เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 14 ส.ค. 2019 10:40 pm

แม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ ถ่ายเมื่อพ.ศ.๒๕๑๕ สภาพของแม่น้ำปิงฝั่งด้านตะวันออก ในปีนั้นแห้งขอด ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำปิง ได้ทำบันไดและทางลงมายังท่าน้ำ อีกทั้งยังสามารถลงมาปลูกเพิงพักกัน หรือบางคนก็ปลูกผักสวนครัวเล็กๆน้อยๆบนหาดทราย ต้นไม้ที่ปลูกริมฝั่งซ้ายมือส่วนมากจะเป็นต้นลำไย ยอดเจดีย์ที่เห็นคือวัดเกตุการาม
วัดเดตุ2515.jpg
วัดเดตุ2515.jpg (21.96 KiB) เปิดดู 4611 ครั้ง



บันไดนาคทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเจียงใหม่ ถ่ายเมื่อพ.ศ.๒๔๙๗
141163.jpg
141163.jpg (24.36 KiB) เปิดดู 4898 ครั้ง

ภาพ : ภาพเก่าเล่าเรื่อง

โรงหนังศรีนครพิงค์ ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓
ประวัติโรงภาพยนตร์หรือโรงหนังในเมืองเชียงใหม่ เริ่มครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๖ โรงภาพยนตร์แห่งแรกชื่อว่าโรงภาพยนตร์ “พัฒนากร” ตั้งอยู่ถนนช้างคลาน บริเวณใกล้ไนท์บาซาร์ในปัจจุบัน โรงภาพยนตร์เป็นอาคารไม้หลังคามุงสังกะสี เจ้าของ คือ ขุนอุปติพงษ์พิพัฒน์ ชื่อเดิม คือ นายสาร์ต อุปติพงษ์ นักธุรกิจจากกรุงเทพฯ ที่อพยพมาอยู่เมืองเชียงใหม่พร้อมครอบครัว นอกจากทำธุรกิจโรงหนังแล้วยังทำโรงพิมพ์อยู่หน้าโรงแรมเพชรงาม ถนนเจริญประเทศ ผู้ที่เช่าโรงหนังทำหนังมาฉาย ชื่อว่า ขุนพุฒ สมัยแรกค่าเข้าชม ๒๕ สตางค์ , ๕๐ สตางค์ และ ๑ บาท ก่อนหนังฉาย ๑ วัน มีขบวนแห่แตรวงไปทั่วเมือง และประกาศเกี่ยวกับหนังที่จะฉาย หนังฉายประมาณ ๓ ทุ่ม เลิกเที่ยงคืน ภาพยนตร์ยุคแรกไม่มีเสียงพากย์ เมื่อหมดม้วนระหว่างรอเปลี่ยนม้วนหนังจะมีแตรวงบรรเลงคั่นเวลา

หลังจากขุนพุฒ เสียชีวิต โรงหนังพัฒนากรถูกปล่อยร้างระยะหนึ่ง จนประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๗๐ คุณนายลัดดา พันธาภา มาเช่าทำกิจการต่อและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงหนัง “ศรีเวียง” ยุคต่อมาเจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่มาเช่าทำต่อ(คุณป้าซิวเฮียง โจลานันท์,สัมภาษณ์)

โรงหนังแห่งต่อมา คือ “ตงก๊ก” อยู่ถนนท่าแพ ตรงข้ามวัดแสนฝาง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ศรีวิศาล” ระยะต่อมามีผู้เปิดโรงหนังแห่งที่ ๓ ชื่อ “ตงเฮง” อยู่ถนนท่าแพ ต่อมาเลิกกิจการเปลี่ยนเป็น “โรงยาฝิ่น” ภายหลังบริเวณดังกล่าวทำเป็นห้างสรรพสินค้า “ตันตราภัณฑ์” โดยนายธวัช ตันตรานนท์

ส่วนโรงหนัง “ศรีนครพิงค์” นั้น เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง ลงทุนดำเนินการโดย เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ บริเวณโรงหนังเดิมเป็นโรงละครเก่าของเจ้าราชบุตร

บริเวณโรงละครแห่งนี้ อยู่บริเวณคุ้มของเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย อาจเรียกว่าอยู่ด้านท้ายคุ้ม ส่วนด้านหน้าคุ้มอยู่ติดแม่น้ำปิง ซึ่งคุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ นายชู โอสถาพันธุ์หรือเถ้าแก่โอ๊ว ได้ซื้อไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ และสร้างเป็นตลาดนวรัฐ ระหว่างมีมหรสพเปิดตลาดในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้มีคนร้ายปาระเบิดใส่ทำให้เถ้าแก่โอ๊ว เสียชีวิต

เจ้าวงศ์จันทร์ ณ เชียงใหม่(คชเสนี)ธิดาของเจ้าราชบุตร(วงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่) ซึ่งเติบโตที่คุ้มนี้บันทึกเกี่ยวกับโรงละครแห่งนี้ไว้ว่า

“…นักเรียนที่เรียนในคุ้มประมาณ ๗๐ – ๘๐ คน วันเสาร์ วันอาทิตย์ โรงเรียนหยุด เด็กๆละครต้องเล่นละคร วันเสาร์ เวลา ๑๖.๓๐ น. มีแตรวงบรรเลงที่หน้าโรงละคร ซึ่งปลูกสร้างขึ้นอยู่ในบริเวณคุ้มหลวงทิศตะวันตก ข้าพเจ้าเห็นโรงละครสมัยนั้น รู้สึกว่ามันใหญ่โตมโหฬารเหลือเกิน ครั้งเวลา ๑๘.๓๐ น. พิณพาทย์จะโหมโรง ๒๐.๐๐ น. ละครลงมือแสดง เจ้าปู่(เจ้าแก้วนวรัฐ)ท่านมีพร้อมทุกอย่าง เครื่องดนตรี ครูละคร ก็เอาไปจากกรุงเทพฯ มาตอนหลังที่สุดนี้เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ ได้ขอให้เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์(ม.ร.ว.เย็น อิศราเสนา) ส่งครูขึ้นไปทำพิธีครอบละครชุดสุดท้าย เมื่อจะเปิดโรงละครใหม่อีกครั้งหนึ่ง สมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ โรงละครจึงทำเพดานเป็นช่องๆ ทำสะพานยาวไปจดฝาห้อง แลสะพานมีหลายสะพาน ทำห่างกันราว ครึ่งเมตรสำหรับแขวนตะเกียงเจ้าพายุเรียกว่า ตะเกียงวอชิงตัน โดยชักรอกขึ้นไปแขวนไว้ รวม ๔ ดวง เอาฉากเขียนผ้าเป็นรูปเมฆหมอกลงมาข้างตะเกียง…”(หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี,๒๕๔๐)

ชาวเมืองเชียงใหม่ มักผูกพันกับโรงหนัง “ศรีนครพิงค์” มาก ด้วยเหตุผลหลายประการ

เหตุผลหนึ่ง เพราะอยู่ใกล้ตลาด ย่านชุมชน ขณะนั้นภาพยนตร์เป็นสิ่งให้ความบันเทิงมากกว่าสิ่งอื่น

เหตุผลหนึ่ง เพราะหน้าโรงหนังเป็นสถานที่มีอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายชนิด แม้ไม่ได้มาดูหนังก็มากินอาหารได้

อีกเหตุผลหนึ่ง บริเวณหน้าโรงหนังมักมีหนุ่มสาวมาเที่ยวเตร่ดูใบปิดหนัง(ใบโฆษณา) อีกทั้งเป็นที่ที่หนุ่มสาวมักมาพบปะกันที่หน้าโรงหนัง

ผลต่อเนื่องนอกจากหนุ่มสาวได้พบปะกันแล้ว อีกด้านหนึ่ง นักเลงหัวไม้ทั้งหลายก็มาปะปนอยู่ด้วย ดังนั้นการชกต่อยวิวาทมีเรื่องมีราวกันก็มักจะเริ่มต้นกันที่หน้าโรงหนังแห่งนี้

โรงหนังศรีนครพิงค์ ในอดีต ส่งผลดีทำให้ร้านค้าย่านถนนช้างม่อยและถนนราชวงศ์ขายดี จนถึงตั้งตัวได้ ร้านค้าย่านนั้นยืนยันว่าช่วงที่โรงหนังศรีนครพิงค์ ยังเปิดฉายหนัง ผู้คนมากมายสัญจรผ่านไปดูหนัง ทำให้ค้าขายดีมาก จนหนังรอบค่ำเลิกตอน ๓ ทุ่มจึงถึงเวลาปิดร้าน(ต่อมามีการเพิ่มรอบ ๓ ทุ่มครึ่ง)

หน้าโรงหนัง ศรีนครพิงค์ นอกจากมีร้านค้าหลายร้าน ร้านหนึ่งที่อร่อยติดปาก คือ ร้านผัดไทยของป้าบัว อีกร้านหนึ่งคือ ร้านตือคาโคปัจจุบันยังขายที่ถนนช้างม่อยตัดใหม่ นอกจากนี้ยังมีร้านโกหลิ่ม เป็นร้านอาหารฝรั่งผสมอาหารจีน

ร้านหนึ่งคือ ร้านก๋วยเตี๋ยวโกฉั่ง เจ้าของชื่อ นายเตี้ยงเชง แซ่เอง ต่อมามอบให้รุ่นลูกดำเนินการต่อ คือ นายพิชัย แซ่เอง เล่าบรรยากาศหน้าโรงหนังศรีนครพิงค์ขณะนั้น ว่า

“ขายบริเวณหน้าโรงหนังสร้างไม่ถาวร เป็นแผงลอย ใช้ผ้าเต็นท์กันแดดกันฝน เช่าจากคุณนายลัดดาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ผมและน้องๆ มาช่วยขาย ขายก๋วยเตี๋ยวหมู ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ กระเพาะปลา ก๋วยจั๊บ หอยทอด ใกล้ร้านผมมีร้านเย็นตาโฟศรีพิงค์ พี่น้องช่วยกัน ต่อมาแยกครอบครัวไปมีสาขาช้างเผือกและหลัง มช. อีกร้านหนึ่งที่ขายดีคือร้านไอติมศรีฟ้า เจ้าของร้านปัจจุบันเป็นเจ้าของวีระชัยคอร์ด

“ร้านขายตือคาโคก็อร่อยและขายดี เจ้าของชื่อ อึ้มไล้ หลังจากโรงหนังเลิก รุ่นหลานมาเปิดขายที่ถนนช้างม่อยตัดใหม่ นอกจากนี้มีอีกหลายร้าน เช่น ร้านหอยทอด ข้าวเกรียบปากหม้อ ร้านผัดไทย หัวผักกาด ร้านขายขนมไทย ร้านอาแปะขายน้ำเต้าหู้ ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือโกเหลียง ส่วนบนโรงหนังขายขนมขบเคี้ยว หมากฝรั่ง ผลไม้ดอง

“ครอบครัวผมเริ่มจากพ่อแม่มาจากกรุงเทพฯ พ่อ ชื่อ นายเตี้ยงเซง คุ้นเคยกับเฮียโอวตี่มาเริ่มขอพื้นที่ร้านข้าวต้มเฮียโอวตี่ขายหอยทอด ละแวกหน้าโรงหนังสุริวงศ์ ต่อมาทางเทศบาลปรับพื้นที่จึงย้ายมาขายหน้าโรงหนังศรีนครพิงค์ ขณะนั้นมาเช่าห้องแถวของหมอเชย วสุวัต ปัจจุบันคือบริเวณโรงแรมนิวมิตรภาพถนนราชวงศ์ ขณะนั้นมีบ้านไม้ใหญ่ ๒ หลัง หลังหนึ่งคุณนายเชื้อ พักอยู่กับครอบครัว อีกหลังหนึ่งของหมอเชย หน้าบ้านมีสนามแบดมินตัน ตอนนั้นผมยังเด็กอยู่ จำได้ว่าห้องแถวอยู่ด้านในของถนนราชวงศ์ มีหลายห้อง ละแวกนั้นมีต้นมะพร้าวเยอะ ต่อมาเขาจะสร้างตึกพ่อย้ายมาเช่าห้องอยู่ใกล้โบสถ์แขกของคุณนายอ่อนศรี อาชีพขายก๋วยเตี๋ยวหน้าโรงหนังศรีนครพิงค์ มักเรียกกันว่า ก๋วยเตี๋ยวโกฉั่ง รุ่นลูกมี ๗ คนไปช่วยกันขายก๋วยเตี๋ยว

“ต่อมาพ่ออายุมาก ผมและน้องๆ ช่วยกันขายต่อมา ผมขายหน้าโรงหนังศรีพิงค์ ๑๐ กว่าปี ต่อมาเมื่อโรงหนังเลิกกิจการมาเช่าอยู่ที่ถนนช้างม่อยตัดใหม่ซึ่งคุณมัณฑนาทำตึกให้เช่า เปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยวเรื่อยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑ เรื่อยมา

“ถนนช้างม่อยตัดใหม่สร้างมาก่อนถนนสายข้างวัดแสนฝางที่จากท่าแพมา เดิมบริเวณนี้เป็นที่ราชพัสดุ ต่อมาคุณมัณฑนามาเช่าและสร้างตึกแถวให้เช่า นอกจากนี้ได้สร้างถนนแยกจากถนนช้างม่อยมาทางหลังวัดแสนฝาง สร้างสะพานคอนกรีตข้ามลำน้ำแม่ข่าไปหลังวัดแสนฝางซึ่งมีทางเล็กๆไปทะลุถนนท่าแพ ต่อมาทางราชการเวนคืนที่ดินและสร้างถนนจากถนนท่าแพผ่านข้างวัดแสนฝางมาจบกับถนนราชวงศ์

“หน้าโรงหนังศรีพิงค์เป็นศูนย์รวมของอาหาร คนมาดูหนัง หากไม่ดูหนังก็มาหาของกิน สมัยนั้นคิวรถ มช.(มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)ก็อยู่ใกล้ๆ คือ บริเวณโรงแรมกำธร โดยเฉพาะเมื่อมีดนตรีลูกทุ่งมาแสดง คนมาเยอะ สมัยนั้นมีศรคีรี ศรีประจวบ , ไพรวัลย์ ลูกเพชร , บุปผา สายชล , สุรชัย สมบัติเจริญมักมาเปิดแสดงเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๖-๒๕๐๗

“สมัยอยู่หน้าโรงหนังเริ่มขายก๋วยเตี๋ยวตั้งแต่ ๔ โมงเย็น คนจะเริ่มมากินและมารอดูหนังรอบ ๑ ทุ่ม รอบที่สอง คือ ๓ ทุ่มครึ่ง(๒๑.๓๐ น.) เมื่อคนเข้าชมหนังรอบที่สองแล้วก็จะเก็บร้าน ส่วนเสาร์อาทิตย์มีรอบกลางวันเพิ่มมา วันเสาร์อาทิตย์มักมีรอบ ๔ โมงเย็น(๑๖.๐๐ น.) เสียงในฟิล์มเป็นภาษาอังกฤษ นักศึกษา มช.มักมาดูกันเยอะ”

ปัจจุบันร้านก๋วยเตี๋ยวโกฉั่ง ที่ดำเนินการโดยพิชัย แซ่เองและ ศิริรัตน์ แซ่เอง น้องสาวยังคงเปิดบริการอยู่ที่ถนนช้างม่อยตัดใหม่ ย่านหลังวัดแสนฝาง ขายก๋วยเตี๋ยวหมู เย็นตาโฟและหอยทอด

ข้อมูลจาก : พ.ต.อ.อนุ เนินหาด

ศรีนครพิงค์2513.jpg
ศรีนครพิงค์2513.jpg (32.3 KiB) เปิดดู 4611 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 14 ส.ค. 2019 10:45 pm

สะพานทางเข้าโรงพยาบาลโรคเรื้อนแมคเคน ปัจจุบันคือสถาบันแมคเคนเพื่อการฟื้นฟูสภาพ
ภาพตีพิมพ์ในหนังสือของชาวต่างชาติ น่าจะก่อน พ.ศ.๒๔๗๐
141165.jpg
141165.jpg (38.38 KiB) เปิดดู 4898 ครั้ง

ภาพ : ห้องวิจัยประวัติศาสตร์


สถาบันแมคเคนถ่ายเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
ในอดีตนั้นบริเวณนี้เรียกว่า เกาะกลาง ต่อมาดร.เมคเคน ได้ขอความเมตตาจากเจ้าเมืองเชียงใหม่สร้างเป็นที่อยู่ของคนโรคเรื้อน
“เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ หมอแมคเคน (Dr.James McKean) ได้เข้าเฝ้าเจ้าหลวงอินทวโรรส ทูลว่า
“มีเกาะอยู่เกาะหนึ่งบนน้ำปิง ใต้ลงไปจากตัวเวียงประมาณ ๕ ไมล์ ซึ่งเจ้าหลวงอินทวโรรสได้เอาช้างดุร้ายไปปล่อยไว้ ทำให้ประชาชนไม่กล้าไปทำมาหากินบนเกาะนี้ หมอจึงใคร่จะขอเกาะนี้ เป็นที่อาศัยของผู้ป่วยโรคเรื้อน”

141225.jpg
141225.jpg (39.26 KiB) เปิดดู 4898 ครั้ง


หมอแมคเคนนั้นเป็นหมอประจำของเจ้าหลวงอยู่แล้ว เมื่อหมอเสนอโครงการสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อนเช่นนี้ ย่อมทำให้เจ้าผู้ครองเล็งเห็นถึงประโยชน์ในเรื่องอนามัยของนครเชียงใหม่ ส่งผลให้ต่อมาในวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๑ จึงได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลโรคเรื้อนเชียงใหม่อย่างเป็นทางการขึ้น ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการมอบที่ดินบนเกาะกลางแม่น้ำปิงเนื้อที่ประมาณ ๔๐๐ ไร่ ให้คณะมิชชั่นอเมริกันเพรสไบรเตอเรียน (American Presbyterian Mission) เพื่อจัดตั้งโรงพยาบาลโรคเรื้อนแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น โดยพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงดำรงเดชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการการดำเนินกิจการของโรงพยาบาลโรคเรื้อนเชียงใหม่ ภายใต้การนำของหมอแมคเคน และผู้ช่วยคนไทย คือ พ่อเลี้ยงจันตา อินทราวุธ ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างดี ทั้งยังมีเจ้านายหลายพระองค์ได้บริจาคเงินส่วนพระองค์
เพื่อสร้าง “เรือนแพ” หรือที่พักอาศัยของผู้ป่วยจึงเกิดเป็นหมู่บ้านเรือนแพขึ้น โดยมีหมู่บ้านสำหรับชายและหญิงแยกกัน”
ภาพ : Pendleton, Robert Larimore
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 14 ส.ค. 2019 10:58 pm

เจ้าแก้วนวรัฐ เข้าเยี่ยม พ่อขุนกัน ชนะนนท์ ที่บ้านวังสิงห์คำ น่าจะช่วงปี พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๔๘๐ ในภาพ เจ้าแก้วนวรัฐนั่งอยู่บนเก้าอี้ด้านซ้าย
จาก...หนังสือ "๕๕ ปี ถนนศรีวิชัยช่วงสุดท้าย ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๒"
141384.jpg
141384.jpg (35.35 KiB) เปิดดู 4746 ครั้ง


นายคำรณ ธรรมสโรช นายอำเภอหางดง กำลังกล่าวเปิดงานอะไรสักอย่างหนึ่งที่ อ.หางดง ประมาณพ.ศ.๒๕๐๐ ในภาพนั้นมีข้าราชการหรืออาจจะเป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านสวมเครื่องแบบสมัยเก่า และสวมหมวกกะโล่โบราณ
141386.jpg
141386.jpg (83.88 KiB) เปิดดู 4746 ครั้ง

จาก...หนังสือ "๑๐๐ ปี อำเภอหางดง" ของ พ.ต.อ.อนุ เนินหาด
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 14 ส.ค. 2019 11:02 pm

คุณแม่ศรีพรรณ (สุวรรณรัตน์) ชวนไชยสิทธิ์ และคุณแม่จรัสพร ปินตาสะอาด ถ่ายเมื่ออายุประมาณ ๑๓ – ๑๔ ปี ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๕ – ๒๔๙๖ ยืนอยู่ด้านหน้าพุ่มดอกเข็ม หน้าตึกเรียน โรงเรียนการช่างสตรี (ปัจจุบันคือโรงเรียนอาชีวะ)
สตรีการช่าง_resize.jpg
สตรีการช่าง_resize.jpg (126.71 KiB) เปิดดู 4746 ครั้ง



คุณแม่ศรีพรรณ (สุวรรณรัตน์) ชวนไชยสิทธิ์ ถ่ายเมื่ออายุประมาณ ๑๗ – ๑๘ บริเวณด้านหน้ากุฏิ (โฮง) วัดชัยศรีภูมิ ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ ถ่ายภาพนี้ขณะไปหาบน้ำใส่หม้อ คนแถวๆช้างม่อยในยุคนั้นจะไปตักน้ำกินที่วัดชัยศรีภูมิ ตักน้ำใช้ที่วัดหนองคำ
วัดชัยศรีภูมิ_resize.jpg
วัดชัยศรีภูมิ_resize.jpg (119.4 KiB) เปิดดู 4746 ครั้ง


คุณแม่ศรีพรรณ (สุวรรณรัตน์) ชวนไชยสิทธิ์ ถ่ายเมื่ออายุประมาณ ๒๐ ปี ประมาณ พ.ศ.๒๔๙๙ – ๒๕๐๐ อาคารด้านหลังคือศาลาตั้งศพ วัดหนองคำ ถนนช้างม่อย เชียงใหม่
วัดหนองคำ_resize.jpg
วัดหนองคำ_resize.jpg (134.34 KiB) เปิดดู 4746 ครั้ง

ภาพ : รำไพ ชวนไชยสิทธิ์
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 14 ส.ค. 2019 11:09 pm

ตึกประถมโรงเรียนดาราวิทยาลัย สร้างราวๆ พ.ศ.๒๔๖๘ - ๒๔๗๒ ปีจจุบันอาคารนี้ถูกรื้อแล้วสร้างเป็นอาคารเฮเลน เอฟ แมคคลัวร์
ภาพจากวารสาร Siam Outlook ของคณะ Siam Mission, American Presbyterian Mission, v.10 no.1 January 1939, p.26)
141172.jpg
141172.jpg (74.5 KiB) เปิดดู 4746 ครั้ง


รูปภาพเชียงใหม่บริเวณริมคูเมือง ภาพแรกถ่ายปี พ.ศ.๒๕๐๑ เมื่อในหลวง ร.๙ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จเชียงใหม่ เป็นซุ้มรับเสด็จของโรงงานยาสูบเชียงใหม่ อาคารที่เห็นชื่อร้านขายยาบุญตันโอสถและเป็นคลีนิคทำฟันของ ทพ.สาคร เลิศพฤกษ์ด้วย เป็นบ้านเลขที่ ๑ ของถนนราชวิถี ซึ่งเริ่มจากตรงนี้ไปจรดถนนพระปกเกล้า ตรงข้ามอาคารนี้เป็นปั๊มนำ้มันเชลล์ของนายสมเพชร สุกัณศีล ทางด้านขวามือของภาพ (ทิศเหนือ) เป็นตลาดสมเพชร ส่วนทิศใต้ของภาพเป็นประตูท่าแพ

ภาพ : หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ
141170.jpg
141170.jpg (31.46 KiB) เปิดดู 4746 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 15 ส.ค. 2019 5:29 am

บันไดนาคทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ภาพถ่ายประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๗
ภาพ : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
144143.jpg
144143.jpg (72.88 KiB) เปิดดู 4745 ครั้ง


บันไดทางขึ้นวัดแสนฝาง ภาพถ่ายเมื่อพ.ศ.๒๕๑๓ มีต้นไม้โผล่ขึ้นกลางบันได

144147.jpg
144147.jpg (25.66 KiB) เปิดดู 4745 ครั้ง


วัดแสนฝาง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๘ ถนนท่าแพ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีศิลปะการก่อสร้างแบบพม่า โดยเฉพาะเจดีย์ที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม นอกจากนี้ยังมีกุฏิเจ้าอาวาสซึ่งสร้างมานานกว่า ๑๐๐ ปี เป็นจุดที่น่าสนใจอีกด้วย ตามประวัติเล่าว่าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ ให้รื้อที่ประทับของพระเจ้ากาวิโรรสสุริวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖ มาสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๐ ครั้นสร้างเสร็จแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองใน พ.ศ.๒๔๒๑

มีตำนานเล่าว่าวัดแสนฝางนั้น แต่เดิมเรียกว่า วัดแสนฝัง เนื่องจากพระเจ้าแสนภู เป็นกษัตริย์ในราชวงศ์มังราย ได้บริจาคทรัพย์ในการสร้างวัดแห่งนี้ตามอย่างพระเจ้าปู่และพระราชบิดา วัดนี้จึงชื่อว่าวัดแสนฝางมาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยคำว่าแสนก็มาจากชื่อของพระเจ้าแสนภู ส่วน ฝางนั้นเพื้ยนมาจาก ฝัง ซึ่ง คำว่าฝังในที่นั้นหมายถึงการบริจาค การฝากฝังสมบัติไว้กับพระพุทธศาสนา

ภายในวัดแสนฝาง มีโบราณวัตถุสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญอยู่หลายอย่าง เช่น วิหารลายคำ ๑ หลัง วิหารหลังนี้เป็นทรงล้านนา หลังคาเตี้ยและลาดต่ำ ประดับด้วยลวดลายไม้แกะสลักและปูนปั้นปิดทอง

- เจดีย์ทรงพม่า ลักษระคล้ายเจดีชะเวดากองที่พม่า

- พระอุโบสถ มี ๒ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูนชั้นบนเป็นโครงสร้างไม้

- หอไตรหลังเก่า สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๒

-พระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน พระประธานในวิหารลายคำ

ภาพถ่ายจากทางอากาศของโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ถ.เจริญประเทศ ประมาณพ.ศ.๒๕๑๕ - ๒๕๑๘
144153.jpg
144153.jpg (44.94 KiB) เปิดดู 4745 ครั้ง


ภาพจา : หนังสือ "วัชรสมโภช" จัดทำเนื่องในโอกาสที่คณะภราดาเซนต์คาเบรียล ฉลองวาระครบรอบ ๗๕ ปี ที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 15 ส.ค. 2019 5:38 am

ภาพเก่าค่ายกาวิละ ที่จังหวัดเชียงใหม่ คาดคะเนเวลาที่ถ่ายภาพน่าจะเป็นช่วงพ.ศ.๒๔๔๘ - ๒๔๕๘
เนื่องจาก พ.ศ. ๒๔๔๘ ได้เปลี่ยนชื่อหน่วย“กรมบัญชาการมณฑลพายัพตะวันตก” โดยยุบกรมบัญชาการทหารบกตะวันออก กรมบัญชาการทหารบกตะวันตก รวมเป็นกรมบัญชาการทหารพายัพเชียงใหม่แห่งเดียว ต่อมาพ.ศ.๒๔๕๘ ปรากฏชื่อว่า หน่วยทหารค่ายกาวิละ
ภาพ : เชียงใหม่ในอดีต
144149.jpg
144149.jpg (21.43 KiB) เปิดดู 4745 ครั้ง


เรือนจำประจำจังหวัดเชียงใหม่
144151.jpg
144151.jpg (10.15 KiB) เปิดดู 4745 ครั้ง

เดิมตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๐ ถนนราชวิถี ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แต่เนื่องจากจำนวนผู้ต้องขังเพิ่มมากขึ้น เกิดสภาพความแออัดและคับแคบ ที่ไม่เพียงพอเหมาะสมต่อการควบคุมและให้การอบรม แก้ไขฟื้นฟูพัฒนาพฤตินิสัยให้กับผู้ต้องขัง จึงย้ายไปในพื้นที่เรือนจำชั่วคราวแม่หยวก เลขที่ ๑๔๒ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก งบประมาณ จำนวน ๒๙๔,๘๙๒,๕๐๐ บาท เปิดดำเนินการ เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๒ (เริ่มก่อสร้าง พ.ศ.๒๕๓๙) และได้ย้ายไปก่อสร้างเรือนจำกลางชั่วคราวสันมหาพน ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ - ปัจจุบัน (เริ่มก่อสร้าง พ.ศ.๒๕๔๘ - ๒๕๕๒) งบประมาณ ๕๘๔,๘๕๓,๒๔๒.๐๒ บาท

1.jpg
1.jpg (57.8 KiB) เปิดดู 4745 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 16 ส.ค. 2019 6:17 am

กระเป๋ารถเมล์สายดอยสะเก็ด เจียงใหม่
วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๐๘
ภาพ : Khruasawan Sangsuk
144197.jpg
144197.jpg (75 KiB) เปิดดู 4733 ครั้ง



กำแพงและคูเมืองโบราณ จังหวัดเชียงใหม่ ด้านทิศเหนือ เห็นถนนมณีนพรัตน์อยู่ด้านขวา ถ่ายเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ไม่ต่ำกว่า พ.ศ.๒๔๖๐
ภาพ:หนังสือ Siam เล่ม ๑ พิมพ์ พ.ศ.๒๔๖๗ ของ W.A. Graham, M.R.A.S.
ที่มา : หนังสือ "สมุดภาพเมืองไทย เล่ม ๓"ของ คุณเอนก นาวิกมูล
144216.jpg
144216.jpg (35.71 KiB) เปิดดู 4733 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 29 ส.ค. 2019 9:18 pm

ประตูท่าแพ ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐ - ๒๕๐๒ จะเห็นว่าตัวเมืองเชียงใหม่สมัยนั้น ยังมีต้นไม้เป็นส่วนมาก ตึกยังไม่ค่อย ตรงกลางภาพจะเห็นโรงภาพยนตร์สุริวงศ์ อยู่ตรงข้ามกับสวนสาธารณะ มีหอนาฬิกา มีทีวีให้ดู มีน้ำพุ เลยน้ำพุไปด้านขวา ตรงนั้นจะเป็นตลาดโต้รุ่ง ด้านซ้ายมือ ที่ลงนอกนั้นคือสนามเด็กเล่น เมื่อก่อนจะใช้ทำจัดกิจกรรมอะไรต่างๆ เช่น เวทีดนตรี ข้างล่างภาพโรงแรมมนตรียังไม่ได้สร้าง
ภาพ : จากหนังสือ สมุดภาพเชียงใหม่ในอดีต ของนาย Charles และนายประชา ตระการศิลป์

ท่าแพ.jpg
ท่าแพ.jpg (60.5 KiB) เปิดดู 4669 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 08 ก.ย. 2019 2:31 pm

เจดีย์วัดแสนฝาง จังหวัดเจียงใหม่
ถ่ายโดยมิชชันนารีต่างชาติในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๔๕๓ - พ.ศ.๒๔๖๘)
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
155340.jpg
155340.jpg (22.59 KiB) เปิดดู 4619 ครั้ง


ฟ้อนเล็บนำขบวนพระพุทธสิหิงค์ ในวันปี๋ใหม่เมืองของจาวเจียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๕
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
155342.jpg
155342.jpg (19.02 KiB) เปิดดู 4619 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 09 ก.ย. 2019 9:32 pm

โรงแรมรถไฟ เชียงใหม่ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๐
ภาพ : Pichet Chamneam
155945.jpg
155945.jpg (25.07 KiB) เปิดดู 5305 ครั้ง


Aerial view of public school Chiangmai 1951 ภาพถ่ายทางอากาศโรงเรียนยุพราช เชียงใหม่ ถ่ายปี พ.ศ.๒๔๙๔
เรือนไม้สามชั้นคือเรือนเพชร ปัจจุบันถูกรื้อลงแล้ว ผู้ถ่ายน่าจะเป็นชาวต่างชาติ
ภาพ : Pendleton, Robert Larimore
ยุพราช.jpg
ยุพราช.jpg (48.02 KiB) เปิดดู 5305 ครั้ง


นักเรียนโรงเรียนดาราวิทยาลัย พ.ศ.๒๔๗๗
โรงเรียนพระราชชายา เปลี่ยนชื่อเป็น ดาราวิทยาลัย พ.ศ.๒๔๖๖
ภาพ : Kenneth E. Wells
155948.jpg
155948.jpg (59.29 KiB) เปิดดู 5305 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 10 ก.ย. 2019 8:57 pm

น้ำตกห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๘๒
ภาพจากหนังสือ สมุดภาพเที่ยวที่ต่างๆ ของ คุณธงชัย ลิขิตพรสวรรค์
156262.jpg
156262.jpg (53.02 KiB) เปิดดู 5300 ครั้ง


ตึก ๗ ชั้น หรือ อาคารบุญสม มาร์ติน น่าจะถ่ายหลังจากสร้างแล้วเสร็จใหม่ๆ ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๒-๒๕๑๓
จาก...หนังสือ "๕๐ ปี สวนดอก บอกผ่านภาพ"ของ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รพ.สวนดอก.jpg
รพ.สวนดอก.jpg (40.17 KiB) เปิดดู 5299 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน

cron