เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 15 ส.ค. 2019 5:59 am

วิหารหลวงวัดพระธาตุหริภุญชัย หลังบูรณะจากการถูกลมหลวงพัดถล่มล่มไป
การบูรณะครั้งนี้ได้นำเอาศิลปะจากภาคกลางมาผสมสผาน ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖
ที่มา : ภาพอดีตทั่วไทย
144155.jpg
144155.jpg (21.51 KiB) เปิดดู 5703 ครั้ง


ร้านค้าริมทางอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ ในอดีตนั้นแม่สายเป็นเมืองหน้าด่านแห่งการค้าชายแดนที่สำคัญของไทย
ภาพ : ดร. โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน (Dr. Robert Larimore Pendleton) นักวิทยาศาสตร์ทางดินและการเกษตร ชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามาปฏิบัติงานในฐานะที่ปรึกษาของกรมเกษตรและการประมง กระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น
144145.jpg
144145.jpg (66.16 KiB) เปิดดู 5703 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 08 ก.ย. 2019 2:10 pm

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม จังหวัดลำปาง ไม่ทราบปี พ.ศ.ที่ถ่ายภาพ
ภาพ : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
155346.jpg
155346.jpg (14.99 KiB) เปิดดู 5625 ครั้ง


พญานาควัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐
บันไดนาคพระธาตุแช่แห้ง.jpg
บันไดนาคพระธาตุแช่แห้ง.jpg (48.1 KiB) เปิดดู 5625 ครั้ง



พญานาควัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน ประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐
พระธาตุแช่แห้ง.jpg
พระธาตุแช่แห้ง.jpg (56.29 KiB) เปิดดู 5625 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 09 ก.ย. 2019 8:40 pm

ภาพเก่าแก่พระธาตุจอมแว่ เมืองพานในอดีต ไม่ทราบ พ.ศ.
พระธาตุจอมแว่สร้างขึ้นบนดอยจอมแว่ในตัวอำเภอพาน เป็นดอยสูง สร้างขึ้นในสมัยพญางำเมือง พ.ศ.๑๘๓๗
ภาพ : ฅนเมืองพาน
156174.jpg
156174.jpg (33.51 KiB) เปิดดู 5566 ครั้ง


ภาพละอ่อนน่าฮักพรัอมพร้อมสามล้อคันเก่ง ที่กาดจังหวัดลำปาง พ.ศ.๒๔๙๑
ในภาพเป๋นกาดเก๊าจาวหรือกาดรถไฟเพราะเป๋นที่ดินของการรถไฟ ตั้งอยู่ป๋ายสุดของถนนประสานไมตรี เป๋นกาดสดขายของเฉพาะช่วงเช้า อาคารหลังใหญ่ขวามือคือที่ขายของอาคารเล็กหลังคาจั่วคือเขียงหมู ห้องแถวยาวด้านซ้ายเป๋นบ้านพักอาศัยและเปิดเป๋นร้านขายของไปโตย กาดนี้ตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายลำปาง-เจียงใหม่ ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ขอบคุณเจ้าของภาพ
155942.jpg
155942.jpg (24.02 KiB) เปิดดู 5566 ครั้ง


บ้านพักหมอบริกส์ ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลโอเวอร์บรู๊ค จังหวัดเจียงฮาย เมื่อพ.ศ.๒๔๔๖
ภาพ : เชียงรายในอดีต
155952.jpg
155952.jpg (18.15 KiB) เปิดดู 5566 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 09 ก.ย. 2019 9:25 pm

พาทัวร์โรงพยาบาลในเครือคริสเตียนภาคเหนือ
155956.jpg
155956.jpg (47.81 KiB) เปิดดู 5566 ครั้ง

โรงพยาบาลโอเวอร์บรู๊ค เชียงราย เป็นสถานที่ทำงานแรกหลังแต่งงาน โต๊ะที่เรารับประทานอาหารก็อยู่ในครัวนั่นแหละ โต๊ะ เก้าอี้ คือ โลงเก่าๆที่ใช้กับทหาร พวกเราก็รับประทานอย่างสนิทใจ แม่ครัวมาทำงานตั้งแต่ตีห้าก็ไม่มีใครกลัว บ้านพักผู้อำนวยการ คือ ตึกที่สวยและสง่าที่สุดหลังหนึ่งอยู่ติดแม่น้ำกก (จึงมีชื่อ Overbrook )

เรามีคนสวนซึ่งเป็นกุ๊กของหมอบริกส์ นานๆเราก็จะขอให้เขามาทำอาหารฝรั่งให้รับประทาน มีอยู่ครั้งหนึ่งอยากกินขนมคัสตาร์ตน้ำตาลไหม้ ออกเสียงไป เขาว่าไม่เคยทำ ต้องออกเสียงฝรั่งแบบเต็มยศถึงได้กิน (คุณแม่เราทำขนมคัสตาร์ตบ่อยมากค่ะ)

กิจการของโรงพยาบาลเป็นไปด้วยดี บังเอิญคุณหมอเสม พริ้งพวงแก้ว ซึ่งอยู่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ไปศึกษาเพิ่มเติมที่อเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มตื่นตัวกับสถานพยาบาลสมัยใหม่ โรงพยาบาลต่างจังหวัดสมัยนั้นหมอต้องรักษาโรคได้ทุกโรค ตั้งแต่ทางยาไปจนถึงผ่าตัด
เป็นช่างไฟฟ้า ช่างก่อสร้าง อยู่ในตัว ต่างกับสมัยนี้ที่เป็นหมอเฉพาะทาง

โรงพยาบาลโอเวอร์บรู๊คเป็นโรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตียงแต่บางทีต้องเพิ่มเตียง OPD เปิดตั้งแต่ ๐๘.๐๐ น. ที่โรงพยาบาลจะมีหอระฆังเสียงกังวานตีเตือนตั้งแต่ ๗ โมง เพื่อให้ชาวบ้านและพนักงานเตรียมตัว ก่อนเริ่มทำงานทุกคนจะร่วมนมัสการพระเจ้า คุณหมอบริกส์วางรากฐานไว้ดี คนเก่าที่เคยทำงานกับหมอบริกส์มีระเบียบวินัยมาก โรงพยาบาลนี้ไม่มีรถไปรับคนไข้จากต่างอำเภอไกลๆ ต้องยืมรถจากอาจารย์ทาวาเย่ซึ่งท่านใช้ประกาศศาสนา วันอาทิตย์จะเดินไปโบสถ์

155958.jpg
155958.jpg (37.06 KiB) เปิดดู 5566 ครั้ง


โรงเรียนของสภาคริสตจักรอยู่ไม่ไกลโรงพยาบาลเป็นสหศึกษา การสอนอยู่ในเกณฑ์ดี คุณหมอรัศมี ทำงานอยู่ที่เชียงรายเกือบ ๒ ปี เกิดกบฏก๊กมินตั๋งเข้ามาที่อำเภอรอบนอกของเชียงราย ดิฉันเป็นโรคกลัวสงครามจึงขอย้ายไปลำปาง ขณะนั้นมี คุณหมอตวงคำ สุริยะคำ แต่ท่านมีโรงพยาบาลส่วนตัวไม่ได้อยู่ประจำที่แวนแซนวูร์ด คุณหมอรัศมีจึงขอย้ายไปเป็นผู้อำนวยการที่นั่น เราย้ายมาลำปางร่วม ๑๗ ปี

โรงพยาบาลแวนแซนด์วูร์ดเป็นตึกใหญ่กว้างขวาง เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือได้เสด็จเยี่ยมเยือนที่นี่พร้อมพระราชทานตู้ยาและอุปกรณ์บางอย่าง เมื่อพวกเรามาประจำสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีได้เสด็จมา เพราะเคยเสด็จมาแล้วครั้งหนึ่งพร้อมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ พระองค์พระราชทานเงิน ๒,๐๐๐ บาทแก่โรงพยาบาล ที่โรงพยาบาลแวนแซนด์วูร์ด มี corner stone เป็นกล่องแคร็กเกอร์บรรจุรูปและเอกสารประวัติบัดกรีปิดสนิทใส่ลงไปในกล่องทองเหลืองอีกที แล้วเทซีเมนต์ปิด

ทางภาคเหนือมีโรงพยาบาลที่ก่อตั้งโดยมิชชันนารีหลายแห่ง เชียงใหม่ชื่อแมคคอร์มิค ลำปาง แวนแซนด์วูร์ด เชียงรายโอเวอร์บรู๊ค แพร่คริสเตียน น่านคริสเตียน มิชชันนารีที่มาทำงานท่านมีความเสียสละจริงๆ จากการปลูกฝี แจกยาควินินรักษามาเลเรีย และให้การศึกษา

Dr.E C Cort เคยเล่าว่า ตอนที่ท่านนั่งเรือมาจากกรุงเทพฯ ครั้งแรก พอมาถึงระแหงท่านเห็นชาวบ้านที่อยู่ริมตลิ่งแก้มบวม ท่านเลยสั่งให้เตรียมมีดผ่าตัดเพื่อผ่าฝีที่แก้ม พอให้เขาอ้าปาก ปรากฏว่าไม่ได้เป็นฝี แต่อมเมี่ยงจนแก้มตุ่ย

หมอคอร์ตเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี พอเห็นคนไข้ที่เคยมาแล้วก็จะทักทายทันที ทำให้คนรู้สึกเป็นกันเอง ไม่กลัวหมอ ท่านมีความคุ้นเคยกับสมเด็จพระราชบิดา (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกใน รัชกาลที่ ๘ และ ๙) ถึงกับเสด็จมาทรงงานระยะหนึ่ง) แม่เล่าว่าตอนที่เป็นนักเรียนพยาบาล สมเด็จพระราชบิดาเป็นแพทย์จริงๆ
มีการตรวจ lab จากนักเรียนพยาบาล เป็นการตรวจอุจาระหาไข่พยาธิ แน่ละ แม่ก็ต้องโดนด้วย บางครั้งท่านมากรุงเทพฯ และให้คำแนะนำการรักษามาเลเรียด้วยการกินยาควินิน เพราะทางกรุงเทพไม่ค่อยมีใครเป็นไม่เหมือนเมืองเหนือที่เป็นกันมาก

พวกมิชชันนารีมักเดินทางมาทางเรือ ถ้ามาลำปางต้องขึ้นที่ท่าตลาดจีน (กาดกองต้าปัจจุบัน) ดังนั้นครอบครัวคนจีนจะอยู่แถวนั้นและทำการค้าขาย แหม่มแฮนนาซึ่งเป็นมิชชันนารีคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ครอบครัวเธอมาถึงจะอาศัยต้นมะขามใหญ่เป็นที่พักพิง แล้วมาสร้างบ้านทีหลัง หลังจากที่เธอกลับมาเยี่ยมลำปางอีกครั้ง เธอเล่าให้ฟังและขอเด็กๆที่ข้าพเจ้ารับเลี้ยงไปยืนรอบๆต้นไม้นี้ได้ถึง ๑๒ คน เธอเป็นคนที่ชอบต้นไม้สวยๆ เวลาไปต่างประเทศมักจะเก็บเมล็ดดอกไม้ติดมือมาปลูกที่ลำปาง

155957.jpg
155957.jpg (26.88 KiB) เปิดดู 5566 ครั้ง


แถมท้ายเรื่องโรงเรียนคริสเตียนที่ลำปาง โรงเรียนเคนเน็ต แมคเคนวี เป็นโรงเรียนชายล้วน ส่วนวิชชานารีเป็นโรงเรียนหญิงล้วน แหม่มลูซี่ สตาลิงค์ ท่านรักเมืองลำปางมาก ท่านรับเด็กชายหญิงมาเลี้ยงและให้การศึกษาจนบางคนจบมหาวิทยาลัย นักเรียนเก่าที่ผ่านมามีชื่อเสียงหลายท่าน เช่นคุณนวลจันทร์ ธนะรัชต์ , ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร , คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร (ส่วนแม่นกแก้วจบป. ๖ ค่ะ)

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารอเมริกันมาบอมบ์ทางภาคเหนือ แหม่มสตาลิงค์ซึ่งเป็นคนอเมริกันได้เข้าประชุมเกี้ยวกับสงคราม เมื่อทราบว่าเครื่องบินจะมาบอมบ์สะพานรัษฎา ท่านจึงขอร้องว่าอย่าบอมบ์เลย เพราะมีโรงเรียนวิชชานารี และโรงพยาบาลแวนแซนด์วูร์อยู่บนถนนสายนั้น จึงรอดมาได้

อ้างอิง: จากบันทึกของคุณอัมพร สุทธิคำ โดย แม่นกแก้ว เรียบเรียง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 14 ก.ย. 2019 7:09 am

ที่มาของนามสกุล "ศรีวิชัย" ในภาคเหนือ
อาจารย์นพพร นิลณรงค์ ได้อธิบายไว้ในเวทีเสวนา วันพระแม่นั่งเมือง ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ที่ อบจ.ลำพูน ว่าท่านได้สัมภาษณ์ชาวลี้ บ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ได้ความว่า

157186.jpg
157186.jpg (45.19 KiB) เปิดดู 5531 ครั้ง


นามสกุลศรีวิชัยเริ่มต้นจากชายคนถ่อแพชาวลี้ผู้หนึ่ง ที่เคยรับใช้ช่วยครูบาเจ้าศรีวิชัยขนอิฐ ปูน ทราย ไปก่อสร้างพระธาตุแก่งสร้อย กลางลำน้ำปิง ราว พ.ศ.๒๔๖๓ - ๒๔๖๔

ต่อมา พ.ศ.๒๔๖๕ คนถ่อแพผู้นี้ ได้มีโอกาสถ่อแพรับใช้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ คราวเสด็จลำพูนทางน้ำปิง สมเด็จฯรู้สึกถูกอัธยาศัยกันดีกับชายผู้นี้ จึงชวนคนถ่อแพไปอยู่กรุงเทพฯ ด้วยกัน และเมื่อถึงคราวมี พรบ.นามสกุล สมเด็จกรมพระยาดำรงได้ถามชายถ่อแพว่าประสงค์จะใช้นามสกุลอะไรเป็นพิเศษไหม หรือต้องการให้ท่านตั้งให้ใหม่

ชายถ่อแพตอบว่า ขอใช้นามสกุล "ศรีวิชัย"

เหตุเพราะเขารู้สึกเคารพรักศรัทธาครูบาเจ้าศรีวิชัยมากมายเหลือเกิน แม้จะไม่ได้เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขท่านก็ตาม

ต่อมาชายผู้นั้นได้กลับลำพูน เมื่อสิ้นบุญของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

นี่คือที่มาของนามสกุล "ศรีวิชัย"

ต้นตระกูลของย่าสายหนึ่งก็นามสกุลศรีวิชัย

ที่มา : อาจารย์นพพร นิลณรงค์

สถานีตำรวจ ที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางแม่สาย - เชียงราย วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๘
ภาพ : ดร.โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน
สถานีตำรวจ แม่สาย - เชียงราย ๑๙ ธันวาคม .๒๔๗๘_resize.jpg
สถานีตำรวจ แม่สาย - เชียงราย ๑๙ ธันวาคม .๒๔๗๘_resize.jpg (97.11 KiB) เปิดดู 5530 ครั้ง



ที่พักอาศัยบนเส้นทางเชียงแสน ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๘
กระท่อมหลังกะทัดรัดในพื้นที่กว้างขวาง มีข่วงเป็นลานโล่งด้านหน้า ด้านหลังเป็นทุ่งหญ้าทอดยาวออกไป แต่ก็ยังมองเห็นดอยสูงทางด้านหลัง
ภาพ : ดร.โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน
เชียงแสน ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๘_resize.jpg
เชียงแสน ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๘_resize.jpg (132.27 KiB) เปิดดู 5530 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 18 ก.ย. 2019 6:15 am

ภาพเก่าแก่ภายในวิหารหลวงวัดพระธาตุหริภุญชัย

160275.jpg
160275.jpg (102.05 KiB) เปิดดู 5512 ครั้ง


วิหารหลวงวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร พระอารามหลวงเมืองลำพูน ถ่ายราวๆปี พ.ศ.๒๔๕๑ ถ่ายก่อนจะเกิดเหตุการณ์ลมหลวงพัดพระวิหารพังทลายลงทั้งหลังในปี พ.ศ.๒๔๕๖ สังเกตว่าจะมีพระประธานอยู่ ๒ องค์ ด้านหลังที่เห็นแสงตรงช่องระหว่างพระประธานทั้งสองเป็นพระธาตุหริภุญไชย

วิหารหลวงนี้ในแต่ก่อนไม่มีผนังตามรูปแบบวิหารล้านนาดั้งเดิม ภายหลังได้สร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่ทำผนังทึบแบบภาคกลาง
ภาพ : หมายเหตุหริภุญไชย

รูปแบบของวิหารล้านนา

จากการศึกษาเรื่องลักษณะทางศิลปกรรมของวิหารพื้นเมืองล้านนาระหว่างพุทธศตวรรษที่๒๐-๒๔ ของ วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ทา ให้พบว่าวิหารที่มีการสร้างนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ แบบตามลักษณะของวิหาร คือ


๑. วิหารโถงหรือวิหารป๋วยและวิหารไม่มีป๋างเอก
วิหารโถง หรือวิหารไม่มีป๋างเอก เป็นวิหารแบบแรกของล้านนา วิหารรูปแบบนี้มีการสร้างผนังเพียงครึ่งเดียวและเปิดแนวผนังให้โล่งตอนล่าง ลักษะเด่นของวิหารชนิดนี้จะไม่นิยมสร้างฝาผนัง (ป๋างเอก) ยกเว้นท้ายวิหารที่ประดิษฐานพระประธานที่มีการสร้างผนังทั้งสามด้าน ส่วนบริเวณโดยรอบจะมีการกั้นผนังที่มีการสร้างเพียงครึ่งเดียวของเสารับน้ำหนักด้านนอกสุดที่มีชื่อเฉพาะว่าฝาหยาบหรือฝาย้อย (วรลัญจก์ บุณสุรัตน์, ๒๕๔๐) วิหารกึ่งโถง เป็นวิหารที่แสดงการพัฒนาการการเชื่อมต่อระหว่างการสร้างวิหารแบบโถงและวิหารแบบปิดซึ่งวิหารรูปแบบนี้จะเป็นการสร้างตั้งแต่ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมา วิหารโถงส่วนใหญ่จะเป็นวิหารของสกุลช่างลำปาง


๒. วิหารแบบปิดหรือวิหารปราการ
วิหารชนิดนี้มีการทำฝาหรือป๋างเอกตั้งแต่พื้นสูงจรดปลายเสาด้านนอกสุด วิหารรูปแบบนี้มีการสร้างอย่างกว้างขวางในล้านนายุคหลัง โดยมีลักษณะการใช้ฝาผนังเป็นเครื่องปิดล้อมรูปทรงอากาศของตัวสิ่งก่อสร้าง อันทำให้แตกต่างจากวิหารไม่มีป๋างเอก วิหารปิดที่มีลักษณะพิเศษคือวิหารทรงปราสาท เป็นวิหารทีให้ความสำคัญแก่ประดิษฐานของพระประธานโดยมีการสร้างมณฑปปราสาทในลักษณะของอาคารซ้อนชั้นเชื่อมมณฑปไว้ด้านหลังของวิหาร ซึ่งการสร้างวิหารในลักษณะนี้อาจจะมีความคิดที่ต่อเนื่องมาจากวิหารในกลุ่มสุโขทัยและพุกาม (วรลัญจก์บุณยสุรัตน์, ๒๕๔๓)


องค์ประกอบทางโครงสร้างของวิหารล้านนา
โครงสร้างส่วนหลังคาและเสาของวิหารล้านนา ที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ขื่อม้าต่างไหม” ซึ่งนำชื่อมาจากลักษณะการบรรทุกผ้าไหมบนหลังม้าไปขายของพ่อค้าม้าต่างบนเส้นทางสายไหม และลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะโครงสร้างรับน้ำหนักของวิหารล้านนา ที่มีการถ่ายน้ำหนักจากโครงหลังคาลงมาที่เสาและคานซึ่งคล้ายกับการถ่ายน้ำหนักบรรทุกสินค้าลงบนหลังม้า โครงสร้างชนิดนี้ปรากฏชื่อในตำนานตั้งแต่สมัยพญามังรายเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นับว่าเป็นโครงสร้างที่สืบทอดกันมากว่า ๖๐๐ ปี (วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, ๒๕๔๔) ที่มา : วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, แบบแผนทางศิลปกรรมของวิหารพื้นเมืองล้านนาในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔)

ภาพเก่าแก่วัดพระสิงห์ เมืองเชียงรายในอดีต
ถ่ายราวปี พ.ศ.๒๔๕๖ - ๒๔๖๐ ผู้ถ่ายคือคณะมิชชันนารีเดินทางมาถึงเชียงราย

วัดพระสิงห์เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของเมืองเชียงราย วัดพระสิงห์สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ามหาพรหมพระอนุชาของพระเจ้ากือนาเจ้าเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ามหาพรหมได้มาครองเมืองเชียงรายระหว่างปีพ.ศ.๑๘๘๘ - ๑๙๔๓ และสันนิษฐานว่าวัดพระสิงห์สร้างในปี พ.ศ.๑๙๒๘ ภาพ : วารสารล้อล้านนา
161118.jpg
161118.jpg (22.76 KiB) เปิดดู 5512 ครั้ง


ศาลาเค้าสนามหลวง(สำนักผู้ปกครองเมือง/ที่ว่าราชการเมือง)พื้นที่แห่งการบริหารอำนาจราชการของสยาม จังหวัดลำปาง ในอดีต ไม่ทราบปีที่ถ่าย
ภาพ : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
161122.jpg
161122.jpg (13.93 KiB) เปิดดู 5512 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 22 ก.ย. 2019 1:41 pm

ภาพเก่าแก่พระธาตุเจดีย์หลวง.เมืองเชียงแสน..เมื่อครั้งยังไม่ได้บูรณะ พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระธาตุเป็นรูปแบบปางมารวิชัย พระเชียงแสนสิงห์หนึ่ง อายุของการสร้างองค์พระธาตุจนถึงปัจจุบัน นับได้ ๖๘๗ ปี ในภาพยังมีต้นไม้ต้นหญ้าปกคลุมองค์พระธาตุอยู่โดยรอบ ภาพนี้ระบุว่าหลวงสิทธิประศาสน์ [ท่านเป็นนายอำเชียงแสน วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๘ –๒๔๗๙]ไม่แน่ชัดในปี พ.ศ.ที่ถ่ายภาพนี้
วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงราย หรือ วัดพระธาตุเจดีย์หลวง เป็นวัดโบราณในอำเภอเชียงแสน สร้างโดยพญาแสนภู ผู้เป็นพระราชนัดดาในพญารายมหาราช ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านนา พญาแสนภูทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๓ แห่งราชวงค์มังราย วัดเจดีย์หลวงนี้ชิลกาลมาลีปกรณ์ได้บันทึกเอาไว้ว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ.๑๘๗๕ หรือบางตำนานว่า ๑๘๗๗ เป็นวัดที่สำคัญของหิรัญนครเงินยาง ซึ่งก่อตั้งมาก่อนที่จะรวมเป็นอาณาจักรล้านนา เจดีย์หลวงในชื่อของวัดนั้นเชื่อว่าได้ชื่อมาจาก "พระธาตุเจดีย์หลวง" พระเจดีย์องค์ใหญ่ที่สูง ๘๘ เมตร มีฐานกว้าง ๒๔ เมตร เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาที่ใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงแสน ภายในวัดนอกจากพระเจดีย์หลวงแล้วยังมีพระวิหารและองค์เจดีย์ อีก ๔ องค์ ซึ่งส่วนใหญ่เหลือให้เห็นเพียงฐานอิฐ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดเจดีย์หลวงเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘



163407.jpg
163407.jpg (76.42 KiB) เปิดดู 5493 ครั้ง




163410_resize.jpg
163410_resize.jpg (45.51 KiB) เปิดดู 5493 ครั้ง




163411_resize.jpg
163411_resize.jpg (46.69 KiB) เปิดดู 5493 ครั้ง



163412_resize.jpg
163412_resize.jpg (119.35 KiB) เปิดดู 5493 ครั้ง


ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 29 ก.ย. 2019 3:24 pm

ประชาชนปักตุงเป๋นแนวยาวทางเข้างานสมโภชวิหารวัดพระเจ้าต๋นหลวง เมืองพะเยา เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗
พระเจ้าตนหลวง2467.jpg
พระเจ้าตนหลวง2467.jpg (25.27 KiB) เปิดดู 5441 ครั้ง


วิหารหลวงหลังใหม่ ถ่าย พ.ศ.๒๔๖๖ หลังเหตุการณ์ลมหลวงพัดพระวิหาร วัดพระธาตุหริภุญชัยพังทลายลงทั้งหลังในปี พ.ศ.๒๔๕๖
วัดหลวงลำพูน ๒๔๖๖.jpg
วัดหลวงลำพูน ๒๔๖๖.jpg (129.1 KiB) เปิดดู 5439 ครั้ง



หนังสือพิมพ์ลงข่าว ครูบาเจ้าศรีวิชัย เดินทางมากรุงเทพฯครั้งสุดท้าย ก่อนกลับลำพูนได้เยี่ยมโรงเรียนประเสริฐวิทยา แถวๆตลาดนางเลิ้ง ใกล้วังเสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรฯ กรุงเทพฯ ปัจจุบันโรงเรียนนี้เลิกกิจการไปแล้ว
165767.jpg
165767.jpg (83.9 KiB) เปิดดู 5441 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 10 ต.ค. 2019 8:13 pm

ถ.ธนาลัย ตัวเมืองเชียงราย ไม่ระบุปี พ.ศ.
ถนนธนาลัย.jpg
ถนนธนาลัย.jpg (89.65 KiB) เปิดดู 5349 ครั้ง


อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑
(ปัจจุบันอำเภอเชียงคำอยู่จังหวัดพะเยา)
เชียงคำ2481.jpg
เชียงคำ2481.jpg (130.94 KiB) เปิดดู 5349 ครั้ง


ตลาดเชียงคำ จังหวัดเชียงราย เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑
(ปัจจุบันอำเภอเชียงคำอยู่จังหวัดพะเยา)
1เชียงคำ2481.jpg
1เชียงคำ2481.jpg (180.65 KiB) เปิดดู 5349 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 10 ต.ค. 2019 8:24 pm

กระท่อมระหว่างทาง ป่าสักขวาง อ.เชียงแสนในอดีต หรือ ปัจจุบันคือ อ.แม่จัน ( เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘)
กระท่อม.jpg
กระท่อม.jpg (108.44 KiB) เปิดดู 5349 ครั้ง


แม่น้ำแม่กก จังหวัดเชียงราย พ.ศ. ๒๔๗๘
น้ำกก.jpg
น้ำกก.jpg (85.78 KiB) เปิดดู 5349 ครั้ง


โรงบ่มใบยาสูบ ที่ ป่าสักขวาง อำเภอแม่จัน เชียงราย วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘)
โรงบ่ม.jpg
โรงบ่ม.jpg (115.98 KiB) เปิดดู 5349 ครั้ง


ภาพ : Pendleton, Robert Larimore
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 10 ต.ค. 2019 8:30 pm

สถานีตำรวจ ระหว่างเส้นทางแม่สาย - เชียงราย (ดอยจ้อง) วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
สถานีตำรวจ.jpg
สถานีตำรวจ.jpg (79.51 KiB) เปิดดู 4922 ครั้ง


บ้าน และหลองข้าว ระหว่างเส้นทางแม่สาย - เชียงราย เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
หลองข้าว.jpg
หลองข้าว.jpg (114.61 KiB) เปิดดู 4922 ครั้ง


เชียงราย พ.ศ. ๒๔๗๘
ชร.jpg
ชร.jpg (113.58 KiB) เปิดดู 4922 ครั้ง



ภาพ : Pendleton, Robert Larimore
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 10 ต.ค. 2019 8:35 pm

เพิงขายของระหว่างทางแม่สาย - รัฐฉาน ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
ขายของ.jpg
ขายของ.jpg (107.64 KiB) เปิดดู 4922 ครั้ง


วัดพระสิงห์ เชียงราย เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๙๕
วัดพระสิงห์.jpg
วัดพระสิงห์.jpg (122.77 KiB) เปิดดู 4922 ครั้ง


เกวียนบรรทุกข้าว เชียงคำ ไม่ระบุปี
เชียงคำ.jpg
เชียงคำ.jpg (165.05 KiB) เปิดดู 4922 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 60 ท่าน

cron