เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 02 พ.ค. 2016 6:11 am

#พระธาตุประจำปีเกิดตามคติล้านนา

คนเกิดปีใจ้ ( ปีชวด หรือปีหนู ) ธาตุน้ำ
พระธาตุประจำปีเกิด คือพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

พระบรมธาตุเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนยอดจอมทอง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุส่วนพระเศียรเบื้องขวามีความพิเศษแตกต่างจากที่อื่นคือ เป็นพระบรมธาตุ ที่มิได้ฝังใต้ดิน แต่ประดิษฐานอยู่ในกู่ ภายในวิหาร สามารถอัญเชิญมาสรงน้ำได้ตามตำนานเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังดอยนี้และทรงพยากรณ์ว่า ที่นี่จะเป็นที่ประดิษฐานพระทักขิณโมลีธาตุ ของพระองค์ในภายหน้าต่อมาราวปี พ.ศ.๑๙๙๕ นางเม็งและนายสอยได้พบพระบรมธาตุ จึงได้ก่อพระเจดีย์และสร้างเสนาสนะ ที่ดอยต้นทอง คนทั้งหลายจึงเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดจอมทอง ในสมัยพระแก้วเมือง (พ.ศ.๒๐๓๘ - พ.ศ.๒๐๖๘) กษัตริย์องค์ที่ ๑๔ แห่งราชวงศ์มังราย ได้สร้างวิหาจัตุรมุข ภายในมีมณฑปปราสาท เพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุ เจ้าเมืองเชียงใหม่หลายพระองค์ได้อัญเชิญพระบรมธาตุศรีจอมทอง ไปยังเมืองเชียงใหม่ เพื่อทำการสักการะโดยมีวัดต้นเกว๋นที่ อ.หางดงเป็นวัดที่หยุดพักขบวนแห่พระบรมธาตุเข้าเมืองในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗มีพิธีแห่พระบรมธาตุ ไปบูชาข้าวที่อุโบสถ และให้พุทธศาสนิกชนได้สรงน้ำโดยจะมีการกล่าวบทอัญเชิญและใช้ช้อนทองคำเชิญ พระธาตุจากผอบมาประดิษฐาน ในโกศแก้วที่ตั้งบนพานเงินตามธรรมเนียมเดิมควรนำน้ำจากแม่น้ำกลาง เจือน้ำหอมหรือแก่นจันทร์มาใช้สรง หรือจะเป็นน้ำสะอาดเจือของหอมก็ได้



คนเกิดปีเป้า
( ปีฉลู หรือปีวัว ) ธาตุดิน พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง

วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองลำปาง เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า และพระสาวกเสด็จถึงหมู่บ้านสัมภาการีวัน ลัวะชื่ออ้ายคอน ได้นำน้ำผึ้งใส่กระบอกไม้พางและมะพร้าวมาถวาย พระองค์ได้ทรงพยากรณ์ว่า ที่นี่จะมีนครชื่อ ลัมพาง และได้มอบพระเกศาธาต ุให้ลัวะอ้ายคอน นำไปประดิษฐานภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพาน พระอรหันต์ได้นำพระธาตุหน้าผาก และพระธาตุลำคอ มาประดิษฐานที่นี่พระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่กลางเวียงโบราณ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเวียงทางศาสนา โดยเฉพาะ ภายในวัดมีสิ่งน่าชมมากมาย ได้แก่ วิหารพระพุทธ เป็นวิหารไม้แบบล้านนา ที่ตกแต่งด้วยลายคำ คือลายทองบนพื้นแดง และภายในสามารถเห็นภาพเงาพระธาตุ ที่ลอดผ่านรูผนังปรากฏบนผืนผ้า วิหารน้ำแต้ม เป็นวิหารโถง มีภาพจิตรกรรมเก่าแก่ของล้านนา วิหารหลวง เป็นที่ประดิษฐานซุ้มพระเจ้าล้านทอง พระพุทธรูปองค์สำคัญของวัด และมีภาพจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติ และชาดก ที่เขียนในราวสมัยรัชกาลที่ ๕ หอพระพุทธบาท เป็นอีกแห่งที่ปรากฏภาพเงาพระธาตุแต่ห้ามมิให้ผู้หญิงขึ้น และที่หอพระแก้ว ประดิษฐานพระแก้วจากวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดารามพระพุทธรูปคู่เมืองลำปาง


คนเกิดปียี ( ปีขาล หรือปีเสือ ) ธาตุไม้
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ บรรจุ พระธาตุข้อศอกข้างซ้าย

พระธาตุช่อแฮตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเตี้ยๆ จากรูปแบบสถาปัตยกรรมในวัด บ่งบอกว่ามีอายุราว
พ.ศ.๑๙๐๐ แต่ตำนานพระธาตุได้เล่าประวัติอันเก่าแก่ว่า พระพุทธเจ้า ได้เสด็จมาถึงดอยโกสิยธชัคคะบรรพต และพบกับเจ้าลาวนามลัวะอ้ายค้อม เมื่อขุนลัวะทราบว่าเป็นพระพุทธเจ้าจึงได้นำภัตตาหารมาถวายพระพุทธเจ้า ทรงพยากรณ์ว่าที่นี่ต่อไป จะมีเมืองชื่อเมืองแพร่ในครั้งนั้น พระอรหันต์ และพระยาอโศก ที่เสด็จมาด้วยได้ทูลขอพระเกศาธาตุ มอบให้ขุนลัวะไปบรรจุโกศแก้วแล้วนำไปไว้ในถ้ำด้านตะวันออก ของดอยที่ประทับและพระพุทธเจ้าทรงมีรับสั่งว่าหลังจากที่พระองค์ปรินิพานแล้วให้นำพระธาตุข้อศอกข้างซ้าย มาประดิษฐานที่นี่ นามของพระบรมธาตุเจดีย์นี้มีเรื่องเล่าว่า มาจากที่ขุนลัวะ นำผ้าแพรมารองรับพระเกศาธาตุ จึงมีชื่อว่า “ช่อแพร”และเพี้ยนเป็น “ช่อแฮ” ในภายหลัง แต่บ้างก็ว่ามีชาวบ้านนำผ้าแพรอย่างดีมาผูกบูชาองค์พระธาตุ

งานมนัสการพระธาตุจัดขึ้นระหว่างวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นงานประจำปีที่สำคัญของชาวเมืองแพร่ในงานมีการแห่ตุงหลวง ถวายแด่องค์พระธาตุและการแสดงมหรสพ


คนเกิดปีเหม้า
( ปีเถาะหรือปีกระต่าย ) ธาตุน้ำ พระธาตุประจำปีเกิด คือพระธาตุแช่แห้ง อ.เมือง จ.น่าน

พระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่บนยอดดอยขนาดเล็ก นอกเมืองน่านมีเรื่องราวเล่าว่า เมื่อครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์มาถึงภูเพียงแช่แห้ง และพบกับพระอมละราช และพระมเหสัที่มาสรงน้ำที่เดียวกับที่พระองค์สรงน้ำอยู่ พระอมละราชได้ถวายผ้าขาวให้พระพุทธเจ้าใช้สรงน้ำ แต่ผ้านั้นกลายเป็นทองคำ พระอานนท์จึงของพระเกศาธาตุบรรจุในกระบอกไม้ซาง มอบให้พระอินทร์นำไปเก็บในอุโมงค์พร้อมผ้าทองโดยพระอินทร์ได้ก่อพระเจดีย์สูง ๗ ศอกไว้ด้านบน ต่อมาราวพ.ศ.๑๘๙๖สมัยพระยากานเมือง ได้ส่งช่างไปร่วมสร้างวัดหลวง ที่สุโขทัยพระยาลือไทจึงมอบพระบรมธาตุ ๗ พระองค์ และพระพิมพ์คำพระพิมพ์เงินอย่างละ ๒๐ องค์ ให้พระยากานเมืองซึ่งได้นำไปบรรจุไว้ที่ภูเพียง และพบพระเจดีย์ ที่บรรจุพระเกศาธาตุและพระธาตุข้อมือข้างซ้ายของพระพุทธเจ้า พระองค์จึงให้ทำอุโมงค์ประดิษฐานพระบรมธาตุใหม่ และก่อพระเจดีย์เป็นพระธาตุแช่แห้งคู่เมืองน่านมาจนทุกวันนี้ ในวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ และแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔
ทางวันมีการจัดงานมนัสการพระธาตุแช่แห้ง ในงานมีมหรสพ การแห่ตุงถวายพระบรมธาตุ และการจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชา ตามธรรมเนียมดั้งเดิม



คนเกิดปีสี ( ปีมะโรงหรือปีงูใหญ่เมืองเหนือเรียกพญานาค ) ธาตุดิน พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ในตำนานสิหิงคนิทาน และพงศาวดารโยนกเล่าประวัติว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานไป ๗๐๐ ปี พระเจ้าสีหล และกษัตริย์องค์อื่นใคร่ทอดพระเนตรรูปของพระพุทธเจ้า มีแต่พระยานาคที่เคยเห็นพระองค์ จึงแปลงรูปเนรมิตตนเป็นพระพุทธเจ้า พระเจ้าสีหลได้กระทำการบูชา ๗ วัน ๗ คืน และให้ช่างถ่ายแบบพระพุทธรูปไว้ต่อมาพระร่วงแห่งสุโขทัย ได้ยินกิตติศัพท์ของพระพุทธสิหิงค์ ใครจะได้บูชา จึงบอกกับพระเจ้าสิริธรรมแห่งเมืองนครศรีธรรมราช พระเจ้าสิริธรรมได้ส่งทูตไปขอจากลังกา อัญเชิญไปให้พระเจ้าสุโขทัยต่อมาพระพุทธสิหิงค์ถูกอัญเชิญ ไปยังเมืองสำคัญจนกระทั่งราวปี พ.ศ.๑๙๘๓ เจ้ามหาพรหมได้อัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์จากกำแพงเพชร มาถวายพญาแสนเมืองมา แห่งเชียงใหม่เดิมพญาแสนเมือง จะให้อัญเชิญไปประดิษฐาน ที่วัดบุปผาราม แต่เมื่อรถที่อัญเชิญมาถึงหน้าวัดลีเชียงพระ (ชื่อเดิมวัดพระสิงห์) รถเกิดติดขัดไม่สามารถชักลากไปได้ จึงให้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัดนี้ ในปีพ.ศ.๒๐๖๓ พระเมืองแก้วได้สร้าง วิหารลายคำ เพื่อประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ภายในวิหารมีภาพวิจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ ๕ เรื่องสังข์ทอง ฝีมือช่างล้านนาและเรื่องสุวรรณชาดก ฝีมือช่างภาคกลาง ในช่วงสงกรานต์ของทุกปี มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานบนบุษบก แห่แหนรอบเมืองให้ประชาชนได้สรงน้ำสักการะ


คนเกิดปีใส้
( ปีมะเส็งหรือปีงูเล็ก ) ธาตุน้ำ พระธาตุประจำปีเกิด คือพระเจดีย์ศรีมหาโพธิ ที่พุทธคยาหรือไหว้ต้นโพธิ์ วัดโพธารามมหาวิหาร

พระศรีมหาโพธิ เป็นต้นไม้สำคัญในพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นที่ประทับและตรัสรู้สัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ณ พุทธคยา สำหรับชาวล้านนา ยังมีความเชื่อว่าต้นโพธิ์เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ช่วยขจัดความทุกข์ได้ จึงมีประเพณีถวายไม้ค้ำโพธิ์ และเครื่องประกอบพิธีกรรมใต้ต้นโพธิ์ สำหรับผู้ที่เกิดปีมะเส็ง ที่มีพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำปีเกิด สามารถบูชาต้นโพธิ์ตามวัดแทนได้ โดยที่วัดโพธารามมหาวิหาร เชียงใหม่นี้ เป็นวัดสำคัญที่มีการสังคยานาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘ของโลก และพระเจ้าติโลกราชผู้สร้างวัด ทรงให้นำต้นโพธิ์จากลังกามาปลูก พร้อมทั้งจำลองสัตตมหาสถานคือสถานที่ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้า ได้เสวยวิมุตติสุขก่อนเผยแผ่ศาสนา

คนเกิดปีสะง้า ( ปีมะเมียหรือปีม้า ) ธาตุไฟ
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุย่างกุ้ง (พระธาตุตะโก้ง) หรือพระธาตุเจดีย์ชเวดากองประเทศพม่า หรือวัดพระบรมธาตุ อ.บ้านตาก จ.ตาก แทน

สำหรับผู้ที่เกิดปีมะเมีย สามารถเดินทางไปมนัสการพระบรมธาตุเมืองตาก แทนพระธาตุชเวดากองที่ประเทศพม่าได้ เนื่องจากเป็นเจดีย์ที่พระครูพิทักษ์ (ทองอยู่) ได้จำลองแบบมา จากพระธาตุชเวดากองโดยครอบพระธาตุเจดีย์องค์เดิมไว้ ในตำนานพระเจ้าเลียบโลก ได้กล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมธาตุเจดีย์ที่วัดนี้ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาเมืองตาก จนมาถึงดอยมหิยังคะที่ร่มรื่น และทรงมอบพระเกศาธาตุให้พระอรหันต์ พร้อมทั้งรับสั่งว่า หลังจากที่เสด็จปรินิพาน แล้วให้นำพระเกศาธาตุมาบรรจุไว้ที่นี่พระบรมธาตุเจดีย์เมืองตาก จึงเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุ ในวันขึ้น ๑๔ และ ๑๕ ค่ำ เดือน ๗(ปลายเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน) ของทุกปี จะมีงานพิธีสมโภชและสักการะพระบรมธาตุเรียกว่า งานประเพณีขึ้นพระธาตุเดือนเก้า


คนเกิดปีเม็ด ( ปีมะแมหรือปีแพะ ) ธาตุดิน
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

พระธาตุดอยสุเทพ ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพ การประดิษฐานพระบรมธาตุ เจดีย์บนเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองมีขึ้นราวปี พ.ศ.๑๙๑๖ สมัยพญากือนา (พ.ศ.๑๘๙๘-๑๙๒๘)ในยุคทองของล้านนาพระองค์ได้อาราธนาพระสุมนเถระ จากสุโขทัย มาเชียงใหม่ พระสุมนเถระ จึงอัญเชิญพระบรมธาตุที่พบเมืองปางจามาด้วย พระบรมธาตุนี้ได้ทำปาฏิหาริย์แยกเป็นสององค์ องค์หนึ่งประดิษฐานที่วัดบุปผารามอีกองค์หนึ่งพญากือนา ได้อาราธนาสถิตเหนือช้างมงคล เพื่อเสี่ยงทายที่ประดิษฐาน ช้างมงคลเดินขึ้นมาถึงยอดดอยสุเทพ แล้วร้องสามครั้งทำทักษิณา วรรตสามรอบ และส้ม (ตาย) ลง ภายหลังอัญเชิญพระบรมธาตุลงมา พญากือนาให้ขุดหลุมประดิษฐานพระบรมธาตุ และก่อพระเจดีย์สูง ๕ วา ต่อมาปี พ.ศ.๒๐๘๑ สมัยพระเจ้าเกษเกล้า ได้ก่อเป็นพระเจดีย์สูงใหญ่สีทอง เช่นทุกวันนี้ มีความเชื่อว่าหากบูชาพระธาตุ ในทิศทั้งสี่แล้วจะทำให้มีสติปัญญาดี สมัยก่อนในวันวิสาขบูชามีประเพณีการขึ้นพระธาตุโดยชาวบ้าน จะเดินลัดเลาะป่าขึ้นสู่องค์พระธาตุ

คนเกิดปีสัน ( ปีวอกหรือปีลิง ) ธาตุดิน
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม


พระธาตุพนม พระบรมธาตุเจดีย์องค์สำคัญ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนสองฝั่งโขง บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระมหากัสสปะเถระ ได้นำมาประดิษฐานไว้บนภูกำพร้า ตามตำนานว่าก่อสร้างโดยกษัตริย์ห้าองค์คือ พระยาจุฬณีพรหมทัต พระยานันทเสน พระยาอินทปัด พระยาคำแดง และพระยาสุวรรณภิงคาร พร้อมไพร่พล ในส่วนลวดลายที่เรือนธาตุนั้น ตำนานเล่าว่า ตกแต่งโดยพระอินทร์และเหล่าเทวดา มีแผ่นอิฐที่จำหลักลวดลายเป็นภาพกษัตริย์โบราณ ฝีมือช่างพื้นบ้าน ศิลปะทวารวดี หรือพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ นับว่าเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่ของภาคอีสาน พระธาตุพนมได้รับการบูรณะ และอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห่งล้านช้าง ในสมัย พ.ศ.๒๒๒๓-๒๒๒๕ พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) นำราษฎรจากเวียงจันทน์ ๓,๐๐๐ คนมาปฏิสังขรณ์พระธาตุให้สูงขึ้น และเป็นรูปแบบที่นิยมในอีสาน ต่อมารัฐบาลได้บูรณะให้สูงขึ้นอีกเมื่อพ.ศ.๒๔๘๓ แต่ในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ เกิดฝนตกหนัก และพระธาตุพนมได้ทรุดพังทลายลง แต่ก็ได้รับการบูรณะโดยภาครัฐ และเอกชนเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ ในเขตวัดมีบ่อน้ำพระอินทร์ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดของบ่อน้ำที่ใช้น้ำมาเสกน้ำพระพุทธมนต์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ จนถึงรัชกาลปัจจุบันงานมนัสการพระธาตุพนม จัดขึ้นทุกปีในวันขึ้น ๑๐ ค่ำ ถึงวันแรก ๑ ค่ำ เดือน ๓



คนเกิดปีเร้า ( ปีระกาหรือปีไก่ ) ธาตุเหล็ก
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน

พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นพระธาตุคู่เมืองลำพูนมาแต่โบราณ มีตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมายังชัยภูมิของชาวเม็ง ทรงหยุดประทับนั่ง ณ สถานที่หนึ่ง พระยาชมพูนาคราช และพระยากาเผือกได้มาอุปัฏฐาก และมีชาวลัวะผู้หนึ่ง นำลูสมอมาถวายพระองค์ ทรงมีพุทธพยากรณ์ว่าที่นี่ในอนาคตจะเป็น“นครหริภุญชัยบุรี ” เป็นที่ประดิษฐาน “ พระสุวรรณเจดีย์ ” ซึ่งบรรจุกระหม่อม ธาตุกระดูกธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ในครั้งนั้นพระยาทั้งสองได้ทูล ขอพระเกศาธาตุนำไปบรรจุในกระบอกไม้รวก และโกศแก้วใหญ่ ไว้ในถ้ำใต้ที่ประทับ ต่อมาในสมัยพระยาอาทิตยราช ผู้ครองเมืองหริภุญชัย (ราว พ.ศ.๑๔๒๐) ได้เสด็จลงห้องพระบรรทม แต่มีการขัดขวาง มิให้เข้าภายหลังทรงทราบว่าที่แห่งนั้นเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ จึงทรงให้รื้อวัง และขุดพระบรมธาตุมาบรรจุโกศทองคำและสร้างมณฑปปราสาท เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุหริภุญชัย ได้รับการบูรณะเรื่อยมา โดยพระเจดีย์องค์ปัจจุบันบูรณะ ในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ เมื่อ ๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว ภายในวัดยังมีพระสุวรรณเจดีย์เจดีย์ยุคแรกในศิลปะหริภุญชัย เจดีย์เชียงยัน เจดีย์เก่าแก่ทรงปราสาทห้ายอด และหอระฆัง
ที่แขวนกังสดาลใหญ่เป็นต้น ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๖ ของทุกปีจะมีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยน้ำที่นำมาสรงองค์พระธาตุนี้ จะต้องนำมาจากบ่อน้ำทิพย์ บนยอดดอยขะม้อที่อยู่นอกเมืองตามธรรมเนียมปฏิบัติแต่โบราณ



คนเกิดปีเส็ด ( ปีจอหรือปีหมา ) ธาตุดิน
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สามารถบูชา รูปหรือไปไหว้พระเจดีย์ที่วัดเกตการาม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แทน

สำหรับผู้ที่เกิดปีจอ พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ตามพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า ประดิษฐานพระทันตธาตุ ที่พระอินทร์นำมาจากพระบรมธาตุที่โทณพราหมณ์ได้แอบซ่อนไว้ เมื่อครั้งมีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า ให้แก่เจ้าเมืองต่างๆ ด้วยเหตุที่พระธาตุเจดีย์องค์นี้ มนุษย์ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้ ดังนั้นนอกจากนมัสการด้วยการบูชารูปแล้ว ยังสามารถบูชาพระเจดีย์ที่วัดเกตการาม เชียงใหม่ซึ่งมีชื่อพ้องกับพระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์ วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในเขตย่านการค้าของชาวต่างชาติ ตามประวัติว่า สร้างโดยพญาสามฝั่งแกน เมื่อ พ.ศ.๑๙๗๑ แต่พระเจดีย์ได้พังทลายลงในปี พ.ศ.๒๑๒๑ พระสุโธรับสั่งให้สร้างขึ้งใหม่ เป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบล้านนานอกจากนี้ ภายในวัดยังมีพระวิหารใหญ่ ที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ และพิพิธภัณฑ์เก็บของใช้พื้นบ้านให้ชม (เปิด ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ น.)


คนเกิดปีใค้ ( ปีกุนหรือปีหมู บางตำราเป็นช้าง ) ธาตุน้ำ
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุดอยตุง อ.แม่สาย จ.เชียงราย

พระบรมธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บนดอยสูง ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ตามตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ก่อนที่จะสร้างพระอชุตราชให้ทำทุง (ตุง) มีความยาว ๑,๐๐๐ วาปักบนยอดเขาหากทุงปลิวไปถึงที่ใด ก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ ๕๐๐ ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังราย พระมหาวชิรโพธิเถระ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย ๕๐ องค์พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม บางตำนานว่าที่มาชื่อดอยตุง เนื่องมาจาก พระมหากัสสปะได้อธิษฐานตุงยาว ๗,๐๐๐ วา ไว้ที่ยอดดอยแห่งนี้ พระบรมธาตุดอยตุงได้รับการบูรณะหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓ได้บูรณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาท องค์ปัจจุบัน พระบรมธาตุดอยตุง เป็นที่เคารพสักการะของชาวล้านนา ไทใหญ่ หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุในวันเพ็ญเดือน ๓
ไฟล์แนป
223290_458799164172125_618587124_n.jpg
223290_458799164172125_618587124_n.jpg (133.46 KiB) เปิดดู 9783 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » พฤหัสฯ. 19 พ.ค. 2016 6:04 am

ข้าราชการตุลาการถ่ายภาพร่วมกันที่หน้าศาลเมืองลำปาง ประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๒๓-๒๔๕๓

ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

4216879495356.jpg
4216879495356.jpg (221.75 KiB) เปิดดู 9766 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » พฤหัสฯ. 19 พ.ค. 2016 6:06 am

เค้าสนามหลวงนครลำปาง พ.ศ.๒๔๔๕

ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

4216880710601.jpg
4216880710601.jpg (224.82 KiB) เปิดดู 9709 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » พฤหัสฯ. 19 พ.ค. 2016 6:07 am

แผนที่มณฑลพายัพ (ล้านนาในยุคมณฑลพายัพ)

4216881420657.jpg
4216881420657.jpg (296.71 KiB) เปิดดู 9709 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » เสาร์ 04 มิ.ย. 2016 9:09 pm

ความเชื่อพื้นบ้านล้านนา

img_0789_resize.jpg
img_0789_resize.jpg (145.69 KiB) เปิดดู 9692 ครั้ง


ความเชื่อเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ และเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน เป็นเรื่องของความรู้สึกและจิตใจ อาจมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้ คนล้านนามีความเชื่อในเรื่องต่างๆ และยึดถือนำมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันตาย โดยเชื่อว่าจะช่วยให้มีความร่มเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรืองทั้งแก่ตน ครอบครัว และสังคมส่วนรวม ความเชื่อของคนล้านนานั้น นอกจากความเชื่อทางศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาหลักแล้ว ยังมีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ ผีสาง เทวดา เรื่องโชคลาง สังหรณ์ เรื่องเหนือธรรมชาติ ที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ ความเชื่อเหล่านี้ คน ล้านนาได้นำมาผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างลงตัว จนทำให้เกิดเป็นประเพณี พิธีกรรมและ วัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ล้านนาไปในที่สุด

สำหรับข้อมูลความเชื่อที่นำมาเสนอครั้งนี้ พรรณเพ็ญ เครือไทย คัดมาจากหนังสือเรื่องความเชื่อพื้นบ้านล้านนา ซึ่งสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวบรวมจากเอกสารโบราณล้านนา ประเภทใบลานและพับสา แล้วพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ โดยคัดเลือกเฉพาะเรื่องที่เห็นว่าเกี่ยวกับเด็ก

๑. ความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์
• หอยเบี้ย เชื่อว่าเมื่อผูกตัวหอยเบี้ยไว้กับแขนของเด็ก ๆ จะสามารถป้องกันภูตผีปีศาจได้และยังทำให้เด็กคนนั้นเป็นคนเลี้ยงง่าย
• หิ่งห้อย เชื่อว่า ถ้าเด็กหรือผู้ใหญ่คนใดจับหิ่งห้อยมาเล่น ต่อไปภาคหน้าหรือเมื่อแก่ตัวจะทำให้เป็นโรคมือสั่น

๒. ความเชื่อเกี่ยวกับคนและกิริยาอาการ
• กวาดเรือน ตามปรกติคนล้านนาจะกวาดเรือนตอนเช้าหรือตอนกลางวัน ถ้าไม่จำเป็นจะไม่กวาดเรือนเวลากลางคืน เพราะถือว่า การกวาดเรือนในตอนกลางคืนเป็นการกวาดเอาข้าวของเงินทองออกจากเรือนไป ความจริงคงเป็นเพราะว่าในเวลากลางคืนมีแสงสว่างไม่เพียงพอ มองไม่เห็นข้าวของเครื่องใช้ที่มีขนาดเล็ก อาทิ เข็มเย็บผ้า เป็นต้น อาจทำให้ข้าวของเครื่องใช้เหล่านั้นสูญหายได้

• กินบกจกลง คนล้านนาจะกินข้าวเหนียวเป็นหลัก โดยจะบรรจุข้าวเหนียวไว้ในไหข้าวที่ใช้นึ่งข้าว เวลากินข้าว ผู้เฒ่าผู้แก่จะสอนลูกหลานให้คดข้าวจากด้านบนก่อน ห้ามคดลงไปข้างล่างเจาะเอาเฉพาะข้าวที่อยู่ตรงกลางไห ในลักษณะที่เรียกว่า “กินบกจกลง” เชื่อว่า ถ้าบ้านใดกระทำเช่นนั้น จะทำให้ข้าวในยุ้งบกบางหรือลดลงอย่างรวดเร็ว หรือมิฉะนั้นก็ทำให้ข้าวของเงินทองพร่องลงไปมากจนหมดสิ้นไปในที่สุด

• เมื่อมีคนที่เจ้าของเรือนไม่ชอบมานั่งพูดคุยด้วย ถ้าไม่อยากให้แขกรายนั้นมาอีก เมื่อเขากลับไปแล้วให้รีบเอาไม้กวาดๆ ไล่ พร้อมพูดเบาๆ ว่า “ไป ไป” เชื่อว่าบุคคลนั้นจะไม่มาเรือนนั้นอีก

o กุ้มกะลุมหรือคลุมโปง ชาวล้านนาสมัยก่อนจะห้ามเด็กหรือผู้ใหญ่นอนคลุมโปง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาว เชื่อว่าจะทำให้ริมฝีปากแตกง่าย


๓. ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมและไสยศาสตร์

• แกว่งข้าว ถ้าเรือนใดมีเด็กทารกที่เลี้ยงยาก มักร้องไห้งอแงอยู่เสมอ ไม่ค่อยกินนม ในสมัยก่อนพ่อแม่จะเอาผ้าอ้อมของเด็กไปให้คนทำพิธีแกว่งข้าวให้ ใช้หม้อนึ่งและไหข้าว ช่วยในการทำนายโดยผู้ทำพิธีจะเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมแล้วผูกด้วยด้าย เอาปลายข้างหนึ่งไปผูกกับไม้ด้ามข้าว ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งผูกกับผ้าอ้อมเด็ก พร้อมกับกล่าวลำดับเครือญาติของเด็กที่ได้ตายไปแล้ว ถ้าเรียกขานชื่อถึงญาติคนใดแล้วก้อนข้าวนั้นแกว่งไปมา แสดงว่าคน ๆ นั้นกลับชาติมาเกิด ชาวล้านนาเชื่อว่าถ้าได้ทำพิธีนี้แล้ว เด็กทารกนั้นจะกลายเป็นคนเลี้ยงง่ายและโตวันโตคืน

• จกคอละอ่อน คือการที่แม่ช่าง (หมอตำแย) หรือหมอทำคลอดใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในลำคอของทารกแรกคลอด เพื่อล้วงเอาเสลดหรือเลือดที่ติดค้างในลำคอออกมา เชื่อว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ เมื่อโตขึ้นเด็กคนนั้นจะป่วยเป็นโรคหืดหอบได้

• น้ำนม เชื่อว่า ถ้าเอาน้ำนมของคนทาที่ศีรษะของเด็กทารกที่มีผมบาง จะทำให้ผมขึ้นดกหนา ถ้าเอาน้ำนมหยอดตาคนที่เป็นโรคตาแดง ก็จะหาย และถ้าเอาน้ำนมมนุษย์ผสมกับดินปืนที่ใช้ทำบอกไฟดอก เชื่อว่าเมื่อจุดบอกไฟจะไม่ค่อยมีควันและมีดอกสวยงามสว่างไสว

• เม่า เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกในช่วงที่ยังกินนม อาการคือ บริเวณรอบริมฝีปากและลิ้นของเด็กจะมีลักษณะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวกจนสุก ทำให้เด็กรู้สึกแสบแล้วร้องไห้ การรักษาโรคเม่าของคนสมัยก่อนนั้น พ่อแม่เด็กจะทำกรวยดอกไม้ จากนั้นจะนำกรวยไปเสียบไว้ข้างฝาหรือหลังคาเรือน ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวันจึงนำกรวยดอกไม้นั้นมาทำพิธีเสกเป่าอีกครั้งหนึ่ง และทำอย่างนี้ทุก ๆ วัน จนกว่าเด็กจะหาย

• รก ชาวล้านนาเชื่อว่าหลังจากคลอดแล้วแต่รกไม่ออกตามมา ให้ระวังว่ารกจะขึ้นปิดลิ้นปี่จนทำให้เด็กหายใจไม่ออก และอาจถึงตายได้ ในสมัยก่อนต้องให้หมอเวทมนตร์มาเสกคาถาสะเดาะเคราะห์ใส่น้ำให้แม่เด็กดื่มเพื่อบังคับรกให้ออก

• เมื่อนำรกไปฝัง ให้ใช้เข็มแทงลงไปที่ห่อรกแล้วจึงนำไปฝัง เชื่อว่าจะทำให้เด็กเจ้าของรกเป็นคนที่มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลมเหมือนเข็ม

• หลังจากที่เด็กคลอดแล้ว ให้ตัดสายรกเก็บไว้สัก ๑ ข้อมือ นำไปตากให้แห้ง เมื่อมีลูกหลายคนและลูก ๆ เติบโตแล้ว ให้ฝนสายรกที่เก็บไว้โดยรกของพี่ฝนให้น้องกินและรกของน้องฝนให้พี่กิน เชื่อว่าลูกๆ จะรักกัน ไม่ทะเลาะหรือเป็นศัตรูกัน

• ลูก ถ้าลูกคนแรกเกิดมาเป็นผู้หญิงและมีหน้าตาเหมือนแม่ เชื่อว่าจะเป็นคนอาภัพถ้าเหมือนพ่อ จะมีวาสนาดี แต่ถ้าเป็นลูกชายและมีหน้าตาเหมือนพ่อ จะเป็นคนอาภัพ ถ้าเหมือนแม่จะมีวาสนาดี

• สายดือหรือสายสะดือ หลังคลอด แม่ช่างหรือหมอตำแยจะตัดสายสะดือของทารกเชื่อว่าถ้าตัดสายสะดือเด็กจนเหลือสั้นเกินไป โตขึ้น เขาจะเป็นคนใจร้อน วู่วาม โมโหง่าย และถ้าเอาสายสะดือที่หลุดแล้วของลูกทุกคนมาตากแดดให้แห้งแล้วเก็บไว้ ภายหลังเอาสายสะดือเหล่านั้นมาแช่น้ำให้ลูก ๆ ดื่ม เชื่อว่าลูกทุกคนจะรักกันมาก

• สายแห่ หรือสายรก เถ้าเด็กที่คลอดออกมาเป็นชาย มีสายแห่พันรอบคอได้ ๒ รอบเชื่อว่าโตขึ้นเขาจะได้บวชเป็นสามเณรหรือพระภิกษุ

• หลอนเดือน การที่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดไปเยี่ยมทักทายแม่ของเด็กทารกที่เพิ่งคลอดและอยู่ไฟครบกำหนด ๑ เดือนในวันนั้น และเป็นคนแรกที่ไปเยี่ยม เรียกว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ไปหลอนเดือน เชื่อว่าถ้าอุปนิสัยใจคอของคนนั้นเป็นเช่นใด ต่อไปเด็กก็จะมีนิสัยเหมือนคนๆ นั้นด้วย

• อุ๊ก เป็นการเอาเด็กทารกแรกคลอดนอนในกระด้ง แล้วเอาผ้าห่มวงรอบตัวเด็กหลายรอบในลักษณะเป็นเกลียวขึ้นด้านบน เปิดบริเวณใบหน้าไว้โดยคลุมด้วยผ้าบางเพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก ทารกถูกลม ให้กระทำเช่นนี้ ประมาณ ๗ – ๑๕ วัน แต่หากไม่ “อุ๊ก” ตัวอย่างนี้ เชื่อว่า ผิวหนังเด็กทารกจะไม่สวย มีลักษณะลายพร้อย กระดำกระด่างไปทั่วตัว

• อุจจาระ คนล้านนาเชื่อว่าถ้าเด็กไม่รู้เดียงสา ชอบเล่นอุจจาระของตัวเอง โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่จะปรุงอาหารเก่ง รสอร่อย

• วันเนาหรือวันเน่า คือ วันถัดจากวันสังขารล่อง หรือวันก่อนหน้าวันขึ้นปีใหม่ ปัจจุบันตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน ชาวล้านนามีความเชื่อว่าถ้าได้ตัดไม้ในวันนี้ โดยเฉพาะไม้ไผ่แล้ว จะไม่มีแมลง เช่น มอด มากัดกินไม้ เพราะเนื้อไม้จะมีกลิ่นเน่าเหม็นเชื่อว่า ถ้าผู้ใดไม่ระวังปากไม่ระวังคำพูด มีการด่าแช่งกัน หรือทะเลาะกันในวันนี้ จะทำให้ปากของคนเหล่านั้นเน่าเหม็นตลอดไป

๔. ความเชื่อเกี่ยวกับผี

• ผีกะ ผีชนิดหนึ่งที่สืบต่อกันมาทางสายตระกูล คนสมัยก่อนมักเลี้ยงผีกะไว้เพื่อคุ้มครองคนในครัวเรือน ผีกะชอบกินของคาวโดยเจ้าของผีกะจะเอาผีใส่ไว้ในหม้อดินเผา จากนั้นจึงใส่ปลาร้า พริก ข่า ตะไคร้ ลงไปในหม้อดินนั้นแล้วปิดปากหม้อด้วยผ้าแล้วผูกด้วยเชือก เชื่อกันว่า ถ้าเจ้าของเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างดี ผีกะจะให้คุณนำความเจริญมาให้เจ้าของ แต่ถ้าเจ้าของปล่อยปละละเลยให้ผีกะอดอยาก ผีกะจะเที่ยวออกหากินและเข้าสิงร่างคนอื่น เมื่อถูกจับได้ก็จะบอกชื่อผู้เป็นเจ้าของ ทำให้เจ้าของอับอายขายหน้า ด้วยเหตุนี้เจ้าของผีกะจึงต้องทำพิธีเลี้ยงผีกะเป็นประจำทุก ๆ ปี หรืออย่างน้อยก็ ๓ ปีต่อครั้ง หากผีกะกล้าแข็งมากขึ้นก็จะกลายเป็นผีม้าบ้อง

• ผีปู่ย่า เป็นผีบรรพบุรุษของคนล้านนา มีหน้าที่คอยดูแลปกปักษ์รักษาลูกหลาน ผีปู่ย่าจะอาศัยอยู่ที่บ้านต้นตระกูลของฝ่ายหญิง เรียกว่า “บ้านเก๊าผี” ทั้งนี้เพราะผีปู่ย่าสืบสายตระกูลมาจากทางแม่ แต่ละปีที่บ้านเก๊าจะจัดพิธีเลี้ยงผีปู่ย่า ลูกหลานในตระกูลจะช่วยกันเตรียมข้าวปลาอาหาร โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงด้วยไก่ และสุรา เมื่อทำพิธีเซ่นไหว้เสร็จแล้วก็จะนำไก่มาทำอาหารรับประทานกันภายในหมู่ญาติมิตร

ชาวล้านนาเชื่อว่า ผีปู่ย่าจะคุ้มครองลูกหลานให้อยู่ดีมีสุข แต่ถ้าลูกหลานคนใดทำผิดผี เช่น มีการแตะเนื้อต้องตัวกันก่อนที่จะทำพิธีแต่งงาน หรือหลังแต่งงาน ไม่ทำพิธีเลี้ยงผีปู่ย่าเป็นการบอกกล่าว ผีปู่ย่าจะโกรธและทำให้ลูกหลานเจ็บป่วยได้ ลูกหลานก็จะต้องทำพิธีขอขมา เซ่นไหว้ผีปู่ย่า จึงจะหายจากอาการเจ็บป่วย

• ผีลูกกรอก เรียกเด็กที่เสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในท้องมีอวัยวะครบถ้วนทุกประการ แต่มีตัวเล็กบ้านใดถ้ามีลูกกรอกให้เอาผ้าขาวม้าห่อ แล้วนำไปตากให้แห้งเก็บไว้ดูแลอย่างดี เชื่อว่าลูกกรอก มีชีวิตจิตใจ มีวิญญาณ ดังนั้น เวลากินข้าวให้เรียกลูกกรอกมากินด้วยทุกมื้อ และคอยซื้อเสื้อผ้าให้ใส่ โดยเปลี่ยนไปตามอายุ เช่นเดียวกับการเลี้ยงเด็กคนหนึ่งเชื่อว่า ถ้ากระทำดังนี้แล้วลูกกรอกจะช่วยพ่อแม่หาเงินหาทอง และคอยเฝ้าบ้าน ช่วยดูแลเป็ดไก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนั้นถ้าจะเดินทางไปที่ใด ถ้าให้ลูกกรอกไปด้วย ลูกกรอกจะช่วยป้องกันภัยให้ บ้านใดที่เลี้ยงลูกกรอกไว้ คนข้างบ้านจะรู้ได้จากการที่ได้ยินเสียงคล้ายกับมีเด็กเล่นซุกซนในบ้าน

• ผีหม้อหนึ้ง (ผีหม้อนึ่ง) บางแห่งเรียกผีปู่ย่าหม้อหนึ้ง ผีย่าหม้อหนึ้ง หรือผีปู่ดำย่าดำหมายถึงผีที่เข้าสิงชุดนึ่งข้าว ซึ่งประกอบด้วย หม้อนึ่ง ไหข้าว ฝาหม้อ ในสมัยก่อนชาวล้านนาเชื่อกันว่า ถ้าเด็กทารกร้องไห้ตลอดวันตลอดคืนโดยที่ไม่ได้เจ็บป่วย เป็นเพราะเด็กถูกรบกวนจากพ่อเกิดแม่เกิด เนื่องจาก “เด็กหนีมาเกิด” จึงต้องมีการลงผีหม้อนึ่งโดยนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการนึ่งข้าว มาประกอบเป็นรูปคนเครื่องประกอบพิธีลงผีหม้อนึ่งจะมีเมล็ดข้าวสาร พริกหนุ่ม พลู ๔ ใบ กล้วย ๒ ลูก ข้าวเหนียว ๒ ปั้น เสื้อผ้าสำหรับใช้สวมใส่หม้อนึ่ง ไหข้าว และค่าขันตั้ง

วิธีลงผีหม้อนึ่ง ผู้ประกอบพิธีจะเอาเสื้อผ้ามาสวมใส่หม้อนึ่งกับไหข้าว แล้วนำไม้มาพาด ไว้ที่ปากไหในลักษณะเป็นแขนขา หลังจากนั้นผู้ประกอบพิธีจะเชิญผีมาลงและก่อนที่จะ มีการถามผีจะยกหม้อนึ่งลงก่อน คำถามที่ถามกันส่วนใหญ่ก็คือ เด็กที่เพิ่งมาเกิดในบ้าน เป็นใครมาเกิด เป็นคนนั้นคนนี้ใช่ไหม ถ้าใช่ หม้อนึ่งก็จะโขกลงกับพื้น แต่ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ โขก แล้วถามต่อไปว่า ต้องการให้เด็กที่เกิดใหม่มีชื่ออย่างนี้หรือไม่ ต้องการจะให้ เปลี่ยนเป็นชื่ออะไร เชื่อว่าการเปลี่ยนให้เด็กเสียใหม่จะทำให้เด็กทารกนั้นหยุดร้องไห้

• ผีเอาเด็กซ่อน ในสมัยก่อน คนโบราณจะห้ามเด็กเล่นซ่อนหา หรือแอบลี้กันในเวลาพลบค่ำและเวลากลางคืน โดยเฉพาะในที่ลับตาคน ถ้าลูกไม่เชื่อฟังก็จะถูกดุและทำโทษ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเชื่อว่า ผีชอบอำเอาเด็กไปซ่อน ทำให้ผู้ใหญ่มองไม่เห็นตัวเด็กคนนั้น แม้จะส่องไฟตามหา และเดินผ่านเด็กไปมาหลายรอบก็มองไม่เห็น หรือกว่าจะพบต้องใช้เวลานานในการค้นหา บางครั้งอาจทำให้เด็กถึงแก่ชีวิตไปเลยก็มี ซึ่งเรื่องนี้เด็กที่เคยถูกผีอำเล่าให้ฟังว่า เห็นผู้ใหญ่ส่องไฟเดินผ่านไปผ่านมา จะเรียกหรือแสดงตัวก็ไม่ได้ เนื่องจากพูดไม่ออกและขยับเขยื้อนตัวไม่ได้

๕. ความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องใช้เครื่องเรือน

• ครกหิน, ครกดิน การตำน้ำพริกด้วยครกหินหรือครกดิน ต้องค่อย ๆ ตำ อย่าตำแรงจนเกินไป ในภาคเหนือวิธีการตำน้ำพริกที่ถูก คือให้ตำข้าง ๆ ครก คนล้านนาเชื่อว่า ถ้าตำแรงจนครกแตก ถือว่า ขึดหรืออัปมงคล ไม่ดี ยิ่งเป็นผู้หญิงด้วยแล้ว หากตำน้ำพริกจนครกแตก ต้องแก้ด้วยการบวชชี จึงจะพ้นจากขึด ตรงข้ามกับทางภาคกลางที่ผู้หญิงต้องตำน้ำพริกให้แรง เร็วและมีเสียงดัง ถ้าสาวบ้านใดตำน้ำพริกได้เช่นนั้น ถือว่าสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ แต่หากตำน้ำพริกแล้วเสียงขาดเป็นช่วง ๆ เชื่อว่าหญิงนั้นเป็นคนทำอะไรเชื่องช้า ไม่ทันกิน ดังนั้นสมัยก่อน การจะเลือกลูกสะใภ้จึงมักไปแอบฟังเสียงตำน้ำพริก

• ไม้ยูหรือยู (ไม้กวาด) ในสมัยโบราณเชื่อกันว่า ถ้าใช้ไม้กวาดวางพาดบนปากอู่หรือเปลเด็กทารก จะช่วยป้องกันภูตผีปีศาจมารบกวนเด็ก หรือมาหยอกล้อเด็ก ทำให้เด็กตกใจหรือร้องไห้ และหากมีคนถูกคุณไสย หรือถูกตู้ ถูกของที่ร้าย เวลาคนนั้น ๆ นอนหลับให้ใช้ไม้กวาดโบกพัดเหนือตัวเขา จะทำให้คุณไสยเสื่อมลงและหายไปในที่สุด

• สตางค์แดง เป็นเหรียญทองแดงมีรูตรงกลาง มีราคา ๑ สตางค์ หากคนที่กินมะเขือลำโพงหรือมะเขือบ้าเข้าไปแล้วเกิดอาการเมา ให้ฝนสตางค์แดงกับน้ำสะอาดแล้วเอาให้ดื่ม เชื่อว่าอาการเมาจะทุเลาลง

• สุดหรือมุ้ง คนสมัยโบราณจะสอนไม่ให้เอามุ้งที่กางกันยุงมาห่มนอน เชื่อว่าถ้ากระทำดังนั้นจะกลายเป็นคนที่จะสุดคำคึดหรือสิ้นคิด เป็นสำนวนว่า สิ้นสุดเหียที่หั้น

• อู่หรือเปล การสานอู่ด้วยไม้ไผ่สมัยก่อนจะมีวิธีนับตาของไม้ที่สานไขว้กัน โดยนับจาก ก้นอู่ขึ้นไปจนถึงปากอู่ ให้มีจำนวนตาตกตรงกับคำโศลกที่ดี โดยเริ่มต้นด้วย “ตาหลับ”ตามด้วย “ตาลืม” สลับกันไป ถ้าถึงปากอู่ด้านบนสุด ให้นับตรงกับคำว่า ”ตาหลับ” เชื่อว่าเด็กที่นอนในอู่นี้ จะเป็นคนที่นอนหลับง่ายและหลับสนิท หลับนาน แต่ถ้าตกตรงกับคำว่า “ตาลืม” เด็กจะนอนหลับไม่สนิท หลับยาก

๖. ความเชื่อเกี่ยวกับสถานที่

• น้ำบ่อหรือบ่อน้ำ คนล้านนานับถือน้ำบ่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ก่อนจะขุดบ่อน้ำจะให้หมอประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้รู้ของท้องถิ่นในด้านโหราศาสตร์ไสยศาสตร์มาช่วยดูชัยภูมิและกำหนดทิศทางว่าควรจะขุดตรงจุดไหนของบ้านจึงจะ บริเวณไหนขุดแล้วจะมีน้ำ มากสามารถใช้ได้ตลอดปี น้ำไม่แห้งขอด บริเวณไหนที่ขุดแล้วจะมีน้ำใส และไม่เป็นน้ำราก (น้ำสนิม มีสีแดง)

วิธีตรวจหาทำเลในการขุดสร้างน้ำบ่อนั้น หมอหรือท่านผู้รู้บางคนจะตีเส้นเป็นช่อง ๆ คล้ายตาราง ร่างบนกระดาษก่อน จากนั้นจึงคำนวณหาทิศทางที่เป็นมงคล เมื่อทราบแล้วก็จะไปชี้สถานที่เหมาะสมที่ตรงตามตำราในการขุดหาน้ำบ่อ หรือมิฉะนั้นหมอบางคนอาจจะไปตรวจหาสถานที่ในการขุดหาน้ำบ่อในเวลากลางคืน โดยการเดินไปเดินมาในสวน เมื่อเลือกได้สถานที่เหมาะสมแล้ว ก็จะปักไม้ไว้เป็นเครื่องหมาย ซึ่งเรื่องนี้ได้เคยตั้งคำถามกับหมอซึ่งเป็นผู้รู้ในท้องถิ่นว่า ทราบได้อย่างไรว่าพื้นที่บริเวณไหนจะมีน้ำมาก น้ำน้อย ท่านหมอบอกว่าถ้าหากเมื่อเดินผ่านสถานที่บริเวณใดแล้วเกิดความรู้สึกว่ามีกระแสความอุ่นไหลผ่าน แสดงว่าตรงบริเวณนั้นมีน้ำมาก

โดยเหตุที่บ่อน้ำเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีคุณแก่คน ดังนั้นคนล้านนาจะห้ามนั่งบนปาบ่อ โดยเฉพาะผู้หญิง หากไปนั่ง เชื่อว่าจะทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียได้ และห้ามถมน้ำบ่อ ถือว่าเป็นขึดใหญ่ ไม่ดี ผู้กระทำต้องได้รับความวิบัติ ฉิบหาย และอาจถึงแก่ชีวิตgลยก็ได้ นอกจากนี้ทุก ๆ ปี ในวันพญาวันหรือวันขึ้นปีใหม่ คนล้านนาจะจุดประทีปบูชาตรงบริเวณบ่อน้ำ

• อุโบสถ เป็นสถานที่สำหรับทำสังฆกรรมของพระสงฆ์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามผู้หญิงขึ้น หรือเข้าไปในเขตดังกล่าว ยกเว้นผู้หญิงที่มีลูกชายผ่านการบวชเรียนมาแล้วจำนวน ๙ คน จึงจะสามารถเข้าไปในเขตอุโบสถได้



คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช (บรรณาธิการ). ๒๕๔๐. ความเชื่อพื้นบ้านล้านนา. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » เสาร์ 03 ก.ย. 2016 4:29 pm

ตามรอยเส้นทางพระพุทธรูปไม้สักทอง ที่สร้างขึ้นโดย “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช”

TIM_DSC_0975.jpg
TIM_DSC_0975.jpg (160.34 KiB) เปิดดู 9623 ครั้ง


เรื่องราวของการสร้างพระพุทธรูปไม้สักเก่าแก่อายุกว่า ๔๐๐ ปีโดย “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” พระพุทธรูปที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ค้นหาซึ่งปัจจุบันได้ประดิษฐานที่ “วัดบุพพา” ท่าแพเชียงใหม่

จากหนังสือจดหมายเหตุ ประวัติศาสตร์ชาติไทยแห่งพระนครศรีอยุธยา แต่งโดย ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร กล่าวไว้ว่า พระเจ้าเชียงใหม่(พระเมกุฎิ หรือ พระแม่กุ)ราชวงศ์มังรายองค์ที่ ๑๕ ได้มีพระราชสาส์น ไปยังสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อขอพระองค์ช่วยยกทัพมาปราบพม่าที่รุกรานเมืองเหนือ พระองค์ได้สร้างพระพุทธรูปด้วยไม้สักไว้ ๑ องค์แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน

๒๐๐ ปี ต่อมาถือเป็นบุญญาธิการของเมืองเชียงใหม่ เจ้าน้อยมังกร ได้อาราธนาพระพุทธรูปไม้สักจาก เมืองต๋วน ในเขตไทยใหญ่ ๑ องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑ วาเศษ ชาวเมืองต๋วนระบุว่าเป็นพระพุทธรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างเมื่อครั้งยกทัพขับไล่พม่าออกจากประเทศไทย และชาวบ้านต้องซ่อนพระพุทธรูปไว้ เกรงพม่าจะนำไปเผา เพราะก่อนหน้านั้นถูกเผาไปแล้ว ๒ องค์ เจ้าน้อยมังกรได้ใช้เกวียนบรรทุกเข้ามาเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ต่อมานำไปถวายพระศรีนวล วัดเชตุพน ต.วัดเกตุ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (ปัจจุบันเป็นพระครูสังฆวิจารณ์ เจ้าอาวาสวัดเพลง นนทบุรี)ถึง พ.ศ.๒๕๑๗ พระศรีนวล ก็ถวายแก่พระมหาจำรัส ธมฺมวาที วัดบุปผาราม โดยได้กราบเรียนว่า “ท่านอาจารย์อยากได้พระพุทธรูป ไม้สักไหม” องค์ใหญ่ที่สุด และสวยที่สุดในโลก

เมื่อท่านเจ้าคุณพระราชพุทธิญาณทราบ จึงได้สอบถามความเป็นมาและขอตั้งจิตอธิฐานถวายเป็นกุศลแด่พระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และได้กระทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปไม้สักมาประดิษฐาน ณ วัดบุปผาราม ต่อมา พ.ศ.๒๕๒๐ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ในขณะนั้นยังไม่ได้ทรงยศเป็นสมเด็จพระสังฆราช ได้เมตตามาเยี่ยมวัด เมื่อทราบประวัติเรื่องราวของพระพุทธรูป และเจ้าอาวาสได้ขอให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯตั้งชื่อให้พระองค์เพื่อความเป็นมงคลว่า “พระพุทธเรศร์สักชียไพรีพินาศ”

ภายใน “หอมณเฑียนธรรม” วัดบุปผาราม ถ.ท่าแพ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ บริเวณชั้น ๒ เป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธเรศร์สักชียไพรีพินาศ” พระพุทธรูปแกะสลักจากไม้สัก(Teak)มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เรียกว่าTectona grandis สร้างขึ้นโดย “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑ วาเศษ ราว ๔ ศอกกว่า ในพุทธลักษณะ “ปางมารวิชัย” หรือ “ปางชนะมาร” หรือ “ปางสะดุ้งมาร” เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ที่ผนังทั้ง ๓ ด้าน มีด้านหลังพระพุทธรูป และด้านข้างทั้งซ้าย-ขวา มีภาพแกะสลักไม้เรื่องประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปัจจุบันองค์พระพุทธเรศร์สักชียไพรีพินาศ เป็นองค์สีขาวนวล “พระเกศา”(ผม)และ “พระกรรณ”(ใบหู)ปิดทอง “จีวร” สังฆาฏิผ้าห่มขององค์พระพุทธรูปเป็นสีเหลืองอ่อน ประทับบนฐานบัทม์ เป็นฐานบัวหน้ากระดาษคว่ำบัวหงายปิดทอง

TIM_DSC_0977.jpg
TIM_DSC_0977.jpg (142.58 KiB) เปิดดู 9623 ครั้ง


นักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวชมได้ทุกวัน วัดเปิดตั้งแต่ ๐๘.๐๐ น. ถึง ๑๗.๐๐น.

ติดต่อสอบถาม / วัดบุปผาราม ๑๔๓ ถ.ท่าแพ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โทร.๐-๕๓๒๗-๖๗๗๑,๐-๕๓๒๗-๕๑๔๒

ที่มาภาพ และข้อมูล : เชียงใหม่นิวส์
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 11 ก.ย. 2016 9:30 am

ความเป็นมาของ "สลากย้อมเมือง"ลำพูน

1278062_10151902234648679_1695871972_o.jpg
1278062_10151902234648679_1695871972_o.jpg (162.71 KiB) เปิดดู 9879 ครั้ง


สลากย้อม เป็นพิธีทานสลากพิเศษของชาวไทยอง สลากย้อมนี้จะประดิษฐ์จากต้นไม้หรือ กิ่งไม้สูงประมาณ 4-5 วา มีร่มกางที่ปลายยอด ลำต้นของสลากจะมีฟางมัดเป็นกำ ๆ สำหรับปักไม้ไผ่ที่ผูกแขวนเครื่องปัจจัยไทยทาน ซึ่งเครื่องไทยทานนั้นจะเป็นเครื่องประดับ ของมีค่า เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งทำให้เห็นความเชื่อที่ว่า ผู้ที่ถวายทานสลากย้อมนี้มีเครื่องใช้ในการครองเรือนและมีคุณสมบัติครบถ้วนแก่การครองเรือนแล้วนั่นเอง ทั้งนี้สลากย้อมดังกล่าว เมื่อทำพิธีถวายแก่พระสงฆ์แล้ว เจ้าตัวก็จะรีบบูชากลับคืนไป และจากการสังเกตจากสำนวนคำร่ำสลากย้อมแล้ว พบว่ามีการเรียกสลากชนิดนี้ว่า "กัปปรุกขา" หรือต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ในนิยายที่อาจบันดาลสิ่งต่าง ๆ ตามความประสงค์ของผู้ขอได้

การทานสลากย้อม เป็นการทานสลากภัตชนิดหนึ่ง ซึ่งต้นสลากมีขนาดใหญ่กว่าสลากชนิดอื่น ซึ่งจัดกันมาตั้งแต่โบราณกาลของวัดในหมู่บ้านชาวยองแถบตำบลริมปิง ตำบลประตูป่า ตำบลเหมืองง่า และตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน การทานสลากย้อมมักจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะการทำต้นสลากที่มีขนาดใหญ่และสูงประมาณ 5 - 6 วา และประกอบด้วยเครื่องตกแต่งและเครื่องประดับมากมาย ปัจจุบันถ้าหากจะทำต้นสลากย้อมดังกล่าว คงต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 40,000-50,000 บาท ครอบครัวที่จะทานสลากย้อมได้จึงเป็นครอบครัวที่ พอจะมีฐานะและมีลูกสาวอายุ 20 ปีขึ้นไป มีความพร้อมที่จะแต่งงานมีครอบครัว ในอดีตเชื่อกันว่าเป็นหน้าที่ของหญิงสาวที่จะพึงทาน โดยเฉพาะ ฉะนั้นเมื่อหญิงสาวคนใดมีความสามารถพอที่จะทำงานได้ พ่อแม่ ก็จะแนะนำให้ลูกทราบถึงหน้าที่ที่หญิงสาวพึงปฏิบัติเป็นเบื้องแรก คือการเก็บหอมรอมริบเงินทองที่หามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรง เพื่อจัดทำต้นสลากย้อม เพราะโบราณกล่าวว่าหญิงใดยังไม่ได้ทานสลากย้อมหญิงนั้นไม่สมควรจะแต่งงาน ถ้าหญิงใดทานสลากย้อมแล้วถือว่าพร้อมที่จะแต่งงานเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีได้ การทำสลากย้อมจึงเป็นการเรียนรู้ฝึกฝนต่าง ๆ เช่น การเย็บปักถักร้อย และงานอื่น ๆ ในหน้าที่แม่บ้าน แม่เรือนอย่างสมบูรณ์แบบ ผู้หญิงชาวยองในชนบทเรียนจบการศึกษาเพียงภาคบังคับ คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ไม่นิยมเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น และครอบครัวมีอาชีพหลักในการทำการเกษตร เช่น การทำนา ทำสวน เป็นต้น สาวชาวยองเป็นผู้ที่มีความขยันขันแข็ง จึงทำนาน ทำสวน เก็บหอมรอมริบด้วยน้ำพักน้ำแรงเป็นเวลาหลายปี การทานสลากย้อมจึงมิได้มีทุกครอบครัว ครอบครัวที่ยังไม่พร้อมก็ถวายทานสลากภัตชนิดก๋วยสลาก หรือสลากโชค ส่วนหญิงสาวที่อายุยังไม่ถึง 20 ปี ก็จะทานสลากต้นที่มีขนาดเล็กกว่าสลากย้อม แต่มีเครื่องประดับตกแต่งเหมือนสลากย้อมต้นใหญ่ทุกประการและ มีชื่อเรียกว่า “สำรับ”

หากวัดใดจะมีการทานสลากภัตในปีใด ก็จะป่าวประกาศให้ศรัทธาของตนทราบล่วงหน้าเป็นปี เพื่อให้เวลาในการตระเตรียมสำหรับผู้ที่จะทานสลากย้อม เพราะต้องใช้ระยะเวลาในการตระเตรียมข้าวของเป็นเวลานาน การทานสลากจะเริ่มต้นตั่งแต่วันเพ็ญเดือนสิบ (เดือน 12 เหนือขึ้น 15 ค่ำ) ตามธรรมเนียมจะให้วัดที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของจังหวัด หรือวัดหลวง จัดงานทานสลากภัตก่อน ในจังหวัดลำพูนคือ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จากนั้นวัดอื่น ๆ ก็จัดงานทานสลากภัตเรื่อยไป จนถึงวันแรม 14 ค่ำ เดือน 11 (เดือนเกี๋ยงเหนือ แรม 14 ค่ำ หรือเดือนเกี๋ยงดับ)

เมื่อทราบว่าทางวัดจะจัดให้มีการทานสลาก หญิงสาวที่มีความพร้อม มีกำลังทรัพย์พอที่จะทานสลากย้อม อาจจะมีพียง 4-5 ราย หรือมากกว่านั้นก็แล้วแต่ ต่างก็จะเริ่มจัดทำและซื้อของตระเตรียมไว้ทีละเล็กละน้อย เช่น สร้อยคอทองคำ เข็มขัดเงิน และเครื่องเรือนต่าง ๆ ซึ่งถ้าหญิงสาวคนใดมีพี่น้องที่อายุน้อยกว่า 20 ปี จะร่วมทานสลากย้อมกับพี่สาวด้วยก็ได้
การเตรียมต้นสลากย้อม

การจัดเตรียมจัดทำเครื่องตกแต่งต้นสลากย้อม นอกจากหญิงสาวจะจัดซื้อหาและจัดทำไว้บ้างแล้ว ยังมีงานที่จะต้องทำและประดิดประดอยอีกมากมายหลายอย่าง แต่ละครอบครัวที่จะทานสลากย้อม หญิงสาวจะขอให้ญาติพี่น้องและเพื่อนมาช่วยกันในการจัดทำเครื่องตกแต่งต้นสลากย้อมซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาว่างในตอนเย็นและตอนกลางคืน บ้างก็จะมานอนค้างคืน ส่วนตอนกลางวันก็จะกลับบ้านไปทำงานบ้านตามปกติ ซึ่งอาจจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนวันทานสลาก และเป็นช่วงเข้าพรรษาหลังจากฤดูทำนา จึงทำให้มีเวลาว่าง มีการ “จ่าตอง” คือการรีดยอดตองด้วยเตารีดถ่าน เพื่อไว้ใช้สำหรับมวนบุหรี่ (ทำบุหรี่) ซึ่งต้องใช้เป็นจำนวนมาก แล้วนำบุหรี่ดังกล่าวมาถักเป็นแพ เรียกว่า “มูลีแป” (บุหรี่ที่ถักเรียงกันลงมามีความยาว 3-4 เมตร) เพื่อใช้แขวนประดับกับต้นสลากย้อม และมีการประดับจ้อง (ร่ม) ด้วยดอกไม้แห้ง มีดอกจำปา สร้อยคอ เข็มขัดตลับเงิน เพื่อประดับไว้ส่วนยอดของต้นสลาก รอบ ๆ ขอบชายร่มก็จะนำสตางค์แดงหรือเงินแถบ (เงินรูปี) ถักด้วยข้าวเปลือกเรียงรอบขอบเหรียญด้วยฝีมือประณีตสวยงาม เรียกว่าการถัก “ขะจา” มาร้อยแขวนโดยรอบขอบร่ม และมีการเตรียมมีดและไม้ไผ่สีสุกสำหรับเหลาเฮียวไว้

ในยามค่ำคืนของการเตรียมงานเช่นนี้ ก็จะมีหนุ่ม ๆ ทั้งจากบ้านใกล้และไกลเดินทางมาเที่ยว “แอ๋วสาว”หลอกล้อพูดคุย และช่วยทำงาน เช่น งานเหลาไม้เฮียว เป็นต้น ทำให้บรรยากาศครึกครื้น บ้างก็นำสิ่งของเครื่องใช้ที่ประดิษฐ์อย่างประณีตด้วยตนเองมามอบให้หญิงสาวร่วมนำเข้าของสลาก เพื่อร่วมถวายทาน ส่วนหนุ่มที่หมายปองหญิงสาวเจ้าของสลากย้อมก็จะช่วยทำเครื่องประกอบต้นสลากย้อมอย่างประณีตเป็นพิเศษ เช่น ตะกร้า (อ่านว่า ซ้า) กระบวยที่ประดิษฐ์เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น

การทำต้นสลากย้อม ก็จะเป็นการช่วยกันทำในตอนกลางวัน ซึ่งมักจะเป็นกิจกรรมของผู้ชายที่มีความรู้ทางช่าง (ซึ่งรายละเอียดในการทำต้นสลากย้อมจะกล่าวถึงในตอนต้นต่อไป) โดยใช้บริเวณลานบ้านของเจ้าของต้นสลากนั่นเอง
ในระหว่างที่มีการเตรียมต้นสลากก็จะมีการตัดกระดาษสีต่าง ๆ เป็นลวดลายประดับต้นสลาก มีการย้อมเฮียวด้วยสีสันต่าง ๆ ซึ่งในการประดับต้นสลากด้วยเฮียวสีต่าง ๆ จึงทำให้เป็นที่มาของคำว่า “สลากย้อม” ละเมื่อทำต้นสลากเรียบร้อยแล้วก็พร้อมที่จะนำต้นสลากไปประดับตกแต่งด้วยของใช้ต่าง ๆ ที่เตรียมไว้

เมื่อถึงเช้าตรู่ของวันทานสลากย้อม ก็จะดำเนินการเอาวัสดุอุปกรณ์ สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับต่าง ๆ และเฮียวที่เตรียมไว้เป็นเวลาอันยาวนาน นำไปปักประดับสลากย้อม เนื่องด้วยต้นสลากย้อมมีขนาดใหญ่และสูงประมาณ 5-6 วา จึงต้องใช้คนหามโครงต้นสลากย้อมถึง 12 คน โดยต้องหามไปเทียบกับต้นไม้ที่สูงใหญ่ที่อยู่ริมถนนใกล้บ้านหรือบริเวณใกล้วัด เพื่อสะดวกแก่การประดับตกแต่งต้นสลากย้อม (เพราะสมัยก่อนยังไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกเช่น คนเครนหรือรถกระเช้าในปัจจุบัน) จึงต้องให้คนขึ้นไปยังต้นไม้ใหญ่เพื่อประดับต้นสลากย้อมที่มีความสูง

ต้นสลากย้อมแต่ละต้น จะมีป้ายชื่อและนามสกุลของเจ้าของสลากย้อมติดไว้ หรือบางคนจะมีการนำรูปภาพเจ้าของต้นสลากย้อม หรือวาดภาพทิวทัศน์มาตกแต่งประกอบอย่างสวยงาม เมื่อทำการตกแต่งต้นสลากย้อมด้วยเครื่องตกแต่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงมีการเคลื่อนย้ายต้นสลากย้อมไปยังวัดที่จัดงานสลากภัต ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องใช้แรงงานคนในการเคลื่อนย้ายต้นสลากย้อมที่มีขนาดใหญ่ด้วยความยากลำบาก เนื่องจากมีน้ำหนักมากและมีความสูง โดยต้องใช้คนในการหามต้นสลาก และใช้เชือกผูกโยงกลางลำต้นถึง 4 ด้าน ให้คนช่วยดึงประคองไปไม่ให้ล้มหรือหักลงมาได้ (ที่สามารถหามไปได้สะดวก เนื่องจากในสมัยก่อนไม่มีสายไฟฟ้าเป็นเครื่องกีดขวาง)

ณ จุดที่ตั้งต้นสลากย้อม จะมีร้านสำหรับวางก๋วยสลากสำหรับญาติ ๆ และเพื่อนสาวที่นำมาร่วมทานสลากภัตด้วย การถวายสลากย้อมก็เหมือนกับการทานสลากภัตโดยทั่วไป เมื่อสลากย้อมตกแก่พระภิกษุหรือสามเณรรูปใดแล้ว ก่อนประเคนรับพรพระหรือสามเณรรูปนั้นจะต้องหารือจ้างคนที่สามารถอ่านกำฮ่ำได้อย่างไพเราะมาอ่าน กำฮ่ำหรือค่าวฮ่ำ หรือกะโลงให้จบเสียก่อนจึงจะประเคนเพื่อรับพรพระจึงเป็นอันเสร็จพิธี

เมื่ออดีตประมาณ 50-60 ปีมาแล้ว การทานสลากย้อมเป็นที่นิยมกันมาก เพราะถือว่าเป็นประเพณีที่มีความสำคัญและยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เชื่อว่าการทานสลากย้อมเป็นการทำบุญที่ได้อานิสงส์มาก ดังเอกสารที่กล่าวถึงอานิสงส์ของการถวายทานสลากภัต มีปรากฏอยู่อย่างมากมายตามวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือ แต่ในปัจจุบัน ความเจริญทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นตัวแปรในการพัฒนา ปรับเปลี่ยน ส่งผลประเพณีวัฒนธรรมที่มีมาแต่ดั่งเดิมสูญหาย ลดน้องลงหรือแม้กระทั่งแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา การทำมาหากินก็เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม ผู้หญิงมีการศึกษาที่สูงขึ้น หรือบางส่วนที่ไม่ได้เรียนหนังสือก็นิยมแต่งงานเมื่ออายุยังน้อย ซึ่งทำให้ผู้คนไม่เคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนแต่เดิม

ดังนั้น การจัดทำต้นสลากย้อมที่ร่วมในประเพณีการทานสลากภัต ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร นั้น จึงเป็นเพียงการทำบุญและนำต้นสลากย้อมมาร่วมตามประเพณีเท่านั้น ไม่ได้เกิดจากวิถีชีวิตและสถาบันครอบครัวครบถ้วนตามกระบวนการที่กล่าวข้างต้นต่อไป เป็นวัฒนธรรมที่ถูกนำมาแสดง โดยเน้นการประกวดและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเท่านั้น ซึ่งทำให้วัตถุประสงค์ของการจัดทำต้นสลากย้อมในอดีตและปัจจุบันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ต้นสลากย้อม แต่ละต้นที่นำมาร่วมประเพณีทานสลากภัตประจำปีของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จึงถูกทำขึ้นในนามของวัดและศรัทธาวัด มีกระบวนการในการจัดทำต้นสลากย้อมโดยวัดและคณะศรัทธา ไม่มีหญิงสาวที่อายุ 20 ปี เป็นเจ้าของสลากย้อมเหมือนในอดีต หรือแม้กระทั่งกำฮ่ำ หรือค่าวฮ่ำ ซึ่งพรรณนาถึงความตั้งใจและปรารถนาของเจ้าของต้นสลากย้อมให้ผู้คนได้รับรู้และชื่นชม ปัจจุบันจะมีก็แต่การนำค่าวฮ่ำที่มีแต่ในอดีตมาอ่านประกวดกัน เพื่ออนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการทานสลากย้อมเพียงส่วนหนึ่ง ดังนั้นประเพณีการทานสลากย้อมตามแบบอย่างโบราณกาลคงจะเป็นเพียงตำนานเล่าขานกันสืบไป

บทความโดย อ.ลาภิณี
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 11 ก.ย. 2016 9:35 am

ถนนท่าแพ เส้นทางสายเศรษฐกิจเชียงใหม่

DSC_23201-800x531-800x531.jpg
DSC_23201-800x531-800x531.jpg (67.14 KiB) เปิดดู 9879 ครั้ง


เมื่อกว่า 80 ปีที่แล้ว บนถนนสายต่าง ๆ ของเชียงใหม่ ผู้คนจะนิยมเดินทางด้วยการเดิน ส่วนการใช้รถจักรยาน หรือ รถถีบ จะมีน้อยมากนอกเสียจากคนมีเงินมีฐานะจะนิยมใช้รถจักรยานเท่านั้น ส่วนรถยนต์แทบไม่มีให้เห็นเลยส่วนใหญ่จะเป็นพวกเจ้านาย คหบดี ดังนั้นสมัยก่อนหากใครมีรถจักรยานปั่นโชว์ก็นับเป็นเรื่องเท่อย่าบอกใคร… เชียงใหม่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการค้าที่สำคัญของภาคเหนือ นอกเหนือจากถนนช้างคลานแหล่งค้าขายขนาดใหญ่ใจกลางเมืองแล้ว หากย้อนไปในอดีตเมื่อราว 50 – 60 ปีก่อน ถนนท่าแพนับว่าเป็นถนนสายการค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ ตลอดสองข้างทางจะร้านค้าของชาวจีนตั้งเรียงราย จนกระทั่งปัจจุบันร้านค้าเหล่านั้นก็ยังคงเปิดดำเนินการอยู่

ในสมัยก่อนร้านค้าสองฟากถนนท่าแพตั้งแต่บริเวณสี่แยกอุปคุตเรื่อยไปจนถึงบริเวณวัดแสนฝาง ส่วนมากจะเป็นร้านค้าของพ่อค้าชาวพม่าและชาวตองสู เวลานั้นพ่อค้าชาวจีนยังมีน้อยส่วนคนไทยหรือคนพื้นเมืองแทบไม่มีเลย พ่อค้าชาวพม่าและตองสูเหล่านี้ มักจะนิยมเดินทางค้าขายไปมาระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองมะละแหม่งของพม่า โดยใช้ช้างหรือวัวต่าง ม้าต่างบรรทุกสินค้าผ่านเข้าออกที่ด่านอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก นำสินค้าจากเชียงใหม่ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าของพม่า จากนั้นก็จะนำมาจำหน่ายที่ร้านค้าบริเวณถนนท่าแพ ถนนท่าแพเชียงใหม่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ถนนต้าแป” เป็นย่านการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต แม้ว่าปัจจุบันจะมีแหล่งการค้าแห่งใหม่เกิดขึ้นมากมายทั่วเมือง แต่ชื่อเสียงและมนต์เสน่ห์แห่งถนนท่าแพยังคงไว้ซึ่งกลิ่นอายของถนนสายการยุคโบราณเสมอมา ในสมัยก่อนร้านค้าสองฟากถนนเป็นของชาวพม่า ซึ่งเปิดขายสินค้าจำพวกเสื้อผ้า โดยทางร้านจะนำเสื้อผ้าออกมาแขวนห้อยอยู่หน้าร้านเป็นแถว ในหนังสือของบุญเสริม สาตราภัยชื่อ “ลานนาไทยในอดีต” ซึ่งมีภาพเก่าของถนนท่าแพ เป็นภาพที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ในหนังสือดังกล่าวพูดถึงถนนท่าแพว่า บริเวณสองข้างทางของถนนท่าแพจะนิยมขายเสื้อผ้าซึ่งเป็นร้านค้าของชาวพม่า ส่วนในภาพที่เห็นผู้หญิงขี่รถจักรยานสองล้อคือบริเวณที่เป็นห้างตันตราภัณฑ์ในปัจจุบัน ถัดไปอีกเล็กน้อยจะสังเกตเห็นว่าตรงนั้นมีตรอกแคบ ๆ มีรั้วไม้สะลายอยู่หัวมุมบ้านไม้ชั้นเดียว บ้านหลังนี้ต่อมากลายเป็นโรงหนังมีชื่อของเชียงใหม่ชื่อ “โรงหนังตงเฮง” ต่อมาก็ได้กลายเป็นโรงยาฝิ่น มีคอขี้ยาระดับเถ้าแก่ เจ้าสัว อาเสี่ย อาแป๊ะ แม้กระทั่งกุลีจับกังเข้าไปสูบฝิ่นในโรงฝิ่นแห่งนี้เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรีได้สั่งให้มีการเลิกสูบฝิ่นทั่วประเทศ โรงฝิ่นแห่งนี้จึงได้เลิกกิจการ



ช่วงเมื่อกว่า 80 ปีที่แล้ว บนถนนสายต่าง ๆ ของเชียงใหม่ ผู้คนจะนิยมเดินทางด้วยการเดิน ส่วนการใช้รถจักรยาน หรือ รถถีบ จะมีน้อยมากนอกเสียจากคนมีเงินมีฐานะจะนิยมใช้รถจักรยานเท่านั้น ส่วนรถยนต์แทบไม่มีให้เห็นเลยส่วนใหญ่จะเป็นพวกเจ้านาย คหบดี ดังนั้นสมัยก่อนหากใครมีรถจักรยานปั่นโชว์ก็นับเป็นเรื่องเท่อย่าบอกใคร… ส่วนอีกภาพหนึ่งก็เป็นภาพถ่ายถนนท่าแพ สันนิษฐานว่าถ่ายจากบริเวณทางม้าลายใกล้กับห้างตันตราภัณฑ์ และน่าจะเป็นคนละสมัยกันกับภาพแรก ระยะเวลาต่างกันไม่มากนักคงไม่เกิน 10 ปี ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นราวสะพานแม่ข่าอยู่ด้านหลังของผู้หญิงสองคนซึ่งเดินอยู่ตรงกลางภาพ สมัยนั้นสะพานแม่ข่าสร้างด้วยไม้ ส่วนร้านค้าสองฟากถนนเป็นโรงแถวไม้ชั้นเดียวหลังคามุมกระเบื้องดินเผาซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น นอกจากนั้นบริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ในภาพเดียวกัน จะเห็นศาลาประตูหน้าวัดแสนฝางเป็นเงาตะคุ่ม ด้านตรงข้ามกับศาลาวัดแสนฝางก็คือบริเวณโรงภาพยนตร์ศรีวิศาล ซึ่งเป็นโรงหนังที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ปัจจุบันได้เลิกกิจการไปแล้วหลังจากที่ได้มีโรงหนังเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในเชียงใหม่ ส่วนริมทางเท้าใกล้กับผู้หญิงสองคนจะเห็นคล้ายกับถังวางอยู่ ไม่ใช่ถังขยะแต่เป็น “ก๋วยหวาย” หรือกระบุงหวายสำหรับใช้ใส่ของเดินทางไกล สมัยก่อนไม่มีกระเป๋าเดินทางเมื่อเวลาชาวบ้านจะนำสินค้าไปขายยังต่างเมือง ก็จะนำก๋วยหวายนี้ใส่สินค้าแล้วบรรทุกบนหลังวัวหรือหลังม้า ก๋วยหวายนี้เป็นกระบุงสานด้วยหวายรูปสี่เหลี่ยม ข้างบนมีฝาปิดเปิดได้ เมื่อเวลาเปิดฝาออกจะมีชั้นตะแกงสานด้วยไม้ไผ่อย่างบาง สำหรับวางสิ่งของเบ็ดเตล็ด ก๋วยหวายจะมีน้ำหนักเบาและทนทานมาก ส่วนตรงข้ามก๋วยหวายจะเห็นคอกสี่เหลี่ยมล้อมต้นมะฮอกกานี ซึ่งเพิ่งปลูกได้ไม่นาน



หลังจากนั้นมาถนนท่าแพก็มีความเจริญขึ้นตามลำดับ ร้านค้าที่เคยเป็นโรงไม้ชั้นเดียวก็เปลี่ยนมาสร้างด้วยอาคารพานิช 2 ชั้น และมีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาตั้งร้านค้าจำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น จนชื่อเสียงของถนนท่าแพกลายเป็นถนนสายการค้าที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ แต่เมื่อเมืองเชียงใหม่มีเจริญมากยิ่งขึ้นมีพ่อค้า นักธุรกิจเดินทางเข้ามาค้าขายในเชียงใหม่เพิ่มขึ้น ย่านการค้าของเชียงใหม่จึงกระจายออกไปอยู่ทั่วเมือง ความสำคัญของถนนท่าแพก็ลดลง อย่างไรก็ตามแม้ว่าถนนเศรษฐกิจและการค้าของเชียงใหม่จะมีมากขึ้น แต่เสน่ห์ของถนนท่าแพในความทรงจำของคนยุคก่อนก็คือถนนแห่งการค้าสายแรกในยุครุ่งเรืองของเชียงใหม่

ที่มา : จักรพงษ์ คำบุญเรือง นสพ.เชียงใหม่นิวส์
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 11 ก.ย. 2016 9:42 am

ตามรอยเส้นทางสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

DSC_5681-399x600.jpg
DSC_5681-399x600.jpg (89.44 KiB) เปิดดู 9877 ครั้ง


“การเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในสมัยก่อนที่จะเข้าไปตีเมืองอังวะในประเทศพม่านั้น พระองค์ได้เดินทัพมายังเมืองงายในเขตอำเภอเชียงดาว ซึ่งปัจจุบันมีร่องรอยหลักฐานปรากฏให้เห็นอยู่ ในตำนานได้กล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรสทรงนำกองทัพไทยจากกรุงศรีอยุธยาเดินทางมาถึงเมืองเชียงใหม่แล้วมุ่งหน้าต่อไปยังเมืองแหง”

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่ได้รับการยกย่องว่าทรงมีพระบรมเดชานุภาพขจรขจาย ทรงนำกองทัพเข้าประจัญบานในการรบจนเป็นที่เกรงขามของศัตรู จากเอกสารของชาวตะวันตกได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีความเข้มงวดในการปกครองมากที่สุดในประวัติศาสตร์สยาม ทรงสั่งประหารชีวิตผู้คนมากกว่า 50,000 คน ทั้งนี้ยังไม่นับผู้คนที่ล้มตายจากการทำสงครามอีกหลายแสนคน



อาณาจักรอังวะเกือบล่มสลาย หากพระองค์ไม่เสด็จสวรรคตเสียก่อน ขณะเดินทางกรีฑาทัพทหาร 200,000 คนเพื่อเข้ายึดศูนย์กลางอำนาจของพม่าในสมัยนั้น ทว่าประเด็นพื้นที่สวรรคตของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้กลับคลุมเครือไม่ชัดเจน ในบทความเรื่องพื้นที่สวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ของชัยยง ไชยศรีในวารสารพิฆเนศวร์ซึ่งจัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวถึงการบันทึกสถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจากพงศาวดารไทยที่บันทึกมาตั้งแต่สมัยอยุธา ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯให้ชำระขึ้นใน พ.ศ.2223 เป็นการบันทึกภายหลังที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว 75 ปี นับว่าเป็นพงศาวดารไทยที่บันทึกใกล้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมากที่สุด

โดยได้บันทึกพื้นที่สวรรคตว่าอยู่ในเมืองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว ขณะที่มหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า โดยพม่าได้บันทึกพื้นที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรไว้ชัดเจนว่า “…ครั้นลุจุลศักราช 974 พระเจ้าอยุธยา พระนเรศทรงเสด็จยกกองทัพ 20 ทัพ มาทางเชียงใหม่จะไปตีเมืองอังวะ ครั้นเสด็จถึงเมืองแหน แขวงเมืองเชียงใหม่ ทรงประชวรในเร็วพลันก็สวรรคตในที่นั้น”

นอกจากนั้นในตำนานพงศาวดารของพม่าได้กล่าวไว้ว่า “พระเจ้าอังวะ ตั้งแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีจึงได้ยกกองทัพไปตีเมืองอังวะ โดยได้ชักชวนให้กรุงศรีอยุธยา กรุงศรีสัตนาคนหุตและเมืองเชียงใหม่ยกกองทัพไปช่วย กรุงศรีสัตนาคนหุตและเมืองเชียงใหม่ยกทัพไปตามกำหนด แต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงถ่วงเวลาแกล้งเดินทัพไปช้า ๆ เพื่อรอให้ทัพหงสาวดีตีกรุงอังวะเสียก่อน หากทัพพระเจ้าหงสาวดีเพลี่ยวพล้ำแก่ทัพอังวะ สมเด็จพระนเรศวรจะได้ตีตลบหลังกองทัพหงสาวดี”

การเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในสมัยก่อนที่จะเข้าไปตีเมืองอังวะในประเทศพม่านั้น พระองค์ได้เดินทัพมายังเมืองงายในเขตอำเภอเชียงดาว ซึ่งปัจจุบันมีร่องรอยหลักฐานปรากฏให้เห็นอยู่ ในตำนานได้กล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรสทรงนำกองทัพไทยจากกรุงศรีอยุธยาเดินทางมาถึงเมืองเชียงใหม่ เมื่อออกจากเมืองเชียงใหม่แล้วจึงได้แบ่งทัพแยกทางกัน สมเด็จพระนเรศวรฯทรงนำกองทัพไทยออกจากเชียงใหม่พร้อมกับพระเจ้าเชียงใหม่และลูกพระเจ้าเชียงใหม่ทั้งสามไปโดยทัพหลวงยกพยุหโยธาไปทางเมืองหางและโปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรสทรงนำทัพอีกส่วนหนึ่งไปทางเมืองฝางนอกจากนั้นในตำนานพระธาตุเมืองน้อย อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีชายแดนอยู่ติดกับพื้นที่อำเภอเวียงแหง มีการกล่าวอ้างถึงสถานที่เสด็จเดินทัพผ่านบริเวณบ้านเมืองน้อยเพื่อเข้าไปตีพม่าว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ใช้เส้นทางเดินทัพไปยังประเทศพม่าโดยผ่านเมืองน้อย ซึ่งตอนนั้นเป็นชุมชนของชนเผ่าลัวะ (ปัจจุบันมีเจดีย์โบราณศิลปะล้านนาปรากฏให้เห็น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงสมัยสุโขทัย-อยุธยา)

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จถึงเขตเมืองหาง ทรงทัพหลวงที่ตำบลทุ่งแก้วหรือทุ่งดอนแก้ว แรมทัพในตำบลนี้ ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวร รับสั่งให้ข้าหลวงไปอัญเชิญสมเด็จพระเอกาทศรสเสด็จจากเมืองฝางไปเข้าเฝ้าในวันเสาร์ขึ้น 6 ค่ำเดือน 6 ปีมะเส็งเบญจศก (พ.ศ.2136)



ในวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำเดือน 6 ก็เป็นเวลาที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคต ขณะนั้นทรงมีพระชนมพรรษาได้ 50 ปีเสด็จอยู่ในราชสมบัติได้ 15 พระพรรษา

สถานที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตได้ทรงเป็นพระสถูปเจดีย์ขึ้นที่เมืองหางในรัฐฉานประเทศพม่า ปัจจุบันพระสถูปเจดีย์อันเก่าแก่ได้ถูกทำลายลงหมดสิ้น ไม่มีแม้แต่ซากอิฐเหลือให้เห็น จนประมาณเมื่อปี พ.ศ.2502 ขณะนั้นรัฐบาลพม่าเริ่มปราบปรามชนกลุ่มน้อยชาวไทยใหญ่ที่ต่อต้านรัฐบาลพม่าเพื่อแยกการปกครองเป็นอิสระแต่พม่าไม่ยอม ชนกลุ่มน้อยชาวไทใหญ่จึงได้ก่อการกบฏขึ้นทั่วทุกหนทุกแห่งในรัฐไทยใหญ่ ได้มีการจัดตั้งกองทัพกู้อิสรภาพของชาวไทยใหญ่ขึ้นเพื่อสู้รบกับฝ่ายรัฐบาลพม่า

เมื่อเวลาที่จะออกศึกสู่รบกับฝ่ายรัฐบาลพม่า กองทัพกู้อิสรภาพชาวไทยใหญ่เหล่านี้จะต้องไปบวงสรวงสักการะดวงวิญญาณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่สถูปเจดีย์ของพระองค์เสียก่อน ปรากฏว่าในการสู้รบทุกครั้งฝ่ายกองทัพกู้อิสรภาพชาวไทยใหญ่มักจะประสบชัยชนะฝ่ายรัฐบาลพม่าอย่างง่ายดาย ทำให้พม่าเคียดแค้นเป็นหนักหนา จึงได้ใช้ระเบิดทำลายพระสถูปเจดีย์เหล่านี้เสียหมด หนำซ้ำยังใช้รถแทร็กเตอร์เกรดทำลายจนราบเรียบไม่เหลือซากให้คณะกู้อิสรภาพไทยใหญ่มาสักการะได้อีกต่อไป ทำให้คนไทยพลอยไม่ได้มีโอกาสเห็นสถานที่ซึ่งวีรบุรุษของชาติสวรรคตอีกเลย


บริเวณที่ประดิษฐานพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนี้เรียกว่า “กองมูขุนหอคำไตย” เป็นภาษาไทยใหญ่หมายถึง “พระเจดีย์ของพระเจ้าแผ่นดินไทย” บริเวณนี้อยู่ห่างจากชายแดนไทย-พม่า ทางด้านตะวันตกของอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่เป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร เหนือบริเวณนี้ขึ้นไปเล็กน้อย ปัจจุบันคือเมืองแกน เป็นเมืองที่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรพระนาภีอย่างหนัก ทรงตั้งทัพอยู่ ณ ที่นั่น คำว่า “แกน” เป็นภาษาล้านนาและไทยใหญ่แปลว่า “เจ็บปวดอย่างรุนแรง” เลยเมืองแกนนี้ไปอีกเล็กน้อยเป็นเมืองหาง

เมืองงายเป็นเมืองที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกรีฑาทัพผ่านเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง มีผู้พบเสาพะเนียดอยู่เป็นจำนวนมากปรากฏอยู่ ต่อมาทางการได้เก็บรวบรวมและนำไปไว้ที่บริเวณพระสถูปแห่งนี้พร้อมกับซากอิฐจากพระเจดีย์สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่เมืองหาง

อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องเส้นทางเดินทัพและสถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อาจยังไม่ชัดเจน เนื่องจากเรื่องราวในพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งที่เขียนจากไทยและพม่ายังมีข้อมูลบางส่วนไม่ตรงกัน โดยเฉพาะชื่อเมืองที่สวรรคต บ้างก็กล่าวว่าทรงเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง ขณะที่บางตำนานบอกว่าสวรรคตที่เมืองแหน จึงเป็นที่น่าสนใจว่าท้ายที่สุดแล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์นักรบของแผ่นดินสยามสวรรคตที่เมืองไหนกันแน่


ที่มา จักรพงษ์ คำบุญเรือง นสพ.เชียงใหม่นิวส์
ไฟล์แนป
DSCF0133-450x600.jpg
DSCF0133-450x600.jpg (107.6 KiB) เปิดดู 9877 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 14 มี.ค. 2017 2:34 pm

ตำนานนางสงกรานต์

113245j0ue8kyg4pvjjq2k.jpg
113245j0ue8kyg4pvjjq2k.jpg (42.09 KiB) เปิดดู 9672 ครั้ง


ก่อนพุทธกาลมีเศรษฐีครอบครัวหนึ่ง อายุเลยวัยกลางคนก็ยังไร้ทายาทสืบสกุล ซึ่งทำให้ท่านเศรษฐีทุกข์ใจเป็นอันมาก ข้างรั้วบ้านเศรษฐีมีครอบครัวหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวเป็นนักเลงสุรา ถ้าวันไหนร่ำสุราสุดขีด ก็จะพูดเสียงดังแสดงวาจาเยาะเย้ยเศรษฐีสบประมาทในความมีทรัพย์มาก แต่ไร้ทายาทสืบสมบัติเสมอ วันหนึ่งเศรษฐีจึงถามว่ามีความขุ่นเคืองอะไรจึงแสดงอาการเยาะเย้ยและสบ ประมาท เฒ่านักดื่มจึงตอบ ถึงท่านมั่งมีสมบัติมากก็จริง แต่เป็นคนมีบาปกรรมท่านจึงไม่มีบุตร ตายไปแล้วสมบัติก็ตกเป็นของผู้อื่นหมด สู้เราไม่ได้ถึงแม้จะยากจนแต่ก็มีบุตรคอยดูแลรักษายามเจ็บไข้ และรักษาทรัพย์สมบัติเมื่อเราสิ้นใจ

นับแต่นั้นมา เศรษฐียิ่งมีความเสียใจ จึงพยายามไปบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ เพียรพยายามตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร ทำเช่นนี้เป็นเวลาติดต่อกันถึงสามปี ก็ไม่ได้บุตรดังที่ตนปรารถนา จนวันหนึ่งเป็นวันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ ท่านเศรษฐีก็พาข้าทาสบริวารของตนมาที่โคนต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำที่อาศัยของนกทั้งหลาย ท่านเศรษฐีให้บริวารล้างข้าวสารด้วยน้ำสะอาดถึง ๗ ครั้ง แล้วจึงหุงข้าวสารนั้น เมื่อสุกแล้วยกขึ้นบูชาพระไทร เทพเหล่านั้นเกิดความสงสาร จึงขึ้นไปเฝ้าพระอินทร์ ทูลขอบุตรแก่เศรษฐี พระอินทร์จึงบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ “ธรรมบาล” ลงมาเกิดในครรภ์ของภรรยาเศรษฐี เมื่อครบกำหนดภรรยาเศรษฐีก็คลอดบุตรเป็นชาย เศรษฐีจึงตั้งชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร เพื่อตอบสนองพระคุณเทพเทวา เศรษฐีจึงสร้างปราสาทสูง ๗ ชั้น ถวายเทพต้นไทร

เมื่อธรรมบาลกุมารเจริญ วัยขึ้น เป็นเด็กที่มีปัญญาเฉียบแหลม รอบรู้ และวัยเพียง ๗ ขวบก็เรียนจบไตรเพท ยังมีเทพองค์หนึ่งชื่อ “ท้าวกบิลพรหม” ได้ยินกิตติศัพท์ทางสติปัญญาอันยอดเยี่ยมของเด็กน้อย จึงคิดทดลองภูมิปัญญาโดยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันจึงถามปัญหา ๓ ข้อ ถ้ากุมารน้อยแก้ปัญหาทั้ง ๓ ข้อได้ กบิลพรหมจะตัดศีรษะของตนบูชา ถ้าธรรมบาลแก้ไม่ได้ ก็จะต้องเสียหัวเพื่อยอมรับความพ่ายแพ้ ปัญหานั้นมีว่า

๑. ตอนเช้าราศีคนอยู่แห่งใด
๒. ตอนเที่ยงราศีของคนอยู่แห่งใด
๓. ตอนค่ำราศีของคนอยู่แห่งใด

เมื่อ ได้ฟังปัญหาแล้ว ธรรมบาลไม่อาจทราบคำตอบในทันทีได้ จึงผลัดวันตอบปัญหาไปอีก ๗ วัน ครั้นเวลาล่วงจากนั้นไป ๖ วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดหาคำตอบปัญหานั้นไม่ได้ จึงหลบออกจากปราสาทหนีเข้าป่า และไปนอนพักเอาแรงใต้ต้นตาล ขณะนั้นบนต้นตาลมีนกอินทรีคู่หนึ่งอาศัยอยู่ นางนกถามสามีว่า “พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารที่ไหน” นกสามีก็ตอบว่า “พรุ่งนี้เราไม่ต้องบินไปไกล เพราะจะได้กินเนื้อธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมตัดหัว เนื่องจากแก้ปัญหาไม่ได้” นางนกถามว่า “ปัญหานั้นว่าอย่างไร” นกสามีตอบว่า ปัญหามีอยู่ ๓ ข้อ และหมายถึง

ข้อหนึ่ง ตอนเช้าราศีของมนุษย์อยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า
ข้อสอง ตอนเที่ยงราศีคนอยู่ที่อก มนุษย์จึงต้องเอาเครื่องหอมประพรมที่อก
ข้อสาม ตอนค่ำราศีคนอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน

ธรรมบาลกุมาร ได้ยินการไขปัญหาของนกอินทรี และจำจนขึ้นใจ ทั้งนี้เพราะธรรมบาลรู้ภาษานก จึงกลับสู่ปราสาทอันเป็นที่อยู่แห่งตน รุ่งขึ้นเป็นวันครบกำหนดแก้ปัญหา ท้าวกบิลพรหมมาฟังคำตอบ ธรรมบาลกุมารกล่าวแก้ปัญหาตามที่นกอินทรีคุยกันทุกประการ ท้าวกบิลพรหมจึงเรียก ธิดาทั้ง ๗ ของตนอันเป็นบริจาริกา คือ หญิงรับใช้ของพระอินทร์มาพร้อมกัน แล้วบอกว่าตนจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร แต่ถ้าเอาศีรษะพ่อวางไว้บนแผ่นดินก็จะลุกไหม้ไปทั้งโลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ อากาศจะแห้งแล้งฟ้าฝนจะหายไปสิ้น ถ้าทิ้งลงไปในมหาสมุทร น้ำในมหาสมุทรจะแห้งแล้งไปเช่นกัน จึงสั่งให้ นางทั้ง ๗ คน เอาพานมารองรับศีรษะ แล้วจึงตัดศรีษะส่งให้นางทุงษธิดาคนโต นางทุงษจึงเอาพานรับเศียรบิดาไว้แล้วแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ ๖๐ นาที แล้วอัญเชิญไปไว้ในมณฑปถ้ำคันธุรลี เขาไกรลาส บูชาด้วยเครื่องทิพย์ พระเวสสุกรรมก็เนรมิตโรงประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ ชื่อภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็เอาเถาฉมูนวดลงมาล้างในสระอโนดาต ๗ ครั้ง แล้วก็แจกกันเสวยทุกๆ องค์ ครั้นครบ ๓๖๕ วัน โลกสมมติว่าเป็นหนึ่งปีเป็นสงกรานต์ ธิดา ๗ องค์ ของเท้ากบิลพรหมก็ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของพระบิดาออกแห่ประทักษิณรอบเขา พระสุเมรุทุกปี แล้วจึงกลับไปเทวโลก
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย pasasiam » เสาร์ 18 มี.ค. 2017 9:54 am

สามเณรแบงก์ [ธรรมากร อารยางกูร] รับบิณฑบาตแม่อุ๊ยดี ชาวบ้านสันฮกฟ้า อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ งดงามด้วยวิถีพุทธ งดงามด้วยวิถีล้านนา

17264789_1328626733864209_618648678510103713_n.jpg
17264789_1328626733864209_618648678510103713_n.jpg (166.97 KiB) เปิดดู 10374 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย pasasiam เมื่อ เสาร์ 18 มี.ค. 2017 10:08 am, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย pasasiam » เสาร์ 18 มี.ค. 2017 9:57 am

วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน ที่ประดิษฐสถานพระธาตุศรีเวียงชัย

20110918143942_img_2428.jpg
20110918143942_img_2428.jpg (66.72 KiB) เปิดดู 10374 ครั้ง


วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตั้งอยู่เลขที่ ๔๙๙ หมู่ที่ ๘ ต. นาทราย อ. ลี้ จ. ลำพูน ห่างจากที่ว่าการอำเภอลี้ไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร (อยู่บนเส้นทางลี้ไปเถิน)

มีความสำคัญคือ เป็นวัดที่มีรอยพระพุทธบาท ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญที่ทำให้ทราบว่า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันได้เสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ ณ บริเวณสถานที่แห่งนี้ โดยได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้บนก้อนหิน

นับตั้งแต่ปี ๒๔๘๙ ที่หลวงปู่ได้เข้ามาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จนกระทั่งมรณภาพในปี ๒๕๔๓ เป็นเวลาถึง ๕๔ ปี หลวงปู่ได้ใช้ความพยายามพัฒนาวัดจนสามารถพลิกสภาพความเป็นวัดร้างให้เป็นวัดที่มีความเจริญถึงขีดสุด จนทำให้ผู้คนจากทุกสารทิศทั้งในและต่างประเทศ ทุกระดับชั้นทางสังคมหลั่งไหลเข้ามาสักการะ สมกับที่เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย

บ้านห้วยต้มเป็นหมู่บ้านของ ชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอหรือกะเหรี่ยงทั้งหมด ๖๐๐ หลังคาเรือนมีคนอาศัยอยู่เกือบ ๓,๐๐๐ คนซึ่งพวกเขาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านห้วยต้มเมื่อปี ๒๕๑๔ หลังจากที่ราชการ สร้างเขื่อนยันฮี หรือ เขื่อนภูมิพล ขึ้น ชาวเขาเหล่านี้ไม่มีที่ทำกิน การอพยพเข้ามาอยู่ในระยะแรกมีความยากลำบากมาก เพราะพื้นที่บางส่วนเป็นหินศิลาแลง และสภาพทั่วไป มีความแห้งแล้ง ชาวกะเหรี่ยงบางคนไม่สามารถทนอยู่ได้ต้องอพยพไปอยู่ในที่ใหม่ พวกที่ทนอยู่ได้ก็ตั้งหน้าทำงานต่อสู้กับอุปสรรคอันแห้งแล้งของธรรมชาติ

20110918144345_img_2452.jpg
20110918144345_img_2452.jpg (107.39 KiB) เปิดดู 10374 ครั้ง


พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของคนเมืองลี้ จังหวัดลำพูน ที่เป็นที่สักการะของคนลำพูน คนภาคเหนือ และคนไทยทั่วทุกภูมิภาค รวมถึงคนต่างชาติต่างภาษาที่พากันมาสักการะบูชาอยู่โดยไม่ขาดสาย ตั้งอยู่ ใกล้วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัยเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ ก่อสร้างด้วยศิลาแลงทั้งองค์ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีฐานของพระเจดีย์ขนาด ๔๐ X ๔๐ เมตร ความสูงขององค์พระเจดีย์ ๖๔.๓๙ เมตร เป็นพระธาตุเจดีย์จำลองจากพระธาตุชเวดากอง ประเทศพม่า สร้างบนพื้นที่ประมาณ ๖ไร่เศษ โดยหลวงปู่ครูบาชัยะวงศาพัฒนา ออกแบบและก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยได้อธิษฐานจิตแล้วขออาราธนาอัญเชิญพระเกศาของพระพุทธเจ้าโคตมะ แล้วเอาสิ่งของต่างๆได้แก่ บริขารของพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ที่ล่วงมาแล้วมาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเจดีย์อีกด้วย

20110918143954_img_2429.jpg
20110918143954_img_2429.jpg (114.22 KiB) เปิดดู 10374 ครั้ง


วัตถุประสงค์ของการสร้าง เพื่อให้ประเทศไทยได้มีพุทธเจดีย์ที่เป็นเครื่องหมายแห่งการตรัสรู้โปรด เวไนยสัตว์ของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ, พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ,พระพุทธเจ้ากัสสปะ,พระพุทธเจ้าโคตมะ องค์ปัจจุบันและพระศรีอริยเมตไตรย์ พระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ประทานนามพระมหาเจดีย์นี้ว่า พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย
ที่มา mcot.net
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 61 ท่าน

cron