เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 13 ธ.ค. 2019 6:50 pm

เจดีย์วัดแสนฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๑๒
ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย
3147.jpg
3147.jpg (32.73 KiB) เปิดดู 6498 ครั้ง

พระอนุรัฐนฤผดุง(ล้อม นมหุต)และญาติพี่น้อง ถ่ายภาพบริเวณหน้าบ้านของท่านที่ถนนสามล้าน ต.พระสิงห์
น่าจะถ่ายราวๆพ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๔๘๐ ปัจจุบันบ้านหลังนี้ปัจจุบันมีอายุมากกว่า ๑๑๐ ปีแล้ว ได้รับการอนุรักษ์ ปรับปรุง และต่อเติม จัดตั้งเป็นศูนย์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ของคณะแพทยศาสตร์ มช.
จาก ... หนังสือ "ผู้สะสมบุญในเมืองเชียงใหม่" ของ พ.ต.อ.อนุ เนินหาด
5630.jpg
5630.jpg (47.07 KiB) เปิดดู 6483 ครั้ง

#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
ขบวนของนักเรียนโรงเรียนปรินส์ฯ ไปร่วมงานฉลองรัฐธรรมนูญหรือไปร่วมพิธีต้อนรับรัฐธรรมนูญที่เดินทางมาถึงเชียงใหม่
ภาพถ่ายหน้าโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๗ ซึ่งตรงกับวันรัฐธรรมนูญ
คำบรรยายภาพ..."Dec.10 1934. Constitution arrives in Chiangmai "
ภาพ : Nheurfarr Punyadee
ไฟล์แนป
3152.jpg
3152.jpg (42.48 KiB) เปิดดู 6498 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 13 ธ.ค. 2019 6:53 pm

ปล่อยโคมลอยบนดอยสุเทพ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๙
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการปล่อยโคมลอยที่จุดถวายทอดพระเนตร ในวโรกาสประพาสสวนกุหลาบของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใกล้วัดพระธาตุดอยสุเทพ
จาก...หนังสิอ"สมุดภาพรัชกาลที่ ๗ เสด็จฯมณฑลพายัพ" จัดพิมพ์โดยสถาบันพระปกเกล้า
4022.jpg
4022.jpg (50.99 KiB) เปิดดู 6448 ครั้ง

ถนนเชียงใหม่-ลำพูน บริเวณหน้าโบสถ์คริสตจักรที่๑ (หลังเดิม) ปัจจุบันคือโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน ถ่ายประมาณ พ.ศ.๒๔๗๐ ขณะนั้นถนนยังเป็นถนนดิน ยังไม่ได้ลาดยาง ในภาพคงเป็นขบวนแห่ศพเตรียมเคลื่อนสู่สุสานบ้านเด่น
ภาพ : นายเอ็ม ทานาคา(ทานากะ)
3154.jpg
3154.jpg (26.55 KiB) เปิดดู 6448 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 17 ธ.ค. 2019 5:48 pm

วงปี่กลองนำขบวนแห่ครัวบอกไฟในเชียงใหม่ ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๕ - ๒๔๙๐
ในภาพมีชายปะแป้งแต่งตัวเป็นผู้หญิงฟ้อนนำขบวนอย่างสนุกสนาน (เครื่องดนตรีในภาพเรียก แน ไม้เหิบ)
ภาพ : หลวงอนุสารสุนทร
6249.jpg
6249.jpg (33.51 KiB) เปิดดู 6415 ครั้ง

ภาพถ่ายจากทางอากาศบริเวณศาลาธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ราวๆพ.ศ.๒๕๑๓
จาก...หนังสือ "ฉลองบัณฑิต รุ่นที่ ๓ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"
6252.jpg
6252.jpg (23.17 KiB) เปิดดู 6415 ครั้ง

รถประจำทางเมืองฝาง หน้าวัดถ้ำเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่พ.ศ.๒๔๙๘
ฝาง.jpg
ฝาง.jpg (61.19 KiB) เปิดดู 6409 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 31 ธ.ค. 2019 8:59 pm

ภาพเก่าพระอุโบสถวัดเกตุ จังหวัดเชียงใหม่
9820.jpg
9820.jpg (87.52 KiB) เปิดดู 6351 ครั้ง

มีหลังคาซ้อนกัน ๓ ชั้น ๒ ตับแบบล้านนา หน้าบันประดับด้วยไม้แกะสลักลายพรรณพฤกษาลงรักปิดทองบานประตูประดับด้วยไม้แกะสลัก
รูปเทวดา (นายทวาร) และประดับด้วยตัวกิเลนและสิงห์โตจีนเหยียบมังกร และปลาพ่นน้ำรูปปั้น ที่ได้รับอิทธิพลจีน ลักษณะโก่งคิ้วมีรวงผึ้ง

ย่านวัดเกตุ เป็น ย่านค้าขายของชาวจีน และย่านชาวฝรั่งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง เป็นย่านที่รุ่งเรืองสูงสุดในยุคสุดท้ายของการค้าทางน้ำของเชียงใหม่ ร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองในอดีตที่ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันว่าถนนสายนี้คือศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญของย่านวัดเกตุ คืออาคารบ้านเรือนที่งดงามโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมจีน ผสม ล้านนาอันทรงคุณค่าตลอดสองฟากถนน

กู่อัฐิพญาคำฟู ข้างในมีขะอูบหรือผอบบรรจุอัฐิซ้อนกัน ๓ ใบ เป็นทอง ทองเหลือง และเงิน และสูญหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือที่เรียกกันสงครามมหาเอเชียบูรพา
8057.jpg
8057.jpg (21.69 KiB) เปิดดู 6351 ครั้ง

พญาคำฟู หรือที่เรียกกันว่า เจ้าคำฟู หรือท้าวคำฟู เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์มังราย แห่งอาณาจักรล้านนา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๗๗ - ๑๘๗๙ รวมระยะเวลาการครองราชย์ ๒ ปี

พญาคำฟูเป็นพระราชโอรสในพญาแสนภู ตามตำนานสิบห้าราชวงศ์กล่าวไว้ว่า "เจ้าพระญาแสนภูก็แต่งลูกตน เจ้าพ่อท้าวคำฟู อยู่รักษาเมืองเชียงใหม่ ส่วนตนเจ้าก็ไปส่งสะกานเจ้าพระญาไชยสงครามพ่อในเมืองเชียงราย ได้ ๑ เดือนบัวระมวลชุอัน ท้าวก็ลวดอยู่เสวยเมืองเชียงรายหั้นแล แล้วก็แต่งหื้ออภิเษกพ่อท้าวคำฟู ลูกตนอายุได้ ๒๖ ปี หื้อเป็นพระญาในเมืองเชียงใหม่ในปีเปิกสี ศักราชได้ ๖๙๐ ตัวปีหั้นแล"

สรุปคือพญาคำฟู เป็นหลานของขุนคราม หรือพญาไชยสงคราม โอรสพระองค์ที่ ๒ ในพญามังราย (ขุนเครื่อง ขุนคราม และขุนเครือ)

หลังจากเจ้าคำฟูได้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ พญาแสนภูก็ทรงย้ายเมืองหลวงจากเชียงใหม่ไปไว้ที่เชียงแสน ภายหลังพญาแสนภูเสด็จสวรรคต เจ้าคำฟูจึงได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ล้านนาระหว่าง พ.ศ.๑๘๗๗-๑๘๗๙ พญาคำฟูได้พัฒนา ปกครองนครเชียงใหม่ให้เกิดความผาสุก ร่มเย็น ในรัชสมัยของพระองค์แม้จะเป็นเวลาเพียง ๒ ปี แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่เชียงใหม่มีความเจริญรุ่งเรือง สงบสุข ไม่มีศึกสงคราม ในยุคสมัยของพญาคำฟูนี้พระองค์ทรงร่วมมือกับพญาผานองเจ้าเมืองปัวเข้าตีเมืองพะเยา และสามารถที่จะผนวกเอารัฐพะเยาที่เป็นอิสระอยู่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของล้านนาได้ หลังจากพญาคำฟูเสด็จสวรรคตพระราชโอรสในพญาคำฟูขึ้นครองราชย์ต่อ ออกพระนาม พญาผายู

พญาคำฟูสวรรคตจากการถูกเงือกหรือจระเข้กัด ถือเป็นการตายร้าย จึงได้รับการบูชาเป็นผีอารักษ์ปกป้องเมืองเชียงใหม่

การที่ทรงสิ้นพระชนม์เพราะจระเข้กัดตายนั้น ตามตำนานเล่าว่า เป็นเพราะพญาคำฟูเสียสัตย์สาบาน กษัตริย์ราชวงศ์มังรายที่สวรรคตยังแม่น้ำคำเพราะเงือก(จระเข้)ขบ เรื่องนี้ปรากฏในพงศาวดารโยนกและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้บันทึกตรงกันว่าพญาคำฟู กษัตริย์ราชวงศ์มังรายรัชกาลที่๖ ได้กระทำผิดสาบานที่ได้ให้ไว้กับสหายเศรษฐีชื่อ งัวหง ว่าจะไม่คิดร้ายต่อกัน แต่พญาคำฟูกลับเสียสัตย์ลักลอบกระทำมิจฉาจารกับภรรยาของงัวหง การกระทำครั้งนั้นเป็นเหตุให้พระองค์ต้องสวรรคต ในสังคมสมัยนั้นเชื่อเรื่องลี้ลับมาก ดังปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า....

“พญาได้เห็นภรรยาของสหายนั้นทรงรูปลักษณะงามท่วงทีดี ก็มีใจปฏิพัทธ์จึงลอบลักสมัครสังวาสกระทำมิจฉาจารด้วยนางผู้เป็นภรรยาของสหายนั้น ด้วยเหตุพญาได้เสียสัตย์สาบานดังนี้ อยู่มาได้เจ็ดวัน พญาคำฟู ลงอาบน้ำดำเศียรในลำน้ำแม่คำ เงือกใหญ่ตัวหนึ่งออกมาจากเงื้อมผามาขบคาบสรีระพญาคำฟู พญาคำฟูก็ถึงกาลกิริยาในแม่น้ำนั้น ต่อครบเจ็ดวันศพพญาคำฟูจึงลอยขึ้นมา คนทังหลายจึงรู้ว่าพญาคำฟูสิ้นชีพวายชนม์แล้ว”

กู่อัฐิของพญาคำฟู เป็นกู่เล็ก ๆ ลักษณะเป็นทรงกลมเส้นรอบวงประมาณเมตรครึ่งด้านบนเป็นแผ่นศิลาทรงกลมปิดไว้ อยู่ด้านหน้าพระอุโบสถทางทิศเหนือเยื้องขวา ไปประมาณ ๑๐ เมตร คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าพระธาตุหลวง เป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู ในปี ๒๔๖๙ ครูบาศรีวิชัย มาแผ้วถางบูรณะวัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร ได้พบกู่อัฐิค้นพบข้างในมีผอบบรรจุอัฐิซ้อนกัน ๓ ใบ ชั้นนอกทำด้วยทองเหลืองหนัก ๒๕๔ บาท ๓ สลึง สูง ๒๓ นิ้ว ชั้นกลางทำด้วยเงินหนัก ๑๘๕ บาท ๒ สลึง สูง ๑๘ นิ้ว ชั้นในสุด ทำด้วยทองคำหนัก ๑๒๒ บาท ๒ สลึง สูง ๑๔ นิ้ว และยังพบแผ่นทองจารึกเรื่องราวต่าง ๆ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นอัฐิของพญาคำฟูผู้สร้างวัด ทางราชการได้นำไปเก็บไว้ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ชั่วคราว ซึ่งตั้งอยู่ที่ข่วงสิงห์ และขณะนั้นเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ผอบทั้ง ๓ ใบ และจารึกตลอดถึงเครื่องราชูปโภคเหล่านั้นได้สูญหายไปในขณะเกิดสงครามซึ่งประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๔

ที่มา : รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สมหมาย เปรมจิตต์. (๒๕๔๐). ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับชำระ . เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, หน้า ๔๘.

ขอบคุณเจ้าของภาพ
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 31 ธ.ค. 2019 9:19 pm

นางข้าหลวง จาก เชียงใหม่ที่โชคชะตาหนุนส่ง ให้เป็นภริยา พระยาราชมนตรี ข้าราชบริพารในสมัยรัชกาลที่๕ จนได้เป็นคุณหญิงบุญปั๋น สิงหลกะ นามเดิม บุญปั๋น พิทักษ์เทวี ธิดาของ พญาพิทักษ์เทวี
10713.jpg
10713.jpg (48.2 KiB) เปิดดู 6351 ครั้ง

สตรีล้านนา ผู้กลายมาเป็นเจ้าของกิจการเรือข้ามแม่น้ำท่าวัดระฆัง ไปท่าช้างวังหลวง ( ท่านเป็นคุณยายของ นักแสดง คุณภัทราวดี ศรีไตรรัตน์)ท่านเป็นนางข้าหลวง ในตำหนักลาวของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ใน วังหลวงมีหน้าที่เก็บเครื่องประดับ รักษาของมีค่าของพระราชชายา เป็นคนเดียวที่พระราชชายาไว้ใจ มอบหมายหน้าที่นี้

คุณหญิงบุญปั๋น เป็นข้าพระบาทในพระราชชายาฯ มาแต่เด็ก เมื่อพระราชชายามาถวายตัวอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ก็ตามเสด็จมาอยู่ด้วย และได้ออกเรือนกับ หลวงเทพสมบัติ (สง่า สิงหลกะ) เพราะมีผู้ใหญ่มาทาบทามและด้วยความเห็นชอบของพระราชชายาฯ ต่อมาหลวงเทพสมบัติได้เลื่อนเป็น พระยาราชมนตรี และท่านก็ได้เป็นคุณหญิงบุญปั๋น สิงหลกะ

ท่านร่ำรวย จากกิจการท่าเรือข้ามฝากในยุคนั้น ท่านไปไหนต้องมี ผู้คุ้มกันประกบสี่คนเพราะอาชีพทำท่าเรือ ต้องเเข่งขันสูงมาก ในภาพท่านสวมเสื้อแบบยุโรปใส่ซิ่นลุนตยาพม่า ต่อตีนจกล้านนาเป็นผ้าซิ่นประยุกต์นิยมกันในคุ้มของพระราชชายา สวย สง่า ลวดลายอลังการ เหมาะสมกับหญิงชั้นสูงแห่งเชียงใหม่..ในดินแดนสยาม

เรื่องและภาพจาก หนังสือประวัติ คุณภัทราวดี ศรีไตรรัตน์

หมายเหตุ ลาว เป็นคำเรียกผู้คนชาวล้านนาของคนสยามในสมัยนั้น เขาเหมารวมทั้ง ล้านนา ล้านช้าง ว่า ลาว ก่อนหน้าที่จะเรียกว่า มณฑลพายัพ แถบภาคเหนือเราก็ถูกเรียกว่า มณฑลลาวเฉียง มาก่อน แล้วเปลี่ยนมาเป็นมณฑลพายัพในเขตการดูแลปกครองของสยาม ในสมัยนั้น

(ละครเรื่อง บัลลังก์เมฆ ก็มีผู้กล่าวว่ามีเค้าโครงเรื่องบางส่วนจากชีวประวัติของท่าน)

14836.jpg
14836.jpg (40.91 KiB) เปิดดู 6351 ครั้ง

การใช้ผี เพื่อต่อต้านอำนาจของกรุงเทพฯ ปรากฎให้เห็นอีกครั้ง หนึ่งในสมัยที่กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการโดยทรงปรึกษากับ พระยาทรงสุรเดชให้จัดถนนหนทาง ในเมืองเชียงใหม่ให้เป็นระเบียบ พระยากรงสุรเดช ปรึกษาเจ้าอุปราช และ เจ้าราชวงศ์ ขอรื้อ ตลาดกลางเวียง หน้าวัดพระสิงห์ไปจนถึงประตูช้างใหม่ และ ประตูช้างเผือกซึ่งสกปรก โดยจะทำให้เรียบร้อย และ ขอย้ายตลาด ไปไว้ที่ประตูสวนปรุง ชั่วคราว

ตลาดกลางเวียงหน้า วัดพระสิงห์นี้ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่า เป็นตลาดสำคัญที่เป็นแหล่งพบปะชุมนุม ของพ่อค้าจากเมืองต่างๆ การรื้อตลาด ที่เป็นเหมือนศูนย์กลางเศรษฐกิจของเมือง จึงเป็นเรื่องใหญ่

เมื่อถนนแล้วเสร็จเจ้าราชวงศ์ และ เจ้าอุปราชขอย้ายตลาดกลับมาตั้งหน้าวัดพระสิงห์ ถึง ตันโพธิ์กลางเวียง และให้พระยานริศราชกิจ แจ้งพนักงานตำรวจภูธรให้ทราบเพื่อจะได้ ไม่ขับไล่ราษฎรที่มาค้าขาย แต่พระยานริศราชกิจ ไม่เห็นด้วยและมีหนังสือตอบเจ้าราชวงศ์ว่าการย้ายตลาดกลับไปกลางเวียงนั้นทำให้รถม้าไปมาลำบาก และ สร้างความสกปรกบนถนน

ต่อมาเจ้าราชวงศ์มีหนังสือถึงร้อยเอก มิสเตอร์ดอลซ์ผู้บังคับการกองตำรวจภูธรชี้แจงเรื่องการย้ายตลาด และ ห้ามมิให้พลตระเวนขับไล่ราษฎร ที่ไปขายของแต่ มิสเตอร์ดอลซ์ เชื่อฟัง พระยานริศราชกิจ ข้าหลวงใหญ่มากกว่าภายหลังเจ้าสุริยวงษ์ กับ พระยาแสนหลวงจึงเป็นตัวแทนเจ้าอุปราช มาหารือกับ พระยานริศราชกิจ โดยอ้างว่า ...การซึ่งตั้งตลาดควรจะย้ายมาตั้งหน้าวัดพระสิงห์นี้ โดยเหตุที่ราษฎรพากัน นิยมนับถือว่าถ้าตลาดตั้งอยู่ ที่หน้าประตูสวนปรุงนั้นเป็นการผิดประเพณีไม่เป็นที่พอใจ ของพวกปีศาจที่รักษาบ้านเมือง จึงทำให้ขัดฝนไร่นาแห้งแล้ง ราษฎรทำการไม่เต็มภูมิลำเนา ขอให้พระยานริศราชกิจได้อนุเคราะห์ ย้ายตลาดตามความปรารถนา..."

เมื่อพระยานริศราชกิจ พิจารณาแล้วเห็นว่าการย้ายตลาดนี้ อาจทำให้เกิดความบาดหมาง และ ไม่เป็นผลดีต่อราชการจึงผ่อนผันให้ย้ายตลาดได้ตามความประสงค์ ของเจ้าอุปราชการที่บรรดาเจ้านายกล่าวอ้างว่าการตั้งตลาดที่ ประตูสวนปรุงนั้นผิดผี เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะตามความเชื่อ ของชาวเชียงใหม่ ประตูสวนปรุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของตัวเมืองและถือว่าเป็น ประตูผีของเมืองเมื่อมีคนตายภายในตัวเมืองจะนำศพออกไปทางประตูด้านนี้เพื่อนำไปประกอบพิธีศพนอกเมือง

เมื่อเรื่องดังกล่าว ทราบถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพพระองค์จึงฝากให้ พระยาศรีสหเทพที่ขึ้นไปจัดราชการช่วยดูแล เมื่อพระยศรีสหเทพ ไต่สวนแล้วพบว่าเรื่องดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับปีศาจแต่อย่างใด การที่เจ้าอุปราช ต้องการให้ย้ายไปตั้งที่เดิมนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า เนื่องจากตลาดดังกล่าวมีการซื้อขายวันละหลายพันคนแต่ได้สร้างความสกปรก และ กีดขวางถนนจริง

พระยาศรีสหเทพ จึงเสนอให้ที่ว่างหลังวัดเจดีย์หลวงด้านทิศตะวันตกใกล้ประตูสวนปรุง และ ถนนกลางเวียงทำเป็นตลาดโดยให้เจ้านายลงเงินสร้างตลาด แล้วเก็บค่าเช่าตามอัตราที่กำหนดจนคุ้มค่าก่อสร้าง จากนั้นให้เก็บผลประโยชน์ต่ออีก ๑ ถึง ๒ ปีแล้วจึงยกตลาดให้หลวง พระยาศรีสหเทพตั้งชื่อตลาดนี้ว่า ตลาดทิพย์เนตร เนื่องจากเจ้าทิพเนตร เป็นผู้แผ้วถางตลาด และชักชวนให้เจ้านายเรี่ยไรเงิน

ในวันเปิดตลาดได้จัดให้มีพิธีใหญ่โดยเชิญเจ้านาย และ ข้าราชการมาประชุมพร้อมกัน ซึ่งบรรดาเจ้านายต่างแสดงความยินดีที่ตลาดครึกครื้นในที่ว่างกลางเมืองต่างคนต่างช่วยกันเรี่ยไรเงิน เพื่อสร้างร้านโรงแถวให้เช่าการนี้ไม่ได้รับการกล่าวอ้างว่า ปีศาจที่รักษาบ้านเมือง
ไม่พอใจอีกทั้งๆ ที่ตลาดอยู่ใกล้ประตูสวนปรุงเนื่องจากเจ้านายจำนวนหนึ่งได้รับผลประโยชน์จการก็บคำชำโดยผู้มีรายได้มากที่สุด น่าจะเป็นเจ้าทิพยเนตรภรรยาเจ้าอุปราชนั่นเอง

เห็นได้ว่าความเชื่อเรื่องผี ปีศาจประจำเมืองเป็นสิ่งที่บรรดาเจ้านาย นำมาใช้อ้างกรณี ที่เกิดความขัดแย้ง กับกรุงเทพฯ โดยระยะแรกกรุงเทพฯ ไม่ได้ใส่ใจในเรื่องดังกล่าวมากนัก ภายหลังข้าหลวงที่ขึ้นมารับราชการยอมรับความเชื่อเหล่านี้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น พศ.๒๔๔๔
เจ้าอุปราชเมืองเชียงใหม่ขออนุญาตเบิกเงินจากคลังมณฑล ๔๐๐ รูปี เพื่อทำพิธีขอฝน เนื่องจากฝนไม่ตก ราษฎรไม่สามารถทำนาได้
โดยเจ้าอุปราชได้ทำพิธีที่มุมมืองทั้ง ๔ แจ่ง ที่ประตูเมืองทั้ง ๕ แห่ง และกลางเมืองอีก ๑ แห่งการนี้ข้าหลวงให้การสนับสนุนโดยอนุมัติให้นำเงินไปใช้ได้

จากการผ่อนปรนของข้าหลวงต่อสิ่งที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนานี้ทำให้การกล่าวอ้างเรื่องความไม่พอใจของผีปีศาจค่อยๆ ลดลงการที่คนล้านนา นำความเชื่อพื้นบ้านเรื่องผีมาใช้เป็นพลังทางสังคมเพื่อต่อต้านการกระทำของกรุงเทพฯ เกิดจากความต้องการที่จะขจัดอำนาจของข้าราชการสยามออกไปจากสังคม เนื่องจากหมดหวังที่จะต่อสู้ในแนวทางอื่น จึงหันไปพึ่งพาผี หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ

ตัดตอนจาก หนังสือ เปิดแผนยึดล้านนา หน้าที่๑๔๖ เขียนโดย ผศ ดร.เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว
ภาพเก่า ตลาดกลางเวียงหน้าวัดพระสิงห์ เชียงใหม่
#เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 31 ธ.ค. 2019 9:26 pm

ภาพบันทึก จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ หรือ ๕๓ ปีก่อน ย้อนบรรยากาศเมืองเชียงใหม่ในอดีต ชมวิถีชีวิต สังคม ผ่านมุมมองนายทหารสหรัฐฯ ที่ทำงานในฐานทัพจังหวัดอุดร แล้วเดินทางโดยเครื่่องบินมาเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ในยุคนั้น
ภาพ : Jim นายทหารสหรัฐฯ นักท่องเที่ยวชาวตะวันตก
13334.jpg
13334.jpg (75.2 KiB) เปิดดู 6351 ครั้ง

วิหารวัดปราสาท : วิหาร(ที่มีชีวิต)มีอายุเก่าที่สุดของเมืองเชียงใหม่
4558.jpg
4558.jpg (24.83 KiB) เปิดดู 6351 ครั้ง

เมืองเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นอดีตราชธานีของอาณาจักรล้านนา มีวัดวาอารามเต็มบ้านเต็มเมือง แต่เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งก่อสร้างของวัดต่างๆเหล่านั้นล้วนมีอายุอยู่ในสมัยล้านนายุคหลัง หรือยุคฟื้นฟู หรือหลังพ.ศ.๒๔๐๐ ลงมาทั้งสิ้น (ยกเว้นโบราณสถานร้าง ประเภทเจดีย์)

โดยเฉพาะวิหาร(ที่มีชีวิตและยังประโยชน์ใช้สอย)ของเมืองเชียงใหม่ที่เก่าที่สุด คือ วิหารวัดปราสาท(ตั้งอยู่ทิศเหนือหรือข้างวัดพระสิงห์) ซึ่งตามประวัติมีบันทึกกล่าวว่า พระยาหลวงสามล้าน ได้เป็นผู้สร้างวิหารหลังนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๖
4559.jpg
4559.jpg (56.29 KiB) เปิดดู 6351 ครั้ง

วัดปราสาทไม่ปรากฎเรื่องราวในเอกสารตำนานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นมาแต่ครั้งใด แต่มีชื่อปรากฎอยู่ในศิลาจารึกของวัดตโปทาราม ซึ่งจารึกเมื่อ พ.ศ.๒๐๓๕ ดังนั้นวัดแห่งนี้คงเป็นวัดที่มีอายุไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมา แต่บรรดาสิ่งก่อสร้างที่ปรากฎมีอยู่ในวัดในทุกวันนี้ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงล้านนายุคหลังทั้งสิ้น

ทั้งนี้เนื่องจากความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในดินแดนล้านนาโดยเฉพาะในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ อันเป็นผลจากการสู้รบแย่งชิงอำนาจกันระหว่างไทยกับพม่านั้น ได้สร้างความเสียหายและทำให้เมืองต่างๆในดินแดนล้านนาต้องกลายเป็นเมืองร้างไปเป็นเวลานาน
โดยเฉพาะเมืองเชียงใหม่ได้กลายเป็นเมืองร้างไปเป็นเวลานานถึง ๒๑ ปี เมื่อสงครามสงบ จึงได้มีการฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นใหม่อีกครั้ง ด้วยเหตุนี้สิ่งก่อสร้างต่างๆจึงล้วนได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างขึ้นใหม่เกือบทั้งสิ้น(ยกเว้นโบราณสถานร้าง)

วิหารวัดปราสาท มีลักษณะเป็นวิหารเครื่องไม้แบบทึบ ที่มีส่วนท้ายวิหารต่อเชื่อมกับอาคารทรงปราสาทที่อยู่ด้านหลัง มีขนาด ๖ ห้อง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก แผนผังของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จออกทางด้านหน้า ๒ ช่วง ด้านหลัง ๑ ช่วง นับเป็นวิหารเครื่องไม้พื้นเมืองล้านนาที่งดงามมากแห่งหนึ่ง

ในการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๖ นั้น สันนิษฐานว่าคงก่อสร้างขึ้นบนรากฐานเดิม เพราะแบบแผนของวิหารที่มีส่วนของอาคารเชื่อมต่อกับปราสาทนั้น นับเป็นแบบแผนของวิหารรุ่นเก่า ซึ่งมีเหลืออยู่น้อยแห่ง ตัวอย่างที่คล้ายคลึงกันนี้ ได้แก่ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ฯ เป็นต้น

วิหารวัดปราสาทแห่งนี้ จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างของเมืองเชียงใหม่ยุคหลังที่สืบทอดมาจากแบบแผนดั้งเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของลวดลายส่วนประดับไปบ้าง และถือได้ว่าเป็นวิหาร(ที่มีชีวิต)ที่มีความงดงามและมีอายุเก่าแก่ที่สุดของเมืองเชียงใหม่
4561.jpg
4561.jpg (62.6 KiB) เปิดดู 6351 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 05 ม.ค. 2020 8:06 pm

เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่(ยืนล้วงกระเป๋า) ผู้บุกเบิกธุรกิจโรงภาพยนตร์และโรงแรมในเมืองเชียงใหม่ น่าจะถ่ายในช่วงน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.๒๔๙๕ บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์ศรีนครพิงค์หรือสุริวงศ์
จาก...หนังสือ"ประวัติศาสตร์เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๑๔" ของ พ.ต.อ.อนุ เนินหาด
20641.jpg
20641.jpg (26.43 KiB) เปิดดู 6329 ครั้ง

ฟ้อนเล็บของขบวนแห่ครัวทาน ในพิธีสมโภชพระสิงห์ ณ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๙
จาก...หนังสิอ"สมุดภาพรัชกาลที่ ๗ เสด็จฯมณฑลพายัพ"จัดพิมพ์โดยสถาบันพระปกเกล้า
19872.jpg
19872.jpg (51.38 KiB) เปิดดู 6329 ครั้ง

ถนนขึ้นดอยสุเทพ ถ่ายวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๘ โดยนักท่องเที่ยวจากเมืองกรุง
จาก ห้องวิจัยประวัติศาสตร์
19870.jpg
19870.jpg (19.12 KiB) เปิดดู 6329 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 05 ม.ค. 2020 8:12 pm

ภาพบันทึก จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ ย้อนบรรยากาศเมืองเชียงใหม่ในอดีต ชมวิถีชีวิต สังคม ผ่านมุมมองนายทหารสหรัฐฯ ที่ทำงานในฐานทัพจังหวัดอุดร แล้วเดินทางโดยเครื่่องบินมาเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ในยุคนั้น
ภาพ : Jim นายทหารสหรัฐฯ นักท่องเที่ยวชาวตะวันตก
14804.jpg
14804.jpg (66.57 KiB) เปิดดู 6329 ครั้ง

14805.jpg
14805.jpg (105.52 KiB) เปิดดู 6329 ครั้ง

คุ้มเจ้าบุญชุม บ้านทุ่งเสี้ยว สันป่าตอง
ภาพ : Thitiporn Ratsamee
22702.jpg
22702.jpg (49.61 KiB) เปิดดู 6329 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 05 ม.ค. 2020 9:09 pm

คุ้มเจ้าบุญชุม บ้านทุ่งเสี้ยว สันป่าตอง
ภาพ : Thitiporn Ratsamee
22706.jpg
22706.jpg (90.13 KiB) เปิดดู 6329 ครั้ง

22704.jpg
22704.jpg (22.13 KiB) เปิดดู 6329 ครั้ง

22705.jpg
22705.jpg (31.46 KiB) เปิดดู 6329 ครั้ง

22703.jpg
22703.jpg (21.05 KiB) เปิดดู 6329 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 12 ม.ค. 2020 6:52 pm

บันทึกการเดินทางของ Holt Samuel Hallett เมืองจอมทอง เชียงใหม่
img032_resize.jpg
img032_resize.jpg (210.22 KiB) เปิดดู 8442 ครั้ง


"ตอนนี้เราเดินทางมาถึงเมืองจอมทอง ซึ่งเป็นเส้นทางไปยังเมืองเชียงใหม่แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชโองการ ให้จัดเรือนรับรองไว้ต้อนรับ เรือนยกพื้นสูง ปูฟาก มีชานใหญ่ ไม่ว่าจะไปแห่งไหนก็มีคนต้อนรับเราเป็นอย่างดี มีข้าว ผัก ผลไม้และฟืนมาให้ระหว่างการเดินทางไม่ขาด

เรารู้ภายหลังว่าอาหารเหล่านี้เรี่ยไรเงินจากชาวบ้านซื้อหามา เป็นธรรมเนียมต้อนรับเจ้าบ้านผ่านเมืองของพวกเขา แต่เรายืนยันว่าจะจ่ายเงินทุกบาททุกสตางค์สำหรับค่าอาหารของคณะ ผู้ติดตามชาวพม่าหัวเราะเยาะ หาว่าผมทำตัวดีเกินไป ในอนาคตจะลำบาก

เมืองจอมทองนั้นกว้างใหญ่ มีบ้านเรือน ๓๐๐ หลังและมั่งคั่งดี อยู่ใกล้ป่าไผ่ สามารถตัดมาใช้ปลูกเรือนและต่อแพ ดังเห็นสัญจรไปมาในแม่น้ำหลายลำ สำหรับเรือนั้นทำจากไม้ต้นเดียว สุมไฟแล้วขุดจนเกือบแบน ทั้งสองข้างต่อด้วยไม้กระดาน ใช้ลิ่มตอกหรือหวายมัดให้แน่นแทนการใช้ตะปู เมื่อเสร็จแล้วก็ทาน้ำมันกันน้ำ เรือยาวประมาณ ๖๐ ฟุต กว้าง ๖ ฟุต

ที่เมืองเชียงใหม่เราเห็นเรือหลายลำ คงต่อเรือกันเป็นล่ำเป็นสันทีเดียว มีแต่ผู้หญิงที่ถ่อเรือขึ้นล่องในแม่น้ำ ในเมืองจอมทองเราเห็นเรือหลายลำแต่ไม่เห็นผู้ชายถ่อเรือเลย มีแต่ถือหางเสืออยู่ท้ายเรือเท่านั้น

เมื่อมาถึง พญาเมืองจอมทองก็มาพบ ท่านเป็นชายชราหน้าเเป้น ดวงตาเป็นประกายสดใส และเป็นมิตรดีมาก พญาเมืองจอมทองนำมะพร้าวอ่อนมาให้ น้ำมะพร้าวอ่อนดื่มแล้วชื่นใจ หายเหนื่อยจากการเดินทางที่แสนยาวนาน
ตอนค่ำเราไปอาบน้ำในแม่น้ำที่อยู่ใกล้ๆ ถอดเสื้อผ้าออก ว่ายน้ำอย่างสำราญใจ

เมื่อหันหลังมาดูบนฝั่งก็รู้สึกอับอายมาก เพราะมีหญิงชาวบ้าน ทั้งสาวและออกเรือนแล้ว มุงดูเสื้อผ้าของเราอยู่ด้วยความสนใจและสนุกสนาน พวกเธอไม่อายหรือกลัวชาวต่างชาติเลย แต่พวกเราสิกลับเขินอาย และคิดว่าหากเราว่ายเข้าไปใกล้ฝั่งพวกเธออาจนึกอายขึ้นมาก็ได้ แต่พอไปถึงพวกเธอไม่อายแม้แต่น้อย และไม่ยอมหนีไปไหนด้วย

เราแช่อยู่ในน้ำนานจนหนาว จึงแสร้งทำทีจะเดินขึ้นฝั่ง แต่พวกเธอก็ร้องวี้ดว้ายและหัวเราะกันครื้นเครงเท่านั้น ผมตกใจที่หัวหน้านางไม้ผู้ซุกซนเหล่านี้คือเมียของเจ้าคนหนึ่งที่เป็นมัคคุเทศก์นำทางนั่นเอง

เราทนความหนาวเหน็บไม่ไหวแล้ว ร่างกายสั่นระริก คิดว่าจะขึ้นฝั่งแล้ววิ่งไปยังกองเสื้อผ้าของเราทันที ถึงแม้ว่าจะโดนหัวเราะเยาะอย่างไรก็ตาม เราข่มขู่พวกเธออย่างไรก็ไม่ได้ผล ไม่ขยับตัวไปไหนแม้แต่น้อย ใกล้ค่ำแล้ว พวกเธอก็แยกย้ายกลับเรือนไปกินข้าวเย็น เราจึงขึ้นฝั่งมาสวมใส่เสื้อผ้าได้

จอมทองเป็นเมืองของพระสงฆ์ ชาวเมืองเป็น พญายูน (เป็นภาษาพม่า พญา—เจดีย์ /ยูน—ข้าทาส..ผู้แปล )หรือข้าวัด พวกข้าวัดนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ร้ายหนีความผิดมาพึ่งวัด เหมือนกับเมืองของพวกยิวอพยพ หรือไม่ก็เป็นเชลยศึก ที่เจ้าเมืองแบ่งมาไว้ให้เป็นข้าวัดนั่นเอง ข้าวัดในเมืองเชียงใหม่มีอยู่สองสามหมู่บ้าน มีหน้าที่บำรุงรักษาวัดหรือเจดีย์ และปรนนิบัติพระสงฆ์ ซึ่งเป็นงานที่ไม่หนักหนาเลย สุทธิศักดิ์ถอดความ

Amongst the Shans

Colquhoun, Archibald Ross, 1848-1914; Terrien de Lacouperie, Albert Étienne Jean Baptiste, d. 1894; Hallett, Holt Samuel
Published 1885
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 12 ม.ค. 2020 6:59 pm

การประชุม PATA ครั้งที่ ๙ ที่จ.เชียงใหม่ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๑๒
27558.jpg
27558.jpg (22.71 KiB) เปิดดู 8450 ครั้ง

สถานที่จัดงานที่เห็นในภาพคือหอประชุมของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อยู่ด้านตะวันตกของตึกผู้ป่วย ๗ ชั้น(อาคารบุญสม มาร์ติน) โรงพยาบาลสวนดอก หอประชุมนี้ถูกรื้อไปหลายแล้ว ปัจจุบันบริเวณนี้คืออาคารเรียนรวมราชนครินทร์
จาก...หนังสือ"ชุมชนรอบวัดในเชียงใหม่ ประวัติศาสตร์ชุมชน"ของ ร.ศ.สมโชติ อ๋องสกุล
(ที่มาของภาพ : ICON SIAM)

พระธาตุเจดีย์วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ภาพน่าจะก่อน พ.ศ.๒๔๖๐
หลวงอนุสารสุนทร ผู้ถ่ายภาพ
27560.jpg
27560.jpg (39 KiB) เปิดดู 8450 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 21 ม.ค. 2020 5:39 pm

กองมูขุนหอคำ เมืองหาง คือพระสถูปเจดีย์ที่ชาวไทยใหญ่เรียก
สถูปพระองค์หนึ่งซึ่งเชื่อว่าจะเป็นสถูปที่บรรจุพระอัฐิของพระองค์ดำ(สมเด็จพระนเรศวรมหาราช)ซึ่งชาวไทใหญ่จะบูชาทุกครั้งก่อนออกรบกับพม่า ปัจจุบันทหารพม่าได้ทำลายพระสถูปแห่งนี้ไปเสียแล้ว เหลือแต่ซากและความทรงจำ
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
31295.jpg
31295.jpg (50.42 KiB) เปิดดู 8909 ครั้ง

พระสงฆ์บริเวณหน้าถ้ำเชียงดาว ไม่ทราบ พ.ศ.
ภาพ : ตั๊ก รัษฎา
31299.jpg
31299.jpg (45.92 KiB) เปิดดู 8909 ครั้ง

สตรีล้านนา
ขอบคุณเจ้าของภาพ
31301.jpg
31301.jpg (46.84 KiB) เปิดดู 8909 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 61 ท่าน

cron