พระราชประวัติพญามังราย..ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

พระราชประวัติพญามังราย..ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อังคาร 22 ต.ค. 2013 1:43 pm

พญามังรายมหาราช

Mangrai_Monument.jpg
Mangrai_Monument.jpg (167.24 KiB) เปิดดู 8892 ครั้ง



พญามังรายมหาราช พรญามังราย พระญามังราย หรือ พญามังราย ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา โดยทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองเชียงแสน มาสู่เมืองเชียงราย และในที่สุดก็ทรงตั้งเมืองเวียงพิงค์ หรือเชียงใหม่เป็นราชธานี

พระราชประวัติ
พญามังรายเป็นโอรสของพระเจ้าลาวเม็งเชื้อสายวงศ์ลวจังกราชเจ้าผู้ครองหิรัญนครเงินยาง (อ.เชียงแสนปัจจุบัน) กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ่ง ท้าวรุ่งแก่นชายทรงตั้งพระนามพระธิดาใหม่ว่าพระนางเทพคำ ข่ายหรือเทพคำขยายเพื่อเป็นมงคลนาม พญามังรายเป็นเชื้อสาย ของพระเจ้าลวจังกราชปกครองชนเผ่าไทยยวน ซึ่งมีอาณาจักร ของตนเรียกอาณาจักรหิรัญนครเงินยาง ได้สร้างเมืองหิรัญนครเงินยางเป็นเมืองหลวงขึ้นทีริมฝั่งแม่น้ำโขงเมื่อประมาณ พ.ศ. 1182 พญามังรายประสูติวันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ สัมฤทธิ์ศกจุลศักราช ๖๐๐ พ.ศ. ๑๗๘๑ ฉบับ อ.ประเสริฐ ณ นคร ระบุว่าเป็น พ.ศ ๑๗๘๒ เวลาย่ำรุ่ง พญามังรายมีโอรส ๓ องค์ ได้แก่ เจ้าขุนเครื่อง เจ้าขุนคราม (ไชยสงคราม) และเจ้าขุนเครือ พญามังรายสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.๑๘๖๐ รวมพระชนมายุ ๗๙ พรรษา

การศึกษา
เจ้าชายมังราย(พญามังราย)ทรงเรียนที่สำนักอิสิฤๅษีร่วมกันกับเจ้าชายงำเมือง(พญางำเมือง)และเจ้าชายราม(พ่อขุนรามคำแหง)แล้วได้ร่ำเรียนวิชาจบแล้วก็ย้ายไปสุกทันตฤๅษีก็ยังพบสหายอยู่เมื่อเรียนวิชาสำเร็จเจ้าชายทั้งสามเห็นว่าต้องแยกจากกันจึงดื่มน้ำสาบานว่าจะเป็นเพื่อนกันตลอดไปแล้วได้พูดว่า หากใครบ่ซื่อคิดคดขอให้ตายในสามวันอย่าให้ทันในสามเดือนอย่าให้เคลื่อนในสามปี จากนั้นเจ้าชายทั้งสามก็กลับบ้านเมืองของตนไป


เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ ๒๐ พรรษาพญาลาวเม็งก็เสด็จสวรรคต พญามังรายจึงเสวยราชสมบัติแทน ต่อมาพระองค์ได้ไปตีเมืองหริภุญชัยแล้วได้ชัยชนะจึงสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาแล้วเชิญสหายรักของท่านมาร่วมหาทำเลที่จะสร้างเมืองใหม่แล้วในที่สุดพ่อเมืองทั้งสามก็หาทำเลได้แล้วตั้งชื่อว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่

พระราชกรณียกิจ
เมื่อพระชนมายุได้ ๒๐ พรรษา พระเจ้าลาวเม็งสวรรคต พญามังรายเสวยราชสมบัติปกครองเมืองหิรัญนครเงินยางสืบต่อมา นับเป็นรัชกาลที่ ๒๕ แห่งราชวงศ์ลวจังกราช เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้วก็ทรงพระราชดำริว่า แว่นแคว้นโยนก ประเทศนี้ มีท้าวพระยาหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของปู่เจ้าลาวจก (ลวจังกราช) ต่างก็ปกครองอย่างสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกประการหนึ่งบ้านเมืองใด หากมีผู้เป็นใหญ่ปกครองบ้านเมืองมากเจ้าหลายนายก็มักจะสร้างความทุกข์ยากให้แก่ ไพร่บ้านพลเมืองของตน และถ้าหากมีศัตรูต่างชาติเข้าโจมตีก็อาจจะเสียเอกราชของชนชาติไทยได้โดยง่าย

ฉะนั้นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง พญามังรายจึงมีพระประสงค์ที่จะรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วิธีดำเนินตามนโยบายก็คือ แต่งพระราชสาสน์ไปถึงบรรดาหัวเมืองต่างๆ ให้เข้ามายอมอ่อนน้อมในบรมโพธิสมภารของพระองค์เสียแต่ โดยดีหาไม่แล้วพระองค์จะทรงยกกองทัพไปปราบปราม

• พ.ศ.๑๘๐๕ พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงรายโดยการก่อกำแพงเมืองโอบเอาดอยจอมทองไว้ท่ามกลางเมือง ต่อมาตีได้เมืองของ ชาวลัวะคือ ม้งคุมม้งเคียนแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองเชียงตุง



• พ.ศ.๑๘๑๘ ขณะที่ประทับที่เมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างมาแต่ครั้งพระเจ้าลวจังกราช เมืองฝางมีอาณาเขตติดต่อกับอาณาจักรหริภุญชัย ของพญายีบา พญามังรายทรงทราบเรื่องราวของความเจริญรุ่งเรือง และความอุดมสมบูรณ์ของเมืองหริภุญชัย พระองค์ทรงมอบ ให้อ้ายฟ้าขุนนางเชื้อสายลัวะเป็นผู้รับอาสาเข้าไปเป็นไส้ศึกทำกลอุบายให้พญายีบามาหลงเชื่อ และทำให้ชาวเมืองหริภุญชัยเกลียดชัง พญายีบา พญามังรายทรงมุ่งมั่นที่จะขยายพระราชอำนาจเหนือดินแดนลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนให้ได้ จึงมอบเมือง เชียงรายให้แก่เจ้าขุน เครื่องปกครอง ส่วนพระองค์มาประทับที่เมืองฝาง

ต่อมาพระองค์ทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพม่า แต่ด้วยเกรงในพระราชอำนาจ จึงถวายพระนางปายโคเป็นพระมเหสี เมื่อพระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทราบก็ทรงสลดพระทัย เนื่องจากทรงระลึกได้ว่าพญามังรายทรงผิดคำสาบาน ที่พระองค์ทรงสาบาน ในเมื่อประทับ อยู่ที่เชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียง พระองค์เดียว พระนางจึงสละพระองค์ออกจากพระราชวัง ออกบวชชี ซึ่งเชื่อกันว่า ต่อมาบริเวณที่พระนางไปบวชนั้น เป็น เวียงกุมกาม

• พ.ศ. ๑๘๒๔ อ้ายฟ้าสามารถทำการได้สำเร็จ โดยหลอกให้พญายีบาเดินทางไปขอกำลังพลจากพญาเบิกเจ้าเมืองเขลางค์นคร พญามังรายจึงสามารถเข้าเมืองหริภุญชัยได้พระองค์ทรงมอบเมืองหริภุญชัยให้อ้ายฟ้าปกครอง ส่วนพระองค์ได้มาสร้างเมืองขึ้นใหม่ซึ่ง อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือให้ชื่อว่า เมืองกุมกาม หรือเวียงกุมกาม ต่อมาพญามังรายทอดพระเนตรชัยภูมิระหว่างดอยสุเทพ ด้านตะวันตกกับแม่น้ำปิง ด้านตะวันออก ทรงพอพระทัยจึงเชิญพระสหาย คือ พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง แห่งเมืองพะเยา มาร่วมปรึกษาหา รือการสร้างเมืองแห่งใหม่ให้นามว่า เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๘๓๙ เรียกสั้นๆ ว่า นครเชียงใหม่ พญามังรายได้ย้ายเมืองหลวง จากเวียงกุมกาม


• สถาปนาเมืองใหม่แห่งนี้ให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง ของอาณาจักรล้านนามีอำนาจเหนือ ดินแดนลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำกกถึงแม่น้ำโขงตอนกลางจนถึงหัวเมืองไทยใหญ่ (เงี้ยว) ๑๑ หัวเมืองลุ่มแม่น้ำสาละวิน

พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อทรงเสด็จออกตลาด โดยมี อสุนีบาตต้องพระองค์สิ้นพระชนม์ เชื่อกันว่าเป็นปาฏิหารย์ของ พระนางอั้วมิ่งเวียงไชย

อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นที่ยอมรับของอาณาจักรข้างเคียง พญามังรายทรงเป็นปฐมวงศ์กษัตริย์ราชวงศ์มังราย มีกษัตริย์สืบเชื้อสายถึง ๑๘ พระองค์ จนถึง พ.ศ.๒๑๐๑ ล้านนาสูญเสียความเป็น เอกราชให้แก่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่า

ข้อมูลจาก เว็บไซต์คลังจังหวัดเชียงราย
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: พระราชประวัติพญามังราย..ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อังคาร 22 ต.ค. 2013 1:45 pm

พญามังรายประสูติวันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ สัมฤทธิ์ศกจุลศักราช ๖๐๐ (พ.ศ. ๑๗๘๑) เวลาย่ำรุ่ง

บางตำราว่าเป็น พ.ศ.๑๗๘๒ (อ.ประเสริฐ ณ นคร )

คำนวณแล้วตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๑๗๘๒

1379338_537834586286590_1262203191_n.jpg
1379338_537834586286590_1262203191_n.jpg (54.11 KiB) เปิดดู 8891 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: พระราชประวัติพญามังราย..ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อังคาร 22 ต.ค. 2013 2:59 pm

veangkumkam-2.jpg
veangkumkam-2.jpg (204.59 KiB) เปิดดู 8888 ครั้ง


พญามังรายทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพม่า แต่ด้วยเกรงในพระราชอำนาจ กษัตริย์พม่าจึงถวายพระนางปายโคเป็นพระมเหสี เมื่อพระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทราบก็ทรงสลดพระทัย เนื่องจากทรงระลึกได้ว่าพญามังรายทรงผิดคำสาบาน ที่พระองค์ทรงสาบาน ในเมื่อประทับ อยู่ที่เชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียง พระองค์เดียว พระนางจึงสละพระองค์ออกจากพระราชวัง ออกบวชชี ซึ่งเชื่อกันว่า ต่อมาบริเวณที่พระนางไปบวชนั้น คือ เวียงกุมกามเวียงกุมกาม เป็นเมืองโบราณที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพญามังรายราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘( พ.ศ. ๑๘๓๙ - ๒๑๐๑ ) เป็นเมืองที่มีความมีความรุ่งเรืองอย่างถึงขีดสุด เนื่องจากเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ต่อมาเมื่อพญาเม็งรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ เวียงกุมกามก็ยังเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ จนกระทั่งถึงกาลอวสาน

จากหลักฐานหลักศิลาจารึกที่ขุดพบโดยกรมศิลปากรนั้น พบว่า เวียงกุมกามในอดีตเป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขายของชาวล้านนา มีพ่อค้าจากต่างเมืองเข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมากและมีเรือล่มเป็นประจำ พญามังรายจึงมีพระราชดำริให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง เพื่อให้การค้าขายสะดวกยิ่งขึ้น

ทางด้านศิลปะนั้น หลักฐานทางศิลปกรรมที่ขุดพบ ทำให้ทราบว่าเวียงกุมกามได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากมอญและพม่า จนกลายเป็นศิลปผสมผสานระหว่างล้านนาและพม่า

ต่อมา...เมื่อน้ำจากแม่น้ำปิงเอ่อล้น ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในเวียงกุมกามจนทำให้เวียงกุมกามกลายเป็นเมืองร้างที่ถูกลืม ในครั้งนั้นแม่น้ำปิงจึงเปลี่ยนเส้นทางเดินจากที่เคยไหลไปทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม กลายเป็นไหลไปทางด้านทิศตะวันตกซึ่งก็คือแนวน้ำปิงในปัจจุบันนั่นเอง

อุทกภัยครั้งนั้นได้แปรเปลี่ยนเวียงกุมกามจากเมืองอันรุ่งเรืองให้เหลือเพียงซากวิหาร และเจดีย์ที่จมอยู่ใต้ดินลึกกว่า ๒ เมตร วัดที่จมดินลึกที่สุดได้แก่วัดอีค่าง ซึ่งมีชั้นดินปิดทับอยู่ประมาณ ๑. ๘๐ - ๒ . ๓๐ เมตร รองลงมา คือวัดปู่เบี้ย ซึ่งจมดินในระดับความลึก ๑. ๕๐ - ๒. ๐๐ เมตร

เวียงกุมกามเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่า โดยเฉพาะ วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ เจดีย์กู่คำเป็นโบราณสถานที่คงความงดงามมากว่า ๗๐๐ ปีแล้ว นอกจากนี้ยังมีวัดช้างค้ำหรือวัดกานโถมซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุด วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางของเวียงกุมกาม วัดกานโถมนั้นพญาเม็งรายสร้างขึ้นเพื่อสักการะพระมหากัสสปะเถระ นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานอื่นๆอีกกว่า ๔๐ แห่ง ประกอบด้วย วัดพญาเม็งราย วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดธาตุขาว วัดอีก้าง วัดธาตุปู่เปี้ย กู่ป้าต้อม กู่ต้นโพธิ์ ฯลฯ และยังมีโบราณสถานอื่นๆที่กำลังอยู่ในระหว่างขุดค้น

ปัจจุบันเวียงกุมกามมีพื้นที่อยู่ใน จ .เชียงใหม่ ห่างจากถนนมหิดล ๒ กิโลเมตรหรือประมาณ ๔ - ๕ กิโลเมตรจากสนามบินนานาชาติเชียงใหม่
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: พระราชประวัติพญามังราย..ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อังคาร 22 ต.ค. 2013 3:00 pm

ด้วยตั้งจิตอธิษฐานจารไว้มั่น
ว่ารักนั้นเพียงกานดาแก้วตาพี่
เคยสาบานผ่านฟ้าธรณี
หากผิดคำจากนี้จงบรรลัย

"พญามังรายทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพม่า แต่ด้วยเกรงในพระราชอำนาจ กษัตริย์พม่าจึงถวายพระนางปายโคเป็นพระมเหสี เมื่อพระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทราบก็ทรงสลดพระทัย เนื่องจากทรงระลึกได้ว่าพญามังรายทรงผิดคำสาบาน ที่พระองค์ทรงสาบาน ในเมื่อประทับ อยู่ที่เชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียง พระองค์เดียว พระนางจึงสละพระองค์ออกจากพระราชวัง ออกบวชชี ซึ่งเชื่อกันว่า ต่อมาบริเวณที่พระนางไปบวชนั้น คือ เวียงกุมกาม"

พงศาวดารโยนกและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่าบริเวณที่สร้างเจดีย์แปดเหลี่ยม วัดอินทขีลสะดือเมือง เคยเป็นสถานที่พญามังรายต้องอัสนีบาตสวรรคต ต่อมาพญาไชยสงคราม ราชโอรสทรงสร้างเจดีย์บรรจุพระอัฐิไว้
ไฟล์แนป
C360_2013-09-12-16-26-09-986.jpg
C360_2013-09-12-16-26-09-986.jpg (472.1 KiB) เปิดดู 8888 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: พระราชประวัติพญามังราย..ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

โพสต์โดย น้ำฟ้า » พุธ 26 ก.พ. 2020 10:48 am

...เช็กข้อมูล
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am


ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน

cron