พระพุทธรูปล้านนา

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: พระพุทธรูปล้านนา

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 30 มิ.ย. 2013 3:31 pm

1258282650.jpg
1258282650.jpg (59.69 KiB) เปิดดู 7269 ครั้ง


พระพุทธสิหิงค์หยกขาวดับภัยแห่งวัดดับภัย ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: พระพุทธรูปล้านนา

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 30 มิ.ย. 2013 3:36 pm

kanjan.jpg
kanjan.jpg (47.66 KiB) เปิดดู 7269 ครั้ง


พระพุทธรูปพระเจ้าไม้แก่นจันทร์ หรือพระจันทร์เจ้า พระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของจังหวัดลำปาง จากตำนานพระแก่นจันทร์ และในชินกาลมาลีปกรณ์ ทำให้สันนิฐานว่าความนิยมสร้างพระพุทธรูปไม้ที่พบมากในภาคเหนือตอนบนเป็นความนิยมที่มีมาแต่สมัยล้านนา สำหรับพระแก่นจันทร์ หรือพระจันทร์เจ้า ที่ระบุไว้ในตำนานพระแก่นจันทร์ และในชินกาลมาลีปกรณ์ คือองค์ที่ประดิษฐาน ณ วัดป่าตัน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

เป็นพระพุทธรูปไม้ มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทะรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบอยู่บนฐานบัวคว่ำ-บัวหงายแบบบัวฟันยักษ์ พระรัศมีเป็นแปลวขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระโขนงโก่งพระเนตรเหลืบต่ำ พระวรกายบอบบาง ชายสังฆาฏิยาวจรตพระนาภี และแยกเป็น ๒ ปลายแบบเขี้ยวตะขาบ

และปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ เสมอกัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๒๔ พ.ย. ๒๕๓๖ เล่มที่ ๑๑๐ ตอน ๑๙๔
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: พระพุทธรูปล้านนา

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 30 มิ.ย. 2013 3:44 pm

[attachment=0]7639.jpg[/attachment]
“พระเจ้าตนหลวง” วัดศรีโคมคำ ได้สร้างมานาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๐๓๔ ตั้งแต่เริ่มสร้างพระเจ้าตนหลวงมาแล้ว เจ้าอาวาสองค์แรกที่ปรากฏในตำนานคือพระธรรมปาล ท่านผู้นี้ได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ คือได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่แก่ประชาชนที่หนีภัยสงครามแล้วกลับเข้ามาสู่เมืองพะเยา ภายหลังได้ทราบเรื่องราวตำนานนี้แล้วก็เลยเกิดศรัทธาขึ้น ต่อมาอีกประมาณ ปีพ.ศ. ๒๔๐๐ พระกัปปินะเป็นเจ้าอาวาสในครั้งนั้น มีบันทึกในหนังสือสมุดข่อยซึ่งบันทึกไว้ว่า แสนทักขิณะ เขียนดวงชะตาพระเจ้าตนหลวง มีพระธรรมปาละ เขียนไว้ให้ท่านได้รับทราบ แสดงว่าวัดศรีโคมคำเป็นวัดที่มีมาแต่โบราณกาล แต่มาในยุคหลังบ้านเมืองตกอยู่ในช่วงสงคราม จึงได้โยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมืองที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง และวัดวาอารามต่าง ๆ รกร้างว่างเปล่าไป ต่อมาภายหลังเมื่อได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมืองและวัดวาอารามก็ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างขึ้นใหม่โดยลำดับ
ไฟล์แนป
7639.jpg
7639.jpg (98.31 KiB) เปิดดู 6261 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: พระพุทธรูปล้านนา

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 30 มิ.ย. 2013 10:48 pm

วัดกู่เต้า.jpg
วัดกู่เต้า.jpg (424.26 KiB) เปิดดู 6253 ครั้ง


พระพุทธมัณฑเล พระประธานวัดกู่เต้า เดิมชื่อว่า วัดเวฬุวนาราม ตั้งอยู่ที่ตำบล ศรีภูมิ ติดกับสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ มีเจดีย์ที่มีลักษณะแปลกไปกว่าเจดีย์อื่นๆ ในล้านนา วัดนี้ไม่มีประวัติแจ้งไว้แน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่มีตำนานเล่าว่า เจดีย์กู่เต้านี้เป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้าฟ้า สารวดี ซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งมาครองนครเชียงใหม่ในฐานะเมืองประเทศราชในระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๒๒ - ๒๑๕๐ลักษณะของเจดีย์นี้คล้ายกับนำผลแตงโม (ซึ่งชาวล้านนาเรียกแตงโมว่า บะเต้า) มาวางซ้อนกันหลาย ๆ ลูกชาวบ้านจึงเรียกว่า เจดีย์กู่เต้า
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: พระพุทธรูปล้านนา

โพสต์โดย น้ำฟ้า » พุธ 03 ก.ค. 2013 6:16 am

วัดสวนตาล จ.น่าน ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญคือ พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๙๙๒ เป็นพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๐ ฟุต สูง ๑๔ ฟุต ๔ นิ้ว
E13032514-4.jpg
E13032514-4.jpg (182.58 KiB) เปิดดู 6245 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: พระพุทธรูปล้านนา

โพสต์โดย น้ำฟ้า » พุธ 03 ก.ค. 2013 6:26 am

พระพุทธมหาพรหมอุดมศักยมุนี วัดภูมินทร์ (บารมีมงคลล้านนาตะวันออกแห่งที่ ๗)
วัดภูมินทร์ อ.เมืองน่าน แห่งเดียวในประเทศไทยที่มีพระอุโบสถจัตุรมุข

naryakpm26.jpg
naryakpm26.jpg (266.15 KiB) เปิดดู 6245 ครั้ง


เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อ ตำบลในเวียงในปัจจุบัน เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๙ ต่อมาอีกประมาณ ๓๐๐ ปี มีการบูรณะครั้งใหญ่ ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิ์เดช เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๐ (ปลายสมัยรัชกาลที่ ๔) ใช้เวลาซ่อมแซมนานถึง ๗ ปี ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ ที่เป็นหนึ่งเดียว คือ เป็นวัดที่สร้างทรงจัตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาคขนาดใหญ่ ๒ ตัว แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัว ตรงใจกลางพระอุโบสถจัตุรมุข ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ๔องค์ หันพรพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศหันเบื้องปฤษฏาค์ชนกัน ประดับนั่งบนฐานซุกชี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร และพระเจดีย์ในหลังเดียวกัน โดยใช้อาคารในแนว ตะวันออก-ตะวันตก เป็นพระวิหาร และอาคารแนว เหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถ รัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ ในธนบัตรใบละ ๑ บาท ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงเรื่องราวชาดก วิถีชีวิตตำสนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต ได้แก่ การแต่งกายคล้ายผ้าซิ่นลายน้ำไหล การท่อผ้าด้วยกี่ทอมือ การติดต่อซื้อขายกับชาวต่างชาติ สิ่งน่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ บานประตูแกะสลักลึกเป็น ๓ ชั้น บนไม้สักทองแผ่นเดียวขนาดใหญ่ ความหนาของไม้ประมาณ ๔ นิ้วสลักเป็นลวดลายเครือเถา ที่ทั้งดอกและมีผลระย้า รวมทั้งสัตว์นานาชนิด ฝีมือช่างเมืองน่าน หอไตรวัดภูมินทร์ ลักษณะ สร้างขึ้นใหม่เลียนแบบของเดิม เมื่อ ๕ มีนาคม ๒๕๓๗ อาคารสี่เหลียมทรงสูงสองชั้นก่ออิฐถือปูน มีบันใดภายในตัวอาคาร ชั้นบนมีระเบียง หลังคามีช่อฟ้าใบระกา
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: พระพุทธรูปล้านนา

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 10 พ.ค. 2015 5:03 pm

วัดดับภัย

วัดดับภัย.jpg
วัดดับภัย.jpg (34.06 KiB) เปิดดู 5681 ครั้ง


มีตำนานเล่าว่า เมื่อพญาอภัยล้มป่วยทำการรักษาอย่างไรก็ไม่ทุเลา จึงตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าหลวงพ่อดับภัย อาการเจ็บป่วยก็หายไปพลัน พญาอภัยจึงให้บริวารลูกหลานตั้งบ้านเรือนบริเวณวัด และบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงเรียกชื่อใหม่ว่าวัดดับภัย

วัดดับภัย เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมืองล้านนา วัดแห่งนี้มีบ่อน้ำอยู่หน้าวิหาร เชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ สมัยพระเจ้าอินทวโรรส เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8 เสด็จกลับจากกรุงเทพ ฯ ต้องแวะมาวัดดับภัย เพื่อนำน้ำในบ่อนี้ไปสรงน้ำพระพุทธมนต์ ก่อนแวะไปวัดเชียงยืนเพื่อสืบดวงชะตา
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 55 ท่าน

cron