หน้า 15 จากทั้งหมด 22

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: อังคาร 16 ก.ค. 2019 2:30 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ร้านถ่ายรูป นายไซโตะ ในละครกลิ่นกาสะลอง
เมื่อคืนมีฉากหมอทรัพย์ กาสะลอง และคำเกี๋ยงถ่ายรูปในร้านถ่ายรูปของช่างภาพชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นร้านถ่ายรูปแห่งแรกของเชียงใหม่ ชาวญี่ปุ่นในละครชื่อ ไซโตะ ส่วนภาพถ่ายระบุว่าถ่ายเมื่อเวลา ๐๘.๑๐ น. วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๗ ไซโตะในเรื่องสนิทสนมกับหมอคอร์ต หมอมิชชันนารีประจำโรงพยาบาลแม็คคอร์มิค หมอคอร์ตมีตัวตนจริง เขาคือ นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” (Dr.Edwin Charles Cort) ซึ่งเดินทางมายังเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ เขาทำงานประจำอยู่โรงพยาบาลแมคคอร์มิคจนเกษียณอายุจึงพาครอบครัวกลับไปพำนักอยู่สหรัฐอเมริกา

60000182_605139676647675_7827946854396613192_n.jpg
60000182_605139676647675_7827946854396613192_n.jpg (20.92 KiB) เปิดดู 5364 ครั้ง


ข้อมูลส่วนนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติมคือ อันที่จริงกิจการถ่ายรูปในเชียงใหม่ครั้งแรกเป็นของ หลวงอนุสารสุนทร ที่ได้เรียนรู้การถ่ายภาพจากพระยาเจริญราชไมตรี (จำนง อมาตยกุล) แล้ว ท่านได้เปิดแผนกถ่ายรูปในร้านชั่วย่งเส็ง แผนกถ่ายรูปของร้านชั่วย่งเส็งจึงถือเป็นร้านถ่ายรูปร้านแรกของเชียงใหม่ และหลวงอนุสารสุนทรก็เป็นนักถ่ายรูปอาชีพคนแรกของเชียงใหม่ในเวลานั้นด้วย

นายเอ็ม ทานากะ หรือที่คนเชียงใหม่มักจะเรียกว่า นายเอ็ม ทานาคา (Mr.Morinosuke Tanaka) เป็นนักถ่ายภาพอีกคนซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการถ่ายภาพในเชียงใหม่ นายเอ็ม ทานากะ เป็นชาวเมืองคาโกชิมา เมืองชายทะเลทางตอนใต้ของเกาะญี่ปุ่น เขาได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๓ โดยเข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ที่ร้านถ่ายรูปที่มีชื่อเสียงที่สุดของกรุงเทพฯชื่อร้านโรเบิร์ต เลนส์ ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง มิสเตอร์ เอ็ม.ทานากะ ทำงานอยู่ที่ร้านโรเบิร์ต เลนส์ ๓ ปี ก็ได้เดินทางไปเปิดร้านถ่ายรูปที่เมืองลำปางตามคำชักชวนของเจ้าผู้ครองนครลำปาง

นายเอ็ม.ทานากะ เปิดร้านถ่ายรูปในเมืองลำปางชื่อร้านทานากะถ่ายรูป อยู่ย่านกลางเมือง กิจการร้านถ่ายรูปของนายทานากะดีพอสมควร แต่ลำปางเป็นเมืองเล็ก เมื่อนายแพทย์ชาวอเมริกันชื่อ ดร.คอร์ต ซึ่งคุ้นเคยกับนายทานากะเป็นอย่างดีได้ชักชวนให้ไปเปิดร้านถ่ายรูปที่เชียงใหม่ โดยแนะนำให้เปิดที่บ้านวัดเกตุซึ่งเป็นย่านชุมชนการค้าของเมืองเชียงใหม่สมัยนั้น

นายเอ็ม ทานากะ จึงตกลงมาเปิดกิจการที่เชียงใหม่ และได้แต่งงานกับนางสาวทองดี ภิญโญ ชาวลำพูน มีลูกสาว ๑ คนชื่อ คำปุ่น หลังจากแต่งงาน เขาจึงได้ขยายกิจการ โดยไปซื้อที่ดินข้างโบสถ์คริสตจักรที่๑ เชียงใหม่ ริมแม่น้ำปิงเปิดร้านถ่ายรูป ชื่อ "ร้านเชียงใหม่ถ่ายรูป" ซึ่งเป็นโรงงานที่มีกระจกถ่ายรูป สามารถถ่ายรูปตอนเช้าได้โดยไม่ต้องใช้แสงไฟฟ้า นาย เอ็ม.ทานากะ เสียชีวิตเมื่อวัย ๘๘ ปีด้วยโรคชรา นางคำปุ่น และนายฮาตาโน (Mr. Shu Hatano) ลูกเขย
จึงได้สืบทอดกิจการร้านถ่ายรูปต่อ

123084.jpg
123084.jpg (52.79 KiB) เปิดดู 5364 ครั้ง


อ้างอิง บทสัมภาษณ์นายฮาตาโน ในหนังสือ เพื่อนเดินทาง ฉบับปีที่ ๔,เชียงใหม่นิวส์


นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” (Dr.Edwin Charles Cort)
123083.jpg
123083.jpg (91.73 KiB) เปิดดู 5364 ครั้ง


ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ “นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” (Dr.Edwin Charles Cort) แพทย์มิชชั่นนารีผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” ได้เดินทางมาประจำที่โรงพยาบาลแห่งนี้ และนายแพทย์แมคเคนได้แยกไปสร้าง “นิคมโรคเรื้อนแมคเคน” (McKean Leprosy Asylum) ที่บริเวณเกาะกลาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อนซึ่งมีเป็นจำนวนมาก

ในเวลานั้น “นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” หรือที่ชาวบ้านเรียกขานว่า “พ่อเลี้ยงคอร์ต” ได้ทำงานพันธกิจการบำบัดรักษาโดยมีใจรักในการบริการ ทุ่มเทในการรักษาอย่างมาก จึงเป็นที่รักที่เคารพยกย่องนับถือของทุกคนในแถบนี้เป็นอย่างยิ่ง ทำให้มีผู้มารับการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก ทว่าโรงพยาบาลมีสถานที่ไม่เพียงพอ

หลังจาก “นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” เดินทางกลับไปพักผ่อนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้มีโอกาสได้พบกับ “นางไซรัส แมคคอร์มิค” (Mrs.Cyrus McCormick) มหาเศรษฐีนีในวงการอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ซึ่งได้บริจาคเงินจำนวน ๓๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ “นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” จึงก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ขึ้นกลางผืนนาทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” ในปัจจุบัน และให้ชื่อโรงพยาบาลที่สร้างใหม่นี้ว่า “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” (McCormick Hospital) เพื่อเป็นเกียรติแก่ “นางไซรัส แมคคอร์มิค” โดย “พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงอดิศรอุดมเดช” เป็นผู้ทำพิธีวางศิลาหัวมุม (Corner Stone) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ ๔ ปีนับว่าเป็นโรงพยาบาลที่ทันสมัยที่สุด และมีอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัยจากสหรัฐอเมริกา เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ซึ่งมีจำนวนเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนได้ ๑๐๐ เตียง

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปี พ.ศ.๒๔๘๕ ถึง พ.ศ.๒๔๘๙ รัฐบาลไทยได้เข้าควบคุมกิจการของโรงพยาบาลแมคคอร์มิค และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลเสรีเริงฤทธิ์” ใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม เมื่อสงครามโลกสงบลง รัฐบาลไทยจึงส่งมอบโรงพยาบาลคืนให้กับคณะมิชชั่นนารีดำเนินการต่อไปเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ และใช้ชื่อ “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” ดังเดิม

เนื่องจากทำงานอยู่ในแผ่นดินล้านนาเป็นเวลานานกว่า ๔๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ “นายแพทย์ อี. ซี. คอร์ต” พร้อมทั้งครอบครัว จึงเกษียณอายุการทำงาน และเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกา “คณะมิชชั่นนารีเพรสไบทีเรียน” จึงมอบ “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” และกิจการทั้งหมดให้แก่ “มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย” เป็นผู้ดูแลต่อนับแต่นั้นเป็นต้นมา “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” จึงอยู่ภายใต้การรับผิดชอบของคนไทยมาจนปัจจุบัน

ที่มา : http://www.mccormick.in.th

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: อังคาร 16 ก.ค. 2019 3:06 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
124060_resize.jpg
124060_resize.jpg (70.01 KiB) เปิดดู 5361 ครั้ง


ขุนอุปติพงษ์ หรือ นายสาตร์ อุปติพงษ์ เป็นชาวกรุงเทพฯ เดินทางมาเชียงใหม่ในปลายๆสมัยรัชกาลที่ ๕ ต่อมาในสมัย ร.๖ พ.ศ.๒๔๖๗ ขุนอุปติพงษ์ ได้รับตำแหน่งเป็น กรมการพิเศษจังหวัดเชียงใหม่ ท่านเป็นคนที่ทำคุณประโยชน์ให้เชียงใหม่หลายประการ ยกตัวอย่าง เช่น เป็นแกนนำในการนำศรัทธาชาวบ้านร่วมกันสร้างหอพระไตรปิฎก วัดทรายมูลเมือง ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ลวดลายบนหอไตรนั้น เป็นการสร้างโดยช่างชาวไทย และชาวพม่าช่วยกันทำขึ้นมา เป็นลวดลายที่มีเอกลักษณ์ งดงาม และหาได้ยากในยุคสมัยปัจจุบัน

ขุนอุปติพงษ์ เป็นเจ้าของโรงพิมพ์ และเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในจังหวัดเชียงใหม่ โรงพิมพ์ตั้งอยู่ด้านหน้าโรงแรมเพชรงาม ถนนเจริญประเทศ และในพ.ศ.๒๔๖๖ ได้สร้างโรงภาพยนตร์แห่งแรกในเชียงใหม่ ชื่อว่าโรงภาพยนตร์ “พัฒนากร” ตั้งอยู่ถนนช้างคลาน บริเวณใกล้ไนท์บาซาร์ในปัจจุบัน โรงภาพยนตร์เป็นอาคารไม้หลังคามุงสังกะสี โดยภาพยนตร์ที่ฉายในยุคนั้นเป็น “หนังเงียบ”

ขุนอุปติพงษ์ เป็นสามีของ คุณยายสีลา อุปติพงษ์ ที่เป็นข่าวในปี ๒๕๕๔ ว่าเป็นเศรษฐีนีที่ขายบ้าน ที่ดิน และทรัพย์สิน นำเงินไปทำบุญจนหมดตัว หลังจากนั้นคุณยายจึงไปอาศัยอยู่ในวัด ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่ก็ดูแลอย่างดี เนื่องจากท่านและสามีเป็นผู้มีคุณูปการต่อจังหวัดมานาน จนในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ คุณยายได้เสียชีวิตลงอย่างสงบในวัย ๙๖ ปี


อุบาทว์เมืองเชียงใหม่

00-DSCN8795.jpg
00-DSCN8795.jpg (77.71 KiB) เปิดดู 5363 ครั้ง


พ.ศ.๒๐๗๔ ไฟไหม้คุ้มหลวง

พ.ศ.๒๐๗๕ ไฟไหม้ชุมชนท่าแพเสียคนและของทั้งหลายมากนัก

พ.ศ.๒๐๗๖ เห็นอุบาทว์ผีพุ่งไต้ในอากาศ ทั้วทิศทั้งมวล

พ.ศ.๒๐๙๕ พญาเมกุฎ เสด็จไปทำบุญที่พระมหาธาตุลำปาง เห็นอุบาทว์ ๒ เรื่อง

๑.บนท้องฟ้าปรากฎนาคทัพหัวไปตะวันตก หางไปตะวันออก หลังขึ้นทางเหนือ ท้องลงทางใต้ไป ๗ วากว่า

๒.ปรากฏดาวหาง หางเป็นควัน ทวนกระแส นานกว่า ๑ เดือน

แล้ว บุเรงนองแห่งราชวงศ์ตองอูมายึดครองล้านนาในปี ๒๑๐๑


โรงเรียนชายวังสิงห์คำ หรือ Chiangmai Boy's School ต้นกำเนิดของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

chiangmai-boy-school.jpg
chiangmai-boy-school.jpg (17.72 KiB) เปิดดู 5361 ครั้ง


ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. ๒๔๓๐ โดยใช้บริเวณวัดร้างวังสิงห์คำ เป็นที่ตั้งของโรงเรียน โรงเรียนนี้ต่อมาเกิดไฟไหม้ จึงได้มีการก่อตั้งโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ในปี พ.ศ.๒๔๔๙

ภาพ : "ประวัติศาสตร์ล้านนา" ของ"ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล"

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พุธ 17 ก.ค. 2019 8:03 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเรียนโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๖๖ - ๒๔๖๗
เด็กนักเรียนในภาพคือ คุณพ่อและคุณอาของ คุณ Sornsak Ott Ekkarattana ผู้นำภาพนี้มาให้ชมนั่นเอง
ผู้ถ่ายภาพ : นายเอ็ม ทานาคา
ปริ๊นส์๒๔๖๔_resize.jpg
ปริ๊นส์๒๔๖๔_resize.jpg (65.59 KiB) เปิดดู 5300 ครั้ง

ภาพ : Sornsak Ott Ekkarattana

เด็กๆในช่วงปี พ.ศ.๒๔๖๕ - ๒๔๗๐ ถ่ายภาพในร้านทานาคา ชุดของเด็กชายที่ยืนด้านซ้ายสุดของภาพ ท่อนบนจะคล้ายๆเครื่องแบบลูกเสือในสมัยนั้น มีผ้าผูกคอด้วย แต่ไม่น่าจะใช่ คิดว่าเป็นแฟชั่นการแต่งกายให้คล้ายเครื่องแบบมากกว่า เนื่องจากชุดของทั้งสามเป็นชุดที่ทางร้านนำมาแต่งให้
ผู้ถ่ายภาพ : นายเอ็ม ทานาคา
เด็กน้อยประมาณปี ๒๔๖๕ - ๒๔๗๐_resize.jpg
เด็กน้อยประมาณปี ๒๔๖๕ - ๒๔๗๐_resize.jpg (73.5 KiB) เปิดดู 5300 ครั้ง

ภาพ : Sirisavapa Tiasiri

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: อังคาร 06 ส.ค. 2019 11:52 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๐ มองเห็นประตูวัดพระสิงห์วรมหาวิหารโล่งๆ ถนนฝั่งตรงข้ามยังไม่มีตึกแถว ทั่วบริเวณครึ้มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ตั้งแต่หน้าวัดไปถึงวัดศรีเกิด วัดทุงยู
ที่มา : เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น
136113.jpg
136113.jpg (31.89 KiB) เปิดดู 5248 ครั้ง


ครูบาศรีวิชัยรับนิมนต์เจ้าแก้วนวรัฐมาบูรณะวัดพระสิงห์ จังหวัดเจียงใหม่ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๗
ที่มา : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
136096.jpg
136096.jpg (28.47 KiB) เปิดดู 5248 ครั้ง


วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๒๔
ที่มา : เหนือฟ้า ปัญญาดี
136103.jpg
136103.jpg (15.71 KiB) เปิดดู 5248 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พุธ 07 ส.ค. 2019 12:02 am
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเรียนผดุงครรภ์และอนามัยออกเยี่ยมบ้าน รูปถ่ายที่หน้าบ้านหมอหลาด พ.ศ.๒๕๐๑
บ้านเลขที่๑๔๖ - ๑๔๗ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยบ้านหลังนี้ติดกับถนนสายดอยสะเก็ด-สันกำแพง เชียงใหม่ ซึ่งในอดีตถนนสายนี้ทุรกันดารอย่างมาก
ที่มา : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
136098.jpg
136098.jpg (30.3 KiB) เปิดดู 5248 ครั้ง


โรงเรียนกสิกรรม อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๒
ที่มา : หนังสือ "สมุดภาพ กรมหมื่นพิทยลาภฯ ตอนตรวจราชการกระทรวงธรรมการ" ของ ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์
136105.jpg
136105.jpg (16.21 KiB) เปิดดู 5248 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พุธ 07 ส.ค. 2019 12:05 am
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ศาลาธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันเปิดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๘
จากหนังสือ"พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในปาวิเศษ" ของ ร.ศ.สมโชติ อ๋องสกุล
ที่มา : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
136107.jpg
136107.jpg (15.72 KiB) เปิดดู 5248 ครั้ง


ตากับหลาน
"รูปสุดท้ายที่ได้ถ่ายพ่อเจ้า ๒๘/๑๒/๘๑" เจ้าแก้วนวรัฐถ่ายภาพกับเจ้าพงษ์กาวิล ณ เชียงใหม่ หลานชาย เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๒ (ปรับเป็นศักราชแบบปัจจุบัน) ก่อนที่เจ้าแก้วนวรัฐจะถึงแก่พิราลัย ๒ เดือนเศษ
ที่มา : Nheurfarr Punyadee
136109.jpg
136109.jpg (34.1 KiB) เปิดดู 5248 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พุธ 07 ส.ค. 2019 12:12 am
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
น.ส.แน่งน้อย บริเวณถนนราชวงศ์ แถวนครพิงค์ ถ่ายโดยนักท่องเที่ยวจากเมืองกรุงในช่วงสงกรานต์ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๘
ที่มา : ห้องวิจัยประวัติศาสตร์
136111.jpg
136111.jpg (33.52 KiB) เปิดดู 5248 ครั้ง


“ยวน” มาจากไหน ใครคือ “ไทยวน”

ไตยวน ไทยยวน ยวน ยน โยน โยนก คนเมือง ไทยเหนือ ไทยพายัพ ไทยล้านนา ล้วนเป็นชื่อเรียกชาติพันธุ์ไทที่อยู่ในดินแดนล้านนามาแต่โบราณ คำว่า “ยวน” พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) ได้อธิบายไว้ในพงศาวดารโยนกว่า เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “ยุนซาง” หรือ “ฮวนชาน” ในภาษาจีนแปลว่า กลุ่มชนอื่นที่อาศัยอยู่ทางทิศใต้ ซึ่งหมายถึง ชาน หรือสยาม

คำว่า “ไทยวน” จึงหมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มหนึ่งที่พูดภาษาตระกูลไท-กะได หรือที่รู้จักในนามล้านนาไทย / ลาว / ไทยยวน / โยนก เป็นกลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในดินแดนตอนใต้ของประเทศจีนมาแต่โบราณ หรือที่ปรากฏชื่อในเอกสารโบราณว่า อาณาจักรโยนกบ้าง อาณาจักรพุกามบ้าง อาณาจักรล้านนาบ้าง

หรือที่คนบางกลุ่มเรียกชื่อว่า “ลาวพุงดำ” เพราะนิยมสักยันต์ตามร่างกาย

ตามตำนานสิงหนวัติ กล่าวว่า สิงหนวัติกุมาร โอรสของท้าวเทวกาล ซึ่งปกครองบ้านเมืองทางยูนนานได้นำผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ คือเชียงราย เชียงแสนในปัจจุบัน และตั้งชื่อเมืองว่า โยนกนคร หรือ โยนกนาคนคร คนทั่วไปเรียกเมืองนี้ว่าโยนก หรือยูน หรือยวน ไทยวนหรือคนยวน

ในปี พ.ศ.๒๓๔๗ ซึ่งขณะนั้นเชียงแสนตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงเทพหริรักษ์และพระยายมราช พร้อมด้วยกองทัพลาว ยกทัพไปตีเมืองเชียงแสน เมื่อตีเมืองเชียงแสนได้แล้วจึงให้รื้อกำแพงเมือง รื้อบ้านเมือง และรวบรวมผู้คนชาวเชียงแสนโดยแบ่งเป็น ๕ ส่วน ส่วนหนึ่งให้ไปอยู่เชียงใหม่ ส่วนหนึ่งให้ไปอยู่ที่ลำปาง ส่วนหนึ่งอยู่ที่น่าน ส่วนหนึ่งอยู่ที่เวียงจันทน์ และอีกส่วนหนึ่งให้เดินทางมายังภาคกลางโดยให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราชบุรี สระบุรี

ชาวไทยวนมีภาษาพูดภาษาเขียนเป็นเอกลักษณ์ของตน อักษรที่ใช้เขียน เรียก “อักษรธัมม์ล้านนา” เรื่องที่บันทึกในสมุดข่อยหรือสมุดไทยมักจะเป็นตำราหมอดู ตำราสมุนไพร เวทมนตร์คาถาต่างๆ สำหรับที่จารลงในใบลานจะเป็นพระธรรมเทศนาเป็นส่วนใหญ่ ด้วยชาวไทยวนนิยมการถวายคัมภีร์เทศน์ เพราะเชื่อว่าได้บุญมาก เช่น เรื่องเวสสันดรชาดก ยอดพระไตรปิฎก

ชาวไทยวนมีภาษาพูดใกล้เคียงกับไทลื้อและไทเขิน มีการร้องเพลง เรียกว่า “จ๊อย” เป็นการพูดที่เป็นทำนอง สื่อสารเพื่อความบันเทิงแก่ผู้ฟัง เป็นค่าวกลอนของภาคเหนือ ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ ไม่มีเวที สะดวกตรงไหนยืนร้องตรงนั้น เนื้อหาในการจ๊อยเกี่ยวกับนิทานชาดก คำสอน ประวัติ หรือการเกี้ยวพาราสี อาจจะเป็นจ๊อยคนเดียว หรือจ๊อยโต้ตอบกันก็ได้

ข้อมูล มติชน สุดสัปดาห์
137643.jpg
137643.jpg (62.17 KiB) เปิดดู 5248 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พุธ 07 ส.ค. 2019 9:55 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
วิหารวัดพระธาตุศรีจอมทอง จังหวัดเจียงใหม่ พ.ศ.๒๔๗๐
ที่มา : ภาพอดีตทั่วไทย
138352.jpg
138352.jpg (24.64 KiB) เปิดดู 5244 ครั้ง


สะพานนวรัฐ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๕
ที่มา : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
138348.jpg
138348.jpg (24.83 KiB) เปิดดู 5244 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พุธ 07 ส.ค. 2019 9:58 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
จ๊างปู๊เลื้อย
138346.jpg
138346.jpg (33.57 KiB) เปิดดู 5244 ครั้ง


ช้างพลายเชือกนี้เป็นช้างของพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้านครเชียงใหม่ ชาวบ้านเรียกชื่อกันว่า “ปู๊เลี้อย” เหตุที่มีงาเลื้อยผิดปรกติ จนทำความลำบากให้แก่ตัวมันเอง เวลาเดินผ่านคันนาทีมีคัน เพราะต้องคอยยกงาอันหนักข้ามคันนาด้วยความลำบาก

มีเรื่องเล่าสืบๆ กันมาว่า ช้างเชือกนี้เริ่มมีงายาวผิดปรกติตั้งแต่อายุได้ ๓ ขวบ คือมีงายาวตั้ง ๓ ศอก (ตามปรกติช้างอายุ ๓ ขวบเพิ่งจะมีงาโผล่ออกเหนือปากเพียงเล็กน้อย) งานั้นยาวขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่ทำประโยชน์อะไรให้แก่ปู๊เลื้อยเลย นอกจากจะทำให้ผู้ที่ได้เห็นเกิดความแปลกประหลาดเท่านั้น

ปู๊เลื้อยตายประมาณ ๕๐ ปีมาแล้ว(ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๐) ภาพนี้ถ่ายก่อนหน้าช้างตายที่ประตูช้างเผือกเพียงเล็กน้อย นัยว่าเมื่อตายมีอายุ ๑๔๐ ปี ปัจจุบันงาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่กรุงเทพฯ

ที่มา: หนังสือพิมพ์ “คนเมือง”; คนเมือง ปีที่ ๑ สัปดาห์ที่ ๓๒ ประจำวันศุกร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖
ภาพและข้อมูล : เหนือฟ้า ปัญญาดี


คุ้มหลวงไม้สักริมน้ำปิงของเจ้าแก้วนวรัฐ เชียงใหม่องค์ที่ ๙ องค์สุดท้ายแห่งล้านนา

350px-คุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ.jpg
350px-คุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ.jpg (24.99 KiB) เปิดดู 5238 ครั้ง


เรือนไม้สักหลังนี้เดิมตั้งอยู่บนถนนวิชยานนท์ บริเวณริมน้ำแม่ปิงฝั่งตะวันตก คาดว่าน่าจะสร้างเมื่อประมาณพ.ศ.๒๔๒๓ – ๒๔๒๕ โดยนายแพทย์มาเรียน อลองโซ ชีค (Dr.Marion Alphonso Cheek M.D.) หรือ “หมอชี้ค” หมอหนุ่มในคณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน (อ้างอิงจาก หนังสือ สีโหม้คนเชียงใหม่คนแรกที่ไปอเมริกา “ใบบอกสีโหม่” เป็นตำราเรียนล้านนายุคร้อยปี) ต่อมาพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงซื้อเรือนไม้หลังนี้ประทานให้แก่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ผู้เป็นพระเชษฐา

คุ้มแห่งนี้มีการจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นคุ้มใหม่เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๘ เมื่อเจ้าแก้วนวรัฐถึงพิราลัยในปี พ.ศ.๒๔๘๒ คุ้มหลวงริมปิงถูกทิ้งให้รกร้างจนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๘ จากนั้นนายชู โอสถาพันธุ์ (เต๊กชอ แซ่โอ้ว) พ่อค้าชาวจีนได้ซื้อในราคา ๑๘๐,๐๐๐ บาท

141150.jpg
141150.jpg (79.03 KiB) เปิดดู 5233 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พุธ 14 ส.ค. 2019 10:36 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ภาพเก่าคุ้มท่าเจดีย์กิ่ว (ไม่ทราบ พ.ศ.) ปัจจุบัน คือ กงสุลอเมริกัน
141149.jpg
141149.jpg (11.58 KiB) เปิดดู 5233 ครั้ง


งานกีฬาสีของคณะแพทยศาสตร์ มช. ราวๆ พ.ศ.๒๕๑๕ สาวงามที่ถือป้าย "อนุปริญญาพยาบาล" คือ คุณแม่บัวจันทร์ ปัญโญใหญ่ สาวลำพูน ในรูปนั้นท่านยังเป็นสาวนักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญา ซึ่งหลักสูตรนี้ปิดไปสี่สิบกว่าปีแล้ว
141155.jpg
141155.jpg (24.35 KiB) เปิดดู 5233 ครั้ง

ภาพ : แม่บัวจันทร์ ปัญโญใหญ่
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พุธ 14 ส.ค. 2019 10:40 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
แม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ ถ่ายเมื่อพ.ศ.๒๕๑๕ สภาพของแม่น้ำปิงฝั่งด้านตะวันออก ในปีนั้นแห้งขอด ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำปิง ได้ทำบันไดและทางลงมายังท่าน้ำ อีกทั้งยังสามารถลงมาปลูกเพิงพักกัน หรือบางคนก็ปลูกผักสวนครัวเล็กๆน้อยๆบนหาดทราย ต้นไม้ที่ปลูกริมฝั่งซ้ายมือส่วนมากจะเป็นต้นลำไย ยอดเจดีย์ที่เห็นคือวัดเกตุการาม
วัดเดตุ2515.jpg
วัดเดตุ2515.jpg (21.96 KiB) เปิดดู 4598 ครั้ง



บันไดนาคทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเจียงใหม่ ถ่ายเมื่อพ.ศ.๒๔๙๗
141163.jpg
141163.jpg (24.36 KiB) เปิดดู 4885 ครั้ง

ภาพ : ภาพเก่าเล่าเรื่อง

โรงหนังศรีนครพิงค์ ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓
ประวัติโรงภาพยนตร์หรือโรงหนังในเมืองเชียงใหม่ เริ่มครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๖ โรงภาพยนตร์แห่งแรกชื่อว่าโรงภาพยนตร์ “พัฒนากร” ตั้งอยู่ถนนช้างคลาน บริเวณใกล้ไนท์บาซาร์ในปัจจุบัน โรงภาพยนตร์เป็นอาคารไม้หลังคามุงสังกะสี เจ้าของ คือ ขุนอุปติพงษ์พิพัฒน์ ชื่อเดิม คือ นายสาร์ต อุปติพงษ์ นักธุรกิจจากกรุงเทพฯ ที่อพยพมาอยู่เมืองเชียงใหม่พร้อมครอบครัว นอกจากทำธุรกิจโรงหนังแล้วยังทำโรงพิมพ์อยู่หน้าโรงแรมเพชรงาม ถนนเจริญประเทศ ผู้ที่เช่าโรงหนังทำหนังมาฉาย ชื่อว่า ขุนพุฒ สมัยแรกค่าเข้าชม ๒๕ สตางค์ , ๕๐ สตางค์ และ ๑ บาท ก่อนหนังฉาย ๑ วัน มีขบวนแห่แตรวงไปทั่วเมือง และประกาศเกี่ยวกับหนังที่จะฉาย หนังฉายประมาณ ๓ ทุ่ม เลิกเที่ยงคืน ภาพยนตร์ยุคแรกไม่มีเสียงพากย์ เมื่อหมดม้วนระหว่างรอเปลี่ยนม้วนหนังจะมีแตรวงบรรเลงคั่นเวลา

หลังจากขุนพุฒ เสียชีวิต โรงหนังพัฒนากรถูกปล่อยร้างระยะหนึ่ง จนประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๗๐ คุณนายลัดดา พันธาภา มาเช่าทำกิจการต่อและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงหนัง “ศรีเวียง” ยุคต่อมาเจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่มาเช่าทำต่อ(คุณป้าซิวเฮียง โจลานันท์,สัมภาษณ์)

โรงหนังแห่งต่อมา คือ “ตงก๊ก” อยู่ถนนท่าแพ ตรงข้ามวัดแสนฝาง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ศรีวิศาล” ระยะต่อมามีผู้เปิดโรงหนังแห่งที่ ๓ ชื่อ “ตงเฮง” อยู่ถนนท่าแพ ต่อมาเลิกกิจการเปลี่ยนเป็น “โรงยาฝิ่น” ภายหลังบริเวณดังกล่าวทำเป็นห้างสรรพสินค้า “ตันตราภัณฑ์” โดยนายธวัช ตันตรานนท์

ส่วนโรงหนัง “ศรีนครพิงค์” นั้น เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง ลงทุนดำเนินการโดย เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ บริเวณโรงหนังเดิมเป็นโรงละครเก่าของเจ้าราชบุตร

บริเวณโรงละครแห่งนี้ อยู่บริเวณคุ้มของเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย อาจเรียกว่าอยู่ด้านท้ายคุ้ม ส่วนด้านหน้าคุ้มอยู่ติดแม่น้ำปิง ซึ่งคุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ นายชู โอสถาพันธุ์หรือเถ้าแก่โอ๊ว ได้ซื้อไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ และสร้างเป็นตลาดนวรัฐ ระหว่างมีมหรสพเปิดตลาดในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้มีคนร้ายปาระเบิดใส่ทำให้เถ้าแก่โอ๊ว เสียชีวิต

เจ้าวงศ์จันทร์ ณ เชียงใหม่(คชเสนี)ธิดาของเจ้าราชบุตร(วงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่) ซึ่งเติบโตที่คุ้มนี้บันทึกเกี่ยวกับโรงละครแห่งนี้ไว้ว่า

“…นักเรียนที่เรียนในคุ้มประมาณ ๗๐ – ๘๐ คน วันเสาร์ วันอาทิตย์ โรงเรียนหยุด เด็กๆละครต้องเล่นละคร วันเสาร์ เวลา ๑๖.๓๐ น. มีแตรวงบรรเลงที่หน้าโรงละคร ซึ่งปลูกสร้างขึ้นอยู่ในบริเวณคุ้มหลวงทิศตะวันตก ข้าพเจ้าเห็นโรงละครสมัยนั้น รู้สึกว่ามันใหญ่โตมโหฬารเหลือเกิน ครั้งเวลา ๑๘.๓๐ น. พิณพาทย์จะโหมโรง ๒๐.๐๐ น. ละครลงมือแสดง เจ้าปู่(เจ้าแก้วนวรัฐ)ท่านมีพร้อมทุกอย่าง เครื่องดนตรี ครูละคร ก็เอาไปจากกรุงเทพฯ มาตอนหลังที่สุดนี้เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ ได้ขอให้เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์(ม.ร.ว.เย็น อิศราเสนา) ส่งครูขึ้นไปทำพิธีครอบละครชุดสุดท้าย เมื่อจะเปิดโรงละครใหม่อีกครั้งหนึ่ง สมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ โรงละครจึงทำเพดานเป็นช่องๆ ทำสะพานยาวไปจดฝาห้อง แลสะพานมีหลายสะพาน ทำห่างกันราว ครึ่งเมตรสำหรับแขวนตะเกียงเจ้าพายุเรียกว่า ตะเกียงวอชิงตัน โดยชักรอกขึ้นไปแขวนไว้ รวม ๔ ดวง เอาฉากเขียนผ้าเป็นรูปเมฆหมอกลงมาข้างตะเกียง…”(หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี,๒๕๔๐)

ชาวเมืองเชียงใหม่ มักผูกพันกับโรงหนัง “ศรีนครพิงค์” มาก ด้วยเหตุผลหลายประการ

เหตุผลหนึ่ง เพราะอยู่ใกล้ตลาด ย่านชุมชน ขณะนั้นภาพยนตร์เป็นสิ่งให้ความบันเทิงมากกว่าสิ่งอื่น

เหตุผลหนึ่ง เพราะหน้าโรงหนังเป็นสถานที่มีอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายชนิด แม้ไม่ได้มาดูหนังก็มากินอาหารได้

อีกเหตุผลหนึ่ง บริเวณหน้าโรงหนังมักมีหนุ่มสาวมาเที่ยวเตร่ดูใบปิดหนัง(ใบโฆษณา) อีกทั้งเป็นที่ที่หนุ่มสาวมักมาพบปะกันที่หน้าโรงหนัง

ผลต่อเนื่องนอกจากหนุ่มสาวได้พบปะกันแล้ว อีกด้านหนึ่ง นักเลงหัวไม้ทั้งหลายก็มาปะปนอยู่ด้วย ดังนั้นการชกต่อยวิวาทมีเรื่องมีราวกันก็มักจะเริ่มต้นกันที่หน้าโรงหนังแห่งนี้

โรงหนังศรีนครพิงค์ ในอดีต ส่งผลดีทำให้ร้านค้าย่านถนนช้างม่อยและถนนราชวงศ์ขายดี จนถึงตั้งตัวได้ ร้านค้าย่านนั้นยืนยันว่าช่วงที่โรงหนังศรีนครพิงค์ ยังเปิดฉายหนัง ผู้คนมากมายสัญจรผ่านไปดูหนัง ทำให้ค้าขายดีมาก จนหนังรอบค่ำเลิกตอน ๓ ทุ่มจึงถึงเวลาปิดร้าน(ต่อมามีการเพิ่มรอบ ๓ ทุ่มครึ่ง)

หน้าโรงหนัง ศรีนครพิงค์ นอกจากมีร้านค้าหลายร้าน ร้านหนึ่งที่อร่อยติดปาก คือ ร้านผัดไทยของป้าบัว อีกร้านหนึ่งคือ ร้านตือคาโคปัจจุบันยังขายที่ถนนช้างม่อยตัดใหม่ นอกจากนี้ยังมีร้านโกหลิ่ม เป็นร้านอาหารฝรั่งผสมอาหารจีน

ร้านหนึ่งคือ ร้านก๋วยเตี๋ยวโกฉั่ง เจ้าของชื่อ นายเตี้ยงเชง แซ่เอง ต่อมามอบให้รุ่นลูกดำเนินการต่อ คือ นายพิชัย แซ่เอง เล่าบรรยากาศหน้าโรงหนังศรีนครพิงค์ขณะนั้น ว่า

“ขายบริเวณหน้าโรงหนังสร้างไม่ถาวร เป็นแผงลอย ใช้ผ้าเต็นท์กันแดดกันฝน เช่าจากคุณนายลัดดาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ผมและน้องๆ มาช่วยขาย ขายก๋วยเตี๋ยวหมู ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ กระเพาะปลา ก๋วยจั๊บ หอยทอด ใกล้ร้านผมมีร้านเย็นตาโฟศรีพิงค์ พี่น้องช่วยกัน ต่อมาแยกครอบครัวไปมีสาขาช้างเผือกและหลัง มช. อีกร้านหนึ่งที่ขายดีคือร้านไอติมศรีฟ้า เจ้าของร้านปัจจุบันเป็นเจ้าของวีระชัยคอร์ด

“ร้านขายตือคาโคก็อร่อยและขายดี เจ้าของชื่อ อึ้มไล้ หลังจากโรงหนังเลิก รุ่นหลานมาเปิดขายที่ถนนช้างม่อยตัดใหม่ นอกจากนี้มีอีกหลายร้าน เช่น ร้านหอยทอด ข้าวเกรียบปากหม้อ ร้านผัดไทย หัวผักกาด ร้านขายขนมไทย ร้านอาแปะขายน้ำเต้าหู้ ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือโกเหลียง ส่วนบนโรงหนังขายขนมขบเคี้ยว หมากฝรั่ง ผลไม้ดอง

“ครอบครัวผมเริ่มจากพ่อแม่มาจากกรุงเทพฯ พ่อ ชื่อ นายเตี้ยงเซง คุ้นเคยกับเฮียโอวตี่มาเริ่มขอพื้นที่ร้านข้าวต้มเฮียโอวตี่ขายหอยทอด ละแวกหน้าโรงหนังสุริวงศ์ ต่อมาทางเทศบาลปรับพื้นที่จึงย้ายมาขายหน้าโรงหนังศรีนครพิงค์ ขณะนั้นมาเช่าห้องแถวของหมอเชย วสุวัต ปัจจุบันคือบริเวณโรงแรมนิวมิตรภาพถนนราชวงศ์ ขณะนั้นมีบ้านไม้ใหญ่ ๒ หลัง หลังหนึ่งคุณนายเชื้อ พักอยู่กับครอบครัว อีกหลังหนึ่งของหมอเชย หน้าบ้านมีสนามแบดมินตัน ตอนนั้นผมยังเด็กอยู่ จำได้ว่าห้องแถวอยู่ด้านในของถนนราชวงศ์ มีหลายห้อง ละแวกนั้นมีต้นมะพร้าวเยอะ ต่อมาเขาจะสร้างตึกพ่อย้ายมาเช่าห้องอยู่ใกล้โบสถ์แขกของคุณนายอ่อนศรี อาชีพขายก๋วยเตี๋ยวหน้าโรงหนังศรีนครพิงค์ มักเรียกกันว่า ก๋วยเตี๋ยวโกฉั่ง รุ่นลูกมี ๗ คนไปช่วยกันขายก๋วยเตี๋ยว

“ต่อมาพ่ออายุมาก ผมและน้องๆ ช่วยกันขายต่อมา ผมขายหน้าโรงหนังศรีพิงค์ ๑๐ กว่าปี ต่อมาเมื่อโรงหนังเลิกกิจการมาเช่าอยู่ที่ถนนช้างม่อยตัดใหม่ซึ่งคุณมัณฑนาทำตึกให้เช่า เปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยวเรื่อยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑ เรื่อยมา

“ถนนช้างม่อยตัดใหม่สร้างมาก่อนถนนสายข้างวัดแสนฝางที่จากท่าแพมา เดิมบริเวณนี้เป็นที่ราชพัสดุ ต่อมาคุณมัณฑนามาเช่าและสร้างตึกแถวให้เช่า นอกจากนี้ได้สร้างถนนแยกจากถนนช้างม่อยมาทางหลังวัดแสนฝาง สร้างสะพานคอนกรีตข้ามลำน้ำแม่ข่าไปหลังวัดแสนฝางซึ่งมีทางเล็กๆไปทะลุถนนท่าแพ ต่อมาทางราชการเวนคืนที่ดินและสร้างถนนจากถนนท่าแพผ่านข้างวัดแสนฝางมาจบกับถนนราชวงศ์

“หน้าโรงหนังศรีพิงค์เป็นศูนย์รวมของอาหาร คนมาดูหนัง หากไม่ดูหนังก็มาหาของกิน สมัยนั้นคิวรถ มช.(มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)ก็อยู่ใกล้ๆ คือ บริเวณโรงแรมกำธร โดยเฉพาะเมื่อมีดนตรีลูกทุ่งมาแสดง คนมาเยอะ สมัยนั้นมีศรคีรี ศรีประจวบ , ไพรวัลย์ ลูกเพชร , บุปผา สายชล , สุรชัย สมบัติเจริญมักมาเปิดแสดงเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๖-๒๕๐๗

“สมัยอยู่หน้าโรงหนังเริ่มขายก๋วยเตี๋ยวตั้งแต่ ๔ โมงเย็น คนจะเริ่มมากินและมารอดูหนังรอบ ๑ ทุ่ม รอบที่สอง คือ ๓ ทุ่มครึ่ง(๒๑.๓๐ น.) เมื่อคนเข้าชมหนังรอบที่สองแล้วก็จะเก็บร้าน ส่วนเสาร์อาทิตย์มีรอบกลางวันเพิ่มมา วันเสาร์อาทิตย์มักมีรอบ ๔ โมงเย็น(๑๖.๐๐ น.) เสียงในฟิล์มเป็นภาษาอังกฤษ นักศึกษา มช.มักมาดูกันเยอะ”

ปัจจุบันร้านก๋วยเตี๋ยวโกฉั่ง ที่ดำเนินการโดยพิชัย แซ่เองและ ศิริรัตน์ แซ่เอง น้องสาวยังคงเปิดบริการอยู่ที่ถนนช้างม่อยตัดใหม่ ย่านหลังวัดแสนฝาง ขายก๋วยเตี๋ยวหมู เย็นตาโฟและหอยทอด

ข้อมูลจาก : พ.ต.อ.อนุ เนินหาด

ศรีนครพิงค์2513.jpg
ศรีนครพิงค์2513.jpg (32.3 KiB) เปิดดู 4598 ครั้ง

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: พุธ 14 ส.ค. 2019 10:45 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
สะพานทางเข้าโรงพยาบาลโรคเรื้อนแมคเคน ปัจจุบันคือสถาบันแมคเคนเพื่อการฟื้นฟูสภาพ
ภาพตีพิมพ์ในหนังสือของชาวต่างชาติ น่าจะก่อน พ.ศ.๒๔๗๐
141165.jpg
141165.jpg (38.38 KiB) เปิดดู 4885 ครั้ง

ภาพ : ห้องวิจัยประวัติศาสตร์


สถาบันแมคเคนถ่ายเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
ในอดีตนั้นบริเวณนี้เรียกว่า เกาะกลาง ต่อมาดร.เมคเคน ได้ขอความเมตตาจากเจ้าเมืองเชียงใหม่สร้างเป็นที่อยู่ของคนโรคเรื้อน
“เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ หมอแมคเคน (Dr.James McKean) ได้เข้าเฝ้าเจ้าหลวงอินทวโรรส ทูลว่า
“มีเกาะอยู่เกาะหนึ่งบนน้ำปิง ใต้ลงไปจากตัวเวียงประมาณ ๕ ไมล์ ซึ่งเจ้าหลวงอินทวโรรสได้เอาช้างดุร้ายไปปล่อยไว้ ทำให้ประชาชนไม่กล้าไปทำมาหากินบนเกาะนี้ หมอจึงใคร่จะขอเกาะนี้ เป็นที่อาศัยของผู้ป่วยโรคเรื้อน”

141225.jpg
141225.jpg (39.26 KiB) เปิดดู 4885 ครั้ง


หมอแมคเคนนั้นเป็นหมอประจำของเจ้าหลวงอยู่แล้ว เมื่อหมอเสนอโครงการสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อนเช่นนี้ ย่อมทำให้เจ้าผู้ครองเล็งเห็นถึงประโยชน์ในเรื่องอนามัยของนครเชียงใหม่ ส่งผลให้ต่อมาในวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๑ จึงได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลโรคเรื้อนเชียงใหม่อย่างเป็นทางการขึ้น ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการมอบที่ดินบนเกาะกลางแม่น้ำปิงเนื้อที่ประมาณ ๔๐๐ ไร่ ให้คณะมิชชั่นอเมริกันเพรสไบรเตอเรียน (American Presbyterian Mission) เพื่อจัดตั้งโรงพยาบาลโรคเรื้อนแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น โดยพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงดำรงเดชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการการดำเนินกิจการของโรงพยาบาลโรคเรื้อนเชียงใหม่ ภายใต้การนำของหมอแมคเคน และผู้ช่วยคนไทย คือ พ่อเลี้ยงจันตา อินทราวุธ ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างดี ทั้งยังมีเจ้านายหลายพระองค์ได้บริจาคเงินส่วนพระองค์
เพื่อสร้าง “เรือนแพ” หรือที่พักอาศัยของผู้ป่วยจึงเกิดเป็นหมู่บ้านเรือนแพขึ้น โดยมีหมู่บ้านสำหรับชายและหญิงแยกกัน”
ภาพ : Pendleton, Robert Larimore