เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 20 พ.ย. 2017 7:52 pm

รถสาย ท่าตอน-เชียงใหม่ ถ่ายใกล้ๆปากทางปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว
มีผู้ให้ข้อมูลว่าบรรยากาศในภาพน่าจะเป็นช่วงประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๕ - ๒๕๓๐
23755084_391779524588913_1843603382801471026_n.jpg
23755084_391779524588913_1843603382801471026_n.jpg (87.42 KiB) เปิดดู 6987 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » ศุกร์ 30 มี.ค. 2018 4:30 pm

ดอยสุเทพสำคัญอย่างไร เหตุใดคนเชียงใหม่จึงต้องปกป้อง

1493530154-doysutap-o.jpg
1493530154-doysutap-o.jpg (88.8 KiB) เปิดดู 6920 ครั้ง


เมื่อเอ่ยถึงเมืองเชียงใหม่ เอกลักษณ์ที่คนมักจะนึกถึงอันดับต้นๆคือ “ดอยสุเทพ” ภูเขาสูงที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอเมืองเชียงใหม่ บนดอยสุเทพมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายจึงเป็นที่รู้จักของคนไทยและต่างประเทศ แต่ความผูกพันของคนเชียงใหม่ และชาวล้านนาในอดีต ต่อดอยสุเทพไม่ได้มีแค่การเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ ดอยสุเทพคือจุดเริ่มต้นของหลายตำนาน หลายความเชื่อ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนล้านนา



๑.ก่อนจะรวมตัวกันเป็นล้านนา ดินแดนแถบนี้มีเมืองใหญ่อันเข้มแข็งเมืองหนึ่ง คือ เมืองหริภุญชัย ซึ่งผู้สร้างเมืองแห่งนี้คือ พระฤาษีวาสุเทพ หรือสุเทวฤาษี ตามตำนานในพระราชประวัติพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์ ยังระบุว่า ฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้พบ "หญิงวี" หรือพระนางจามเทวีในดอกบัว ท่านใช้วีรองรับเด็กคนนั้นขึ้นมาชุบเลี้ยง ‘พระฤาษีวาสุเทพ (สุเทวฤาษี) ซึ่งจำศีลภาวนาอยู่ ณ ดอยสุเทพ ได้ธุดงค์มาพบเข้าก็ทราบว่าทารกคนนี้คงไม่ใช่คนธรรมดาสามัญ ต้องเป็นผู้มีบุญบารมีมาเกิดเป็นแน่ ท่านจึงใช้พัด (วี) ยื่นไปในสระน้ำนั้นพร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานว่า หากทารกนี้มีบุญจริงก็ให้พัดของเรารับร่างน้อยนั้นเข้าฝั่งมาได้เถิด และสิ้นคำอธิษฐาน ร่างของทารกน้อยก็ลอยขึ้นฝั่งได้พร้อมกับพัดที่ใช้รองรับ ดังนั้นท่านฤาษีวาสุเทพจึงได้นำทารกน้อยนี้ไปเลี้ยงดูโดยตั้งชื่อว่า “หญิงวี” ฤาษีวาสุเทพได้เลี้ยงดูหญิงวีจนกระทั่งอายุได้ ๑๓ ขวบ จึงได้ต่อแพยนต์จัดส่งพระนางไปตามนิมิต โดยให้นั่งไปบนแพยนต์ มีวานรติดตามไปดูแล ๓๕ ตัว แพยนต์ซึ่งพระฤาษีเสกด้วยเวทย์มนต์คาถาก็นำพาหญิงวีไปตามลำน้ำใหญ่ จนกระทั่งถึงวัดเชิงท่าตลาดเมืองละโว้(ลพบุรี) แพยนต์ของหญิงวีก็ลอยเป็นวงกลมอยู่ที่ท่าน้ำนั้น ประชาชนพลเมืองต่างช่วยกันชักลากขึ้นฝั่ง แต่ก็ไม่สำเร็จ จึงพากันไปทูลกษัตริย์เมืองละโว้ เมื่อพระองค์ทรงทราบข่าวจึงเสด็จมาทอดพระเนตร พร้อมกับรับหญิงวีเป็นธิดาบุญธรรม ต่อจากนั้นก็ได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองและเจิมพระขวัญแต่งตั้งให้หญิงวีที่มากับสายน้ำนี้เป็นพระราชธิดา และทรงมีรับสั่งให้ปุโรหิตจารึกพระนามลงในแผ่นสุพรรณบัฏว่า

“เจ้าหญิงจามเทวีศรีสุริยวงศ์ บรมราชขัติยนารี รัตนกัญญาละโว้บุรีราไชศวรรย์”

เป็น รัชทายาทแห่งนครละโว้ในดิถีอาทิตยวาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย พ.ศ. ๑๑๙๐ ต่อมาเจ้าหญิงจามเทวีฯ ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายรามแห่งกรุงละโว้ และได้ครองราชย์ร่วมกัน ก่อนจะเสด็จมาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัย’

1493530405-di8e5baik5-o.jpg
1493530405-di8e5baik5-o.jpg (56.3 KiB) เปิดดู 6920 ครั้ง


๒. เมื่อครั้งที่ พญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนาได้สร้างเมืองเชียงใหม่นั้น ทรงเลือกบริเวณเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันเนื่องจากเป็นชัยภูมิที่ดี ประกอบด้วย ชัยมงคล ๗ ประการ คือ
๑. มีกวางเผือกสองตัวแม่ลูกมาอาศัยอยู่ในที่นั้นและมีคนเคารพสักการะบูชา
๒. มีฟาน (เก้ง) เผือกสองตัวแม่ลูกมาอาศัยอยู่และได้ต่อสู้กับฝูงสุนัขไล่เนื้อ
๓. เห็นหนูเผือกพร้อมด้วยบริวารอีก ๔ ตัว วิ่งเข้าไปในรูใต้ต้นไม้มิโครธ
๔. พื้นที่สูงทางทิศตะวันตกเอียงลาดเทไปทางทิศตะวันออก
๕. มีน้ำตกไหลจากดอยสุเทพโอบล้อมตัวเมืองไว้
๖. มีหนองน้ำไหลอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง
๗. มีแม่น้ำระมิงค์ (แม่น้ำปิง) ซึ้งต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ

ดังปรากฏอยู่ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ดังนี้

“ ...อันแต่ก่อนเราได้ยินสืบมาว่ากวางเผือกสองตัวแม่ลูกลุกแต่ป่าใหญ่หนเหนือมาอยู่ชัยภูมิที่นี้ คนทั้งหลายย่อมกระทำบุชาเป็นชัยมงคลปฐมก่อนแลอันหนึ่งว่าฟานเผือกสองตัวแม่ลูกมาอยู่ชัยภูมิที่นี้รบหมา หมาทั้งหลายพ่ายหนีบ่อาจจัดตั้งได้สักตัว เป็นชัยมงคลถ้วนสอง อันหนึ่งเล่าเราทั้งหลายได้หันหนูเผือกกับบริวาร ๔ ตัว ออกมาแต่ชัยภูมิที่นี้ เป็นชัยภูมิถ้านสาม อันหนึ่งภูมิฐานที่เราจัดตั้งเวียงนี้ สูงวันตกหลิ่งมาออก เป็นชัยภูมิถ้วนสี่ อันหนึ่งอยู่ที่นี้ หันน้ำตกแต่อุชอปัตตาดอยสุเทพ มาเป็นแม่น้ำไหลขึ้นหนเหนือ แล้วไหลดะไปหนวันออกแล้วไหลไปใต้ แล้วไหลไปวันตกเกี้ยวเวียงกุมกาม แม่น้ำนี้เป็นนครคุณเกี้ยวเมือง อันเป็นชัยมงคลถ้วนห้า แม่น้ำนี้ไหลแต่ดอยมาที่ขุนน้ำ ได้ชื่อว่าแม่ข่า ไหลเมื่อวันออกแล้วไหลไปใต้เทียบข้างแม่น้ำปิง ได้ชื่อว่าแม่โถต่อเท่าบัดนี้แล อันหนึ่งหนองใหญ่มีวันออกเฉียงเหนือแห่งชัยภูมิ ได้ชื่อว่าอิสาเนราชบุรี ว่าหนองใหญ่หนอิสานท้าวพระยาต่างประเทศจักมาบูชาสักการะมากนัก เป็นชัยมงคลถ้วนหกแล อันหนึ่งน้ำระมิงคืไหลมาแต่อ่างสรงอันพระพุทธเจ้า เมื่อยังทรมาน ได้มาอาบในดอยอ่างสรง ไหลมาออกเป็นขุนน้ำแม่ระมิงค์ ภายวันออกเวียง เป็นชัยมงคลถ้วนเจ็ดแล...”

๓. พญากือนา กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง ๑๓ ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำประทักษิณสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก ๘ ศอก กว้าง ๖ วา ๓ ศอก หาแท่นหินใหญ่ ๖ แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง ๕ วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าในบริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น

๔.ชื่อเดิมของดอยสุเทพ คือ อุฉุปัพฉบรรพต หรือ ดอยอ้อยช้าง เป็นดอยต้นน้ำที่ส่งมายังรางลินของเวียงเจ็ดลิน น้ำนี้ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการสรงมุรธาภิเษก เสด็จขึ้นครองเมืองของกษัตริย์ล้านนามาแต่ครั้งอดีต

๕. บริเวณเชิงดอยสุเทพมีรูปปั้นครูบาศรีวิชัย หรือ พระสีวิไชย พระมหาเถระซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สร้างถนนทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ ได้รับการขนานนามว่า ตนบุญแห่งล้านนา หมายถึงนักบุญแห่งล้านนา ครูบาศรีวิชัยได้รับคำเรียกร้องจากศรัทธาประชาชน ให้ช่วยดำริและจัดการเรื่องนี้ จึงเริ่มลงมือสร้างเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ เชิงดอยสุเทพด้านห้วยแก้ว โดยมี พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้ขุดจอบเป็นปฐมฤกษ์ การสร้างถนนสายนี้ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากวันหนึ่งๆ จะมีผู้คนช่วยทำงานประมาณวันละไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ คน ถ้าคิดมูลค่าแรงงานเป็นเงินก็คงมากมายมหาศาลทีเดียว การสร้างทางสายนี้ใช้เวลา ๕ เดือน กับ ๒๒ วัน จึงแล้วเสร็จ และเปิดให้รถขึ้นลงได้ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘

๖.พระธาตุดอยสุเทพ ถือเป็นเขาพระสุเมรุของล้านนา แฝงความคิดเป็นฮินดูอยู่ในพุทธศาสนา ทั้งยังเป็นหมุดหมายไว้สำหรับนักเดินทางสังเกตได้ว่าถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว

๗.เป็นหนึ่งในเจดีย์ประจำปีเกิดของคนเกิดปีมะแม การนับถือเจดีย์ประจำปีเกิดเป็นวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนาที่เผยแพร่มายังกรุงรัตนโกสินทร์ อย่างน้อยที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่คตินี้เริ่มแผ่เข้ามา

๘.นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะมีพิธีรับน้อง "ประเพณีลูกช้างขึ้นดอยนำน้องใหม่ไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ" โดยเจตนารมณ์ของประเพณีนี้ เพื่อระลึกถึงการจาริกแสวงบุญตามรอยครูบาศรีวิชัยที่ได้นำเหล่าพุทธศาสนิกชนชาวล้านนาแผ้วถางทำทางขี้นพระธาตุดอยสุเทพ ดังนั้นการตามรอยเส้นทางนี้จึงเป็นเส้นทางมหามงคลที่นักศึกษาทุกคณะได้เจริญตามรอยในทุกๆปี

ที่มาของข้อมูล ตำนานเมืองเชียงใหม่ ,ประวัติศาสตร์ล้านนา,วิกิพีเดีย

ชาวล้านนา ถือว่า “ดอยสุเทพ” เป็นดอยอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของทุกคนมาอย่างยาวนาน บรรพบุรุษ ปู่ย่าตาทวดของเราเคยช่วยกันสร้าง ช่วยกันบูรณะ เคยกราบไหว้ เคยเดินขึ้นดอยกันด้วยหัวใจเปี่ยมด้วยความศรัทธา นี่คือความรู้สึกของคนล้านนาต่อดอยสุเทพ จงรักษาสิ่งดีงามนี้เอาไว้เถิด วัฒนธรรม ความเชื่อ และวิถีชีวิตดั้งเดิมคือสิ่งยึดเหนี่ยวคุณธรรมความดีให้อยู่กับเราตราบนานเท่านาน เราจึงต้องช่วยกันปกป้องรักษา ดังเช่นที่บรรพบุรุษของเราเคยทำกันมา เพื่อให้สิ่งดีงาม และดอยอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้คงอยู่ต่อไปจนชั่วลูกชั่วหลาน

1493530011-1825429316-o.jpg
1493530011-1825429316-o.jpg (38.9 KiB) เปิดดู 6920 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พุธ 29 ส.ค. 2018 6:52 pm

#กำแพงและประตูเมืองเชียงใหม่

4216905248924.jpg
4216905248924.jpg (136.42 KiB) เปิดดู 6607 ครั้ง


เดิมทีเมืองเชียงใหม่โบราณมีกำแพงเมืองก่ออิฐ ป้อม และประตูเมืองชั้นใน ๕ ประตู ในราว พ.ศ. ๒๔๖๐ คนเมืองเชียงใหม่เริ่มมีรถยนต์ขับ และความเจริญเติบโตของบ้านเมืองมีมากขึ้น กำแพงเมืองจึงถูกกระทรวงธรรมการสมัยนั้นทำลายลง โดยจัดประมูลขายอิฐ กำแพงเมืองถูกรื้อถอนลงเหลือแต่แจ่ง ๔ แจ่ง และประตูเมืองก็ถูกรื้อลงหมดเพื่อขยายถนนกว้างสำหรับรถยนต์วิ่งได้สะดวก ต่อมาราว พ.ศ. ๒๔๙๐ เทศบาลเมืองเชียงใหม่ขณะนั้น ได้ออกแบบ(ออกแบบใหม่ ไม่มีหลักฐานและรูปแบบโบราณเลย) และสร้างประตูเมืองขึ้นใหม่เพื่อให้บ้านเมืองสวยงาม(นายช่าง ทองหยด จิตตะวีระ ผู้ออกแบบ)คือ ประตูเมือง ๔ ประตูทุกวันนี้ ยกเว้นประตูท่าแพ สรุปแล้วประตูเมืองเชียงใหม่ที่เห็นทุกวันนี้ล้วนแต่เป็นสิ่งก่อสร้างใหม่ไม่ใช่โบราณสถานทั้งสิ้น
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 8:34 pm

เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๓
ภาพ : Nheurfarr Punyadee

25598.jpg
25598.jpg (31.7 KiB) เปิดดู 6141 ครั้ง


25599.jpg
25599.jpg (42.57 KiB) เปิดดู 6141 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 8:35 pm

เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๓
ภาพ : Nheurfarr Punyadee

25600.jpg
25600.jpg (44.32 KiB) เปิดดู 6141 ครั้ง


25601.jpg
25601.jpg (43.06 KiB) เปิดดู 6141 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 8:37 pm

เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๓
ภาพ : Nheurfarr Punyadee

25602.jpg
25602.jpg (44.99 KiB) เปิดดู 6141 ครั้ง


25603.jpg
25603.jpg (55.09 KiB) เปิดดู 6141 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 8:38 pm

พ.ศ.๒๕๐๓
ภาพ : Nheurfarr Punyadee

25605.jpg
25605.jpg (32.45 KiB) เปิดดู 6871 ครั้ง


25606.jpg
25606.jpg (32.98 KiB) เปิดดู 6871 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 8:40 pm

เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๓
ภาพ : Nheurfarr Punyadee

25607.jpg
25607.jpg (41.97 KiB) เปิดดู 6871 ครั้ง


25608.jpg
25608.jpg (26.61 KiB) เปิดดู 6871 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 8:46 pm

เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๓
ภาพ : Nheurfarr Punyadee

25609.jpg
25609.jpg (45.92 KiB) เปิดดู 6871 ครั้ง


25610.jpg
25610.jpg (32.89 KiB) เปิดดู 6871 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 8:48 pm

เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๓

25611.jpg
25611.jpg (34.27 KiB) เปิดดู 6871 ครั้ง


เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๙
ภาพ : Nheurfarr Punyadee

25566.jpg
25566.jpg (46.32 KiB) เปิดดู 6871 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 8:51 pm

เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๙
ภาพ : Nheurfarr Punyadee

25567.jpg
25567.jpg (64.95 KiB) เปิดดู 6559 ครั้ง


25568.jpg
25568.jpg (44.7 KiB) เปิดดู 6559 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 8:52 pm

เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๙
ภาพ : Nheurfarr Punyadee

25569.jpg
25569.jpg (45.91 KiB) เปิดดู 6559 ครั้ง


25570.jpg
25570.jpg (57.96 KiB) เปิดดู 6559 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 57 ท่าน

cron