หน้า 12 จากทั้งหมด 22

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พฤหัสฯ. 18 เม.ย. 2019 9:16 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ภาพอดีตความรักของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และเจ้าทิพวัน ณ เชียงใหม่

65747.jpg
65747.jpg (93.67 KiB) เปิดดู 5143 ครั้ง


เจ้าทิพวัน เป็นธิดาของเจ้าเทพดำรงค์รักษาเขต เจ้าฟ้าเมืองขุนยวม ผู้รักษาเมืองชายแดนแถบลุ่มแม่น้ำสาละวินสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ กับเจ้าปิมปา ณ เชียงใหม่ หลานสาวเจ้าราชบุตร (สุริยฆาต) ณ นครเชียงใหม่ เจ้าราชโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้ากาวิละ

เจ้าทิพวันเสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ซึ่งได้พบรักกันในขณะที่เจ้าทิพวันได้เข้ามาอยู่กับเจ้าดารารัศมี ในพระราชวังดุสิต มีธิดา ๑ พระองค์ แต่ถึงแก่อนิจกรรมตั้งแต่คลอด

หลังจากนั้นพระองค์เจ้าบวรเดชได้เสกสมรสกับเจ้าศรีนวล ณ เชียงใหม่ น้องสาวของท่านเจ้าทิพวัน ท่านจึงกลับไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาพระองค์เจ้าบวรเดช ต้องอาญาในฐานความผิดกบฏ และหนีไปอาศัยอยู่ที่ประเทศเวียดนาม จนกระทั่งได้รับพระราชทานอภัยโทษจึงกลับมาตั้งโรงงานพิมพ์ผ้าที่อำเภอหัวหิน ซึ่งเจ้าทิพวันก็ได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนด้วย

เจ้าทิพวัน ณ เชียงใหม่ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ สิริรวมอายุ ๗๑ ปี



นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ (บุตรสาวของหลวงอนุสารสุนทร) คหบดีชาวเชียงใหม่ซึ่งคนในจังหวัดเคารพนับถือ จากการเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอนุเคราะห์แก่สาธารณประโยชน์แก่เชียงใหม่มาตลอด นางกิมฮ้อ เกิดวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ๒๔๓๗
65749.jpg
65749.jpg (44.55 KiB) เปิดดู 5143 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พฤหัสฯ. 18 เม.ย. 2019 9:19 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
คหบดีชาวไต เมืองฝาง นายส่วยละ คำเจียง และภรรยาคนแรก ในวันแต่งงาน

65748.jpg
65748.jpg (65.14 KiB) เปิดดู 5143 ครั้ง


สตรีล้านนา

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พฤหัสฯ. 18 เม.ย. 2019 9:47 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
วัดจองออก หรือวัดจองแป้น วัดไทใหญ่วัดแรกในเมืองฝาง พ.ศ.๒๔๗๘ วิหารหลังนี้ถูกไฟไหม้ไปแล้ว

65499.jpg
65499.jpg (70.07 KiB) เปิดดู 5074 ครั้ง


ลานครูบาศรีวิชัย พ.ศ.๒๕๑๐ - ๒๕๒๐

65465.jpg
65465.jpg (56.67 KiB) เปิดดู 5074 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 12 พ.ค. 2019 12:00 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
วัดมหาวัน ถนนท่าแพ เชียงใหม่
ว่ากันว่าเป็นภาพในปี ๒๔๔๘ ช่วงที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมมณฑลพายัพ

วัดมหาวัน เชียงใหม่.jpg
วัดมหาวัน เชียงใหม่.jpg (37.49 KiB) เปิดดู 5033 ครั้ง


สนามบินเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๑๑
สนามบินเชียงใหม่๒๕๑๑.jpg
สนามบินเชียงใหม่๒๕๑๑.jpg (24.8 KiB) เปิดดู 5033 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 12 พ.ค. 2019 12:08 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ต้นยางนาหมายเลขที่ ๑ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และพระบรมราชินี่นาถเคยเสด็จมาร่วมฉายพระรูป ณ บริเวณแดนเมืองเขตรอยต่อของจังหวัดเชียงใหม่ - ลำพูน จุดสิ้นสุดบ้านหลังสุดท้ายบนถนนสายต้นขี้เหล็กของจังหวัดลำพูน และเป็นจุดเริ่มต้นของถนนสายต้นยางนา ณ บ้านเลขที่ ๑ ของบ้านปากกอง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าภาพนี้ พ.ศ.๒๕๐๑
60354934_2220169508060838_1651623501808795648_n.jpg
60354934_2220169508060838_1651623501808795648_n.jpg (62.06 KiB) เปิดดู 5135 ครั้ง


ลัดดาแลนด์ ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๐ - ๒๕๓๐
ลัดดาแลนด์.jpg
ลัดดาแลนด์.jpg (56.8 KiB) เปิดดู 5135 ครั้ง


ลัดดาแลนด์.jpg
ลัดดาแลนด์.jpg (81.81 KiB) เปิดดู 5053 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 12 พ.ค. 2019 12:10 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
เวียงท่ากาน
602458_389763147770478_83337490_n_resize.jpg
602458_389763147770478_83337490_n_resize.jpg (85.8 KiB) เปิดดู 5135 ครั้ง


ประวัติความเป็นมา


จากหลักฐานทางด้านตำนานปรากฏชื่อว่า เมืองตระการ สันนิษฐานว่า น่าจะได้สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ สมัยพระเจ้าอาทิตยราชครองเมืองหริภุญไชย จากพงศาวดารโยนกได้กล่าวว่าเมืองนี้ในสมัยพญามังรายมีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ มีชื่อว่า พันนาทะการ สมัยพระเจ้าติโลกราชได้ยกทัพไปตีเมืองเงี้ยวก็ยังได้นำเชลยเงี้ยวไปไว้ที่พันนาทะการในปี พ.ศ. ๒๐๖๐ สมัยพระเมืองแก้วมีไทถิ่นต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์ก็ให้ไปตั้งบ้านเรือนที่เวียงพันนาทะการอีก จนในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองของพม่าตีได้เชียงใหม่และล้านนาไว้ในอำนาจให้พระเจ้าเมกุฏิครองเมืองเชียงใหม่ เวียงนี้ก็คงอยู่ในอำนาจของพม่าด้วย และภายหลังเจ้าองค์นกแข็งเมือง ปกครองตนเองและมีการต่อสู้กันจนเชียงใหม่ร้างไปในระยะปี ๒๓๑๘-๒๓๓๙ ประมาณ ๒๐ ปีเศษ พันนาทะการก็อาจจะร้างไปด้วย จนสมัยพระเจ้ากาวิละตีเชียงใหม่คืนมาได้ และได้ปราบปรามเมืองอื่น ๆ ก็ให้เมืองนี้เป็นที่อยู่ของชาวไทลื้อเมืองยอง ซึ่งให้อยู่ทั้งที่พันนาทะการและเมืองลำพูน



ลักษณะทั่วไป


เวียงท่ากาน มีลักษณะเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๔๖๐ x ๗๔๐ เมตร ความกว้างของคูน้ำประมาณ ๘ เมตร สภาพคูน้ำคันดินล้อมรอบเป็นเขตเมืองนั้นยังมีสภาพตื้นเขิน เหลือสภาพแนวคูน้ำคันดินให้เห็น ๓ ด้าน บริเวณรอบเมืองโบราณมีสภาพเป็นเนินสูงกว่าที่นาโดยรอบ

หลักฐานที่พบ


๑. เจดีย์ทรงมณฑป ฐานสี่เหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบหก ก่ออิฐก่อดินฉาบปูน กว้างประมาณ ๓.๕ เมตร ส่วนยอดเจดีย์พัง ความสูงของเจดีย์ที่เหลือประมาณ ๓ เมตร ตัวเจดีย์ถูกลักลอบขุดเป็นโพรง


๒. เป็นโบราณสถาน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์ห่างประมาณ ๒๐ เมตร ขนาดประมาณ๖.๘ x ๘ เมตร พื้นที่เนินปกคลุมด้วยต้นไม้และวัชพืช พบแนวอิฐส่วนฐานวางตัวตามทิศตะวันออก - ตะวันตก ยาวประมาณ ๔ เมตร สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร


๓. ศิลปวัตถุที่พบตามบริเวณเจดีย์ ส่วนใหญ่เป็นพระพิมพ์ดินเผา ที่เรียกชื่อว่า พระแผง(หรือกำแพงห้าร้อย) พระสาม พระสิบสอง พระบัวเข็ม พระคง พระเลี่ยงหลวง พระสามใบโพธิ์ พระร่มโพธิ์ ซึ่งเป็นวัตถุที่มีรูปลักษณะศิลปกรรมของสมัยหริภุญไชย นอกจากนี้ก็พบมูยาสูบ(กล้องยาสูบ) ตุ้มตาชั่งสัมฤทธิ์ ตุ้มแห ชามเวียงกาหลง คอสิงห์ดินเผา ศิลปวัตถุที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ โถลายครามจีนสมัยปลายราชวงศ์หยวน ขนาดสูงประมาณ ๓๘ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางตรงกลางโถประมาณ ๓๒ เซนติเมตร เส้นรอบวงประมาณ ๑๐๖เซนติเมตร มีหูเล็ก ๆ เป็นรูปมังกร

เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีเวียงท่ากาน


จากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ เชียงใหม่ - จอมทอง เลยอำเภอสันป่าตองไปประมาณ ๗ กิโลเมตร ถึงบ้านทุ่งเสี้ยว เลี้ยวซ้ายข้างป้อมตำรวจเข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตรผ่านบ้านต้นกอกจึงถึงบ้านท่ากาน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีเวียงท่ากาน

ข้อมูล ประเพณีไทยดอทคอม



คูเมืองเชียงใหม่
550407_383402368406556_1191810282_n.jpg
550407_383402368406556_1191810282_n.jpg (34.58 KiB) เปิดดู 5135 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 20 พ.ค. 2019 10:31 am
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
วิหารวัดเกตการาม พ.ศ.๒๔๔๑
ภาพ : เสถียร ณ วงศ์รักษ์
วัดเกตการาม๒๔๔๑.jpg
วัดเกตการาม๒๔๔๑.jpg (22.48 KiB) เปิดดู 5106 ครั้ง


วัดพระธาตุศรีจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๙๘
ภาพ : ห้องวิจัยประวัติศาสตร์
พระธาตุศรีจอมทอง๒๔๙๘.jpg
พระธาตุศรีจอมทอง๒๔๙๘.jpg (27.48 KiB) เปิดดู 5106 ครั้ง


วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเจียงใหม่ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๗
ภาพ : วารสาร คนเมือง กรกฎาคม ๒๔๙๗

เจดีย์หลวง2497.jpg
เจดีย์หลวง2497.jpg (42.92 KiB) เปิดดู 5106 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 20 พ.ค. 2019 10:34 am
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
สถานีรถไฟจังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๐๓

สถานีรถไฟจังหวัดเจียงใหม่ ๒๕๐๓.jpg
สถานีรถไฟจังหวัดเจียงใหม่ ๒๕๐๓.jpg (25.25 KiB) เปิดดู 5106 ครั้ง


ประเพณีใส่ขันดอกอินทขีล วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเจียงใหม่ ก่อน พ.ศ.๒๕๐๐
ภาพ : Naret Boontiang
อินทขิล2500.jpg
อินทขิล2500.jpg (27.2 KiB) เปิดดู 5106 ครั้ง

ภาพเก่าของวิหารจตุรมุข วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเจียงใหม่ ซึ่งภายในวิหารประดิษฐานเสาอินทขีล ตรงกลางด้านซ้ายมีไม้หมายเมือง "ต้นยางนา" สูงตระหง่าน ปัจจุบันต้นยางนามีอายุมากกว่าสองร้อยปีแล้ว
รูปเก่าของวิหารจตุรมุขวัดเจดีย์หลวง.jpg
รูปเก่าของวิหารจตุรมุขวัดเจดีย์หลวง.jpg (34.19 KiB) เปิดดู 5106 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 20 พ.ค. 2019 10:40 am
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ภาพที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพก่อนสงครามโลกครั้งที่๒)
ภาพ : นายเอ็ม ทานาคา
ภาพที่ทำการ ไปรษณีย์โทรเลขเชียงใหม่ M TANAKA.jpg
ภาพที่ทำการ ไปรษณีย์โทรเลขเชียงใหม่ M TANAKA.jpg (25.6 KiB) เปิดดู 5106 ครั้ง


ที่ทำการโทรเลข ของจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๕
ภาพ : บุญเสริม ศาตราภัย
ที่ทำการโทรเลข ของจังหวัดเชียงใหม่ 2495 บุญเสริม.jpg
ที่ทำการโทรเลข ของจังหวัดเชียงใหม่ 2495 บุญเสริม.jpg (94.56 KiB) เปิดดู 5106 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พุธ 22 พ.ค. 2019 7:23 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ภาพประชาชนรอรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงนำพระเจ้าเฟเดอริค กษัตริย์กรุงเดนมาร์ค และพระราชินี เสด็จผ่านน้ำพุช้างเผือก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๕
ที่มา : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
86122.jpg
86122.jpg (17.38 KiB) เปิดดู 5097 ครั้ง


อาคารผู้ป่วยหลังแรกของโรงพยาบาลนครเชียงใหม่(สวนดอก) สร้างเสร็จและเปิดให้บริการ พ.ศ.๒๔๘๔ ภาพนี้น่าจะถ่ายช่วงพ.ศ.๒๕๐๖ - ๒๕๑๒ ปัจจุบันคืออาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู จาก...หนังสือ "๕๐ ปี สวนดอก บอกผ่านภาพ"
86131.jpg
86131.jpg (26.97 KiB) เปิดดู 5097 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พุธ 22 พ.ค. 2019 7:28 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ป้อมกำแพงดินด้านหลังโรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเจียงใหม่ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๖

86124.jpg
86124.jpg (53.33 KiB) เปิดดู 5427 ครั้ง


หากเดินเข้าไปในบริเวณกำแพงเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน จะเห็นภาพของต้นไม้ คูน้ำ กำแพงเมืองและถนนที่ทอดยาวโอบล้อมเมืองไว้ เป็นภาพที่ก่อให้เกิดความสบายตาและสงบร่มรื่นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในช่วงเวลาเย็นๆ ดูเหมือนว่าจะเป็นภาพที่แตกต่างจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่อายุ ๗๐ – ๘๐ ปี ที่เล่าว่าเมื่อตอนที่ยังเป็นเด็ก บริเวณกำแพงเมืองมีสภาพทรุดโทรม บางส่วนมีหญ้ารกปกคลุม และบางส่วนพังทลาย ถนนริมกำแพงเมืองด้านในเป็นเพียงทางเดินแคบๆ ส่วนถนนริมคูเมืองด้านนอกแคบมากขนาดคนเดินสวนกันได้เท่านั้น เกวียนไม่สามารถเดินผ่านได้ ผู้คนมักไม่กล้าเดินผ่านเพราะเปลี่ยวมาก มีหลักฐานว่าตั้งแต่ปี ๒๕๐๘ เป็นต้นมาทางเทศบาลได้เริ่มบูรณะประตูเมืองและแจ่งเมืองให้ดูเป็นระเบียบดังที่เห็นในปัจจุบัน

ในปัจจุบันกำแพงเมืองเชียงใหม่มี ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกำแพงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยอิฐมีขนาดกว้าง ๙๐๐ วา ยาว ๑,๐๐๐ วา อีกส่วนเป็นกำแพงดินที่โอบล้อมเมืองตั้งแต่บริเวณถนนท่าแพใกล้วัดบุพพารามทอดยาวไปจนถึงโรงพยาบาลสวนปรุง

ในบริเวณมุมกำแพงเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคนเมืองเรียกว่า แจ่ง แต่ละแจ่งมีชื่อเรียกดังนี้ คือ แจ่งหัวรินที่ถนนห้วยแก้วตรงกันข้ามกับโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม แจ่งศรีภูมิตรงข้ามวัดชัยศรีภูมิ วัดนี้เดิมชื่อวัดพันตาเกิ๋น เนื่องจากมีเรื่องเล่าว่าคูเมืองตรงนี้ลึกมาก ต้องใช้บันไดไม้ไผ่ยาวถึง ๑,๐๐๐ ข้อ จึงจะสามารถหยั่งถึงพื้นได้ คนเมืองเรียกบันไดไม้ไผ่ว่าเกิ๋น จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดพันตาเกิ๋น แจ่งขะต๊ำ ใกล้ๆ กับวัดพวกช้าง ขะต๊ำ” หมายถึงเครื่องมือจับปลาประเภทหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมบริเวณนี้ปลาชุกชุม ผู้คนมักจะมาดักปลาโดยใช้ ขะต๊ำ” ในบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่าแจ่งขะต๊ำ แจ่งกู่เฮืองตรงกันข้ามโรงพยาบาลสวนปรุง

กำแพงเมืองแต่ละด้านจากแจ่งสู่แจ่ง เจาะช่องประตูเป็นทางเข้าออกเมืองดังนี้ จากแจ่งหัวรินถึงแจ่งศรีภูมิมีประตูช้างเผือก จากแจ่งศรีภูมิถึงแจ่งขะต๊ำมีสองประตูคือ ประตูช้างม่อยและประตูท่าแพ จากแจ่งขะต๊ำถึงแจ่งกู่เฮือง มีสองประตูคือ ประตูเชียงใหม่และประตูสวนปรุง และจากแจ่งกู่เฮืองถึงแจ่งหัวรินมีประตูสวนดอก บริเวณประตูทั้ง ๖ ประตู มีจารึกลงยันต์และคาถาบนศิลาจารึกติดไว้ที่ทางเข้าออกประตู แต่ที่ประตูช้างม่อยหายไป ในขณะที่บางแห่งได้ทำคัดลอกขึ้นใหม่ เช่นที่ประตูสวนปรุงและประตูสวนดอก เป็นต้น
ทั้งด้านในและด้านนอกกำแพงเมืองแต่ละด้านมีถนนวิ่งผ่านโดยรอบ แต่ละถนนมีชื่อต่างกันดังนี้ จากแจ่งหัวรินถึงแจ่งศรีภูมิด้านในกำแพงเมือง เป็นถนนศรีภูมิ ด้านนอกเป็นถนนมณีนพรัตน์ จากแจ่งศรีภูมิถึงแจ่งขะต๊ำด้านในกำแพงเมือง เป็นถนนมูลเมือง ด้านนอกจากแจ่งศรีภูมิถึงประตูท่าแพ เป็นถนนชัยภูมิ จากประตูท่าแพถึงแจ่งขะต๊ำเป็นถนนคชสาร จากแจ่งขะต๊ำถึงแจ่งกู่เฮืองด้านในกำแพงเมือง เป็นถนนบำรุงบุรี ด้านนอกจากแจ่งขะต๊ำถึงประตูเชียงใหม่เป็นถนนราชเชียงแสน จากประตูเชียงใหม่ถึงแจ่งกู่เฮืองเป็นถนนช่างหล่อ และจากแจ่งกู่เฮืองถึงแจ่งหัวรินด้านในเป็นถนนอารักษ์ ด้านนอกเป็นถนนบุญเรืองฤทธิ์

ปรากฏหลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า กำแพงเมือง คูเมือง และประตูเมือง สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองเชียงใหม่ แต่มีการบูรณะซ่อมแซมต่อมาอีกหลายสมัย

เมื่อพญามังรายโปรดให้สร้างเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา พระองค์โปรดให้สร้างเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๐๐ วา ยาว ๑,๐๐๐ วา และโปรดให้ขุดคูรอบเวียง เข้าใจว่ากำแพงเมืองในสมัยนี้ยังเป็นกำแพงที่ทำด้วยดิน เนื่องจากการสร้างกำแพงด้วยอิฐนั้นมีหลักฐานว่า สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว ที่พระองค์โปรดให้ ปั้นดินจักก่อเมฆเวียงเชียงใหม่ และ ในสมัยพระเจ้ากาวิละ เมื่อพระองค์กลับมาซ่อมแซมเมืองเชียงใหม่ ทรงโปรดให้...สร้างรั้วแปลงเวียงก่อเมกปราการ กำแพงเชิงเทิน หอป้อมบานประตูหื้อแน่นหนา มั่นคง ขุดร่องคือเอาน้ำเข้า เพื่อให้เป็นที่ขามแข็งทนทานแก่ข้าศึก...

สำหรับประตูเมืองเชียงใหม่นั้น เมื่อแรกสร้างเมืองเชียงใหม่ พญามังรายทรงมีดำริที่จะ ... แปงประตูห้าแห่ง... ซึ่งไม่พบหลักฐานว่าในสมัยพระองค์ได้มีการสร้างประตูเสร็จทั้งห้าแห่งหรือไม่ เนื่องจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่า ในสมัยพระเจ้าติโลกราช เชียงใหม่มีประตูเมือง ๖ประตู ซึ่งประตู ๒ แห่งได้สร้างในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนและพระเจ้าติโลกราชตามลำดับ

ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนโปรดให้สร้างประตูสวนแหเพื่อให้ความสะดวกแก่พระราชมารดาในการเสด็จไปควบคุมการก่อสร้างองค์เจดีย์หลวง ซึ่งในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมาเจดีย์องค์นี้สร้างยังไม่แล้วเสร็จ ที่ต้องเจาะประตูเพิ่มเพราะพระราชมารดาประทับอยู่ที่บ้านสวนแหด้านนอกกำแพงเมือง ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่สวนปรุงในปัจจุบัน

ในสมัยพระเจ้าติโลกราชเมื่อพระองค์โปรดให้สร้างที่ประทับแห่งใหม่ ในบริเวณใกล้กับแจ่งศรีภูมิ จึงโปรดให้สร้างประตูศรีภูมิขึ้นอีกหนึ่งประตู เพื่อความสะดวกในการเดินทาง

คนโบราณเชื่อว่าบริเวณประตูและแจ่งต่างๆ เป็นที่อยู่ของเทวดาอารักษ์ที่คอยดูแลรักษาเมืองและผู้คนให้มีความสุขและให้บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ เทวดาอารักษ์เหล่านี้เปรียบเสมือนศรีและขวัญของเมือง ชาวเมืองต้องทำพิธีบูชาผีและอารักษ์เมืองทุกปี และในทางกลับกันหากต้องการทำลายเมือง วิธีหนึ่งคือการทำลายศรีและขวัญเมือง ด้วยการทำขึดบริเวณประตูเมือง ซึ่งเป็นที่สิงสถิตย์ของเทวดาอารักษ์เมือง เหมือนเช่นในสมัยพระเจ้าติโลกราช ทางอาณาจักรอยุธยาได้ส่งคนมาทำลายศรีและขวัญเมืองด้วยการทำคุณไสยนำไหใส่ยา (ของที่ไม่เป็นมงคล) ไปฝังไว้กลางเมืองและบริเวณประตูเมืองทั้งหกแห่ง ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายภายในเมือง จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าติโลกราชทรงทราบและโปรดให้แก้อาถรรพ์นำไหออกไปเผา ทำให้เชียงใหม่หมดเคราะห์ร้าย และค่อยๆ ดีตามลำดับ

อาจารย์มณี พยอมยงค์กล่าวถึง เทวดาอารักษ์ที่สิงสถิตย์อยู่ที่ประตูเมืองไว้ดังนี้ เทวบุตร สุรักขิโต รักษาประตูช้างเผือกและประตูท่าแพตะวันออก เทวบุตรไชยภุมโม รักษาประตูเชียงใหม่และประตูเมืองด้านใต้ เทวบุตรสุรขาโต รักษาประตูสวนดอกด้านทิศตะวันตก เทวบุตรคันธรักขิโตรักษาประตูช้างเผือกด้านทิศเหนือ

สำหรับบริเวณแจ่งต่างๆ มีศาลประจำแจ่ง ซึ่งเป็นที่สิงสถิตย์ของผีอารักษ์เมือง ศาลประจำแจ่งที่สำคัญที่สุดคือ ศาลประจำแจ่งศรีภูมิ เพราะเป็นบริเวณที่ทำพิธีเซ่นหรือเลี้ยง ผีเจ้าหลวงคำแดง ซึ่งเป็นอารักษ์เมืองที่มีอิทธิพลสูงสุด สูงกว่าผีตนใดในเชียงใน มีสถานะเป็นผีเจ้านาย โดยปกติผีเจ้าหลวงคำแดงจะสถิตย์อยู่ที่ดอยเชียงดาว

ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย



แจ่งหัวลิน เชียงใหม่ (สมัยนั้นยังสะกดว่า "หัวริน") ปกคลุมด้วยวัชพืช ประมาณ พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๒๕
จาก...วารสาร โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ฉบับประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕
86520.jpg
86520.jpg (38.66 KiB) เปิดดู 5427 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พุธ 22 พ.ค. 2019 7:34 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ภาพเก่าแก่ของสถูปวัดเจ็ดยอด มหาโพธาราม จังหวัดเจียงใหม่ ไม่รู้ พ.ศ.
ที่มา : เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น
86126.jpg
86126.jpg (37.89 KiB) เปิดดู 5427 ครั้ง


ภาพวัดเจ็ดยอด จังหวัดเจียงใหม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ ที่มีข้าราชการจากบางกอกมาสำรวจและถ่ายภาพไว้ กองดินสูงจนถึงองค์เทวดาสูงกว่า ๒ เมตร
ภาพ : สุรเจตน์ เนื่องอัมพร
86128.jpg
86128.jpg (60.21 KiB) เปิดดู 5427 ครั้ง