เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 24 พ.ย. 2013 8:51 am

ถนนเจริญเมือง เจียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๘

1453425_555711261173346_1077867697_n.jpg
1453425_555711261173346_1077867697_n.jpg (52.3 KiB) เปิดดู 8560 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 24 พ.ย. 2013 8:52 am

ถนนบ้านท่าสี อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

971553_555710007840138_1873002050_n.jpg
971553_555710007840138_1873002050_n.jpg (38.81 KiB) เปิดดู 8560 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 24 พ.ย. 2013 8:53 am

หน้าค่ายประตูผา ก่อนถึงศาลเจ้าพ่อประตู๋ผา ลำปาง

1454625_555710231173449_100464614_n.jpg
1454625_555710231173449_100464614_n.jpg (60.31 KiB) เปิดดู 8494 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 24 พ.ย. 2013 8:54 am

ถนนสายเก่า เมืองลำปาง

1459223_555710484506757_2040905311_n.jpg
1459223_555710484506757_2040905311_n.jpg (29.3 KiB) เปิดดู 8494 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 24 พ.ย. 2013 8:56 am

ถนนต้นยาง อ.สารภี เชียงใหม่

1426336_555703654507440_484647417_n.jpg
1426336_555703654507440_484647417_n.jpg (23.51 KiB) เปิดดู 8494 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อังคาร 26 พ.ย. 2013 6:07 am

งานสถาปนาโรงเรียนปริ๊นซ์รอยแยลส์วิทยาลัย เจียงใหม่

original_The_Prince_Royal.jpg
original_The_Prince_Royal.jpg (42.53 KiB) เปิดดู 8491 ครั้ง


งานสถาปนาโรงเรียนปริ๊นซ์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่

โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย (ย่อ: ป.ร., P.R.C.) เป็นโรงเรียนสหศึกษาของเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๓ จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต ๑ สังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โรงเรียนก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ในชื่อ "โรงเรียนชายวังสิงห์คำ" โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามโรงเรียนเป็น "โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย" ซึ่งมีความหมายว่า "โรงเรียนของเจ้าชาย" เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙


โรงเรียนชายวังสิงห์คำ
โรงเรียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ โดยมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน ศาสนาจารย์ เดวิด คอลลินส์ ในชื่อ "Chiangmai Boys' School" หรือ "โรงเรียนชายวังสิงห์คำ" บริเวณหมู่บ้านวังสิงห์คำ อันเป็นที่ดินซึ่งได้รับพระราชทานจากพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทำการสอนโดยใช้ภาษาล้านนาและพระคัมภีร์เป็นหลัก เป็นโรงเรียนแบบตะวันตกสำหรับเด็กชายแห่งแรกในล้านนา

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ศาสนาจารย์คอลลินส์ได้ลาออกจากตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ศาสนาจารย์ ดร. วิลเลียม แฮรีส ซึ่งเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๙ เข้ารับตำแหน่งแทน เมื่อเห็นว่าสถานที่ตั้งของโรงเรียนซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำปิงคับแคบ จึงได้ย้ายมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ซึ่งซื้อจากบริษัทอังกฤษในราคา ๒,๖๐๐ รูปี

ก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ได้พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า "The Prince Royal's College" และพระราชทานสีน้ำเงิน - ขาวให้เป็นสีประจำโรงเรียน ปีเดียวกันนั้น ศาสนาจารย์แฮรีสได้ซื้อที่ดินติดกับโรงเรียนเพิ่มอีก ๗๑ ไร่ รวมมีพื้นที่ ๙๐ ไร่ โดยปัจจุบัน มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยเป็นเป็นเจ้าของและผู้รับใบอนุญาต

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้เริ่มใช้ภาษาไทยในการสอนแทนคำเมือง ตามการสนับสนุนการใช้ภาษาไทยกลางของรัฐบาลตลอดจนการสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนได้รับรองฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลในปี พ.ศ. ๒๔๖๔

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทางโรงเรียนได้ปิดการเรียนการสอน รัฐบาลได้ยึดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยใช้เป็นโรงเรียนสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในชื่อ "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคพายัพ" หลังสงครามสิ้นสุด โรงเรียนจึงได้เปิดทำการอีกครั้งหนึ่ง

ยุคปัจจุบันในช่วงที่อาจารย์หมวก ไชยลังการณ์เป็นอาจารย์ใหญ่ ทางโรงเรียนได้จัดตั้ง "แผนกสหเตรียมอุดมศึกษาปรินส์ - ดารา" ขึ้นในระดับมัธยมศึกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ อันเป็นจุดเริ่มต้นของชั้นเรียนแบบสหศึกษาของโรงเรียน

เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียน

เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีทรงรับโรงเรียนไว้ในพระอุปถัมภ์ แต่เดิมที่เคยรับสมัครเฉพาะนักเรียนชาย แต่นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้เปิดเป็นแบบสหศึกษา และในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับสมัครนักเรียนหญิงระดับชั้นอนุบาล ๓ เป็นปีแรก ทางโรงเรียนได้จัดงานเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีการพระราชทานนามโรงเรียน โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ และวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๔๙
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อังคาร 26 พ.ย. 2013 6:09 am

ประมูลจ๊าง ม้า เข้ากงศุลอังกฤษ พ.ศ.๒๔๑๖
ไฟล์แนป
ID_4085.jpg
ID_4085.jpg (55.84 KiB) เปิดดู 8491 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อังคาร 26 พ.ย. 2013 6:09 am

หอนาฬิกาเก่าจ.เชียงราย
ไฟล์แนป
1426133_221538458018230_1967425194_n.jpg
1426133_221538458018230_1967425194_n.jpg (48.49 KiB) เปิดดู 8491 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » ศุกร์ 29 พ.ย. 2013 10:12 pm

โคมลอยยี่เป็ง

201111-03-134520-1.jpg
201111-03-134520-1.jpg (41.45 KiB) เปิดดู 8496 ครั้ง


เมื่อถึงวันลอยกระทงหรือเดือนยี่เป็งของทางภาคเหนือ สิ่งหนึ่งที่มักจะเห็นโดดเด่นกลางฟากฟ้ายามค่ำคืนนั่นก็คือ “โคมลอย” เอกลักษณ์อันงดงามอย่างหนึ่งของประเพณียี่เป็ง ซึ่งเป็นกิจกรรมอันเชิดหน้าชูตาเรียกรายได้เข้าประเทศไทยได้เป็นกอบเป็นกำนั่นเอง

ในอดีตนั้นโคมลอยทำจากกระดาษว่าว มีลักษณะทรงกลมคว่ำ วิธีการลอย คือ การจุดไฟ รมควัน เพื่อให้ควันนั้นดันโคมให้ลอยขึ้นฟ้า คนล้านนาโบราณจึงเรียกการลอยโคมในตอนกลางวันว่า “ว่าวลม” และถ้าลอยในตอนกลางคืนเรียกว่า “ว่าวไฟ” แต่ข้อเสียของโคมลอยแบบโบราณคือต้องใช้คนมาช่วยกันพยุงโคมและรมควันอยู่หลายคน จึงจะสามารถลอยโคมได้ ต่อมาจึงมีวิวัฒนาการ เปลี่ยนรูปแบบโคมลอยเสียใหม่ จนมีลักษณะแบบในปัจจุบันที่เป็นการจุดไฟลอยขึ้นฟ้า

ฟืนไฟเป็นสิ่งอันตราย ชาวล้านนาโบราณจึงมีกุศโลบายในการดูแลเรื่องนี้ โดยการปลูกฝังความเชื่อว่า หากใครลอยโคมแล้วตกลงมาก่อนลอยละลิ่วตามลมไปแสดงว่าเจ้าของโคมมีเคราะห์ ดังนั้นในแต่ละวัดที่ลอยโคม(ปกติชาวล้านนาจะไม่ลอยโคมที่บ้านแต่จะรวมตัวกันไปลอยโคมในวัด) จึงมักจะเขียนชื่อติดโคมเอาไว้ ถ้ามีใครเก็บได้ก็ให้ไปรับรางวัลได้ที่วัดดังกล่าว เป็นมิตรจิตมิตรใจ แต่ในระยะหลัง เมื่อโคมลอยกลายมาเป็นสิ่งดึงดูดเม็ดเงินจากการท่องเที่ยว จึงมีการนำโคมลอยออกมาขายนักท่องเที่ยวอยู่ทั่วไป โดยไม่เลือกสถานที่หรือเวลา ทำให้มีการลอยโคมเกิดขึ้นทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะวันเกิด สงกรานต์ ปีใหม่ก็ล้วนแล้วแต่มีการลอยโคมยี่เป็งทั้งสิ้น แม้ในหลายพื้นที่จะมีลักษณะอากาศไม่เหมาะกับการลอยโคมเลยก็ตาม ท่านสังเกตหรือไม่ว่า คนทางภาคเหนือเขาลอยโคมกันในวันยี่เป็งแค่วันเดียว และเป็นช่วงของฤดูหนาวที่หนาวจริงๆ เมื่อคนยุคใหม่นำโคมลอยไปลอยในภาคอื่นๆซึ่งมีอากาศร้อนอบอ้าว ประกอบกับโคมลอยนั้นประดิษฐ์ขึ้นเพื่อธุรกิจ คนทำขายจึงทำอย่างง่ายๆ ส่งผลพวงให้เกิดไฟไหม้ได้ง่ายๆตามไปด้วย ทำให้หลายคนแสดงความเห็นว่าควรจะยกเลิกประเพณีนี้เสีย แล้วมันถูกไหม ที่คนยุคใหม่พากันทำอะไรอย่างมักง่ายแล้วมาโทษประเพณี เช่นนี้

คนล้านนาลอยโคมในวันยี่เป็ง เพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์ ในตำนานสุวรรณโคมคำ ได้กล่าวถึงโคมลอยเอาไว้ว่า "อยะมหาเสนาบดีได้ประดิษฐ์โคมเพื่อจุดเป็นพุทธบูชาอยู่ริมท่าน้ำ" ดังนั้นสำหรับชาวล้านนาแล้ว โคมซึ่งเรานำไปลอยในคืนยี่เป็งนั้นเปี่ยมไปด้วยความศรัทธาอันแรงกล้า ชาวพุทธทั้งหลายจึงไม่ควรกระทำสิ่งใดที่ไม่ดีไม่งาม หรือนำสิ่งอันไม่เป็นมงคลใส่หรือห้อยบนโคม อีกประการหนึ่งโคมเป็นสิ่งที่ต้องลอยขึ้นฟ้า ลอยสูงเหนือวัดวาอารามและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงควรระมัดระวังให้ดี อย่าให้มีสิ่งใดแปลกปลอมเป็นอวมงคลอย่างเด็ดขาด

วัฒนธรรมประเพณีเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ เราทุกคนพึงควรรักษาเอาไว้ให้อยู่คู่กับแผ่นดินตราบนานเท่านาน กว่าจะรังสรรค์จนเกิดเป็นความเชื่ออันฝังรากลึกในจิตวิญญาณต้องใช้เวลานานเท่าใด จงอย่าปล่อยให้อคติและความหลงยุคมาบดบังดวงตาให้มืดบอดจนกลายเป็นคนไร้จิตวิญญาณ
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » จันทร์ 23 ธ.ค. 2013 10:22 pm

M12392713-2.jpg
M12392713-2.jpg (22.45 KiB) เปิดดู 9358 ครั้ง
เสน่ห์ของเจ้านางล้านนา ที่มาของเพลง "ลาวดวงเดือน"




เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษมาใหม่ๆ เสด็จไปเที่ยวนครเชียงใหม่ สมัยนั้นพระยานริศราชกิจเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่มณฑลพายัพได้ทำการต้อนรับขับสู้อย่างสมพระเกียรติ โดยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดการต้อนรับด้วยการรับประทานอาหารในคุ้มและมีการแสดงละครให้ชมในงานนี้พ่อเจ้าอินทวโรรสกับเจ้าแม่ทิพยเนตรได้เชิญชวนเจ้าพี่เจ้าน้องมารับเสด็จและทำการต้อนรับด้วย เจ้าราชสัมพันธวงศ์(ธรรมลังกา) กับเจ้าหญิงคำย่น พร้อมด้วยธิดาคนโต มีนามว่า “เจ้าหญิงชมชื่น” อายุย่างเข้า ๑๖ ปี กล่าวกันว่าเจ้าหญิงชมชื่นมีผิวพรรณผุดผ่องนวลใย ใบหน้าอิ่มเอิบ แก้มเป็นสีชมพู ผิวขาวดุจงาช้าง พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เจ้าชายหนุ่มอายุ ๒๑ ปี สนพระทัยในดรุณีแน่งน้อยอายุ ๑๖ ปี นี้มาก กล่าวกันว่าพระองค์ถึงกับทรงตะลึงแบบชายหนุ่มพบรักครั้งแรก งานคืนนั้นสิ้นสุดลงด้วยบรรยากาศละเมียดละไมไปด้วยความจงรัก


ในวันต่อมาพระยานริศราชกิจเป็นผู้นำพระองค์ไปเยี่ยมเจ้าราชสัมพันธวงศ์ถึงคุ้มหน้าวังบ้านปิง เจ้าหญิงชมชื่นได้มีโอกาสต้อนรับหลายครั้งหลายหน นานวันเข้าพระองค์ชายก็ให้พระยานริศราชกิจเป็นเถ้าแก่ไปเจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่นให้เป็นหม่อมของพระองค์ชาย แต่เจ้าสัมพันธวงศ์ขอให้เจ้าหญิงชมชื่นอายุ ๑๘ ปีเสียก่อนและตามขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใดจะทำการเสกสมรส จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตเสียก่อนเพื่อได้รับเป็นสะใภ้หลวงหากถวายเจ้าหญิงชมชื่นให้ตอนนี้ เจ้าหญิงก็จะตกอยู่ในฐานะนางบำเรอเท่านั้น ถ้าพระองค์ชายทรงเบื่อหน่ายทอดทิ้งแล้ว จะเอาอะไรเป็นหลักประกัน เถ้าแก่ข้าหลวงใหญ่จำนนต่อเหตุผล พระองค์ชายเสด็จกลับกรุงเทพฯ เมื่อถึงกรุงเทพฯ เรื่องการจะสู่ขอเจ้าหญิงเมืองเหนือได้รับการทัดทานอย่างหนักหน่วง หมดหวังโดยทุกประการ คราใดสายลมเหนือพัดมาจากเชียงใหม่ พระองค์ชายก็รันทดใจยิ่งขึ้น พระองค์จึงทรงระบายความรักความอาลัยลงในพระนิพนธ์บทร้อง “ลาวดวงเดือน”เป็นอนุสรณ์เตือนให้รำลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่น เป็นที่น่าเสียดายที่กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดมสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระชันษายังน้อย คือ เพียง ๒๘ ปี เท่านั้น ถ้าพระองค์มีพระชนม์ชีพยืนนานกว่านี้ วงการดนตรีไทยคงจะมีเพลงไพเราะเป็นอมตะเช่นเดียวกับเพลงลาวดวงเดือนอีกหลายเพลงทีเดียวอย่างไรก็ตาม แม้พระองค์จะทรงพระนิพนธ์เฉพาะเพลงลาวดวงเดือน แต่เพลงลาวดวงเดือนนี้ก็นับเป็นเพลงที่มีสำเนียงไพเราะอ่อนหวานฟังไม่รู้เบื่อ เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่นักดนตรีและผู้ฟังโดยทั่วไป ทั้งที่เป็นคนไทยและชาวต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะนอกจากจะฟังไพเราะแล้วยังเป็นเพลงที่มีทำนองเอื้อนน้อย ร้องง่าย จำง่ายด้วย

ที่มา สง่า อารัมภีร์ . หนังสือ “ความเอย-ความหลัง”

#พระราชประวัติเพิ่มเติม

กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดามรกต ประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๕ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะเส็ง รัตนโกสินทร์ศก ๑๐๑ ทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ เมื่อเสด็จกลับได้ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เป็น กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระองค์ประชวรพระโรคปอด และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๒ ในขณะที่พระชนมายุเพียง ๒๘ พรรษา
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 29 ธ.ค. 2013 8:19 am

สวัสดีปีใหม่ สไตล์ล้านนา

newy2014.jpg
newy2014.jpg (263.75 KiB) เปิดดู 10651 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 09 ก.พ. 2014 1:41 pm

คุ้มหลวงเมืองลำปาง เขลางค์นคร

487572_568271103260219_1198383109_n.jpg
487572_568271103260219_1198383109_n.jpg (36.65 KiB) เปิดดู 10560 ครั้ง


คำว่า "คุ้ม" ในภาษาล้านนานั้นมีความหมายถึงวังของเจ้านาย แต่ถ้าเป็นคุ้มของเจ้าผู้ครองนครนั้นจะเรียกกันว่า "คุ้มหลวง" เหมือนกันทุกเมือง แต่ "หอคำ" หรือ "ตำหนักทอง" ซึ่งมีอยู่ที่เมืองนครลำปางและนครน่านนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในพระนิพนธ์อธิบายไว้ใน "บันทึกชี้แจงเรื่องคุ้มหลวงเมืองนครลำปาง" ว่า


"...ที่คุ้มหลวง...นี้เห็นจะเป็นที่เจ้าเมืองนครลำปางอยู่สืบกันมาตั้งแต่เจ้าฟ้าชายแก้ว ปรากฏแต่ว่า เมื่อพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่คุ้มหลวงนี้ ครั้นเมื่อไทยรบพุ่งขับไล่พม่าไปจากเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ โปรดให้พระยากาวิละย้ายไปเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ทรงตั้งพระยาคำโสมน้องพระยากาวิละคนที่ ๒ เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง พระยานครลำปางคำโสมก็อยู่ในที่คุ้มหลวงนี้ต่อมา ถึงรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตั้งพระยาดวงทิพน้องพระยากาวิละคนที่ ๓ เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง ก็อยู่ในที่คุ้มหลวงนี้ ในรัชกาลที่ ๒ นั้น ทรงสถาปนาพระยานครลำปางดวงทิพให้มีเกียรติยศสูงขึ้นเป็นพระเจ้านครลำปาง เหมือนอย่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เคยทรงสถาปนาพระยาเชียงใหม่กาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้าเชียงใหม่เคยสร้างเวียงแก้ว (คือทำนองเป็นอย่างวัง) ขึ้นประดับเกียรติยศ เมื่อพระยานครลำปางดวงทิพได้เป็นพระเจ้านครลำปาง ก็สร้าง "หอคำ" (แปลว่าตำหนักทอง) ขึ้นประดับเกียรติยศในที่คุ้มหลวงนั้น แต่นั้นมาบริเวณที่คุ้มหลวงจึงมีชื่อเรียกเป็น ๒ ตอน เรียกว่าที่หอคำตอน ๑ คงเรียกว่าที่คุ้มหลวงตอน ๑ แต่ที่ทั้ง ๒ ตอนนั้นอยู่ในบริเวณที่อันเดียวกัน ต่อจากพระเจ้านครลำปางดวงทิพมา พระยาชัยวงศ พระยากันทิยะ พระยาน้อยอินทร ล้วนเป็นบุตรพระยานครลำปางคำโสม ได้เป็นเจ้าเมืองนครลำปางต่อกันมา ๓ คนจนตลอดรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกตำแหน่งพระยานครลำปางขึ้นเป็นเจ้าประเทศราช และทรงตั้งเจ้าวรญาณรังสี บุตรพระยานครลำปางคำโสมอีกคน ๑ เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง เจ้าเมืองนครลำปางทั้ง ๔ คนนี้ก็อยู่ในคุ้มหลวงทุกคน ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อเจ้าวรญาณรังสีถึงพิราลัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งบุตรของพระเจ้านครลำปางดวงทิพย์ ขึ้นเป็นเจ้าพรหมาภิพงศธาดา เจ้าเมืองนครลำปาง ได้ยินว่า เจ้าพรหมาภิพงศธาดาปลูกเรือนอยู่ในที่ตอนหอคำไม่ได้มาอยู่ทางตอนคุ้มหลวง สันนิษฐานว่าเห็นจะเป็นด้วยไม่อยากจะไล่ครอบครัวของเจ้าวรญาณรังษี แต่ก็อยู่ในบริเวณอันเดียวกันดังกล่าวมาแล้ว

เมื่อเจ้าพรหมาภิพงศธาดาถึงพิราลัย ข้าพเจ้าได้เป็นตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเจ้านันทชัย บุตรเจ้าวรญาณรังสี เป็นเจ้านรนันทชัยชวลิตเจ้านครลำปาง ก็มาอยู่ที่คุ้มหลวง๑ ครั้นเจ้านรนันทชัยชวลิตถึงพิราลัย ทรงตั้งเจ้าบุญทวงศบุตรเจ้านรนันทชัยชวลิต เป็นเจ้าบุญวาทย์วงศมานิตยเจ้านครลำปาง (เป็นครั้งแรกที่บุตรได้เป็นตำแหน่งเจ้านครลำปางต่อบิดา) ก็มาอยู่ในคุ้มหลวง ในสมัยเมื่อเจ้าบุญวาทย์วงศมานิตยเป็นเจ้านครลำปางประจวบเวลาจัดการเทศาภิบาล เช่นสร้างที่ว่าการมณฑล แลที่ว่าการเมืองเปนต้น เจ้าบุญวาทย์วงศมานิตยจึงให้เอาที่ตอนหอคำสร้างสำนักงานรัฐบาล แลสร้างตึกศาลากลางขึ้น เวลานั้นเหย้าเรือนในคุ้มหลวงทรุดโทรม เจ้าบุญวาทย์วงศมานิตมีใบบอกขอไม้สักของหลวงไปใช้ซ่อมแซมให้คืนดี ก็ได้อนุญาตให้ตามประสงค์ เจ้าบุญวาทย์วงศมานิตยถึงพิราลัยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ไม่ได้ทำพินัยกรรมสั่งเรื่องทรัพยมฤดกไว้ จึงได้มีกรรมารจัดการเรื่องมฤดกเจ้าบุญวาทย์วงศมานิตย ส่วนเจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน) นั้น เพราะได้เจ้าสีนวลธิดาเจ้าบุญวาทย์วงศมานิตเป็นภรรยา จึงได้เข้าไปอยู่ในคุ้มหลวงกับภรรยาตั้งแต่เจ้าบุญวาทย์วงศมานิตยยังมีชีวิตอยู่ เมื่อเจ้าบุญวาทย์มานิตยถึงพิราลัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้เจ้าราชบุตรเป็นผู้รั้ง ยังหาได้ตำแหน่งเจ้านครลำปางไม่..."



เมื่อเจ้าราชบุตร (น้อยแก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) ผู้รั้งเจ้านครลำปางถึงแก่กรรมเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ แล้ว นายบุญชู บุรพรรค์ ชาวเชียงใหม่ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกองมรดกของเจ้าราชบุตรต่อศาลจังหวัดลำปาง เมื่อศาลจังหวัดลำปางมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีแล้ว โจทก์ได้ร้องขอ "...ยึดคุ้มหลวงเพื่อขายทอดตลาดใช้หนี้ตามคำพิพากษา..."๓ แต่มหาอำมาตย์โท พระยาราชนกูลฯ๔ สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ ได้ร้องขัดทรัพย์โดยยกความเห็นของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า
"...


(ก) ที่คุ้มหลวงเมืองนครลำปางนั้นเป็นที่สำหรับผู้เป็นตำแหน่งเจ้าเมืองนครลำปางอยู่มาตั้งแต่ก่อนตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ แม้จะนับตั้งแต่รัชชกาลที่ ๑ มา เจ้าเมืองนครลำปางก็ได้อยู่สืบกันมาถึง ๑๐ คน



(ข) แม้เจ้าเมืองนครลำปางในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์อยู่ในเชื้อวงศ์เจ้าเจ็ดตนด้วยกันทั้งนั้นก็ดี ก็มิได้ปกครองคุ้มหลวงโดยฐานเป็นทายาทรับมฤดก แล้วแต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งผู้ใดให้เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง ผู้นั้นก็มาอยู่ในที่คุ้มหลวงเพียงตลอดอายุ แล้วผู้เป็นตำแหน่งต่อก็อยู่ต่อไป ข้อนี้พึงเห็นได้ที่ทรงตั้งน้องให้เจ้าเมืองต่อพี่เป็นพื้น บุตรได้เป็นเจ้าเมืองนครลำปางต่อบิดาแต่เจ้าบุญวาทย์วงศมานิตคนเดียว

(ค) บรรดาผู้ที่เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง แม้เจ้าบุญวาทย์วงศมานิตย์เองเมื่อก่อนเป็นตำแหน่งนั้นย่อมตั้งบ้านเรือนอยู่ที่อื่น ต่อเป็นเจ้าเมืองนครลำปางเมื่อใดจึงได้ย้ายมาอยู่ในคุ้มหลวงเป็นประเพณีสืบมาดังนี้..."๕
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาเป็นที่สุดเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ว่า คดีนี้ศาลจังหวัดลำปางได้ยกเหตุผลกล่าวไว้ในคำสั่งเป็นอเนกประการ และเหตุผลนั้นๆ ก็น่าฟังอยู่มาก

"...แต่ศาลอุทธรณ์หาเห็นพ้องด้วยไม่ เพราะหลักฐานคำพยานฝ่ายผู้ร้องพอฟังได้ว่าที่คุ้มรายนี้ได้ใช้เป็นที่พำนักสำหรับเจ้าผู้ครองนครโดยตำแหน่งสืบเนื่องกันมาเป็นเวลา ๔๕ ปีแล้ว กับยังใช้เป็นที่รับเสด็จเจ้านายเสมอมา อีกประการหนึ่งคุ้มหลวงมิได้จกเป็นมฤดกแก่ ผู้รับมฤดกของเจ้าผู้ครองนคร แต่ว่าเมื่อผู้ใดได้รับพระราชทานตั้งแต่งให้เป็นเจ้าผู้ครองนครแล้ว ก็เข้าสำนักอยู่ในคุ้มหลวงต่อไป และไม่เคยมีเจ้าผู้ครองนครตนใดกล่าวอ้างว่ามีกรรมสิทธิแม้แต่ประการใด ๆ ในคุ้มนี้เลย

อาศัยเหตุดั่งกล่าวนี้ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า คดีฝ่ายผู้ร้องขัดทรัพย์นั้นฟังขึ้น เหตุฉะนั้นจึ่งพร้อมกันพิพากษากลับคำสั่งศาลเดิม ให้ถอนการยึดคุ้มหลวงเสีย และโดยเหตุที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ปกครองคุ้มหลวงนี้มีความเลินเล่อมิได้จัดทำหลักฐานแสดงกรรมสิทธิไว้ให้ชัดแจ้ง และทั้งดำเนินคดีไม่เรียบร้อยมาแต่ต้น จึ่งให้ค่าธรรมเนียมเป็นภัพไป..." ๖



เมื่อศาลอุทธรณ์มีตำพิพากษาให้คุ้มหลวงนครลำปางตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐโดยสมบูรณ์แล้ว แต่เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง ในฐานะทายาทของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต และเครือญาติก็ยังคงพำนักอยู่ในเรือนอีกหลายหลังซึ่งปล๔กสร้างอยู่ภายในบริเวณคุ้มหลวงซึ่งมีที่ดินกว้างขวางอยู่ต่อกับศาลากลางจังหวัดลำปาง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ "...เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง เจ้าฝนห่าแก้ว เจ้าอ้ม ณ ลำปาง ได้ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ต่อกระทรวงมหาดไทยว่า ได้รับความทุกข์ลำบากยากแค้น ขอให้ช่วยอุปการะ ..."๗ เมื่อกระทรวง มหาดไทยได้รับเรื่องร้องทุกข์ดังกล่าวแล้ว จึงได้มีดำริว่า "...หากเจ้าศรีนวล ณ ลำปาง ได้ย้ายครอบครัวออกไปนอกคุ้มหลวงแล้ว บ้านเรือนและที่ดินในคุ้มหลวงจะมีประโยชน์แก่ทางราชการมาก และถ้าจะรอกว่าเจ้าศรีนวล ณ ลำปาง หมดอายุ เกรงว่าอาจยังเป็นเวลาอีกนาน บ้านเรือนที่มีอยู่จะชำรุดทรุดโทรมยิ่งขึ้น..."๘ ในที่สุด กระทรวงมหาดไทยได้เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีว่า "เพื่อปลดเปลื้องความผูกพันอันรัฐบาลจะต้องอุปการะแก่เชื้อวงศ์เจ้าผู้ครองนครลำปางให้เสร็จสิ้นไป ถือเสมือนหนึ่งเป็นบำเหน็จแก่ตระกูลเจ้าผู้ครองนคร ลำปาง ซึ่งได้เคยทำคุณความดีแก่ทางราชการมาแล้ว กับทั้งทางราชการก็จะได้ใช้คุ้มหลวงนี้เป็นประโยชน์ในราชการสืบไป..."๙ คณะ รัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาและมีมติเป็นที่สุดเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ว่า "

(๑) ...ให้กระทรวงการคลังพิจารณาดำเนินการสร้างบ้านให้เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง อาศัยอยู่ตลอดชีวิต
(๒) ให้จ่ายเงินให้เจ้าศรีนวล อีก ๓,๐๐๐ บาท โดยจ่ายจากเงินสำรองจ่ายในงบส่วนกลาง..."๑๐ คุ้มหลวงนครลำปางนี้จึงได้ใช้เป็นศาลากลางจัดลำปางโดยสมบูรณ์นับแต่บัดนั้น.


ที่มา
[หนังสืออนุสรณ์ 100 ปี โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย, 2541]
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน

cron