เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 29 ธ.ค. 2013 8:19 am

สวัสดีปีใหม่ สไตล์ล้านนา

newy2014.jpg
newy2014.jpg (263.75 KiB) เปิดดู 10798 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 09 ก.พ. 2014 1:41 pm

คุ้มหลวงเมืองลำปาง เขลางค์นคร

487572_568271103260219_1198383109_n.jpg
487572_568271103260219_1198383109_n.jpg (36.65 KiB) เปิดดู 10707 ครั้ง


คำว่า "คุ้ม" ในภาษาล้านนานั้นมีความหมายถึงวังของเจ้านาย แต่ถ้าเป็นคุ้มของเจ้าผู้ครองนครนั้นจะเรียกกันว่า "คุ้มหลวง" เหมือนกันทุกเมือง แต่ "หอคำ" หรือ "ตำหนักทอง" ซึ่งมีอยู่ที่เมืองนครลำปางและนครน่านนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในพระนิพนธ์อธิบายไว้ใน "บันทึกชี้แจงเรื่องคุ้มหลวงเมืองนครลำปาง" ว่า


"...ที่คุ้มหลวง...นี้เห็นจะเป็นที่เจ้าเมืองนครลำปางอยู่สืบกันมาตั้งแต่เจ้าฟ้าชายแก้ว ปรากฏแต่ว่า เมื่อพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่คุ้มหลวงนี้ ครั้นเมื่อไทยรบพุ่งขับไล่พม่าไปจากเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ โปรดให้พระยากาวิละย้ายไปเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ทรงตั้งพระยาคำโสมน้องพระยากาวิละคนที่ ๒ เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง พระยานครลำปางคำโสมก็อยู่ในที่คุ้มหลวงนี้ต่อมา ถึงรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตั้งพระยาดวงทิพน้องพระยากาวิละคนที่ ๓ เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง ก็อยู่ในที่คุ้มหลวงนี้ ในรัชกาลที่ ๒ นั้น ทรงสถาปนาพระยานครลำปางดวงทิพให้มีเกียรติยศสูงขึ้นเป็นพระเจ้านครลำปาง เหมือนอย่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เคยทรงสถาปนาพระยาเชียงใหม่กาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้าเชียงใหม่เคยสร้างเวียงแก้ว (คือทำนองเป็นอย่างวัง) ขึ้นประดับเกียรติยศ เมื่อพระยานครลำปางดวงทิพได้เป็นพระเจ้านครลำปาง ก็สร้าง "หอคำ" (แปลว่าตำหนักทอง) ขึ้นประดับเกียรติยศในที่คุ้มหลวงนั้น แต่นั้นมาบริเวณที่คุ้มหลวงจึงมีชื่อเรียกเป็น ๒ ตอน เรียกว่าที่หอคำตอน ๑ คงเรียกว่าที่คุ้มหลวงตอน ๑ แต่ที่ทั้ง ๒ ตอนนั้นอยู่ในบริเวณที่อันเดียวกัน ต่อจากพระเจ้านครลำปางดวงทิพมา พระยาชัยวงศ พระยากันทิยะ พระยาน้อยอินทร ล้วนเป็นบุตรพระยานครลำปางคำโสม ได้เป็นเจ้าเมืองนครลำปางต่อกันมา ๓ คนจนตลอดรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกตำแหน่งพระยานครลำปางขึ้นเป็นเจ้าประเทศราช และทรงตั้งเจ้าวรญาณรังสี บุตรพระยานครลำปางคำโสมอีกคน ๑ เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง เจ้าเมืองนครลำปางทั้ง ๔ คนนี้ก็อยู่ในคุ้มหลวงทุกคน ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อเจ้าวรญาณรังสีถึงพิราลัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งบุตรของพระเจ้านครลำปางดวงทิพย์ ขึ้นเป็นเจ้าพรหมาภิพงศธาดา เจ้าเมืองนครลำปาง ได้ยินว่า เจ้าพรหมาภิพงศธาดาปลูกเรือนอยู่ในที่ตอนหอคำไม่ได้มาอยู่ทางตอนคุ้มหลวง สันนิษฐานว่าเห็นจะเป็นด้วยไม่อยากจะไล่ครอบครัวของเจ้าวรญาณรังษี แต่ก็อยู่ในบริเวณอันเดียวกันดังกล่าวมาแล้ว

เมื่อเจ้าพรหมาภิพงศธาดาถึงพิราลัย ข้าพเจ้าได้เป็นตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเจ้านันทชัย บุตรเจ้าวรญาณรังสี เป็นเจ้านรนันทชัยชวลิตเจ้านครลำปาง ก็มาอยู่ที่คุ้มหลวง๑ ครั้นเจ้านรนันทชัยชวลิตถึงพิราลัย ทรงตั้งเจ้าบุญทวงศบุตรเจ้านรนันทชัยชวลิต เป็นเจ้าบุญวาทย์วงศมานิตยเจ้านครลำปาง (เป็นครั้งแรกที่บุตรได้เป็นตำแหน่งเจ้านครลำปางต่อบิดา) ก็มาอยู่ในคุ้มหลวง ในสมัยเมื่อเจ้าบุญวาทย์วงศมานิตยเป็นเจ้านครลำปางประจวบเวลาจัดการเทศาภิบาล เช่นสร้างที่ว่าการมณฑล แลที่ว่าการเมืองเปนต้น เจ้าบุญวาทย์วงศมานิตยจึงให้เอาที่ตอนหอคำสร้างสำนักงานรัฐบาล แลสร้างตึกศาลากลางขึ้น เวลานั้นเหย้าเรือนในคุ้มหลวงทรุดโทรม เจ้าบุญวาทย์วงศมานิตมีใบบอกขอไม้สักของหลวงไปใช้ซ่อมแซมให้คืนดี ก็ได้อนุญาตให้ตามประสงค์ เจ้าบุญวาทย์วงศมานิตยถึงพิราลัยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ไม่ได้ทำพินัยกรรมสั่งเรื่องทรัพยมฤดกไว้ จึงได้มีกรรมารจัดการเรื่องมฤดกเจ้าบุญวาทย์วงศมานิตย ส่วนเจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน) นั้น เพราะได้เจ้าสีนวลธิดาเจ้าบุญวาทย์วงศมานิตเป็นภรรยา จึงได้เข้าไปอยู่ในคุ้มหลวงกับภรรยาตั้งแต่เจ้าบุญวาทย์วงศมานิตยยังมีชีวิตอยู่ เมื่อเจ้าบุญวาทย์มานิตยถึงพิราลัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้เจ้าราชบุตรเป็นผู้รั้ง ยังหาได้ตำแหน่งเจ้านครลำปางไม่..."



เมื่อเจ้าราชบุตร (น้อยแก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) ผู้รั้งเจ้านครลำปางถึงแก่กรรมเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ แล้ว นายบุญชู บุรพรรค์ ชาวเชียงใหม่ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกองมรดกของเจ้าราชบุตรต่อศาลจังหวัดลำปาง เมื่อศาลจังหวัดลำปางมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีแล้ว โจทก์ได้ร้องขอ "...ยึดคุ้มหลวงเพื่อขายทอดตลาดใช้หนี้ตามคำพิพากษา..."๓ แต่มหาอำมาตย์โท พระยาราชนกูลฯ๔ สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ ได้ร้องขัดทรัพย์โดยยกความเห็นของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า
"...


(ก) ที่คุ้มหลวงเมืองนครลำปางนั้นเป็นที่สำหรับผู้เป็นตำแหน่งเจ้าเมืองนครลำปางอยู่มาตั้งแต่ก่อนตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ แม้จะนับตั้งแต่รัชชกาลที่ ๑ มา เจ้าเมืองนครลำปางก็ได้อยู่สืบกันมาถึง ๑๐ คน



(ข) แม้เจ้าเมืองนครลำปางในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์อยู่ในเชื้อวงศ์เจ้าเจ็ดตนด้วยกันทั้งนั้นก็ดี ก็มิได้ปกครองคุ้มหลวงโดยฐานเป็นทายาทรับมฤดก แล้วแต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งผู้ใดให้เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง ผู้นั้นก็มาอยู่ในที่คุ้มหลวงเพียงตลอดอายุ แล้วผู้เป็นตำแหน่งต่อก็อยู่ต่อไป ข้อนี้พึงเห็นได้ที่ทรงตั้งน้องให้เจ้าเมืองต่อพี่เป็นพื้น บุตรได้เป็นเจ้าเมืองนครลำปางต่อบิดาแต่เจ้าบุญวาทย์วงศมานิตคนเดียว

(ค) บรรดาผู้ที่เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง แม้เจ้าบุญวาทย์วงศมานิตย์เองเมื่อก่อนเป็นตำแหน่งนั้นย่อมตั้งบ้านเรือนอยู่ที่อื่น ต่อเป็นเจ้าเมืองนครลำปางเมื่อใดจึงได้ย้ายมาอยู่ในคุ้มหลวงเป็นประเพณีสืบมาดังนี้..."๕
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาเป็นที่สุดเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ว่า คดีนี้ศาลจังหวัดลำปางได้ยกเหตุผลกล่าวไว้ในคำสั่งเป็นอเนกประการ และเหตุผลนั้นๆ ก็น่าฟังอยู่มาก

"...แต่ศาลอุทธรณ์หาเห็นพ้องด้วยไม่ เพราะหลักฐานคำพยานฝ่ายผู้ร้องพอฟังได้ว่าที่คุ้มรายนี้ได้ใช้เป็นที่พำนักสำหรับเจ้าผู้ครองนครโดยตำแหน่งสืบเนื่องกันมาเป็นเวลา ๔๕ ปีแล้ว กับยังใช้เป็นที่รับเสด็จเจ้านายเสมอมา อีกประการหนึ่งคุ้มหลวงมิได้จกเป็นมฤดกแก่ ผู้รับมฤดกของเจ้าผู้ครองนคร แต่ว่าเมื่อผู้ใดได้รับพระราชทานตั้งแต่งให้เป็นเจ้าผู้ครองนครแล้ว ก็เข้าสำนักอยู่ในคุ้มหลวงต่อไป และไม่เคยมีเจ้าผู้ครองนครตนใดกล่าวอ้างว่ามีกรรมสิทธิแม้แต่ประการใด ๆ ในคุ้มนี้เลย

อาศัยเหตุดั่งกล่าวนี้ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า คดีฝ่ายผู้ร้องขัดทรัพย์นั้นฟังขึ้น เหตุฉะนั้นจึ่งพร้อมกันพิพากษากลับคำสั่งศาลเดิม ให้ถอนการยึดคุ้มหลวงเสีย และโดยเหตุที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ปกครองคุ้มหลวงนี้มีความเลินเล่อมิได้จัดทำหลักฐานแสดงกรรมสิทธิไว้ให้ชัดแจ้ง และทั้งดำเนินคดีไม่เรียบร้อยมาแต่ต้น จึ่งให้ค่าธรรมเนียมเป็นภัพไป..." ๖



เมื่อศาลอุทธรณ์มีตำพิพากษาให้คุ้มหลวงนครลำปางตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐโดยสมบูรณ์แล้ว แต่เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง ในฐานะทายาทของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต และเครือญาติก็ยังคงพำนักอยู่ในเรือนอีกหลายหลังซึ่งปล๔กสร้างอยู่ภายในบริเวณคุ้มหลวงซึ่งมีที่ดินกว้างขวางอยู่ต่อกับศาลากลางจังหวัดลำปาง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ "...เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง เจ้าฝนห่าแก้ว เจ้าอ้ม ณ ลำปาง ได้ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ต่อกระทรวงมหาดไทยว่า ได้รับความทุกข์ลำบากยากแค้น ขอให้ช่วยอุปการะ ..."๗ เมื่อกระทรวง มหาดไทยได้รับเรื่องร้องทุกข์ดังกล่าวแล้ว จึงได้มีดำริว่า "...หากเจ้าศรีนวล ณ ลำปาง ได้ย้ายครอบครัวออกไปนอกคุ้มหลวงแล้ว บ้านเรือนและที่ดินในคุ้มหลวงจะมีประโยชน์แก่ทางราชการมาก และถ้าจะรอกว่าเจ้าศรีนวล ณ ลำปาง หมดอายุ เกรงว่าอาจยังเป็นเวลาอีกนาน บ้านเรือนที่มีอยู่จะชำรุดทรุดโทรมยิ่งขึ้น..."๘ ในที่สุด กระทรวงมหาดไทยได้เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีว่า "เพื่อปลดเปลื้องความผูกพันอันรัฐบาลจะต้องอุปการะแก่เชื้อวงศ์เจ้าผู้ครองนครลำปางให้เสร็จสิ้นไป ถือเสมือนหนึ่งเป็นบำเหน็จแก่ตระกูลเจ้าผู้ครองนคร ลำปาง ซึ่งได้เคยทำคุณความดีแก่ทางราชการมาแล้ว กับทั้งทางราชการก็จะได้ใช้คุ้มหลวงนี้เป็นประโยชน์ในราชการสืบไป..."๙ คณะ รัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาและมีมติเป็นที่สุดเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ว่า "

(๑) ...ให้กระทรวงการคลังพิจารณาดำเนินการสร้างบ้านให้เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง อาศัยอยู่ตลอดชีวิต
(๒) ให้จ่ายเงินให้เจ้าศรีนวล อีก ๓,๐๐๐ บาท โดยจ่ายจากเงินสำรองจ่ายในงบส่วนกลาง..."๑๐ คุ้มหลวงนครลำปางนี้จึงได้ใช้เป็นศาลากลางจัดลำปางโดยสมบูรณ์นับแต่บัดนั้น.


ที่มา
[หนังสืออนุสรณ์ 100 ปี โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย, 2541]
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 09 ก.พ. 2014 1:45 pm

ภาพอดีตนครลำปาง

1621931_568271163260213_256259077_n.jpg
1621931_568271163260213_256259077_n.jpg (98.6 KiB) เปิดดู 10636 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 30 มี.ค. 2014 4:02 pm

"นางเมือง" วีรสตรีแห่งลุ่มน้ำระมิงค์


wirasatrihaenglumnamraming.jpg
wirasatrihaenglumnamraming.jpg (540.25 KiB) เปิดดู 10535 ครั้ง


"นางเมือง" วีรสตรีแห่งลุ่มน้ำแม่ระมิงค์
เชียงใหม่คือถิ่นไทยงาม คือแดนดอกเอื้อง เมืองแห่งวัฒนธรรม เชียงใหม่ที่สันกำแพง และลำพูนมีเครื่องเงินเครืองเขินและช่างไม้ มีร่ม มีกุหลาบ มีลำไย ประวัติศาสตร์ก็มีวีรสตรีชาวเชียงใหม่ชื่อนางเมือง นางเมืองคนนี้เป็นภรรยาของเจ้าหมื่นโลกนครแม่ทัพคนสำคัญของพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์แห่งนครพิงค์(เพิ่มเติมโดยแอดมินว่า เจ้าหมื่นโลกนครเป็นแม่ทัพใหญ่ในสมัยพระเจ้าติโลกราชด้วย)

พระเจ้าแสนเมืองมามีพระชนมายุเพียงสิบสี่พรรษาก็ได้ขึ้นเถลิงราชสมบัติสืบสนองพระราชบิดาคือพระเจ้ากือนาซึ่งเสด็จสวรรคตที่นครพิงค์เชียงใหม่ พญามหาพรหมพระอนุชาของพญากือนาผู้ครองเมืองเชียงรายได้ทราบข่าวพระเชษฐาสวรรคต และพระราชบุตรได้สืบราชสมบัติก็ไม่พอพระทัยจึงยกรี้พลมาเป็นอันมากมาเพื่อจะแย่งราชสมบัติจากเจ้าแสนเมืองมา

พญามหาพรหมยกโยธาไปตั้งอยูที่หนองพะชีแล้วใช้คนไปบอกแก่อัครมหาเสนาที่ชื่อแสนผานอง ว่าจะขอเข้าไปถวายบังคมพระบรมศพพระเจ้ากือนา อัครเสนาแสนผานองนั้นทราบระแคะระคายมาแล้วก็ตอบไปว่า จะได้จัดพิธีรับรองให้สมพระเกียรติยศ แล้วแสนผานองจัดกำลังพลหมื่นหนึ่งขึ้นประจำรักษาพระนคร และจัดอีกกองหนึ่งตั้งไว้นอกเมืองให้ตีฆ้องกลองโห่ร้องเอิกเกริกไปเป็นโกลาหล พญามหาพรหมรู้ทันเหมือนกันว่ามีการเตรียมรับมือจึงต้องถอยทัพไปลงไปทางใต้กวาดเอาครัวชาวเวียงกุมกามไปด้วย ทั้งผู้หญิง เด็ก ข้าวของเงินทอง ยกเลยไปตั้งที่ริมน้ำแม่ขาน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอจอมทอง แสนผานองก็ให้หมื่นนครคุมทหารอยู่รักษาเมือง ส่วนตนเองก็คุมพลเจ็ดพันยกตามไปต่อตีกับพญามหาพรหม ไปทันกันเวลาเที่ยงคืนต่อสู้กัน

แสนผานองชนะได้ทรัพย์สินและผู้ที่พญามหาพรหมกวาดเอาไปได้คืนมา แล้วยังได้ช้าง ม้า อาวุธ และเชลยอีกมากมาย พญามหาพรหมเป็นผู้พ่ายแพ้จึงพาไพร่พลที่เหลือไปยังแดนเฉลี่ยงหรือชเลียง เพื่อไปพึ่งพระบรมไตรโลกนาถแห่งอาณาจักรอยุธยา ทางฝ่ายแสนผานองก็เลิกทัพกลับคืนนครเชียงใหม่ เรียกประชุมเสนาอามาตย์ทั้งหลายเพื่อปรึกษากันว่าพญามหาพรหมหนีไปเมืองใต้ครั้งนี้ดีร้ายคงจะนำกองทัพกรุงศรีอยุธยามาติดเมืองเป็นแน่ พระศพพระเจ้ากือนาก็ยังมิได้จัดการประการใด จำจะต้องจัดการเรื่องป้องกันบ้านเมืองเสียก่อน

ตกลงกันแล้วก็ให้เจาะพังกำแพงเมืองด้านวัดพราหมณ์ แล้วเชิญพระศพพระเจ้าท้าวกือนาเข้ามาไว้ในเวียง แล้วจึงก่อกำแพงที่พังนั้นให้ดีดังกล่าว (พระเจ้าท้าวกือนาเสด็จออกไปประทับอยู่นอกเวียงด้านเหนือก่อนประชวรและสวรรคตที่วังนอกเมือง) ขอเชิญพระศพเข้าไว้ในเวียงแล้วจึงมีการตกแต่งป้อมคู ประตูหอรบ กันเป็นการใหญ่เตรียมรับศึกอยุธยา เมื่อตกแต่งบ้านเมืองคอยรับการโจมตีเสร็จแล้วเจ้าหมื่นแสนโลกนครก็ยกรี้พลไปรักษาเมืองเขลางค์ไว้ เพราะเป็นเมืองหน้าด่านกองทัพที่จะยกขึ้นไปตีนครพิงค์ก็ต้องผ่านเมืองเขลางค์นี่ก่อน

เหตุการณ์เป็นไปตามนั้น พญามหาพรหมได้นำกองทัพอยุธยายกขึ้นมาทางนครเขลางค์ เจ้าหมื่นโลกนครก็แต่งทัพช้างยกออกไปตั้งรับที่ตำบลเชียงภูมิ(อยู่ตรงไหนยังไม่มีใครรู้ คาดว่าอยู่ในเมืองลำปาง) ถึงตอนนี้ภรรยาเจ้าหมื่นโลกนครก็อาสาออกช่วยสามีรบกับฝ่ายพญามหาพรหมทั้งๆที่ตอนนั้นยังกำลังมีครรภ์อ่อนๆอยู่ เมื่อเจ้าหมื่นโลกนครอนุญาต ท่านผู้หญิงเมืองก็แต่งตัวเป็นชายขึ้นทรงช้างอ้ายน้อยออกช่วยสามีเป็นสามารถ ทั้งสองฝ่ายได้ทำการสู้รบกันอย่างดุเดือด จนตำบลที่มีการต่อสู้นั้นเรียกว่าตำบลแสนสนุก ที่ลำปางปัจจุบันมีตำบลหนึ่งชื่อว่าตำบลปงสนุก คงเลื่อนมาจากแสนสนุก กองทัพไทยที่พญามหาพรหมคุมมาต้องล่าถอยไปทางเมืองลี้ ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดลำพูน เพื่อกลับไปยังกรุงศรีอยุธยา ท่านผู้หญิงเมืองนั้นตอนหลังได้คลอดบุตรเป็นชาย จึงได้รับการขนานนามเป็น “เจ้าหาญแต่ท้อง”

ส่วนหมื่นด้งนครตอนหลังได้เจ้าเมืองเขลางค์ มีพระนามเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์รบว่า “เจ้าหมื่นด้งนคร” สำหรับเจ้าหมื่นโลกนครผู้นี้เคยประกอบวีรกรรมที่สำคัญหลายครั้ง ตอนหลังได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่าเจ้าหมื่นโลกสามล้านซึ่งเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระเจ้าแสนเมืองมายิ่งนัก มีปัญหาใดก็ต้องทรงปรึกษา (เพิ่มเติมโดยแอดมินว่า หมื่นโลกนครหรือหมื่นด้งเป็นผู้ที่กองทัพอยุธยาแห่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเกรงขาม หากมีหมื่นด้ง กองทัพอยุธยาก็ไม่เคยรบชนะเชียงใหม่ ต่อเมื่อหมื่นด้งต้องโทษประหารเชียงใหม่จึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ดังเรื่องราวปรากฏอยู่ใน “ลิลิตยวนพ่าย”)

เพิ่มเติมโดยแอดมิน แท้จริงแล้วหมื่นด้งนครมิใช่สามัญชน เป็นโอรสกษัตริย์ที่เกิดจากสาวชาวบ้าน และมีฐานะเป็นอาของพระเจ้าติโลกราชด้วยค่ะ

ป.ล. บทความมีการจัดหน้าและปรับภาษาจึงไม่เหมือนต้นฉบับแต่เดิมเสียทีเดียวนะคะ

ที่มา http://www.lannaphrae.com/
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 25 พ.ค. 2014 1:24 pm

โค้งขุนกัณ

10376172_661858733863936_3772547112598804722_n.jpg
10376172_661858733863936_3772547112598804722_n.jpg (47.32 KiB) เปิดดู 10459 ครั้ง






สืบเนื่องจากในปี พ.ศ.๒๔๗๘ พระคุณเจ้าครูบาศรีวิชัยได้ทำการก่อสร้างทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพจนมาถึงช่วงสุดท้ายประมาณ ๑ กิโลเมตรก่อนถึงเชิงหัวบันไดนาค คณะสร้างทางต่างเหนื่อยอ่อนเมื่อยล้าและหมดทุนทรัพย์

ขุนกัณมีแรงศรัทธาต่อครูบาฯ จึงได้อาสารับผิดชอบต่อ และได้สละทั้งแรงกายและทุนทรัพย์ส่วนตัวทั้งหมดทำให้ถนนสร้างเสร็จโดยตัดถนนตามที่ครูบาเถิ้มแนะนำต่อครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นช่วงทางโค้งหักศอกและเป็นภูเขาหินสูงชันยากลำบากในการสร้างสมัยนั้น แต่ก็สามารถทำจนสำเร็จจึงตั้งชื่อเป็นเกียรติ์แก่ผู้ที่สร้างจนสำเร็จว่า "โค้งขุนกัณ"

ทั้งนี้ ขุนกัน แต่เดิมเป็นชาวไทยใหญ่ ชื่อว่า ส่างกันนะ อาศัยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อมาสมรสกับ นางวันดี บุตรีของพญานาวาที่เชียงใหม่และทำการค้าจนเจริญรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักมักคุ้นของเจ้านายฝ่ายเหนือและพ่อค้าวาณิชย์

ในปี๒๔๖๐ ได้เป็นผู้สร้างสนามบินเชียงใหม่ ให้แก่ทางราชการโดยทุนส่วนตัวทั้งหมด และเมื่อมีพิธีเปิดสนามบินครั้งแรก สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้เสด็จทรงเปิดงานและมอบพระฉายาให้เป็นที่ระลึก และยังได้รับพระราชทานศักดินาขึ้นเป็น ขุนกัณ ชนะนนท์

นอกจากนี้ยังได้มีส่วนร่วมสร้างตึกบังคับการค่ายทหาร(ค่ายกาวิละ ในปัจจุบัน)อีกด้วย(ยังไม่รวมศาสนสถานต่างๆอีกมายมาย)

ปัจจุบันลูกหลานได้จัดสร้างรูปหล่อแล้วประดิษฐ์ไว้ที่โค้งขุนกัน เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณงามความดีและความเพียร อีกทั้งป้องกันความเข้าใจผิดที่มักมีผู้"เดาเอาเอง"ว่าตั้งชื่อเพราะท่านมาเสียชีวิตที่นี่ ฯลฯ
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 25 พ.ค. 2014 1:31 pm

รถโดยสารประจำทาง รถเมล์เชียงใหม่

218-63.jpg
218-63.jpg (33.37 KiB) เปิดดู 10459 ครั้ง


ในอดีตเจียงใหม่เกยมีรถเมล์โตยเน้อ ฮ้องว่ารถเมล์เหลือง รุ่นแรกนั้นบ่มีแอร์ มีแต่ป่องซึ่งเปิดฮับลมได้ ก้ารถราคา ๒ บาทตลอดสาย ต่อมาก็เปลี่ยนเป๋นรถแอร์สีเหลืองเหมือนเดิม จ๋ำได้ว่ามี ๓ สายคือ สาย๑ บวกครก-สวนดอก, สาย๒ หนองหอย-ป.พัน ๗ และสาย๓ สถานีรถไฟ-ห้วยแก้ว

(ตี้มาของฮูปบ่ฮู้ว่าไผเป๋นคนถ่าย เดาว่าถ่ายราวๆพ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๓๙)
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 25 พ.ค. 2014 1:35 pm

ผีหม้อนึ่ง

10172591_1411450352467676_7064939913932961959_n.jpg
10172591_1411450352467676_7064939913932961959_n.jpg (21.75 KiB) เปิดดู 10459 ครั้ง


ผีหม้อนึ่ง
"ละครเพลิงเสน่หา" มีฉากการถามผีหม้อนึ่ง ไม่ทราบว่าทางภาคกลางจะมีความเชื่อเรื่องนี้ไหม แต่โดยปกติจะเป็นความเชื่อของชาวล้านนา ค่ะ มา..จะเล่าให้ฟัง

คนเหนือเชื่อว่าทุกสิ่งที่เป็นวิถีชีวิตเราจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ดุจเดียวกับหม้อนึ่งที่ใช้นึ่งข้าว ซึ่งเราไม่เคยหลบหลู่ดูหมิ่น และในยามที่ชีวิตเกิดปัญหา หลายๆคนเลือกที่จะถามเอาคำตอบจากผีหม้อนึ่ง เช่น เมื่อของหาย ลางร้าย อาทิ นึ่งข้าวแล้วข้าวแดง ฯลฯ

แสดงถึงการที่คนเหนือมีความเชื่อ ความศรัทธาที่นอบน้อม เราเป็นคนอ่อนน้อม แต่ไม่เคยอ่อนแอ

การดำรงอยู่ของวิถีชีวิตคนล้านนาตั้งแต่สมัยโบราณกาลจะมีความเกี่ยวพันกับศาสนาและความเชื่อทางพิธีกรรม ที่มักจะอาศัยอำนาจสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติที่บางครั้งหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ ไม่ว่าในยุคใดสมัยใดพิธีกรรมความเชื่อเช่นนี้ก็ยังคงอยู่คู่กับคนล้านนาอย่างไม่มีวันสูญหาย


ความเชื่อเรื่องการนับถือผีและวิญญาณถือได้ว่าอยู่คู่กับคนล้านนามาช้านานจนแยกจากกันไม่ออก โดยเฉพาะผีบรรพบุรุษนั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทว่ายังมีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “ผี” อีกพิธีหนึ่งที่ปัจจุบันนับวันกำลังจะสูญหายไปเพียงเพราะความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี รวมทั้งการรับเอาวัฒนธรรมจากต่างชาติเข้ามาใช้ในสังคม พิธีกรรมที่ว่านี้ก็คือ “ผีหม้อนึ่ง” ซึ่งเป็นการเชิญวิญญาณของปู่ดำ ย่าดำเพื่อถามไถ่เหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พิธีกรรมเช่นนี้ยังคงมีปรากฏให้เห็นในหมู่บ้านแถบชนบท


ใครจะรู้ว่าสิ่งลี้ลับเหนือกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ ผนวกกับความเชื่อแต่โบร่ำโบราณของคนล้านนา จะยังสามารถดำรงอยู่ให้เห็นมาจนถึงปัจจุบัน ขณะที่พวกหัวก้าวหน้าสมัยอาจมองว่านี่เป็นเรื่องทางไสยศาสตร์ที่งมงาย


“ผีหม้อนึ่ง” เป็นพิธีกรรมโบราณของคนล้านนาที่สืบทอดต่อกันมานับร้อยปี การลงผีหม้อนึ่งส่วนใหญ่จะถามไถ่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตน เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วยรวมไปถึงการทำนายในเรื่องอนาคต


แม่อุ้ยเงา เทพวรรณ อายุ ๘๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๘๐/๑ ม.๒ ต.เหมืองง่า อ.เมือง จ.ลำพูน เล่าย้อนความทรงจำว่า ตนเองได้สืบทอดพิธีกรรมผีหม้อนึ่งมาจากบรรพบุรุษ รุ่นปู่ย่า มาถึงรุ่นพ่อแม่จนกระทั่งมาถึงตนเองเป็นเวลากว่า ๕๐ ปีแล้ว หากจะกล่าวถึงที่มาของผีหม้อนึ่งนั้น แม่อุ้ยเงาเล่าว่า เริ่มแรกทีเดียวแม่เฟ่อ เอามาจากอำเภอเชียงแสน หลังจากที่แม่เฟ่อเสียชีวิตลงแม่อุ้ยเอ้ย ซึ่งท่านเป็นมารดาของอุ้ยเงาได้สืบทอดต่อมา จนแม่อุ้ยเอ้ยเสียชีวิตลงแม่อุ้ยเงาซึ่งเป็นลูกก็ได้สืบทอดผีหม้อนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน และหากจะกล่าวว่าผีหม้อนึ่งของแม่อุ้ยเงาได้ถูกสืบทอดต่อกันมาถึง ๓ ชั่วอายุคนก็คงไม่ผิดนัก


การลงผีหม้อนึ่ง จะใช้ขันตั้งเพียง ๒๔ บาท ดอกไม้ธูปเทียนอีก ๒๔ ชุดใส่ลงไปในกระด้งซึ่งบรรจุข้าวสาร หลังจากที่แม่อุ้ยเงาได้จุดธูปเทียนเพื่อเรียกวิญญาณของปู่ดำ ย่าดำ ซึ่งเป็นผีที่จะต้องเข้ามาสิงในหม้อนึ่งแล้ว ชาวบ้านที่มาก็จะถามไถ่ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้นว่า สาเหตุที่ตนเองมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยเนื่องจากอะไร หลังจากนั้นปู่ดำย่าดำก็จะตอบโดยการใช้แขนหม้อนึ่งขีดเขียนลงไปในกระด้งซึ่งมีข้าวสารเป็นรูปต่าง ๆ เมื่อชาวบ้านที่เดินทางมาขอให้ผีหม้อนึ่งช่วยทราบถึงสาเหตุแล้วก็จะกลับไปแก้ไขตามที่ผีหม้อนึ่งบอกไว้ สำหรับการแก้ไขนั้นแม่อุ้ยเงาจะให้ส้มป่อยเอาไปแช่น้ำให้คนป่วยอาบ บางคนเมื่อแก้ไขแล้วอาการป่วยดีขึ้นก็จะกลับมาให้รางวัลก็มี

1232364_508367839300872_846477926_n.jpg
1232364_508367839300872_846477926_n.jpg (36.82 KiB) เปิดดู 10143 ครั้ง


แม่อุ้ยเงาเล่าอีกว่า ในช่วงเข้าพรรษาชาวบ้านจะไม่นิยมลงผีหม้อนึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงออกพรรษาไปแล้ว นอกจากนั้นแม่อุ้ยยังเล่าต่อว่า ผีหม้อนึ่งนั้นมีอยู่ทุกบ้าน คนสมัยก่อนเวลาจะออกจากบ้านเดินทางไปไหนไกล ๆ หรือเข้าป่าไปหาของป่า เพื่อป้องกันภูตผีปีศาจก็จะนำข้าวตอกดอกไม้บอกกล่าวแก่ผีหม้อนึ่งที่สามเส้าของเตา หรือบางคนก็จะเอามือป้ายเศษเขม่าสีดำที่ติดอยู่ก้นหม้อมาแตะหน้าผาเป็นจุดสีดำ เป็นการป้องกันภูตผีที่จะเข้ามาทำร้าย

เรื่องราวของ “ผีหม้อนึ่ง” ของคนล้านนายังคงมีให้เห็นอยู่เสมอแม้ว่าบางครั้งความเชื่อดังกล่าวอาจสูญหายหรือถูกหลงลืมไปบ้างตามเวลา แต่สิ่งสะท้อนที่ได้รับก็คือ ยาใจที่ผู้ป่วยต้องการเป็นที่พึ่งพิงสุดท้าย เพราะพวกเขามีความเชื่อและเคารพในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน และหลังจากนี้ไปภายในจิตสำนึกและความรู้สึกของชาวบ้านทุกคนจะเปี่ยมล้นด้วยความสุข ความอบอุ่นใจที่พวกเขาได้แสดงออกต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ

ขอบคุณข้อมูลจาก เชียงใหม่นิวส์
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 25 พ.ค. 2014 1:40 pm

ปี 2515 น้ำในคูเมืองเชียงใหม่แห้งขอดจนเด็กๆสามารถลงไปเล่นได้

n2515.jpg
n2515.jpg (119.1 KiB) เปิดดู 10458 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อังคาร 24 มิ.ย. 2014 6:48 pm

“จั๋นต๊ะคาปู๋จี่” เรื่องนี้อุ๊ยเล่าหื้อเฮาฟัง

ยามหนาวหิงไฟ หัวใจ๋บ่หนาว หูต๋าแวววาว ถ้าฟังนิทาน

ม่วนงันสันเล้า อุ๊ยเฮาเล่าขาน ใจ๋จื้นใจ๋บาน อยู่หน้าก๋องไฟ

-------------------------------------------------------------------
RTEmagicC_07a7e7dbc4_jpg.jpg
RTEmagicC_07a7e7dbc4_jpg.jpg (114.53 KiB) เปิดดู 10361 ครั้ง



ปัญญาสชาดกเรื่อง จันทคาธชาดก หรือ จันทคาปูจี่

จันธคาธชาดก ที่เป็นนิทานธรรมที่นิยมแพร่หลายทั้งในล้านนาและล้านช้าง โดยจันทคาธชาดกนี้ เป็นนิยายคติธรรมเก่าแก่อันดับที่ ๑๑ ในหนังสือ ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค ชาวบ้านในภาคเหนือเรียกว่า ค่าวธรรม จันทคาชาดก เป็นนิทานธรรมที่สอนให้กุลบุตรและกุลธิดาเอาแบบอย่างจริยธรรมที่ดีงามเช่น การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ความกตัญญูกตเวที ความซื่อสัตย์สุจริต และความเมตตากรุณา

สุริยคราสกับจันทรคราส สองพี่น้องเกิดในครอบครัวที่ยากจนตั้งอยู่นอกเมืองจำปา มีพญาปันธุเป็นเจ้าเมือง ทั้งสองได้ช่วยงานพ่อแม่ด้วยการไปขุดปูมาทำอาหาร ความเป็นเด็กจึงไม่ได้แบ่งไว้ให้พ่อ แม่ ตอนเย็นพ่อกับแม่กลับมาจากไร่ไม่มีอาหารกิน ด้วยความโมโหจึงไล่ทั้งสองออกบ้าน

สองพี่น้องหลงอยู่ในป่า เห็นงูกับพังพอนสู้กัน แล้วผลัดกันเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปาก เมื่องูหรือพังพอนตาย ทำให้มันฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง จากนั้นมันก็หายเข้าป่าไป สองพี่น้องจึงเก็บเปลือกไม้ไว้ พบฤษีนั่งบำเพ็ญตนและเห็นกานอนตายอยู่ สุริยคราสจึงลองเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปากของกา กาฟื้นและช่วยหาอาหาร ผลไม้ ให้กับสองพี่น้อง

เมื่ออาหารและผลไม้หมดป่า กาจึงหลอกสุริยคราสกับจันทรคราสเข้าไปในเมืองยักษ์ เพื่อเป็นอาหารในงานศพของเมียหัวหน้ายักษ์ สุริยคราสเข้าช่วยเหลือโดยเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปากเมียยักษ์ เมียยักษ์ฟื้นสำนึกในบุญคุณ จึงแอบพาสองพี่น้องมาที่เมืองกาสี และเศรษฐีใจบุญก็รับเลี้ยงดูสองคนนี้ไว้

พญาสุคะโต เจ้าเมืองกาสี มีธิดาชื่อนางสุจาติงสาถูกงูพิษกัดตาย สุริยคราสอาสาช่วยนางด้วยเปลือกไม้จนฟื้น พญาสุคะโต จึงยกธิดาและเมืองกาสีให้สุริยคราส ปกครองต่อจากพระองค์จันทรคราสอาศัยอยู่กับเศรษฐีและเดินทางไปค้าขายที่เมืองอินตะปะถะ มีพญาพรหมจักรเป็นเจ้าเมือง มีธิดาชื่อนางเตวธิสังกาได้ถูกเขี้ยวเสือของพระบิดาทิ่มเท้าเสียชีวิต จันทรคราสทราบข่าวจึงอาสาช่วยเหลือด้วยเปลือกไม้จนฟื้นพญาพรหมจักรได้จัดพิธีอภิเษกสมรสนางเตวธิสังกากับจันทรคราส และปกครองเมืองอินตะปะถะแทนพระองค์

จันทรคราสคิดถึงสุริยคราสจึงเดินทางไปเมืองกาสีพร้อมกับนางเตวธิสังกา ระหว่างการเดินทางเกิดพายุ เรือล่มกลางทะเล ทำให้จันทรคราสและนางเตวธิสังกา ต้องพลัดพรากจากกันนางเตวธิสังกาเดินร้องไห้เข้าในเมืองอนุปะมะ ซึ่งมีพญาสุตัสสะนะจักรเป็นเจ้าเมือง ได้พบกับยายปริสุทธิ นางพาไปอยู่ที่บ้านด้วยกัน พญาสุตัสสะนะจักรทราบข่าวความงามของนางเตวธิสังกา จึงให้ขุนนางไปสู่ขอมาเป็นมเหสี ยายปริสุทธิจึงนำนางไปบวชชี

พญาสุตัสสะนะจักรผิดหวังจากนางเตวธิสังกา จึงให้ขุนนางไปสู่ขอนางพรหมจารีย์ ธิดาเจ้าเมืองอนุราธะ ทั้งสองอยู่ด้วยกันไม่นาน ทะเลาะกันบ่อย พญาสุตัสสะนะจักรโกรธสั่งให้ขุนนางนำนางพรหมจารีย์ใส่แพไปลอยน้ำ จันทรคราสเดินพลัดหลงเข้าไปในป่า เห็นครุฑจับงู ครุฑเห็นจันทรคราสก็ปล่อยงู งูตกลงมาตาย จันทรคราสรีบเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปากงู งูฟื้นและแปลงร่างเป็นเด็กน้อยมอบแก้ววิเศษที่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆให้ จันทรคราสเดินทางต่อไปพบกับพญาทอนที่ถูกทำร้าย นอนจมเลือดอยู่แต่เปลือกไม้ของจันทรคราสหมด พญาทอนจึงขอร้องให้จันทรคราสช่วยเผาศพพระองค์ด้วย ก่อนสิ้นใจได้มอบรองเท้าวิเศษสวมแล้วเหาะได้ และ ดาบเท้าวิเศษให้จันทรคราส

จันทรคราสเผาศพพญาทอนเรียบร้อยแล้ว สวมรองเท้าและสะพายดาบวิเศษเหาะไปหานางเตวธิสังกา ระหว่างทางได้พบกับสามพี่น้อง ชื่อ ปทุมมา ทิพย์โสดา และสุกัญทา นางทั้งสามเป็นลูกสาวเศรษฐีเมืองสังกัสสะนคร จันทรคราสจึงอาสานำสามพี่น้องไปส่งให้เศรษฐี

จันทรคราสเหาะมาถึงแม่น้ำจิระวดี ได้พบกับนางพรหมจารีย์ที่ถูกพญาสุตัสสะนะจักรพระสวามี สั่งให้ใส่แพลอยน้ำ ด้วยความสงสารจันทรคราสจึงได้พานางไปส่งที่เมืองอนุราธะ นางสุละโยธาแม่เลี้ยงของนางพรหมจารีย์จึงได้ถ่ายทอดวิชาอาคม คือเสกใบไม้ให้เป็นคน และเสกน้ำในมหาสมุทรท่วมเมืองได้ให้กับจันทรคราส

จันทรคราสเดินทางมาถึงเมืองอนุปะมะสอบถามผู้คนในเมืองนั้นไปหายายปริสุทธิ นางเตวธิสังกาทราบข่าวจึงขอลาสิกขากับอาจารย์ ด้วยความรักและพลัดพรากจากกันนาน เมื่อทั้งสองพบกัน ยายปริสุทธิจึงได้ผูกข้อมือให้อีกครั้งหนึ่ง พญาสุตัสสะนะจักรยังไม่เลิกรุกรานนางพรหมจารีย์ นางสุละโยธาแม่เลี้ยงนางพรหมจารีย์จึงยกทัพเข้าบุกตีเมืองอนุปะมะ และขอให้จันทรคราสช่วยออกรบในครั้งนี้ด้วย นางพรหมจารีย์สั่งทหารยิงปืนใหญ่ถล่มกำแพงเมืองจนพังทลาย แล้วสั่งให้ทหารนำพญาสุตัสสะนะจักรไปประหารชีวิต เมื่อเสร็จศึกนางจึงยกเมืองอนุปะมะให้จันทรคราสกับนางเตวธิสังกาปกครอง

เกิดศึกสงครามที่เมืองกันทะรัฐใกล้เมืองอนุปะมะ จันทรคราสช่วยออกรบและได้นางอุตตะมะธานีธิดาเจ้าเมืองกันทะรัฐเป็นมเหสีมีพระโอรสด้วยกันชื่อ ทุกขัติยะวงศา เมื่อศึกสงครามเสร็จสิ้นพระโอรสเติบโตเป็นหนุ่ม จันทรคราสจึงยกเมืองอนุปะมะให้ปกครอง ส่วนจันทรคราสกับนางเตวธิสังกากลับไปปกครองเมืองอินตะปะถะด้วยความสุข

ที่มา sawaan lanna
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อังคาร 15 ก.ค. 2014 5:38 am

แก้วโป่งข่าม อัญมณีล้ำค่าแห่งล้านนา 12 ประเภท

kaw42.jpg
kaw42.jpg (53.03 KiB) เปิดดู 10337 ครั้ง


"แก้วโป่งข่าม" เมื่อเอ่ยถึงชื่อนี้ เชื่อว่าหลายท่านรู้จักเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีอีกไม่น้อย ที่เพียงแต่เคยได้ยินชื่ออย่างผิวเผิน ทั้ง ๆ ที่ แก้วโป่งข่ามมีชื่อเสียงมานานหลายสิบปีในยุคร่วมสมัย และนานหลายร้อยปีในยุคอดีตกาล เพียงแต่ชื่อเสียงเหล่านั้น คงอยู่ในวงแคบ ๆ โดยเฉพาะทางเขตภาคเหนือ ซึ่งได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นตำนานแห่งความศักดิ์สิทธิ์ชาวลานนา การเล่าขานถึงปรากฏการณ์ปาฏิหาริย์ ยังคงสืบเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น จากอดีตจนถึงปัจจุบัน


ในยุคสมัยแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คนเราหันไปสนใจเฉพาะสิ่งที่ตามองเห็น และเชื่อในสิ่งที่ตนสัมผัสได้เท่านั้น โดยละทิ้งธรรมชาติอันเป็นแหล่งที่มาของตน ไม่รับรู้ถึงพลังของธรรมชาติที่ยังคงอยู่รอบ ๆ ตัวเรา

ในอดีตนับพันปี มีความเชื่อสืบเนื่องกันมาว่า ดวงดาวต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อมนุษย์นับตั้งแต่เกิดมา และจะส่งผลต่อคนผู้นั้นไปตลอดอายุขัย ทั้ง ๆ ที่ดวงดาวเหล่านั้น อยู่ห่างไกลจากตัวเรานับหลายร้อยหลายพันปีแสง ดวงจันทร์ก็มีอิทธิพลต่อโลก (และคน) เช่นกัน จนนักวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ต่างก็ตั้งสมมุติฐานกันขึ้นมาต่าง ๆ นานาว่า หากวันหนึ่งไม่มีพระจันทร์ โลกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร?

"แก้วโป่งข่าม" ก็เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งก่อกำเนิดขึ้นมาจากธรรมชาติ และอยู่ใกล้กับตัวเราจนสัมผัสได้ ย่อมที่จะต้องมีอิทธิพลส่งผลต่อผู้ถือครองเช่นกัน

ความเชื่อในเรื่องแก้วศักดิ์สิทธิ์ของชาวลานนามีมานับนับร้อยนับพันปี ดังหลักฐานการขุดค้นพบแก้วจากกรุโบราณตามสถานที่ต่าง ๆ ในเขตทางภาคเหนือ เช่นองค์พระมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งค้นพบในกรุเจดีย์ที่จังหวัดเชียงราย อีกองค์หนึ่งคือ "องค์พระแก้วดอนเต้า" (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง) รวมไปถึงพระแก้วขาวหริภุญชัย หรือรู้จักกันดีในชื่อ "พระเสตังคมณี" ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ซึงมีอายุเก่าแก่ถึง 1800 ปี

แก้วโป่งข่าม เป็นอัญมณีของไทย เป็นทรัพย์ในดินที่ดูเสมือนกับว่าถูกละลืมไปอย่างน่าเสียดาย ทั้ง ๆ ที่คุณค่าของแก้วโป่งข่าม นอกจากความสวยงามภายนอกแล้ว ยังมีคุณค่าทางวัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์ และตำนานความเชื่อต่าง ๆ เป็นมรดกตกทอดให้คนรุ่นหลังได้สืบสาน มากกว่าการเป็นเพียงแค่เครื่องประดับอัญมณีที่สวมใส่กันอย่างฉาบฉวยตาม แฟชั่นเท่านั้น
ชื่อแก้วโป่งข่าม อัญมณีล้ำค่าของล้านนาทั้ง 12 ประเภท
1. แก้วเข้าแก้ว
2. แก้วพิรุณแสนห่า
3. แก้วขนเหล็ก
4. แก้วปวก
5. แก้วทราย
6. แก้วหมอกมุงเมือง
7. แก้วนางขวัญ (จอมขวัญ)
8. แก้ววิทูรสีน้ำผึ้ง
9. แก้วแร
10. แก้วมังคละจุฬามณี
11. แก้วสามกษัตริย์
12. แก้วกาบ
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 17 ส.ค. 2014 8:38 am

พระแก้วมรกตสร้างขึ้นที่ล้านนา ไม่ได้มาจากลังกา

10563099_1672869062939164_3574119383247245573_n.jpg
10563099_1672869062939164_3574119383247245573_n.jpg (108.13 KiB) เปิดดู 9862 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 17 ส.ค. 2014 8:40 am

1536670359078.jpg
1536670359078.jpg (69.18 KiB) เปิดดู 9862 ครั้ง


1536670861577.jpg
1536670861577.jpg (84.63 KiB) เปิดดู 9862 ครั้ง


1536671396456.jpg
1536671396456.jpg (67.04 KiB) เปิดดู 9862 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot] และ บุคคลทั่วไป 59 ท่าน

cron