เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย pasasiam » เสาร์ 18 มี.ค. 2017 9:54 am

สามเณรแบงก์ [ธรรมากร อารยางกูร] รับบิณฑบาตแม่อุ๊ยดี ชาวบ้านสันฮกฟ้า อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ งดงามด้วยวิถีพุทธ งดงามด้วยวิถีล้านนา

17264789_1328626733864209_618648678510103713_n.jpg
17264789_1328626733864209_618648678510103713_n.jpg (166.97 KiB) เปิดดู 10422 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย pasasiam เมื่อ เสาร์ 18 มี.ค. 2017 10:08 am, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย pasasiam » เสาร์ 18 มี.ค. 2017 9:57 am

วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน ที่ประดิษฐสถานพระธาตุศรีเวียงชัย

20110918143942_img_2428.jpg
20110918143942_img_2428.jpg (66.72 KiB) เปิดดู 10422 ครั้ง


วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตั้งอยู่เลขที่ ๔๙๙ หมู่ที่ ๘ ต. นาทราย อ. ลี้ จ. ลำพูน ห่างจากที่ว่าการอำเภอลี้ไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร (อยู่บนเส้นทางลี้ไปเถิน)

มีความสำคัญคือ เป็นวัดที่มีรอยพระพุทธบาท ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญที่ทำให้ทราบว่า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันได้เสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ ณ บริเวณสถานที่แห่งนี้ โดยได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้บนก้อนหิน

นับตั้งแต่ปี ๒๔๘๙ ที่หลวงปู่ได้เข้ามาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จนกระทั่งมรณภาพในปี ๒๕๔๓ เป็นเวลาถึง ๕๔ ปี หลวงปู่ได้ใช้ความพยายามพัฒนาวัดจนสามารถพลิกสภาพความเป็นวัดร้างให้เป็นวัดที่มีความเจริญถึงขีดสุด จนทำให้ผู้คนจากทุกสารทิศทั้งในและต่างประเทศ ทุกระดับชั้นทางสังคมหลั่งไหลเข้ามาสักการะ สมกับที่เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย

บ้านห้วยต้มเป็นหมู่บ้านของ ชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอหรือกะเหรี่ยงทั้งหมด ๖๐๐ หลังคาเรือนมีคนอาศัยอยู่เกือบ ๓,๐๐๐ คนซึ่งพวกเขาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านห้วยต้มเมื่อปี ๒๕๑๔ หลังจากที่ราชการ สร้างเขื่อนยันฮี หรือ เขื่อนภูมิพล ขึ้น ชาวเขาเหล่านี้ไม่มีที่ทำกิน การอพยพเข้ามาอยู่ในระยะแรกมีความยากลำบากมาก เพราะพื้นที่บางส่วนเป็นหินศิลาแลง และสภาพทั่วไป มีความแห้งแล้ง ชาวกะเหรี่ยงบางคนไม่สามารถทนอยู่ได้ต้องอพยพไปอยู่ในที่ใหม่ พวกที่ทนอยู่ได้ก็ตั้งหน้าทำงานต่อสู้กับอุปสรรคอันแห้งแล้งของธรรมชาติ

20110918144345_img_2452.jpg
20110918144345_img_2452.jpg (107.39 KiB) เปิดดู 10422 ครั้ง


พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของคนเมืองลี้ จังหวัดลำพูน ที่เป็นที่สักการะของคนลำพูน คนภาคเหนือ และคนไทยทั่วทุกภูมิภาค รวมถึงคนต่างชาติต่างภาษาที่พากันมาสักการะบูชาอยู่โดยไม่ขาดสาย ตั้งอยู่ ใกล้วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัยเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ ก่อสร้างด้วยศิลาแลงทั้งองค์ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีฐานของพระเจดีย์ขนาด ๔๐ X ๔๐ เมตร ความสูงขององค์พระเจดีย์ ๖๔.๓๙ เมตร เป็นพระธาตุเจดีย์จำลองจากพระธาตุชเวดากอง ประเทศพม่า สร้างบนพื้นที่ประมาณ ๖ไร่เศษ โดยหลวงปู่ครูบาชัยะวงศาพัฒนา ออกแบบและก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยได้อธิษฐานจิตแล้วขออาราธนาอัญเชิญพระเกศาของพระพุทธเจ้าโคตมะ แล้วเอาสิ่งของต่างๆได้แก่ บริขารของพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ที่ล่วงมาแล้วมาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเจดีย์อีกด้วย

20110918143954_img_2429.jpg
20110918143954_img_2429.jpg (114.22 KiB) เปิดดู 10422 ครั้ง


วัตถุประสงค์ของการสร้าง เพื่อให้ประเทศไทยได้มีพุทธเจดีย์ที่เป็นเครื่องหมายแห่งการตรัสรู้โปรด เวไนยสัตว์ของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ, พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ,พระพุทธเจ้ากัสสปะ,พระพุทธเจ้าโคตมะ องค์ปัจจุบันและพระศรีอริยเมตไตรย์ พระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ประทานนามพระมหาเจดีย์นี้ว่า พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย
ที่มา mcot.net
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย pasasiam » เสาร์ 18 มี.ค. 2017 4:02 pm

"กู่เจ้าย่าสุตา" โบราณสถานสำคัญบนถนนวังเหนือ จังหวัดลำปาง

IMG_0286.JPG
IMG_0286.JPG (54.5 KiB) เปิดดู 10360 ครั้ง


"กู่เจ้าย่าสุตา" เป็นสถาปัตยกรรมล้านนาที่มีลวดลายปูนปั้นเทวดาอยู่ทั้ง ๔ มุม ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและสวยงามมาก สันนิษฐาน ว่ากู่เจ้าย่าสุตาเคยเป็น "ซุ้มประตูโขงของวัดกากแก้ว" ในอดีต ซึ่งทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ ซุ้มประตูนี้นับเป็นโบราณสถานที่เรียกได้ว่าเป็นโบราณสถานน้อยแห่งใน สมัยในล้านนา มีลวดลายศิลปกรรมปูนปั้นที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง เท่าที่พบเห็นได้ในจังหวัดลำปาง

ซุ้มประตูแห่งนี้ไม่มีประวัติความเป็นมาที่แน่ชัด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงยุคของล้านนา ประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๘ – ๒๑๐๐( รัชสมัยของพญากือนา-พระเมืองแก้ว) และถ้าจะเจาะลึกลงไปน่าจะเป็นในยุคปลายรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช ซึ่งในสมัยนั้นเขลางค์นครเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของอาณาจักรล้านนา โดยซุ้มประตูก่ออิฐประดับลายปูนปั้นเหนือซุ้มเป็น ฝีมือของช่างสกุลล้านนาราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งนักวิชาการลงความเห็นว่าน่าจะมีความเก่าแก่มากกว่าซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุลำปางหลวงเสียอีก ปัจจุบันมีการขุดค้นวัตถุโบราณ จากบริเวณที่คาดว่าเป็นอุโบสถเก่า คงเห็นเป็นแนวกำแพงและชั้นอิฐ โดยเริ่มขุดค้นในปี ๒๕๕๓ พบวัตถุโบราณหลากหลาย ทั้งพระพุทธรูปสัมริด เครื่องกระเบื้องเคลือบลาย ฯลฯ

แม้กู่เจ้าย่าสุตาจะไม่มีประวัติความเป็นมาที่แน่ชัด แต่ความงดงามและร่องรอยความรุ่งเรืองของอดีตกลับปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และด้วยความสงบ เข้มขลัง นี้สามารถเป็นเครื่องเตือนใจคนที่ผ่านไป-มาได้ว่าจงรักษากริยา วาจา และใจ ให้สงบและสำรวม สมกับที่ได้อยู่พื้นที่แห่งความทรงจำของอดีต ‘เขลางค์นคร’ เมืองลูกหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา

ภาพ : Kasira Kaoreang
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย pasasiam » เสาร์ 18 มี.ค. 2017 8:32 pm

ควรขานพระนามพญามังรายหรือพ่อขุนเม็งราย

A8347946-3.jpg
A8347946-3.jpg (71.23 KiB) เปิดดู 10358 ครั้ง


พระนาม "มังราย" นั้นปรากฏในศิลาจารึก ตำนาน และเอกสารดั้งเดิมทุกชนิด มีแต่หนังสือพงศาวดารโยนก เขียนโดย พระยาประชากิจกรจักร จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งได้คัดแปลจากอักษรไทยเหนือ (ตัวเมือง) ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์วชิรญาณ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๔๑-๑๔๔๒ (อ้างอิงจาก ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต) อธิบายเพิ่ม พระยาประชากิจกรจักร เป็นข้าราชการชาวสยาม เมื่อท่านแปลความจากตัวเมืองจึงมีความคลาดเคลื่อน ปัญหาคือเอกสารในสมัยหลัง ๆ ต่างก็อ้างอิงพงศาวดารโยนกทั้งนั้น จึงพากันออกพระนามว่า "เม็งราย" อย่างไรก็ดี มีสถานที่หลายแห่งใช้ชื่อว่า "เม็งราย" ไปแล้ว เช่น ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม และค่ายเม็งรายมหาราช ในจังหวัดเชียงราย กับทั้งวัดพระเจ้าเม็งราย ในจังหวัดเชียงใหม่

อ้างอิงข้อมูลจาก ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยของเพลงพระราชนิพนธ์ชะตาชีวิต ใกล้รุ่ง ในดวงใจนิรันดร์ แว่ว เพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประเสริฐ_ณ_นคร.jpg
ประเสริฐ_ณ_นคร.jpg (16.8 KiB) เปิดดู 10358 ครั้ง


ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร สนใจงานด้านคณิตศาสตร์ สถิติ การคำนวณปฏิทิน การแต่งเพลง พันธุศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาไทยโบราณ มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นที่ยอมรับและอ้างถึงในวงวิชาการอย่างกว้างขวาง ที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ การชำระประวัติศาสตร์สุโขทัย ถิ่นเดิมและตระกูลภาษาไทย หลักการสอบค้นเมืองสมัยสุโขทัย การแบ่งกลุ่มไทยตามตัวหนังสือ พจนานุกรมไทยอาหม ตัวอักษรไทยในล้านนา ที่มาของอักษรไทยล้านนาและไทยลื้อ นอกจากนี้ ยังมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งภายในและต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ บทความ
เกิดในวันวสันตวิษุวัต ของปี ค.ศ.๑๙๑๙ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๑๔๖๑ สัมฤทธิ์ศก ปีมะเมีย ตรงปักขทืนล้านนา ในวันเต่าสัน แรม ๕ ค่ำ เดือน ๖ จ.ศ. ๑๒๘๐ ปีเปิกสะง้า เป็นปีที่พิสูจน์ทฤษฎีสัมพัทธภาพ เกิดที่ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นบุตรของนายบุญเรือง และนางกิมไล้ ได้สมรสกับนางเยาวลักษณ์ (ลีละชาติ) มีบุตรคือ ดร.ปิยพร ณ นคร ซึ่งได้สมรสกับนางสมทรง (โหตรกิตย์) มีบุตรชื่อนางสาวเสมอใจ ณ นคร
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางในวงวิชาการว่า เป็นปรมาจารย์ในด้านไทยศึกษา ที่มีความรอบรู้ในลักษณะสหวิทยาการ ทั้งคณิตศาสตร์ สถิติ ประวัติศาสตร์ไทย ปฏิทินไทย ภาษาไทย จารึก ศิลปวรรณคดี และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นนักวิชาการที่ให้ความสำคัญกับการขยายขอบเขตของไทยศึกษา ไปสู่ไทศึกษาหรือการศึกษาเรื่องของชนเผ่าไทอื่น ๆ นอกประเทศไทย ผลงานทางวิชาการของท่านมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ถิ่นเดิมและตระกูลภาษาไท การสืบค้นภาษาไทในเมืองจีน แนวการปริวรรตอักษรพื้นเมืองล้านนา ประวัติศาสตร์สุโขทัยจากจารึก เล่าเรื่องในไตรภูมิพระร่วง ความสำคัญของวรรณคดีท้องถิ่น หลักการสอบค้นเมืองสมัยสุโขทัย ประวัติศาสตร์ล้านนาจารึก ความเห็นเรื่องจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรื่องเกี่ยวกับ ศิลาจารึกสุโขทัย และศักราชในจารึกสมัยสุโขทัย เป็นต้น ผลงานเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง และใช้อ้างอิงในวงวิชาการเสมอมา นักวิชาการหลายสาขาอ้างอิงแนวคิดหรือข้อเสนอของท่าน เพียงใช้อักษรย่อว่า ป.ณ.

ขอบคุณข้อมูลประวัติศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร จากวิกิพีเดีย
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย pasasiam » เสาร์ 18 มี.ค. 2017 9:26 pm

อาจารย์สุวภรณ์ ชูโต อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง ปัจจุบันอายุ ๗๐ ปี (คาดว่าภาพนี้ถ่ายประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๕)

สาวลำปาง.jpg
สาวลำปาง.jpg (25.72 KiB) เปิดดู 10357 ครั้ง


นายพลู หัวนา กับ นางสุทัศน์ (กันนิกา) ชิดสนิท คนเจียงคำ จังหวัดพะเยา (คาดว่าถ่ายภาพนี้ประมาณปี ๒๕๑๕)

11873467_1600201760245086_5376440695691229431_n.jpg
11873467_1600201760245086_5376440695691229431_n.jpg (65.23 KiB) เปิดดู 10357 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 21 มี.ค. 2017 5:23 pm

#วันนี้ในอดีต วันพระราชทานเพลิงศพ ครูบาเจ้าศรีวิชัย วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙

S__33382404.jpg
S__33382404.jpg (22.35 KiB) เปิดดู 10352 ครั้ง


เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัย ถูกขับออกจากเมืองเชียงใหม่ ครูบาเจ้าฯ ได้ปวารณาตนว่าจะไม่กลับไปเหยียบแผ่นดินเชียงใหม่อีก เว้นแต่แม่น้ำปิงจะไหลย้อนกลับ ครูบาเจ้าศรีวิชัย มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ ๖๐ ปี ตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปาง เป็นเวลา ๑ ปี จึงได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ ณ วัดจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จนกระทั่งวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนมาร่วมในพิธีพระราชทานเพลิงศพจำนวนมาก และประชาชนเหล่านั้นได้เข้าแย่งชิงอัฏฐิธาตุของครูบาศรีวิชัย ตั้งแต่ไฟยังไม่มอดสนิท แม้แต่แผ่นดินตรงที่ถวายพระเพลิง ก็ยังมีผู้ขุดเอาไปสักการบูชา อัฏฐิธาตุของท่านที่เจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมได้ได้ถูกแบ่งออกเป็น ๗ ส่วน แบ่งไปบรรจุตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วแผ่นดินล้านนาดังนี้

ส่วนที่ ๑ บรรจุที่ วัดจามเทวี จ.ลำพูน
ส่วนที่ ๒ บรรจุที่ วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่
ส่วนที่ ๓ บรรจุที่ วัดพระแก้วดอนเต้า จ.ลำปาง
ส่วนที่ ๔ บรรจุที่ วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา
ส่วนที่ ๕ บรรจุที่ วัดพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่
ส่วนที่ ๖ บรรจุที่ วัดน้ำออกรู จ.แม่ฮ่องสอน
ส่วนที่ ๗ บรรจุที่ วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จ.ลำพูน

Publication : P.som ส.สกุณา
http://photobypsom.blogspot.com/2017/03/21-2489.html
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พฤหัสฯ. 30 มี.ค. 2017 7:22 pm

“มณฑปกลางน้ำ” ณ “เวียงเกาะกลาง” : สังฆเจดีย์ อุทกสีมา หรือเขาพระสุเมรุ

ปริศนาโบราณฯ-2-1.jpg
ปริศนาโบราณฯ-2-1.jpg (229.9 KiB) เปิดดู 10335 ครั้ง


ที่กลางสระน้ำหน้าวัดเกาะกลาง บ้านบ่อคาว ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน อันเป็นแหล่งอาศัยของชุมชนชาวมอญกว่า ๕๐๐ ครัวเรือนนั้น มีโบราณสถานอยู่หลังหนึ่ง ลักษณะค่อนข้างแปลกประหลาด แปลกเสียจนนักวิชาการด้านโบราณคดีถกเถียงกันอยู่นานหลายปีว่าคืออะไรกันแน่ มณฑปหลังดังกล่าว ก่อนที่จะเห็นว่าตั้งอยู่กลางสระน้ำนั้น เดิมมีสภาพเป็นเนินดินสูง ชาวบ้านเรียกแบบลำลองแตกต่างกันไป บ้างเรียก “ศาลเพียงตา” “ประภาคาร” และบ้างก็เรียก “หอฟ้าผ่า” โดยชาวบ้านมีความกลัวว่าจะถูกฟ้าผ่า หากปีนขึ้นไปเหยียบบนยอดหอหลังนี้ เหตุที่ปู่ย่าตายายจะคอยเตือนลูกหลานอยู่เสมอว่า ในอดีตเคยมีคนถูกฟ้าผ่าตายมาแล้วหลายคน ประหนึ่งว่าหอดังกล่าวมีสายล่อฟ้าหรือเคยมีโบราณวัตถุอะไรบางอย่างที่สร้างด้วยทองแดงกระนั้น? ทำให้หอหรืออาคารดังกล่าวถูกทิ้งร้างอยู่ชั่วนาตาปี ไม่มีใครกล้าไปแตะต้อง จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๔๗ หรือ ๑๓ ปีก่อนนั้น กรมศิลปากรได้รับงบประมาณสนับสนุนให้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีก้อนแรก ๕ ล้านบาทจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ในยุคที่ นายสมาน ชมภูเทพ หรือ “หนานหล้า” (ผู้ล่วงลับไปแล้ว) เป็นนายก อบจ. และต่อมาได้รับงบสนับสนุนในก้อนถัดๆ มาอย่างต่อเนื่องอีกหลายช่องทางสิริรวม ๑๓ ล้านบาท ๒ ล้านบาทก้อนสุดท้ายคือปี ๒๕๕๒ เป็นงบฯ สร้างพิพิธภัณฑ์ในวัดเกาะกลางสำหรับเก็บปูนปั้นที่ขุดได้จากเวียงเกาะกลางมากกว่า ๒,๐๐๐ ชิ้น และหลังจากนั้น เวียงเกาะกลางก็ไม่ได้รับการเหลียวแลใดๆ จากภาครัฐอีกเลย ทั้งๆ ที่เป็นขุมทรัพย์มหาศาล สามารถนำมรดกของแผ่นดินมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มได้ทางการท่องเที่ยว หรืออย่างน้อยควรสนับสนุนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์แหล่งสำคัญในระดับชาติ เนื่องจากโบราณสถานแห่งนี้มีความเชื่อมโยงกับโบราณสถานจำนวนหลายแห่งในระดับอุษาคเนย์

ใครจะเชื่อว่า จากเนินดินพอกนูนสูงคล้ายภูเขาลูกย่อมๆ ด้วยถูกทิ้งร้างไปนานหลายร้อยปี เหตุเพราะเคยเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนเส้นทางไหลของแม่น้ำปิง เดิมชาวมอญจะตั้งบ้านเรือนอยู่แถววัดหนองดู่ริมแม่ปิงมากกว่าจะอาศัยอยู่แถวโบราณสถานร้างเวียงเกาะกลาง สำทับด้วยคำขู่ของคนเฒ่าคนแก่ว่าห้ามไม่ให้ใครเข้าไปยุ่มย่ามเหยียบย่ำอย่างเด็ดขาด ตามคำร่ำลือเรื่องฟ้าผ่านั้น แต่เมื่อกรมศิลปากรดำเนินการขุดค้นไปขุดค้นมา กลับกลายเป็นว่า โบราณสถานแห่งนี้มีฐานที่จมลึกลงไปใต้ชั้นบาดาลเลยทีเดียว กล่าวคือ ตั้งอยู่ในระดับต่ำกว่าถนนทางเท้าชั้นดินปัจจุบันถึง ๕ เมตร
ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา หลังจากที่กรมศิลปากรได้ขุดแต่งศึกษาทางโบราณคดี ณ มณฑปแห่งนี้ ได้พบความแปลกประหลาดหลายประการดังนี้ ประการแรก ผังอาคารเป็นมณฑปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรมุข มีลานประทักษิณซ้อนกันถึง ๒ ชั้น ชั้นแรกคือลานตอนล่าง และชั้นที่สองตั้งอยู่ประชิดล้อมรอบเรือนธาตุของมณฑปตอนบน ข้อสำคัญคือมณฑปจัตุรมุขนี้มีแกนเสาเป็นจุดสำคัญ

แกนเสาสีดำใช้ทำอะไร ไม่มีใครทราบว่ามณฑปหลังนี้มีหน้าที่ใช้ประดิษฐานอะไร โดยปกติแล้ว การทำมณฑปเปิดโล่งแบบจัตุรมุขนั้น มักใช้รองรับพระพุทธรูปสำคัญเป็นการเฉพาะ หรืออาจประดิษฐานต้นโพธิ์จำลองแต่ที่นี่บริเวณแกนกลางของมณฑป กลับก่ออิฐป็นแท่งเสาขนาดใหญ่ ก่อเพื่อใช้รองรับหลังคาตอนบน (เครื่องหลังคาก็หักหายไปหมดแล้ว) เท่านั้นเองล่ะหรือ มิได้เคยมีพระพุทธรูปสี่ด้านยืนหันหลังชนกัน ๔ ทิศมาก่อนเลยหรือ พิจารณาแล้วพบว่าแท่งเสานี้เต็มไปด้วยสีดำ ไม่มีใครทราบว่าเพราะเหตุไร ชาวบ้านบอกว่าอาจเป็นเขม่าควันซึ่งชาวประมงใช้จุดไฟกลางคืนบอกทางสัญจรแก่ชาวเรือ (ในลักษณะประภาคาร) หรืออาจเกิดจากการที่ฟ้าผ่าอาคารหลังนี้บ่อยครั้ง แต่นักโบราณคดีเห็นว่าน่าจะเกิดจากรอยของการลงรัก (ยางเหนียวสีดำ) อาจจะลงเพื่อใช้ปิดทองพระพุทธรูปที่เคยหันหลังชนกันที่แท่งเสา แต่ต่อมาพระพุทธรูปหายไปแล้วก็เป็นได้ หรือดีไม่ดี อาจไม่เคยมีพระพุทธรูปมาก่อนเลยตั้งแต่แรกสร้าง คือมีแต่เสาที่ลงรักสีดำสำหรับปิดทอง การใช้เสาแท่งใหญ่เป็นแกนกลางมณฑปเช่นนี้พบได้ทั่วไปในสถาปัตยกรรมแห่งอาณาจักรพุกาม (พุกามอยู่ในพม่า เจริญขึ้นร่วมสมัยกับหริภุญไชยตอนกลางถึงตอนปลาย คือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙) แต่โดยมากวิหารจัตุรมุขในพุกามนั้นมักใช้แท่งเสารองรับหลังคาที่เป็นเจดีย์แบบทรงพุทธคยาอยู่ตอนบน และมักประดิษฐานพระพุทธรูปหันหลังชนกัน ๔ ทิศ ในขณะที่มณฑปเวียงเกาะกลาง ไม่ได้มีเสาแท่งขนาดใหญ่มากพอที่จะเหลือพื้นที่ให้สามารถสร้างพระพุทธรูป ๔ องค์ในภัทรกัปขนาดนั้นได้ จะอย่างไรก็แล้วแต่ อย่างน้อยที่สุด รูปแบบของเสาแกนกลางมณฑปทรงจัตุรมุขเช่นนี้ก็เป็นเครื่องสะท้อนว่าชุมชนในเวียงเกาะกลางแห่งนี้เคยมีความสัมพันธ์กับชาวพุกามมาก่อน อาจเคยไปมาหาสู่กัน กระทั่งมีการถ่ายทอดแบบศิลปะซึ่งกันและกัน ส่วนใครจะถ่ายทอดให้ใครนั้น จุดเริ่มต้นสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้มีขึ้นครั้งแรกในวัฒนธรรมไหน เป็นสิ่งที่ต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป

ประเด็นที่สอง ความแปลกประหลาดของศาสนสถานหลังนี้ คือพื้นล่างขององค์มณฑป มีการก่ออิฐเรียงเป็นแนวรูปวงกลม ซึ่งพบฐานแบบนี้ไม่มากนักบนแผ่นดินสยาม ภาพของฐานทรงกลมเช่นนี้ได้สร้างความตื่นตะลึงให้แก่วงการโบราณคดี เพราะโดยปกติแล้วสิ่งก่อสร้างใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าเจดีย์ วิหาร อุโบสถ มณฑป กุฏิ ศาลา ที่พบในทุกๆ อารยธรรมอุษาคเนย์มักจบฐานล่างลงด้วยผังรูปสี่เหลี่ยมเสมอ นอกเหนือไปจากฐานเจดีย์ทรงลอมฟางหรือทรงกระบอกที่กู่ช้างในจังหวัดลำพูนแล้วนั้น ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฐานมณฑปที่เวียงเกาะกลางมีลักษณะคล้ายกับฐานสระมรกตที่อำเภอดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี สระมรกตที่ปราจีนฯ มีต้นกำเนิดมาจากวิหารเมืองนาคารชุณโกณฑะในวัฒนธรรมอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑) ซึ่งอมราวดีเป็นแผ่นดินต้นกำเนิดของชาวมอญตะเลงคณา (แขกกลิงค์) ที่อพยพจากแคว้นกลิงคราษฎร์ของอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ มาตั้งรกรากอยู่ในสุวรรณภูมิจนกลายเป็นบรรพชนของคนมอญ ฐานมณฑปกลางน้ำที่เวียงเกาะกลางนี้ ลึกลงไปเป็นแท่งทรงกระบอกสูง คือจงใจสร้างแต่งขอบฐานให้ตั้งอยู่กลางสระน้ำ มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันตก แสดงว่าในอดีตแม่น้ำผิงเคยไหลผ่านด้านนี้มาก่อน ไม่ใช่ไหลผ่านด้านทิศเหนือของเวียงเกาะกลางเหมือนในปัจจุบัน ผิวอิฐมีร่องรอยของการถูกสายน้ำกัดกร่อนนานหลายศตวรรษ เมื่อขึ้นพ้นบันไดจากสระน้ำ พบว่าฐานกลมชั้นล่างแต่งขอบเป็นทางเดินคล้ายลานประทักษิณโดยรอบ มีการขุดพบผางประทีป (ตะคันดินเผาที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นจานเทียน) ฝังอยู่โดยรอบลานประทักษิณร่วมสองพันชิ้น แสดงว่าในอดีตเคยมีการเดินเวียนเทียนรอบมณฑปนี้อย่างเป็นกิจจะลักษณะ

แล้วสิ่งที่ผู้คนไปเดินเวียนเทียนเพื่อนมัสการนั้นคืออะไรกัน ที่แน่ๆ ไม่ใช่ประภาคาร-ศาลเพียงตา นอกจากนี้ ยังมีความแปลกประหลาดอีกหลายประการ อาทิ ประติมากรรมปูนปั้นที่ค้นพบใต้ชั้นดินจำนวนสองพันกว่าชิ้นนั้น ล้วนไม่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพุทธศิลป์เลย มีแต่เทวดาและสัตว์หิมพานต์ (ซึ่งจักกล่าวอย่างละเอียดในตอนต่อๆ ไป) ทำให้บางท่านสันนิษฐานว่าเป็นเทวาลัยของศาสนาฮินดูหรือเปล่า เพราะไม่มีลักษณะใดเลยที่บ่งชี้ว่าจะเป็นอาคารทางพุทธศาสนา บางท่านเห็นว่าจากรูปทรงของการทำเสาแกนกลาง และเปิดซุ้มโขงโล่งสี่ทิศ อาจเป็นสัญลักษณ์ของ “เสาอินทขีล” หรือเสาหลักเมืองก็เป็นได้ หรือการที่มีสัตว์หิมพานต์จำนวนมากมายมหาศาลมาประดับตกแต่งโดยรอบเช่นนี้ อาจตั้งใจสร้างให้เป็น “เขาพระสุเมรุ” หรือไม่ บางท่านว่าอาจเป็น “สังฆเจดีย์” หรือที่เรียกว่า “ซากว์เฆียะม้อย” เพราะชาวมอญมักสร้างเจดีย์กลางน้ำ ดังเช่นที่พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ บ้างก็เสนอว่าอาจเป็น “อุทกสีมา” (อุทก-น้ำ, สีมา-หินปักบอกเขตอุโบสถ) หรือโบสถ์กลางน้ำ ดังที่ชาวมอญเรียกว่า “เมียะเต่งตัน” เมียะ แปลว่ามรกต โดยนำความกลมของลานประทักษิณของมณฑปเวียงเกาะกลางไปเปรียบเทียบกับซากโบราณสถานของสระมรกต จังหวัดปราจีนบุรี ที่มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่สมัยทวารวดี

ที่มา เพ็ญสุภา สุขคตะ,มติชนสุดสัปดาห์
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 18 เม.ย. 2017 8:57 am

ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่ไม้ค้ำสะหลี-ไม้ค้ำโพธิ์ ของล้านนา

ไม้ค้ำจอมทอง.jpg
ไม้ค้ำจอมทอง.jpg (99.5 KiB) เปิดดู 10276 ครั้ง


การแห่ไม้ค้ำสะหลี หรือการแห่ไม้ค้ำต้นโพธิ์ อันหมายถึงพระศรีมหาโพธิ์ เป็นพิธีกรรมที่ขยายจากการที่ปัจเจกชนนำไม้ค้ำที่ตนได้จัดทำขึ้นไปค้ำที่ต้นโพธิ์ ไม้ค้ำดังกล่าวอาจได้มาจากไม้ง่ามที่ใช้ในพิธีสืบชาตาหรือไม้ค้ำที่จัดหา ขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องในการถวายทานในเทศกาลสงกรานต์ การที่ได้นำเอาไม้ค้ำไปค้ำที่ต้นโพธิ์นี้ อาจจัดเป็นสัญลักษณ์หมายความว่าผู้นั้นมีส่วนในการค้ำชูพระพุทธศาสนา พบว่าต้นโพธิ์ที่มีไม้ค้ำมากที่สุด คือต้นโพธิ์ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง แต่ในบางท้องถิ่นแล้ว แทนที่แต่ละคนจะนำเอาไม้ค้ำไปค้ำต้นโพธิ์ตามประสงค์ของแต่ละคนนั้น เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ก็จะนัดหมายให้ชาวบ้านร่วมกันไปหาไม้ค้ำซึ่งจะมีขนาดใหญ่แล้วตกแต่งให้งาม จากนั้นจึงทำพิธีแห่ไม้ค้ำนั้นร่วมขบวนกันเพื่อไปถวายวัดและนำไปค้ำต้นโพธิ์ ดังจะเห็นได้จากกรณีของศรัทธาชาวบ้านในอำเภอจอมทองและอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
ประชาชนในถิ่นดังกล่าว นั้นถือว่า เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์แล้ว ทุกคนควรจะทำพิธีสืบชะตาของตนเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองที่ตนเองได้มีชีวิตอย่าง มีความสุขผ่านพ้นไปอีกหนึ่งปีและเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ตนเองที่จะต้องผจญ โลกอย่างมีความสุขในปีต่อไปอีกด้วย อุปกรณ์ส่วนหนึ่งในพิธีสืบชาตาราศีดังกล่าวคือไม้ที่มีง่ามขนาดต่างๆ สุดแล้วแต่ความพอใจ แต่ขอให้เป็นไม้ที่มีลักษณะเป็นง่ามและเป็นไม้ที่ตัดมาใหม่ๆ แล้ว นำไปเข้าพิธีสืบชะตา เสร็จแล้วจะนำไปตั้งค้ำต้นโพธิ์ที่อยู่ใกล้บ้าน ส่วนมากจะนำไปค้ำต้นโพธิ์ต้นใหญ่ที่มีอยู่ตามวัดต่างๆ ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่นั้น ชาวบ้านนิยมนำไปค้ำต้นโพธิ์ที่วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารและวัดต่าง ๆ ที่ตนเองและครอบครัวทำบุญเป็นประจำ

ในตอนเริ่มแรกก่อนที่พิธีการดังกล่าวจะถูกยึดถือปฏิบัติจนกลายมาเป็นประเพณีแห่งไม้ค้ำโพธิ์อย่าง ทุกวันนี้ ประชาชนยังไม่มีความคิดที่จะทำร่วมกัน ต่างคนต่างไปจัดหาและทำพิธีสืบชาตาราศีแล้วนำไม้ไปค้ำต้นโพธิ์เอง ต่อมาเมื่อได้ทำเป็นประจำทุกๆ ปี นานๆ เข้าพอถึงวันที่ ๑ - ๑๔ เมษายนของทุกปี ประชาชนก็ได้รวมกันเป็นหมวด เป็นหมู่บ้าน เป็นตำบล เช่น จัดรวมกันเป็นหมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านหลวง หมู่ที่ ๖ ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง เป็นต้น ต่างจัดหาไม้ง่ามที่มีลักษณะดีงามแล้วนำมาตกแต่งด้วยการทาขมิ้น และประดับกระดาษสี จากนั้นจึงนำขึ้นเกวียนแห่ไปทำพิธีค้ำต้นโพธิ์ในวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ในช่วงที่แห่ไปนั้น นอกจาจะมีผู้คนทั้งผู้เฒ่าผู้แก่หนุ่มสาวเข้าขบวนที่แต่งกายงดงามตามประเพณี พื้นเมืองแล้ว ยังมีการละเล่นแบบพื้นเมืองด้วย เช่น การฟ้อนเชิง ( อ่าน ” ฟ้อนเจิง ”) หรือร่ายรำในท่าต่อสู้ ขับเพลงซอเล่นดนตรีพื้นเมืองและแห่เป็นรูปขบวนไป และสองข้างทางที่ขบวนแห่ไม้ค้ำโพธิ์ง่ามจะมีการรดน้ำดำหัวอวยชัยให้พรกัน สนุกสนานไปด้วย

ต่อมาเมื่อประมาณ ๒๐ กว่าปีนี้ ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ก็ได้รับการปรับปรุงพัฒนาขึ้นตามยุคตามสมัย โดยเฉพาะในด้านการตกแต่งประดับประดาให้เข้าแบบมากขึ้น แทนที่ต่างคนต่างแห่ไปคนละเวลา ก็ได้พัฒนาเป็นการแห่ในเวลาเดียวกัน โดยมีการนัดหมายให้ไปพร้อมกัน ณ จุดใดจุดหนึ่ง แล้วเคลื่อนขบวนแห่ไม้ค้ำโพธิ์ของแต่ละกลุ่มแห่ไปยังวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร เป็นรูปขบวนยาวเหยียดมองดูสวยงาม นับว่าเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะให้มั่นคงยิ่งขึ้น ดนตรีที่นำมาแห่นอกจากจะมีดนตรีพื้นเมืองแล้วยังมีดนตรีสากลเข้าร่วม ประยุกต์ด้วยตามกาลสมัย ต่อมาทางราชการได้มองเห็นความสำคัญของประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอันนี้ใน เรื่องของประเพณีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอจอมทอง และในเรื่องของการส่งเสริมการท่องเที่ยวจึงได้เชิญชวนหน่วยงาน องค์กร รัฐวิสาหกิจ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนภายในอำเภอจอมทอง ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แต่ละกลุ่มไปดำเนินการประดับตกแต่งขบวนแห่ไม้ ค้ำโพธิ์ให้สวยงาม และจัดให้มีการประกวดและมอบรางวัลให้แก่ขบวนแห่ไม้ค้ำโพธิ์เพื่อเป็นการให้ กำลังใจแก่ประชาชนที่ยึดถือประเพณีนี้ด้วย

ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่ไม้ค้ำสะหลีที่อำเภอจอมทองมีอยู่ว่า เมื่อปี ๒๓๑๔ ครูบาปุ๊ด หรือครูบาพุทธิมาวังโส เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๔ ของวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารในขณะนั้น ได้เกิดลมพายุใหญ่พัดเอากิ่งไม้สะหลี (ต้นโพธิ์) ภายในวัดหักลงมา ต่อมาครูบาปุ๊ดเข้าจำวัดและเกิดนิมิตขึ้นว่า มีเทวดามาบอกว่าที่เกิดเหตุอาเพศลมพัดกิ่งไม้สะหลีหักนั้นเป็นเพราะครูบาปุ๊ดไม่ตั้งใจปฎิบัติธรรมโดยเคร่งครัด

ไม้ค้ำจอมทอง1.jpg
ไม้ค้ำจอมทอง1.jpg (102.96 KiB) เปิดดู 10276 ครั้ง


ต่อมาครูบาปุ๊ดจึงตั้งใจปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมอภิญญาณ และได้บอกเล่าเหตุการณ์ที่ไม้สะหลีหักต่อชาวบ้านที่มาร่วมประชุมฟังเทศน์ ที่ประชุมจึงตกลงไว้ว่า ปีต่อไปประมาณเดือนเมษายน จะร่วมกันไปตัดไม้ง่ามมาช่วยกันค้ำกิ่งต้นไม้สะหลีเอาไว้กันลมพัดหักโค่น และต่อมาในทุกช่วงเดือนเมษายน ในวันพญาวัน คือวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกปี ครูบาปุ๊ดและชาวบ้านได้กำหนดให้มีประเพณีการทำบุญแห่ไม้ค้ำโพธิ์ หรือไม้ค้ำสะหลี


ปัจจุบัน งานประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ของอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ยังคงเป็นงานใหญ่ที่ชาวจอมทองยังคงสืบสานไว้อย่างดี ในวันแห่ไม้ค้ำสะหลี ชาวจอมทองไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนต่างก็จะพากันกลับบ้านมารดน้ำดำหัวบุพการีและร่วมกันแห่ไม้ค้ำสะหลีมายังวัดพระธาตุศรีจอมทองฯ กันอย่างเนืองแน่น โดยแต่ละคุ้มบ้าน ชุมชน และห้างร้านต่างๆ จะจัดขบวนรถรวมกว่า ๓๐ ขบวน แห่ไม้ค้ำสะหลีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ไปรอบเมืองจอมทอง ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังวัดพระบรมธาตุศรีจอมทองฯ ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้เฒ่าผู้แก่จะมาร่วมขบวนแห่พร้อมทั้งฟ้อนรำอย่างสนุกสนานตามจังหวะเสียงดนตรีพื้นเมืองอีกด้วย

เมื่อถึงวัดพระธาตุศรีจอมทองฯ ทุกคนจะร่วมกันถวายไม้ค้ำสะหลี ค้ำต้นโพธิ์ให้มั่นคงแข็งแรง อีกทั้งทางวัดยังได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่อยู่ในองค์เจดีย์ออกมาให้ประชาชนร่วมสรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย

ที่มา เว็บไซต์ล้านนาคดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ,ผู้จัดการ
ภาพ : ประเพณีแห่ไม้ค้ำจอมทอง จากเพจอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 15 พ.ค. 2017 2:51 pm

ร.ต.ต.นคร ไชยศิลป์ ตำรวจ ๕ แผ่นดิน

BBzZ7sl.jpg
BBzZ7sl.jpg (49.79 KiB) เปิดดู 10017 ครั้ง


ณ ชุมชนวัดเกต จังหวัดเชียงใหม่ มีอดีตตำรวจอายุยืนนับ ๑๐๐ ปี อยู่มา ๕ แผ่นดินอาศัยอยู่ โดยท่านเป็นที่เคารพของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ในวันสำคัญต่างๆชาวบ้านมักจะไปขอพรและขอเคล็ดลับการมีอายุยืนจากอดีตตำรวจท่านนี้อยู่ตลอด ท่านคือ ร.ต.ต.นคร ไชยศิลป์ อายุ ๑๐๐ ปี กับ ๕ เดือน (เกิดปี พ.ศ.๒๔๖๐) ร.ต.ต.นคร นั้นเป็นตำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ จนเกษียณอายุราชการได้รับเกียรติคุณจากกรมตำรวจเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๐ ซึ่งแม้เวลาจากการเกษียณอายุราชการผ่านมา ๔๐ ปี ร.ต.ต.นคร ยังมีสุขภาพแข็งแรง เป็นนายตำรวจที่อายุยืนที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งยังคงเก็บของที่ระลึกในอดีตไว้ เช่น หมวกที่เคยสวมใส่ในอดีต กระบี่พระราชทาน และเคยได้รับเครื่องราชจักมาลา เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๗ จากในหลวงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งตอนนั้นได้ยศสิบตำรวจเอกนคร ไชยศิลป์ จากคำบอกเล่า ร.ต.ต.นคร เป็นคนอารมณ์ดี แม้ปัจจุบันร่างกายจะแก่ชรา เดินไม่ได้ ต้องนั่งรถเข็น แต่ก็ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บใดๆให้กังวลใจ ลูกหลานคอยดูแลใกล้ชิด โดยมีเคล็ดลับในการดำรงชีวิตที่ยืนยาวคือ กินน้ำพริกกับผักทุกวัน และดื่มเบียร์เพียงวันละนิด
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อังคาร 16 พ.ค. 2017 6:13 am

วัดเก่าแก่ที่ปัจจุบันจมอยู่ใต้เขื่อนภูมิพล

วัดเก่าแก่ปัจจุบันจมเขื่อนภูมิพล.jpg
วัดเก่าแก่ปัจจุบันจมเขื่อนภูมิพล.jpg (86.15 KiB) เปิดดู 10107 ครั้ง


วัดจมเขื่อนภูมิพล บุญเสริมถ่าย.jpg
วัดจมเขื่อนภูมิพล บุญเสริมถ่าย.jpg (115.36 KiB) เปิดดู 10107 ครั้ง


ภาพ : บุญเสริม ศาสตราภัย
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 28 พ.ค. 2017 9:35 am

ตำนานเสาอินทขิล

Image.jpg
Image.jpg (39.52 KiB) เปิดดู 11899 ครั้ง


เสาอินทขิลมีความสำคัญต่อชาวล้านนามาแต่โบราณ ชาวเมืองจะมีการสักการบูชาเสาอินทขิลอันเป็นหลักบ้านหลักเมืองเพื่อให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นเป็นประจำทุกปี ในด้านความเป็นมาของเสาอินทขิลนี้เท่าที่ปรากฏในหนังสือตำนานสุวรรณ คำแดง (พระมหาหมื่น วัดเจดีย์หลวง) แปลจากอักษรพื้นเมือง มีความดังนี้

ในกาลก่อนโน้นบริเวณที่ตั้งเมืองเชียงใหม่นี้ เป็นที่ตั้งของพวกลัวะ และลัวะที่อาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ถูกผีรบกวนต่าง ๆ นานา เป็นที่เดือดร้อนทั่วบ้านทั่วเมือง พระอินทร์ทรงเล็งเห็นความเดือดร้อนของพลเมือง ก็คิดจะช่วยเหลือโดยบอกให้ชาวเมืองถือศีลรักษาสัตย์บ้านเมืองจึงจะรอดปลอดภัยจากอันตราย ชาวเมืองก็เชื่อฟังและปฏิบัติตาม เมื่อพระอินทร์ทรงเห็นว่าประชาชนมีสัตย์ดี ก็บันดาลให้บ่อเงินบ่อททองและบ่อแก้วขึ้นภายในเมือง และให้ชาวเมืองอธิบานเอาตามปรารถนา ในสมัยนั้นชาวเมืองชาวเมืองมีอยู่ ๙ ตระกูล คงจะเป็นตระกูลใหญ่ทำนองเดียวกับพวกแปะแช่ของพวกจีน พวกลัวะ ๙ ตระกูล นั้นแบ่งพวกออกเป็นหมู่ ๆ ละ ๓ ตระกลู ค่อยอยู่เฝ้ารักษาบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้วนั้น พวกลัวะทั้ง ๙ ตระกูลนี้เองทำให้เมืองนี้ได้ชื่อว่า "เมืองนพบุรี” ต่อมาพวกลัวะ ๙ ตระกูลนั้นได้สร้างเวียงสวนดอกขึ้น และอาศัยอยู่ภายในเมืองนั้นด้วยความเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลานาน บรรดาลัวะทั้งหลายต่างก็มีความสุขกายสบายใจ เพราะมีของทิพย์เกิดขึ้นในเมืองตน ไม่ต้องทำมาหากินก็มีใช้ ขุดเอาแก้ว เงิน ทอง จากบ่อไปขายก็พอกิน ต่อจากนั้น ข่าวความอุดมสมบูรณ์ของเมืองนพบุรีที่มีบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว ของทิพย์เกิดขึ้นในเมืองก็เป็นที่เลื่องลือทั่วไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ ทั้งใกล้เคียงและห่างไกล พวกหัวเมืองต่าง ๆ ที่ได้ข่าวก็จัดแต่งรี้พลเป็นกองศึก ยกมาชิงเอาบ่อเงิน บ่อทอง และบ่อแก้ว พวกชาวเมืองได้ทราบข่าวศึก ดังนั้นก็มีความตกใจและหวาดหวั่นในการศึก จึงนำความไปให้แก่ฤๅษีที่มาจำศีลภาวนาอยู่บริเวณนั้นให้ช่วยเหลือ ฤๅษีจึงเอาความนั้นไปกราบทูลให้พระอินทร์ พระอินทร์ทรงทราบจึงเรียกกุมภกัณฑ์มา ๒ ตน แล้วให้ไปขุดเอาอินทขิลแหลมกลางใส่สาแหรกเหล็ก ให้ยักษ์ ๒ ตนหาบลงไปฝังที่เมืองนพบุรี

เสาอินทขิลดังกล่าวมีฤทธิ์มาก ด้วยอิทธิอำนาจของเสาอินทขิลนี้เองบันดาลให้พวกข้าศึกที่ยกกองทัพมาชิงเอาเมืองนพบุรีนั้นกลายร่างเป็นพ่อค้ากันหมด และเมื่อพวกพ่อค้าเหล่านี้เข้าไปในเมืองพวกลัวะ ชาวเมืองก็ถามว่าท่านมีประสงค์ต้องการสิ่งใด หรือ พวกค้าก็ตอบว่า พวกเรามีความต้องการอยากได้แก้ว เงิน ทองในเมืองของท่าน พวกชาวเมืองก็ตอบว่า พวกท่านอยากได้สิ่งใดก็อธิษฐานเอาตามปรารถนาเถิด ขอแต่ให้ท่านรักษาความสัตย์ขอสิ่งใดจงเอาสิ่งนั้น อย่าได้ละโมบไปในสิ่งอื่นด้วยก็แล้วกัน พวกพ่อค้าได้ยินดังนั้นก็มีความดีใจ ต่างก็สัจจาธิษฐานบูชาขอแก้ว เงิน ทอง ตามความปรารถนา พวกพ่อค้าเหล่านี้ได้มาอธิษฐานขออยู่ทุกปี บางคนก็ทำพิธีขอเอาตามพิธีการของพวกลัวะ บางคนก็ถือวิสาสะหยิบเอาไปเสียเฉย ๆ ไม่ปฏิบัติบูชา มิหนำซ้ำยังเอาท่อนไม้ ก้อนอิฐ ก้อนดิน และอาจมีของโสโครกขว้างทิ้งบริเวณนั้น และไม่ทำพลีกรรมบวงสรวงยักษ์กุมภัณฑ์สองตนซึ่งเฝ้าอยู่นั้น กุมภัณฑ์สองตนเห็นว่าคนพวกนั้นไม่มีความนับถือตนก็โมโห จึงพากันหามเอาเสาอินทขิลกลับขึ้นไปบนสวรรค์เสีย นับแต่นั้นมาบ่อเงิน บ่อทองและบ่อแก้ว ก็เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ไป พวกคนนั้นจะไปขอสิ่งใดก็ไม่ได้ พวกพ่อค้าเหล่านั้นจึงขาดลาภ และต่างก็พากันกลับไปยังบ้านเกิดของตนเสีย

วันหนึ่งลัวะผู้เฒ่าซึ่งเคยไปสักการะบูชาเสาอินทขิลเสมอได้เอาดอกไม้ธูปเทียนจะไปบูชาเสาอินทขิล ก็ปรากฏว่ายักษ์สองตนนั้นหามกลับไปบนสวรรค์เสียแล้ว ลัวะผู้เฒ่ามีความเสียใจมากจึงร้องไห้ และละจากเพศคฤหัสถ์ไปถือเพศเป็นชีปะขาวบำเพ็ญศีลภาวนาอยู่ใต้ต้นยาง(เข้าใจว่าคงไม่ใช้ต้นยางปัจจุบัน) เป็นเวลานานถึง ๒ ปี ก็มีพระเถระเจ้าองค์หนึ่งจาริกมาแต่ป่าหิมพานต์ ทำนายว่าต่อไปบ้านเมืองนี้จะถึงกาลวิบัติ พวกลัวะได้ยินดังนั้นก็มีความกลัวเกรงเป็นอันมาก จึงขอร้องให้พระเถระองค์นั้นช่วยเหลือให้พ้นภัยพิบัติ พระเถระเจ้าก็รับปากว่าจะช่วยเหลือและได้ขึ้นไปขอความช่วยเหลือจากพระอินทร์ พระอินทร์ทรงบอกว่าให้ชาวเมืองหล่ออ่างขาง (กระทะใหญ่) หนา ๘ นิ้วมือขวาง กว้าง ๘ ศอก ขุดหลุมอีก ๘ ศอก แล้วให้ปั้นรูปสัตว์ทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้อย่างละ ๑ คู่ ปั้นรูปคนทั้งหลายให้ครบ ร้อยเอ็ดเจ็ดภาษา เป็นรูปช้าง ๑ คู่ ม้า ๑ คู่ แล้วเอารูปปั้นเหล่านี้ใส่ลงในกระทะเอาฝังในหลุมนั้น แล้วก็เอาดินถมไว้แล้วก่อสร้างเสาอินทขิลไว้เบื้องบน และให้ทำพิธีสักการะให้เหมือนกับเสาอินทขิลจริง ๆ เถิด บ้านเมืองจะพ้นภัยพิบัติ

พระเถระก็นำความมาแจ้งแก่ชาวเมืองได้ทราบ ดังนั้นจึงปฏิบัติตามคำของพระอินทร์ทุกประการ และได้ทำพิธีบวงสรวงสักการบูชาเสาอินทขิลและรูปกุมภกัณฑ์ที่สร้างเทียมไว้นั้นแทนเสาจริง ๆ มิได้ขาด บ้านเมืองก็รอดพ้นจากภัยพิบัติตามที่พระเถระได้ทำนายไว้ และเจริญรุ่งเรือวงสืบมา จึงมีประเพณีสักการบูชาเสาอินทขิลมาตราบกระทั่งทุกวันนี้

ครั้นต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิละได้ครองเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงให้สร้างกุมภกัณฑ์และฤๅษีไว้พร้อมกับเสาอินทขิลนั้นด้วย เพื่อจะให้พวกประชาชนชาวเมืองได้สักการบูชาสืบต่อไป

ครูบาเถิ้ม เจ้าอาวาสวัดแสนฝางซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงทางไสยศาสตร์ครั้งนั้นเห็นว่ากุมภกัณฑ์เฮี้ยนนัก จึงทำพิธีไสยศาสตร์ตัดศีรษะกุมภกัณฑ์ออกเสีย แล้วต่อใหม่เพื่อให้ความขลังลดลง นับแต่นั้นมากุมภกัณฑ์ก็เลยลดความเฮี้ยนลงมาจนกระทั่งปัจจุบัน
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » ศุกร์ 02 มิ.ย. 2017 9:55 pm

เฮือนพญาป๋งลังก๋าสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓

เรือนพญาป๋งลังก๋าสร้าง2439.jpg
เรือนพญาป๋งลังก๋าสร้าง2439.jpg (133.43 KiB) เปิดดู 11887 ครั้ง


“เรือนพญาปงลังกา” ตั้งตามชื่อของผู้เป็นต้นตระกูล สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ โดย พ่อน้อยถาและแม่หน้อย ซึ่งเป็นลูกเขยและลูกสาวของ พญาปงลังกา ต่อมาเรือนหลังนี้กลายเป็นมรดกตกทอดไปยัง แม่อุ๊ยคำใส ถาวร ลูกสาวพ่อน้อยถาและแม่หน้อย จนถึงรุ่นหลานในยุคปัจจุบัน คือ คุณจรัส มณีสอน ทายาทรุ่นโหลนของพญาปงลังกา เรือนหลังนี้สร้างเมื่อ แม่อุ๊ยคำใส ถาวร อายุประมาณ ๓ ขวบ เมื่อเวลาผ่านไปความทรุดโทรมของสภาพเรือนก็เพิ่มมากขึ้น คุณพูนสวัสดิ์ ทองประดี และคุณจรัส มณีสอน ทราบว่าสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มีการอนุรักษ์เรือนโบราณ จึงตัดสินใจมอบเรือนหลังนี้ให้ โดยมีมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนเรือน จากบ้านเลขที่ ๗๖๙ หมู่ ๔ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วนำมาปลูกสร้างใหม่ตามแบบพิธีกรรมทางล้านนา เพื่อความเป็นสิริมงคล ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นเรือนที่สร้างจากไม้เนื้อแข็งทั้งหลังมุงหลังคาด้วย “ดินขอ” มีขนาดใหญ่ปานกลาง ถือเป็นเรือนของผู้มีฐานะ รูปแบบของเรือนคลี่คลายมาจากเรือนกาแลดั้งเดิม แต่ลักษณะการจัดพื้นที่ใช้สอยยังคงไม่แตกต่างไปจากเรือนรุ่นก่อนมากนัก โดยสร้างเป็นเรือนขนาดสองจั่วยกพื้นสูง เรือนใหญ่เป็น “เฮือนนอน” และมี “เติ๋น” เป็นพื้นที่โล่งกว้างเปิดฝาผนังด้านเดียวอยู่ด้านหน้าเรือน สำหรับนั่งทำงาน รับรองรับแขกและใช้พักผ่อนในเวลากลางวัน ส่วนเรือนเล็กทางด้านตะวันออกคือ “เฮือนไฟ” หรือห้องครัว มีประตูด้านหน้าออกไปยังชานระเบียงขนาดเล็ก ที่เชื่อมกับบันไดทางขึ้นเรือน
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน

cron