เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 10 ต.ค. 2019 7:56 pm

รถด่วนแล่นผ่านอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๑
รถด่วน.jpg
รถด่วน.jpg (64.86 KiB) เปิดดู 4876 ครั้ง


ถนนหนทาง ร่มรื่น มีต้นไม้ยางขนาดใหญ่ อยู่บริเวณ นิคมโรคเรื้อน Leper Asylum วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๙
น่าจะเป็นใกล้ๆโรงพยาบาลเเม็คเคน เเถวเมืองเก่าเวียงกุมกาม อำเภอสารภี เชียงใหม่
ต้นยาง.jpg
ต้นยาง.jpg (149.98 KiB) เปิดดู 4873 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 14 ต.ค. 2019 7:25 am

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเจียงใหม่ พ.ศ.๒๔๗๗
3640.jpg
3640.jpg (29.78 KiB) เปิดดู 4865 ครั้ง


ภาพการแห่ลูกแก้วใส่ขะจุ่มหัว ปอยส่างลอง อำเภอฝาง จังหวัดเจียงใหม่ เมื่อพ.ศ.๒๔๘๑
๑๓๐๐(เหลิน) ๕ ใหม่ (ขึ้น) ๖ ค่ำ วันจะเหน่ (เสาร์) คงจะเป็นการจัดปอยส่างลองใหญ่
ปีสุดท้ายก่อนเลือนหายไป เพราะปีต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ #เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น
ไฟล์แนป
3656.jpg
3656.jpg (59.35 KiB) เปิดดู 4865 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » พฤหัสฯ. 24 ต.ค. 2019 4:16 pm

ท่าแพในความทรงจำ
3638.jpg
3638.jpg (44.05 KiB) เปิดดู 4788 ครั้ง


ย้อนหลังไปประมาณสามสิบปีก่อน ตั้งแต่ฉันยังพอจำความได้ ฉันเป็นคนเชียงใหม่ เป็นเด็กท่าแพตั้งแต่เกิด อยู่ท่าแพมาตลอด ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของข่วงลานท่าแพ ตั้งแต่สมัยที่เป็นสนามเด็กเล่น มีหอนาฬิกา มีของเล่น และมีถนนตัดผ่านกลางประตูได้ แต่สิ่งที่เหมือนเดิมตลอดจนปัจจุบันคือ ข่วงประตูท่าแพคือที่จัดงานสำคัญๆของเวียงเชียงใหม่มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นงานปี๋ใหม่เมือง งานยี่เป็งและมีกีฬาเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็นตะกร้อบ้าง อะไรบ้าง และมีการจัดแสดงดนตรีทั้งการกุศล ทั้งจ่ายเงิน ศิลปินน้อยใหญ่ ท้องถิ่นและจากเมืองกอกมาผลัดเปลี่ยนกันตลอดปี ตลอดหลายปี

เมื่อสมัยเด็ก ฉันเรียนประถมอยู่ และบ้านก็อยู่แถวๆท่าแพ เป็นเด็กต่างจังหวัด แต่ก็อยู่ในเมืองเชียงใหม่แหละ บ้านฉันจะเป็นร้านขายเสื้อผ้า ผ้าพื้นเมือง แถวๆนั้นก็จะมีร้านขายรองเท้าหนัง ทำรองเท้า ชื่อร้านคอบร่า จะมีลูกร้านคอบร่า ชื่อป้อม มันจะอ่อนกว่าฉันสี่ห้าปี จะมีร้านขายโปสการ์ด เสื้อผ้าคล้ายร้านฉันชื่อร้านสุขสันต์ มีหลานสองคน ชื่อเฮียนัทกับเอก เอกนี่รุ่นเดียวกัน มีน้องนัท หลานชายร้านรับแลกเงินมีชื่อของเชียงใหม่ นี่เค้าเป็นเด็กนอก จะมีช่วงนึงที่น้องนัทไปอยู่แคนาดากับพ่อแม่ที่ย้ายไป กลับมานี่พูดไทยไม่เป็นต้องฝึกใหม่หมดเลย จะมีร้านขายพวกเสื้อผ้าบูติก ชื่อร้านนิวเฟรนด์(ถ้าจำไม่ผิด) ร้านนี้ จะมีพี่น้องชายหญิง ซึ่งเป็นที่มาของแฟนฉันของผมครับ ร้านนิวเฟรนด์ คือร้านเสื้อผ้าที่เปิดใหม่สุดในตอนนั้น เป็นเสื้อผ้าแนวบูติกสวยๆ โดนใจวัยรุ่น เป็นร้านเพิ่งมาเปิด มาจากเมืองกอก แต่พื้นเพเค้ามาจากบ้านโป่ง ราชบุรี ร้านนิวเฟรนด์ มีลูกชาย ลูกสาวอย่างละคน ลูกชายชื่อก๊อด นี่อ่อนกว่าฉันหลายปีอยู่ และมีลูกสาวชื่อจุ๊บ คนนี้แก่กว่าฉันสองปี คนนี้แหละที่ฉันแอบชอบในตอนนั้น เรียกว่าลักเมากันเลยทีเดียว ลองจินตนาการภาพในหนังแฟนฉัน เมื่อก่อน ฉันและแก๊งเด็กๆ แถวนั้นก็เล่นประมาณนั้นเลย

เมื่อก่อนตอนเด็ก หยุดเรียนเสาร์อาทิตย์ ร้านแต่ละร้านเปิด ฉันก็ไปตามหาเพื่อนๆแล้ว ขึ้นไปบนห้องนอนของร้านนิวเฟรนด์ เห็นสองพี่น้องไม่ตื่น ก็ทำการปลุกเล่นกันแบบไอ้เจี๊ยบกะน้อยหน่าเลย ฉันก็แอบชอบจุ๊บแบบเด็กๆ สองสามปีอยู่ เล่นด้วยกันตลอด ผลัดกันไปเล่นบ้านแต่ละคน สนุกมีความสุขแบบเด็กๆ จนตอนนี้ ไม่รู้เด็กๆ แถวท่าแพละแวกนั้นไปไหนหมดแล้ว

เอก เป็นวิศวกรที่กรุงเทพ รับแม่ที่อยู่คนเดียวที่สันทรายไปอยู่กรุงเทพด้วย ยังโสด เฮียนัท มีครอบครัวลูกเมียแล้ว ย้ายไปอยู่แถววัดผ้าขาว ป้อม เห็นลงหนังสือพิมพฺ์เชียงใหม่นิวส์หน้าสังคมว่ามันแต่งงานแล้ว แหม่ อ่อนกว่าฉันหลายปี มึงแต่งงานก่อนได้ไง และมันคงเป็นเถ้าแก่ร้านคอบร่าที่เชียงใหม่แลนด์แทนพ่อมันแล้วละ น้องนัท นี่ไม่รู้เป็นไง ไม่ได้ข่าว แต่ร้านของน้องนัท ไปอยู่เจริญประเทศนานแล้ว เหลือแต่จุ๊บ กับไอ้ก๊อด สองพี่น้องจากร้านนิวเฟรนด์ ที่ไม่รู้ตอนนี้ไปอยู่ไหน เป็นไงบ้างแล้ว ยังจำตอนเด็กๆ ได้ไหมไม่รู้ ถ้าใครได้ไปเจอ ฝากความคิดถึงถึงไอ้ก๊อด กับจุ๊บ คนที่ผมเคยแอบลักเมาด้วย

แถวท่าแพ สมัยฉันเด็กๆ จะมีหลายอย่างที่จำได้ เช่น ร้านเครื่องเขียนที่ฉันไปซื้อตั้งแต่ตอนเด็ก คือร้านพิชิตเสตชั่นเนอรี่ ไม่ว่าดินสอ ปากกา ลิควิดเปเปอร์ อุปกรณ์ทำบอร์ดต่างๆ ฉันล้วนซื้อที่ร้านนี้ ปัจจุบันคือร้านอินเตอร์บาร์ไปแล้ว จะมีร้านศิริพาณิชย์ ที่ขายเครื่องไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในย่านท่าแพ ที่ชอบจัดรายการพิเศษคาราโอเกะทุกเสาร์ บางทีฉันก็เคยไปร้องเพลงด้วยแหละ ชอบร้องเพลงตั้งแต่สมัยเด็กมาแล้ว ตอนนี้ตึกศิริพาณิชย์คือโรงแรมลานนาเฮาส์

ปากซอยศิริพาณิชย์ คือร้านขายของชำ ที่มีขนมดีๆ ของชำ คือร้านลีรวัฒน์ มีไอติมด้วยร้านนี้ โฟร์โมสต์ด้วยล่ะ ปัจจุบัน เจ้าของครอบครัวร้านลีรวัฒน์ย้ายไปอยู่ที่ฝาง น่าจะไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีแล้ว

ตรงที่เป็นโรงแรมโมรูมส์ปัจจุบัน เมื่อฉันเด็กๆ คือที่ในฝันของเด็กหลายคน ศาลาโฟร์โมสต์นั่นเอง ที่ย้ายมาจากเชียงอินทร์สมัยนั้น ฉันก็แค่เดินข้ามถนนไปก็ได้กินแล้ว แต่ก็ไม่บ่อยนักหรอก

มาถึงฝั่งเดียวกับบ้านฉัน ก็จะมีร้านดาวรุ่งภูพิงค์ ที่เป็นร้านตัดผมท่านชาย ร้านดังประจำท่าแพ ตั้งแต่ฉันเด็กๆ ก็ตัดร้านดาวรุ่งมาตลอด ร้านดาวรุ่งจะมีเจ้าของร้านชื่อป้ามาลี ป้าจะขายพวกผลไม้หน้าร้านตัดผมด้วย แต่ร้านนี้ก็ปิดตัวลงไปนานแล้วเช่นกัน ต่อมาคือร้านขายหนังสือ ร้านขายของชำ ชื่อร้านป้านวย ร้านนี้จะมีเจ้าของเป็นสองป้า คือป้านวยและป้านันท์ เป็นร้านหนังสือร้านเดียวในละแวกบ้านฉัน ตั้งแต่เด็กๆฉันมายืนอ่านฟรีทุกวัน บางวันป้าสองป้าก็ไล่ฉันกลับบ้าน นึกถึงทีไรตลกทุกที ตอนนี้ป้านวยและป้านันท์ ไปเปิดร้านขายขนมเด็กอยู่หลังอนุบาลเชียงใหม่นี่เอง และป้าทั้งสองยังคงแข็งแรง

ความบันเทิงที่ใกล้บ้านที่สุด เวลาพ่อแม่ หรือเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง เวลามาหาที่บ้านฉันแถวท่าแพ ก็คือโรงหนังสุริวงศ์ ที่เป็นโรงหนังที่ใกล้บ้านที่สุด ที่สามารถเดินไปดูกับครอบครัวได้ บรรยากาศหน้าโรงก็จะมีพวกวาฟเฟิลไส้กรอก ขนมรังผึ้ง พวกของหมักดอง ขนมขบเคี้ยว และที่ขาดไม่ได้คือข้าวโพดคั่วร้อนๆ บรรยากาศหนุ่มๆ สาวๆ ควงคู่มาดูหนัง ผู้ใหญ่พาเด็กมาดูหนังที่โปรดปราน จะมีพวกโปสเตอร์หนังโปรแกรมปัจจุบัน โปรแกรมหน้าติดให้ดูหน้าโรง วันดีคืนดีก็จะมีวงดนตรีท้องถิ่่น หรือวงลูกทุ่งมาเล่นในโรง เก็บเงินคนดูแทนหนัง เท่าที่จำความได้ สมัยฉันเด็กๆ ก็จะมีสาวประเภทสอง ที่ทำมาหากินหน้าโรงหนังสุริวงศ์กันแล้วนะ ท่าแพกับสาวประเภทสองเป็นของคู่กันจริงๆ ต่อมาโรงหนังก็ได้ปิดตัวลง ด้วยเหตุผลอะไรจำไม่ได้เหมือนกัน จากโรงหนังกลายมาเป็นคริสตจักรความหวังต่อมา และมาเป็นห้างของตระกูลชิน คือห้างสุริวงศ์พลาซ่า ที่อยู่ได้ไม่นานก็เจ๊ง จนล่าสุด คือ IM hotel ของเครือเสี่ยเจริญค่ายสัตว์ใหญ่มาทำธุรกิจต่อเนื่อง คงเหลือแต่ความหลังอันสวยงามสมัยฉันเป็นเด็กเอาไว้

ทุกวันนี้บางครั้ง บางทีฉันนั่งมองดูความเปลี่ยนแปลงไปของถนนสายที่อยู่กับฉันแต่เกิดก็เห็นสัจธรรม ไม่มีอะไรแน่นอน เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตั้งแต่เพื่อนบ้านใกล้ชิด ทั้งเพื่อนสมัยเด็ก และตลอดจนตึกรามบ้านช่อง โรงหนังที่มีชื่อ จนตอนนี้ไม่เหลือสักโรงแล้ว ก็ได้แต่คิดว่า การเปลี่ยนแปลงคือนิรันดร์ แม้เราจะคิดถึงวันวานขนาดไหน แต่เราก็ไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้ สิ่งที่เราต้องทำคือ เอาบทเรียนในอดีต มาทำให้ปัจจุบันและอนาคตดีที่สุดนั่นเอง

ภาพ : ลุงสุเทพ กาญบุตร หรือลุงตุ๋ยแห่งสำนักโยธาธิการจังหวัดเชียงใหม่
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » พฤหัสฯ. 24 ต.ค. 2019 4:27 pm

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ที่จังหวัดเจียงใหม่ พ.ศ.๒๔๗๗
ภาพ : เชียงใหม่ในอดีต
3640.jpg
3640.jpg (29.78 KiB) เปิดดู 4788 ครั้ง


ภาพการแห่ลูกแก้วใส่ขะจุ่มหัว
ปอยส่างลอง อำเภอฝาง จังหวัดเจียงใหม่ เมื่อพุทธศักราช๒๔๘๑ ๑๓๐๐(เหลิน)๕ใหม่ (ขึ้น)๖ค่ำ วันจะเหน่ (เสาร์)ภาพนี้ระบุว่าถ่ายใน พ.ศ.๒๔๘๑ คงจะเป็นการจัดปอยส่างลองใหญ่ปีสุดท้ายก่อนเลือนหายไป เพราะปีต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่๒
ภาพ : เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น
3656.jpg
3656.jpg (59.35 KiB) เปิดดู 4788 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » พฤหัสฯ. 24 ต.ค. 2019 4:36 pm

วัดกู่เต้า เชียงใหม่ ๒๔๙๓
5769.jpg
5769.jpg (20.04 KiB) เปิดดู 4788 ครั้ง


Chiangmai Boys' School หรือ โรงเรียนชายวังสิงห์คำ
โรงเรียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๐ โดยมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน ศาสนาจารย์เดวิด คอลลินส์
ภาพนี้คงถ่ายหลังจากก่อตั้งไม่นาน ผู้ถ่ายคือหลวงอนุสารสุนทร
ภาพ : Nubkao Kiatchaweephan
11952.jpg
11952.jpg (37.45 KiB) เปิดดู 4788 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » พฤหัสฯ. 24 ต.ค. 2019 4:40 pm

บ้านหลังแรกที่พ่อขุนกันและแม่วันดี ชนะนนท์ สร้างที่วังสิงห์คำ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ภาพน่าจะก่อน พ.ศ.๒๔๙๐
จาก...หนังสือ "๕๕ ปี ถนนศรีวิชัยช่วงสุดท้าย ๑๗ เมษายน ๒๕๓๒"
12018.jpg
12018.jpg (51.21 KiB) เปิดดู 4788 ครั้ง


"ห้างตุ๊กกระตา"
12027.jpg
12027.jpg (23.96 KiB) เปิดดู 4788 ครั้ง

ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ ที่ดำเนินงานโดย นาย ช.อุนิซากิ เจ้าของร้านชาวญี่ปุ่นได้เดินทางเข้ามาค้าขายในเชียงใหม่ก่อนยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ภายในร้านเป็นสินค้าที่ส่งตรงเข้ามาญี่ปุ่นเพื่อจำหน่ายให้กับชาวเชียงใหม่และต่างชาติในขณะนั้น

ในภาพจะเห็นว่าเจ้าของร้านแต่งกายสุภาพเรียบร้อย กางเกงขาสั้นสวมรองเท้าและถุงเท้ายาว มีลูกจ้างนั่งคอยบริการลูกค้า ร้าน ตุ๊กกระตา สันนิษฐานว่าคงเลิกขายในช่วงที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๒

ภาพ : Nheurfarr Punyadee"
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » พฤหัสฯ. 24 ต.ค. 2019 4:44 pm

ภาพเก่าภาพนี้เป๋นภาพวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่
แม่ค้ากำลังวางสิ่งของค้าขายอยู่เยื้องบริเวณหน้าประตูทางเข้าพระอารามหลวงในสมัยนั้น ในภาพมองเห็นหอไตรวัดพระสิงห์ได้อย่างชัดเจนมาก ภาพนี้ไม่ทราบปี.พ.ศ.ที่ถ่ายเอาไว้ แต่เป็นภาพตี่สวยงามธรรมชาติแบบพื้นบ้านอีกภาพหนึ่งในยุคสมัยนั้น
12032.jpg
12032.jpg (23.74 KiB) เปิดดู 4757 ครั้ง


วัดเจ็ดยอด จ.เชียงใหม่ ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐
ภาพ : กฤษณ์ พุทธกูล
12039.jpg
12039.jpg (55.26 KiB) เปิดดู 4757 ครั้ง


วัดพระธาตุดอยสุเทพ พ.ศ.๒๔๗๒
จาก... หนังสือ "สมุดภาพ กรมหมื่นพิทยลาภฯ ตอนตรวจราชการกระทรวงธรรมการ" ของ ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์
12041.jpg
12041.jpg (50.64 KiB) เปิดดู 4757 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » พฤหัสฯ. 24 ต.ค. 2019 4:48 pm

นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ กับบุตรชายคนที่สาม (ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ - ศาสตราจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
12037.jpg
12037.jpg (74.86 KiB) เปิดดู 4757 ครั้ง


นางกิมฮ้อได้สมรสกับนายกี นิมมานเหมินท์ และมีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น ๖ คน คือ
นายไกรศรี นิมมานเหมินท์- ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ล้านนา และเป็นหนึ่งในนักธุรกิจใหญ่ของเชียงใหม่ของยุคนั้น
นายพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ - ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนที่ ๘
ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์- ศาสตราจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายเรือง นิมมานเหมินทร์ - นักการเมืองท้องถิ่น และอดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
นางแจ่มจิตต์ เลาหวัฒน์ - นักสังคมสงเคราะห์
นางอุณณ์ ชุติมา - ผู้ก่อตั้ง ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๔๙๖ นางกิมฮ้อ และนายกี นิมมานเหมินท์ สามี ริเริ่มความคิดในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในภาคเหนือ โดยทำการยกที่ดินให้กับคณะมิชชันนารีอเมริกัน ซึ่งในขณะนั้นคณะมิชชันนารีคณะนี้กำลังทำหนังสือขออนุมัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งก็ได้รับการปฏิเสธจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยอ้างว่าการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเป็นเอกสิทธิของรัฐบาลกลางเพียงผู้เดียว ต่อมาได้มีการรณรงค์ในเชียงใหม่ทางคณะหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ว่า "ในภาคเหนือ เราต้องการมหาวิทยาลัย" และ "เราต้องการมหาวิทยาลัยประจำล้านนาไทย"[๑]ซึ่งการเคลื่อนไหวอย่างหนักทำให้รัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้ตอบว่าจะสร้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นสาขาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เปิดการประมูลที่ดินใกล้ตัวเมืองเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งนางกิมฮ้อร่วมกับนายกีได้บริจาคที่ดินจำนวน ๑๐๐ ไร่เศษ ณ บริเวณฝั่งตะวันตกของตัวเมืองใกล้เชิงดอยสุเทพ แต่รัฐบาลไม่ยอมรับ และรัฐบาลไปซื้อที่ดินบริเวณอำเภอแม่ริม (เขตทหารในปัจจุบัน) แต่ก็มิได้ทำการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ต่อมาชาวเชียงใหม่สามารถก่อตั้งโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่ขึ้น โดยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา

ต่อมารัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีนโยบายที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ขึ้นที่เชียงใหม่ รัฐบาลได้เล็งเห็นช่องทางที่จะทำให้นโยบายเกิดความรวดเร็ว จึงได้เกิดความร่วมมือกับตระกูลนิมมานเหมินท์-ชุติมา ในการจัดหาที่ดิน ซึ่งรัฐบาลก็ได้ที่ดินริมถนนสุเทพมาเพื่อจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ นายกีและนางกิมฮ้อจึงตกลงขายที่ดินผืนใหญ่ในราคาเสมือนให้เปล่าให้กับรัฐบาลบริเวณที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันมา และในที่สุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ นอกจากนี้ยังบริจาคที่ดินบางส่วนเพื่อใช้ตัดถนนใหม่เพื่อให้การจราจรคล่องตัว (ถนนนิมมานเหมินทร์ในปัจจุบัน)
ภาพและข้อมูล : ภาพเก่าเล่าเรื่อง

พ่อค้าหมูหน้อย
3643.jpg
3643.jpg (40.96 KiB) เปิดดู 4757 ครั้ง


12373.jpg
12373.jpg (43.42 KiB) เปิดดู 4748 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » พฤหัสฯ. 24 ต.ค. 2019 4:52 pm

ภาพเจ้านายฝ่ายเหนือ ฟ้อนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จมณฑลพายัพ การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมที่เจ้านายฝ่ายเหนือทั้งหญิงและชายต้องฝึกหัด เป็นการให้เกียรติแก่แขกผู้มาเยือนอย่างสูง และแขกก็จะต้องออกไปฟ้อนกับเจ้าบ้านด้วย
สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ว่า “…เมื่อวันสมโภชเมืองเชียงใหม่ วันนั้นมีกระบวนต่าง ๆ ของพวกชาวเชียงใหม่ทุกชาติ ทุกภาษา แห่นำหน้าแล้วถึงกระบวนบายศรี มีปี่พาทย์นำหน้า พวกเจ้านายผู้ชายเดินตามบายศรีที่สำหรับสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีเจ้านครเชียงใหม่ เจ้านครน่านและเจ้านครลำพูนเป็นหัวหน้า ต่อมาถึงเจ้านายชั้นรองรวมกันกว่า ๓๐ คน แต่ละคนแต่งตัวนุ่งผ้าปักลาย ใส่เสื้อเยียรบับ คาดสำรดประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เดินเป็นคู่ ๆ อยู่ข้างหลังบายศรี พอเข้าในบริเวณพลับพลาก็พร้อมกันยกมือขึ้นกราบถวายบังคม แล้วต่างฟ้อนตรงเข้าไปเฝ้า พวกเจ้านายผู้หญิงก็เดินตามเป็นคู่ ๆ และฟ้อนเข้าไปเฝ้าอย่างเดียวกัน พวกคนดูทั้งไทยและฝรั่งขึ้นไปจากกรุงเทพและชาวเมืองนั้นพากันออกปากว่า สง่างามอย่างแปลก ดูน่าชมเป็นอย่างยิ่ง”โดยผู้ที่ทรงช้างนำขบวนน่าจะเป็นเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ณ ลำพูน
12045.jpg
12045.jpg (59.8 KiB) เปิดดู 4757 ครั้ง

ภาพ:บุญเสริม ศาตราภัย

12046.jpg
12046.jpg (72.37 KiB) เปิดดู 4757 ครั้ง


12047.jpg
12047.jpg (58.93 KiB) เปิดดู 4757 ครั้ง


มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บริเวณถนนด้านหลังศาลาธรรม ด้านซ้ายคือคณะมนุษยศาสตร์ ด้านขวาคือคณะวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันทั้งสองฟากของถนนเต็มไปด้วยตึก ประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๐
ภาพ : Wally Higgins
12331.jpg
12331.jpg (32.75 KiB) เปิดดู 4748 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » ศุกร์ 25 ต.ค. 2019 1:10 pm

"ตันตราภัณฑ์" สาขาท่าแพ เชียงใหม่ ไม่รู้ปี พ.ศ.
12655.jpg
12655.jpg (43.6 KiB) เปิดดู 4748 ครั้ง


ณ พุทธศักราช ๒๕๖๒ เชียงใหม่มหานคร เป็นจังหวัดหนึ่งในสยามที่เต็มไปด้วยห้างสรรพสินค้า ไม่ว่าจะเป็นห้างในโรงหนังชื่อเมญ่า ห้างใหญ่จากนครบาลที่มาเปิดแถวแยกศาลเด็ก คือ เซ็นทรัลเฟสติวัล หรือห้างต่างชาติที่มีกำเนิดแถวดอนจั่น คือ พรอเมนาด้า ไม่ว่าห้างใหม่ๆเหล่านี้จะเข้ามาเปิดเพื่อเติมเต็มความเจริญทางวัตถุหรือทางเศรษฐกิจให้กับเชียงใหม่แค่ไหน ทุกทีที่ฉันเดินเข้าไปในห้างเปิดใหม่เหล่านี้ ฉันรู้สึกเฉยๆ ไม่ได้ทำให้ฉันมีความสุขได้เท่ากับสมัยเด็กๆ ที่พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง พาเดินเข้าไปใน "ตันตราภัณฑ์" โลกใบเล็กๆที่เด็กๆอย่างฉันเข้าไปแล้วรู้สึกโคตรสุข
12337.jpg
12337.jpg (31.37 KiB) เปิดดู 4749 ครั้ง



ตันตราภัณฑ์ ที่สมัยนั้น เราเรียกว่า ตัน จะมีสองสาขา คือท่าแพเป็นที่แรก กับช้างเผือกที่เปิดใหม่ คือห้างสรรพสินค้าที่เหมือนสวรรค์ของเด็กๆ อย่างเราที่ได้เข้าไปเดิน บ้านฉันอยู่ท่าแพ ก่อนถึงประตูท่าแพฝั่งขวามือ เรียกได้ว่า จำความได้ โตมาก็เห็นตันท่าแพแล้ว สมัยนั้น พ่อจะเอามอเตอร์ไซค์พาฉันไป ให้นั่งหน้า แล้วแม่ซ้อนหลัง แต่ส่วนมากทั้งครอบครัวจะพากันเดินไปตันท่าแพ เพราะเป็นห้างที่ใหญ่ที่สุด ใกล้บ้านที่สุด และไปง่ายที่สุด ตอนนั้นตรงใกล้ๆตันท่าแพ จะมี ส การค้าเปิดใกล้ๆกันด้วย แต่คนจะนิยมไปตันท่าแพมากกว่า ส การค้าจะเป็นห้างที่มีเป้าหมายชอบลดราคาพวกสินค้าราคาถูกกว่า แต่คนนิยมไปเดินตันมากกว่า

ความสุขแบบเด็กๆ ในตอนนั้น แค่พ่อแม่ พามาเดิน พามากินไอติมที่ตอนนั้นกินในห้างก็หรูมากที่สุดแล้ว พ่อแม่พามาดูของเล่นเด็กที่ชั้นของเล่น ไม่ได้ซื้อ ไม่ได้เล่น แค่ดูก็ฟินแล้ว ณ ตอนนั้น ดูแล้วจิ้นว่า มันเป็นของเรา ได้เล่นเองก็สุดยอดแล้ว ความสุขของเด็กๆ อย่างฉันอีกอย่าง คือ ชั้น ๔ ที่ถือว่าเป็นแดนเนรมิตของเด็กต่างจงหวัดอย่างเรา เพราะชั้น ๔ จะมีบ้านลูกบอล มีพวก ของเล่นหยอดเหรียญ ทั้งพวกไอ้มดแดง อุลตร้าแมน ให้หยอดเหรียญขี่หลัง ความสุขแบบเด็กๆก็คิดว่า เราได้ขี่หลังฮีโร่ วันดีคืนดี ถ้าที่บ้านขายของได้เยอะๆ แม่ก็จะพามากินกับข้าวในร้านอาหารชั้นแรกของตันท่าแพ ความรู้สึกฉันตอนนั้น ข้าวผัดตันตราภัณฑ์คือที่สุดแล้ว ถึงวันนี้ก็ยังหากินที่ไหนอร่อยไม่ได้เหมือนข้าวผัดตันท่าแพเลย
12653.jpg
12653.jpg (48.67 KiB) เปิดดู 4748 ครั้ง


บันไดเลื่อน ก็คือความสุขสุดยอดของเด็กๆอย่างฉันในตอนนั้น มาถึงตันแล้วไม่ได้ขึ้นบันไดเลื่อน ก็เหมือนขาดอะไรไป สิ่งที่เท่ที่สุดของเด็กๆยุคนั้นคือ ต้องวิ่งขึ้นบันไดเลื่อนในบันไดทางลงสวนทางกัน ใครที่วิ่งขึ้นสวนทางมาได้นี่จะได้รับการยอมรับแบบสุดๆในกลุ่มเพื่อน ถ้าเทียบกับในเรื่องแฟนฉัน เหมือนที่ไอ้เจี๊ยบไปตัดหนังยางว้องของน้อยหน่า แล้วเพื่อนในกลุ่มจะยอมรับเข้ากลุ่มนั่นเอง

ที่บรรยายมาทั้งหมดนี่ คือความคิดถึง ความผูกพันของฉัน และอาจจะคนรุ่นฉันบางคนที่ผูกพันกับตันตราภัณฑ์ ถึงตอนนี้แม้ว่าจะมีของใหม่ๆมา แต่ก็ให้ความสุขกับฉันสู้สมัยนั้นไม่ได้ แต่ "กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสิ่งและตัวของมันเอง" และอีกหลายๆเหตุผลที่เรารู้กัน ปลาใหญ่กลืนกินปลาเล็ก สิ่งใหม่ๆย่อมมาแทนสิ่งเก่า แค่ไหน แต่ยังคงไม่มีอะไรที่ดึงความคิดถึงของฉันที่มีต่อตันตราภัณฑ์ โดยเฉพาะท่าแพ ได้เลย
12651.jpg
12651.jpg (50.82 KiB) เปิดดู 4748 ครั้ง


ที่มาข้อความ : Kittikun Prapin
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » ศุกร์ 25 ต.ค. 2019 1:14 pm

แม่ค้าขายมะพร้าว บริเวณอำเภอแม่ริม เชียงใหม่ ใน พ.ศ.๒๕๐๕ น่าจะเป็นน้ำตกแม่สา
12338.jpg
12338.jpg (72.57 KiB) เปิดดู 5530 ครั้ง


แยกโรงแรมรินคำ เชียงใหม่ ตอนยังเป็นถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สองเลน ประมาณพ.ศ.๒๕๑๒-๒๕๑๓
12341.jpg
12341.jpg (38.22 KiB) เปิดดู 5530 ครั้ง



คำก๋อด โจรชื่อดังแห่งเมืองเชียงใหม่ที่ทางใครๆได้ยินชื่อก็ต้องผวา (พ.ศ.๒๔๙๐ – ๒๕๑๘)
13345074.jpg
13345074.jpg (94.07 KiB) เปิดดู 5478 ครั้ง

(ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา)

ผู้สูงวัยในเชียงใหม่ไม่มีใครไม่รู้จัก “คำก๋อด” เล่ากันว่า ในสมัยก่อนหากบอกว่าคำก๋อดมา ผู้ที่ได้ยินต้องวิ่งหนี นี่เป็นเรื่องจริง คราวหนึ่งใกล้ค่ำมีผู้มาตะโกนบอกที่ตลาดสันป่าข่อยว่า “เห็นคำก๋อดกำลังมาที่นี่” เท่านั้นเอง “กระจุย” กลุ่มแม่ค้าและลูกค้าที่กำลังซื้อขายของกันอยู่ร้องวี้ดว้ายวิ่งหนีกันสุดชีวิต แบบตัวใครตัวมัน หรือที่เรียกว่า“หุยต๋ายหุยวาย” ชั่วครู่เมื่อเห็นว่า คำก๋อดไม่ได้มาเหมือนที่มีผู้ตะโกนบอก จึงกลับมาทำมาหากินตามปกติ แต่ก็ไม่วาย ระแวงอย่างอกสั่นขวัญแขวน คำก๋อดจึงได้ชื่อว่ามีอิทธิพลต่อจิตใจของผู้คนในช่วงนั้นอย่างมาก การออกอาละวาดมักเป็นเวลากลางคืน ชาวบ้านจึงไม่กล้าออกจากบ้านเนื่องจากกลัวคำก๋อด ไม่ใช่เฉพาะเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็หวาดกลัวไม่น้อยไปกว่า

คำก๋อด เป็นชื่อของฆาตรกรคนหนึ่งที่โหดเหี้ยม มีประวัติเรื่องการทำร้ายคนอย่างทารุณ บ้างว่าเป็นเสือร้ายที่ตำรวจต้องหนักใจ และปวดหัวกับการติดตามตัว บ้างก็ว่าเป็นโจรโรคจิตที่ชื่นชอบการทำร้ายและการฆ่าคน แม้ตำรวจเองก็หวั่นเกรงไม่น้อย ที่พำนักนั้นบ้างว่า เป็นคนอยู่บ้านแถวศาลาย่านวัดเกตุ บ้างก็ว่าอยู่ถัดไปแถวบ้านเด่นหรือสนามม้ายิมคานา (ข้อมูลจาก คุณลุงบุญช่วย โพทยะ อายุ ๗๗ ปี ชาวช้างม่อย)

คำว่า “ก๋อด” เป็นคำเมือง แปลว่ามือหรือนิ้วด้วน จึงเชื่อว่าฆาตรกรนี้คงชื่อว่า “คำ” แต่นิ้วอาจด้วนหรือกุดไป จึงเรียกว่า “คำก๋อด” เหมือนกับชื่อ พัน แต่ซนอย่างมหาวายร้าย จึงเรียกว่า “พันยักษ์” เป็นต้น หรือ “อั๋นควาย” แห่งอำเภอพร้าว ที่ชื่อ อั๋น แต่ตัวใหญ่ผิดเพื่อนวัยเดียวกัน จึงเรียกว่า อั๋นควายนั้นมีภรรยาตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี


ตามประวัติ คำก๋อด เป็นผู้ร้ายบุกเดี่ยว ไม่ออกปล้นเป็นแก๊งเหมือนแก๊งอื่นๆ แม้ปล้นคนเดียวแต่ก็มีชาวบ้านในละแวกนั้นคอยเป็นหูเป็นตาเป็นพรรคพวกคุ้มกันคำก๋อดยามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจออกติดตามจับกุม ช่วงสร้างความหวาดผวาของคำก๋อดต่อชาวเมืองเชียงใหม่ คือ ประมาณเลย พ.ศ.๒๔๙๐ มาเล็กน้อย ขณะนั้นสังคมเมืองเชียงใหม่ การติดต่อสื่อสาร และการคมนาคมยังล้าหลัง เรื่องราวข่าวสารจึงใช้วิธี “พูดต่อ” เล่ากันต่อๆกันไป การบิดเบือนข่าวสารจึงมีมาก เหตุนี้เองทำให้ความ เหี้ยมโหดของคำก๋อดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยเท่าพันทวี ชาวเมืองเชียงใหม่ที่ได้ยินได้ฟัง เรื่องราวจึงเพิ่มความหวาดกลัวขยายวงกว้างไปทั่ว


ความจริงมีผู้รู้ยืนยัน มีว่า “คำก๋อด” นั้น เป็นชาวบ้านสันคือ เขตอำเภอสารภี เลยบ้านสันป่าเลียงไปเล็กน้อย เรียนจบป.๔ จากวัดพระนอนหนองผึ้ง เข้าเป็นเด็กวัดสันคือ และบวชเป็นสามเณรอยู่ ๓ – ๔ พรรษา จึงสึกมาช่วยพ่อแม่ทำไร่ ปลูกกะหล่ำปลี พ่อชื่อนายนวล ด้วยนิ้วมือขวาด้วน ๔ นิ้ว ชาวบ้านจึงเรียกว่า “นวลก๋อด” ฉายานี้ส่งผลมาถึงรุ่นลูกรวม ๗ คน แต่ละคนมีสมญาต่อท้ายว่า “ก๋อด” ทั้งสิ้น ที่ชื่อ คำ จึงเรียก คำก๋อด พี่ชายอีกคนชื่อ จัน จึงเรียกกันว่า จันก๋อด ด้านคำก๋อดนั้น รูปร่างเล็ก ค่อนข้างเตี้ย ผิวขาว หน้าตาออกซีดเซียวเหมือนกะเทย ขรึมพูดน้อย ไม่ชอบคบเพื่อนฝูง ด้านจิตใจถือว่าเด็ดขาด สู้คน ไปไหนไปคนเดียว ไม่มีกลุ่มเพื่อนสนิท


จุดที่ทำให้ คำก๋อด เป็นที่หวาดกลัวของชาวบ้าน เริ่มเมื่อตอนเป็ยวันรุ่น คำก๋อด ไปเที่ยวงานวัดที่อำเภอสารภี ดันเกิดเรื่องวิวาทกับวัยรุ่นกลุ่มอื่นเป็นการชุลมุน คำก๋อด มีจิตใจสู้คน ไล่ติดตามหมู่วัยรุ่นคู่อริเข้าไปในซอยมืด บริเวณโรงเรียนเวฬุวัน ใช้มีดเล่มยาวที่ติดตัวมาจ้วงแทงโดยคิดว่าเป็นคู่อริ แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นหญิงท้องแก่ที่บังเอิญเดินผ่านมา บ้างก็ว่าเป็นหญิงอุ้มลูกเล็กผ่านมาทำให้เสียชีวิต หลังเกิดเหตุคำก๋อดก็หลบหนีไป กว่าที่จะมีผู้ไปแจ้งความที่ อ.สารภี คำก๋อดก็หนีไปไกลแล้ว


พ.ต.ท. ศิริ ไชยศิริ (อดีตตำรวจสารภี อายุ ๘๙ ปี ข้าราชการบำนาญ) เล่าว่า หลังจากได้รับแจ้ง ได้นำกำลังออกติดตามคำก๋อดที่บ้านและที่ต่างๆ แต่ก็ไม่พบและติดตามคำก๋อดเรื่อยมา


นับแต่นั้น คำก๋อดจึงกลับกลายเป็นผู้ต้องหาในคดีฆ่าคนตาย ข่าวเรื่องนี้แพร่กระจายเล่าลือต่อกันไปในยามนั้น ด้วยว่าในยามนั้น บ้านเมืองสงบ ผู้คนมีจิตใจดีงาม น้อยคนที่จะมีจิตใจเหี้ยมโหดถึงขนาดฆ่าคน การทะเลาะวิวาทก็มีเพียงชกต่อยกันเป็นหลัก ยิ่งหญิงที่กำลังท้องกำลังไส้ถูกแทงด้วยมีดบาดแผลน่ากลัว ทำให้ชื่อเสียงแห่งความโหดร้ายของคำก๋อดแพร่ไปอย่างรวดเร็ว เป็นที่หวาดกลัวของผู้คน เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.อ.สารภี ติดตามเพื่อจับกุมคำก๋อดหลายครั้ง แต่ละครั้งต้องคว้าน้ำเหลว คราวหนึ่งตำรวจเกือบสิบนายล้อมจับคำก๋อด กระโดดลงเหมืองท้ายหมู่บ้าน หลบหนีไปได้อย่างอัศจรรย์ และว่ากันว่าคราวหนึ่ง เห็นวิ่งซ่อนในโอ่ง ตำรวจล้อมทุกด้าน แต่ก็อันตรธานหายไป ถึงขนาดคุยกันไปทั่วว่า คำก๋อดมีวิชาอาคมหายตัวได้


การฆาตรกรรมรายที่สอง ฝีมือของคำก๋อดเกิดขึ้นหลังจากแทงหญิงท้องไม่นาน วันหนึ่งบ่ายเกือบเย็น ตำรวจประจำ สภ.อ.สารภีนายหนึ่ง กลับไปกินข้าวกลางวันที่บ้าน ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของคำก๋อด วันนั้นคำก๋อดแอบกลับมาเยี่ยมแม่อยู่พอดี เมื่อเห็นตำรวจก็เกิดความกลัว จึงวิ่งหลบหนีออกจากบ้านมาทางถนนเชียงใหม่ – ลำพูน พบชายผู้หนึ่งเป็นทหารค่ายกาวิละแต่ไม่ได้แต่งชุดทหารกำลังขี่รถจักรยาน ๒ ล้อ จากสารภี เดินทางเพื่อกลับเข้าค่าย คำก๋อดดักใช้มีดแทงอย่างทารุณจนเสียชีวิต และชิงรถจักรยานหลบหนีไป การฆ่าคนตายสองรายในระยะเวลาไม่ห่างกันเช่นนี้ สร้างความหวาดกลัวให้คนเมืองเชียงใหม่ไปทั่ว ผู้คนไม่กล้าออกจากบ้านตอนกลางคืน เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่เคยพบเห็นตัวจริงของคำก๋อด เมื่อเจอคนแปลกหน้าแปลกตาก็มักทึกทักว่าเป็นคำก๋อด พาลวิ่งหนีตะโกนบอกกันอื้ออึงอลหม่าน ไม่เว้นแม้บ้านสันคือ ภูมิลำเนาของคำก๋อดเอง ผู้คนรีบทำภารกิจกันตั้งแต่เย็นและรีบปิดบ้านเข้านอนกันตั้งแต่ก่อนมืดค่ำ ด้านคำก๋อดนั้นก็หลบหนีเจ้าหน้าที่ตามบ้านญาติและเพื่อนฝูง จะออกมาปรากฏตัวบ้างเฉพาะเวลากลางคืน


การตามล่าคำก๋อด จากปากคำของ พ.ต.ท.ศิริ เมื่อครั้งยศ จ.ส.ต.ที่สภ.อ.สารภี บอกว่า ล่าตัวคำก๋อดกันน่าดู ครั้งหนึ่ง ตำรวจ สภ.อ. หางดง แจ้งมาว่าคำก๋อดหนีไปอยู่บ้านสาวที่ตัวเองติดพันอยู่ จึงนำกำลังตำรวจไปทันที รวม ๔ คน ยานพาหนะ คือ รถจักรยาน ไปร่วมกับตำรวจหางดง ไปยังบ้านที่หมาย ขณะนั้นประมาณ ๓ ทุ่ม ทางเข้าเป็นทุ่งนาและทางโค้งเข้าหมู่บ้าน จากแสงไฟหน้ารถจักรยาน ทำให้คำก๋อดรู้ตัวและหลบออกจากบ้านก่อน เมื่อไปถึงจึงไม่พบ จึงพากันรีบขี่จักรยานย้อนออกมา เห็นคำก๋อดซ่อนอยู่ข้างทาง เท้าโผล่ออกมา จ.ส.ต.ศิริ ใช้อาวุธปืนพกสั้นยิงไป ๓ นัด แต่เนื่องจากมืดและระยะไกลพอดู กระสุนไม่ถูกคำก๋อด วิ่งหลบหนีไปได้ นั่นเป็นเหตุการณ์การไล่จับกุมคำก๋อด คนร้ายรายนี้ หลังจากนั้นได้ย้ายไปที่อื่น


นอกเหนือจากคดีฆาตรกรรมแล้ว ด้านคดีปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ ยืนยันกันว่าไม่อยู่ในนิสัยที่คำก๋อดจะทำ ยกเว้น “จันก๋อด” พี่ชายที่ติดนิสัยลักวัวควายจากสันกำแพงมาชำแหละขายที่เขตสารภี สุดท้ายถูกรุมตีและแทงตายที่ป่าช้า เขตติดต่อเมืองเชียงใหม่ พูดกันอย่างไม่น่าเชื่อว่า คดีฆาตรกรรมที่คำก๋อดก่อไว้มีถึง ๒๓ คดี หลังจากนั้นประมาณ ๓ ปีเศษ ญาติพี่น้องทราบข่าวว่า คำก๋อดหนีไปได้ภรรยา มีบุตรอยู่ที่เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เหตุเพราะไปมีเพื่อนที่เป็นลูกพ่อเลี้ยงและพ่อเลี้ยงก็รับคำก๋อดเป็นบุตรบุญธรรมช่วยทำงานในสวน ต่อมาชาวบ้านเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านและกำนัน แต่ความสุขในชีวิตของโจรร้ายยากที่จะยืนยาวเช่นคนทั่วไป ตำรวจยังติดตามสืบหาคำก๋อดอยู่เสมอและประสบความสำเร็จ ราว ๒๕ ปีย้อนไป (ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๘) ตำรวจสืบตามพบคำก๋อด จึงระดมกำลังล้อมจับคำก๋อดซึ่งขัดขืนการจับกุมและใช้ปืนยิงต่อสู้จนสิ้นกระสุน ผลสุดท้ายถูกกระสุนปืนตำรวจเสียชีวิตที่เวียงป่าเป้า


ชีวิตโจรร้ายที่ก่อกรรมกับประชาชน ผลกรรมตามทันเสมอไม่ว่าจะนานเพียงใด ดังเช่นคำก๋อด เป็นการปิดฉากละครชีวิตโจรคำก๋อด เหลือเพียงตำนานเล่าขานยุคนั้นสู่ยุคนี้
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » ศุกร์ 25 ต.ค. 2019 5:08 pm

วงดนตรีผู้ป่วยเด็กของโรงพยาบาลโรคเรื้อนเชียงใหม่(แมคเคน) จากหนังสือ The Land Of The White Elephant
ภาพน่าจะถ่ายประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๗๐

คำบรรยายประกอบภาพในหนังสือ...Leper school boys,trained in the use of stringed instruments and the cornet,their music affords much pleasure to other patients.

จาก... เพจ ห้องวิจัยประวัติศาสตร์
12630.jpg
12630.jpg (42.86 KiB) เปิดดู 5529 ครั้ง


น้ำท่วมสถานีรถไฟเจียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
12836.jpg
12836.jpg (19.45 KiB) เปิดดู 5529 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน

cron