนมัธยมชาร์เตอร์เฮ้าส์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากยุโรปในการเสด็จประพาสครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ จึงทรงมีพระราชหัตเลขาถึงเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เมื่อครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิ-สุทธสุริยศักดิ์ (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) มีข้อความที่บ่งชี้พระบรมราโชบาย และพระราชดำริในเรื่องการศึกษาของพระราชโอรส ได้ทรงมีรับสั่งถึงพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ไว้ดังนี้ "ยังมีอีกคนหนึ่ง ชายดิลก เป็นคนตาสั้นข้างหนึ่ง ตามตำราเขาก็จะไม่เอาเป็นทหารกันอยู่ ควรจะจัดให้เล่าเรียนฝ่ายพลเรือน ดิลกนั้นเป็นคนมีความขยันเล่าเรียน มีไอเดียเป็นลาว ๆ อยู่บ้าง ถ้ามีไม่ความรู้อาจจะฟุ้งซ่านได้เล็กน้อย แต่เป็นคนไม่สู้กล้า ยังจะเอาเป็นแน่ไม่ได้ ด้วยอยู่ในเวลากำลังที่จะเปลี่ยนแปลง นี่แลเป็นการที่สังเกตได้ในอัธยาศัยทั้งเก่าทั้งใหม่ดังนี้ แต่ต้องสังเกตเมื่อเวลาเจริญขึ้นต่อไป เมื่อตรวจเห็นผิดถูกประการใด ขอให้บอกมาให้ทราบ และคอยสังเกตตาไว้ จัดการป้องกันแลแก้ไขเข้าหาให้ทางที่จะเสียหย่อนไป ให้สิ่งที่หย่อนอยู่เจริญขึ้น” จากข้อความที่ว่า “มีไอเดียเป็นลาว ๆ อยู่บ้าง” จะเห็นว่า แม้แต่พระราชบิดาเอง ยังมองพระราชโอรสแบบแปลกแยกแตกต่างกับชาวสยามอยู่นั่นเอง ในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ นี้ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้ทรงมีเรื่องขัดแย้งกับพระยาประสิทธิศัลยการ และนายเวอร์นี ในเรื่องโรงเรียนที่ผู้ดูแลฯ จัดให้ทรงเข้าศึกษา ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ย้ายสถานที่ศึกษาจากอังกฤษ ไปที่เยอรมนีในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๔ ในช่วงสองปีแรกที่ทรงศึกษาอยู่ในประเทศเยอรมนี ได้ทรงเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมในโรงเรียนที่ เมือง “ฮาลเล” ภายใต้การควบคุมของ ดร.ตริน ศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน ทรงอุตสาหะวิริยะเล่าเรียนทั้งภาษาเยอรมันจนแตกฉานและสำเร็จชั้นมัธยมภายใน เวลาเพียง ๒ ปีเท่านั้น

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ซึ่งพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐมีพระชันษาได้ ๑๙ ปีบริบูรณ์ พระองค์ได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยมิวนิค ในหลักสูตรวิชา “เศรษฐศาสตร์การเมือง” หรือที่รู้จักกันดีในสมัยนี้ว่า “เศรษฐศาสตร์” พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงค้นคว้าเพื่อเรียบเรียงวิทยานิพนธ์เรื่อง “เกษตรกรรมในสยาม : บทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจของราชอาณาจักรสยาม”(Landwirtschaft in Siam : Ein Beitrag Zur Wirtschaftsgeschichte des Königreichs Siam) ใน พ.ศ. ๒๔๔๗ ซึ่งในด้านเอกสารข้อมูล ทรงรวบรวมจากกระทรวงเกษตราธิการ ส่งไปถวายจากสยาม ตลอดจนหนังสือและเอกสารต่าง ๆ ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ทั้งที่เป็นภาษาเยอรมัน อังกฤษ และ ฝรั่งเศส หลังจากที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยมิวนิคเป็นเวลา ๒ ปี ก็ทรงย้ายไปศึกษาต่อในแขนงเดียวกัน ณ มหาวิทยาลัยทึบบิงเงน ทางตอนใต้ของเยอรมนี ซึ่ง ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ พระองค์ได้ทรงสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาดอกเตอร์ทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า“ดอกเตอร์วิทสตาตส์ วิสเซนชัฟท์” คือ ดุษฎีบัณฑิตของรัฐในวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งที่โดดเด่นนั้น พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์และเป็นคนไทยคนแรกที่ศึกษาวิจัยสถานภาพและปัญหาเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ซึ่งนักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจทุกชาติที่สนใจประเทศไทย ต้องนำพระวิทยานิพนธ์ของ “ปรินซดิลก ฟอนสิอาม” มาศึกษา และทรงเป็นคนไทยคนที่สองที่ได้รับปริญญาในระดับดุษฎีบัณฑิต ส่วนคนที่ได้มาก่อนนั้นเป็นสามัญชน ชื่อ ดร.ชู ในวิชา “เศรษฐศาสตร์” นี้ มีพระเจ้าลูกเธอ ๒ พระองค์ที่ทรงศึกษาด้านนี้ หนึ่งก็คือ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ส่วนอีกพระองค์หนึ่งก็คือ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ซึ่งทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ โดยจะทรงศึกษาในช่วงทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ส่วนพระองค์เจ้าดิลกฯ นั้นได้ทรงศึกษาในช่วงทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ และการศึกษาวิชา “เศรษฐศาสตร์” ของทั้งสองพระองค์ก็แตกต่างกัน โดยศึกษาคนละส่วน โดยที่พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถนั้น ทรงเอาใจใส่ในส่วนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์ อุปทาน การผลิต การบริโภค เป็นต้น ส่วนพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐนั้น ทรงใส่ใจในเรื่องของความยากจน การด้อยการพัฒนา โดยอาศัยจากการผสมระหว่าง สังคม เศรษฐกิจและการปกครอง หนึ่งนั้นเหมาะสำหรับรับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และหนึ่งเหมาะสำหรับรับผิดชอบความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบท และทั้งสองแง่นี้มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นอย่างมากไม่ ว่าจะเป็นในสมัยไหน

หลังจากที่กลับถึงกรุงเทพฯ ในปลายปี ๒๔๕๐ ก็ได้เข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทยในตำแหน่ง “ปลัดกรมพิเศษ” แผนกอัยการต่างประเทศ แล้วย้ายไปเป็น “ปลัดสำรวจ” กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ และต่อมาก็ดำรงตำแหน่ง “เจ้ากรมเลขาณุการ” ปฏิบัติงานขึ้นตรงต่อเสนาบดีการกลับมาของพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ หลังจากไปศึกษาเล่าเรียนยังต่างประเทศ แล้วกลับมารับราชการสนองพระเดชพระคุณ นำมาซึงความปลาบปลื้มยินดีแก่พระมารดาเป็นที่ยิ่ง แต่เสียดายที่พระมารดาได้มีโอกาสเห็นความสำเร็จของลูกรักได้เพียงปีเดียว เท่านั้นก็ประชวร และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๐ ขณะมีพระชนมายุเพียง ๓๘ พรรษา

เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสรเป็นเจ้าหญิง จากเชียงใหม่ ฉะนั้นพระญาติและผู้ที่คุ้นเคยจึงมีน้อย ก็จะมีเพียงแต่ บุตร...ดร.ดิลกฯ และ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เท่านั้น ที่เป็นเรี่ยวแรงในการจัดพระศพในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เล็งเห็นเหตุนี้ด้วย จึงมีพระบัญชาไปยังอธิบดีหญิงกรมหลวงพิทยรัตน์กิริฎกุลินี เนื่องจากเกรงว่าจะมีเจ้าจอมหม่อมห้ามมาร่วมงานน้อยในวันนั้นว่า งานศพนางทิพนี้ไม่มีญาติพี่น้อง จะมีก็นางดาราไปแกร่วอยู่คนเดียว ฉันเห็นว่าเงียบนัก ขอให้เจ้านายลูกเธอและเจ้าจอมมารดา เจ้าจอมอยู่งานชั้นพวกสูงที่ชอบพอกันไปช่วยบ้าง ตามแต่ใจที่เขาจะไปจะเป็นการช่วยองค์ดิลก แต่เจ้านายพี่นางน้องนางไว้แต่วันเผา เพราะถ้ามากนักจะขนลำบาก งานพระศพของเจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสรนี้ได้รับพระกรุณาจากพระสวามีและบรรดาเจ้าจอมต่างๆ ที่มาช่วยงาน จึงผ่านไปด้วยดี พระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์ได้เสกสมรสกับเจ้าศิริบังอร ณ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าธรรมวงษา (เจ้าธรรมวงษาเป็นบุตรชายของเจ้าอุบลวรรณา พระเจ้าน้าหญิงองค์เดียวของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี) ทั้งสองไม่มีโอรสหรือธิดาสืบสกุล

ต่อมาในปี ๒๔๕๓ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ก็ได้รับพระราชทานยศเป็น “อำมาตย์เอก” (เทียบยศทหารพลตรี) และดำรงตำแหน่ง “เจ้ากรมพลำภัง”และในปีเดียวกันนี้เอง พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ก็ทรงสูญเสียพระราชบิดาในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้า ที่ทรงสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักทั้งสองพระองค์ในเวลาห่างกันไม่กี่ปี …แต่ความโศกาดูรไม่ได้หมดลงเพียงแค่นั้นไม่ ในปีถัดมาหลังจากพี่พระราชบิดาสวรรคต เจ้าหญิงศิริบังอร พระชายา ได้สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุตกน้ำในสระในพระตำหนัก… แม้ว่าจะทรงประสบแต่เรื่องที่เศร้าโศกเสียใจเพียงใด ก็มิทรงที่จะท้อถอย ย่นย่อแต่ประการใด พระองค์ทรงวิริยะอุตสาหะตั้งใจปฏิบัติราชการอย่างเต็มพระสติกำลัง หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้ทรงลาเพื่อจะกลับไปพำนักอยู่ที่ภูมิลำเนายังดินแดนล้านนา และในครั้งนี้ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้ทรงตามเสด็จมาเยือนเชียงใหม่ อันเป็นมาตุภูมิของพระมารดาเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย

ต่อมาในเดือน พฤศจิกายน ๒๔๕๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม ดังมีข้อความในประกาศว่า “จึงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี อัชนาม ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง จงทรงเจริญพระชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสมบัติสรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคล วิบุลยศุภผลมโหฬารทุกประการ ให้ทรงตั้งเจ้ากรมเป็น หมื่นสรรควิสัยนรบดี ถือศักดินา ๖๐๐ ให้ตั้งปลัดกรม เป็น หมื่น อุไทยธานีนรสมาคม ถือศักดินา ๕๐๐ ให้ทรงตั้งสมุห์ยัญชี เป็น หมื่นมโนรมนรานุรักษ์ ถือศักดินา ๓๐๐” หลังจาก “ทรงกรม” เพียงสองเดือนถัดมา พระเจ้าน้องยาเธอฯ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดีก็ทรงปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยพระแสงปืน ด้วยพระชันษาเพียง ๒๘ หลังจากที่สิ้นพระชนม์แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามเป็น “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ” เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ พร้อมกับการสิ้นพระชนม์ บรรดาความรู้และแนวคิดทั้งหลายทั้งปวง อันเกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจของสยามที่กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ได้ทรงค้นคว้าวิจัย จนกระทั่งมาสัมผัสครั้งเมื่อรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ก็มลายหายไปด้วย แต่โชคยังดีที่ทางประเทศเยอรมนี กำหนดให้ผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับ “ดอกเตอร์ของรัฐ” ต้องพิมพ์วิทยานิพนธ์เผยแพร่ไปตามห้องสมุดของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่งโลก สำหรับวิทยานิพนธ์ของพระองค์นั้น เป็นรูปเล่มที่เป็นหลักเป็นฐาน ด้วยมีเนื้อหาถึง ๒๑๖ หน้า และตารางแผ่นพับขนาดใหญ่อีก ๘ แผ่น ศ.ดร.ฉัตร ทิพย์ นาถสุภา และ ศ.ดร.ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ หลังจากได้อ่า “เกษตรกรรมในสยามฯ”แล้วได้วิเคราะห์โดยสรุปว่า “หลังจากที่พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้ทรงนิพนธ์งานวิทยานิพนธ์เรื่องดังกล่าวเสร็จไปเพียง ๓ – ๔ ปีก็เกิดกรณี “ขบถ ร.ศ. ๑๓๐ ” ขึ้น และหลังจากนั้นเพียง ๒๕ ปี ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ซึ่งการปฏิวัติทั้งสอง มีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวนาไทย เห็นชัดว่าปัญหาความยากจนของชาวนาไทยที่พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงมองเห็นก่อนใครๆ และทรงเสนอมาตรการปฏิรูปเป็นประเด็นรากฐานของสังคมไทยต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงเป็นพระราชวงศ์ชั้นสูงพระองค์แรกๆ ที่มีความคิดก้าวหน้า” (ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพ็ชร)

สำหรับเรื่องราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่สุพจน์ แจ้งเร็ว ได้เขียนไว้ในบทความเรื่อง “ศรีเมืองเชียงใหม่” ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๗ ประจำเดือน พฤษภาคม ๒๕๒๗ ระบุไว้ว่า เมื่อปี ๒๔๕๓ ปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ วันหนึ่ง หลังจากที่ทรงไปร่วมงานพระราชพิธี ได้ขับรถเพื่อเสด็จกลับวัง พอถึงมุมวังเปรมประชากร ของกรมหลวงชุมพรฯ รถรางซึ่งแล่นมาเร็วเต็มที่ และมิได้ให้สัญญาณก็พ้นมุมออกมา พอชนเอารถของพระองค์ตกลงไปในคลอง ทั้งพระองค์และมหาดเล็กไม่บาดเจ็บอะไรนักนอกจากฟกช้ำดำเขียว ฉลองพระองค์เต็มพระยศได้กันกระจกที่แตกละเอียดไว้ได้ สิ่งแรกที่ขึ้นมาจากคลอง แทนที่จะตั้งศาลเตี้ยชำระความ แต่กลับไปแจ้งความที่โรงพักเพื่อให้ตำรวจตัดสินคดี ซึ่งผิดวิสัยของเวลานั้น ซึ่งเป็นอย่างที่ ส.ธรรมยศ กล่าวไว้ในบทความเรื่อง “ดร.ดิลกแห่งสยาม” ว่าพระองค์ เป็น “เจ้าอย่างสามัญชน” ไม่โปรดคำราชาศัพท์ ชอบคุยเรื่องต่างๆสนุกสนาน

ส. ธรรมยศ กล่าวไว้ในบทความเรื่องดังกล่าวว่า การที่พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ต้องปลงพระชนม์พระองค์เองนั้น เนื่องจากสภาพความกดดันต่างๆ มากมายในสมัยนั้น หนึ่งด้วยการที่พระองค์มีดีกรีเป็นถึง ดอกเตอร์ ซึ่งเจ้านายในสมัยนั้น ไม่มีใครที่ได้ดีกรีถึงขั้นนี้ อย่างมากก็แค่ปริญญาโทเท่านั้นเอง ความอิจฉาริษยาของผู้คนรอบข้าง มักจะนำมาซึ่งความเดือนเนื้อร้อนใจอยู่เสมอ ๆ และประเด็นใหญ่ก็ด้วยเหตุที่พระองค์ มีพระมารดาเป็นเจ้าหญิงจากเชียงใหม่ ซึ่งในขณะนั้นสยามยังมองเชียงใหม่ว่า เป็น “ลาว” ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ระหว่างสยามและล้านนายังมีอยู่ในใจลึก ๆ ของชาวสยามอยู่นั่นเอง จนถึงขั้นที่กล่าวหาพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐว่า จะคิดแยกล้านนาออกจากสยามประเทศ ซึ่งทำให้พระองค์ช้ำใจมาก ทั้งที่พระองค์ได้เสด็จไปดินแดนล้านนาเพียงครั้งเดียว ซึ่งข้อกล่าวหานี้จะเป็นเพียงเพราะที่พระองค์มีพระมารดาเป็นชาวเชียงใหม่เท่านั้นเอง ทว่าข้อหานี้เป็นข้อหาที่หนักหน่วงเอาการ ความทุกข์ ความกดดันกับมรสุมที่เข้ามาในชีวิต และการที่ต้องฟันฝ่ากับการดูหมิ่นเหยียดหยามจากชาวสยามในสมัยนั้นจนประสบความสำเร็จยิ่งกว่าใคร คงทำให้พระองค์ทรงเศร้าหมอง จนทำให้ตัดสินพระทัยปลิดพระชนม์ชีพไปขณะที่อยู่ในวัยอันน้อยนิด ซึ่งนับเป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันทรงคุณค่าไปอย่างน่าเสียดายอย่างยิ่ง

ที่มา หนังสือ ราชกุลวงศ์, วิกิพีเดีย ,http://atcloud.com/stories/๘๔๗๐๗
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 23 ก.ค. 2017 2:38 pm

พญามังรายปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา

พญาล้านนา_resize.jpg
พญาล้านนา_resize.jpg (24.28 KiB) เปิดดู 13152 ครั้ง


พญามังราย เป็นราชโอรสของพระเจ้าลาวเมงแห่งราชวงศ์ ลวจังกราชผู้ครองหิรัญนครเงินยาง กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมืองหรือพระนางเทพคำขยาย ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ้ง พระองค์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุนเอกศกจุลศักราช ๖๐๑ ตรงกับพุทธศักราช ๑๗๘๑ เมื่อมีพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา พระบิดาได้สู่ขอ ธิดาเจ้าเมืองเชียงเรืองมาเป็นคู่อภิเษกแล้วโปรดให้ราชบุตรมังรายเป็นมหาอุปราช เมื่อพระเจ้าลาวเมงสวรรคตในปี พ.ศ. ๑๘๐๒ ราชบุตรมังรายราชโอรสจึงได้ครองเมืองหิรัญนครเงินยางสืบแทน ในขณะที่มีพระชนมายุ ๒๑ พรรษา

ครั้งนั้น เมืองเล็กเมืองน้อยต่าง ๆ ในแคว้นลานนาเกิดแตกความสามัคคี ต่างตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ทั้ง ๆ ที่เจ้าเมืองส่วนใหญ่ก็เป็นพระญาติของพระองค์ คือสืบเชื้อสายมาจาก ลั๊วจักราชด้วยกัน พญามังรายจึงมีพระดำริที่จะรวบรวมเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน เพื่อความสงบสุขของอาณาประชาราษฎร์ซึ่งต่างก็เป็นชาวล้านนา ดังนั้นจึงมีใบบอกไปยังเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งตัวเป็นอิสระให้มาอ่อนน้อม เมืองใดแข็งข้อก็ส่งกองทัพไปปราบ ตีได้เมืองมอบเป็นเมืองแรก ต่อมาได้เมืองไร เมืองเชียงคำ ให้ถอดเจ้าผู้ตรองนครออกแล้วแต่งตั้งขุนนางอยู่รั้งเมืองแทน แต่นั้นมาหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายต่างพากันมาสวามิภักดิ์โดยสิ้นเชิง

เมื่อรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือได้แล้ว ก็คิดจะยกทัพไปปราบหัวเมืองฝ่ายใต้ต่อไป ในปี พ.ศ. ๑๘๐๕ ขณะยกทัพไปถึงเมืองลาวกู่เต้าและประทับบอยู่ที่นั่น เผอิญช้างทรงของพระองค์ซึ่งทอดไว้ที่ป่าหัวดอยทางทิศตะวันออก หลุดพลัดไป พระองค์จึงเสด็จตามรอยช้างไปจนถึงดอยจอมทอง ริมฝั่งแม่น้ำกก ทอดพระเนตรเห็นภูมิประเทศเป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้โปรดให้สร้างพระนครขึ้น โดยก่อกำแพงโอบรอบ เอาดอยจอมทองไว้ภายในขนานนามว่า เมืองเชียงราย แล้วให้ย้ายราชธานีจากเมืองหิรัญนครเงินยาง มาตั้งอยู่ที่เชียงรายนับแต่นั้นมา

ในปี พ.ศ. ๑๘๑๙ พญามังรายได้ยกกองทัพไปประชิดเมืองพะเยา พญาเมือง ผู้ครองเมืองพะเยาออกมารับเสด็จด้วยไมตรีและยกตำบลบ้านปากน้ำให้แก่พญามังรายแล้วปฏิญาณเป็นมิตรกัน ต่อมาอีกราว ๔ ปี พ่อขุนรามคำแหงมหาราช แห่งอาณาจักรสุโขทัย พญางำเมือง และพญามังราย ได้กระทำสัตย์ปฏิญาณเป็นพระสหายกัน โดยทรงเอาโลหิตที่นิ้วพระหัตถ์ผสมกับน้ำสัตย์เสวยทั้งสามพระองค์สัญญาว่าจะไม่เบียดเบียนกันตลอดชีวิตและในปี พ.ศ. ๑๘๓๔ พญามังรายเสด็จไปสร้างเมืองใหม่ที่เชิงดอยสุเทพ ใช้เวลาสร้างนาน ๕ ปี พ.ศ. ๑๘๓๙ จึงเสด็จและสถาปนานครแห่งนี้ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่"

ด้วยพระปรีชาสามารถพระราชกรณีกิจของพระองค์จึงมีมากมาย ดังนี้

๑. ทรงสร้างเมืองเอกในแว่นแคว้นถึง ๓ เมืองได้แก่
เมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๕
เมืองกุมกาม (ปัจจุบันคืออำเภอสารภีจังหวัดเชียงใหม่) เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๙
เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๔

นอกจากนั้น พระองค์ยังได้ทรงบูรณะเมืองหิรัญนครเงินยาง และในปี พ.ศ.๑๘๑๑ได้บูรณะเมืองฝางเพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมไพร่พลของพระองค์ (ซึ่งแต่เดิมเมืองฝางตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองหิรัญนครเงินยางมาก่อน) และโปรดให้ขุนอ้ายเครือคำลก หรือขุนเครื่อง ราชโอรสองค์ใหญ่ไปครองเมืองฝาง

๒. ทรงแผ่พระเดชาในทางการรบ กล่าวคือหลังจากได้ส่งกองทัพไปปราบเมืองมอบ เมืองไร และเมืองเชียงคำได้แล้ว ในปี พ.ศ. ๑๘๒๔ ตีเมืองหริภุญชัยจากพระยายีบา กษัตริย์ขอม พระยายีบาหลบหนีไปอยู่กับพระเบิกที่นครเขลางค์พ.ศ. ๑๘๒๘ พระยายีบาและพระยาเบิกยกทัพขอมมาเพื่อตีเมืองหริภุญชัยคืน พญามังรายจึงทรงแต่พระโอรสคือ ขุนคราม ยกทัพออกไปต้านทาน ได้รบกับพระเบิก และจับพระยาเบิกสำเร็จโทษ พระยายีบารู้ข่าวว่าเสียบุตรจึงทิ้งเมืองเขลางค์หนีไปพึ่งพระยาพิษณุโลก เจ้าขุนครามจึงได้เมืองเขลางค์อีกเมืองหนึ่งนับว่าดินแดนภาคเหนือทั้งหมดพญามังรายได้ครอบครองโดยทั่วอาณาจักรลานนาในรัชสมัยของพระองค์มีอาณาเขตกว้างไกลดังนี้

ทิศเหนือ จด สิบสองปันนา
ทิศใต้ จด อาณาจักรสุโขทัย
ทิศตะวันออก จด แคว้นลาว
ทิศตะวันตก จด แม่น้ำสาละวิน

พ.ศ. ๑๘๒๙ ยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีพระเจ้าหงสาวดีเจงพยุเจง เกรงพระบารมีจึงแต่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายขอเป็นไมตรีโดยยกพระราชธิดาพระนามว่านางปายโค (ตะละแม่ศรี) ให้เป็นบาทบริจาริกาแด่พญามังราย

พ.ศ. ๑๘๓๒ ยกทัพไปตีเมืองพุกาม พระเจ้าอังวะให้ราชบุตรนำเครื่องบรรณาการมาต้อนรับขอเป็นไมตรี

๓. ทรงนำความเจริญในด้านศิลปกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรมมาสู่แคว้นลานนา โดยเมื่อครั้งที่ยกทัพไปตีเมืองพุกาม พระองค์ได้นำช่างฝีมือต่าง ๆ เช่น ช่างฆ้อง ช่างทอง และช่างเหล็ก ชาวพุกามเข้ามาฝึกสอนขาวลานนาไทย จึงเข้าใจว่าศิลปต่าง ๆ ของพุกามที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบันน่าจะเริ่มมาแต่นั้นเมื่อจำนวนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์มีมากขึ้น ก็ทรงจัดหาทำเลที่เหมาะสมในการเกษตรและการค้าเพื่อให้มีอาชีพทั่วหน้า

๔. ทรงเป็นนักปกครองที่สามารถและประกอบด้วยคุณธรรมสูงส่ง พญามังรายทรงเลื่อมในและศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยเป็นองค์ศาสนูปถัมภกและทรงนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในการปกครองราษฎรของพระองค์ได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขมีศีลธรรมอันดีมีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี แก่คนทั่ไปซึ่งเป็นมรดกด้านคุณธรรมที่ตกทอดถึงลูกหลานชาวลานนา จนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักรบผู้แกล้วกล้า แต่การใดที่เป็นทางนำไปสู่ความหายนะเป็นเหตุให้เสียเลือดเนื้อระหว่างคนไทยด้วยกัน พระองค์จะทรงหลีกเลี่ยง ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงรับไมตรีจากเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ และการกระทำสัตย์ปฏิญาณระหว่างสามกษัตริย์ดังกล่าว

พระปรีชาสามารถในด้านการปกครองอีกเรื่องหนึ่งได้แก่ การวางระเบียบการปกครองหรือกฎหมายที่ทรงตามขึ้นไว้เป็นพระธรรมศาสตร์ ใช้ในการปกครองแผ่นดิน เรียกว่า กฎหมายมังรายศาสตร์ เพื่อให้ลูกขุนใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาในการพิพากษาผู้กระทำผิดสมควรแก่โทษานุโทษโดยมิให้เลือกเห็นแก่หน้าว่าจะเป็นผู้ใหญ่ ผู้น้อย หัวหมู่ หรือไพร่น้อยเมื่อกระทำผิดย่อมต้องได้รับโทษเช่นเดียวกัน

พญามังรายสวรรคตขณะเสด็จประพาสกลางเมืองเชียงใหม่ โดยถูกอสุนีบาตตกต้องพระองค์เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๖๐ รวมพระชนม์มายุได้ ๘๐
พรรษา

ที่มา http://www.chiangraifocus.com (นำมาปรับข้อมูลบางอย่างตามความเหมาะสมค่ะ)
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 64 ท่าน

cron