เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 12:26 pm

วัดพระแก้ว จ.เชียงราย ในอดีต
วัดพระแก้ว แต่เดิมชื่อวัดป่าเยียะ(ป่าไผ่) เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๗ (ค.ศ.๑๔๓๔) ฟ้าผ่าพระเจดีย์จึงได้พบพระแก้วมรกต(ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง) ชาวเมืองเชียงรายจึงได้เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดพระแก้ว" จนกระทั่งปัจจุบัน

เจดีย์เก่าพระแก้วเชียงราย.jpg
เจดีย์เก่าพระแก้วเชียงราย.jpg (78.87 KiB) เปิดดู 6108 ครั้ง

เจดีย์เก่าวัดพระแก้ว เชียงราย พ.ศ.๒๔๖๕

วัดพระแก้ว” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีตั้งอยู่บริเวณถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียงอำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงราย นอกจากเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงรายมาแต่อดีตกาล วัดแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่ค้นพบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต

เล่าขานตำนาน “พระแก้ว”

แต่เดิมวัดพระแก้วชื่อว่า วัดป่าเยียะ หรือป่าญะ เนื่องจากบริเวณวัดมีไม้เยียะ (ไม้ไผ่พื้นเมืองชนิดหนึ่งคล้ายไผ่สีสุกชาวบ้านนิยมนำมาทำคันธนูและหน้าไม้) เป็นจำนวนมากตามตำนานเล่าว่าเมื่อ พ.ศ.๑๙๗๗ เกิดฟ้าผ่าองค์พระเจดีย์จึงได้พบพระพุทธรูปที่ทำด้วยแก้วมรกตอันงดงามจนเป็นที่เลื่องลือและเรียกขานวัดแห่งนี้ว่าวัดพระแก้ว

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

62783.jpg
62783.jpg (111.9 KiB) เปิดดู 6352 ครั้ง


พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ.๑๙๗๗ ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์

หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้จึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราชได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็ได้อัญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว

เวลาผ่านไปหลายชั่วอายุคน วัดพระแก้วเชียงรายมีการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างเสนาสนะต่างๆแบบศิลปะล้านนา แต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ทราบประวัติความเป็นมาในปี พ.ศ.๒๕๓๓ เนื่องในโอกาสสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา คณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายจึงจัดสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิราบฐานเขียง สร้างด้วยหยกมีขนาดใกล้เคียงกับพระแก้วมรกต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าวัดพระแก้วแห่งนี้เคยเป็นที่ค้นพบพระแก้วมรกตมาก่อน เมื่อสร้างเสร็จในปีถัดมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานนามพระพุทธรูปหยกองค์นี้ว่า “พระพุทธรตนากรนวุตติวัสสานุสรณ์มงคล” และนามสามัญว่า“พระหยกเชียงราย” อันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนที่ได้มาเยี่ยมเยือนวัดแห่งนี้

ที่มา ไปด้วยกัน,วิกิพีเดีย

#พระแก้วมรกตพุทธศิลป์แผ่นดินล้านนา
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

1024px-Summer_-_Emerald_Buddha_resize.jpg
1024px-Summer_-_Emerald_Buddha_resize.jpg (63.67 KiB) เปิดดู 6109 ครั้ง


พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ.๑๙๗๗ ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์


หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้จึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราชได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อเสด็จกลับหลวงพระบางก็ได้อัญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว

ที่มา : วิกิพีเดีย

ภาพแม่ค้ามานั่งของกาดหมั้ว ยามเช้า ณ ลานดินหน้าวัดพระธาตุลำปางหลวง เมื่อราว พ.ศ.๒๕๓๐ -๒๕๔๐ ปีก่อน
คำว่า "กาดหมั้ว" มักเขียนผิดเป็น "กาดมั่ว"
62781.jpg
62781.jpg (128.89 KiB) เปิดดู 6352 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 2:37 pm

วิหารโถงวัดปงสนุก จังหวัดลำปาง
วิหารหลังเก่าที่มีหน้าบันงดงามมาก ตัววิหารเป็นอาคารไม่สูง ลักษณะหลังคาซด ใส่คันทวยแกะสลัก ติดเสาสวยงาม หลังคาต่อปีกนกยาวออกมาอีกหนึ่งตับ น่าเสียดายที่ในปัจจุบันวิหารอันมีเอกลักษณ์แบบเบ้าสล่าล้านนาเช่นนี้แทบไม่มีให้พบเห็นกันแล้ว เนื่องจากปี พ.ศ. ๒๔๘๑ – ๒๔๘๒ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เดินทางไปตรวจราชการทางจังหวัดทางภาคใต้ ท่านได้ปรารภว่าการออกแบบวัดวาอารามต่างๆ ตามระยะทางที่ผ่านไปนั้นมีลักษณะทรวดทรงไม่สวยงาม ไม่เหมาะที่จะเป็นเครื่องแสดงวัฒนธรรมของชาติ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้มอบหมายงานมายังกรมศิลปากร เพื่อทำการออกแบบพระอุโบสถที่ได้มาตรฐานทางสถาปัตยกรรมไทยขึ้น โดยแบ่งออกเป็น ๓ ขนาด ขึ้นอยู่กับงบประมาณในการก่อสร้างเพื่อจัดส่งไปยังจังหวัดต่างๆ ให้ประชาชนได้เห็นเป็นตัวอย่างในการนำไปใช้ก่อสร้างต่อไป

กรมศิลปากรได้มอบหมายให้ พระพรหมพิจิตร เป็นผู้ออกแบบพระอุโบสถทั้งสามแบบดังกล่าว ซึ่งรู้จักกันในเวลาต่อมาในชื่อว่า “พระอุโบสถแบบ ก.ข.ค.” รูปแบบพระอุโบสถดังกล่าวทั้งสามถูกคิดขึ้นจากรูปทรงพระอุโบสถแบบภาคกลางเพียงอย่างเดียวและทั้งหมดก็ล้วนแล้วแต่เป็นงานสถาปัตยกรรมไทยเครื่องคอนกรีตทั้งสิ้น รูปแบบดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดชาตินิยมทางศิลปะ ณ ขณะนั้นที่นิยมยกย่องศิลปะแบบภาคกลางเพียงแบบเดียวเท่านั้นว่ามีความเป็นไทยและสร้างทัศนะคติต่องานท้องถิ่นทั้งหมดว่าไม่สวยงามและไม่มีคุณค่าทางศิลปะเพียงพอ รูปแบบมาตรฐานดังกล่าวได้กลายเป็นต้นเหตุสำคัญให้เกิดการรื้อถอนทำลายพระอุโบสถแบบดั้งเดิมที่ถูกออกแบบด้วยศิลปะแบบท้องถิ่นลงไปอย่างมากมาย รูปแบบพระอุโบสถฉบับมาตรฐานภาคกลางจากกรุงเทพฯ ของพระพรหมพิจิตร ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความทันสมัยและสวยงามแบบใหม่ในสายตาของชนชั้นนำท้องถิ่น โดยเฉพาะเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

นับแต่นั้นความงดงามทางศิลปะท้องถิ่นแบบเบ้าล้านนาก็ค่อยๆหายไปตามกาลเวลา อ่านเรื่องวิหารล้านนาได้ตามลิงก์คะ viewtopic.php?f=6&t=679&start=20

มาถึงตรงนี้นึกถึงผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่เห็นคุณค่าของวิหารแบบเบ้าล้านนา ท่านคือ นายชัยยา พูนศิริวงศ์ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่คนที่ ๒๑ (๑ ตุลาคม ๒๕๒๓ – ๓๐ กันยายน ๒๕๓๐) ท่านผู้นี้เป็นนักสถาปนิกเก่า ทำให้มองออกว่าควรจะพัฒนาบ้านเมืองไปทางทิศทางใด ท่านเลือกให้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกทางวัฒนธรรม และทางประวัติศาสตร์ โดยอนุรักษ์โบราณสถานให้คงอยู่คู่กับเมืองเชียงใหม่ตลอดไป ท่านจึงหวงแหนสิ่งโบราณล้ำค่าตามวัดต่างๆในเขตคูเมือง

ช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯเชียงใหม่ ในหมู่เจ้าอาวาสมีกระแสการสร้างโบสถ์วิหารใหม่ที่สวยงามแข่งกัน ใครจะระดมหาเงินเก่งกว่ากัน ใครสร้างโบสถ์ หรือวิหารได้ ถือว่ามีผลงานจะได้พิจารณาความดีความชอบเพื่อเลื่อนสมณศักดิ์ให้สูงขึ้น เมื่อมีผู้ค้าของเก่าไปเสนอเจ้าอาวาสให้รื้อโบสถ์ วิหารเก่า ที่ทำด้วยไม้สักอายุนับร้อยปีออก โดยผู้ค้าของเก่าจะเป็นผู้รื้อให้เอง ขอเพียงไม้เก่าทั้งหมด ซึ่งในอดีตการสร้างวิหารไม้จะสลักเสลาอย่างสวยงาม ทำให้มีราคาสูง เป็นที่ต้องการของนักสะสมของแต่งบ้านสมัยโบราณ พ่อค้าของเก่าจึงล่อใจเจ้าอาวาสด้วยการให้เงินอีกก้อนหนึ่งเพื่อไปสร้างโบสถ์ วิหารหลังใหม่ เจ้าอาวาสไม่รู้คุณค่าของโบราณสถานก็ยินยอมแต่โดยดี แต่เมื่อนายชัยยาทราบข่าวก็ได้เข้าไปอธิบายคุณค่าของวิหารเก่าแก่ว่าเป็นศิลปะทรงคุณค่า ควรจะเก็บไว้เป็นมรดกของลูกหลาน พร้อมทั้งขอร้องเจ้าอาวาสว่าอย่ารื้อ ให้คำนึงถึงของเก่าอันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ หลายวัดท่านไปห้ามไว้ได้ทัน แต่ก็มีหลายวัดที่ห้ามไม่ทันจึงถูกรื้อไป วัดที่ไม่ได้รื้อนั้นท่านก็จัดสรรงบประมาณไปซ่อมแซมบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง โดยให้สำนักงานศิลปากรเขต ๘ เชียงใหม่ เข้าไปช่วยดูแล

สนใจอ่านเรื่องผู้ว่าฯชัยยา ได้ตามลิงก์ค่ะ viewtopic.php?f=6&t=636&start=120

เล่ายาวมากนึกอะไรได้ก็เพิ่มเติมลงไป ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ อยากให้เห็นคุณค่าของมรดกวัฒนธรรม มรดกจากบรรพบุรุษ..หากเราไม่ช่วยกัน แล้วใครจะมารักษา <3

62779.jpg
62779.jpg (83.88 KiB) เปิดดู 6351 ครั้ง

ภาพจาก ศูนย์การเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมชุมชนบ้านปงสนุก

บ้านหม่อน ของคุณสุมาลี อายุ ๖๕ ปี ปลูกที่ป่าซาง จ.ลำพูน
62721.jpg
62721.jpg (54.45 KiB) เปิดดู 6351 ครั้ง

บ้านไม้โบราณที่มีลายลูกไม้แปลกตามาก มีกอโกสน หม้อโซ่ยตีน ก่อนขึ้นคันได มีฮ้านน้ำหม้อ ตรงระเบียงแบบเบ้าล้านนายุคบ้านหม่อน ปัจจุบันรื้อออกไปแล้วเพราะทรุดโทรมมาก
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 2:42 pm

เมืองพม่า ในอดีต (คาดว่า พ.ศ.๒๓๐๘)
62758.jpg
62758.jpg (46.53 KiB) เปิดดู 6268 ครั้ง


62761.jpg
62761.jpg (35.33 KiB) เปิดดู 6268 ครั้ง


62760.jpg
62760.jpg (48.66 KiB) เปิดดู 6268 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 2:44 pm

อาถรรพ์น้ำสาบานกบฏเงี้ยวเมืองแพร่

62714.jpg
62714.jpg (59.62 KiB) เปิดดู 6268 ครั้ง


"เจ้าหลวงพิริยเทพวงษ์ท่านเป็นคนทันสมัย ท่านอยากพัฒนาเมืองแพร่ให้เจริญ ตอนแรกท่านไม่รู้หนังสือภาษาไทย เขียนได้แต่ภาษาพื้นเมือง แต่ท่านคุ้นเคยใกล้ชิดกับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ท่านก็พาเจ้าหลวงไปเรียนภาษาไทยที่พระนคร เรียนรู้ระบบการปกครองแบบใหม่จนท่านเห็นดีงาม สมัยนั้นรัชกาลที่ ๕ เริ่มเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล เลิกระบบเจ้าหลวง มีแต่ข้าหลวงไปทำงาน เจ้าหลวงท่านเต็มใจทำตามรับสั่งนี้ ยอมสละยศ ตำแหน่งทุกอย่างเพื่อความเจริญของบ้านเมือง"

"เรื่องกบฏเงี้ยวเกิดเพราะอังกฤษกับฝรั่งเศสต้องการเฉือนแผ่นดินสยาม อังกฤษเฉือนภาคใต้กับอีสาน แล้วสมคบจะมาเอาทางเหนือจากเชียงรายไปสุดเขตแดนพม่า ภาคอีสานก็ข้ามโขงมาสมคบตั้งกองบัญชาการที่หลวงพระบาง สองชาตินี้หาเรื่อง ใช้วิธีหมาป่ากับลูกแกะ"

"หลังเจ้าหลวงตัดสินใจเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัชกาลที่ ๕ ก็ส่งเจ้าหน้าที่จากบางกอก คือพระยาไชยบูรณ์ ในนามข้าหลวงประจำจังหวัดมาฝึกงานให้ แล้วในปีหนึ่งๆ จะมีการตรวจเงินแผ่นดิน วันหนึ่งปรากฏว่าเขาเปิดประตูเซฟบนศาลากลางจังหวัดปรากฏว่าเงินขาดไป ๕๕,๐๐๐ บาท คนตรวจก็สั่งอายัดตัวเจ้าหลวงไปขัง เป็นเหตุให้อังกฤษเห็นเป็นช่องทางจะมาบังคับเรา ตอนหลังลูกหลานก็หาเงินมาใช้ให้ เจ้าหลวงจึงถูกปล่อยตัว คนแพร่โกรธกันมากเพราะเป็นการลงโทษโดยไม่ฟังความใดๆ"

"อังกฤษเอาปมนี้เป็นเหตุทำให้คนแตกสามัคคี เพราะคนเมืองแพร่ทั้งหมดเกลียดคนกรุงเทพฯ อังกฤษส่งเงี้ยวชื่อพะกาหม่องมาเกลี้ยกล่อมเจ้าหลวงว่าท่านโดนรังแก อังกฤษจะช่วยยึดแผ่นดินคืนให้ จะให้เงี้ยวมาก่อการกบฏ สมัยนั้นเงี้ยวอยู่ในความปกครองของอังกฤษ เพราะเป็นลูกจ้างทำไม้ให้ มีการตกลงกันว่าจะไม่ให้เจ้าหลวงเดือดร้อน เสบียง อาวุธ จะหามาเองทั้งหมด แผนของอังกฤษคือจะให้เราฆ่าเงี้ยวแล้วเรียกค่าเสียหาย"

"แต่เจ้าหลวงรายงานให้รัชกาลที่ ๕ ทรงทราบ ท่านก็เรียกเจ้าหลวงไปพบ แล้วท่านก็สั่งเจ้าหลวงให้ยอมรับเงื่อนไขของอังกฤษ เป็นแผนซ้อนแผน บอกให้เจ้าหลวงยอมเป็นกบฏ เพื่อที่จะเป็นข้ออ้างปราบเงี้ยว เพราะถ้าไม่ยอมรับเป็นกบฏก็ไม่มีเหตุปราบ"

"พอตกลงกันดีแล้ว เจ้าหลวงกลับมาบอกอังกฤษขอเวลาสามเดือน อ้างว่าจะต้องตรวจสอบกำลัง ที่จริงก็เพื่อในหลวงจะได้เตรียมจัดกำลังสำรอง"

"ข้อตกลงร่วมกันในการก่อกบฏ อังกฤษมีข้อแม้ว่าจะไม่ทำอันตรายชีวิตและทรัพย์สินของคนเมือง จะทำเฉพาะคนไทยจากเมืองใต้ เจ้าหลวงเสนอกลับไปว่าตกลง แต่เพิ่มอีกข้อว่าห้ามฆ่าผู้หญิงกับเด็กไทยที่มาฝึกงาน ห้ามฆ่าตำรวจ ก่อนเงี้ยวปล้น คืนนั้นไม่ได้นอนกันทั้งคืนเพราะเตรียมรับมือ เจ้าหลวงก็วางแผนจัดกำลังไปซ่อนในป่า แล้วรัชกาลที่ ๕ ท่านบอกให้จัดคนที่ไว้ใจได้ประมาณ ๕-๖ คนมาร่วมงาน ให้ปิดเป็นความลับ หากความลับรั่วไหล เหตุจะอ้างว่าปราบเงี้ยวเพราะเป็นกบฏจะไม่เป็นผล"

"เจ้าหลวงท่านรับเป็นกบฏ แต่รัชกาลที่ ๕ ไม่ค่อยไว้ใจ ท่านให้เจ้าหลวงดื่มน้ำสาบานว่าไม่คิดคดทรยศ และให้นำน้ำสาบานนี้ติดตัวมาเมืองแพร่ด้วย ให้ทุกคนที่รู้เรื่องร่วมดื่ม แล้วกำชับว่าถ้าหากคนเหล่านี้ถูกจับไปข่มขู่ถึงตายก็ให้ยอมตาย ถ้าไม่ทำตามนี้หรือไปบอกใคร ขอให้ตายด้วยคมหอกคมดาบ คมเขี้ยวคมงา"

มีข้อความหนึ่งจากบันทึกของ คุณลุงรัตน์(เจ้าบุญรัตน์ วังซ้าย) ผู้เป็นบุตรของ เจ้าน้อยหมวก และเจ้าแสงแก้ว วังซ้าย (ตระกูลวังซ้าย สืบสายมาจากพระยาวังซ้ายเมืองแพร่ผู้ดำรงตำแหน่งคล้ายกับ เจ้าวังหน้าวังหลังของกรุงเทพ แต่ทางแพร่มีเจ้าวังซ้ายและวังขวา ถือเป็นตระกูลเจ้านายร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหลกับเจ้าหลวงเมืองแพร่มาช้าน่าน) ซึ่งลุงรัตน์ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า

"อังกฤษบอกให้เจ้าหลวงอยู่เฉยๆ ไม่เอาอาวุธด้วย แต่ขอกำลังคนเมืองแพร่ เจ้าหลวงเลยหารือว่าให้เอาชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธไปซ่อนในป่า ป้องกันไม่ให้เงี้ยวมาขอกำลังเสริม ท่านก็หารือกันว่าต้องมีคนคุมกำลังในป่า เจ้าวังซ้ายเสนอชื่อไปว่ามีสองคนคือไม่ลูกก็เมีย ในที่สุดท่านเลือกลูก คือเจ้าน้อยหมวกมาคุมกำลังรบ เจ้าน้อยหมวกนี้คือพ่อของผมเอง ท่านก็เรียกเจ้าน้อยหมวกไปดื่มน้ำสาบาน"

"เจ้าน้อยหมวกคิดเรื่องคนดูแลเสบียง เลยเลือกเมีย คือเจ้าแสงแก้ว ก็กลับมาบอกสามคนแรกว่าได้ปรึกษาเมียแล้ว เขายอม ทางนี้จะยอมไหม เลยเรียกเจ้าแสงแก้วมาดื่มน้ำสาบานอีกที ตอนนี้มีคนรู้ความลับทั้งหมด ๘ คน"

"แต่การบอกเมียถือเป็นการเปิดเผยความลับแม้จะไม่ตั้งใจ พ่อผมเลยโดนอาถรรพณ์เป็นคนแรก คือเจ้าน้อยหมวก พอเจ้าแสงแก้วคลอดบุตรได้เพียง ๘ เดือน เจ้าน้อยหมวกก็ถูกช้างเหยียบตาย ทั้งที่ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญการจับช้างตกมัน และยังเคยบอกว่ากลัวควายมากกว่าช้าง"

"เจ้าแสงแก้วรวบรวมลูกเมียข้าราชการไทยมาไว้ที่คุ้มของเจ้าวังซ้าย ซ่อนไว้บนเพดาน คืนนั้นก็เกณฑ์คนกับอาวุธมาเก็บไว้ในคุ้ม ป้องกันไม่ให้ทั้งสู้เงี้ยวและสู้ไทย ประมาณตีสองตีสาม เจ้าแสงแก้วจัดคนไปบ้านข้าราชการไทย เอาผู้หญิงที่เคยรับใช้บ้านข้าราชการมาเพื่อให้คนไทยเมืองใต้ไว้ใจ แต่มีจำนวนหนึ่งไม่มาเพราะพวกนี้ไม่ค่อยชอบเจ้าหลวง พวกที่มาก็เป็นห่วงสามียอมตายด้วยกัน"

"พอเงี้ยวปล้นโรงพัก ปล้นไปรษณีย์ ยึดศาลากลางจังหวัด ก็ยึดได้สบายเพราะไม่มีการต่อต้าน พวกเงี้ยวออกสำรวจทุกบ้านว่ามีคนไทยเท่าไร จะจับมาฆ่าให้หมด"

"จนไปถึงคุ้มเจ้าวังซ้าย ซึ่งเจ้าแสงแก้วกำลังทำกับข้าวให้คนไทยที่หลบซ่อนตัวอยู่ มันก็ถามว่าทำให้ใครกินมากมาย เจ้าแสงแก้วบอกว่าตอนแรกก็ตกใจ แต่ทำใจดีสู้เสือ เพราะมันจะขอค้นว่ามีคนไทยไหม แม่บอกค้นไม่ได้ เจ้าหลวงกับเจ้าวังซ้ายสั่งห้ามค้น แล้วแม่ก็พูดไปว่าทำอาหารให้พวกสูกินนั่นละ เจ้าหลวงให้ทำ ถ้าพวกสูเสร็จธุระให้ไปรอที่ศาลากลางเดี๋ยวเอาไปให้ แล้วแม่ก็เรียกกำลังออกมา แกล้งพูดว่าจะเลี้ยงอาหารแล้วมันยังมาข่มขู่ ถ้าจะค้นบ้านก็ให้จัดการสู้กัน เงี้ยวฟังแล้วจึงยอมไป เจ้าแสงแก้วรีบส่งคนไปบอกเจ้าหลวง ท่านบอกให้ทำอาหารเพิ่มแล้วเอาไปเลี้ยงมันอย่างที่บอก"

"ในเอกสารจดหมายเหตุที่ว่ามีการส่งเสบียงให้พวกเงี้ยว สาเหตุที่แท้จริงเป็นอย่างนี้"

"ปรากฏว่าพวกเงี้ยวฆ่าผู้หญิงกับเด็กคนไทยที่ไม่ได้มาอยู่กับเจ้าแสงแก้ว เจ้าหลวงโกรธมาก เรียกหัวหน้าเงี้ยวมาคุย ชื่อพะกาหม่อง มาบอกว่าผิดสัญญา ท่านก็มีกำลังอยู่นะ พะกาหม่องขอโทษขอโพย พอรู้ว่าเจ้าหลวงพูดว่ามีกำลังก็เริ่มกลัว มันเลยเรียกเจ้าหลวงกับเจ้าวังซ้ายไปทำสัญญาร่วมรบกัน บอกเจ้าหลวงว่าถ้าเราทำตามที่ตกลงก็จะไม่มีอะไร แต่ถ้าเจ้าหลวงเอากำลังมาสู้เมื่อไร เงี้ยวจะเอาสัญญานี้ไปแฉให้รัชกาลที่ ๕ ทรงทราบ ซึ่งเจ้าหลวงได้บอกกับรัชกาลที่ ๕ ว่าเงี้ยวบังคับทำ จำเป็นต้องทำ รัชกาลที่ ๕ ก็รู้"

"หลายวันต่อมากรุงเทพฯ ส่งกำลังมาปราบกบฏ โดยที่ได้เตรียมกำลังแถวอุตรดิตถ์ พิษณุโลก ไว้แล้ว จึงปราบได้ภายใน ๓-๔ วัน"

ชายชราวัย ๗๘ ปี ผู้คงบุคลิกกระฉับกระเฉงและมีความทรงจำแจ่มชัด นั่งอยู่เบื้องหน้าคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งแกเชื่อเหลือเกินว่าคนเหล่านี้ 'ถูกเลือก' ให้เป็นผู้เปิดเผยความลับสำคัญของตระกูล และเป็นความลับสำคัญของแผ่นดิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นความลับที่คุณลุงรัตน์ วังซ้าย ทายาทคนสุดท้องในบรรดา ๑๒ คนของเจ้าน้อยหมวก (บุตรของเจ้าวังซ้าย) และเจ้าแสงแก้ว เก็บงำมาตลอดเพราะหวั่นอาถรรพณ์น้ำสาบานที่พระมหากษัตริย์รับสั่งให้ผู้รู้ความดื่มร่วมกัน สยามประเทศยุคนั้นมีผู้ร่วมดื่มน้ำสาบานและรู้ความลับนี้เพียง ๘ คน ยังสัญญาใจที่มารดากำชับไม่ให้บอกใคร จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม แม้แกไม่ใช่ผู้ร่วมดื่มน้ำสาบานโดยตรง แต่อาถรรพณ์ที่เกิดกับบุพการีเป็นประจักษ์ อย่างไรก็ตามในวัยขนาดนี้แกไม่กลัวความตายอีกแล้ว ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๖ คือเวลาเหมาะสมที่ชายชราเมืองแพร่ตัดสินใจเผยความลับนั้น ก่อนที่สังขารจะพรากความทรงจำไป

จากข้อมูลที่คุณลุงรัตน์ วังซ้ายได้ทิ้งไว้ให้เมื่อหลาย ๑๐ ปีก่อน ถือเป็นหลักฐานที่มีน้ำหนักอย่างมาก ที่พอจะช่วยปลดแอกล้างมลทินให้กับ เจ้าหลวง และเจ้านายเมืองแพร่ทุกองค์ที่ถูกตราหน้าด้วยความเต็มใจ เหมือนพร้อมกายใจเอาชีวิตเข้าแลกบ้านเมืองให้ลูกหลานได้ดำรงคำว่า จังหวัดแพร่ไว้จนถึงปัจจุบัน กับคำพูดที่ได้ยินมาหลายศตวรรษว่า " เจ้าเมืองแพร่เป็น กบฏ "

นัฏฐ์ ณัฏฐพัฒน์ (Nuttapon Chalouy) ผู้นำเสนอ

ป.ล. ภาพที่นำมาประกอบ คือ ภาพเจ้าแสงแก้ว วังซ้าย และบุตรชายสองคนสุดท้อง คือ เจ้าบุญรบ และเจ้าบุญรัตน์(ลุงรัตน์ วังซ้าย) ผู้ที่ได้รับบาดแผลรอยร้าวลึกกับสภาพจิตใจในเหตุการณ์ กบฏเงี้ยว

ข้อมูลอ้างอิงจาก หนังสือเจ้าหลวงเมืองแพร่ ๔ สมัย/อนุสรณ์งานศพเจ้าแสงแก้ว/บันทึกของพ่อดวงแก้ว รัตนวงศ์/ เสรี ชมพูมิ่ง. “เจ้าพิริยะเทพวงศ์ ผู้นิราศเมืองแพร่ท่ามกลางทหารกองเกียรติยศ,” ใน ศิลปวัฒนธรรม, สิงหาคม ๒๕๓๔

จริงแท้ประการใดในการบันทึกและคำบอกเล่าของบทความนี้ ทั้งอ้างอิงจากเอกสารและคำบอกเล่าสืบต่อกันมา ถือ เป็นวิทยาทาน และการต่อยอดสำหรับหลายๆท่านที่ชื่นชอบศึกษาประวัติศาสตร์ให้ไปสืบค้นเพิ่มเติม
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 18 เม.ย. 2019 9:32 pm

โรงเรียนประชาบาล ตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน พ.ศ.๑๔๘๑ - ๒๔๘๒
65420.jpg
65420.jpg (46.43 KiB) เปิดดู 5470 ครั้ง


พระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน

65427.jpg
65427.jpg (38.12 KiB) เปิดดู 5470 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 18 เม.ย. 2019 9:35 pm

ระแทะ หมายถึง เกวียนขนาดเล็ก มีทั้งชนิดโถงและชนิดมีประทุน คำนี้มักพบในวรรณคดี เช่นในบทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ตอนสังคามาระตาแต่งถ้ำ มีบทกลอนว่าดังนี้

“ที่แต่งถ้ำก็ทำไม่หยุดพัก ฉลุฉลักลายเลิศเฉิดฉัน
ที่ปลูกต้นไม้ในสวนนั้น เกณฑ์กันรดน้ำวุ่นวายไป
ที่ต้นไหนตายก็ให้ผลัด เร่งรัดกันมาหาปลูกใหม่
ทำทั้งระแทะทองอำไพ ไว้ในสวนเสร็จดังบัญชา”

คำว่า ระแทะ มาจากภาษาเขมรว่า รเทะ (อ่าน รอ-เต๊ะฮฺ) แปลว่า เกวียน รถ คำนี้ภาษาเขมรยืมมาจากภาษาบาลีและสันสกฤตว่า รถ (อ่าน ระ- ถะ) แปลว่า สิ่งที่เคลื่อนไป หมายถึง ยานพาหนะมีล้อ ได้แก่ เกวียน รถ รถศึก

ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

65447.jpg
65447.jpg (62.91 KiB) เปิดดู 5470 ครั้ง


ป่าซาง พ.ศ.๒๕๒๐

65468.jpg
65468.jpg (41.85 KiB) เปิดดู 5470 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 18 เม.ย. 2019 9:38 pm

โรงเรียนอนุบาลจังหวัดเชียงราย โรงเรียนอนุบาลแห่งแรกในเชียงราย " พ.ศ.๒๕๑๒
โรงเรียนอนุบาลจังหวัดเชียงราย พ.ศ.2512.jpg
โรงเรียนอนุบาลจังหวัดเชียงราย พ.ศ.2512.jpg (30.14 KiB) เปิดดู 5363 ครั้ง



พิธีบวงสรวงผีนาค เมืองเชียงราย พ.ศ.๒๔๖๐
มณฑลพิธีจัดบริเวณดอยจอมทอง เรียกในเวลาปกติว่า "ดอยหัวเวียง" ในช่วงพิธีการเรียกว่า "ดอยหัวนาค"

65473.jpg
65473.jpg (67.31 KiB) เปิดดู 5470 ครั้ง


อุโบสถวัดกลางมิ่งเมือง ร้อยปีก่อน

65478.jpg
65478.jpg (73.94 KiB) เปิดดู 5470 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 18 เม.ย. 2019 9:40 pm

สะพานท่าสิงห์ ลำพูน พ.ศ.๒๕๒๐

65481.jpg
65481.jpg (56.12 KiB) เปิดดู 5470 ครั้ง


ช่างซองานบุญหนองหลวง เชียงราย พ.ศ.๒๕๑๔ สนับสนุนโดย ยาผงแดงก๋าหอเจ้าตี้

65495.jpg
65495.jpg (70.54 KiB) เปิดดู 5470 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 18 เม.ย. 2019 9:43 pm

กาดเชียงคำ ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๐

65514.jpg
65514.jpg (86.56 KiB) เปิดดู 5470 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 12 พ.ค. 2019 12:14 pm

ภาพงานบวชในจังหวัดลำพูน ก่อน พ.ศ.๒๕๑๐
ภาพคนลำพูน.jpg
ภาพคนลำพูน.jpg (93.33 KiB) เปิดดู 5404 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 05 มิ.ย. 2019 9:45 pm

สะพานเหล็กข้ามแม่น้ำกก จังหวัดเชียงราย ในสมัยสงครามหาเอเชียบูรพา สะพานนี้ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดชำรุดบางส่วน ทางการต้องหาไม้มาปิดส่วนที่เสียหายไว้ ส่วนรถยนต์ที่เห็นนั้นเป็นรถยนต์โดยสารมาจากเมืองเชียงตุง ป้ายทะเบียKTG (Kentoong Government) ของพม่า พ.ศ.๒๔๙๑
ขัวข้ามกก.jpg
ขัวข้ามกก.jpg (17.95 KiB) เปิดดู 5905 ครั้ง

ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย

ตัวเมืองเชียงราย พ.ศ.๒๔๙๓ บริเวณถนนธนาลัย ส่วนคูหาใหญ่คือร้านซีเปียว
ที่มา : ณ โบราณกาล
เชียงราย2493.jpg
เชียงราย2493.jpg (27.75 KiB) เปิดดู 5905 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 08 มิ.ย. 2019 10:25 am

พ่อเลี้ยงหนานหล้า จากคนในบังคับอังกฤษ สู่การเป็นหมอในเมืองดอกคำใต้
สมัยรัชกาลที่ ๗ (หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕) ชึ่งเป็นยุคที่คนต่างด้าว และชนกลุ่มน้อย พากันอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในภาคเหนือเป็นจำนวนมาก

98127.jpg
98127.jpg (49.21 KiB) เปิดดู 5893 ครั้ง


นายหล้า หมอหล้า หรือ พ่อเลี้ยงหนานหล้า คือ หมอยาพื้นบ้าน (หมอเมือง) ชาวสิบสองปันนา เกิดที่เมืองราย(ฮาย) จังหวัดสิบสองปันนา ประเทศจีน เกิดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๒๐ จากนั้นมีการเดินทางอพยพเข้ามายังดินแดนล้านนา ภายใต้การเป็นคนในบังคับของอังกฤษ

คนในบังคับของอังกฤษ หมายถึง เป็นคนต่างด้าว ที่ไม่ใช่คนสยามแต่กำเนิด แต่เข้าอยู่ในความดูแลของประเทศอังกฤษด้วยสาเหตุสองประการ คือ เป็นลูกจ้างของบริษัทค้าไม้ของอังกฤษ หรือประเทศเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ เรื่องคนในบังคับอังกฤษนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำสนธิสัญาเบาว์ริ่ง สมัย ร.๔ ในส่วนของสิทธิสภาพนอกอาณาเขต นั่นเอง

98128.jpg
98128.jpg (79.16 KiB) เปิดดู 5893 ครั้ง


พ่อเลี้ยงหนานหล้า เป็นหมอยาพื้นบ้าน ที่มีภูมิปัญญา การรักษาโรคผิดเดือน (อาการแสลง
ของคนหลังคลอดลูก)ที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น คนไข้บางคนเดินทางไกลจากเชียงรายมายังบ้านฝั่งหมิ่น อำเภอดอกคำใต้ เพื่อให้พ่อเลี้ยงหนานหล้าทำการรักษา และสามารถหายจากโรคผิดเดือนได้

แม่แสง พรมธิราช หลานสาวของพ่อเลี้ยงหนานหล้าเล่าว่า อาการคนผิดเดือนที่เคยเห็น บางคนมีอาการคุ้มคลั่ง เหมือนคนบ้าการรักษาจึงต้องจับมัดติดเสาเรือนไว้ จากนั้นจึงเริ่มการรักษาโดยการเจาะเอาเลือดบางส่วนออกจากร่างกาย จากนั้นจึงทยอยให้ยาพื้นบ้านตามสูตรของหมอหล้า บางรายหายใน ๑ เดือน บางราย ๓ เดือน นานสุด

ปัจจุบันยารักษาโรคผิดเดือน ได้รับการสืบต่อโดยแม่แสง ผู้เป็นหลานสาว ชึ่งนับเป็นภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่าของบรรพบุรุษ ผู้เดินทางรอนแรมจากเส้นทางที่ยาวไกล เพื่อมาตั้งรกรากถิ่นฐานในบ้านฝั่งหมิ่น ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
ข้อมูลและภาพถ่าย : ทีมวิจัยท้องถิ่นตำบลดอกคำใต้
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 64 ท่าน

cron