หน้า 11 จากทั้งหมด 20

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 16 ก.พ. 2019 9:59 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
เรือนมิชชันนารีแพร่
ร่องรอยอดีตที่ยังคงหลงเหลืออยู่

ภาพนี้ถ่ายบริเวณหน้าบ้านพักเรือนไม้สักหลังที่ย้ายมาใหม่จากฝั่งซ้ายแม่น้ำยมของคณะมิชชันนารีแพร่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ จะเห็นว่าชาวต่างชาติกำลังเล่นกีฬา “โปโล” หน้าลานโล่งหน้าเรือนพักหลังใหญ่ที่มองเห็นอยู่ด้านหลัง

มิชชันนารีแพร่.jpg
มิชชันนารีแพร่.jpg (125.07 KiB) เปิดดู 6151 ครั้ง


จาก The Laos News (July ๑๙๑๓, p. ๕๖-๕๗) นายแมคมัลลินได้บันทึกเหตุการณ์ในตอนนั้นไว้ในบทความ “Twenty Years after in Pre” (ยี่สิบปีให้หลังในแพร่) ดังนี้ “วันที่ ๕ พฤษภาคม (พ.ศ. ๒๔๕๖) ยี่สิบปีหลังจากที่นายแพทย์บริกส์และนางบริกส์ได้เปิดศูนย์ฯ แพร่ นายแพทย์และนาง อี.ซี. คอร์ท และนายเอ.บี. แมคมัลลิน ซึ่งเป็นมิชชั่นนารีประจำศูนย์ฯ แพร่ ได้ย้ายจากที่ตั้งเดิมที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำยมมาที่ที่ตั้งใหม่ของศูนย์ฯ ซึ่งอยู่ที่ ถ. ท่าอิฐ เชื่อมกับสถานีรถไฟซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ ๑๕ ไมล์

การย้ายครั้งนี้เป็นเรื่องจำเป็นเพราะศูนย์ฯ เก่าถูกน้ำกัดเซาะตลิ่ง ที่ตั้งศูนย์ฯ แห่งใหม่อยู่บนถนนที่มีคนสัญจรไปมามากที่สุดของจังหวัดแพร่ มุ่งไปสู่จังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการขนส่งสินค้าทางเรือไปยังตอนใต้ของประเทศจีน หัวเมืองลาว และกรุงเทพฯ ที่ตั้งของศูนย์ฯ อยู่ใกล้กับตลาดที่คึกคักที่สุดของแพร่ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินกิจกรรมของคริสตจักร เมื่อเราซื้อที่ผืนนี้ มีอาคารไม้เก่าอยู่แล้วหลังหนึ่ง เราได้ดัดแปลงอาคารนี้เป็นโรงเรียนสตรี หอพักสำหรับนักเรียนบ้านไกลและครู ตอนนี้เราใช้อาคารนี้เป็นทั้งโบสถ์ โรงเรียน และอาคารอเนกประสงค์

สพาพของบ้านเป็นเรือนไม้สัก ใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วมุงด้วยกระเบื้องว่าว ตกแต่งช่องลมประตูด้วยลายฉลุขนมปังขิง ลูกบิด กลอนประตูเป็นเหล็กหล่อมาจากยุโรป เรือนไม้หลังนี้มีขนาดใหญ่ แบ่งเป็น ๑๐ ห้อง มีห้องใต้หลังคาขนาดใหญ่สันนิษฐานว่า คงเป็นห้องนอนของลูกๆ มีหน้าต่างบานสูง ระบายอากาศได้ดีทำให้บ้านเย็น เป็นสถาปัตยกรรมของตะวันตกนำมาใช้ออกแบบโครงสร้างก่อสร้างอาคาร

ก่อนหน้านั้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ (ค.ศ.๑๘๙๓) หมอบริกส์ และหมอพีเพิลส์ จึงได้ซื้อที่ดินที่ริมฝั่งแม่น้ำยม บริเวณบ้านเชตะวัน ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ ในราคา ๓๐๐ รูปี เดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน หมอบริกส์และครอบครัว ซึ่งเป็นมิชชั่นนารีครอบครัวแรกของจังหวัดแพร่ ก็ย้ายมาประจำที่ศูนย์มิชชั่นแห่งนี้ ได้ให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยทั่วไป จึงถือได้ว่าเป็นสถานพยาบาลแผนปัจจุบันแห่งแรกของจังหวัดแพร่ และได้รับการอนุญาตให้ตั้งเป็นศูนย์มิชชั่นได้อย่างเป็นทางการ จากจดหมายของหมอบริกส์ ระบุว่า ศูนย์มิชชั่นแพร่ ที่ บ้านเชตะวัน ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ ระยะแรกประกอบด้วยบ้านพักของมิชชั่นนารี อาคารพยาบาล ห้องเก็บของ โบสถ์ บ้านพักคนงาน ยุ้งข้าว

ปัจจุบันเรือนไม้สักมิชชันนารีหลังนี้ได้รับการปรับปรุงให้มีสภาพแข็งแรง พร้อมนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษา โดย กศน.จังหวัดแพร่.

ภาพ : Heitage Observatory

หอหลวงสีป้อ

หอหลวงสีป้อ.jpg
หอหลวงสีป้อ.jpg (108.12 KiB) เปิดดู 6151 ครั้ง

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 16 ก.พ. 2019 10:10 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
มหาเจดีย์หลวงกับภาพอุโมงค์ใต้ฐานพระเจดีย์หลวง
อุโมงค์หรือรูถ้ำภายในฐานพระเจดีย์หลวงนั้น หมื่นด้ำพร้าคตเป็นผู้ก่ออุโมงค์หรือรูถ้ำภายในพระเจดีย์นั้นเป็นจริงตามตำนานและมีความเล่าขานกันมาว่าไปทะลุโผล่ที่ไหนต่อไหนหลายที่นั้น วันนี้มาดูภาพจริงที่ถูกบันทึกไว้โดย นายทิว วิชัยขัทคะ เมื่อตอนที่เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ ๔ เริ่มเข้าบูรณะ

ประตูทางเข้าอุโมงค์ของพระมหาเจดีย์หลวง ใต้บันไดนาคทางด้านทิศเหนือ

485614_347010335420973_12802364_n.jpg
485614_347010335420973_12802364_n.jpg (153.7 KiB) เปิดดู 6151 ครั้ง


จุดที่เห็นดวงไฟ คือ ทางสองแพร่ง
934783_347011898754150_1316649954_n.jpg
934783_347011898754150_1316649954_n.jpg (294.62 KiB) เปิดดู 6151 ครั้ง

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 16 ก.พ. 2019 10:16 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
หอไตรวัดพระสิงห์ รัชกาลที่๗ เสด็จหอไตรวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๖๙

ร๗เสด็จหอไตรวัดพระสิงห์๒๔๖๙.jpg
ร๗เสด็จหอไตรวัดพระสิงห์๒๔๖๙.jpg (90.13 KiB) เปิดดู 6577 ครั้ง


“ขัวกุลา” หรือ “ขัวเก่า”
สะพานไม้แห่งแรกของเชียงใหม่
สร้าง พ.ศ. ๒๔๓๓ – พ.ศ. ๒๔๗๕

ขัวกุลา.jpg
ขัวกุลา.jpg (187.02 KiB) เปิดดู 6577 ครั้ง


“ขัวกุลา” เป็นชื่อที่ถูกกล่าวถึงเป็นสถานที่นัดพบในครั้งเกิดกบฏพญาผาบช่วงปี พ.ศ. ๒๔๓๒ – พ.ศ. ๒๔๓๓ ดังข้อความว่า .......“หื้อพร้อมกันที่หน้าวัดเกตหัวขัวกุลาเช้ามืดไก่ขันสามตั้ง เดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำ”…….คำว่า “ขัวกุลา” ในขณะนั้นคงจะหมายถึงสะพานที่ฝรั่งสร้างขึ้นมาเสร็จใหม่ๆ ขณะนั้นคำว่า “กุลา” หมายถึง ฝรั่ง และ “กุลาดำ” หมายถึงแขกหรือคนอินเดีย ดังนั้นคำว่า “ขัวกุลา” คงจะหมายถึง สะพานที่ฝรั่งสร้างขึ้นมานั่นเอง ต่อมาเมื่อสร้างสะพานนวรัฐข้ามน้ำปิงแห่งที่สองขึ้นมาชาวบ้านจึงเรียก “ขัวกุลา” ว่า “ขัวเก่า” แทน
“ขัวเก่า” เป็นสะพานที่สร้างด้วยไม้สักแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ โดยได้จ้างหมอชีคหรือนายแพทย์ เอ็ม เอ.ชีค มิชชันนารีชาวอเมริกัน ซึ่งขณะนั้นทำงานที่บริษัท บอร์เนียว สัมปทานป่าไม้ในภาคเหนือ เป็นผู้รับเหมาสร้างในราคา ๓,๓๐๐ รูปี (เงินแถบเงินรูปีนืยมใช้ในภาคเหนือมากกว่าเงินสยาม ในขณะนั้นมีค่าเท่ากับ ๘๐ สตางค์ต่อ ๑ รูปี) โดยสร้างตัวสะพานด้วยไม้สักล้วนๆเป็นสะพานแบบคางยื่น ตอหม้อสร้างขึ้นจากไม้ซุงสัก ความกว้างรถม้าสองคันพอสวนกันทางไปมาได้ มีโค้งบนสะพานนับได้ประมาณเก้าโค้ง ข้ามแม่น้ำปิงระหว่างวักเกตการามฝั่งตะวันออกกับกาดมั่วฝั่งตะวันตก (ขณะนั้นยังไม่มีตลาดวโรรสและตลาดต้นลำไย) ในระยะแรกได้มีการเก็บค่าผ่านทาง

เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเสด็จราชดำเนินเยือนเชียงใหม่ ได้ประทับเสลี่ยงพระที่นั่งผ่านสะพานไม้แห่งนี้ข้ามจากวัดเกตการามมาฝั่งตะวันตก
ต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๘ ขัวกุลาได้ทรุดโทรมลง เจ้าแก้วนวรัฐพร้อมด้วยข้าราชกาลและพ่อค้าบริษัท บอมเบย์เบอร์ม่าได้บริจาคเงินซ่อมแซม โดยได้เปลี่ยนเสาและทำโค้งไหม้สองโค้ง ทำเป็นหัวหมูกันท่อนไม้ซุงลอยมาชนตอสะพานและได้เปลี่ยนพื้นไม้กระดานใหม่ทั้งหมดเป็นเงิน ๓,๑๗๒ บาท โดยถวายเป็นราชกุศล

จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ ขัวไม้สักแห่งนี้จึงถูกรื้อลงเพราะตอหม้อสะพานถูกซุงไม้สักจำนวนหลายพันท่อนชนจนสะพานทรุด ทางการเกรงว่าจะเป็นอันตรายจึงต้องรื้อลง ต่อมาได้สร้างเป็น “ขัวแตะ” ซึ่งใช้ไม้ไผ่สร้างขึ้นไว้ใช้เป็นการชั่วคราวในหน้าแล้งเท่านั้น


ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๘ นายห้างโมตีรามเจ้าของร้านขายผ้าเชียงใหม่สโตร์ร่วมกับชาวบ้านบริจาคเงินสร้างสะพานคอนกรีตชื่อสะพานจันทร์สมอนุสรณ์หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ขัวแขก” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่นางจันทร์สมภรรยานายโมตีราม


“ขัวกุลา” หรือ “ขัวเก่า” คงจะเพียงได้ยินชื่อ และได้เห็นภาพเก่าๆเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าได้เคยมีสะพานไม้สักแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่อยู่ตรงบริเวณเดียวกันกับสะพานจันทร์สมปัจจุบันมาก่อน นับว่าเป็นสะพานที่ถูกใช้งานมานานถึง ๔๒ ปี จึงถูกรื้อลง

เก็บมาเล่า : Nheurfarr Punyadee
ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 31 มี.ค. 2019 6:54 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ภาพเก่าวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จังหวัดแพร่
วัดมิ่งเมืองสมัยที่ยังไม่ได้รวมกันกับวัดพระบาท วัดพระบาทกับวัดมิ่งเมืองเป็นวัดคนละวัดกันในสมัยเจ้าผู้ครองนครแพร่ ตามประวัติวัดมิ่งเมืองเป็นวัดของเจ้าหลวงเมืองแพร่ ส่วนวัดพระบาทเป็นวัดของเจ้าอุปราช มีเพียงถนนเล็กๆกั้นสองวัดนี้ไว้ ต่อมาหมดยุคเจ้าผู้ครองนคร สองวัดนี้จึงถูกรวมกันเป็นวัดเดียวเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เรียกชื่อว่า"วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร"

ปัจจุบันในส่วนของวัดมิ่งเมืองที่เห็นอยู่นี้ได้มีการบูรณะหอไตร หอไตรที่เห็นในภาพยังมีอยู่แต่ปรับปรุงให้ยังคงเป็นลักษณะเดิม ส่วนวิหารเปิดเป็นหอพิพิธภัณฑ์ ภายในยังคงมีพระประธานประดิษฐานอยู่ วัดตั้งอยูตรงมุมสี่แยกพรหมวิหาร(แยกน้ำพุ) ติดกับโรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่

40333.jpg
40333.jpg (56.26 KiB) เปิดดู 6501 ครั้ง


"วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร"เมืองแพร่ ภาพถ่าย ปี พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๒ โดย Egon von Eickstedt

40337.jpg
40337.jpg (74.53 KiB) เปิดดู 6501 ครั้ง

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 31 มี.ค. 2019 6:57 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
รถม้าลำปาง.พ.ศ.๒๔๘๓

40360.jpg
40360.jpg (33.28 KiB) เปิดดู 6501 ครั้ง

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 13 เม.ย. 2019 11:46 am
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ภาพชาวไทลื้อในอำเภอเชียงคำ พ.ศ.๒๔๕๒
สำเนาภาพถ่ายจากหอจดหมายเหตุพายัพ มหาวิทยาลัยพายัพเชียงใหม่
ภาพ : Naren Punyapu

62667.jpg
62667.jpg (85.89 KiB) เปิดดู 6449 ครั้ง


ถนนฮอด-แม่สะเรียง พ.ศ.๒๕๒๒

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 13 เม.ย. 2019 12:07 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
พระยาพิมพิสารราชา เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ ๒๑ (พ.ศ.๒๓๙๐ - ๒๔๒๙)
ภาพ : Disapong Netlomwong
62726.jpg
62726.jpg (99.93 KiB) เปิดดู 6449 ครั้ง


พ.ศ.๒๔๕๓ เกิดเหตุความไม่สงบในจังหวัดแพร่ เมื่อหัวหน้าชาวจีนชื่อจีนชื่อ จีนซิ่น(ปั๊กท่ง) ซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดลำปาง
ได้ร่วมกับพรรคพวกระดับแกนนำจำนวน ๑๗ คนภายใต้ชื่อกลุ่ม เก็กเหม้ง พร้อมอาวุธครบมือ ไปสมทบกับพรรคพวกชาวจีนในจังหวัดแพร่ เพื่อจะไปช่วยฝ่ายปฏิวัติ(ก๊กมินตั๋ง)คนล้มราชวงศ์ชิงในประเทศจีนในที่สุดถูกทางการสยามปราบปราม และ จับกุมได้สำเร็จเมื่อวันที่ ๑๓
มิถุนายนพ.ศ. ๒๔๕๓
62748.jpg
62748.jpg (100.62 KiB) เปิดดู 6449 ครั้ง

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 13 เม.ย. 2019 12:12 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
เมืองปาย พ.ศ.๒๕๒๒
62751.jpg
62751.jpg (143.71 KiB) เปิดดู 6449 ครั้ง


62753.jpg
62753.jpg (70.94 KiB) เปิดดู 6449 ครั้ง


62754.jpg
62754.jpg (92.85 KiB) เปิดดู 6449 ครั้ง

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 13 เม.ย. 2019 12:18 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ประเทศพม่า พ.ศ.๒๓๙๘
62760.jpg
62760.jpg (48.66 KiB) เปิดดู 6449 ครั้ง


62761.jpg
62761.jpg (35.33 KiB) เปิดดู 6449 ครั้ง

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 13 เม.ย. 2019 12:20 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
เจ้านางแว่นทิพย์ เเห่ง เชียงตุง
62777.jpg
62777.jpg (195.48 KiB) เปิดดู 6449 ครั้ง


นางสาวลำพูน พ.ศ. ๒๕๐๑ นางสาวจารุณี ไชยชนะ ประกวดที่ ศาลากลางจังหวัดลำพูน
ขอบคุณภาพจาก Naren punyapu

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 13 เม.ย. 2019 12:26 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
วัดพระแก้ว จ.เชียงราย ในอดีต
วัดพระแก้ว แต่เดิมชื่อวัดป่าเยียะ(ป่าไผ่) เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๗ (ค.ศ.๑๔๓๔) ฟ้าผ่าพระเจดีย์จึงได้พบพระแก้วมรกต(ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง) ชาวเมืองเชียงรายจึงได้เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดพระแก้ว" จนกระทั่งปัจจุบัน

เจดีย์เก่าพระแก้วเชียงราย.jpg
เจดีย์เก่าพระแก้วเชียงราย.jpg (78.87 KiB) เปิดดู 6147 ครั้ง

เจดีย์เก่าวัดพระแก้ว เชียงราย พ.ศ.๒๔๖๕

วัดพระแก้ว” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีตั้งอยู่บริเวณถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียงอำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงราย นอกจากเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงรายมาแต่อดีตกาล วัดแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่ค้นพบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต

เล่าขานตำนาน “พระแก้ว”

แต่เดิมวัดพระแก้วชื่อว่า วัดป่าเยียะ หรือป่าญะ เนื่องจากบริเวณวัดมีไม้เยียะ (ไม้ไผ่พื้นเมืองชนิดหนึ่งคล้ายไผ่สีสุกชาวบ้านนิยมนำมาทำคันธนูและหน้าไม้) เป็นจำนวนมากตามตำนานเล่าว่าเมื่อ พ.ศ.๑๙๗๗ เกิดฟ้าผ่าองค์พระเจดีย์จึงได้พบพระพุทธรูปที่ทำด้วยแก้วมรกตอันงดงามจนเป็นที่เลื่องลือและเรียกขานวัดแห่งนี้ว่าวัดพระแก้ว

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

62783.jpg
62783.jpg (111.9 KiB) เปิดดู 6391 ครั้ง


พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ.๑๙๗๗ ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์

หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้จึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราชได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็ได้อัญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว

เวลาผ่านไปหลายชั่วอายุคน วัดพระแก้วเชียงรายมีการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างเสนาสนะต่างๆแบบศิลปะล้านนา แต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ทราบประวัติความเป็นมาในปี พ.ศ.๒๕๓๓ เนื่องในโอกาสสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา คณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายจึงจัดสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิราบฐานเขียง สร้างด้วยหยกมีขนาดใกล้เคียงกับพระแก้วมรกต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าวัดพระแก้วแห่งนี้เคยเป็นที่ค้นพบพระแก้วมรกตมาก่อน เมื่อสร้างเสร็จในปีถัดมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานนามพระพุทธรูปหยกองค์นี้ว่า “พระพุทธรตนากรนวุตติวัสสานุสรณ์มงคล” และนามสามัญว่า“พระหยกเชียงราย” อันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนที่ได้มาเยี่ยมเยือนวัดแห่งนี้

ที่มา ไปด้วยกัน,วิกิพีเดีย

#พระแก้วมรกตพุทธศิลป์แผ่นดินล้านนา
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

1024px-Summer_-_Emerald_Buddha_resize.jpg
1024px-Summer_-_Emerald_Buddha_resize.jpg (63.67 KiB) เปิดดู 6148 ครั้ง


พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ.๑๙๗๗ ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์


หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้จึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราชได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อเสด็จกลับหลวงพระบางก็ได้อัญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว

ที่มา : วิกิพีเดีย

ภาพแม่ค้ามานั่งของกาดหมั้ว ยามเช้า ณ ลานดินหน้าวัดพระธาตุลำปางหลวง เมื่อราว พ.ศ.๒๕๓๐ -๒๕๔๐ ปีก่อน
คำว่า "กาดหมั้ว" มักเขียนผิดเป็น "กาดมั่ว"
62781.jpg
62781.jpg (128.89 KiB) เปิดดู 6391 ครั้ง

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 13 เม.ย. 2019 2:37 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
วิหารโถงวัดปงสนุก จังหวัดลำปาง
วิหารหลังเก่าที่มีหน้าบันงดงามมาก ตัววิหารเป็นอาคารไม่สูง ลักษณะหลังคาซด ใส่คันทวยแกะสลัก ติดเสาสวยงาม หลังคาต่อปีกนกยาวออกมาอีกหนึ่งตับ น่าเสียดายที่ในปัจจุบันวิหารอันมีเอกลักษณ์แบบเบ้าสล่าล้านนาเช่นนี้แทบไม่มีให้พบเห็นกันแล้ว เนื่องจากปี พ.ศ. ๒๔๘๑ – ๒๔๘๒ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เดินทางไปตรวจราชการทางจังหวัดทางภาคใต้ ท่านได้ปรารภว่าการออกแบบวัดวาอารามต่างๆ ตามระยะทางที่ผ่านไปนั้นมีลักษณะทรวดทรงไม่สวยงาม ไม่เหมาะที่จะเป็นเครื่องแสดงวัฒนธรรมของชาติ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้มอบหมายงานมายังกรมศิลปากร เพื่อทำการออกแบบพระอุโบสถที่ได้มาตรฐานทางสถาปัตยกรรมไทยขึ้น โดยแบ่งออกเป็น ๓ ขนาด ขึ้นอยู่กับงบประมาณในการก่อสร้างเพื่อจัดส่งไปยังจังหวัดต่างๆ ให้ประชาชนได้เห็นเป็นตัวอย่างในการนำไปใช้ก่อสร้างต่อไป

กรมศิลปากรได้มอบหมายให้ พระพรหมพิจิตร เป็นผู้ออกแบบพระอุโบสถทั้งสามแบบดังกล่าว ซึ่งรู้จักกันในเวลาต่อมาในชื่อว่า “พระอุโบสถแบบ ก.ข.ค.” รูปแบบพระอุโบสถดังกล่าวทั้งสามถูกคิดขึ้นจากรูปทรงพระอุโบสถแบบภาคกลางเพียงอย่างเดียวและทั้งหมดก็ล้วนแล้วแต่เป็นงานสถาปัตยกรรมไทยเครื่องคอนกรีตทั้งสิ้น รูปแบบดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดชาตินิยมทางศิลปะ ณ ขณะนั้นที่นิยมยกย่องศิลปะแบบภาคกลางเพียงแบบเดียวเท่านั้นว่ามีความเป็นไทยและสร้างทัศนะคติต่องานท้องถิ่นทั้งหมดว่าไม่สวยงามและไม่มีคุณค่าทางศิลปะเพียงพอ รูปแบบมาตรฐานดังกล่าวได้กลายเป็นต้นเหตุสำคัญให้เกิดการรื้อถอนทำลายพระอุโบสถแบบดั้งเดิมที่ถูกออกแบบด้วยศิลปะแบบท้องถิ่นลงไปอย่างมากมาย รูปแบบพระอุโบสถฉบับมาตรฐานภาคกลางจากกรุงเทพฯ ของพระพรหมพิจิตร ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความทันสมัยและสวยงามแบบใหม่ในสายตาของชนชั้นนำท้องถิ่น โดยเฉพาะเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

นับแต่นั้นความงดงามทางศิลปะท้องถิ่นแบบเบ้าล้านนาก็ค่อยๆหายไปตามกาลเวลา อ่านเรื่องวิหารล้านนาได้ตามลิงก์คะ viewtopic.php?f=6&t=679&start=20

มาถึงตรงนี้นึกถึงผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่เห็นคุณค่าของวิหารแบบเบ้าล้านนา ท่านคือ นายชัยยา พูนศิริวงศ์ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่คนที่ ๒๑ (๑ ตุลาคม ๒๕๒๓ – ๓๐ กันยายน ๒๕๓๐) ท่านผู้นี้เป็นนักสถาปนิกเก่า ทำให้มองออกว่าควรจะพัฒนาบ้านเมืองไปทางทิศทางใด ท่านเลือกให้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกทางวัฒนธรรม และทางประวัติศาสตร์ โดยอนุรักษ์โบราณสถานให้คงอยู่คู่กับเมืองเชียงใหม่ตลอดไป ท่านจึงหวงแหนสิ่งโบราณล้ำค่าตามวัดต่างๆในเขตคูเมือง

ช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯเชียงใหม่ ในหมู่เจ้าอาวาสมีกระแสการสร้างโบสถ์วิหารใหม่ที่สวยงามแข่งกัน ใครจะระดมหาเงินเก่งกว่ากัน ใครสร้างโบสถ์ หรือวิหารได้ ถือว่ามีผลงานจะได้พิจารณาความดีความชอบเพื่อเลื่อนสมณศักดิ์ให้สูงขึ้น เมื่อมีผู้ค้าของเก่าไปเสนอเจ้าอาวาสให้รื้อโบสถ์ วิหารเก่า ที่ทำด้วยไม้สักอายุนับร้อยปีออก โดยผู้ค้าของเก่าจะเป็นผู้รื้อให้เอง ขอเพียงไม้เก่าทั้งหมด ซึ่งในอดีตการสร้างวิหารไม้จะสลักเสลาอย่างสวยงาม ทำให้มีราคาสูง เป็นที่ต้องการของนักสะสมของแต่งบ้านสมัยโบราณ พ่อค้าของเก่าจึงล่อใจเจ้าอาวาสด้วยการให้เงินอีกก้อนหนึ่งเพื่อไปสร้างโบสถ์ วิหารหลังใหม่ เจ้าอาวาสไม่รู้คุณค่าของโบราณสถานก็ยินยอมแต่โดยดี แต่เมื่อนายชัยยาทราบข่าวก็ได้เข้าไปอธิบายคุณค่าของวิหารเก่าแก่ว่าเป็นศิลปะทรงคุณค่า ควรจะเก็บไว้เป็นมรดกของลูกหลาน พร้อมทั้งขอร้องเจ้าอาวาสว่าอย่ารื้อ ให้คำนึงถึงของเก่าอันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ หลายวัดท่านไปห้ามไว้ได้ทัน แต่ก็มีหลายวัดที่ห้ามไม่ทันจึงถูกรื้อไป วัดที่ไม่ได้รื้อนั้นท่านก็จัดสรรงบประมาณไปซ่อมแซมบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง โดยให้สำนักงานศิลปากรเขต ๘ เชียงใหม่ เข้าไปช่วยดูแล

สนใจอ่านเรื่องผู้ว่าฯชัยยา ได้ตามลิงก์ค่ะ viewtopic.php?f=6&t=636&start=120

เล่ายาวมากนึกอะไรได้ก็เพิ่มเติมลงไป ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ อยากให้เห็นคุณค่าของมรดกวัฒนธรรม มรดกจากบรรพบุรุษ..หากเราไม่ช่วยกัน แล้วใครจะมารักษา <3

62779.jpg
62779.jpg (83.88 KiB) เปิดดู 6390 ครั้ง

ภาพจาก ศูนย์การเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมชุมชนบ้านปงสนุก

บ้านหม่อน ของคุณสุมาลี อายุ ๖๕ ปี ปลูกที่ป่าซาง จ.ลำพูน
62721.jpg
62721.jpg (54.45 KiB) เปิดดู 6390 ครั้ง

บ้านไม้โบราณที่มีลายลูกไม้แปลกตามาก มีกอโกสน หม้อโซ่ยตีน ก่อนขึ้นคันได มีฮ้านน้ำหม้อ ตรงระเบียงแบบเบ้าล้านนายุคบ้านหม่อน ปัจจุบันรื้อออกไปแล้วเพราะทรุดโทรมมาก