เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงใหม่

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 26 พ.ค. 2019 1:18 pm

เพลงใบบุญเมืองพร้าว




บทเพลงแนะนำเมืองพร้าว อดีต "เวียงพร้าววังหิน" เมืองเก่าอันมีอดีตแสนยาวนาน เมืองพร้าววังหินเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๒๔ โดย "พระญามังราย"(พญามังราย) ณ ตำบลแจ้สัก หรือเดิมเรียกว่า เวียงหวาย พื้นที่เมืองพร้าวก่อนยุคพญามังรายเคยเป็นเมืองอยู่ก่อนแล้วมาตั้งแต่โบราณ ปัจจุบันเมืองพร้าวยังคงเป็นเมืองแห่งความสงบร่มเย็น ผู้คนใช้ชีวิตตามวิถีล้านนา ยังคงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี และธรรมชาติเอาไว้ได้อย่างน่าทึ่ง
ขับร้อง : สรรชัย ฉิมพะวงศ์
คำร้อง ทำนอง : อ้ายสรรชัย ฉิมพะวงศ์
วีดีโอ : Thongin Wongrak

ดอยจอมหดไม่เหงาเมื่อมีเมฆบางเบาโอบกอดให้อุ่นใจ
147147_resize.jpg
147147_resize.jpg (46.06 KiB) เปิดดู 5888 ครั้ง

ภาพ : Thiraphat Yawichai
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 12 ม.ค. 2020 6:22 pm

เวียงพร้าว
26821.jpg
26821.jpg (44 KiB) เปิดดู 5699 ครั้ง

หลังจากเดินผ่านที่ราบ ๓ไมล์ เราก็เข้าประตูทางทิศเหนือของเวียงพร้าว อยู่ไกลจากเมืองเชียงใหม่ ๔๔ไมล์ สูงเหนือระดับน้ำทะเล ๑๔๒๖ ฟุต เมืองเพิ่งสร้างรั้วระเนียดบนเนินดินล้อมรอบ ขุดคูกว้าง ๑๐ ฟุต ลีก ๑ ฟุต

เมื่อเดินไปตามถนนในตัวเมือง เราจึงพักที่ศาลา ที่อยู่ตรงกันข้ามกับศาลยุติธรรม

เมื่อรู้ข่าว น้องชายเจ้าเมือง ซึ่งปลูกเรือนหลังใหม่อยู่พอดี ส่งคนมาขอยืมเข็มทิศทันที เพื่อเอาไปวัดว่า ทิศเหนือเเละทิศใต้ที่เขากำหนดเองนั้น ถูกต้องหรือไม่

เมื่อไปถึง ข้าพเจ้าพบว่า เสาเรือนตั้งคลาดเคลื่อนจากเส้นแนวแรงเหนือใต้ของแม่เหล็ก ๕ องศา เช่นเดียวกับทิศทางการตัดถนนเส้นหลักในตัวเมือง ตัวเมืองวางแผนผังดี ถนนกว้างขวาง ทุกแห่งดูสะอาดเรียบร้อย

เจ้าเมืองมาพบในตอนค่ำ ท่านบอกว่า พระเจ้าเมืองเชียงใหม่ทรงตั้งเวียงพร้าว ให้เป็น “เมือง” ในพ.ศ. ๒๔๑๓

ก่อนหน้านั้น เป็นหมู่บ้านที่ขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ ใน พ.ศ. ๒๔๑๑- ๑๒ เจ้าฟ้าโกหล่านแห่งเมืองเงี้ยวมาโจมตีเมือง เผาหมู่บ้าน ๖ แห่ง และในพ.ศ. ๒๔๑๕ เข้ามาเผาหมู่บ้าน อีก ๒ แห่ง

ตามคำบอกเล่าของเจ้าเมือง เมืองมีเรือนของชาวล้านนา ๙๐๐ หลัง ในรั้วระเนียด มี ๒๐๐ หลัง นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านชาวลัวะเชียงตุง ๒ แห่ง เเละกะเหรี่ยงอีก ๓ แห่ง

ถึงแม้ไม่นานมานี้ ชาวเมืองหลายร้อยหลังคาเรือนอพยพไปเมืองฝาง ท่านก็ยังเหลือชายฉกรรจ์ ๑๐๐๐ คน ในตัวเมืองเเละรอบนอก มีวัด ๔ แห่ง พระสงฆ์ ๘ รูป

เมื่อถามว่า เหตุใดชาวเมืองจึงอพยพไปเมืองฝาง ท่านเริ่มตื่นตัว แล้วบอกว่า ระยะหลังเจ้านายเมืองเชียงใหม่ผูกขาดการค้าเหล้า หมู ใบยาสูบ อีกทั้งเก็บภาษีครั่งอย่างไม่สมเหตุสมผล ชาวบ้านจึงเลิกไปเก็บครั่งตั้งเเต่นั้น ไร่ฝ้ายก็มีน้อย เพราะเมืองเชียงใหม่เรียกเก็บภาษีฝ้ายด้วย

ข้าพเจ้าถามเรื่องผูกขาดการค้า เจ้าเมืองตอบว่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทุกตำบล ยินยอมขายเหล้า แก่พ่อค้าผู้ผูกขาดในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจะบวกราคาเพิ่มเป็น ๓๐ เท่า

ชาวเมืองไม่มีสิทธิต้มเหล้าขาย หรือแม้เเต่ดื่มเอง ส่วนหมู เมื่อฆ่าหมู ๑ ตัว ต้องจ่ายภาษี ๑ รูปีสำหรับเลี้ยงผี เเละ ๑.๕ รูปีสำหรับบริโภคตามปกติ เงินหนึ่งในสิบส่วน ตกเป็นของเจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษี สำหรับใบยาสูบ ชาวเมืองต้องเสียภาษี หนึ่งในสี่ส่วนจากยอดขาย ซึ่งอย่างหลัง หากข้อมูลไม่ผิดพลาด ก็ถือว่า เป็นการเก็บภาษีที่แพงมากจริงๆ นอกเหนือจากนี้ ชาวเมืองไม่บ่นอะไร

การเก็บภาษีในล้านนา ผ่อนปรนกว่าสยามมาก ดังนั้น ผู้คนจึงมีชีวิตที่ดีกว่าด้วย

การเดินทางจากเวียงพร้าว ไปเมืองเชียงดาวใช้เวลา ๑ วัน ไปบ้านหนองกวาง ริมฝั่งแม่ลาวใช้เวลาเดินทาง ๓ วัน ทิวเขาที่ขวางกั้นเส้นทางหลังนั้น ท่านบอกว่า ข้ามได้ง่าย เพราะสูงเท่ากับทิวเขาที่อยู่ระหว่างเมืองฝางกับเวียงพร้าว

เมืองโบราณที่ชื่อ เวียงหวาย ตั้งอยู่ ๘ ไมล์ไปทางทิศตะวันตกของเวียงพร้าว ฯ

ภาพ เจ้าขัตติยะ โอรสพระเจ้าอินทวิชยานนท์

ที่มา บันทึกของ Hallett, Holt Samuel [โฮลต์ ซามูเอล ฮาลเล็ตต์]
เสียชีวิตเมื่อ: ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๔, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
สุทธิศักดิ์ ถอดความ
หนานชิโร่ เเต้มสี
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 24 ก.พ. 2020 2:57 pm

กู่เวียงยิง บ้านทุ่งน้อย ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
872509.jpg
872509.jpg (103.4 KiB) เปิดดู 5575 ครั้ง

หลังจากที่พระญามังรายได้ส่งขุนฟ้าไปเมืองหริภุญชัยแล้ว จึงรับสั่ง ให้ราชโอรสองค์ใหญ่ ทรงพระนามว่าขุนเครื่อง ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๓ พรรษาให้ไป ครองเมืองเชียงราย ส่วนพระญามังรายครองราชย์สมบัติ ณ เมืองฝาง ฝ่ายขุนเครื่อง ราชโอรส เสด็จไปครองเมืองเชียงรายได้ไม่นานนักอำมาตย์ผู้หนึ่ง มีชื่อว่าขุนใสเวียง ได้กราบทูลยุยงให้คิดกบฎต่อพระบิดา โดยให้ชิงเอาราชสมบัติเมืองเชียงรายเสีย และให้จัดกำลังพลแข็งเมือง

ฝ่ายพระญามังรายทรงทราบ จึงปรารภว่าขุนเครื่องผู้มีบุญน้อยจะมาคิดแย่งราชสมบัติกูผู้เป็นพ่อเช่นนี้ จักละไว้มิได้ จึงมอบให้ขุนอ่องซึ่งเป็นทหารผู้ไว้วางพระราชหฤทัยผู้หนึ่ง ไปเชิญขุนเครื่องผู้โอรสให้มาเฝ้าที่เมืองฝาง ในขณะที่ราชโอรสเดินทางจากเมืองเชียงราย จะมาเฝ้าพระราชบิดาตามคำบอกเล่าของขุนอ่อง ท่านพระญามังรายจึงมอบให้ทหารผู้แม่นธนูได้ดักยิงที่กลางทางด้วยธนูอาบยาพิษ ทำให้ขุนเครืองสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง ณ ที่แห่งหนึ่งในเขตอำเภอพร้าว

บริเวณนั้นพระญามังรายได้เสด็จมาจัดการพระศพราชโอรสและทรงให้สถาปนา บริเวณ ที่ขุนเครื่องถูกปลงพระชนม์นั้นเป็นอารามเรียกว่า วัดเวียงยิง มีซากเจดีย์ร้างอยู่แห่งหนึ่งอยู่บนเนินเขาที่บ้านทุ่งน้อย ตำบลบ้านโป่งอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ชาวบ้านเรียกว่า วัดเชียงยิง หรือวัดกู่ยิง(วัดสันป่าเหียง) ครั้นแล้วก็โปรดให้อัญเชิญพระศพไปฌาปนกิจเสียที่เมืองเชียงราย

วัดเวียงยิง ตั้งอยู่บริเวณสันป่าเหียง และทำการสร้างวัดบริเวณพระธาตุกู่เวียงยิง ด้วยลักษณะที่ตั้งอยู่สูงเกินไป ประกอบกับได้เกิดฟ้าผ่าบนยอดฉัตรพระธาตุบ่อยครั้งจนเป็นเหตุให้ยอดฉัตรเจดีย์พังทลายลงมา จนชาวบ้านต่างเรียกขานว่า “ธาตุกุด” ต่อมาได้เกิดปัญหาภัยแล้ง และขาดแคลนน้ำเพราะลักษณะการตั้งวัดอยู่ในที่สูง ชาวบ้านและเจ้าอาวาสจึงได้ย้ายวัดลงมาตั้ง บริเวณที่แห่งใหม่ ลงมาอีก ประมาณ ๑๐๐ เมตร หรือวัดทุ่งน้อยในปัจจุบัน นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุกู่เวียงยิงจึงถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า ถูกปกคลุมด้วยวัชพืช ในวัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปเก่าแก่ประดิษฐานอยู่ ๒ องค์มีลักษณะสวยงามมาก ขณะนี้เก็บไว้ที่ วัดป่าลัน ตำบลบ้านโป่ง และที่วัดหนองอ้อ ตำบลเวียง เรียกว่า พระฝนแสนห่า
2358999.jpg
2358999.jpg (94.11 KiB) เปิดดู 5575 ครั้ง


ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ อาจารย์อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว นักประวัติศาสตร์ และกรมศิลปากรเข้าไปตรวจสอบ และขุดค้นเพิ่มเติม พบว่านอกจากองค์เจดีย์แล้ว ยังพบซากฐานอุโบสถ ซากวิหาร และประตูวัดทั้งสี่ด้าน น่าสนใจว่า ฐานอุโบสถและวิหารดังกล่าวตอนนี้ยังมีอยู่ไหม

ข้อมูล : ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว , เวียงพร้าววังหิน
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับ

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 69 ท่าน

cron