เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 9:59 pm

เรือนมิชชันนารีแพร่
ร่องรอยอดีตที่ยังคงหลงเหลืออยู่

ภาพนี้ถ่ายบริเวณหน้าบ้านพักเรือนไม้สักหลังที่ย้ายมาใหม่จากฝั่งซ้ายแม่น้ำยมของคณะมิชชันนารีแพร่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ จะเห็นว่าชาวต่างชาติกำลังเล่นกีฬา “โปโล” หน้าลานโล่งหน้าเรือนพักหลังใหญ่ที่มองเห็นอยู่ด้านหลัง

มิชชันนารีแพร่.jpg
มิชชันนารีแพร่.jpg (125.07 KiB) เปิดดู 6113 ครั้ง


จาก The Laos News (July ๑๙๑๓, p. ๕๖-๕๗) นายแมคมัลลินได้บันทึกเหตุการณ์ในตอนนั้นไว้ในบทความ “Twenty Years after in Pre” (ยี่สิบปีให้หลังในแพร่) ดังนี้ “วันที่ ๕ พฤษภาคม (พ.ศ. ๒๔๕๖) ยี่สิบปีหลังจากที่นายแพทย์บริกส์และนางบริกส์ได้เปิดศูนย์ฯ แพร่ นายแพทย์และนาง อี.ซี. คอร์ท และนายเอ.บี. แมคมัลลิน ซึ่งเป็นมิชชั่นนารีประจำศูนย์ฯ แพร่ ได้ย้ายจากที่ตั้งเดิมที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำยมมาที่ที่ตั้งใหม่ของศูนย์ฯ ซึ่งอยู่ที่ ถ. ท่าอิฐ เชื่อมกับสถานีรถไฟซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ ๑๕ ไมล์

การย้ายครั้งนี้เป็นเรื่องจำเป็นเพราะศูนย์ฯ เก่าถูกน้ำกัดเซาะตลิ่ง ที่ตั้งศูนย์ฯ แห่งใหม่อยู่บนถนนที่มีคนสัญจรไปมามากที่สุดของจังหวัดแพร่ มุ่งไปสู่จังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการขนส่งสินค้าทางเรือไปยังตอนใต้ของประเทศจีน หัวเมืองลาว และกรุงเทพฯ ที่ตั้งของศูนย์ฯ อยู่ใกล้กับตลาดที่คึกคักที่สุดของแพร่ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินกิจกรรมของคริสตจักร เมื่อเราซื้อที่ผืนนี้ มีอาคารไม้เก่าอยู่แล้วหลังหนึ่ง เราได้ดัดแปลงอาคารนี้เป็นโรงเรียนสตรี หอพักสำหรับนักเรียนบ้านไกลและครู ตอนนี้เราใช้อาคารนี้เป็นทั้งโบสถ์ โรงเรียน และอาคารอเนกประสงค์

สพาพของบ้านเป็นเรือนไม้สัก ใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วมุงด้วยกระเบื้องว่าว ตกแต่งช่องลมประตูด้วยลายฉลุขนมปังขิง ลูกบิด กลอนประตูเป็นเหล็กหล่อมาจากยุโรป เรือนไม้หลังนี้มีขนาดใหญ่ แบ่งเป็น ๑๐ ห้อง มีห้องใต้หลังคาขนาดใหญ่สันนิษฐานว่า คงเป็นห้องนอนของลูกๆ มีหน้าต่างบานสูง ระบายอากาศได้ดีทำให้บ้านเย็น เป็นสถาปัตยกรรมของตะวันตกนำมาใช้ออกแบบโครงสร้างก่อสร้างอาคาร

ก่อนหน้านั้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ (ค.ศ.๑๘๙๓) หมอบริกส์ และหมอพีเพิลส์ จึงได้ซื้อที่ดินที่ริมฝั่งแม่น้ำยม บริเวณบ้านเชตะวัน ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ ในราคา ๓๐๐ รูปี เดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน หมอบริกส์และครอบครัว ซึ่งเป็นมิชชั่นนารีครอบครัวแรกของจังหวัดแพร่ ก็ย้ายมาประจำที่ศูนย์มิชชั่นแห่งนี้ ได้ให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยทั่วไป จึงถือได้ว่าเป็นสถานพยาบาลแผนปัจจุบันแห่งแรกของจังหวัดแพร่ และได้รับการอนุญาตให้ตั้งเป็นศูนย์มิชชั่นได้อย่างเป็นทางการ จากจดหมายของหมอบริกส์ ระบุว่า ศูนย์มิชชั่นแพร่ ที่ บ้านเชตะวัน ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ ระยะแรกประกอบด้วยบ้านพักของมิชชั่นนารี อาคารพยาบาล ห้องเก็บของ โบสถ์ บ้านพักคนงาน ยุ้งข้าว

ปัจจุบันเรือนไม้สักมิชชันนารีหลังนี้ได้รับการปรับปรุงให้มีสภาพแข็งแรง พร้อมนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษา โดย กศน.จังหวัดแพร่.

ภาพ : Heitage Observatory

หอหลวงสีป้อ

หอหลวงสีป้อ.jpg
หอหลวงสีป้อ.jpg (108.12 KiB) เปิดดู 6113 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 10:10 pm

มหาเจดีย์หลวงกับภาพอุโมงค์ใต้ฐานพระเจดีย์หลวง
อุโมงค์หรือรูถ้ำภายในฐานพระเจดีย์หลวงนั้น หมื่นด้ำพร้าคตเป็นผู้ก่ออุโมงค์หรือรูถ้ำภายในพระเจดีย์นั้นเป็นจริงตามตำนานและมีความเล่าขานกันมาว่าไปทะลุโผล่ที่ไหนต่อไหนหลายที่นั้น วันนี้มาดูภาพจริงที่ถูกบันทึกไว้โดย นายทิว วิชัยขัทคะ เมื่อตอนที่เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ ๔ เริ่มเข้าบูรณะ

ประตูทางเข้าอุโมงค์ของพระมหาเจดีย์หลวง ใต้บันไดนาคทางด้านทิศเหนือ

485614_347010335420973_12802364_n.jpg
485614_347010335420973_12802364_n.jpg (153.7 KiB) เปิดดู 6113 ครั้ง


จุดที่เห็นดวงไฟ คือ ทางสองแพร่ง
934783_347011898754150_1316649954_n.jpg
934783_347011898754150_1316649954_n.jpg (294.62 KiB) เปิดดู 6113 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 10:16 pm

หอไตรวัดพระสิงห์ รัชกาลที่๗ เสด็จหอไตรวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๖๙

ร๗เสด็จหอไตรวัดพระสิงห์๒๔๖๙.jpg
ร๗เสด็จหอไตรวัดพระสิงห์๒๔๖๙.jpg (90.13 KiB) เปิดดู 6555 ครั้ง


“ขัวกุลา” หรือ “ขัวเก่า”
สะพานไม้แห่งแรกของเชียงใหม่
สร้าง พ.ศ. ๒๔๓๓ – พ.ศ. ๒๔๗๕

ขัวกุลา.jpg
ขัวกุลา.jpg (187.02 KiB) เปิดดู 6555 ครั้ง


“ขัวกุลา” เป็นชื่อที่ถูกกล่าวถึงเป็นสถานที่นัดพบในครั้งเกิดกบฏพญาผาบช่วงปี พ.ศ. ๒๔๓๒ – พ.ศ. ๒๔๓๓ ดังข้อความว่า .......“หื้อพร้อมกันที่หน้าวัดเกตหัวขัวกุลาเช้ามืดไก่ขันสามตั้ง เดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำ”…….คำว่า “ขัวกุลา” ในขณะนั้นคงจะหมายถึงสะพานที่ฝรั่งสร้างขึ้นมาเสร็จใหม่ๆ ขณะนั้นคำว่า “กุลา” หมายถึง ฝรั่ง และ “กุลาดำ” หมายถึงแขกหรือคนอินเดีย ดังนั้นคำว่า “ขัวกุลา” คงจะหมายถึง สะพานที่ฝรั่งสร้างขึ้นมานั่นเอง ต่อมาเมื่อสร้างสะพานนวรัฐข้ามน้ำปิงแห่งที่สองขึ้นมาชาวบ้านจึงเรียก “ขัวกุลา” ว่า “ขัวเก่า” แทน
“ขัวเก่า” เป็นสะพานที่สร้างด้วยไม้สักแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ โดยได้จ้างหมอชีคหรือนายแพทย์ เอ็ม เอ.ชีค มิชชันนารีชาวอเมริกัน ซึ่งขณะนั้นทำงานที่บริษัท บอร์เนียว สัมปทานป่าไม้ในภาคเหนือ เป็นผู้รับเหมาสร้างในราคา ๓,๓๐๐ รูปี (เงินแถบเงินรูปีนืยมใช้ในภาคเหนือมากกว่าเงินสยาม ในขณะนั้นมีค่าเท่ากับ ๘๐ สตางค์ต่อ ๑ รูปี) โดยสร้างตัวสะพานด้วยไม้สักล้วนๆเป็นสะพานแบบคางยื่น ตอหม้อสร้างขึ้นจากไม้ซุงสัก ความกว้างรถม้าสองคันพอสวนกันทางไปมาได้ มีโค้งบนสะพานนับได้ประมาณเก้าโค้ง ข้ามแม่น้ำปิงระหว่างวักเกตการามฝั่งตะวันออกกับกาดมั่วฝั่งตะวันตก (ขณะนั้นยังไม่มีตลาดวโรรสและตลาดต้นลำไย) ในระยะแรกได้มีการเก็บค่าผ่านทาง

เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเสด็จราชดำเนินเยือนเชียงใหม่ ได้ประทับเสลี่ยงพระที่นั่งผ่านสะพานไม้แห่งนี้ข้ามจากวัดเกตการามมาฝั่งตะวันตก
ต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๘ ขัวกุลาได้ทรุดโทรมลง เจ้าแก้วนวรัฐพร้อมด้วยข้าราชกาลและพ่อค้าบริษัท บอมเบย์เบอร์ม่าได้บริจาคเงินซ่อมแซม โดยได้เปลี่ยนเสาและทำโค้งไหม้สองโค้ง ทำเป็นหัวหมูกันท่อนไม้ซุงลอยมาชนตอสะพานและได้เปลี่ยนพื้นไม้กระดานใหม่ทั้งหมดเป็นเงิน ๓,๑๗๒ บาท โดยถวายเป็นราชกุศล

จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ ขัวไม้สักแห่งนี้จึงถูกรื้อลงเพราะตอหม้อสะพานถูกซุงไม้สักจำนวนหลายพันท่อนชนจนสะพานทรุด ทางการเกรงว่าจะเป็นอันตรายจึงต้องรื้อลง ต่อมาได้สร้างเป็น “ขัวแตะ” ซึ่งใช้ไม้ไผ่สร้างขึ้นไว้ใช้เป็นการชั่วคราวในหน้าแล้งเท่านั้น


ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๘ นายห้างโมตีรามเจ้าของร้านขายผ้าเชียงใหม่สโตร์ร่วมกับชาวบ้านบริจาคเงินสร้างสะพานคอนกรีตชื่อสะพานจันทร์สมอนุสรณ์หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ขัวแขก” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่นางจันทร์สมภรรยานายโมตีราม


“ขัวกุลา” หรือ “ขัวเก่า” คงจะเพียงได้ยินชื่อ และได้เห็นภาพเก่าๆเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าได้เคยมีสะพานไม้สักแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่อยู่ตรงบริเวณเดียวกันกับสะพานจันทร์สมปัจจุบันมาก่อน นับว่าเป็นสะพานที่ถูกใช้งานมานานถึง ๔๒ ปี จึงถูกรื้อลง

เก็บมาเล่า : Nheurfarr Punyadee
ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 31 มี.ค. 2019 6:54 pm

ภาพเก่าวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จังหวัดแพร่
วัดมิ่งเมืองสมัยที่ยังไม่ได้รวมกันกับวัดพระบาท วัดพระบาทกับวัดมิ่งเมืองเป็นวัดคนละวัดกันในสมัยเจ้าผู้ครองนครแพร่ ตามประวัติวัดมิ่งเมืองเป็นวัดของเจ้าหลวงเมืองแพร่ ส่วนวัดพระบาทเป็นวัดของเจ้าอุปราช มีเพียงถนนเล็กๆกั้นสองวัดนี้ไว้ ต่อมาหมดยุคเจ้าผู้ครองนคร สองวัดนี้จึงถูกรวมกันเป็นวัดเดียวเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เรียกชื่อว่า"วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร"

ปัจจุบันในส่วนของวัดมิ่งเมืองที่เห็นอยู่นี้ได้มีการบูรณะหอไตร หอไตรที่เห็นในภาพยังมีอยู่แต่ปรับปรุงให้ยังคงเป็นลักษณะเดิม ส่วนวิหารเปิดเป็นหอพิพิธภัณฑ์ ภายในยังคงมีพระประธานประดิษฐานอยู่ วัดตั้งอยูตรงมุมสี่แยกพรหมวิหาร(แยกน้ำพุ) ติดกับโรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่

40333.jpg
40333.jpg (56.26 KiB) เปิดดู 6479 ครั้ง


"วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร"เมืองแพร่ ภาพถ่าย ปี พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๒ โดย Egon von Eickstedt

40337.jpg
40337.jpg (74.53 KiB) เปิดดู 6479 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 31 มี.ค. 2019 6:57 pm

รถม้าลำปาง.พ.ศ.๒๔๘๓

40360.jpg
40360.jpg (33.28 KiB) เปิดดู 6479 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 11:46 am

ภาพชาวไทลื้อในอำเภอเชียงคำ พ.ศ.๒๔๕๒
สำเนาภาพถ่ายจากหอจดหมายเหตุพายัพ มหาวิทยาลัยพายัพเชียงใหม่
ภาพ : Naren Punyapu

62667.jpg
62667.jpg (85.89 KiB) เปิดดู 6427 ครั้ง


ถนนฮอด-แม่สะเรียง พ.ศ.๒๕๒๒
ไฟล์แนป
62705.jpg
62705.jpg (79.22 KiB) เปิดดู 6427 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 12:07 pm

พระยาพิมพิสารราชา เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ ๒๑ (พ.ศ.๒๓๙๐ - ๒๔๒๙)
ภาพ : Disapong Netlomwong
62726.jpg
62726.jpg (99.93 KiB) เปิดดู 6427 ครั้ง


พ.ศ.๒๔๕๓ เกิดเหตุความไม่สงบในจังหวัดแพร่ เมื่อหัวหน้าชาวจีนชื่อจีนชื่อ จีนซิ่น(ปั๊กท่ง) ซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดลำปาง
ได้ร่วมกับพรรคพวกระดับแกนนำจำนวน ๑๗ คนภายใต้ชื่อกลุ่ม เก็กเหม้ง พร้อมอาวุธครบมือ ไปสมทบกับพรรคพวกชาวจีนในจังหวัดแพร่ เพื่อจะไปช่วยฝ่ายปฏิวัติ(ก๊กมินตั๋ง)คนล้มราชวงศ์ชิงในประเทศจีนในที่สุดถูกทางการสยามปราบปราม และ จับกุมได้สำเร็จเมื่อวันที่ ๑๓
มิถุนายนพ.ศ. ๒๔๕๓
62748.jpg
62748.jpg (100.62 KiB) เปิดดู 6427 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 12:12 pm

เมืองปาย พ.ศ.๒๕๒๒
62751.jpg
62751.jpg (143.71 KiB) เปิดดู 6427 ครั้ง


62753.jpg
62753.jpg (70.94 KiB) เปิดดู 6427 ครั้ง


62754.jpg
62754.jpg (92.85 KiB) เปิดดู 6427 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 12:18 pm

ประเทศพม่า พ.ศ.๒๓๙๘
62760.jpg
62760.jpg (48.66 KiB) เปิดดู 6427 ครั้ง


62761.jpg
62761.jpg (35.33 KiB) เปิดดู 6427 ครั้ง
ไฟล์แนป
62758.jpg
62758.jpg (46.53 KiB) เปิดดู 6427 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 12:20 pm

เจ้านางแว่นทิพย์ เเห่ง เชียงตุง
62777.jpg
62777.jpg (195.48 KiB) เปิดดู 6427 ครั้ง


นางสาวลำพูน พ.ศ. ๒๕๐๑ นางสาวจารุณี ไชยชนะ ประกวดที่ ศาลากลางจังหวัดลำพูน
ขอบคุณภาพจาก Naren punyapu
ไฟล์แนป
62738.jpg
62738.jpg (51.78 KiB) เปิดดู 6427 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 12:26 pm

วัดพระแก้ว จ.เชียงราย ในอดีต
วัดพระแก้ว แต่เดิมชื่อวัดป่าเยียะ(ป่าไผ่) เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๗ (ค.ศ.๑๔๓๔) ฟ้าผ่าพระเจดีย์จึงได้พบพระแก้วมรกต(ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง) ชาวเมืองเชียงรายจึงได้เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดพระแก้ว" จนกระทั่งปัจจุบัน

เจดีย์เก่าพระแก้วเชียงราย.jpg
เจดีย์เก่าพระแก้วเชียงราย.jpg (78.87 KiB) เปิดดู 6116 ครั้ง

เจดีย์เก่าวัดพระแก้ว เชียงราย พ.ศ.๒๔๖๕

วัดพระแก้ว” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีตั้งอยู่บริเวณถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียงอำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงราย นอกจากเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงรายมาแต่อดีตกาล วัดแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่ค้นพบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต

เล่าขานตำนาน “พระแก้ว”

แต่เดิมวัดพระแก้วชื่อว่า วัดป่าเยียะ หรือป่าญะ เนื่องจากบริเวณวัดมีไม้เยียะ (ไม้ไผ่พื้นเมืองชนิดหนึ่งคล้ายไผ่สีสุกชาวบ้านนิยมนำมาทำคันธนูและหน้าไม้) เป็นจำนวนมากตามตำนานเล่าว่าเมื่อ พ.ศ.๑๙๗๗ เกิดฟ้าผ่าองค์พระเจดีย์จึงได้พบพระพุทธรูปที่ทำด้วยแก้วมรกตอันงดงามจนเป็นที่เลื่องลือและเรียกขานวัดแห่งนี้ว่าวัดพระแก้ว

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

62783.jpg
62783.jpg (111.9 KiB) เปิดดู 6360 ครั้ง


พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ.๑๙๗๗ ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์

หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้จึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราชได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็ได้อัญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว

เวลาผ่านไปหลายชั่วอายุคน วัดพระแก้วเชียงรายมีการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างเสนาสนะต่างๆแบบศิลปะล้านนา แต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ทราบประวัติความเป็นมาในปี พ.ศ.๒๕๓๓ เนื่องในโอกาสสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา คณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายจึงจัดสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิราบฐานเขียง สร้างด้วยหยกมีขนาดใกล้เคียงกับพระแก้วมรกต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าวัดพระแก้วแห่งนี้เคยเป็นที่ค้นพบพระแก้วมรกตมาก่อน เมื่อสร้างเสร็จในปีถัดมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานนามพระพุทธรูปหยกองค์นี้ว่า “พระพุทธรตนากรนวุตติวัสสานุสรณ์มงคล” และนามสามัญว่า“พระหยกเชียงราย” อันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนที่ได้มาเยี่ยมเยือนวัดแห่งนี้

ที่มา ไปด้วยกัน,วิกิพีเดีย

#พระแก้วมรกตพุทธศิลป์แผ่นดินล้านนา
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

1024px-Summer_-_Emerald_Buddha_resize.jpg
1024px-Summer_-_Emerald_Buddha_resize.jpg (63.67 KiB) เปิดดู 6117 ครั้ง


พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ.๑๙๗๗ ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์


หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้จึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราชได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อเสด็จกลับหลวงพระบางก็ได้อัญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว

ที่มา : วิกิพีเดีย

ภาพแม่ค้ามานั่งของกาดหมั้ว ยามเช้า ณ ลานดินหน้าวัดพระธาตุลำปางหลวง เมื่อราว พ.ศ.๒๕๓๐ -๒๕๔๐ ปีก่อน
คำว่า "กาดหมั้ว" มักเขียนผิดเป็น "กาดมั่ว"
62781.jpg
62781.jpg (128.89 KiB) เปิดดู 6360 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 2:37 pm

วิหารโถงวัดปงสนุก จังหวัดลำปาง
วิหารหลังเก่าที่มีหน้าบันงดงามมาก ตัววิหารเป็นอาคารไม่สูง ลักษณะหลังคาซด ใส่คันทวยแกะสลัก ติดเสาสวยงาม หลังคาต่อปีกนกยาวออกมาอีกหนึ่งตับ น่าเสียดายที่ในปัจจุบันวิหารอันมีเอกลักษณ์แบบเบ้าสล่าล้านนาเช่นนี้แทบไม่มีให้พบเห็นกันแล้ว เนื่องจากปี พ.ศ. ๒๔๘๑ – ๒๔๘๒ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เดินทางไปตรวจราชการทางจังหวัดทางภาคใต้ ท่านได้ปรารภว่าการออกแบบวัดวาอารามต่างๆ ตามระยะทางที่ผ่านไปนั้นมีลักษณะทรวดทรงไม่สวยงาม ไม่เหมาะที่จะเป็นเครื่องแสดงวัฒนธรรมของชาติ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้มอบหมายงานมายังกรมศิลปากร เพื่อทำการออกแบบพระอุโบสถที่ได้มาตรฐานทางสถาปัตยกรรมไทยขึ้น โดยแบ่งออกเป็น ๓ ขนาด ขึ้นอยู่กับงบประมาณในการก่อสร้างเพื่อจัดส่งไปยังจังหวัดต่างๆ ให้ประชาชนได้เห็นเป็นตัวอย่างในการนำไปใช้ก่อสร้างต่อไป

กรมศิลปากรได้มอบหมายให้ พระพรหมพิจิตร เป็นผู้ออกแบบพระอุโบสถทั้งสามแบบดังกล่าว ซึ่งรู้จักกันในเวลาต่อมาในชื่อว่า “พระอุโบสถแบบ ก.ข.ค.” รูปแบบพระอุโบสถดังกล่าวทั้งสามถูกคิดขึ้นจากรูปทรงพระอุโบสถแบบภาคกลางเพียงอย่างเดียวและทั้งหมดก็ล้วนแล้วแต่เป็นงานสถาปัตยกรรมไทยเครื่องคอนกรีตทั้งสิ้น รูปแบบดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดชาตินิยมทางศิลปะ ณ ขณะนั้นที่นิยมยกย่องศิลปะแบบภาคกลางเพียงแบบเดียวเท่านั้นว่ามีความเป็นไทยและสร้างทัศนะคติต่องานท้องถิ่นทั้งหมดว่าไม่สวยงามและไม่มีคุณค่าทางศิลปะเพียงพอ รูปแบบมาตรฐานดังกล่าวได้กลายเป็นต้นเหตุสำคัญให้เกิดการรื้อถอนทำลายพระอุโบสถแบบดั้งเดิมที่ถูกออกแบบด้วยศิลปะแบบท้องถิ่นลงไปอย่างมากมาย รูปแบบพระอุโบสถฉบับมาตรฐานภาคกลางจากกรุงเทพฯ ของพระพรหมพิจิตร ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความทันสมัยและสวยงามแบบใหม่ในสายตาของชนชั้นนำท้องถิ่น โดยเฉพาะเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

นับแต่นั้นความงดงามทางศิลปะท้องถิ่นแบบเบ้าล้านนาก็ค่อยๆหายไปตามกาลเวลา อ่านเรื่องวิหารล้านนาได้ตามลิงก์คะ viewtopic.php?f=6&t=679&start=20

มาถึงตรงนี้นึกถึงผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่เห็นคุณค่าของวิหารแบบเบ้าล้านนา ท่านคือ นายชัยยา พูนศิริวงศ์ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่คนที่ ๒๑ (๑ ตุลาคม ๒๕๒๓ – ๓๐ กันยายน ๒๕๓๐) ท่านผู้นี้เป็นนักสถาปนิกเก่า ทำให้มองออกว่าควรจะพัฒนาบ้านเมืองไปทางทิศทางใด ท่านเลือกให้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกทางวัฒนธรรม และทางประวัติศาสตร์ โดยอนุรักษ์โบราณสถานให้คงอยู่คู่กับเมืองเชียงใหม่ตลอดไป ท่านจึงหวงแหนสิ่งโบราณล้ำค่าตามวัดต่างๆในเขตคูเมือง

ช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯเชียงใหม่ ในหมู่เจ้าอาวาสมีกระแสการสร้างโบสถ์วิหารใหม่ที่สวยงามแข่งกัน ใครจะระดมหาเงินเก่งกว่ากัน ใครสร้างโบสถ์ หรือวิหารได้ ถือว่ามีผลงานจะได้พิจารณาความดีความชอบเพื่อเลื่อนสมณศักดิ์ให้สูงขึ้น เมื่อมีผู้ค้าของเก่าไปเสนอเจ้าอาวาสให้รื้อโบสถ์ วิหารเก่า ที่ทำด้วยไม้สักอายุนับร้อยปีออก โดยผู้ค้าของเก่าจะเป็นผู้รื้อให้เอง ขอเพียงไม้เก่าทั้งหมด ซึ่งในอดีตการสร้างวิหารไม้จะสลักเสลาอย่างสวยงาม ทำให้มีราคาสูง เป็นที่ต้องการของนักสะสมของแต่งบ้านสมัยโบราณ พ่อค้าของเก่าจึงล่อใจเจ้าอาวาสด้วยการให้เงินอีกก้อนหนึ่งเพื่อไปสร้างโบสถ์ วิหารหลังใหม่ เจ้าอาวาสไม่รู้คุณค่าของโบราณสถานก็ยินยอมแต่โดยดี แต่เมื่อนายชัยยาทราบข่าวก็ได้เข้าไปอธิบายคุณค่าของวิหารเก่าแก่ว่าเป็นศิลปะทรงคุณค่า ควรจะเก็บไว้เป็นมรดกของลูกหลาน พร้อมทั้งขอร้องเจ้าอาวาสว่าอย่ารื้อ ให้คำนึงถึงของเก่าอันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ หลายวัดท่านไปห้ามไว้ได้ทัน แต่ก็มีหลายวัดที่ห้ามไม่ทันจึงถูกรื้อไป วัดที่ไม่ได้รื้อนั้นท่านก็จัดสรรงบประมาณไปซ่อมแซมบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง โดยให้สำนักงานศิลปากรเขต ๘ เชียงใหม่ เข้าไปช่วยดูแล

สนใจอ่านเรื่องผู้ว่าฯชัยยา ได้ตามลิงก์ค่ะ viewtopic.php?f=6&t=636&start=120

เล่ายาวมากนึกอะไรได้ก็เพิ่มเติมลงไป ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ อยากให้เห็นคุณค่าของมรดกวัฒนธรรม มรดกจากบรรพบุรุษ..หากเราไม่ช่วยกัน แล้วใครจะมารักษา <3

62779.jpg
62779.jpg (83.88 KiB) เปิดดู 6359 ครั้ง

ภาพจาก ศูนย์การเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมชุมชนบ้านปงสนุก

บ้านหม่อน ของคุณสุมาลี อายุ ๖๕ ปี ปลูกที่ป่าซาง จ.ลำพูน
62721.jpg
62721.jpg (54.45 KiB) เปิดดู 6359 ครั้ง

บ้านไม้โบราณที่มีลายลูกไม้แปลกตามาก มีกอโกสน หม้อโซ่ยตีน ก่อนขึ้นคันได มีฮ้านน้ำหม้อ ตรงระเบียงแบบเบ้าล้านนายุคบ้านหม่อน ปัจจุบันรื้อออกไปแล้วเพราะทรุดโทรมมาก
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 62 ท่าน

cron