เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 05 มิ.ย. 2019 9:45 pm

สะพานเหล็กข้ามแม่น้ำกก จังหวัดเชียงราย ในสมัยสงครามหาเอเชียบูรพา สะพานนี้ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดชำรุดบางส่วน ทางการต้องหาไม้มาปิดส่วนที่เสียหายไว้ ส่วนรถยนต์ที่เห็นนั้นเป็นรถยนต์โดยสารมาจากเมืองเชียงตุง ป้ายทะเบียKTG (Kentoong Government) ของพม่า พ.ศ.๒๔๙๑
ขัวข้ามกก.jpg
ขัวข้ามกก.jpg (17.95 KiB) เปิดดู 5789 ครั้ง

ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย

ตัวเมืองเชียงราย พ.ศ.๒๔๙๓ บริเวณถนนธนาลัย ส่วนคูหาใหญ่คือร้านซีเปียว
ที่มา : ณ โบราณกาล
เชียงราย2493.jpg
เชียงราย2493.jpg (27.75 KiB) เปิดดู 5789 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 08 มิ.ย. 2019 10:25 am

พ่อเลี้ยงหนานหล้า จากคนในบังคับอังกฤษ สู่การเป็นหมอในเมืองดอกคำใต้
สมัยรัชกาลที่ ๗ (หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕) ชึ่งเป็นยุคที่คนต่างด้าว และชนกลุ่มน้อย พากันอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในภาคเหนือเป็นจำนวนมาก

98127.jpg
98127.jpg (49.21 KiB) เปิดดู 5777 ครั้ง


นายหล้า หมอหล้า หรือ พ่อเลี้ยงหนานหล้า คือ หมอยาพื้นบ้าน (หมอเมือง) ชาวสิบสองปันนา เกิดที่เมืองราย(ฮาย) จังหวัดสิบสองปันนา ประเทศจีน เกิดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๒๐ จากนั้นมีการเดินทางอพยพเข้ามายังดินแดนล้านนา ภายใต้การเป็นคนในบังคับของอังกฤษ

คนในบังคับของอังกฤษ หมายถึง เป็นคนต่างด้าว ที่ไม่ใช่คนสยามแต่กำเนิด แต่เข้าอยู่ในความดูแลของประเทศอังกฤษด้วยสาเหตุสองประการ คือ เป็นลูกจ้างของบริษัทค้าไม้ของอังกฤษ หรือประเทศเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ เรื่องคนในบังคับอังกฤษนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำสนธิสัญาเบาว์ริ่ง สมัย ร.๔ ในส่วนของสิทธิสภาพนอกอาณาเขต นั่นเอง

98128.jpg
98128.jpg (79.16 KiB) เปิดดู 5777 ครั้ง


พ่อเลี้ยงหนานหล้า เป็นหมอยาพื้นบ้าน ที่มีภูมิปัญญา การรักษาโรคผิดเดือน (อาการแสลง
ของคนหลังคลอดลูก)ที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น คนไข้บางคนเดินทางไกลจากเชียงรายมายังบ้านฝั่งหมิ่น อำเภอดอกคำใต้ เพื่อให้พ่อเลี้ยงหนานหล้าทำการรักษา และสามารถหายจากโรคผิดเดือนได้

แม่แสง พรมธิราช หลานสาวของพ่อเลี้ยงหนานหล้าเล่าว่า อาการคนผิดเดือนที่เคยเห็น บางคนมีอาการคุ้มคลั่ง เหมือนคนบ้าการรักษาจึงต้องจับมัดติดเสาเรือนไว้ จากนั้นจึงเริ่มการรักษาโดยการเจาะเอาเลือดบางส่วนออกจากร่างกาย จากนั้นจึงทยอยให้ยาพื้นบ้านตามสูตรของหมอหล้า บางรายหายใน ๑ เดือน บางราย ๓ เดือน นานสุด

ปัจจุบันยารักษาโรคผิดเดือน ได้รับการสืบต่อโดยแม่แสง ผู้เป็นหลานสาว ชึ่งนับเป็นภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่าของบรรพบุรุษ ผู้เดินทางรอนแรมจากเส้นทางที่ยาวไกล เพื่อมาตั้งรกรากถิ่นฐานในบ้านฝั่งหมิ่น ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
ข้อมูลและภาพถ่าย : ทีมวิจัยท้องถิ่นตำบลดอกคำใต้
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 10 มิ.ย. 2019 10:56 pm

ภาพพระเจ้าตนหลวงเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๕๖
ถ่ายโดย เรจินาลด์ เลอ เมย์ (Reginald le may) อดีต รองกงสุลอังกฤษประจำเชียงใหม่ เมื่อครามาสำรวจเมืองพะเยา
พระเจ้าตนหลวง เป็นพระประธานอยู่ในวิหารวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๐๓๔ ตรงกับรัชสมัยของพญายอดเชียงราย กษัตริย์ล้านนาแห่งราชวงศ์มังราย พระเจ้าตนหลวงเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะสกุลช่างเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในดินแดนล้านนา

พระเจ้าตนหลวงเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยา เดิมชื่อ พระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยงเมืองพะเยา เนื่องจากสร้างขึ้นบริเวณริมหนองเอี้ยง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๒ กรมประมงได้มีการก่อสร้างประตูกั้นน้ำ ทำให้น้ำแม่อิงและลำห้วยต่าง ๆ เอ่อล้นท่วมหนองเอี้ยงเป็นบริเวณกว้าง จนเกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ ซึ่งภายหลังเรียกว่ากว๊านพะเยา ทำให้พระเจ้าตนหลวงประดิษฐานอยู่ริมกว๊านพะเยามาจนถึงทุกวันนี้

ตำนานพระเจ้าตนหลวง
เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จเดินทางออกโปรดสัตว์ในดินแดนสุวรรณภูมิตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก ได้เสด็จมาเมืองพะเยา ขณะนั้นมียักษ์ตนหนึ่งไม่ได้กินอะไรมา ๗ วัน เห็นพระพุทธเจ้าจึงไล่เลยไปจนเหนื่อย พระพุทธเจ้าจึงประทับรอยพระบาทบนแผ่นหิน ยักษ์คิดในใจว่าชายผู้นี้มีแรงมากแท้ สามารถเหยียบหินให้มีรอยเท้าได้ พระพุทธเจ้าจึงโปรดและให้ยักษ์รับศีลห้าไว้ และตรัสกับพระอานนท์ว่า ยักษ์วิ่งไล่เลย ภายหลังโจรจะมาอยู่ที่นี่และเรียกว่าเวียงเลย และได้พบกับตายายสองผัวเมีย ตายายสองผัวเมียไม่มีข้าวจึงถวายพลูและครกหินตำหมากพลู พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า ตายายสองผัวเมียได้ถวายพลูและครกหินตำหมากพลู ภายหน้าที่นี่จะเรียกว่าพลูปอ และเมืองนี้จะมีหินมากนัก พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นสู่จอมดอยและได้พบกับนายช่างทอง นายช่างทองได้ถวายข้าวปลาอาหารแด่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าฉันเสร็จแล้วได้ลูบพระเศียรประทานพระเกศาให้แก่นายช่างทอง นายช่างทองรับใส่กระบอกไม้รวก ภายหลังคือพระธาตุจอมทอง (ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา) พระพุทธเจ้าทรงกระหายน้ำ รับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำตรงหนองตีนดอยมาถวาย พระอานนท์จะตักน้ำแต่พญานาคชื่อธุมมสิกขีขัดขวางและเนรมิตหงอนให้เป็นควันปิดหนองไว้ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปประทับยืนข้างหนองน้ำ พญานาคจะพ่นควันแผ่พังพอนใส่ แต่ก็เห็นพระวรกายของพระพุทธเจ้าเต็มไปด้วยฉัพพรรณรังสี จึงทูลถามว่าเป็นใคร พระพุทธเจ้าได้แนะนำตัวและแสดงอภินิหารเนรมิตพระวรกายให้ใหญ่เท่ากับพระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า ประทับนั่ง พระวรกายสูง ๓๒ ศอก และเหยียบพญานาคธุมมสิขีจมลงไปในหนอง พญานาคธุมมสิกขีจึงรีบไปนำก้อนหินที่พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้าเคยประทับนั่งฉันภัตตาหาร มาให้พระพุทธเจ้าประทับนั่งฉันน้ำ พระพุทธเจ้ามีพุทธทำนายว่า ภายหลัง ตายายสองผัวเมียที่ถวายหมากพลูจะได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่เท่าพระกกุสันธพุทธเจ้าและสั่งให้พญานาคธุมมสิกขีนำคำ (ทอง) มามอบให้ตายายสองผัวเมีย

ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว พญายอดเชียงรายเป็นกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ พระเมืองยี่เป็นเจ้าเมืองพะเยา ตายายสองผัวเมียที่เคยถวายหมากพลูได้มาเกิดเป็น ตายายสองผัวเมีย ทำอาชีพเลี้ยงเป็ดเลี้ยงห่านขาย พญานาคธุมมสิกขีจึงเนรมิตกายเป็นชายนุ่งขาวห่มขาวนำคำ ๔๒๐,๕๐๐ บาท มามอบและบอกให้ตายายสองผัวเมียสร้างสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่เท่าพระกกุสันธพุทธเจ้า และเนรมิตกายตนให้เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่เท่ากับพระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า ประทับนั่ง พระวรกายสูง ๓๒ ศอก และหนีหายไป พ.ศ. ๒๐๓๔ ตายายสองผัวเมียจึงเริ่มถมสระหนองเอี้ยงและทำการปั้นอิฐ ใช้เวลาถึง ๓๓ ปีจึงทำการปั้นองค์พระ ทาปูน ทารัก ปิดทอง สำเร็จใน พ.ศ. ๒๐๖๗ ในรัชสมัยพญาแก้วเป็นกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ พระเมืองตู้เป็นเจ้าเมืองพะเยา พญาแก้วมีศรัทธาสร้างพระวิหารหลวงครอบพระเจ้าตนหลวง กำหนดเขตแดนของวัด และพญาแก้ว พระเมืองตู้ ได้กัลปนาถวายข้าพระ ๒๐ ครัวเรือน ให้เป็นข้าพระเจ้าตนหลวง ตั้งชื่อวัดว่า วัดศรีโคมคำ (เพราะเมื่อแรกสร้างพระเจ้าตนหลวง ตายายสองผัวเมียได้นำทองคำไปผูกกับปลายไม้แล้วปักลงกลางหนองเอี้ยง และประกาศให้คนนำดินมาปาทั้งกลางวันกลางคืน จนดินเต็มหนอง ตอนกลางคืนก็จุด "ผางกม"(ผางประทีบ) เพื่อให้คนได้เห็นคำ จนเป็นที่มาของคำว่า "กมคำ" (จุดกมขว้างคำ)และเป็น สะหรีกมคำ-เพี้ยนเป็น ศรีโคมคำ และ วัดศรีโคมคำในที่สุด

จังหวัดพะเยาจัดงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงขึ้นทุกปี ในเดือนหก หรือเดือนพฤษภาคม ช่วงสัปดาห์วิสาขบูชา เรียกว่าเทศกาลแปดเป็ง แปดเป็งหมายถึงคืนวันเพ็ญในเดือนแปด (นับตามปฏิทินจันทรคติแบบล้านนา) ตรงกับเดือนพฤษภาคม แปดเป็งมีความสำคัญ เกี่ยวเนื่องกับพระเจ้าตนหลวง ๕ ประการ ได้แก่
• เป็นวันที่เริ่มโยนหินก้อนแรกลงถมหนองเอี้ยง (กว๊านพะเยาในปัจจุบัน) เพื่อปรับปรุงพื้นที่ใช้สำหรับก่อปูนขึ้นเป็นองค์พระ
• เป็นวันเริ่มก่อสร้างองค์พระเจ้าตนหลวง
• เป็นวันที่สร้างองค์พระเสร็จสมบูรณ์
• เป็นวันเฉลิมฉลององค์พระครั้งแรก
• เป็นประเพณีที่ชาวบ้านถือปฏิบัติเป็นประจำทุกปี ในช่วงวันวิสาขบูชาหรือวันแปดเป็ง

เทศกาลแปดเป็ง จัดขึ้นภายในวัดศรีโคมคำ ช่วงกลางวันมีการทำบุญฉลององค์พระเจ้าตนหลวง พระประธานในวิหาร ช่วงกลางคืนมีการออกร้านขายของและมหรสพต่าง ๆ นอกจากงานเทศกาลแปดเป็งภายในวัดศรีโคมคำแล้ว สัปดาห์วันวิสาขบูชาของจังหวัดพะเยา นอกจากทางวัดศรีโคมคำจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงในช่วงดังกล่าวแล้ว วัดติโลกอาราม ซึ่งเป็นวัดที่จมอยู่ใต้กว๊านพะเยา ยังมีพิธีเวียนเทียนกลางน้ำในช่วงวันวิสาขบูชา ถือเป็นงานเทศกาลที่จัดขึ้นใกล้กัน นักท่องเที่ยวสามารถชมความงามของวัดศรีโคมคำ พระเจ้าตนหลวง กว๊านพะเยาและพิธีเวียนเทียนกลางน้ำของวัดติโลกอารามได้ในช่วงเวลาเดียวกัน

อ้างอิง
• จังหวัดพะเยาเปิดงานประเพณีแปดเป็งพระเจ้าตนหลวง กระดานสนทนา
• ข้อมูลจังหวัด/พะเยา/กิจกรรมและงานประเพณี
• “แปดเป็ง” ประเพณีวันเพ็ญเดือนแปดภาคเหนือ

62480036_2335675323192219_945976464023486464_n.jpg
62480036_2335675323192219_945976464023486464_n.jpg (80.49 KiB) เปิดดู 5719 ครั้ง



พระเจ้าตนหลวง
วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ และพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่๙ เสด็จฯ วัดพระเจ้าตนหลวง อ.พะเยา จ.เชียงราย ๖๑ ปี สมัยนั้นพะเยายังเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย
62082640_2335677399858678_8555901649103618048_n.jpg
62082640_2335677399858678_8555901649103618048_n.jpg (65.53 KiB) เปิดดู 5719 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 10 มิ.ย. 2019 10:59 pm

พาคนป่วยไปโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค จังหวัดเชียงราย เมื่อพ.ศ.๒๔๙๔
ที่มา : เชียงรายในอดีต
62258428_2335794866513598_7195072829375643648_n.jpg
62258428_2335794866513598_7195072829375643648_n.jpg (108.13 KiB) เปิดดู 5719 ครั้ง


62445056_2335794806513604_6157520601675202560_n.jpg
62445056_2335794806513604_6157520601675202560_n.jpg (75.04 KiB) เปิดดู 5719 ครั้ง


62020109_2335794923180259_1567963916909150208_n.jpg
62020109_2335794923180259_1567963916909150208_n.jpg (45.25 KiB) เปิดดู 5719 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 15 มิ.ย. 2019 4:47 pm

ฆ้องหลวง(กังสดาล) วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ไม่ทราบ พ.ศ.ที่ถ่ายภาพ
ฆ้องหลวงสร้างขึ้นโดยพระครูมหาเถร(ครูบาวัดป่าเมืองแพร่) และเจ้าหลวงเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ หล่อขึ้นที่วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ในปีวอก จ.ศ.๑๒๒๒ หรือปี พ.ศ.๒๔๐๓ เพื่อเป็นเครื่องบูชาองค์พระธาตุหริภุญชัย
64230047_643266412802901_359943367783612416_n.jpg
64230047_643266412802901_359943367783612416_n.jpg (44.65 KiB) เปิดดู 5687 ครั้ง


วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน พ.ศ. ๒๔๗๙
ภาพเก่าวัดพระธาตุหริภุญชัย ด้านหน้าเป็นกังสดาลใหญ่ ด้านหลังคือหอพระแก้วขาว พื้นที่ถัดไปนั้นแต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระนาก ต่อมาพระญามังรายได้อัญเชิญพระแก้วขาวไปประดิษฐานที่วัดเชียงมั่น ภายหลังได้เกิดวาตภัยหอพระแก้ว(หอพระนาก)พังเสียหาย จนต้องรื้อออก และย้ายหอกังสดาลขึ้นไปติดตั้งบนแท่นนั้นแทน ในปัจจุบันพระนากเหลือเพียงหน้ากากพระพักตร์ จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย
ภาพ : Disapong Netlomwong
100904.jpg
100904.jpg (67.41 KiB) เปิดดู 5687 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 15 มิ.ย. 2019 4:55 pm

บรรยากาศมุมหนึ่งของกว๊านพะเยา ไม่ทราบปีที่ถ่าย

101614.jpg
101614.jpg (12.05 KiB) เปิดดู 5686 ครั้ง


ใบเกิดคนเหนือ พ.ศ.๒๔๕๙ ปัจจุบันอายุ ๑๐๓ ปี
104864.jpg
104864.jpg (139.33 KiB) เปิดดู 5677 ครั้ง

ในอดีตมีการจารึกรายละเอียดการเกิดลงบนแผ่นไม้เนื่องจากมีอายุการใช้งานได้นาน ภาษาที่ใช้คืออักษรธรรม หรือตัวเมือง ในสมัยนั้นภาคเหนือจะเขียนด้วยตัวเมือง อู้ภาษาคำเมือง ภาษาไทยเข้ามาในล้านนา พ.ศ.๒๔๔๐ มีการจัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลในล้านนา โดยรัชกาลที่ ๕ ทรงอาราธนากรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นผู้อำนวยการ ให้กรมหลวงดำรงราชานุภาพเป็นผู้ช่วยเหลือกิจการฝ่ายฆราวาส และอาราธนาพระสงฆ์ให้ช่วยเหลือจัดการศึกษาแก่ประชาชน แต่พระครูบาไม่ให้ความร่วมมือ ในการจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือในวัด ล้านนาผนวกกับสยามเป็นมณฑลลาวเฉียงในปี ๒๔๓๗ และเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลพายัพในปี ๒๔๔๒ ล้านนาได้รับการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบ มณฑลเทศาภิบาล เป็นการยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราช และผนวกดินแดนล้านนาที่อยู่ใต้การปกครองของเชียงใหม่มาเป็นส่วนหนึ่งของสยาม โดยมีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายคือเจ้าแก้วนวรัฐ

การส่งข้าหลวงและข้าราชการกรุงเทพเข้ามาควบคุมเชียงใหม่ในระยะเริ่มต้น มีความลำบากด้านการสื่อสาร เพราะภาษาและวัฒนธรรมไม่ใคร่จะถูกกัน ชาวเชียงใหม่มักถูกผู้ที่มาจากกรุงเทพเรียกอย่างดูถูกว่า "ลาว" และมีการนำพฤติกรรมไปล้อเลียน เช่น "ลาวกินข้าวเหนียวยืนเยี่ยวอย่างควาย" การกระทำเช่นนี้ทำให้คนเชียงใหม่คั่งแค้น จึงมีการประดิษฐ์คำด่าสวนกลับว่า "ไทยกิ๋นข้าวจ้าว ง่าวเหมือนหมา" นอกจากนี้ คนเชียงใหม่ยังพูดถึงคนกรุงเทพและภาคกลางด้วยความหมั่นไส้ว่า "ไอ่ไทยตูดดำ"

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้มีประกาศ "พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔" ขึ้น บังคับให้เด็กเข้าเกณฑ์เรียนหนังสือ ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ และอยู่ในโรงเรียนจนถึงอายุ ๑๔ ปีบริบูรณ์ โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน โรงเรียนดังกล่าวจะสอนภาษาไทย ภาษาล้านนาจึงค่อยๆเลือนหายไป พร้อมๆกับพับสาใบลานที่แทบจะไม่หลงเหลือแล้ว...

ข้อมูล : ศิลปวัฒนธรรม , วิกิพีเดีย


#คนล้านนาโบราณมีความเป็นอยู่อย่างไร
โครงสร้างทางสังคมของล้านนา ประกอบด้วย ๔ ชนชั้น คือ
๑. ชนชั้นปกครอง คือกลุ่มเจ้านายขุนนาง เจ้านายเหล่านี้มีลักษณะพิเศษต่างจากเชื้อพระวงศ์จักรีคือ ราชวงศ์ทางเหนือจะสืบเชื้อสายต่อๆกันไปไม่มีสิ้นสุด ไม่มีการลดฐานันดรเพื่อจำกัดจำนวนเจ้า นอกจากเจ้านายแล้ว ยังมีชนชั้นขุนนางซึ่งมียศลดหลั่นกันไปตั้งแต่ พญา เจ้าแสน เจ้าหมื่น เจ้าพัน นายร้อย นายห้าสิบ นายซาว นายสิบ นายจ๊าง นายม้า นายบ้าน ขุนนางได้รับอภิสิทธิ์ไม่ต้องเสียภาษี มีที่ดินเป็นของตัวเอง และไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานเหมือนไพร่ แต่ถ้าขุนนางทำผิดจะต้องรับโทษหนักกว่าไพร่

๒. พระสงฆ์ พระสงฆ์ถือเป็นผู้นำทางจิตใจ เมื่อถึงยามคับขันพระสงฆ์ก็เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองได้ เช่นในช่วงพ.ศ.๒๒๗๒ -๒๒๗๕ พระอธิการวัดชมภูเมืองนครลำปาง เป็นผู้นำกอบกู้บ้านเมืองจากพม่า ประชาชนฝ่ายเหนือมีความยกย่องศรัทธาสถาบันสงฆ์มาก พระสงฆ์หลายองค์เป็นผู้นำการบูรณะสาธารณสถานต่างๆ

๓. ไพร่เมือง คือกลุ่มคนที่มีจำนวนมากสุดในสังคม รวมกันแล้วมีจำนวน ๒ ใน ๓ ของประชากรทั้งหมด ประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ

๔. ทาส ในภาคเหนือมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร นายทาสค่อนข้างอะลุ่มอล่วยไม่กดขี่ บ้านเมืองเองก็มีกฎหมายคุ้มครองทาส หากนายทาสไม่เอาใจใส่ดูแลทาส เช่น ทาสป่วยแต่ไม่ยอมรักษา หรือนายคิดร้ายต่อทาส เป็นชู้กับเมียทาส ฯลฯ นายทาสต้องปล่อยทาสเป็นอิสระพร้อมทั้งเสียค่าสินไหมแก่ทาส หากทาสไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถฟ้องร้องกับทางราชการได้ การที่ทาสมีความเป็นอยู่ดีเช่นนี้ ทำให้เกิดภาวะไพร่เมืองขายตัวเป็นทาสจำนวนมาก จนทางการต้องออกกฎหมายห้ามขุนนางรับไพร่บางประเภทเป็นทาส ทาสแบ่งเป็นสามประเภท คือ

๑. ทาสเชลย คือทาสที่ถูกกวาดต้อนมาจากการทำสงคราม

๒. ทาสสินไถ่ คือคนที่ขายตัวเองหรือถูกพ่อแม่ขายเป็นทาส

๓. ข้าวัด คือทาสที่ถูกยกให้แก่วัดเพื่อรับใช้ภิกษุสงฆ์ วัดมีกรรมสิทธิ์เหนือตัวทาส

จะเห็นได้ว่าคนล้านนามีคนเป็นทาสน้อยมาก และทาสไม่ได้ถูกกดขี่ข่มเหง คนทั่วไปจะเป็นชนชั้นไพร่ (ชาวเมืองทั่วไป) ในส่วนของขุนนางในราชสำนักหากทำความผิดจะต้องโทษหนักกว่าประชาชนธรรมดาเนื่องจากได้รับสิทธิ์และศักดิ์มากกว่าคนทั่วไป เพราะทำงานให้แผ่นดิน จึงต้องวางตนเป็นแบบอย่าง และหากทำผิดอาจจะมีผลกระทบต่อบ้านเมืองได้ ด้วยโครงสร้างสังคมเช่นนี้จึงทำให้วิถีชีวิตชาวล้านนานั้นร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา

FB_IMG_1549000748635_resize.jpg
FB_IMG_1549000748635_resize.jpg (92.84 KiB) เปิดดู 5677 ครั้ง


ขอบคุณเจ้าของภาพ
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 25 มิ.ย. 2019 7:59 pm

แม่อุ๊ยสา เทพวรรณ กับ แม่อุ๊ยบัวผัน เทพวรรณ ในประเพณีครัวทาน ปอยหลวง วัดหลวง ลำพูน พ.ศ.๒๔๖๐
ภาพ :มงคลรัฐ โอจรัสพร เอื้อเฟื้อภาพถ่าย

111104.jpg
111104.jpg (75.16 KiB) เปิดดู 5445 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 26 มิ.ย. 2019 9:36 pm

สันคือ ลำพูน.jpg
สันคือ ลำพูน.jpg (50.65 KiB) เปิดดู 5354 ครั้ง

เล่นสงกรานต์กันที่สันคือ ลำพูน
ภาพ : Naren Punyapu

ตำราดูลักษณะผู้หญิงล้านนาโบราณ

4908642640_resize.jpg
4908642640_resize.jpg (64.74 KiB) เปิดดู 5433 ครั้ง


กล่าวถึงลักษณะผู้หญิงก่อนแล

- ญิงใดคอเป็นป่านป้อง ดี เท่าดูแควนผัวสะน่อยแล
(หญิงใดมีลำคอเป็นปล้อง เป็นลักษณะที่ดี แต่มักดูถูกสามีบ้างเล็กน้อย)

- ญิงใดหน้าผากเป็นสุนักข์นั้น รอมเข้าของดี
(หญิงใดมีหน้าผากคล้ายหน้าผากสุนัข เป็นคนเก็บหอมรอมริบสมบัติข้าวของดีแล)

ญิงใดไฝยังคาง ดี มียังคอกล้ำซ้าย ดีนัก
(หญิงใดมีไฝที่คาง หรือมีใฝที่ลำคอด้านซ้าย ดียิ่งนักแล)

ญิงใดจารจาดั่งนกแขกเต้า มีสมบัติแล
(หญิงใดพูดจาคล้ายนกแขกเต้า เป็นคนมั่งมีทรัพย์สมบัติ)

- ญิงใด แม่ใหญ่ แอวกลม แม่นเกิดในกระกูลผู้น้อย ก็ยังจักได้เป็นใหญ่ เมียนายช้างแล
(หญิงใดมีมารดารูปร่างสูงใหญ่ เอวกลม ถึงจะเกิดในตระกูลผู้น้อยต้อยต่ำ ก็จะได้เป็นใหญ่ ได้เป็นภรรยานายช้างในวัง)

ญิงใดผมรีรุง เส้นแลบเกลี้ยง เป็นเมียผู้ใด รักนักแล
(หญิงใดเส้นผมเล็ก เกลี้ยงเกลา เป็นภรรยาผู้ใด สามีรักมากนักแล)

- ญิงใดมีลายมือขอดดังหอยสังข์แลกลีบดอกบัว ผู้ญิงก็ดี ผู้ชายก็ดี จักได้เป็นใหญ่ สองพัน ประหมานเช่น ผู้นั้นรักชู้กว่าผัวแล
(หญิงและชายใดมีลายมือคลายหอยสังข์ และกลีบบัว จะได้ดีมีศักดิ์ใหญ่ แต่จะรักชู้มากกว่าภรรยา / สามีของตน)

ญิงใดผมลงหน้าผาก แพ้ผัว
(หญิงใดมีผมปรกหน้าผาก จะแพ้ผัว คือสามีจะตายไปก่อน)

- ญิงใดย่างไปสูงต่ำ คันอยู่เรือนใด วายเรือนนั้นแล
(หญิงใดเวลาเดินไป ก้าวเท้าสูงและต่ำ ถ้าอยู่บ้านเรือนไหน ก็วอดวายที่นั่น)

ญิงใดมีขนแก่แข็งดังผู้ชาย แม่นลูกท้าวพระยา ก็จักได้ขอท่านกินแล ผัวมี ๓ คน จิ่งจักหมั้นแล
(หญิงใดมีขนตามร่างกาย แก่และแข็งคล้ายขนของผู้ชาย ถึงจะเป็นลูกท้าวพระยาก็จะต้องขอผู้อื่นกิน ต่อเมื่อมีสามี ๓ คนจึงจะมั่นคง)

- ญิงใดใคร่หัวเสียงดังบ่ม่วน ลักขณะผู้ถ่อย
(หญิงใดเวลาหัวเราะมีเสียงดัง แต่ไม่ไพเราะ เป็นลักษณะของผู้ถ่อย)

- ญิงใดฟันหน้าซี่หน้อย ลักขณะผู้ถ่อย
(หญิงใดมีฟันหน้าซี่เล็ก เป็นลักษณะของผู้ถ่อย)

- ญิงใดแย้มแล้วจิ่งเจียรจา เพิงใจคนทั้งหลายนักแล
(หญิงใดยิ้มแล้วจึงค่อยพูด เป็นที่ถูกใจคนทั้งหลายยิ่งนัก)

ญิงใดย่างไปหัวคลอน มักมีชู้ ย่อมหื้อผัวเข้าอำนาจแล
(หญิงใดเวลาเดิน ศีรษะส่ายไปมา มักมีชู้ และบังคับให้สามีอยู่ใต้อำนาจ)

- ญิงใดย่างไป ลากตีนซ้ายก่อน ดี มีสมบัติแล
(หญิงใดเวลาเดิน ลากเท้าซ้ายไปก่อน เป็นคนมีทรัพย์สมบัติ)

- ญิงใด ( ย่างไป) ลากตีนขวาก่อน ลักขณะผีเสื้อแล
(หญิงใดเวลาเดิน ลากเท้าขวาไปก่อน เป็นลักษณะของผีเสื้อ คือผีจำพวกหนึ่ง)

- ญิงใดริมปากบาง ผัวรักนักแล
(หญิงใดริมฝีปากบาง สามีรักมากนักแล)

- ญิงใดดำแดง ใหญ่ ผู้นั้นผัวรักนัก
(หญิงใดรูปร่างดำแดง สูงใหญ่ ผู้นั้นสามีรักมากนักแล)

- ญิงใดหัวใหญ่ ผู้นั้นมีจิตใจซื่อแก่ผัวตนนักแล
(หญิงใดศีรษะใหญ่ ผู้นั้นเป็นคนมีจิตใจซื่อสัตย์ต่อสามีของตนมากนัก)

- ญิงใด หน้าใหญ่ แลตัวหน้อย ผู้นั้นบ่รู้เหล้นชู้จากผัวแล
(หญิงใดใบหน้าใหญ่ แต่ร่างกายเล็ก ผู้นั้น ไม่มีชู้)

- ญิงใดหัวดังหัวช้าง ผู้นั้นมีศรีนักแล
(หญิงใดมีศีรษะคล้ายหัวช้าง ผู้นั้นเป็นคนมีสง่าราศีมาก)

- ญิงใดฝ่าตีน ฝ่ามือแดง ผู้นั้นควรค่าร้อยคำ
(หญิงใดฝ่าเท้าและฝ่ามือแดง ผู้นั้นมีค่าหนึ่งร้อยทองคำ)

- ญิงใดเมื่อลุกไปไหน ไปอื่น จิ่งไปจารจาดั่งอั้น ดีนักแล
(หญิงใดเมื่อลุกไปที่อื่นก่อน แล้วจึงกลับมาเจรจา เป็นลักษณะที่ดีมากนัก)

- ญิงใดผมรีดั่งอั้น คันว่าไครหลังยังเที่ยงเกล้า แรงหลายนัก ผัวรักแล
(หญิงใดเส้นผมเล็ก เมื่อยาวถึงหลังจึงเกล้ามวย เป็นคนแข็งแรง สามีรักมากนัก)

- ญิงใดอกใหญ่ ท้องน้อย มีลูกมักตายแล
(หญิงใดหน้าอกใหญ่ แต่ท้องเล็ก มีลูกแล้วลูกมักเสียชีวิต)

- ญิงใดฝ่าตีนใหญ่ แดง ผัวมักตายก่อน
(หญิงใดฝ่าเท้าใหญ่ และมีสีแดง สามีมักตายก่อน)

- ญิงใดฝ่าตีนหน้อย บ่มักแอ่วเรือนท่านแล
(หญิงใดฝ่าเท้าเล็ก เป็นคนไม่ชอบไปเที่ยวบ้านคนอื่น)

- ญิงใดตาหน้อย มักเหิงผัวนักแล
(หญิงใดตาเล็ก มักหึงหวงสามีมากนัก)

- ญิงใดริมปากเส้า เลี้ยงลูกมักตาย
(หญิงใดริมฝีปากดำคล้ำ เลี้ยงลูกไม่ดี ลูกมักตาย)

- ญิงใดมีปานในหูแลหน้า เทียรย่อมเป็นที่ปูชา
(หญิงใดมีปานในหูและใบหน้า ย่อมเป็นที่เคารพบูชาของสามี)

- ญิงใดริมปากเบื้องบนเป็นดั่งก้อนเลือด ผู้นั้นทุกข์นักแล
(หญิงใดริมฝีปากบนมีสีแดงคล้ายก้อนเลือด ผู้นั้นทุกข์ยากลำบากมากนัก)

- ญิงใดอกใหญ่นัก มันมักเหล้นชู้จากผัวแล
(หญิงใดหน้าอกใหญ่ มักคบชู้สู่ชาย)

- ญิงใดพีท้องน้อย ผู้นั้นมักถ่อย
(หญิงใดท้องน้อยสวด ผู้นั้นมักเป็นคนถ่อย)

- ญิงใดก้มหน้าแล้วจิ่งเจรจา มันบ่รักผัวเท่ารักชู้แล
(หญิงใดก้มหน้าก่อน แล้วจึงเจรจา เป็นคนรักชู้มากกว่าสามี)

- ญิงใดขนรีหนา มันมักฆ่าผัวเสียแล
(หญิงใดมีขนยาวหนา มักฆ่าสามีของตนแล)

- ญิงใดเสียงดั่งกา มีหัวเข่าดั่งกา คอก็ยาว ริมปากก็ใหญ่ มหาโทษแล
(หญิงใดคอยาว ริมฝีปากใหญ่ มีเสียงและหัวเข่าคล้ายอีกา เป็นลักษณะที่ให้โทษแล)

- ญิงใดแค่งใหญ่ บ่เป็นร้าง ก็หม้ายแล
(หญิงใดมีแข้งใหญ่ หากไม่เป็นแม่ร้าง ก็เป็นแม่ม่าย)

- ญิงใดขนโยนีดำรี ผู้นั้นรักผัวนักแล
(หญิงใดมีขนโยนีสีดำ และยาวรี ผู้นั้นสามีรักมากนัก)

- ญิงใดปลายมือเถียวชะหลอ ผู้นั้นเป็นนางพระยาแล (หญิงใดมีปลายมือเรียวเล็ก ผู้นั้นเป็นนางพระยา)

- ญิงใดฝ่ามือกลม จารจาเสียงอ่อน รักผัวนักแล
(หญิงใดฝ่ามือกลม เวลาเจรจามีเสียงอ่อนหวาน สามีรักมากนัก)

- ญิงใดไป ลากตีนขวา ลุกผีเสื้อมาเกิดแล
(หญิงใด เวลาเดิน ลากเท้าขวา ตายจากผีเสื้อ (ผีชนิดหนึ่ง) มาเกิดเป็นคน)

- ญิงใดขาน้อย มันมักเอาลึงค์ได้นัก
(หญิงใดมีขาเล็ก เป็นคนชอบมีเพศสัมพันธ์ มักมากในกาม)

ญิงใดขาแดง คิงแดง ผู้นั้นเยียะดีนักแล
(หญิงใดมีขาแดง รูปร่างแดง เหมาะแก่การมีเพศสัมพันธ์ด้วย)

- ญิงใดขาว ใหญ่ เยียะบ่ดี
(หญิงใดผิวขาว รูปร่างใหญ่ ไม่เหมาะแก่การมีเพศสัมพันธ์ด้วย)

- ญิงใดต่ำ แอวกลม เยียะดีนักแล
(หญิงใดรูปร่างเตี้ย เอวกลม เหมาะแก่การมีเพศสัมพันธ์ด้วย)

- ญิงใดเมื่อลึงค์เข้าโยนี เยียะดั่งจักขาดใจตายนั้น บ่ดี
(หญิงใดเวลามีเพศสัมพันธ์ ทำกริยาคล้ายกับจะขาดใจตายนั้น ไม่ดี)

- ญิงใดมีหมอยแต่รูอันนั้น แพ้ผัวนักแล
(หญิงใดมีขนเพชรเฉพาะบริเวณรู แพ้ผัว คือสามีตายก่อน)

- ญิงใดบ่มีหมอยสักเส้น ผู้นั้นทุกข์นัก แต่น้อยเถิงเถ้า
(หญิงใดไม่มีขนเพชรแม้แต่เส้นเดียว เป็นคนทุกข์ยากตั้งแต่เล็กจนถึงชรา)

ญิงใดลุกเป็นลม อย่าเอาเป็นเมีย บ่ดี ยินเหม็นสาบ เป็นดั่งกา บ่ดี ลักขณะผู้ถ่อย
(หญิงใดลุกนั่งรวดเร็วปานลม ไม่ควรเอาเป็นเมีย ร่างกายเหม็นสาบ เป็นลักษณะผู้ถ่อย)

ญิงใดเจียรจาเสียงน้อยใหญ่ ผู้นั้นมักเล่าขวัญผัวนัก
(หญิงใดเจรจาเสียงน้อยเสียงใหญ่ ผู้นั้นมักเล่าขวัญนินทาสามี)

ต้นฉบับเป็นเอกสารใบลานของวัดหนองสร้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ซึ่งสถาบันวิจัยสังคมยืมมาถ่าย ไมโครฟิล์มเก็บไว้ในคลังข้อมูลของงานวิจัยล้านนาคดีศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 15 ก.ค. 2019 5:57 pm

ฟิล์มภาพกู่เจดีย์ที่คุณลุงบุญเสริม สาตราภัย ได้มอบให้คุณนเรนทร์ ปัญญาฟู ในภาพยังไม่มีวิหารที่ครูบาศรีวิชัยสร้าง จึงสันนิษฐานได้ว่าภาพเหล่านี้น่าจะถ่ายขึ้นก่อน พ.ศ.๒๔๗๙ เนื่องจากครูบาศรีวิชัยสร้างวิหารวัดจามเทวีในปี พ.ศ.๒๔๗๙ ประเด็นที่น่าสนใจคือลุงบุญเสริมเกิดปี พ.ศ.๒๔๗๒ เริ่มเรียนถ่ายภาพตอนอายุ ๑๒ ปี บันทึกภาพจริงจังเมื่ออายุ ๒๐ ปี แล้วภาพนี้ใครถ่าย ?
ภาพ : Naren Punyapu
55719451_2123837941029623_1603442300984229888_n.jpg
55719451_2123837941029623_1603442300984229888_n.jpg (43.91 KiB) เปิดดู 5354 ครั้ง


ภัตตาคารบุญยิ่ง จังหวัดลำพูน (ไม่ทราบปี พ.ศ.)
ภาพ : อาจารย์ จุลพงษ์ ขันติพงศ์
ภาพภัตตาคารบุญยิ่ง.jpg
ภาพภัตตาคารบุญยิ่ง.jpg (127.79 KiB) เปิดดู 5354 ครั้ง


โรงภาพยนตร์หริภุญชัยรามาหรือเปลี่ยนเป็นลำพูนรามา
ภาพ : อาจารย์จุลพงศ์ ขันติพงศ์
โรงภาพยนตร์หริภุญชัยรามาหรือเปลี่ยนเป็นลำพูนรามา.jpg
โรงภาพยนตร์หริภุญชัยรามาหรือเปลี่ยนเป็นลำพูนรามา.jpg (45.99 KiB) เปิดดู 5354 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 15 ก.ค. 2019 6:03 pm

ภาพถ่ายเทศมนตรีและคณะข้าราชการเทศบาลเมืองลำพูนถ่ายรูปร่วมกันด้านหน้าโรงมหรสพของเทศบาล ในวันเปิดป้ายโรงมหรสพวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔
ภาพถ่ายและข้อมูล : มิ้น ตลาดสุขใจ
โรงมหรสพลำพูน.jpg
โรงมหรสพลำพูน.jpg (65.03 KiB) เปิดดู 5354 ครั้ง


ลำพูน.jpg
ลำพูน.jpg (60.09 KiB) เปิดดู 5354 ครั้ง


สี่แยกลี้ คนชอบไปถ่ายรูปเช็กอินกันมาตั้งแต่สมัยคุณแม่ยังสาว
ภาพ : Naren Punyapu
สี่แยกลี้.jpg
สี่แยกลี้.jpg (49.3 KiB) เปิดดู 5354 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 9:51 am

สมัยสาวๆของ ป้าอ๋อม สมพร สุชัยบุญศิริ อดีตช่างฟ้อนบ้านสันดอนรอม จังหวัดลำพูน วัย ๗๑ ปี
ภาพ : Naren Punyapu
122848.jpg
122848.jpg (30.11 KiB) เปิดดู 5154 ครั้ง


122850.jpg
122850.jpg (100.89 KiB) เปิดดู 5154 ครั้ง


ช่างฟ้อนลำพูน
122849.jpg
122849.jpg (44.69 KiB) เปิดดู 5154 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 10:02 am

122856.jpg
122856.jpg (75.29 KiB) เปิดดู 5154 ครั้ง


สะพานท่าสิงห์ ลำพูน

122855.jpg
122855.jpg (76.46 KiB) เปิดดู 5154 ครั้ง


122857.jpg
122857.jpg (54.83 KiB) เปิดดู 5154 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน

cron