เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 23 ก.ย. 2012 12:54 pm

คอลัมน์ คนกับป่าเมืองเชียงใหม่
เรื่อง: ยามหนึ่ง อนาคาริก ภาพ: จุฑาพร อินทวงค์
คุก ภาษาคำเมืองล้านนาเรียกว่า คอก หมายถึงที่คุมขังจองจำนักโทษ ที่จำกัดอิสรภาพ สืบเนื่องจากพื้นที่ ๑๗ ไร่ ๒ งาน ๖๑ ตารางวาของคุกหญิงเชียงใหม่ อยู่ในเขตตัวเมืองเก่าเชียงใหม่ บริเวณนั้นมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์หลายแห่ง เคยเป็นที่ตั้งของคุ้มหลวง หอคำ วัด โรงช้าง โรงม้า ฉางข้าว บ้านเรือน ผ่านระยะเวลามา ๗๐๐ กว่าปี

คุ้ม ภาษาล้านนาหมายถึงที่ประทับของกษัตริย์ที่อยู่ของเจ้านาย พื้นที่คุกหญิงเชียงใหม่แต่เดิมเคยเป็นที่ตั้งของคุ้มหลวงเวียงแก้ว ซึ่งมีอยู่แต่ในภาพ เชื่อกันว่าเป็นคุ้มในสมัยพระเจ้ากาวิละ(พ.ศ ๒๓๒๕-๒๓๕๘)

คุ้มหลวงกลายเป็นคุกในสมัยพระยานริศราชกิจ(สาย โชติกเสถียร) โดยครั้งแรกทำเป็นรั้วไม้สัก ปี พ.ศ .๒๔๔๕ สมัยเจ้าพระยาสุรสีห์ วิศิษฐศักดิ์(เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพายัพ หลังปราบกลุ่มขบถเงี้ยว นักโทษมีจำนวนมากขึ้น จึงก่อกำแพงเป็นอิฐ พร้อมสร้างอาคารให้แข็งแรงตั้งแต่นั้นมา

สถานที่แห่งนี้ใช้เป็นคุกทั้งชายหญิงเรื่อยมา ต่อมาศูนย์ราชการเชียงใหม่ ย้ายออกไปอยู่เขตนอกเมือง คุกชายจึงย้ายออกไปด้วย คงเหลือแต่คุกหญิง กระทั่งปี ๒๕๔๔ เทศบาลนครเชียงใหม่ได้ทำหนังสือขอใช้ประโยชน์พื้นที่แห่งนั้น เพื่อปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้เป็นสีเขียวของเมือง เป็นสถานที่สาธารณะประโยชน์ เป็นสวนสาธารณะและวัฒนธรรมของเชียงใหม่ พร้อมกับขอย้ายคุกหญิงออกไปอยู่นอกเมือง

ในปีเดียวกันนั้น กลุ่มองค์กรเอกชน ๑๒ องค์กร ก็รวมตัวกันตั้งสถาบันล้านนา และขอให้ย้ายคุกหญิงไปอยู่นอกเมือง นำพื้นที่นั้นมาทำสวนสาธารณะ

เมื่อคุกหญิงแห่งใหม่ใกล้จะเสร็จ จึงเกิดความเคลื่อนไหวในกลุ่มต่างๆ เพื่อหาทางออกกันว่า พื้นที่ทางประวัติศาสตร์อันยาวนานนั้น จะนำไปเกิดประโยชน์เรื่องใดได้มากที่สุด และต้องทำอย่างไรต่อไป การระดมความคิดของภาคเอกชนที่อยากเห็นพื้นที่สีเขียวกลางเมืองก็มีหลากหลาย

เพราะเป็นพื้นที่ตั้งอยู่ตรงใจกลางเมือง เชื่อมโยงต่อเนื่องกับสถานที่กลุ่มอาคารเก่าแก่สำคัญอีกหลายแห่ง อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดกันมา กลุ่มอาคาร ๖ หลังในคุก มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี เป็นสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งหาหาดูชมได้ยาก

ขณะเดียวกัน ก็ยังมีกลุ่มความคิดที่อยากจะเห็นคุ้มเวียงแก้ว อันเป็นเสมือนจิตวิญญาณเมือง ได้ถูกรื้อฟื้นสร้างขึ้นมาใหม่ตามแบบที่พบเห็นอยู่ในรูปถ่าย

การปรับปรุงพื้นที่ตรงนั้น ยังอยู่ในความเข้าใจของคนไม่มากนัก เมื่อต้องระดมความเห็นว่าจะจัดการกับพื้นที่ ๑๗ ไร่ ๒ งาน ๖๑ ตารางวากันอย่างไร

เพราะอดีตเคยเป็นคุ้ม และคุ้มก็กลายเป็นคุก จึงมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ บ้างก็ว่าควรทุบตึกเก่าออกไป ลบความเป็นคุกอันน่าหดหู่ออกไป สร้างคุ้มขึ้นมาใหม่ สร้างสวนสีเขียวขึ้นมาแทน บ้างก็ว่าให้เป็นพื้นที่สีเขียวทั้งหมด บ้างก็บอกเหลือตึกไว้บางส่วน นอกนั้นให้เป็นพื้นที่สีเขียวกับลานกิจกรรม สถานที่แสดงศิลปะและวัฒนธรรมของเมือง

ส่วนบางกลุ่มก็บอกว่า สถานที่เคยเป็นคุก ก็น่าจะเป็นโรงแรมแบบคุกๆหรือเปล่า หรือไม่ก็เป็นพิพิธภัณฑ์สถานจัดแสดงเกี่ยวกับคนคุก เก็บเงินกับนักท่องเที่ยวที่จะผ่านเข้าไปดู หรือไม่ก็ให้เป็นพื้นที่สวนสาธารณะ ลานแสดงดนตรี วัฒนธรรม หอศิลปะ ที่สามารถหมุนเวียนจัดงานต่อเนื่องกันได้ทั้งปี

แบบสอบถามให้เลือกจะทุบตึกทิ้งทั้งหมด หรือทุบตึกบางส่วน หรือคงสภาพเดิมไว้ ทุบกำแพงทิ้ง คงไว้บางส่วน หรือทุบกำแพงทิ้งทั้งหมด เป็นสวนต้นไม้ สนามหญ้าอย่างเดียว หรือเป็นสวนป่าไม้ยืนต้น สร้างคุ้มหลวงเก่า หรือลานกิจกรรม ที่รวมต้นไม้หายากในล้านนา

ทุกอย่างยังอยู่ในขั้นตอนระดมความเห็น ยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกจากใคร กลุ่มองค์กรใด พูดง่ายๆว่ายังต้องถามประชาชนชาวเมืองกันว่า จะเอาพื้นที่กลางเมืองประกอบกิจกรรมใดที่เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ทั้งการอนุรักษ์ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่ดี และช่วยเติมคุณภาพชีวิต

จากคุกเป็นพื้นที่สีเขียวกลางเมือง ดูจะมีแนวโน้มไปทางนั้น เพียงแต่ว่าจะเป็นสีเขียวอย่างเดียว หรือสีเขียวผสมอาคาร ปราศจากกำแพงหรือทุบกำแพง และใครมีหน้าที่จัดการดูแลประโยชน์ให้ได้รับการจัดสรรเป็นของส่วนรวมอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม กรณีคุกเป็นพื้นที่สีเขียว เป็นตัวอย่างหนึ่งสำหรับการจัดการที่สาธารณะ ให้เกิดบรรยากาศของสาธารณะชนอย่างแท้จริง ซึ่งกลุ่มใดๆจะเข้ามาตัดสินหยิบไปใช้ประโยชน์โดยไม่คิดหน้าคิดหลังก่อนไม่ได้

พื้นที่มีความเป็นมา บ้านเมืองมีศิลปวัฒนธรรม มรดกทางปัญญามีที่มา และประวัติศาสตร์ผืนดินไม่อาจบิดเบือนเป็นอื่น จะหลอมของใหม่กับของเก่าให้กลมกลืนกันไปได้ สานต่อให้ยืนยาวไปถึงลูกถึงหลานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมองให้เห็นถึงประโยชน์ต่อชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

ไม่ใช่ใครหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นึกจะเนรมิตทำได้ตามใจง่ายๆ ไม่เคยถามประชาชนในพื้นที่ว่าเห็นชอบด้วยหรือไม่ บทเรียนจากการก่อสร้างสถานที่ใหญ่โตโอฬารที่ผ่านมา เพื่อดึงเม็ดเงินใส่กระเป๋าบางกลุ่มบางคนนั้น วูบวาบช่วงสั้นๆเท่านั้น นับวันจะก่อปัญหา ไม่ยืนยาวไม่ก่อประโยชน์ที่จรรโลงจิตใจ ความรู้ ความดีงาม และภูมิทัศน์ที่เสริมส่งปัญญาอย่างแท้จริง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 28 ต.ค. 2012 10:28 am

หน้าที่ว่าการอำเภอแม่แจ่มในอดีต
552169_458309280874454_626557872_n.jpg
552169_458309280874454_626557872_n.jpg (29.49 KiB) เปิดดู 13966 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 28 ต.ค. 2012 10:30 am

แห่ลูกแก้ว..ปอยส่างลอง
374041_460673063973843_1038280924_n.jpg
374041_460673063973843_1038280924_n.jpg (53.96 KiB) เปิดดู 13907 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 28 ต.ค. 2012 11:13 am

ตั๋วเมือง (อักษรธรรมล้านนา)

196468_450439041674804_277852875_n.jpg
196468_450439041674804_277852875_n.jpg (18.57 KiB) เปิดดู 13906 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 09 ธ.ค. 2012 11:24 am

admin_39.jpg
admin_39.jpg (222.11 KiB) เปิดดู 13663 ครั้ง


เจดีย์วัดอุโมงค์ พ.ศ๒๔๙๒ คุณลุงบุญเสริม สาตราภัยได้ถ่ายภาพด้วยฟิล์มอินฟาเรดภาพแรก
เหตุการณ์ล่วงผ่านไปอดีต เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๙ พญามังรายทรงสร้างอาณาจักรล้านนาร่วมกับพระสหาย คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์ปกครองสุโขทัย และพระเจ้างำเมือง กษัตริย์ปกครองพะเยา มาสร้างเมืองเวียงเหล็ก (บริเวณวัดเชียงมั่นในปัจจุบัน) และตั้งชื่อเมืองว่า “นพบุรี ศรีนครพิงค์” ท่านมีความใฝ่ในศาสนาพุทธ จึงทรงทำนุบำรุง ส่งเสริมศาสนาให้รุ่งเรืองในล้านนา ในขณะนั้น ทางฝ่ายพ่อขุนรามคำแหงได้ส่งคนนิมนต์พระสงฆ์จากลังกามาอาศัยอยู่ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อที่พระสงฆ์ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาในสุโขทัย เมื่อพญามังรายทรงทราบข่าวดังกล่าวจึงส่งคนไปนิมนต์พระลังกาจากพ่อขุนรามคำแหงมา ๕ รูป โดยมีพระกัสสปะเถระเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์นี้ โดยจำพรรษาที่วัดการโถม ต่อมาพญามังรายจึงทรงสร้างวัดเวฬุกัฏฐาราม (ปัจจุบัน คือ วัดอุโมงค์) เมื่อสร้างเสร็จจึงอาราธนาพระมหากัสสปะเถระจำพรรษาที่วัดแห่งนี้
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 7:33 am

ตำหนักพระองค์เจ้าบวรเดชฯ หรือ ตำหนักอุปราช อดีตอุปราชมณฑลพายัพ สร้างขึ้นที่ม่อนจ็อกป็อก หรือบริเวณลานจอดรถวัดพระธาตุดอยสุเทพในปัจจุบัน ภาพโดย คุณลุงบุญเสริม ศาสตราภัย

K6915204-30.jpg
K6915204-30.jpg (141.98 KiB) เปิดดู 12671 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 7:34 am

พระตำหนักประทับร้อนบนดอยสุเทพของพระราชชายาดารารัศมี

K6915204-31.jpg
K6915204-31.jpg (196.85 KiB) เปิดดู 12704 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 7:35 am

ดอยหลวงเชียงดาว

K6915204-32.jpg
K6915204-32.jpg (133.56 KiB) เปิดดู 12704 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 7:36 am

สาวงามทอผ้า

1175020_526132720797867_2112935035_n.jpg
1175020_526132720797867_2112935035_n.jpg (60.67 KiB) เปิดดู 12704 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 25 พ.ค. 2014 2:01 pm

เจดีย์ขาว เยื้องเทศบาลนครเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๔


BS-CM-TP034b.jpg
BS-CM-TP034b.jpg (51.57 KiB) เปิดดู 12411 ครั้ง


ตำนานล้านนา “เจดีย์ขาวหรือเจดีย์กิ่ว..ปู่เปียงผู้เสียสละ"
เจดีย์กิ่ว หรือเจดีย์สีขาวซึ่งเป็นวงเวียนให้รถวนรอบ ตั้งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าของเทศบาลนครเชียงใหม่ ใกล้กับสถานกงศุลอเมริกา อีกด้านหนึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำปิงซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของเชียงใหม่ เจดีย์ขาว.....หรือที่ชาวเขียงใหม่เรียก "เจดีย์กิ่ว" สร้างแต่สมัยไหนไม่มีใครทราบ แต่มีตำนานเล่าไว้ว่า


สมัยหนึ่งเมืองเชียงใหม่ ได้ถูกข้าศึกยกกองทัพมาประชิดเมือง แม่ทัพฝ่ายข้าศึกได้มาท้าประลองการแข่งขันดำน้ำในแม่น้ำปิง ถ้าฝ่ายไหนดำน้ำได้นานเป็นฝ่ายชนะ ฝ่ายไหนแพ้ต้องเสียเมือง(ตกเป็นเมืองขึ้น) ให้หาคนมาแข่งขันภายใน 3 วัน เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงได้ป่าวประกาศรับสมัครหาคนเป็นตัวแทนมาแข่งขันกับฝ่ายข้าศึก แต่ก็ไม่มีใครกล้ามาสมัครแข่งขัน เพราะเชียงใหม่อยู่ในภูมิประเทศที่ดอน คนเชียงใหม่จึงไม่ค่อยชำนาญเรื่องทางน้ำ เวลาผ่านไปสองวัน ก็ไม่มีใครมาสมัคร ท่านเจ้าเมืองจึงให้คนไปป่าวประกาศในพื้นที่รอบนอกเมืองบ้าง

จนมาถึงบ้านปู่เปียงซึ่งอาศัยอยู่ในห้างนานอกเมือง ปู่เปียงเป็นคนแก่อายุค่อนข้างมาก ไม่มีลูกหลาน อยู่ตัวคนเดียว เมื่อรู้ข่าวเมืองเชียงใหม่ถูกข้าศึกยกทัพมาประชิดเมือง และท้าให้คนเมืองเชียงใหม่แข่งกันดำน้ำ แกจึงคิดที่จะตอบแทนคุณของบ้านเมืองจึงเข้าไป รับอาสาเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้

เมื่อถึงเวลากำหนดนัดหมาย ต่างก็มาสู่สถานที่แข่งขัน ณ ที่ท่าแม่น้ำปิง...ตัวแทนทั้งสองฝ่ายต่างก็ดำลงไปในน้ำพร้อมกัน นับเป็นเวลานาน ปรากฎว่าตัวแทนฝ่ายข้าศึกโผล่ขึ้นมาก่อน...จึงถือว่าแพ้ ก็ได้ยกกองทัพกลับไป ฝ่ายปู่เปียงดำน้ำเป็นเวลานาน ก็ไม่โผล่ขึ้นมาสักที ท่านเจ้าเมืองจึงให้คนดำลงไปดู ปรากฎว่าปู่เปียงใช้ผ้าต่อง(ผ้าขะม้า)มัดมือตนเองติดกับเสาหลักใต้น้ำ ถึงแก่ความตาย เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความดีของปู่เปียง ที่สละชีวิตตนเองเพื่อปกป้องบ้านเมืองเอาไว้

ทั้งนี้ เนื่องจากเจดีย์ขาวไม่มีลักษณะและความสูงเหมือนเจดีย์ที่เป็นปูชนียวัตถุทั่วไป จึงมีผู้คิดว่าเจดีย์กิ่วอาจเป็นสถูปบรรจุอัฐของบุคคลสำคัญชาวพม่าในครั้งที่มาครอบครองนครเชียงใหม่ในช่วง พ.ศ. ๒๑๐๑ - ๒๓๑๗ ก็ได้ และมีผู้เล่าอีกว่าเจดีย์กิ่วเป็นเครื่องหมายบอกว่าด้านล่างของเจดีย์ดังกล่าวเป็นปากอุโมงค์ที่ทอดยาวมาจากอุโมงค์ใต้ฐานเจดีย์หลวงที่อยู่กลางเมือง

ใกล้กับเจดีย์กิ่วนี้ มีคุ้มของเจ้าเชียงใหม่อยู่แห่งหนึ่งชื่อว่า คุ้มท่าเจดีย์กิ่ว ปัจจุบันเป็นสถานกงสุลอเมริกันประจำจังหวัดเชียงใหม่

อ้างอิง : อุดม รุ่งเรืองศรี.เจดีย์กิ่ว.สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ


ตำนาน คือ เรื่องเล่าปนนิยายถึงสถานที่ต่างๆ แต่ประวัติศาสตร์คือความจริงที่อ้างอิงได้

ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » จันทร์ 26 ม.ค. 2015 6:06 am

บรรยากาศหน้าโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๑๕
ภาพ : Nick Derwolf

ยุพราช2515tum.so.jpg
ยุพราช2515tum.so.jpg (124.75 KiB) เปิดดู 11925 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » ศุกร์ 01 พ.ค. 2015 7:32 am

ขุนหลวงวิลังคะ เจ้าเมือง ระมิงค์นคร ก่อน จะเป๋นเมืองเชียงใหม่


10494751_843627589011006_4260962938867889684_n.jpg
10494751_843627589011006_4260962938867889684_n.jpg (118.6 KiB) เปิดดู 11860 ครั้ง



ชนเผ่าละเวอะ(ลัวะ) เดิมทีได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ โดยมีชื่อเรียกว่า เมือง “ชวงไมย” อาจเป็นที่มาของการเพี้ยนมาเป็นเมืองเชียงใหม่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งมีเจ้าเมืองชื่อขุนหลวงวิลังคะเป็นผู้ปกครองดูแลเมือง ซึ่งขุนหลวงวิลังคะเป็นผู้มีที่วิชาอาคมแก่งกล้า ขุนหลวงวิลังคะอยากได้เจ้านางจามเทวีซึ่งเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองหริภุญไชย (จ.ลำพูนในปัจจุบัน)มาเป็นภรรยา เจ้านางจามเวทีเองก็ต้องการได้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองของตนเช่นกัน จึงได้ทำเล่ห์กลโดยใช้หมาก ใบพลูสอดไว้ในช่องคลอดสตรีมาให้ขุนหลวงวิลังคะกิน และใช้ผ้าภูษา(ซิ่น)มาตัดเป็นหมวกให้ใส่ เวทมนตร์และอำนาจต่างๆของขุนหลวงวิลังคะจึงเสื่อมลง เมื่ออำนาจและเวทมนตร์ของขุนหลวงวิลังคะสิ้น เจ้านางจามเทวีก็ยกทัพมาตีเมือง “ชวงไมย” เมืองลัวะเลยถูกตีแตกพ่ายไป ชาวลัวะจึงหนีกระจายไปอยู่ยังที่ต่างๆ ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้หนีไปไหน ยังคงอยู่ที่เมือง “ชวงไมย” แต่ก็ไม่กล้าประกาศตนว่า ตนคือ ลัวะ ( ความเชื่อเรื่องใบพลู จากครั้นที่เจ้านางจามเทวี นำใบพลูทำให้เวทมนตร์ของขุนหลวงวิลังคะเสื่อม จึงเป็นที่มาของการที่ชาวลัวะจะฉีกใบพูลทิ้งนิดหนึ่งตรงปลายก่อนจะเคี้ยวหมาก เสมือนฉีกความชั่วร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดีออกไป )




หรืออีกตำนานว่าเล่า กันว่า ในสมัยที่พระนางจามเทวีปกครองเมืองหริภุญไชยราว พ.ศ. ๑๓๐๐ ในสมัยนั้นเล่ากันว่า นครหริภุญไชยเป็นนครของชนชาติมอญ หรือเม็ง และในขณะเดียวกันบริเวณเชิงดอยสุเทพเป็นที่ตั้งบ้านเมืองของชาวลัวะมี ขุนหลวงวิรังคะเป็นเจ้าเมืองหรือหัวหน้า ขุนหลวงวิรังคะมีความรักในพระนางจามเทวี มีความประสงค์จะอภิเษกกับพระนาง แต่พระนางไม่ปรารถนาจะสมัครรักใคร่กับขุนหลวงลัวะ เพราะเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมต่ำกว่ามอญในสมัยนั้น ขุนหลวงได้ส่งทูตมาเจริญไมตรีขอนางอภิเษกด้วย พระนางก็ผลัดผ่อนหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ ได้แก่ ขอให้ขุนหลวงสร้างเจดีย์ที่มีขนาดและลักษณะคล้ายกับเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย ให้ขุนหลวงพุ่งเสน้ามาตกที่ในเมือง พระนางจึงจะอภิเษกสมรสด้วย


ขุนหลวงวิรังคะ เป็นผู้ทรงพลังและชำนาญในการพุ่งเสน้า (เสน้า หมายถึง หอกด้ามยาวมีสองคม) ขุนหลวงพุ่งเสน้าครั้งแรกตกที่นอกกำแพงเมืองหริภุญไชยด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเรียกว่า หนองเสน้าพระนางจามเทวีเห็นว่าจะเป็นอันตรายยิ่ง ถ้าขุนหลวงวิรังคะพุ่งเสน้ามาตกในกำแพงเมืองตามสัญญา พระนางจึงใช้วิชาคุณไสยกับขุนหลวงวิรังคะ โดยการนำเอาเศษพระภูษาของพระนางมาทำเป็นหมวกสำหรับผู้ชาย นำเอาใบพลูมาทำหมากสำหรับเคี้ยวโดยเอาปลายใบพลูมาจิ้มเลือดประจำเดือนของพระ นาง แล้วให้ทูตนำของสองสิ่งนี้ไปถวายแด่ขุนหลวง ขุนหลวงได้รับของฝากจากพระนางเป็นที่ปลาบปลื้มอย่างยิ่ง นำหมวกใบนั้นมาสวมลงบนศีรษะ และกินหมากที่พระนางทำมาถวาย ซึ่งของทั้งสองสิ่งนี้ชาวล้านนาถือว่าเป็นของต่ำ ทำให้อำนาจและพลังของขุนหลวงเสื่อมลง เมื่อพุ่งเสน้าอีกครั้งต่อมาแรงพุ่งลดลงเสน้ามาตกที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ชาวบ้านเรียกว่า หนองสะเหน้า เช่นเดียวกัน ขุนหลวงเมื่อเสื่อมวิทยาคุณเช่นนั้น ก็หนีออกจากบ้านเมืองไป


ก่อนสิ้นชีวิต ขุนหลวงวิรังคะได้ขอให้เสนาอำมาตย์นำศพของท่านไปฝังไว้ ณ สถานที่ที่ขุนหลวงจะสามารถมองเห็นเมืองหริภุญไชยได้ตลอดเวลา ทหารได้จัดขบวนศพของขุนหลวงจากเชิงดอยสุเทพขึ้นสู่บนดอยสุเทพเพื่อหาสถานที่ ฝังตามคำสั่ง ขบวนแห่ศพได้ลอดใต้เถาไม้เลื้อยชนิดหนึ่งเรียกว่า เครือเขาหลง ซึ่งเชื่อว่าถ้าผู้ใดลอดผ่านจะทำให้พลัดหลงทางกันได้ ขบวนแห่ศพขุนหลวงได้พากันพลัดหลงกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง นักดนตรีบางคนพลัดหลงไปพร้อมกับเครื่องดนตรีของตน นิทานเล่าว่าภูเขาที่นักดนตรีผู้นั้นหลงจะปรากฏมีรูปร่างคล้ายเครื่องดนตรี นั้น ๆ บนยอดเขาสุเทพ-ปุย จะมีภูเขาชื่อต่าง ๆ ดังนี้ ดอยฆ้อง ดอยกลอง ดอยฉิ่ง ดอยสว่า บางแห่งเป็นที่แคบและฝาครอบโลงศพปลิวตก บริเวณนั้นเรียกว่า กิ่วแมวปลิว (คำว่า แมว หมายถึง ฝาครอบโลงศพที่ทำด้วยโครงไม้ไผ่ใช้ตกแต่งด้านบนของฝาโลงศพ)


เสนาอามาตย์ที่หามโลงศพของขุนหลวงได้เดินทางไต่ตีนเขาไปทางทิศเหนือ ถึงบริเวณแห่งหนึ่ง โลงศพได้คว่ำตกลงจากที่หาม เสนาอามาตย์จึงได้ฝังศพของขุนหลวงไว้ ณ สถานที่บนภูเขาแห่งนี้ ซึ่งจะสามารถมองเห็นเมืองหริภุญไชยได้ตลอดเวลา ยอดภูเขานี้ชาวบ้านเรียกว่า ดอยคว่ำหล้อง (หล้อง หมายถึง โลงศพ)


ปัจจุบันชาวบ้านยังเรียกชื่อภูเขาลูกนี้ว่า ดอยคว่ำหล้อง ตั้งอยู่บนภูเขาบริเวณเหนือน้ำตกแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ยอดเขาเป็นรูปสี่เหลี่ยมตัดลักษณะคล้ายโลงศพ บนยอดเขามีศาลของขุนหลวงวิรังคะตั้งอยู่ ชาวบ้านบริเวณเชิงเขาเล่าว่า กลางคืนเดือนเพ็ญบางครั้งจะได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงบนยอดเขา เชื่อกันว่าวิญญาณของขุนหลวงสถิตอยู่บนดอยคว่ำหล้อง


บริเวณเชิงเขา มีหมู่บ้านลัวะหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า บ้านเมืองก๊ะ มาจากชื่อของขุนหลวงวิรังคะ เชื่อกันว่า ชาวลัวะเหล่านี้เป็นเชื้อสายของขุนหลวงวิรังคะ ที่หมู่บ้านแห่ง นี้มีศาลที่สถิตวิญญาณของขุนหลวง และทหารซ้ายและขวาของขุนหลวงอีก ๒ ศาล ชาวบ้านจะเซ่นสรวงดวงวิญญาณขุนหลวงและทหารปีละครั้ง ชาวบ้านเล่าว่า ดวงวิญญาณของขุนหลวงจะสถิตอยู่ ๓ แห่งได้แก่ บนดอยคว่ำหล้อง ศาลที่บ้านเมืองก๊ะ อำเภอแม่ริมและอีกแห่งหนึ่งคือ บริเวณดอยคำ อำเภอเมือง ซึ่งตั้งอยู่ทิศใต้ของดอยสุเทพ ปัจจุบันบนยอดดอยมีวัดชื่อว่า วัดพระธาตุดอยคำ บนวัดแห่งนี้มีอนุสาวรีย์ขุนหลวงวิรังคะประดิษฐานที่ลานวัดใกล้เจดีย์ และที่ดอยคำแห่งนี้เป็นที่สถิตดวงวิญญาณของหัวหน้าลัวะซึ่งเป็นบรรพบุรุษของขุนหลวงวิรังคะ ชื่อว่า ปู่แสะ ย่าแสะ ซึ่งจะมีการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ ด้วยควายทุกปี หรือ ๓ ปีครั้ง

"ตำนานนักรบเจนจบมหาเวท
เป็นใหญ่อยู่ยั้งเขตลุ่มน้ำระมิงค์
มีนามว่าขุนวิรังคะทรงฤทธิ์เดชเดชา
ปกป้องบ้านเมืองลุ่มฟ้าประชาร่มเย็นสืบมา
เมื่อเอ่ยเมื่อได้มาเห็น เชิงรบบ่เคยยากเข็ญ
แต่เชิงรักสิมันยากเย็น...บ่เป็นใจแท้
เมื่อมาต้องใจเจ้าแม่...จามเทวี
ขัตติยะนารี พระนามนี้ลือไกล
วิรังคะเปิงใจ ใคร่ได้มาเป็นคู่ข้าง
เจ้าแม่ชาติขัตติยะ จามเทวีบ่มีหมองหมาง
แต่คงยากที่จะเคียงข้าง เป็นนางคู่พระบารมีเจ้าลัวะ...แลเฮย
งามเจ้างามโอ้แม่เอ๋ย เลยอ่านเหตุการณ์งานเมือง
จำแต่งเครื่องไปคารวะ เป็นบรรณาการ ผลงานพี่เจ้า
แม้นมีมหาเวทฤทธิ์ไกร จูงพี่เจ้าแหลงสะเหน้ามา
ยังกลางใจเมือง แยบยลจนสนั่นธรณี
เจ้าแม่เทวีมีกลศึกแยบคาย
ใส่หมายไว้ที่ปลายใบปูผ้าหัวผืนงาม
ขุนศึกหุนหันบ่ทันคิด มนต์ฤทธิ์จึงเสื่อมสลาย
สะเหน้าที่พุ่งมาหมายจึงวายเสียที่นอกเมือง
เจ้าลัวะจึงตรอมใจตาย วายชนม์เสียที่บนดอย
เผ่าลัวะเลยล่มสลายแต่นั้นมา"


ภาพ : Phayon Aui Rattanakul

ผู้ให้ข้อมูล

นายพานแก้ว จันทร์แย
นายและ จันตา
นางแบ๊ะ จันตา
นายวิชาญ จันตา
พิพิธภัณฑ์ชนเผ่าออนไลน์
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 60 ท่าน

cron