หน้า 1 จากทั้งหมด 1

พระราชประวัติพญามังราย..ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

โพสต์เมื่อ: อังคาร 22 ต.ค. 2013 1:43 pm
โดย น้ำฟ้า
พญามังรายมหาราช

Mangrai_Monument.jpg
Mangrai_Monument.jpg (167.24 KiB) เปิดดู 11535 ครั้ง



พญามังรายมหาราช พรญามังราย พระญามังราย หรือ พญามังราย ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา โดยทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองเชียงแสน มาสู่เมืองเชียงราย และในที่สุดก็ทรงตั้งเมืองเวียงพิงค์ หรือเชียงใหม่เป็นราชธานี

พระราชประวัติ
พญามังรายเป็นโอรสของพระเจ้าลาวเม็งเชื้อสายวงศ์ลวจังกราชเจ้าผู้ครองหิรัญนครเงินยาง (อ.เชียงแสนปัจจุบัน) กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ่ง ท้าวรุ่งแก่นชายทรงตั้งพระนามพระธิดาใหม่ว่าพระนางเทพคำ ข่ายหรือเทพคำขยายเพื่อเป็นมงคลนาม พญามังรายเป็นเชื้อสาย ของพระเจ้าลวจังกราชปกครองชนเผ่าไทยยวน ซึ่งมีอาณาจักร ของตนเรียกอาณาจักรหิรัญนครเงินยาง ได้สร้างเมืองหิรัญนครเงินยางเป็นเมืองหลวงขึ้นทีริมฝั่งแม่น้ำโขงเมื่อประมาณ พ.ศ. 1182 พญามังรายประสูติวันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ สัมฤทธิ์ศกจุลศักราช ๖๐๐ พ.ศ. ๑๗๘๑ ฉบับ อ.ประเสริฐ ณ นคร ระบุว่าเป็น พ.ศ ๑๗๘๒ เวลาย่ำรุ่ง พญามังรายมีโอรส ๓ องค์ ได้แก่ เจ้าขุนเครื่อง เจ้าขุนคราม (ไชยสงคราม) และเจ้าขุนเครือ พญามังรายสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.๑๘๖๐ รวมพระชนมายุ ๗๙ พรรษา

การศึกษา
เจ้าชายมังราย(พญามังราย)ทรงเรียนที่สำนักอิสิฤๅษีร่วมกันกับเจ้าชายงำเมือง(พญางำเมือง)และเจ้าชายราม(พ่อขุนรามคำแหง)แล้วได้ร่ำเรียนวิชาจบแล้วก็ย้ายไปสุกทันตฤๅษีก็ยังพบสหายอยู่เมื่อเรียนวิชาสำเร็จเจ้าชายทั้งสามเห็นว่าต้องแยกจากกันจึงดื่มน้ำสาบานว่าจะเป็นเพื่อนกันตลอดไปแล้วได้พูดว่า หากใครบ่ซื่อคิดคดขอให้ตายในสามวันอย่าให้ทันในสามเดือนอย่าให้เคลื่อนในสามปี จากนั้นเจ้าชายทั้งสามก็กลับบ้านเมืองของตนไป


เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ ๒๐ พรรษาพญาลาวเม็งก็เสด็จสวรรคต พญามังรายจึงเสวยราชสมบัติแทน ต่อมาพระองค์ได้ไปตีเมืองหริภุญชัยแล้วได้ชัยชนะจึงสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาแล้วเชิญสหายรักของท่านมาร่วมหาทำเลที่จะสร้างเมืองใหม่แล้วในที่สุดพ่อเมืองทั้งสามก็หาทำเลได้แล้วตั้งชื่อว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่

พระราชกรณียกิจ
เมื่อพระชนมายุได้ ๒๐ พรรษา พระเจ้าลาวเม็งสวรรคต พญามังรายเสวยราชสมบัติปกครองเมืองหิรัญนครเงินยางสืบต่อมา นับเป็นรัชกาลที่ ๒๕ แห่งราชวงศ์ลวจังกราช เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้วก็ทรงพระราชดำริว่า แว่นแคว้นโยนก ประเทศนี้ มีท้าวพระยาหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของปู่เจ้าลาวจก (ลวจังกราช) ต่างก็ปกครองอย่างสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกประการหนึ่งบ้านเมืองใด หากมีผู้เป็นใหญ่ปกครองบ้านเมืองมากเจ้าหลายนายก็มักจะสร้างความทุกข์ยากให้แก่ ไพร่บ้านพลเมืองของตน และถ้าหากมีศัตรูต่างชาติเข้าโจมตีก็อาจจะเสียเอกราชของชนชาติไทยได้โดยง่าย

ฉะนั้นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง พญามังรายจึงมีพระประสงค์ที่จะรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วิธีดำเนินตามนโยบายก็คือ แต่งพระราชสาสน์ไปถึงบรรดาหัวเมืองต่างๆ ให้เข้ามายอมอ่อนน้อมในบรมโพธิสมภารของพระองค์เสียแต่ โดยดีหาไม่แล้วพระองค์จะทรงยกกองทัพไปปราบปราม

• พ.ศ.๑๘๐๕ พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงรายโดยการก่อกำแพงเมืองโอบเอาดอยจอมทองไว้ท่ามกลางเมือง ต่อมาตีได้เมืองของ ชาวลัวะคือ ม้งคุมม้งเคียนแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองเชียงตุง



• พ.ศ.๑๘๑๘ ขณะที่ประทับที่เมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างมาแต่ครั้งพระเจ้าลวจังกราช เมืองฝางมีอาณาเขตติดต่อกับอาณาจักรหริภุญชัย ของพญายีบา พญามังรายทรงทราบเรื่องราวของความเจริญรุ่งเรือง และความอุดมสมบูรณ์ของเมืองหริภุญชัย พระองค์ทรงมอบ ให้อ้ายฟ้าขุนนางเชื้อสายลัวะเป็นผู้รับอาสาเข้าไปเป็นไส้ศึกทำกลอุบายให้พญายีบามาหลงเชื่อ และทำให้ชาวเมืองหริภุญชัยเกลียดชัง พญายีบา พญามังรายทรงมุ่งมั่นที่จะขยายพระราชอำนาจเหนือดินแดนลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนให้ได้ จึงมอบเมือง เชียงรายให้แก่เจ้าขุน เครื่องปกครอง ส่วนพระองค์มาประทับที่เมืองฝาง

ต่อมาพระองค์ทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพม่า แต่ด้วยเกรงในพระราชอำนาจ จึงถวายพระนางปายโคเป็นพระมเหสี เมื่อพระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทราบก็ทรงสลดพระทัย เนื่องจากทรงระลึกได้ว่าพญามังรายทรงผิดคำสาบาน ที่พระองค์ทรงสาบาน ในเมื่อประทับ อยู่ที่เชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียง พระองค์เดียว พระนางจึงสละพระองค์ออกจากพระราชวัง ออกบวชชี ซึ่งเชื่อกันว่า ต่อมาบริเวณที่พระนางไปบวชนั้น เป็น เวียงกุมกาม

• พ.ศ. ๑๘๒๔ อ้ายฟ้าสามารถทำการได้สำเร็จ โดยหลอกให้พญายีบาเดินทางไปขอกำลังพลจากพญาเบิกเจ้าเมืองเขลางค์นคร พญามังรายจึงสามารถเข้าเมืองหริภุญชัยได้พระองค์ทรงมอบเมืองหริภุญชัยให้อ้ายฟ้าปกครอง ส่วนพระองค์ได้มาสร้างเมืองขึ้นใหม่ซึ่ง อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือให้ชื่อว่า เมืองกุมกาม หรือเวียงกุมกาม ต่อมาพญามังรายทอดพระเนตรชัยภูมิระหว่างดอยสุเทพ ด้านตะวันตกกับแม่น้ำปิง ด้านตะวันออก ทรงพอพระทัยจึงเชิญพระสหาย คือ พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง แห่งเมืองพะเยา มาร่วมปรึกษาหา รือการสร้างเมืองแห่งใหม่ให้นามว่า เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๘๓๙ เรียกสั้นๆ ว่า นครเชียงใหม่ พญามังรายได้ย้ายเมืองหลวง จากเวียงกุมกาม


• สถาปนาเมืองใหม่แห่งนี้ให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง ของอาณาจักรล้านนามีอำนาจเหนือ ดินแดนลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำกกถึงแม่น้ำโขงตอนกลางจนถึงหัวเมืองไทยใหญ่ (เงี้ยว) ๑๑ หัวเมืองลุ่มแม่น้ำสาละวิน

พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อทรงเสด็จออกตลาด โดยมี อสุนีบาตต้องพระองค์สิ้นพระชนม์ เชื่อกันว่าเป็นปาฏิหารย์ของ พระนางอั้วมิ่งเวียงไชย

อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นที่ยอมรับของอาณาจักรข้างเคียง พญามังรายทรงเป็นปฐมวงศ์กษัตริย์ราชวงศ์มังราย มีกษัตริย์สืบเชื้อสายถึง ๑๘ พระองค์ จนถึง พ.ศ.๒๑๐๑ ล้านนาสูญเสียความเป็น เอกราชให้แก่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่า

ข้อมูลจาก เว็บไซต์คลังจังหวัดเชียงราย

Re: พระราชประวัติพญามังราย..ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

โพสต์เมื่อ: อังคาร 22 ต.ค. 2013 1:45 pm
โดย น้ำฟ้า
พญามังรายประสูติวันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ สัมฤทธิ์ศกจุลศักราช ๖๐๐ (พ.ศ. ๑๗๘๑) เวลาย่ำรุ่ง

บางตำราว่าเป็น พ.ศ.๑๗๘๒ (อ.ประเสริฐ ณ นคร )

คำนวณแล้วตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๑๗๘๒

1379338_537834586286590_1262203191_n.jpg
1379338_537834586286590_1262203191_n.jpg (54.11 KiB) เปิดดู 11534 ครั้ง

Re: พระราชประวัติพญามังราย..ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

โพสต์เมื่อ: อังคาร 22 ต.ค. 2013 2:59 pm
โดย น้ำฟ้า
veangkumkam-2.jpg
veangkumkam-2.jpg (204.59 KiB) เปิดดู 11531 ครั้ง


พญามังรายทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพม่า แต่ด้วยเกรงในพระราชอำนาจ กษัตริย์พม่าจึงถวายพระนางปายโคเป็นพระมเหสี เมื่อพระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทราบก็ทรงสลดพระทัย เนื่องจากทรงระลึกได้ว่าพญามังรายทรงผิดคำสาบาน ที่พระองค์ทรงสาบาน ในเมื่อประทับ อยู่ที่เชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียง พระองค์เดียว พระนางจึงสละพระองค์ออกจากพระราชวัง ออกบวชชี ซึ่งเชื่อกันว่า ต่อมาบริเวณที่พระนางไปบวชนั้น คือ เวียงกุมกามเวียงกุมกาม เป็นเมืองโบราณที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพญามังรายราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘( พ.ศ. ๑๘๓๙ - ๒๑๐๑ ) เป็นเมืองที่มีความมีความรุ่งเรืองอย่างถึงขีดสุด เนื่องจากเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ต่อมาเมื่อพญาเม็งรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ เวียงกุมกามก็ยังเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ จนกระทั่งถึงกาลอวสาน

จากหลักฐานหลักศิลาจารึกที่ขุดพบโดยกรมศิลปากรนั้น พบว่า เวียงกุมกามในอดีตเป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขายของชาวล้านนา มีพ่อค้าจากต่างเมืองเข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมากและมีเรือล่มเป็นประจำ พญามังรายจึงมีพระราชดำริให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง เพื่อให้การค้าขายสะดวกยิ่งขึ้น

ทางด้านศิลปะนั้น หลักฐานทางศิลปกรรมที่ขุดพบ ทำให้ทราบว่าเวียงกุมกามได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากมอญและพม่า จนกลายเป็นศิลปผสมผสานระหว่างล้านนาและพม่า

ต่อมา...เมื่อน้ำจากแม่น้ำปิงเอ่อล้น ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในเวียงกุมกามจนทำให้เวียงกุมกามกลายเป็นเมืองร้างที่ถูกลืม ในครั้งนั้นแม่น้ำปิงจึงเปลี่ยนเส้นทางเดินจากที่เคยไหลไปทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม กลายเป็นไหลไปทางด้านทิศตะวันตกซึ่งก็คือแนวน้ำปิงในปัจจุบันนั่นเอง

อุทกภัยครั้งนั้นได้แปรเปลี่ยนเวียงกุมกามจากเมืองอันรุ่งเรืองให้เหลือเพียงซากวิหาร และเจดีย์ที่จมอยู่ใต้ดินลึกกว่า ๒ เมตร วัดที่จมดินลึกที่สุดได้แก่วัดอีค่าง ซึ่งมีชั้นดินปิดทับอยู่ประมาณ ๑. ๘๐ - ๒ . ๓๐ เมตร รองลงมา คือวัดปู่เบี้ย ซึ่งจมดินในระดับความลึก ๑. ๕๐ - ๒. ๐๐ เมตร

เวียงกุมกามเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่า โดยเฉพาะ วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ เจดีย์กู่คำเป็นโบราณสถานที่คงความงดงามมากว่า ๗๐๐ ปีแล้ว นอกจากนี้ยังมีวัดช้างค้ำหรือวัดกานโถมซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุด วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางของเวียงกุมกาม วัดกานโถมนั้นพญาเม็งรายสร้างขึ้นเพื่อสักการะพระมหากัสสปะเถระ นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานอื่นๆอีกกว่า ๔๐ แห่ง ประกอบด้วย วัดพญาเม็งราย วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดธาตุขาว วัดอีก้าง วัดธาตุปู่เปี้ย กู่ป้าต้อม กู่ต้นโพธิ์ ฯลฯ และยังมีโบราณสถานอื่นๆที่กำลังอยู่ในระหว่างขุดค้น

ปัจจุบันเวียงกุมกามมีพื้นที่อยู่ใน จ .เชียงใหม่ ห่างจากถนนมหิดล ๒ กิโลเมตรหรือประมาณ ๔ - ๕ กิโลเมตรจากสนามบินนานาชาติเชียงใหม่

Re: พระราชประวัติพญามังราย..ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

โพสต์เมื่อ: อังคาร 22 ต.ค. 2013 3:00 pm
โดย น้ำฟ้า
ด้วยตั้งจิตอธิษฐานจารไว้มั่น
ว่ารักนั้นเพียงกานดาแก้วตาพี่
เคยสาบานผ่านฟ้าธรณี
หากผิดคำจากนี้จงบรรลัย

"พญามังรายทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพม่า แต่ด้วยเกรงในพระราชอำนาจ กษัตริย์พม่าจึงถวายพระนางปายโคเป็นพระมเหสี เมื่อพระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทราบก็ทรงสลดพระทัย เนื่องจากทรงระลึกได้ว่าพญามังรายทรงผิดคำสาบาน ที่พระองค์ทรงสาบาน ในเมื่อประทับ อยู่ที่เชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียง พระองค์เดียว พระนางจึงสละพระองค์ออกจากพระราชวัง ออกบวชชี ซึ่งเชื่อกันว่า ต่อมาบริเวณที่พระนางไปบวชนั้น คือ เวียงกุมกาม"

พงศาวดารโยนกและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่าบริเวณที่สร้างเจดีย์แปดเหลี่ยม วัดอินทขีลสะดือเมือง เคยเป็นสถานที่พญามังรายต้องอัสนีบาตสวรรคต ต่อมาพญาไชยสงคราม ราชโอรสทรงสร้างเจดีย์บรรจุพระอัฐิไว้

Re: พระราชประวัติพญามังราย..ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

โพสต์เมื่อ: พุธ 26 ก.พ. 2020 10:48 am
โดย น้ำฟ้า
...เช็กข้อมูล