แอ่วเหนือ

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: แอ่วเหนือ

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 27 ม.ค. 2013 3:29 pm

ดอยม่อนล้าน อ.ป๊าว จ.เจียงใหม่
ไฟล์แนป
post-2840-1231762524_resize.jpg
post-2840-1231762524_resize.jpg (82.02 KiB) เปิดดู 16290 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: แอ่วเหนือ

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 27 ม.ค. 2013 3:35 pm

ดอยม่อนล้าน อ.ป๊าว จ.เจียงใหม่
ไฟล์แนป
post-2840-1231762840_resize.jpg
post-2840-1231762840_resize.jpg (80.67 KiB) เปิดดู 16290 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: แอ่วเหนือ

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พุธ 15 ต.ค. 2014 9:17 am

พระพุทธบาทสี่รอย


IMG_2453.jpg
IMG_2453.jpg (408.77 KiB) เปิดดู 4002 ครั้ง



สักการะพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ณ วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ที่วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาท แห่งองค์สมเด็จพระโลกนาถ สัมมาสัมพุทธเจ้าถึง 4 พระองค์ ซึ่งพระพุทธบาทสี่รอยนี้เป็นพระพุทธบาทที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย


วัดพระพุทธบาทสี่รอย ตั้งอยู่ ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขา หนทางในการเดินทางมานั้นเมื่อก่อนค่อนข้างยากลำบาก แต่ปัจจุบันถนนหนทางดีแล้ว สามารถเดินทางเข้าไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่ชาวพุทธต่างเดินทางมาสักการะกันอยู่ไม่ขาดสาย อย่างรอยพระพุทธบาท ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังมีรอยพระพุทธบาทประทับซ้อนกันถึงสี่รอย คือมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ ทำให้ยิ่งเป็นที่น่าเคารพศรัทธาของชาวพุทธฯ


ตํานานวัดพระพุทธบาทสี่รอย

เมื่อ ครั้งสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาปัจจุบันนี้ได้เสด็จจาริกประกาศธรรม และโปรดเวไนยสัตว์มายังปัจจันตประเทศ ( ประเทศไทยปัจจุบัน ) จนกระทั่งมาถึงเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศชื่อ เขาเวภารบรรพตซึ่งขณะนั้นได้เสด็จพร้อมกับพุทธสาวก 500 องค์และได้ แวะฉันจังหันอยู่บนเขาเวภารบรรพตแห่งนี้ เมื่อพระพุทธองค์ฉันจังหันเสร็จขณะประทับอยู่ที่นั้นก็ได้ทราบด้วยญาณ สมาบัติว่าบนเทือกเขาแห่งนี้ได้มีรอย พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ามาประทับอยู่บนก้อนหินใหญ่ คือ พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ภัทรกัลป์นี้แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเล็งดูรอยพระ พุทธบาทแห่งพระ พุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ พระพุทธเจ้ากัสสปะ อันมีในที่นี้พุทธสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นประธาน เมื่อเห็นเช่นนี้จึงทูลถามว่าพระพุทธองค์ทรงเล็งดูด้วยเหตุใด พระพุทธองค์ตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลายสถานที่แห่งนี้ แม้นว่าพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ที่ ล่วงมาแล้วในอดีตกาล ก็มาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้ทุกๆพระองค์ และแม้นว่าพระศรีอาริยเมตไตร ก็จักเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้ และ จักรประทับรอยพระบาทสี่รอยนี้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว ( คือ ประทับลบทั้งสี่รอยให้เหลือรอยเดียว ) เมื่อพระพุทธองค์ตรัสแก่สาวกทั้งหลายเสร็จแล้วพระ องค์ก็เสด็จไปประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ จึงมีรอยพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์จึงกําเนิดเป็นพระ พุทธบาทสี่รอย เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาท ของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นแล้วก็ทรงอธิฐานว่า ในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้ว เทวดาทั้งหลายก็จักนําเอาพระ ธาตุของกูตถาคมมาบรรจุไว้ที่รอยพระบาทที่นี่ ในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้ว 2,000 ปี พระพุทธบาทสี่รอยนี้ก็จักปรากฏแก่ปวงคนและเทวดาทั้งหลาย ก็จักได้มาไหว้และบูชา เมื่อทรงอธิฐานและทํานายไว้ดังนี้แล้ว พระพุทธองค์ก็เสด็จไป เชตวันอารามอันมีในเมืองสาวัตถีวันนั้นแล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงนิพพานไปแล้วเทวดาทั้งหลายก็นําเอาพระธาตุของพระ พุทธองค์มาบรรจุไว้ที่พระพุทธ บาทสี่รอยเมื่อพระพุทธองค์นิพพานล่วงแล้วประมาณ 2,000 วัสสา เทวดาทั้งหลายต้องการอยากให้พระพุทธบาทสี่รอยปรากฏแก่คนทั้งหลายตามที่พระ พุทธองค์ทรงอธิฐานไว้ก็จึงเนรมิตเป็นรุ้งตัวใหญ่ ( เหยี่ยว ) ก็บินลงจากภูเขาเวภารบรรพตอันเป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธบาทสี่รอยในปัจจุบันนี้ เพื่อบินลงไป เอาลูกไก่ชาวบ้าน ( คนป่า )ที่อยู่ตีนเขาเวภารบรรพต แล้วก็บินกลับขึ้นไปอยู่ยอดเขา มันก็โกรธมากจึงตามขึ้นไปคิดว่าจะยิงเสียให้ตาย มันก็ติดตามไป ค้นหาดูแต่ก็ไม่เห็นรุ้งตัวนั้นอีก แต่เห็นรอยพระพุทธบาทสี่รอยอันอยู่พื้นต้นไม้และเถาวัลย์ พรานป่าผู้นั้นก็ทําการสักการะบูชา เสร็จแล้วก็ลงจากภูเขา พอมาถึงหมู่ บ้านก็เล่าบอกแก่ชาวบ้านทั้งหลายฟังความอันนั้นก็ปรากฏสืบๆกันไปแรกแต่นั้น ไปคนทั้งหลายที่ทราบก็พากันไปสักการะบูชามาก แต่นั้นมา จึงได้ชื่อว่า พระบาทรังรุ้ง ( รังเหยี่ยว ) ในสมัยนั้นมีพระยาตนหนึ่งชื่อว่าพระยาเม็งราย เสวยราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่ ได้ทราบข่าวจึงมีพระราช ศรัทธาอยากเสด็จขึ้นไปกราบบูชาพระพุทธบาทสี่รอยก็นําเอาราชเทวีและเสนาพร้อม กับบริวารทั้งหลาย เมื่อพระยาเม็งรายกราบนมัสการเสร็จแล้ว ก็นําเอาบริวารของตนกลับมาสู้ เมืองเชียงใหม่ ก็ตั้งอยู่เสวยราชมบัติตราบเมี้ยนอายุขัยแล้ว ก็เจริญตามรอยและได้ขึ้นมากราบพระพุทธบาททั้งสี่รอย ทุกๆพระองค์ หลังจากนั้นมาพระบาทรังรุ้งหรือรังเหยี่ยวก็เปลี่ยนชื่อเป็น" พระพุทธบาทสี่รอย " เพราะมีรอยพระพุทธบาทประทับซ้อนกันถึงสี่รอย คือมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ที่ล่วงลับมาแล้วในภัทร กัลป์นี้ คือ

1. รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ รอยแรกเป็นรอย ใหญ่ยาว 12 ศอก
2. รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ เป็นรอยที่ 2 ยาว 9 ศอก
3. รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากัสสปะเป็นรอยที่ 3 ยาว 7 ศอก
4. รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโคตะมะ ( ศาสนาปัจจุบัน ) เป็นรอยที่ 4 รอยเล็กที่สุด ยาว 4 ศอก

เมื่อมาถึงสมัยพระยาธรรมช้างเผือกผู้ครองนคร เชียงใหม่ พร้อมด้วยบริวาร 500 คนก็ขึ้นไปกราบสักการะบูชาพระพุทธบาทสี่รอย และได้สร้างวิหารครอบพระพุทธบาทสี่รอยไว้ชั่วคราว โดยแต่เดิมถ้า ใครจะดูรอยพระพุทธบาทบนยอดหินก้อนใหญ่ ต้องใช้บันไดพาดขึ้นไปหรือปีนขึ้นไปดูซึ่งก็คงจะขึ้นได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น ดังนั้น พระยาธรรมช้างเผือก จึงตรัสสร้างแท่นยืนคล้ายๆนั่งร้านรอบๆก้อนหินที่มีพระ พุทธบาทสี่รอยและได้สร้างหลังคาชั่วคราวมุงไว้ ต่อมาในสมัยพระชายาเจ้าดารารัศมีก็ได้ขึ้นไป กราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอยและได้มีพระราชศรัทธา ก่อสร้างวิหารเป็นการกราบบูชารอยพระพุทธบาทไว้หนึ่งหลัง หลังเล็กปัจจุบันได้บูรณะปฏิสัง ขรณ์แล้วทั้งหลัง

พอมาสมัยเมื่อปี พ.ศ. 2472 ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยก็ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย และได้รื้อพระวิหารที่เจ้า พระยาธรรมช้างเผือกสร้างไว้ชั่วคราว และได้สรางพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทไว้ใหม่ และได้ฉาบปูนครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย พระพุทธบาทสี่รอยนี้เป็นพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย


ข้อมูลจาก chilldtravel.com เที่ยวเมืองไทย ไปไหน ก็ ชิลล์ดี-2012
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot], Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 60 ท่าน

cron