เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » อังคาร 17 พ.ย. 2020 11:05 am

Railway Terminas Hotel
151421.jpg
151421.jpg (182.72 KiB) เปิดดู 4797 ครั้ง

โรงแรมรถไฟเชียงใหม่ เข้าใจว่าเป็นโรงแรมแห่งแรกของเชียงใหม่ ภาพเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หันหน้าเข้าหาอาคารสถานีรถไฟ เปิดในปี พ.ศ. ๒๔๖๔

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่๒ โรงแรมรถไฟมีทหารญี่ปุ่นพักอยู่เต็ม จึงเป้าหมายโจมตีแห่งหนี่ง จนระเบิดลงเสียหายไปทั้งหมด รวมทั้งสถานีรถไฟ

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ สถานีรถไฟเชียงใหม่หลังนี้ ถูกเครื่องบินของฝ่ายสัมพัธมิตรทิ้งระเบิดพังพินาศไปพร้อมกับชีวิตคนนับร้อย รวมทั้งอาคารบ้านเรือน โกดังเก็บสินค้า โรงแรม ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงราบเรียบไปหมดเมื่อวัน ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๖

หลังจากสถานีเชียงใหม่ถูกระเบิดทางราชการต้องประกาศงดใช้สถานีรถไฟแห่งนี้ไปหลายปี ผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถไฟต้องไปขึ้นลงที่สถานีป่าเส้า จังหวัดลำพูน แทน ต่อมาเมื่อสงครามสงบแล้วจึงได้สร้างสถานีรถไฟขึ้นมาใหม่ในที่เดิมในปี พ.ศ.๒๔๘๘ และเปิดอีกครั้งในปี พ. ศ.๒๔๙๑

โรงแรมรถไฟเชียงใหม่ ต่อมาหลังสงครามกลายเป็นสถานที่ทีลือว่าผีดุมาก ต่อมาสร้างใหม่เป็นโรงแรมใหญ่หรูหรา อาคารคอนกรีต และ ถูกทุบทิ้งเมื่อทรุดโทรม เมื่อราวยี่สิบปีก่อน (ราวๆ พ.ศ.๒๕๔๖) ปัจจุบันสร้างเป็นสวนสาธารณะ

ขอบคุณเจ้าของภาพ

เรือนไม้ที่ บ้านดงป่าแดง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
9553.jpg
9553.jpg (109.43 KiB) เปิดดู 4796 ครั้ง

ภาพ : Kibkae Tiwakorn Srithikan
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » จันทร์ 06 มิ.ย. 2022 5:52 am

#เจดีย์หลวง #เชียงใหม่ เมื่อ 51 ปีก่อน
ภาพถ่าย วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1971(2514)
284377907_526946682407529_4220977735479005172_n.jpg
284377907_526946682407529_4220977735479005172_n.jpg (307.27 KiB) เปิดดู 3362 ครั้ง

วัดเจดีย์หลวงก่อนการบูรณะ ขณะนั้นเต็มไปด้วยวัชพืช และ นักท่องเที่ยว เอามอเตอร์ไซค์ขับตามถนน เข้าไปถึง เจดีย์หลวง ได้
วัดเจดีย์หลวงวรวิหารเป็นพระอารามหลวงในจังหวัดเชียงใหม่มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ราชกุฏาคาร วัดโชติการามสร้างขึ้นในรัชสมัย#พญาแสนเมืองมา เจ้าหลวงองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้าง ในปี พ.ศ. 1928 - 1945 และมีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ใหญ่ที่สุดในล้านนา ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญ ครั้งหนึ่งในอดีตกาล บนเจดีย์ด้านทิศตะวันออกเคยเป็นจุดที่ประดิษฐาน #พระแก้วมรกต เจดีย์ ตั้งอยู่พื้นที่กลางเวียง ใน เขตกำแพงเมืองเชียงใหม่

ที่มา : ปี้น้อยหนานแตงโม ฉตสาขาโก เทววํโส
285488471_322029760106234_57905913180014479_n.jpg
285488471_322029760106234_57905913180014479_n.jpg (117.5 KiB) เปิดดู 3362 ครั้ง

☆☆☆..ราวห้าปี๋ก่อนย้ายงานฤดูหนาวจากโฮงเฮียนยุพราชฯ มาตี้ "โต้ง(ทุ่ง)หนองบัว"มีก๋านถุ่ย,ถมดินคันนาลงใส่หนองบัว, "หล้างบ่าหล้าง"ไปตุ๊บทุบเอาแผวก๋ำแปงเวียงเจียงใหม่ ลงถมตั๊ดตี้ เป๋นสนามเล่น(ฟุต)บอลบัดเดี่ยวนี้ หาว่ามันจะได้เเน่นดี...วัดป่าไผ่ปันสาทหิ้น ตางใต้วัดกู่เต้าโดนไถธาตุเจดีย์ลงก่อนเปิ้น ไถวิหารอยู่จู(ถึง)ฮั้วเหล็กสนามบอลลงก๋างหนอง, ถัดมาเป๋นวัดต้นต๋าลวันออกหนองโดนไถเป๋นถ้วนสอง...กำนี้ละ ก่ปากั๋นมาเล็งผ่อวัดกู่เต้าอ้างว่า ซ้ำเตื้อก่มีตุ๊พระมาอยู่ซ้ำเตื้อบ่มีพระมาอยู่วัสสา เป๋นก๋านชาวบ้านต้องเปลี่ยนมาเฝ้าอยู่เจื่อ(บ่อย) เล็งแล้วถ้าตัดซื่อเอาแนวก๋ำแปงสนามฯ ก่ตั๊ดวิหารหลวงจะว่าจะใดกั๋น? คันจาวกู่เต้าจ๊างเผือกฮู้เรื่องตี้"งำ"ไว้(เรื่องลับ) ก่ปากั๋นออกมา"ทะ"(ห้าม,ปราม)บอกว่า เป๋นวิหารตี้ครูบาศีลธรรมสะหลีวิไจยแป๋งไว้ เป๋นขี้มือเปิ้น จะมา"ซิด"มาตัดบ่ได้เป๋นอันขาด, คันว่าจะตัดสนามกีฬามาแผวติดวิหารก่บ่ยอมใดๆ...ก๋ำลังตี้ยัง"สึงสังอึงอัง"(ชักเย่อ,ต่อกร)กั๋นอยู่, วัดพระสิงห์หันท่าบ่ดี เลยส่งตุ๊มหาต๋นหนึ่งมาอยู่วัส
สากิ๋นวัดกู่เต้ากั้นไว้ เรื่องก่ดักเงียบไป

☆☆☆...กำนี้ก่เหลือวัดสะหลีบุญเฮือง(ศรีบุญเรือง) วัดนี้ขึ้นกับวัดสะหลีเจียงยืน เปิ้นอัสสะอาศัยเปิ้งอิงกั๋นมา วัดนี้ก่ยังดีอยู่ หนหลังมาถึงจะเก่าเป๋นฮกเป๋นพงพ่อง แต่ก่รอดถูกขุดธาตุ เจาะเอาใจ๋พระเจ้าย้อนวัดกับจาวเจียงยืนผลัดกั๋นมาผ่อกอย, คันล่วงมาได้แหมเป๋นสิบปี๋เป๋นยามตี้วัดเจียงยืน ขาดตุ๊พระมาอยู่วัสสา..."มันจะมีหวะนั่น วัดสะหลีบุญเฮีอง ก่มาหมดมาเสี้ยงอายุเป๋นวัดเป๋นวา ศรัทธาวัดเก๊าก่บ่มี เปิ้งเอาก้าศรัทธาวัดเจียงยืน...ต๊าย(ท้าย)มาคนเฒ่าคนแก่ เอาสวยข้าวตอกดอกไม้ไปไหว้ขอสมาลาโต้ดแล้ว ก่ออกมายืนฮ่ำยืนไห้ปากั๋นผ่อรถไถทุบพังถุ่ยเอาวิหาร เอาธาตุก๋ำแปงลง, เป๋นเหียะอันใดบ่ได้...

ขอขอบพระคุณเจ้าของภาพ"วัดกู่เต้า"ซึ่งถ่ายในปี 2463 (1920) อายุภาพได้102 ปีครับ ภาพถ่ายไปทางตะวันตกซึ่งรก เพราะสมัยนั้นเป็นด้านหลังวัดแต่ปัจจุบันเป็นด้านหน้าวัด, ในอดีตนั้น ด้านหน้าวัดอยู่ทางตะวันออกติดกำแพงเวียงเชียงโฉม(เวียงบัว)มีคูน้ำกั้นระหว่างกำแพงกับหนองบัวเจ็ดกอ,จึงเรียกวัดกู่เต้าว่า กู่เต้าเวียงบัว ครับ..(งานฤดูหนาวฯจัดขึ้นเป็นปีเเรกที่ "ทุ่งหนองบัว" ในปี 2497 ครับ)

ที่มา : เลาะเวียง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พฤหัสฯ. 28 ก.ค. 2022 3:18 pm

ภาพเก่าของบ้านกาด สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๕ รถในภาพเป็นรถของพ่อสมัย - แม่เฮือนคำ ประกอบกิจ
ภาพ : SANPATONG CLUB
123899.jpg
123899.jpg (44.58 KiB) เปิดดู 3159 ครั้ง

โฮงหนังบ้านกาดสันป่าตอง ของพ่อสมัย - แม่เฮือนคำ ประกอบกิจ เปิดกิจการ พ.ศ.๒๕๑๐
ภาพ : SANPATONG CLUB
bangad.jpg
bangad.jpg (133.57 KiB) เปิดดู 3159 ครั้ง


เจ้านายฝ่ายเหนือฟ้อนนำขันบายศรีต้นเก้าชั้น สำหรับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเตรียมเข้ากระบวนแห่ทูลพระขวัญ มีเจ้านายสกุล ณ เชียงใหม่ ฝ่ายหน้าแต่งกายนุ่งผ้าน้ำเงิน สวมเสื้อเยียรบับเดินกำกับตามประเพณี กระบวนเครื่องพระขวัญของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเจ้านายฝ่ายเหนือฟ้อนนำหน้า ดังนี้

คู่ที่ ๑ เจ้าแก้วนวรัฐ (เจ้าแก้ว ณ เชียงใหม่) เจ้าผู้ครองเมื่องเชียงใหม่ กับ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้ามหาพรม ณ น่าน) เจ้าผู้ครองนครน่าน
คู่ที่ ๒ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (เจ้าน้อยจักรคำ ณ ลำพูน) เจ้าผู้ครองนครลำพูน กับเจ้าราชวงศ์ (เจ้าแก้วภาพเมรุ ณ ลำปาง) ลำปาง
คู่ที่ ๓ เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยแก้ว ณ เชียงใหม่) เชียงใหม่ กับเจ้าชัยสงคราม (เจ้าสมพมิตร์ ณ เชียงใหม่) เชียงใหม่
คู่ที่ ๔ เจ้าราชภาคินัย (เจ้าเมืองน้อยชื่น ณ เชียงใหม่) กับเจ้าราชสัมพันธวงศ์ ลำพูน
คู่ที่ ๕ เจ้าชัยวรเชฐ เชียงใหม่ กับเจ้าราชสัมพันธวงศ์ (เจ้าสิงแก้ว ณ เชียงใหม่) เชียงใหม่
คู่ที่ ๖ เจ้าประพันธพงศ์ เชียงใหม่ กับเจ้าชัยสงคราม ลำปาง
คู่ที่ ๗ เจ้ากาวิลวงศ์ ณ เชียงใหม่ กับเจ้าวงศ์เกษม ณ ลำปาง

การแต่งกายของเจ้านายเวลาฟ้อน นุ่งเกี้ยว สวมเสื้อเยียรบับ คาดสำรด ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
กระบวนเครื่องพระขวัญของสมเด็จพระบรมราชินี มีเจ้านายผู้หญิงฝ่ายเหนือฟ้อนนำหน้า ดังนี้

คู่ที่ ๑ เจ้าทิพยวรรณ กฤดากร ณ อยุธยา ในหม่อมเจ้าบวรเดช กับเจ้าส่วนบุญ ภรรยาเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ลำพูน
คู่ที่ ๒ เจ้าบัวทิพย์ บุตรีเจ้าแก้วนวรัฐ ซึ่งเป็นภรรยาเจ้าราชภาคินัย กับเจ้ารำเจียก บุตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์
คู่ที่ ๓ เจ้าศิริประกาย บุตรีเจ้าแก้วนวรัฐ ซึ่งเป็นภรรยาเจ้ากาวิลวงศ์ กับเจ้าวรรณรา บุตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์
คู่ที่ ๔ เจ้าเรณูวรรณา ภรรยาเจ้าบุรีรัตน์ เชียงใหม่ กับเจ้าทิพวาร ภรรยาเจ้าหมื่นแก้ว เชียงใหม่
คู่ที่ ๕ เจ้าเรือนแก้ว ภรรยาเจ้าราชภาติกวงศ์ เชียงใหม่ กับเจ้าจันทนา ภรรยาเจ้าประพันธพงศ์ เชียงใหม่
คู่ที่ ๖ เจ้าวงศ์จันทร์ บุตรีเจ้าราชบุตร เชียงใหม่ กับเจ้ารวงคำ บุตรีเจ้าราชสัมพันธวงศ์ ลำพูน
คู่ที่ ๗ เจ้าประกายคำ บุตรีเจ้าจักรคำจขรศักดิ์ กับเจ้าบุษบง บุตรีเจ้าบุญวาทวงศ์มานิต ลำปาง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

ย้อนกลับ

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 64 ท่าน

cron