เยี่ยมแหล่งโบราณคดี "ดงละคร"

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

เยี่ยมแหล่งโบราณคดี "ดงละคร"

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 06 ม.ค. 2013 9:14 pm

แหล่งโบราณคดีเมืองดงละคร
ยุคสมัย ประวัติศาสตร์ ( ทวารวดี)
ที่ตั้ง บ้านดงละคร ตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

05012013248_resize.jpg
05012013248_resize.jpg (203.03 KiB) เปิดดู 7443 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เยี่ยมแหล่งโบราณคดี "ดงละคร"

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 06 ม.ค. 2013 9:24 pm

การประกาศขึ้นทะเบียน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
เส้นทางเข้าสู่แหล่ง
จากจังหวัดนครนายกไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๕ ประมาณ ๖ กิโลเมตร แยกเข้าเส้นทางลาดยางทางซ้ายอีก ประมาณ ๕ กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านดงละคร

ประวัติแหล่งโบราณคดี
บ้านดงละครเป็นหมู่บ้านเก่ามีอายุกว่า ๑๐๐๐ ปี สามารถสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาระหว่างการสงครามไทย – พม่า พ. ศ. ๒๓๑๐ ภายหลังสงครามเสียกรุงฯ ผู้คนบางส่วนได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณดงละคร เพราะมีสภาพเป็นป่าและหนองน้ำทั่วไป เมื่อราว ๕๐ - ๖๐ ปีก่อน ยังเป็นที่อยู่อาศัยของช้างป่าจำนวนมากและมักจะเข้ามากินข้าวในนาเสมอ ต่อมาชาวบ้านเข้ามาอยู่มากขึ้นช้างป่าก็หนีขึ้นไปอยู่ในเขตเขาใหญ่
05012013264_resize.jpg
05012013264_resize.jpg (268.13 KiB) เปิดดู 7442 ครั้ง

ทางขึ้นไปชมคูเมืองและกำแพงเมือง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เยี่ยมแหล่งโบราณคดี "ดงละคร"

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 06 ม.ค. 2013 9:26 pm

หลักฐานทางด้านโบราณคดี
เมืองดงละครเป็นเมืองคูน้ำคันดิน รูปวงรี มีขนาดยาว ๗๐๐ เมตร กว้าง ๖๐๐ เมตร การขุดค้นทางโบราณคดีได้พบหลักฐานการอยู่อาศัยระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ มีโบราณวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผาแบบท้องถิ่นสมัยทวารวดี เครื่องเคลือบสีน้ำตาลคล้ายกลุ่มเตา บ้านกรวด บุรีรัมย์ เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถังและซ้อง และเครื่องถ้วยเปอร์เซีย รวมทั้งลูกปัดแก้วหลายสี ลูกปัดมีตา (eye beads) ลูกปัดสลับสี (mosaic beads) ลูกปัดคาร์เนเลี่ยน และอะเกต ที่แสดงถึงการติดต่อค้าขายกับ อินเดีย – เปอร์เซีย ( อาณัติ บำรุงวงศ์ , ๒๕๓๓)

นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์เนื้อเงิน แบบศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ และโลหะสำริดประเภทกำไล พระพุทธรูปสำริด ศิลปะบายน พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ ซึ่งชาวบ้านเก็บรักษาไว้ รวมทั้งขวานหินขัดจำนวนมากที่ผลิตจากหินแอนดีไซต์และไรโอไลท์
การขุดค้นของโครงการโบราณคดีภาคกลาง เมื่อ พ. ศ. ๒๕๒๙ ได้พบโบราณวัตถุคล้ายกับขุดค้นในปี ๒๕๓๓ โดยเฉพาะเศษเครื่องปั้นดินเผามีลายประทับรูปบุคคลและช้าง
ส่วนการขุดค้นครั้งแรกเริ่มใน พ. ศ. ๒๕๑๕ โดยนายพิสิฐ เจริญวงศ์ ซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรในขณะนั้น ได้พบหลักฐานในลักษณะเดียวกัน
05012013250_resize.jpg
05012013250_resize.jpg (127.43 KiB) เปิดดู 7442 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เยี่ยมแหล่งโบราณคดี "ดงละคร"

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 06 ม.ค. 2013 9:29 pm

เดินๆขึ้นไปบนกำแพงเมืองชั้นใน เป็นคันดินสูงและกว้างเชียวค่ะ แชะภาพมาฝากด้วย^^
05012013267_resize.jpg
05012013267_resize.jpg (69.95 KiB) เปิดดู 7442 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เยี่ยมแหล่งโบราณคดี "ดงละคร"

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 06 ม.ค. 2013 9:35 pm

อย่างไรก็ตามในระหว่าง พ. ศ. ๒๕๓๕ ได้มีการสำรวจร่วมระหว่าง กรมศิลปากรและกรมทรัพยากรณี ซึ่งนักธรณีวิทยาได้ให้ความเห็นว่า เนินดินดงละครในชั้นที่เป็นกรวดขนาดต่างๆ ที่แสดงถึงการตกตะกอนในระหว่างที่ถูกน้ำพัดพามาอย่างต่อเนื่องสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene) ในระหว่างการสำรวจได้ทราบจากสถานีอนามัยดงละครว่ามีการพบเปลือกหอยจำนวนมากทางทิศใต้ของดงละคร คณะสำรวจจึงได้ตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว เป็นบริเวณที่ขุดคลองชลประทานและทำประตูระบายน้ำในเขตตำบลบางสมบูรณ์ อำเภอองครักษ์ และตำบลศรีจุฬา อำเภอเมืองนครนายกได้พบเปลือกหอยทะเลขนาดใหญ่ประเภทหอยนางรม หอยสองฝาเป็นหอยกาบ ลักษณะเช่นนี้คล้ายกับการค้นพบที่วัดเจดีย์หอย จังหวัดปทุมธานี กำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ราว ๕,๕๐๐ – ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะแนวทะเลในระหว่างนั้น
จากจุดนี้นำไปสู่การสำรวจทางธรณีวิทยาต่อไป ซึ่งตัวอย่างการเจาะชั้นดินในไร่อัมพรไพศาล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ในสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย ( Late Pleistocene ) ราว ๑๒,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐ ปี แนวชายฝั่งทะเลอยู่ไกลออกไป บริเวณนครนายกและที่ลุ่มภาคเป็นที่ดอน ประกอบด้วย กรวดทราย ศิลาแลง สมัยโฮโลซีน ( Holocene) ราว ๑๐,๐๐๐ปี ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจนท่วมที่ราบลุ่มภาคกลาง และขึ้นสูงสุดเมื่อ ๖,๐๐๐ ปี
ต่อมาสมัยโฮโลซีนตอนกลาง ราว ๖,๐๐๐ – ๕,๕๐๐ ปี ระดับน้ำทะเลเริ่มลดลงและเกิดที่ราบเหนือระดับน้ำ ( สิน สินสกุล และคณะ, ๓๕๓๖)
นอกจากนี้การสำรวจทางโบราณคดีในหมู่ที่ ๕ ตำบลดงละคร ทางทิศใต้ของเกาะดงละครซึ่งใกล้กับแนวลำน้ำนครนายกเดิม ได้พบโบราณวัตถุประเภทแร่ควอทซ์คุณภาพดี แก้วซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ยังไม่ได้แปรรูปและกำไลสำริด ๒ วง จากการขุดบ่อน้ำที่ระดับลึก ๔ เมตร สำหรับควอทซ์นั้น เราทราบว่า มีแหล่งที่เขาแก้ว อำเภอบ้านนา ทางทิศเหนือราว ๒๐ กิโลเมตร ส่วนวัตถุดิบแก้วเรายังไม่ทราบแหล่งที่แน่ชัด กำไลสำริดอาจมาจากทางกลุ่มเมืองลพบุรี ซึ่งในบริเวณเขาเพิ่มเราได้พบขวานสำริดมีป้อง จึงชี้ถึงแนวทางในการศึกษา
หลักฐานดังกล่าวแสดงถึงว่า ดงละคร เป็นเมืองท่าสำคัญในระหว่างสมัยประวัติศาสตร์ ในการติดต่อกับอินเดีย จีน และเปอร์เซีย ที่มีการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบกัน และการทำเครื่องประดับเองในกลุ่ม ดงละคร ซึ่งดงละครเองมิได้โดดเดี่ยวแต่มีการติดต่อทั้งภายในและภายนอก ขวานหินขัด ที่พบในดงละครแม้จะไม่ได้พบในหลุมขุดค้นก็ตามอาจมองได้สองประเด็นคือ
กลุ่มดงละครยังคงมีขวานหินใช้ต่อมาอาจในรูปของพิธีกรรม ลักษณะหิน แอนดีไซต์และไรโอไลท์ อันมีแหล่งผลิตที่บ้านห้วยกรวด ดงละครอาจเป็นจุดผ่านในการติดต่อระหว่างกลุ่มบึงไผ่ดำ และบ้านห้วยกรวดในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
05012013261_resize_resize.jpg
05012013261_resize_resize.jpg (83.32 KiB) เปิดดู 7442 ครั้ง

ศาลพ่อปู่สี่ประตูเมือง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เยี่ยมแหล่งโบราณคดี "ดงละคร"

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 06 ม.ค. 2013 9:45 pm

โบราณสถานในเมืองดงละครที่สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘กลุ่มเมืองดงละครได้รับอิทธิพลเขมร เช่นเดียวกับโคกกระโดน อำเภอปากพลี และเมืองศรีมโหสถ ปราจีนบุรี
ภายหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมืองดงละครคงเป็นกลุ่มชนเล็ก ๆ เพราะการเปลี่ยนเส้นทางแม่น้ำนครนายกคนกลุ่มใหญ่ย้ายไปตั้งเมืองที่นครนายกในสมัยอยุธยาจนถึงเสียกรุงฯ ครั้งที่ ๒ พ. ศ. ๒๓๑๐ ชาวเมืองหนีขึ้นไปอยู่บนเขาใหญ่เพื่อหลบภัยพม่า

ในสมัยรัตนโกสินทร์มีกลุ่มลาวพวน ลาวเวียง และมอญ อพยพเข้ามาอยู่ในเขตเมืองนครนายกและอำเภอปากพลี

สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชาธิบายว่าเมือง "ดงละคร" เป็นเมืองที่นางพญา ขอมสมัย โบราณ สร้างไว้ให้องครักษ์ ซึ่งผู้รู้สันนิฐานว่า เมืองที่กล่าวถึงคือ เมืองโบราณดงละคร ชื่อดงละครนี้มาจากตำนานพื้นบ้านบอกเล่าว่า ในคืนวันเพ็ญเต็มดวง ชาวบ้านจะได้ยินเสียงปี่พาทย์แว่วมาตามสายลมแต่หาที่มาของเสียงดนตรีไม่ได้ ชาวบ้านจึงเรียกเมืองแห่งนี้ว่าเมืองดงละครคือดงที่มีเสียงละคร หรือเมืองลับแล

05012013270_resize_resize.jpg
05012013270_resize_resize.jpg (87.26 KiB) เปิดดู 7442 ครั้ง

เทวรูปแบบขอม
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เยี่ยมแหล่งโบราณคดี "ดงละคร"

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 06 ม.ค. 2013 9:52 pm

ประวัติบ่อน้ำทิพย์เมืองโบราณดงละคร ตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก

05012013268_resize_resize.jpg
05012013268_resize_resize.jpg (83.5 KiB) เปิดดู 7442 ครั้ง


บ่อน้ำแห่งนี้เกิดขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่จุดที่เป็นบ่อน้ำทิพย์เคยเป็นแนวแม่น้ำนครนายกสายเดิมซึ่งเปลี่ยนทางเดินในภายหลัง ปัจจุบันอยู่ในแนวคูเมืองโบราณระหว่างคันดินสูงประมาณ ๒๐-๓๐ เมตร ซึ่งเป็นแนวกำแพงเมืองชั้นนอกและชั้นใน และมีบ่อศิลาแลง สันนิษฐานว่าเป็นบ่อศิลาแลงที่นำไปสร้างกำแพงเมืองดงละคร และศาสนสถานต่าง ๆ ในสมัยนั้นจากหลักฐานต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันมาอย่างยาวนาน ผ่านยุคสมัยต่าง ๆ มานับร้อย ๆ ปี ไม่ว่าจะเป็นทวาราวดี อยุธยา ธนบุรี จวบจนถึงรัตนโกสินทร์ ทำให้พอที่จะอนุมานเข้ากันได้ว่าดินแดนเมืองดงละครและบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้มีความสำคัญมาแต่ในอดีตจวบจนถึงปัจจุบัน ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน จากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งก่อให้เกิดวัฒนธรรมความเชื่อมากมาย ด้วยเวลาผ่านไปเนิ่นนานบ่อน้ำแห่งนี้ก็ได้ถูกปล่อยทิ้งร้างไว้ตามยุคสมัย

จนกระทั่งในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เมื่อโรงเจสว่างอริยธรรมสถาน (เม่งมุ๊ยตั๊ว) ได้อัญเชิญเซียนซือจากนครสวรรค์มาประทับทรงในพิธีเปิดอาคารโรงเจหลังใหม่ เซียนซือในร่างทรงได้บอกว่ามีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อยู่ที่ดงละคร และร่างทรงดังกล่าวได้ตรงมายังบ่อน้ำแห่งนี้และให้นำน้ำในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ไปประ พรมโรงเจและผู้มาร่วมงานเพื่อเป็นศิริมงคล นับแต่นั้นมาชาวบ้านก็ได้พากันมาบูชากล่าวคำอธิษฐานตักน้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ไปประพรม ดื่มกิน อาบ โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดโชคลาภ หายจากโรคภัยอาการเจ็บป่วย ต่าง ๆ ซึ่งก็บังเกิดผลจริงจึงขนานนามบ่อน้ำแห่งนี้ว่า บ่อน้ำทิพย์ ผู้ที่ยืนยันว่าได้รับผลอันศักดิ์สิทธิ์จากน้ำในบ่อน้ำทิพย์แห่งนี้ คือ นายซ้ง วานิชสรไกร บ้านเลขที่ ๔๐ หมู่ที่ ๖ ตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่

เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ องค์การบริหารส่วนตำบลดงละคร นายเถลิง ครามะคำ นายอำเภอเมืองนครนายก และจังหวัดนครนายก ได้ทำพิธีตักน้ำจากบ่อน้ำทิพย์แห่งนี้ เมื่อเวลา ๑๖.๓๙ น. เพื่อนำไปใช้ในการประกอบพิธีในพระราชพิธีพระชนม์พรรษาครบ ๖ รอบ (๗๒ พรรษา) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ณ พระอารามหลวงวัดอุดมธานี ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก โดยการกำหนดของสำนักพระราชวัง

อนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลดงละคร เคยจัดงาน “ มาฆะปุณรมีศรีดงละคร” ขึ้นที่บริเวณ บ่อน้ำทิพย์ แห่งนี้ เช่นกัน และในปัจจุบันยังคงมีประชาชนได้มาตั้งจิตอธิษฐานนำน้ำใน บ่อน้ำทิพย์ แห่งนี้ไปดื่มและอาบอยู่เป็นประจำเรื่อยมา
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เยี่ยมแหล่งโบราณคดี "ดงละคร"

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 06 ม.ค. 2013 9:54 pm

ประวัติความเป็นมา :

สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชาธิบายว่าเมือง “ดงละคร” เป็นเมืองที่นางพญาของสมัยโบราณสร้างไว้ให้องครักษ์ ซึ่งผู้รู้สันนิฐานว่า เมืองที่กล่าวถึงคือเมืองโบราณดงละคร ชื่อดงละครนี้มาจากตำนานพื้นบ้านบอกเล่าว่าในคืนวันเพ็ญเต็มดวงชาวบ้านาจะได้ยินเสียงปี่พาทย์แว่วมาตามสายลมแต่หาที่มาของเสียงดนตรีไม่ได้ ชาวบ้านจึงเรียกเมืองแห่งนี้ว่าเมืองดงละคร คือดงที่มีเสียงละคร หรือเมืองลับแล แถลงลักษณ์หลักฐาน บุราณเรื่อง ตำนานเมืองกล่าวแจ้ง แถลงไข แต่กาลก่อนเป็นดอนดงและพงไพร มีสัตว์ใหญ่สัตว์น้อยนับร้อยพัน ทั้งเสือช้างกวางเก้ง กระเรียนกระรอก สุนัขจิ้งจอกชะนีลิง กะทิงสมัน กระต่ายกระแต-แย้บ้าง ค่าครอบครัน อุดมพันธ์ไม้ป่า น่าเพลิดเพลิน ทั้งเต็งรังตะแบกไผ่ ไม้ตะเคียน ไม้กะเบียนกะบกกะเบา ตามเขาเขิน แดงสักรังประดู่ ดูเจริญ ชมเพลินธรรมชาติ สะอาดตา เหลือสะพรั่งดังแดนดิน ถิ่นสวรรค์ ด้วยมีพันธ์ไม้บุนนาค มากหนักหนา ดอกหล่นอยู่เกลื่อนกลาด ดาษดา ประดับป่างามวิไล ในไพรพง คำผู้แก่ผู้เฒ่า แกเล่าขาน แต่ก่อนกาลจำได้ ไม่ไหลหลง ใครร้องรำเล่นละคร ในดอนดง อาถรรพ์ส่งสาปสรรค์ มีอันเป็น ตามตำนานท่ยินมา ปรากฎชัด ซึ่งประวัติตำบลนี้ ชี้ให้เห็น ทั้งวันดีคืนดี ที่ร่มเย็น มีเสียงเล่นร้องรำ มาตามลม เสียงละครไพเราะ เสนาะโสต แว่วอุโฆษวังเวงเราะ ดูเหมาะสม เสียงเพลงพิณจินตนา น่านิยม หวาบอารมณ์ภิรมย์ชื่น ระรื่นใจ จึงพร้อมกันตั้งนาม ตำบลบ้าน ตามตำนานท่กล่าวแจ้ง แถลงไข อาศัยเสียงเล่นละคร ในดอนไพร ตั้งชื่อให้ต้องตรง ว่า "ดงละคร" และนั้นคือที่มาของชื่อ “ตำบลดงละคร” ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นตำบลใ นเขตการปกครอง ของอำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

05012013271_resize_resize.jpg
05012013271_resize_resize.jpg (78.36 KiB) เปิดดู 7442 ครั้ง

สระน้ำกลางเมืองดงละคร
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เยี่ยมแหล่งโบราณคดี "ดงละคร"

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 06 ม.ค. 2013 10:00 pm

เมืองโบราณดงละครมีผังเมืองเป็นรูปไข่หรือวงรี มีคันดิน และคูน้ำล้อมรอบ อันเป็นลักษณะผังเมืองยุคทวารวดี-ลพบุรี ระหว่าง พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๙ สภาพภูมิประเทศของเมืองคล้ายกระทะคว่ำ มีเนินสูงราว ๓๐ม. ทางด้านตะวันออกเรียกว่า หนองกระพ้อ มีประตู ทางเข้าเมืองและสระน้ำอยู่ทั้งสี่ทิศ สันนิษฐานว่าชุมชนนี้มีการ ติดต่อกับต่างชาติเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า เพราะในอดีตชุมชนดงละคร ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินปัจจุบัน โดยใช้แม่น้ำ นครนายกล่องเรือออกสู่ทะเลได้สะดวก ซากฐานโบราณสถานสองแห่งที่เหลืออยู่นอกกำแพงเมือง สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ทางกรมศิลปากรได้กำหนดให้เป็นโบราณสถานหมาย เลข ๑ และโบราณสถานหมายเลข ๒

05012013253_resize_resize.jpg
05012013253_resize_resize.jpg (80.57 KiB) เปิดดู 7442 ครั้ง


จุดนี้ไปยืนอยู่นานมาก และขนลุกตลอดเวลาเลยค่ะ
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เยี่ยมแหล่งโบราณคดี "ดงละคร"

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 06 ม.ค. 2013 10:04 pm

แต่เดิมเรียกกันว่า “เมืองลับแล” เป็นสถานที่ตั้งเมืองโบราณสมัยทวารวดีและขอม เนินดินดงละครหรือดงใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ ๖ ตารางกิโลเมตร ภายในมีเมืองโบราณหรือดงเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่อยู่ค่อนไปทางทิศตะวันตกของเนินดิน มีคันดินเป็นกำแพง ๒ ชั้นชาวบ้านเรียกกันว่า “สันคูเมือง” และมีคูน้ำล้อมรอบ ลักษณะเดียวกับเมืองโบราณทั่วไปในสมัยทวารวดี ภายในเมืองน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของชนชั้นปกครอง ส่วนประชาชนทั่วไปน่าจะกระจายอยู่ในบริเวณที่ลุ่มรอบเมือง ความรุ่งเรือง ที่เด่นชัดแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเริ่มพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ เป็นวัฒนธรรมแบบทวารวดี ช่วงที่สองราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๙ เป็นวัฒนธรรมขอม และวัฒนธรรมก่อนอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ชาวบ้านดงละครคงจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานตามลำน้ำสายหลักในจังหวัดนครนายก สันนิษฐานว่าน่าจะมีความสำคัญ เกี่ยวข้องกับเมืองศรีมโหสถที่จังหวัดปราจีนบุรี เพราะเมืองทั้งสองอยู่ห่างกันเพียง ๕๕กิโลเมตร โบราณวัตถุที่ค้นพบบริเวณโบราณสถาน ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา ภาชนะเคลือบสีฟ้า ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน เบี้ยดินเผา แผ่นตะกั่ว ตุ้มหูสำริด แผ่นทองคำ เศียรพระพุทธรูปกะไหล่ทอง สถูปศิลาแลง แหวนสำริด กำไลสำริด เป็นต้น สำหรับตำนานเมืองนั้นเล่ากันว่า เมืองนี้เคยเป็นเมืองของราชินีขอมซึ่งเป็นที่รโหฐานผู้อื่นไม่สามารถเข้าออกได้ง่ายนัก ประกอบกับลักษณะของบริเวณเมืองมีต้นไม้สูงขึ้นอยู่ทั่วไปใครเข้าไปแล้วอาจหาทางออกไม่ได้ จะต้องวนเวียนอยู่ในดงนั้นเอง และวันโกนวันพระจะได้ยินเสียง กระจับปี่ ซอ ปี่พาทย์ มโหรีขับกล่อมคล้าย ๆ กับมีการเล่นละครในวัง ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “ดงละคร” หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า “ดงละคร” นั้นอาจเพี้ยนมาจาก“ดงนคร” กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘

05012013251_resize_resize.jpg
05012013251_resize_resize.jpg (59.09 KiB) เปิดดู 7442 ครั้ง

สถูปศิลาแลง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เยี่ยมแหล่งโบราณคดี "ดงละคร"

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 06 ม.ค. 2013 10:09 pm

จุดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและเจ้าแม่สุนันทาค่ะ(อยู่ใกล้ๆบ่อน้ำทิพย์)
ท่าทางคนจะไปบนบานศาลกล่าวกันเยอะ จึงมีคนนำชุดไปถวายเจ้าแม่เยอะมากๆเลยค่ะ

05012013269_resize_resize.jpg
05012013269_resize_resize.jpg (87.32 KiB) เปิดดู 3611 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เยี่ยมแหล่งโบราณคดี "ดงละคร"

โพสต์โดย ภาษาสยาม » จันทร์ 14 เม.ย. 2014 11:33 am

ไปเยี่ยมดงละครอีกครั้ง ๑๓ เมษายน ๒๕๕๗

WP_20140413_003_resize.jpg
WP_20140413_003_resize.jpg (113.02 KiB) เปิดดู 3271 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm


ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน

cron