เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 9:51 am

สมัยสาวๆของ ป้าอ๋อม สมพร สุชัยบุญศิริ อดีตช่างฟ้อนบ้านสันดอนรอม จังหวัดลำพูน วัย ๗๑ ปี
ภาพ : Naren Punyapu
122848.jpg
122848.jpg (30.11 KiB) เปิดดู 5265 ครั้ง


122850.jpg
122850.jpg (100.89 KiB) เปิดดู 5265 ครั้ง


ช่างฟ้อนลำพูน
122849.jpg
122849.jpg (44.69 KiB) เปิดดู 5265 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 10:02 am

122856.jpg
122856.jpg (75.29 KiB) เปิดดู 5265 ครั้ง


สะพานท่าสิงห์ ลำพูน

122855.jpg
122855.jpg (76.46 KiB) เปิดดู 5265 ครั้ง


122857.jpg
122857.jpg (54.83 KiB) เปิดดู 5265 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 10:08 am

ภาพจากนิทรรศการภาพเก่าของอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
โดย ชานนท์ ปัญจะศรี นเรนทร์ ปัญญาภู และสุวิภา จำปาวัลย์ ร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดแสนเมืองมา ซึ่งสนับสนุนโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ได้สืบค้น แลกเปลี่ยน รวบรวมภาพถ่ายเมืองเชียงคำเอาไว้ นี่คือภาพของอาจารย์ไมเคิล มอร์แมน สำเนาภาพทั้งหมดมาจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ภาพถ่ายประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐
ภาพ : Naren Punyapu
122862.jpg
122862.jpg (54.57 KiB) เปิดดู 5191 ครั้ง


122863.jpg
122863.jpg (61.35 KiB) เปิดดู 5191 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 10:10 am

เชียงคำในอดีต ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐
น่าจะเป็นสระน้ำใน ร.๑๗ พัน ๔ เพราะมักจะมีผู้คนลงไปจับปลากัน
122865.jpg
122865.jpg (57.31 KiB) เปิดดู 5191 ครั้ง


ภาพ : Naren Punyapu

122866.jpg
122866.jpg (51.22 KiB) เปิดดู 5191 ครั้ง


โรงทอผ้าแม่เขียว ตำบลเวียงยอง อำเมือง ลำพูน
ไฟล์แนป
122871.jpg
122871.jpg (58.75 KiB) เปิดดู 5191 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 10:24 am

วิถีชีวิตชาวเจียงคำ จังหวัดพะเยา พ.ศ.๒๕๐๐

122868.jpg
122868.jpg (50.16 KiB) เปิดดู 5191 ครั้ง


ภาพ : Naren Punyapu

ประกวดนางสาวลำพูน พ.ศ.๒๕๑๗
122894.jpg
122894.jpg (57.89 KiB) เปิดดู 5191 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 18 ก.ค. 2019 6:29 am

วัดวังสิงห์คำ ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง เชียงใหม่

f.jpg
f.jpg (114.54 KiB) เปิดดู 5186 ครั้ง


ในอดีตนั้นฝั่งตะวันออกลำน้ำปิงจะมีวัดร้างวังสิงห์คำ โรงเรียนชายวังสิงห์คำ และท่าน้ำวังสิงห์คำ(ใกล้ๆวัดศรีโขง) ในฝั่งตะวันตกก็มีการใช้ชื่อ วังสิงห์คำ เช่นเดียวกัน "วัดวังสิงห์คำ" ตำบลป่าแดด นั่นเอง


วัดวังสิงห์คำนี้แต่เดิมตั้งอยู่ ณ ที่ดินแปลงที่โรงเรียนวัดวังสิงห์คำตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ แต่เนื่องจากว่า อยู่ห่างไกลจากถนนและแม่น้ำ ไม่สะดวกแก่การคมนาคม ซึ่งในสมัยก่อนจะใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นส่วนมาก ดังนั้นชาวบ้านจึงได้ย้ายวัดมาสร้าง ณ ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยมี ท้าวคำวงศ์ษา เป็นผู้มอบถวายที่ดินให้สร้างวัดที่ใช้ชื่อว่า วัดวังสิงห์คำ


ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา แต่เดิมริมฝั่งน้ำบริเวณตรงที่ต้นจามจุรีมีพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นพุทธรูปทองคำประดิษฐานอยู่ พระพุทธรูปองค์นี้ได้แสดงอภินิหาร ติดเบ็ด ติดอวน ติดแหของชาวบ้านเมื่อมาถึงท่าน้ำหน้าวัดอยู่บ่อยครั้ง ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัด พอตกกลางคืนพระพุทธรูปองค์ก็แสดงอภินิหารกลับลงไปในแม่น้ำปิงตามเดิม และได้แสดงอภินิหารติดเบ็ด ติดอวนของชาวประมงสลับไปมา ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ได้สาปสูญไป เข้าใจว่าคงจะประดิษฐานอยู่ในแม่น้ำปิงดังเดิม

ขอบคุณเจ้าของภาพ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

หนังสือพิมพ์สิริกิตติศัพท์ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกในเชียงใหม่ จัดพิมพ์โดยคณะอเมริกัน เพรสไบทีเรียน มิชชั่น มิชชั่นลาว สถานีเชียงใหม่ ตามหน้าปกบรรยายว่า:

Sirikittisap คือรวมข่าวแลเรื่องต่างๆ (Lao Christian Newspaper and Sunday School Lessons)

126120_resize.jpg
126120_resize.jpg (140.94 KiB) เปิดดู 5175 ครั้ง


กำหนดออก- รายเดือน (ที่หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพมีตั้งแต่ปี 1906-1926)

ผู้จัดพิมพ์ - American Presbyterian Mission Press หรือโรงพิมพ์วังสิงห์คำ โดยมีบรรณาธิการหลายท่าน แต่ที่ปรากฏมากที่สุดคือนาง Laura B. McKean (ภรรยา นพ.แมคเคน)

ประวัติ - พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี 1903 เป็นภาษาล้านนาเขียนโดยมิชชันนารีและครูชาวล้านนา ต่อมาจึงมีผู้เขียนจากส่วนกลางมาร่วมด้วย และเริ่มมีเนื้อหาภาษาสยามมาแทรก (พบเป็นครั้งแรกในฉบับเดือนมกราคม 1917) เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายการรวมประเทศเข้าส่วนกลาง
เนื้อหา - เป็นหนังสือรวมข่าวจากคริสตจักร ข่าวทั่วไปทั้งในประเทศ (เช่น ข่าวการสร้างทางรถไฟสายเหนือ) และข่าวต่างประเทศ (เช่น ข่าวสงครามโลกครั้งที่ 1 และในฉบับตามรูปเป็นรายงานการสำรวจขั้วโลกใต้) มีบทความที่ให้ความรู้ในด้านต่างๆ คำสอนทั้งของคริสตศาสนาและคำสอนแบบล้านนา มีนิทานและบทกวี มึภาพประกอบบ้างเล็กน้อย (คงจะพิมพ์ยาก) ท้ายเล่มเป็นบทเรียนรวีวารศึกษา สัปดาห์ละ 1 บทเรียน (เรื่องซกูลซะบาโต หรือ Sabbath School) มีขนาดประมาณ 36-44 หน้า

ผู้เขียนบทความ- นางแมคเคน บรรณาธิการ ครูคำอ้าย ไชยวัณณ์ ครูสีโหม้ วิชัย (สองท่านนี้เป็นครูโรงเรียนฝึกหัดพระคัมภีร์และเป็นผู้เตรียมบทเรียนรวีวารศึกษาด้วย)


ภายหลังมีผู้เขียนจากส่วนกลางมาร่วมเขียน เข่น อ.บุญมาก กิตติสาร ศ.เปลื้อง สุทธิคำ (ต่อมาเป็นประธานสภาคริสตจักรในสยามคนแรก) เป็นต้น

อนึ่ง ได้เกริ่นเรื่องการใช้ภาษาสยามในหนังสิอพิมพ์ล้านนานี้มาบ้างจึงขอเพิ่มเติมว่า หลังจากรัฐบาลสยามตั้งมณฑลลาวเฉียงในปี 1893 (2436) ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในล้านนามาตามลำดับ โดยในปี 1904 มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการศึกษา มณฑลพายัพ พอถึงปี 1906 รร. ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยเริ่มใช้หลักสูตรกระทรวงธรรมการและในปี 1912 มีการยกเลิกการเรียนภาษาล้านนาในโรงเรียนนี้ พอถึงปี 1918 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ และที่สำคัญคือในปี 1921 รัฐบาลตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ มีข้อหนึ่งคือผู้บริหารและเจ้าของโรงเรียนต้องมีสัญชาติไทยและจบชั้นมัธยมศึกษาบริบูรณ์เท่านั้น ทำให้โรงเรียนของคณะมิชชั่นในชนบทต้องพากันปิดไป (ที่จริงรัฐบาลออกมาเพื่อบังคับโรงเรียนจีน) และในปี 1936 มีการยกเลิกการใช้ภาษาล้านนาในโรงเรียนในภาคเหนือ

ขอเท้าความถึงประวัติหนังสือพิมพ์ในภาคเหนือเล็กน้อย คือเมื่อโรงพิมพ์อุปโยคินตั้งในปี ๒๔๖๗ และโรงพิมพ์อุปติพงศ์ตั้งในปี ๒๔๖๘ แล้ว หนังสือพิมพ์ดัดจริตที่อ้างว่าเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในภาคเหนือ จะตีพิมพ์ในปี ๒๔๕๓ ได้อย่างไร

(อ้างอิงจาก บุญเสริม สาตราภัย, ผู้รวบรวม. "หนังสิอพิมพ์ในเชียงใหม่สมัยก่อน" ไทยนิวส์, 4-11 พฤศจิกายน 2520/ Herbert R. Swanson. This Seed: Missionary Printing and Literature as Agents of Change in Northern Siam 1892-1926,[1988]/Vachara Sindhuprama. "Modern Education and Socio-Cultural Change in Northern Thailand" [Ph.D Dissertation, University of Hawaii, 1988]/ ประสิทธิ์ พงศ์อุดม. คริสเตียนกับการจัดการศึกษาในประเทศไทย, ไม่ทราบปีพิมพ์)
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 27 ก.ค. 2019 4:04 pm

ตำนานดอยจอมหด – เรื่องเล่าจากดอยหลวง สายสัมพันธ์แห่งความเชื่อ “อารักษ์แห่งเมือง”
ชาวล้านนามีความเชื่อมาอย่างยาวนานว่า เจ้าหลวงคำแดง อารักษ์ผู้เป็นใหญ่แห่งล้านนาสถิตอยู่ที่ดอยหลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในทุกๆวันพระ อารักษ์เมือง เชนเมือง จึงมีการชุมนุมและถือศีลกันที่ดอยหลวง ซึ่งอารักษ์เมือง เชนเมือง ที่สถิตอยู่แห่งอื่นก็จะมาร่วมชุมนุมโดยพร้อมเพรียงกัน ดังเรื่องเล่าที่กล่าวอ้างถึง นายเส็ด พรานล่าเนื้อ ที่หายไปหลังจากเดินทางไปยังดอยหลวง

0-20-800x445_resize.jpg
0-20-800x445_resize.jpg (34.35 KiB) เปิดดู 5154 ครั้ง

(ดอยหลวงเชียงดาว-ขอบคุณภาพจากอินเทอรืเน็ต)

มักมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคนหายหลังเข้าไปในดอยหลวงเชียงดาว บริเวณถ้ำหลวงซึ่งอยู่เชิงดอย เรื่องเล่าที่เชื่อมโยงถึงดอยจอมหด ได้แก่ เรื่องของ นายเส็ดชาวบ้านแม่ก๊ะ อำเภอเชียงดาว ที่ได้หายไปในถ้ำทำนองเดียวกัน เขาหายตัวไปนาน ๓ - ๔ เดือน ถึงแม้จะมีคนออกไปค้นหาเท่าใดก็ไม่พบ จนต้องไปพึ่งหมอไสยศาสตร์ให้ทำพิธีร้องเรียกให้กลับมา หลังทำพิธีเมื่อเทพเจ้าภายในถ้ำเชียงดาวทราบว่าพ่อแม่ ญาติพี่น้อง และลูกเมียของนายเส็ดได้ทำพิธีเรียกร้องให้กลับบ้าน เทพเจ้าจึงปล่อยตัวเขา แต่ว่ามีข้อแม้ว่านายเส็ดจะต้องเดินทางไปเชิญเทพเจ้าทั้งหลายที่สถิต ณ ที่ดอยจอมหด อำเภอพร้าว ให้ร่วมมาชุมนุมกับเทพเจ้าที่ดอยหลวงเชียงดาวและดอยนางเสียก่อน

ไม่เพียงเรื่องเล่าเรื่องคนหายเท่านั้นที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างดอยจอมหดและดอยหลวง คนทั่วไปยังมีความเชื่อว่า เมื่อเข้าไปในถ้ำหลวงเชียงดาวแล้วจะสามารถเดินทะลุมาถึงดอยจอมหดอำเภอพร้าวได้อีกด้วย ความเชื่อเหล่านี้อาจจะเป็นเพราะตำนานที่เล่าสืบทอดกันมาก็เป็นได้

128760_resize.jpg
128760_resize.jpg (42.35 KiB) เปิดดู 5154 ครั้ง

(ดอยจอมหดอำเภอพร้าว-ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก)

ตำนาน ที่มาของชื่อดอยจอมหดและดอยสลุง
มีความเชื่อว่า บนดอยสลุง หรือดอยหลวงเชียงดาว มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตอยู่ เมื่อพระอินทร์และเทวดาต้องการปู่จา (บูชา) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะเอารางรินมาพาดจากดอยจอมหดไปยังดอยสลุง แล้วนำน้ำทิพย์รด(หด)ลงไปบนรางรินนั้น นี่คือที่มาของชื่อดอยจอมหด อำเภอพร้าว และดอยสลุง อำเภอเชียงดาว
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 04 ส.ค. 2019 4:46 pm

สืบเนื่องจากที่กล่าวถึงวัดสังเวชและวัดร่ำเปิงในที่มาของพล็อตนิยาย "ตราบสิ้นอสงไขย" ก็เลยอยากให้ทราบประวัติกัน มาค่ะ จะเล่าให้ฟัง

วัดสังเวชเป็นวัดที่พระเจ้ายอดเชียงราย หรือพระญายอดเชียงราย กษัตริย์เชียงใหม่ ราชวงศ์มังราย องค์ที่๑๐ ได้มีรับสั่งให้ประหารบุคคลที่ใส่ร้าย ว่าท้าวบุญเรืองพระราชบิดาของพระองค์วางแผนแย่งชิงราชบัลลังก์พระเจ้าติโลกราช(ท้าวบุญเรืองเป็นโอรสพระองค์เดียวของพระเจ้าติโลกราช) ทำให้ท้าวบุญเรืองต้องโทษประหาร ต่อมาเมื่อพระเจ้ายอดเชียงรายขึ้นนั่งแท่นแก้วเสวยเมืองจึงรับสั่งให้ประหารผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใส่ร้ายพระราชบิดา แต่ต่อมาพระองค์ทรงเกิดความสลดพระทัยเกรงว่าจะเป็นการสร้างเวรกรรมต่อกัน จึงได้สร้างวัดสังเวชขึ้น ในปี พ.ศ.๒๐๓๕

10391498_1066854276699941_5004556497367768689_n.jpg
10391498_1066854276699941_5004556497367768689_n.jpg (114.5 KiB) เปิดดู 5105 ครั้ง


พระราชประวัติพระญายอดเชียงราย

พระญายอดเชียงราย มีพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระเมืองยอด(ท้าวยอดเมือง) ทรงเป็นกษัตริย์ล้านนาลำดับที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์มังรายทรงเป็นโอรสของท้าวบุญเรือง เจ้าเมืองเชียงรายซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้าติโลกราช ท้าวยอดเมืองประสูติที่เชียงราย และในฐานะที่เป็นหลานของพระเจ้าติโลกราชจึงได้ครองเมืองแช่สัก ท้าวยอดเมืองเป็นกำลังสำคัญในการทำศึกสงครามของพระเจ้าติโลกราช ครั้นถึงปลายรัชสมัยของพระอัยกา ท้าวบุญเรืองพระบิดาต้องอาญาถูกเนรเทศไปอยู่เมืองน้อยและถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา เพราะเหตุถูกท้าวหอมุก พระสนมเอกของพระเจ้าติโลกราชทูลยุยงใส่ร้ายท้าวบุญเรือง ท้าวยอดเมืองในฐานะโอรสของท้าวบุญเรืองจึงได้รับสิทธิในการสืบราชสมบัติแทนพระบิดา ครั้นพระเจ้าติโลกราชสิ้นพระชนม์ ท้าวยอดเมืองจึงได้ขึ้นครองราชย์ในล้านนาต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๓๐ พระญายอดเชียงรายขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้ ๓๒ พรรษา อยู่ในราชสมบัติได้ ๘ ปี (คัมภีร์ชินกาลมาลีเรียกพระนามว่า ชังรายัคคราชา) ทรงจัดพิธีถวายพระเพลิงพระศพพระเจ้าติโลกราช ผู้เป็นพระอัยกา ณ วัดมหาโพธาราม แล้วก่อสถูปใหญ่บรรจุพระอัฐิและอังคารธาตุไว้ในวัดนั้น ใน พ.ศ. ๒๐๓๕ ทรงสร้างวัดตโปทาราม และโปรดให้ชำระขัณฑสีมาที่เกาะดอนแท่น

ในรัชกาลนี้ปรากฏเหตุพระแก้วขาว พระพุทธรูปสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ หอพระแก้วหายไป จึงทรงให้สืบได้ความว่าพระภิกษุชาวอยุธยาทำอุบายลอบนำไปยังอยุธยา หลังจากส่งสาส์นและเครื่องบรรณาการไปยังพระมหากษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยาแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้า พระญายอดเชียงรายจึงยกทัพหลวงไปกรุงศรีอยุธยา ตั้งทัพเพื่อทวงเอาพระแก้วขาว เวลาล่วงไป ๑ เดือนจึงได้พระแก้วขาวคืนมา ในช่วงดังกล่าวได้เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง โดยหลักฐานของจีนทำให้สันนิษฐานได้ว่าพระญายอดเชียงรายทรงตอบสนองความต้องการของจีนหรือกรมการเมืองของยูนนานมาก จนไม่สนใจความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานท้องถิ่นคือ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานพื้นเมืองลำพูน ที่กล่าวถึงพระญายอดเชียงรายไม่รักเจ้าแก้ว(รัตนราชกุมาร) ราชบุตรของพระองค์ที่เกิดจากพระเทวีชื่อ ปงน้อย (ปร่งน้อย หรือโป่งน้อย) แต่กลับเอาใจใส่ลูกฮ่อ ซึ่งเลี้ยงเป็นลูกและให้ไปครองเมืองพร้าว ทั้งยังมีการกล่าวถึงเจ้าแก้วที่ถูกบังคับให้ไหว้ลูกฮ่ออีกด้วย เนื่องจากการที่พระองค์สนิทสนมกับฮ่อมากเกินไป จึงสร้างความไม่พอใจแก่เหล่าขุนนางเนื่องจากพระองค์ไม่ทรงรับฟังขุนนาง ซึ่งขุนนางเหล่านั้นต่างเชื่อถือโชคลางและเห็นว่าวิปริตต่างๆ เกิดจากการปฏิบัติที่มิได้เป็นไปตามขัติยประเพณีจารีต ท้าวคลองพญา หมู่อำมาตย์ราชวงศานุวงศ์สมณพราหมณาจารย์และราษฏรพากันเดือดร้อน ท้ายที่สุดพระองค์ก็ถูกขุนนางปลดออกจากราชสมบัติ แล้วถูกเนรเทศไปอยู่เมืองชวาดเมืองน้อย(เมืองซะมาดในเขตแม่ฮ่องสอน) ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๐๓๘ จากนั้นก็ยกเจ้ารัตนราชกุมาร ชนมายุ ๑๔ พรรษา ราชบุตรของพระองค์ที่เกิดกับนางโป่งน้อยขึ้นครองราชย์แทนต่อมาขณะที่มีการยกเจ้าแก้วขึ้นครองราชย์ ก็พบว่านางโป่งน้อย มีอำนาจสูงมาก เนื่องจากมีบทบาทในการปกครองร่วมกับพระโอรส โดยในหลักฐานมีการเรียกมหาเทวีและกษัตริย์ว่า "พระเป็นเจ้าสองพระองค์" และ “พระเป็นเจ้าแม่ลูกทั้งสอง”ขณะเดียวกันบทบาทของขุนนางได้เพิ่มพูนมากขึ้นตามลำดับ ส่วนกษัตริย์กลับถูกลิดรอนอำนาจ ส่วนพระญายอดเชียงราย เมื่อถูกปลดและเนรเทศไปอยู่เมืองชวาดเมืองน้อย (เขตตำบลแม่ขะจาน เวียงป่าเป้า) อยู่ต่อมาอีก ๑๑ ปี ชนมายุได้ ๕๑ พรรษาจึงสิ้นพระชนม์ในปีขาล พ.ศ.๒๐๔๙

(ใกล้ๆวัดร่ำเปิงมีวัดโป่งน้อย ชื่อเดียวกับพระนางโป่งน้อยด้วย)

วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)
เมื่อพระเจ้าติโลกราชเสด็จสวรรคต ราษฎรได้พร้อมใจกันอันเชิญพระเจ้ายอดเชียงรายขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ หลังจากที่พระองค์ทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วจึงทรงดำเนินการสอบสวนหาผู้ที่เป็นต้นเหตุยุแหย่ให้ท้าวศรีบุญเรืองพระบิดาต้องสิ้นพระชนม์ จนทำให้พระมารดาของพระองค์ตรอมพระทัยถึงกับสติวิปลาส พระองค์ทรงกำหนดโทษ ให้ประหารชีวิตแก่ผู้ที่เป็นต้นเหตุ แต่ด้วยพระองค์ทรงเป็นผู้เลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ภายหลังที่ได้สั่งให้สำเร็จโทษผู้กระทำผิดไปแล้ว ก็ทรงเกรงจะเป็นเวรกรรม จึงทรงดำริที่จะหาทางผ่อนคลายมิให้เป็นบาปกันต่อกันสืบต่อไป ครั้งนั้นมีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาจากต่างเมืองได้ปักกลดอยู่ที่เชิงดอยสุเทพที่ตั้งวัดร่ำเปิงเวลานี้ ได้ทูลพระเจ้ายอดเชียงรายว่า ณ ต้นมะเดื่อไม่ห่างจากที่ท่านปักกลดอยู่เท่าใดนักได้มีรัศมีพวยพุ่งขึ้นในยามราตรี สันนิษฐานว่าจะมีพระธาตุประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง พระเจ้ายอดเชียงรายจึงทรงช้างพระที่นั่งอธิษฐานเสี่ยงทายว่า ถ้ามีพระบรมธาตุประดิษฐานอยู่จริง และพระองค์จะได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบต่อไป แล้วก็ขอให้ช้างพระที่นั่งไปหยุด ณ ที่แห่งนั้น ทรงอธิษฐานแล้วก็ทรงช้างเสด็จไป ช้างนั้นก็ได้พาพระองค์มาหยุดอยู่ใต้ต้นมะเดื่อ พระองค์จึงได้ขุดรอบๆ ต้นมะเดื่อนั้น ก็ทรงพบพระบรมธาตุเขี้ยวแก้วบรรจุอยู่ในผอบดินแบบเชียงแสน พระองค์จึงทรงทำพิธีสมโภ และอธิษฐานขอเห็นอภินิหารของพระบรมธาตุนั้น จากนั้นจึงบรรจุลงในผอบทอง แล้วนำไป บรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่บริเวณนั้น และจารึกประวัติการสร้างวัดลงในศิลาจารึก แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “วันศุกร์ขึ้นสามค่ำเดือนเจ็ด ปีชวด พุทธศักราชสองพันสามสิบหาปี เวลา ๐๘.๒๐ น. ได้ฤกษ์ภรณี (ดาวงอนไถ) ได้โยคมหาอุจจ์” โดยมีพระนางอะตะปาเทวี ซึ่งเป็นพระมเหสี ดำเนินการสร้างแต่งตั้งคณะกรรมการทั้งที่เป็นพระมหาเถระและผู้สร้างฝ่ายอาณาจักร นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระพุทธรูปเป็นประธาน และพระพุทธรูปตามซุ้มที่พระธาตุเจดีย์กับได้สร้างพระไตรปิฏกและพระราชทานทรัพย์ (นา) เงิน (เบี้ย) เป็นจำนวนมหาศาล

วัดร่ำเปิง_resize.jpg
วัดร่ำเปิง_resize.jpg (154.81 KiB) เปิดดู 5105 ครั้ง


สำหรับชื่อวัดร่ำเปิงนั้น ตามข้อความของอาจารย์มุกดา อัยยเสน ที่อ้างถึงคำปรากฏของพระเจ้ายอดเชียงราย ว่า “ ในขณะที่สร้างวัดพระองค์ทรงรำพึงถึงพระราชบิดา และพระราชมารดาอยากจะให้ทั้งสองพระองค์มีพระชนม์อยู่จะได้ร่วมทำบุญในครั้งนี้ด้วย และเพื่อให้เป็นที่บูชาคุณของทั้งสองพระองค์พระเจ้ายอดเชียงราย จึงทรงตกลงพระทัยให้ชื่อวัดที่สถาปนาขึ้นใหม่นี้ว้า “วัดร่ำเปิง” ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองเหนือ และตรงกับคำว่า”รำพึง ในภาษากลางอันมีความหมายว่า “คร่ำคราญ ระลึกถึง คนึงหา”
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 06 ส.ค. 2019 11:09 pm

นางสาวรุ่งทิพย์ ภิญโญ สาวงามบ้านธิ จังหวัดลำพูน เธอมีชื่อจริงว่า บัวเงิน ปัญโญใหญ่ เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๔๙๑ เป็นบุตรของพ่อหล้า ปัญโญใหญ่และแม่เมา ปัญโญใหญ่ รุ่งทิพย์มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน โดยเธอเป็นคนสุดท้อง ในครั้งแรกรุ่งทิพย์ได้รับตำแหน่งนางสาวสันกำแพง ต่อมาร้านชินวัตรสันกำแพงได้ส่งเธอเข้าประกวดนางสาวเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ จนได้ตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่มาครอง

ร่งทิพย์1.jpg
ร่งทิพย์1.jpg (12.4 KiB) เปิดดู 5097 ครั้ง


ก้าวต่อไปของรุ่งทิพย์คือการเข้าร่วมประกวดนางสาวไทยในปีนั้น ซึ่งเธอได้รับตำแหน่งรองนางสาวไทย พ.ศ. ๒๕๑๐ ตามด้วยการประกวด Miss International ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้รับรางวัลในการประกวดครั้งนี้ถึง ๒ ตำแหน่งคือ Miss Photogenic และรองอันดับ ๔ Miss International สร้างความภูมิใจให้กับคนไทยและพี่น้องชาวอำเภอบ้านธิเป็นอย่างมาก
ที่มา : หมายเหตุหริภุญไชย , ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองลำพูน

รุ่งทิพย์3.jpg
รุ่งทิพย์3.jpg (71.88 KiB) เปิดดู 5097 ครั้ง

ขณะดำรงตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่ ๒๕๑๐

รุ่งทิพย์5.jpg
รุ่งทิพย์5.jpg (166.92 KiB) เปิดดู 5097 ครั้ง

คุณรุ่งทิพย์ ภิญโญ (คนซ้ายสุด) รองนางสาวไทย พ.ศ. ๒๕๑๐ และ คุณอภันตรี ประยุทธ์เสนีย์ (คนนั่ง) นางสาวไทย พ.ศ. ๒๕๑๐
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 06 ส.ค. 2019 11:47 pm

เจดีย์วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน ก่อนการบูรณะครั้งใหญ่ ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐
ที่มา : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
136173.jpg
136173.jpg (44.01 KiB) เปิดดู 5097 ครั้ง


สถานีตำรวจภูธร จังหวัดลำปาง ถ่ายเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๙
ที่มา : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
138350.jpg
138350.jpg (28.23 KiB) เปิดดู 5090 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 15 ส.ค. 2019 5:59 am

วิหารหลวงวัดพระธาตุหริภุญชัย หลังบูรณะจากการถูกลมหลวงพัดถล่มล่มไป
การบูรณะครั้งนี้ได้นำเอาศิลปะจากภาคกลางมาผสมสผาน ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖
ที่มา : ภาพอดีตทั่วไทย
144155.jpg
144155.jpg (21.51 KiB) เปิดดู 5747 ครั้ง


ร้านค้าริมทางอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ ในอดีตนั้นแม่สายเป็นเมืองหน้าด่านแห่งการค้าชายแดนที่สำคัญของไทย
ภาพ : ดร. โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน (Dr. Robert Larimore Pendleton) นักวิทยาศาสตร์ทางดินและการเกษตร ชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามาปฏิบัติงานในฐานะที่ปรึกษาของกรมเกษตรและการประมง กระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น
144145.jpg
144145.jpg (66.16 KiB) เปิดดู 5747 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 08 ก.ย. 2019 2:10 pm

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม จังหวัดลำปาง ไม่ทราบปี พ.ศ.ที่ถ่ายภาพ
ภาพ : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
155346.jpg
155346.jpg (14.99 KiB) เปิดดู 5669 ครั้ง


พญานาควัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐
บันไดนาคพระธาตุแช่แห้ง.jpg
บันไดนาคพระธาตุแช่แห้ง.jpg (48.1 KiB) เปิดดู 5669 ครั้ง



พญานาควัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน ประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐
พระธาตุแช่แห้ง.jpg
พระธาตุแช่แห้ง.jpg (56.29 KiB) เปิดดู 5669 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 66 ท่าน

cron