เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 04 มิ.ย. 2019 11:37 pm

ภาพชัดๆของวิหารหลวงวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร หลังเก่า จังหวัดเจียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๓ วิหารเก่าหลังนี้รื้อไปแล้ว ปัจจุบันคันทวยจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

95755.jpg
95755.jpg (46.78 KiB) เปิดดู 5088 ครั้ง


ภาพ : เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น


ภาพถ่ายวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๗ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
ทหารญี่ปุ่นที่ประจำการในจังหวัดเชียงใหม่ เดินทางมาเยี่ยมบ้านหลวงพิศาลอักษรกิจ(อดีตนายอำเภอแม่แจ่ม) ซึ่งบ้านของท่านตั้งอยู่บนถนนสิงหราช ข้างวัดดับภัยทางทิศใต้ เด็กน้อยที่ทหารญี่ปุ่นอุ้มน่าจะเป็นหลานของหลวงพิศาลฯนั่นเอง
95754.jpg
95754.jpg (29.97 KiB) เปิดดู 5088 ครั้ง

ภาพจาก...หนังสือ "ตระกูลเจ้าตระกูลนายที่ถนนสิงหราช" ของ พ.ต.อ.อนุ เนินหาด
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 04 มิ.ย. 2019 11:41 pm

พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ขุดจอบแรกเป็นปฐมฤกษ์ในการทำถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗
95757.jpg
95757.jpg (40.39 KiB) เปิดดู 5088 ครั้ง

ภาพ : เชียงใหม่ในอดีต

สนามบินจังหวัดเชียงใหม่ จัดให้ขึ้นเครื่องบินเที่ยวชมเมือง ๕ นาที ในอัตราค่าโดยสาร ๗.๕๐ บาท ถ่ายภาพประมาณเมื่อพ.ศ.๒๔๗๗ (จากสนามบินสุเทพที่เริ่มต้นเปิดดำเนินการครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๗ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นท่าอากาศยานเชียงใหม่ในปัจจุบัน)
95759.jpg
95759.jpg (19.56 KiB) เปิดดู 5088 ครั้ง

#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 04 มิ.ย. 2019 11:45 pm

และแล้วในเดือนกรกฎาคม เกิดเหตุร้ายแรงขึ้นในเมืองลาว เจ้าหลวงเมืองละคอร ออกคำสั่งจับตัวเงี้ยว ๕ คน พวกเขาถูกจับ นำตัวมาสอบสวน และรับสารภาพซัดทอดไปถึงเงี้ยวหลายคน ซึ่งทำงานในเหมืองอัญมณีที่เมืองลอง เจ้าหลวงสั่งให้จับตัวพวกเขาทันที แต่เมื่อไปถึง ชาวเงี้ยวขัดขืน ต่อต้านทหาร ทหารสู้ไม่ได้จึงหนีกลับละคอร จับผู้ร้ายไม่ได้สักคนเดียว

96058.jpg
96058.jpg (43.14 KiB) เปิดดู 5037 ครั้ง


ชาวเงี้ยวได้รับชัยชนะ จึงลำพองใจ ยกพลไปเมืองแพร่ ที่อยู่ใกล้เหมืองนั้น พวกเขาเข่นฆ่าคนสยามจำนวนมาก ปล้นสะดม ยึดทรัพย์เจ้าหลวง และปกครองเมืองแพร่อยู่ระยะเวลาหนึ่ง อีกทั้งบังคับเจ้าหลวงเมืองแพร่ให้เข้าร่วมก่อจลาจลในครั้งนี้ด้วย

เงี้ยวประกาศให้ผู้เผยแผ่ศาสนาชาวอมริกัน ชาวตะวันตกและชาวลาวพื้นเมืองรู้ว่า ตราบใดที่ไม่ช่วยเหลือคนสยาม ทรัพย์สมบัติพวกเขาจะปลอดภัย และจะมีชีวิตอยู่ หากไม่ต่อต้านเงี้ยว

คนบาดเจ็บจากการสู้รบหลายคน อยู่ในความดูแลของคุณหมอ เจ เอส โธมัส ผู้เผยแผ่ศาสนาและผู้เชี่ยวชาญการแพทย์คนอเมริกัน

ไม่นานนัก ข่าวก็ไปถึงเมืองละคอร และตลอดทั้งหัวเมืองลาว ทั่วทั้งเมืองตกตะลึง ไม่คิดว่าคนเงี้ยวหรือไทใหญ่ผู้อ่อนน้อม จะก่อจลาจลขึ้นมาในบัดดล ทุกฝ่ายเตรียมสู้รบและรับมืออย่างทันที เพราะคิดว่าอาจถูกโจมตีได้ทุกเมื่อ

คุ้มเจ้าหลวงและคลังเก็บสมบัติ ก็จัดเวรยามดูแลอย่างใกล้ชิด ชาวตะวันตกรวบรวมผู้คนและเก็บทรัพย์สิน มาอยู่รวมกันในที่โล่ง ก่อกำแพงดินและปักรั้วไม้ล้อมรอบ เวลาตัดสินใจมีน้อยเต็มที

ไม่นานนักเงี้ยวก็เดินทางเข้าเมืองละคอร แต่ต้องพบกับร้อยเอก ฮันเซน นายทหารประจำกองทัพสยาม ซึ่งขับไล่ทัพเงี้ยวออกไปได้ ทั้งที่ตนเองก็มีกองกำลังน้อย

เงี้ยวผิดหวังและคับแค้นใจมาก สาบานว่า ต้องมาตีเมืองละคอรให้แตกจงได้ บรรดาผู้เผยแผ่ศาสนาผู้หญิงอยากอยู่ต่อ แต่บรรดาสหายผู้ชายหรือสามีต่างเกรงเงี้ยวจะกลับมาอีกครั้ง จึงยืนยันให้หนีออกจากเมืองไปทันที บางคนนั่งเรือหนี บางคนเดินทางไกล ๓๐ ไมล์ ไปสถานที่ปลอดภัย

เจ้าหลวงเกรงภัยจะมาถึงคนในครอบครัว จึงพาหนีไปเชียงใหม่ที่ซึ่งคิดว่าจะปลอดภัย โชคไม่ดี ข่าวการหนีของเจ้าหลวงเมืองละคอรทำให้ชาวเมืองขวัญหนีดีฝ่อ อีกทั้งเกิดข่าวลือว่าเมืองละคอรใกล้แตกแล้ว ชาวเมืองชั้นล่างสุดจึงออกมาครองเมือง เข้าไปฆ่านักโทษเงี้ยวในคุก ตัดหัวไปทิ้งกลางถนนเพื่อข่มขวัญ เที่ยวปล้นสะดม เผาอาคารสถานที่หลายแห่ง ซึ่งหาข้อมูลไม่ได้ แต่โชคดี เจ้าหลวงกลับมา พร้อมด้วยทัพสยาม จึงควบคุมสถานการณ์ได้ภายในสองสามวัน

ขณะเกิดเหตุขึ้นที่เมืองละคอร ชาวลาวเมืองอื่นๆ ต่างก็ตกใจไม่แพ้กัน ในหัวเมืองทางเหนือเกิดข่าวลือต่างๆ นานา ด้วยเงี้ยวตัดสายโทรเลข จึงสื่อสารถึงกันไม่ได้ ชาวเมืองตกใจ ต่างก็พูดกันไปว่า "ละคอรแตกแล้ว" ตอนนี้เงี้ยวจำนวนมากเดินทางขึ้นเหนือ

เจ้าหน้าที่ฝ่ายสยามเพิ่งมาใหม่ ไม่รู้จะรับมืออย่างไรดี จึงรวมตัวกันไปขอคำปรึกษาจากหมอบริกส์ ที่เมืองเชียงราย ฯลฯ

สุทธิศักดิ์ ถอดความ
Facing deadly perils in Siam
Christian herald 11 Feb 1903 , Newyork

ชาวรัฐฉานบางคนบอกว่าเงี้ยวเพี้ยนมาจาก คำว่า สยาม แต่ในหนังสือ กบฎเงี้ยว บอกว่าเป็นผู้อพยพ ที่โดนขับไล่มาจากเมืองจีน คนจีนเรียกว่า ชาน ชัน ที่แปลว่า ภูเขา แต่พม่าเรียก ฉาน เงี้ยว ไม่น่าจะเหมารวม ว่าเป็นคน ไตขืน หรือเขิน นะครับเพราะคนไต ขืน จะเรียกกลุ่มฉาน ที่อพยพเข้ามาใหม่ ว่าเงี้ยวหัวหัว จ็อก

ภาพถ่ายวิถีชีวิตของแม่ค้าหาบของขายที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ.๒๔๗๑
96147.jpg
96147.jpg (46.87 KiB) เปิดดู 5037 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 05 มิ.ย. 2019 9:42 pm

โกศบรรจุพระศพของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ประดิษฐานในศาลาขนาดใหญ่แบบเก๋งจีน ที่คุ้มหลวงเจดีย์งาม พ.ศ.๒๔๘๒ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของสถานกงสุลใหญ่อเมริกันประจำจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งตัวอาคารของคุ้มและศาลาแห่งนี้ได้รับการบูรณะอย่างดี ปัจจุบันยังมีอยู่
เจ้าแก้วนวรัฐ.jpg
เจ้าแก้วนวรัฐ.jpg (34.65 KiB) เปิดดู 5033 ครั้ง

ที่มา : หนังสือ "เจ้าหลวงเชียงใหม่"

คงเป็นขบวนแห่ในงานรับน้องขันโตกของคณะสังคมศาสตร์ ม.ช. ปีการศึกษา ๑๕๑๑
ที่มา : หนังสือ "คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษาสองห้าหนึ่งหนึ่ง"
มช.2511.jpg
มช.2511.jpg (32.2 KiB) เปิดดู 5033 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 05 มิ.ย. 2019 9:43 pm

น้ำปิงหน้าแล้ง มีเกาะกลางน้ำปิงโผล่ให้เห็นอยู่ตลอดแนว
คาดว่าตากล้องน่าจะอยู่บนสะพานนวรัฐถ่ายขึ้นไปทางทิศเหนือ ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐

ping.jpg
ping.jpg (30.95 KiB) เปิดดู 5033 ครั้ง


ที่มา : รูปเก่าในวันวาน Old Siam Photo

ขบวนเกวียนกำลังบรรทุกลำไย มุ่งหน้าสูสถานีรถไฟ จังหวัดเจียงใหม่ เพื่อส่งลำไย ไปกรุงเทพมหานคร โดยทางรถไฟ
ภาพ: วารสารคนเมือง ฉบับประจำเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๙๘

98118.jpg
98118.jpg (22.08 KiB) เปิดดู 5019 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 15 มิ.ย. 2019 5:43 pm

#ย้อนความทรงจำกับลัดดาแลนด์ เชียงใหม่
ลัดดาแลนด์ เป็นสวนและศิลปวัฒนธรรม ก่อตั้งโดย นางลัดดา พันธาภา เปิด พ.ศ.๒๕๑๓ - ๑๕๓๓ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ในสมัยนั้น ลัดดาแลนด์เปิดวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๓ โดยมี นายสง่า กิติขจร รัฐมนตรีกระทรวงในสมัยนั้นเป็นประธาน
ภาพ : ลัดดาแลนด์๒๕๑๓

ladda.jpg
ladda.jpg (139.02 KiB) เปิดดู 4983 ครั้ง


ภาพถ่ายทางอากาศ "ลัดดาแลนด์"
ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย
ladda12.jpg
ladda12.jpg (80.92 KiB) เปิดดู 4983 ครั้ง



แผนที่ลัดดาแลนด์
ที่มา : ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ. ลัดดาแลนด์. อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๑๐, ฉบับที่ ๙ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๑๓
252037_227859797239940_2561032_n.jpg
252037_227859797239940_2561032_n.jpg (78.08 KiB) เปิดดู 4983 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 15 มิ.ย. 2019 6:00 pm

ด้านหน้าลัดดาแลนด์
ภาพ : ลัดดาแลนด์๒๕๑๓
422460_397052036987381_1267152542_n.jpg
422460_397052036987381_1267152542_n.jpg (173.34 KiB) เปิดดู 4983 ครั้ง


มุมถ่ายรูปยอดฮิต ด้านหน้าลัดดาแลนด์
ภาพ : ลัดดาแลนด์๒๕๑๓
253710_227840037241916_7743330_n.jpg
253710_227840037241916_7743330_n.jpg (43.14 KiB) เปิดดู 4983 ครั้ง


รถรางพาเที่ยวชมลัดดาแลนด์
ภาพ : ลัดดาแลนด์๒๕๑๓
รถราง.jpg
รถราง.jpg (36.96 KiB) เปิดดู 4983 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 15 มิ.ย. 2019 6:04 pm

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ เสด็จลัดดาแลนด์
A10473337-38.jpg
A10473337-38.jpg (48.11 KiB) เปิดดู 4983 ครั้ง


การแสดงภายในลัดดาแลนด์
ภาพ : ลัดดาแลนด์๒๕๑๓
A10473337-1.jpg
A10473337-1.jpg (82.87 KiB) เปิดดู 4983 ครั้ง


ลัดดาแลนด์สมัยนั้นคือสถานที่รับแขกบ้านแขกเมือง
ภาพ : ลัดดาแลนด์๒๕๑๓
62178151_475392563219136_6169975396948246528_n.jpg
62178151_475392563219136_6169975396948246528_n.jpg (58.71 KiB) เปิดดู 4983 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 15 มิ.ย. 2019 6:08 pm

มุมหนึ่งของลัดดาแลนด์
ภาพ : ลัดดาแลนด์๒๕๑๓
62135399_475392296552496_4600416389314904064_n.jpg
62135399_475392296552496_4600416389314904064_n.jpg (54.63 KiB) เปิดดู 4952 ครั้ง


การแสดงภายในลัดดาแลนด์
ภาพ : ลัดดาแลนด์๒๕๑๓
A10473337-4.jpg
A10473337-4.jpg (41.53 KiB) เปิดดู 4952 ครั้ง


นักท่องเที่ยวเยี่ยมลัดดาแลนด์กับมุมสวยงามด้านหน้าดอกเฟื่องฟ้า
ภาพ : ตะวันกับดวงดาว
ตะวันกับดวงดาว.jpg
ตะวันกับดวงดาว.jpg (84.71 KiB) เปิดดู 4952 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 15 มิ.ย. 2019 6:13 pm

โฆษณาลัดดาแลนด์
ที่มา : อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๑๑, ฉบับที่ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๓
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
246863_227857950573458_1536985_n.jpg
246863_227857950573458_1536985_n.jpg (98.1 KiB) เปิดดู 4952 ครั้ง


โฆษณาลัดดาแลนด์
ที่มา : อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๑๒, เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๑๔
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
254820_228100180549235_337361_n.jpg
254820_228100180549235_337361_n.jpg (101.33 KiB) เปิดดู 4952 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 2:30 pm

ร้านถ่ายรูป นายไซโตะ ในละครกลิ่นกาสะลอง
เมื่อคืนมีฉากหมอทรัพย์ กาสะลอง และคำเกี๋ยงถ่ายรูปในร้านถ่ายรูปของช่างภาพชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นร้านถ่ายรูปแห่งแรกของเชียงใหม่ ชาวญี่ปุ่นในละครชื่อ ไซโตะ ส่วนภาพถ่ายระบุว่าถ่ายเมื่อเวลา ๐๘.๑๐ น. วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๗ ไซโตะในเรื่องสนิทสนมกับหมอคอร์ต หมอมิชชันนารีประจำโรงพยาบาลแม็คคอร์มิค หมอคอร์ตมีตัวตนจริง เขาคือ นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” (Dr.Edwin Charles Cort) ซึ่งเดินทางมายังเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ เขาทำงานประจำอยู่โรงพยาบาลแมคคอร์มิคจนเกษียณอายุจึงพาครอบครัวกลับไปพำนักอยู่สหรัฐอเมริกา

60000182_605139676647675_7827946854396613192_n.jpg
60000182_605139676647675_7827946854396613192_n.jpg (20.92 KiB) เปิดดู 5367 ครั้ง


ข้อมูลส่วนนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติมคือ อันที่จริงกิจการถ่ายรูปในเชียงใหม่ครั้งแรกเป็นของ หลวงอนุสารสุนทร ที่ได้เรียนรู้การถ่ายภาพจากพระยาเจริญราชไมตรี (จำนง อมาตยกุล) แล้ว ท่านได้เปิดแผนกถ่ายรูปในร้านชั่วย่งเส็ง แผนกถ่ายรูปของร้านชั่วย่งเส็งจึงถือเป็นร้านถ่ายรูปร้านแรกของเชียงใหม่ และหลวงอนุสารสุนทรก็เป็นนักถ่ายรูปอาชีพคนแรกของเชียงใหม่ในเวลานั้นด้วย

นายเอ็ม ทานากะ หรือที่คนเชียงใหม่มักจะเรียกว่า นายเอ็ม ทานาคา (Mr.Morinosuke Tanaka) เป็นนักถ่ายภาพอีกคนซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการถ่ายภาพในเชียงใหม่ นายเอ็ม ทานากะ เป็นชาวเมืองคาโกชิมา เมืองชายทะเลทางตอนใต้ของเกาะญี่ปุ่น เขาได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๓ โดยเข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ที่ร้านถ่ายรูปที่มีชื่อเสียงที่สุดของกรุงเทพฯชื่อร้านโรเบิร์ต เลนส์ ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง มิสเตอร์ เอ็ม.ทานากะ ทำงานอยู่ที่ร้านโรเบิร์ต เลนส์ ๓ ปี ก็ได้เดินทางไปเปิดร้านถ่ายรูปที่เมืองลำปางตามคำชักชวนของเจ้าผู้ครองนครลำปาง

นายเอ็ม.ทานากะ เปิดร้านถ่ายรูปในเมืองลำปางชื่อร้านทานากะถ่ายรูป อยู่ย่านกลางเมือง กิจการร้านถ่ายรูปของนายทานากะดีพอสมควร แต่ลำปางเป็นเมืองเล็ก เมื่อนายแพทย์ชาวอเมริกันชื่อ ดร.คอร์ต ซึ่งคุ้นเคยกับนายทานากะเป็นอย่างดีได้ชักชวนให้ไปเปิดร้านถ่ายรูปที่เชียงใหม่ โดยแนะนำให้เปิดที่บ้านวัดเกตุซึ่งเป็นย่านชุมชนการค้าของเมืองเชียงใหม่สมัยนั้น

นายเอ็ม ทานากะ จึงตกลงมาเปิดกิจการที่เชียงใหม่ และได้แต่งงานกับนางสาวทองดี ภิญโญ ชาวลำพูน มีลูกสาว ๑ คนชื่อ คำปุ่น หลังจากแต่งงาน เขาจึงได้ขยายกิจการ โดยไปซื้อที่ดินข้างโบสถ์คริสตจักรที่๑ เชียงใหม่ ริมแม่น้ำปิงเปิดร้านถ่ายรูป ชื่อ "ร้านเชียงใหม่ถ่ายรูป" ซึ่งเป็นโรงงานที่มีกระจกถ่ายรูป สามารถถ่ายรูปตอนเช้าได้โดยไม่ต้องใช้แสงไฟฟ้า นาย เอ็ม.ทานากะ เสียชีวิตเมื่อวัย ๘๘ ปีด้วยโรคชรา นางคำปุ่น และนายฮาตาโน (Mr. Shu Hatano) ลูกเขย
จึงได้สืบทอดกิจการร้านถ่ายรูปต่อ

123084.jpg
123084.jpg (52.79 KiB) เปิดดู 5367 ครั้ง


อ้างอิง บทสัมภาษณ์นายฮาตาโน ในหนังสือ เพื่อนเดินทาง ฉบับปีที่ ๔,เชียงใหม่นิวส์


นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” (Dr.Edwin Charles Cort)
123083.jpg
123083.jpg (91.73 KiB) เปิดดู 5367 ครั้ง


ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ “นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” (Dr.Edwin Charles Cort) แพทย์มิชชั่นนารีผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” ได้เดินทางมาประจำที่โรงพยาบาลแห่งนี้ และนายแพทย์แมคเคนได้แยกไปสร้าง “นิคมโรคเรื้อนแมคเคน” (McKean Leprosy Asylum) ที่บริเวณเกาะกลาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อนซึ่งมีเป็นจำนวนมาก

ในเวลานั้น “นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” หรือที่ชาวบ้านเรียกขานว่า “พ่อเลี้ยงคอร์ต” ได้ทำงานพันธกิจการบำบัดรักษาโดยมีใจรักในการบริการ ทุ่มเทในการรักษาอย่างมาก จึงเป็นที่รักที่เคารพยกย่องนับถือของทุกคนในแถบนี้เป็นอย่างยิ่ง ทำให้มีผู้มารับการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก ทว่าโรงพยาบาลมีสถานที่ไม่เพียงพอ

หลังจาก “นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” เดินทางกลับไปพักผ่อนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้มีโอกาสได้พบกับ “นางไซรัส แมคคอร์มิค” (Mrs.Cyrus McCormick) มหาเศรษฐีนีในวงการอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ซึ่งได้บริจาคเงินจำนวน ๓๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ “นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” จึงก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ขึ้นกลางผืนนาทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” ในปัจจุบัน และให้ชื่อโรงพยาบาลที่สร้างใหม่นี้ว่า “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” (McCormick Hospital) เพื่อเป็นเกียรติแก่ “นางไซรัส แมคคอร์มิค” โดย “พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงอดิศรอุดมเดช” เป็นผู้ทำพิธีวางศิลาหัวมุม (Corner Stone) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ ๔ ปีนับว่าเป็นโรงพยาบาลที่ทันสมัยที่สุด และมีอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัยจากสหรัฐอเมริกา เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ซึ่งมีจำนวนเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนได้ ๑๐๐ เตียง

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปี พ.ศ.๒๔๘๕ ถึง พ.ศ.๒๔๘๙ รัฐบาลไทยได้เข้าควบคุมกิจการของโรงพยาบาลแมคคอร์มิค และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลเสรีเริงฤทธิ์” ใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม เมื่อสงครามโลกสงบลง รัฐบาลไทยจึงส่งมอบโรงพยาบาลคืนให้กับคณะมิชชั่นนารีดำเนินการต่อไปเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ และใช้ชื่อ “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” ดังเดิม

เนื่องจากทำงานอยู่ในแผ่นดินล้านนาเป็นเวลานานกว่า ๔๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ “นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” พร้อมทั้งครอบครัว จึงเกษียณอายุการทำงาน และเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกา “คณะมิชชั่นนารีเพรสไบทีเรียน” จึงมอบ “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” และกิจการทั้งหมดให้แก่ “มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย” เป็นผู้ดูแลต่อนับแต่นั้นเป็นต้นมา “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” จึงอยู่ภายใต้การรับผิดชอบของคนไทยมาจนปัจจุบัน

ที่มา : http://www.mccormick.in.th
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 3:06 pm

124060_resize.jpg
124060_resize.jpg (70.01 KiB) เปิดดู 5364 ครั้ง


ขุนอุปติพงษ์ หรือ นายสาตร์ อุปติพงษ์ เป็นชาวกรุงเทพฯ เดินทางมาเชียงใหม่ในปลายๆสมัยรัชกาลที่ ๕ ต่อมาในสมัย ร.๖ พ.ศ.๒๔๖๗ ขุนอุปติพงษ์ ได้รับตำแหน่งเป็น กรมการพิเศษจังหวัดเชียงใหม่ ท่านเป็นคนที่ทำคุณประโยชน์ให้เชียงใหม่หลายประการ ยกตัวอย่าง เช่น เป็นแกนนำในการนำศรัทธาชาวบ้านร่วมกันสร้างหอพระไตรปิฎก วัดทรายมูลเมือง ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ลวดลายบนหอไตรนั้น เป็นการสร้างโดยช่างชาวไทย และชาวพม่าช่วยกันทำขึ้นมา เป็นลวดลายที่มีเอกลักษณ์ งดงาม และหาได้ยากในยุคสมัยปัจจุบัน

ขุนอุปติพงษ์ เป็นเจ้าของโรงพิมพ์ และเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในจังหวัดเชียงใหม่ โรงพิมพ์ตั้งอยู่ด้านหน้าโรงแรมเพชรงาม ถนนเจริญประเทศ และในพ.ศ.๒๔๖๖ ได้สร้างโรงภาพยนตร์แห่งแรกในเชียงใหม่ ชื่อว่าโรงภาพยนตร์ “พัฒนากร” ตั้งอยู่ถนนช้างคลาน บริเวณใกล้ไนท์บาซาร์ในปัจจุบัน โรงภาพยนตร์เป็นอาคารไม้หลังคามุงสังกะสี โดยภาพยนตร์ที่ฉายในยุคนั้นเป็น “หนังเงียบ”

ขุนอุปติพงษ์ เป็นสามีของ คุณยายสีลา อุปติพงษ์ ที่เป็นข่าวในปี ๒๕๕๔ ว่าเป็นเศรษฐีนีที่ขายบ้าน ที่ดิน และทรัพย์สิน นำเงินไปทำบุญจนหมดตัว หลังจากนั้นคุณยายจึงไปอาศัยอยู่ในวัด ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่ก็ดูแลอย่างดี เนื่องจากท่านและสามีเป็นผู้มีคุณูปการต่อจังหวัดมานาน จนในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ คุณยายได้เสียชีวิตลงอย่างสงบในวัย ๙๖ ปี


อุบาทว์เมืองเชียงใหม่

00-DSCN8795.jpg
00-DSCN8795.jpg (77.71 KiB) เปิดดู 5366 ครั้ง


พ.ศ.๒๐๗๔ ไฟไหม้คุ้มหลวง

พ.ศ.๒๐๗๕ ไฟไหม้ชุมชนท่าแพเสียคนและของทั้งหลายมากนัก

พ.ศ.๒๐๗๖ เห็นอุบาทว์ผีพุ่งไต้ในอากาศ ทั้วทิศทั้งมวล

พ.ศ.๒๐๙๕ พญาเมกุฎ เสด็จไปทำบุญที่พระมหาธาตุลำปาง เห็นอุบาทว์ ๒ เรื่อง

๑.บนท้องฟ้าปรากฎนาคทัพหัวไปตะวันตก หางไปตะวันออก หลังขึ้นทางเหนือ ท้องลงทางใต้ไป ๗ วากว่า

๒.ปรากฏดาวหาง หางเป็นควัน ทวนกระแส นานกว่า ๑ เดือน

แล้ว บุเรงนองแห่งราชวงศ์ตองอูมายึดครองล้านนาในปี ๒๑๐๑


โรงเรียนชายวังสิงห์คำ หรือ Chiangmai Boy's School ต้นกำเนิดของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

chiangmai-boy-school.jpg
chiangmai-boy-school.jpg (17.72 KiB) เปิดดู 5364 ครั้ง


ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. ๒๔๓๐ โดยใช้บริเวณวัดร้างวังสิงห์คำ เป็นที่ตั้งของโรงเรียน โรงเรียนนี้ต่อมาเกิดไฟไหม้ จึงได้มีการก่อตั้งโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ในปี พ.ศ.๒๔๔๙

ภาพ : "ประวัติศาสตร์ล้านนา" ของ"ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล"
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน

cron