ภาพเก่า และของดีเมืองพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: ภาพเก่า และของดีเมืองพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 08 ส.ค. 2019 10:32 pm

ซุ้มสอยดาว งานปอยหลวง บ้านทุ่งห้า ต.ป่าตุ้ม พ.ศ.๒๕๒๔
ปอยหลวงต้งห้า2524.jpg
ปอยหลวงต้งห้า2524.jpg (78.47 KiB) เปิดดู 7509 ครั้ง


สอยดาวปอยหลวง ต้งห้า.jpg
สอยดาวปอยหลวง ต้งห้า.jpg (70.2 KiB) เปิดดู 7509 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ภาพเก่า และของดีเมืองพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 16 ส.ค. 2019 6:21 am

ภาพถ่ายครูและนักเรียน โรงเรียนบ้านเปียง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายสุด อาจารย์วิโรจน์ เวชกิจ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว สถานที่ทำงานสุด ท้าย คือ โรงเรียนพร้าววิทยาคม เกษียณอายุปีการศึกษา ๒๕๓๓
144200.jpg
144200.jpg (31.72 KiB) เปิดดู 7497 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ภาพเก่า และของดีเมืองพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย admin » จันทร์ 14 ก.ย. 2020 6:20 am

#ช้างเมืองพร้าว ช้างพลายสีประหลาด พระเศวตวรวรรณ สรรพวิสิทธิคชลักษ์สมพงษ์ ทนิมศักดิ์ธำรงมิ่งมงคลรัตนาศน์ จักรพรรดิราชกุญชรหัสดินทรรัตน์ประเสริฐเลิศฟ้า
พระเศวต.jpg
พระเศวต.jpg (72.27 KiB) เปิดดู 4597 ครั้ง

ตามบันทึกของหนานอินต๊ะอักษรได้บันทึกไว้ว่า “ปีเหมืองเหม้า จุลศักราช ๑๒๒๙ ตัว เดือน ๔ (เหนือ) แรม ๘ ค่ำ (วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๐ ปีเถาะนพศก)” ช้างปู่แสนบ้านเหล่าเกิดเป็นช้างโก้ง (ด่าง) แสนวงบ้านท่อ (อำเภอเมืองเชียงใหม่) รับอาชญาพ่อเจ้าชีวิตกาวิโลรสขึ้นมาเป็นกรรมการหมู่เมืองพร้าวได้รักษา (ช้าง) มีนายบุญมา หนานอินต๊ะ ปั้นแบบแต้มหมายที่โก้ง หื้อแสนวงเอาแบบลง (ไปเชียงใหม่) ต่อมาช้างสีประหลาดเชือกนี้ถูกนำไปถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ.๒๔๑๒ และได้รับการแห่ขึ้นโรงสมโภชขึ้นระวาง ทรงพระราชทานนามว่า “พระเศวตวรวรรณ สรรพวิสิทธิคชลักษ์สมพงษ์ ทนิมศักดิ์ธำรงมิ่งมงคลรัตนาศน์ จักรพรรดิราชกุญชรหัสดินทรรัตน์ประเสริฐเลิศฟ้า”

พระเศวตวรวรรฯ เป็นช้างที่สำคัญช้างที่หนึ่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นลูกช้างด่าง ตกที่เมืองพร้าว พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครอบครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖ โปรดให้นามไชยวงศ์ พระยาไชยเลิก คุมลงมาถวายที่กรุงเทพมหานคร เดินทางเมื่อ วันขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑ ปีมะเส็งเอกศก จุลศักราช ๑๒๓๑ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชสมโภช ขึ้นระวาง ณ โรงพิธี สนามชัย พระราชทานนามว่า พระเศวตวรวรรณฯ และโปรดฯ ให้สร้างโรงช้างต้นขึ้นภายในบริเวณพระราชวังดุสิต (ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น ถนนอู่ทองใน) พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นผู้ตั้งนามและแต่งคำฉันท์ดุษฎีสังเวย กล่อมพระเศวตวรวรรณฯ

ต่อมา หนานอินต๊ะอักษร ได้ขึ้นเป็น แสนอินอักษร
หนานบุญมา เป็น พญาเขื่อนเมือง พ่อเมืองพร้าว

ที่มา : บันทึกของหนานอินต๊ะ (แสนอินอักษร) ,รชต ชาญเชี่ยว
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: ภาพเก่า และของดีเมืองพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 29 พ.ค. 2021 12:00 pm

237998_0_2.jpg
237998_0_2.jpg (78.63 KiB) เปิดดู 4138 ครั้ง

พระยอดขุนพล ปรกโพธิ์ ฐานสำเภา กรุเมืองพร้าว พิมพ์เล็ก เรียกอีกชื่อว่า พระนางสามผิว เพราะตอนพระขึ้นกรุมาใหม่ๆมีกลิ่นหอม ที่มา เป็นพระที่แตกกรุเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ บริเวณหลังบ้านของนายคำ นวลปิง บ้านสันทราย ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว ซึ่งบริเวณนั้นเคยเป็นวัดร้างมาก่อน มีซากอิฐปรักหักพังกองอยู่ บ่งบอกได้ว่าน่าจะเคยเป็นวิหารเก่า
237999_2.jpg
237999_2.jpg (82.36 KiB) เปิดดู 4138 ครั้ง

ต่อมามีคนเจอรูแมงมัน จึงไปขุดแมงมันบริเวณฐานพระพุทธรูป เมื่อขุดไปได้ความลึกระดับหนึ่งจึงพบกรุพระเก่า มีพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์วางรวมกันอยู่ ทั้งที่เป็นองค์เล็กและองค์ใหญ่นับร้อยองค์ บางส่วนเป็นพิมพ์ฐานสำเภาซึ่งเคยพบที่กรุอำเภอแม่แตงและอำเภอฝาง โดยพระเครื่ององค์เล็กจะแปะติดไว้ที่ผนังฐานพระพุทธรูปด้านใน บ้างก็วางรวมกันไว้ เป็นพระเชียงแสนพิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อตะกั่วสนิมแดง และพระเนื้อดินพิมพ์ปรกโพธิ์ฐานสำเภา
1871144.jpg
1871144.jpg (74.71 KiB) เปิดดู 4138 ครั้ง


สมัยนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่จะไม่กล้านำพระกลับมาไว้ที่บ้าน เพราะตัวตกขึด บางคนที่ไม่กลัว นำมาบูชาไว้ที่บ้านได้โดยปกติ ในขณะที่บางคนนำมาบูชาแล้วเด็กร้องทั้งคืน ฝันร้าย หรือหมาเห่าตลอดคืน จนต้องนำกลับมาไว้ที่เดิมก็มี

ที่มา : Charoenporn Kaewthong
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ภาพเก่า และของดีเมืองพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » ศุกร์ 04 ก.พ. 2022 2:48 pm

20526296_1915478682057094_7841906305604429165_n.jpg
20526296_1915478682057094_7841906305604429165_n.jpg (28.31 KiB) เปิดดู 3405 ครั้ง

ประวัติพ่อครูจันทร์ตา เลาคำ
นายอินตา เลาคำ เป็นนามที่ใช้ในบัตรประชาชน แต่ชื่อในการแสดงได้ใช้ชื่อว่า จันทร์ตา เลาคำ ได้เกิดวันศุกร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๖ ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ บ้านตีนธาตุ หมู่ ๔ ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าวจังหวัดเชียงใหม่ นายอินตา เลาคำ ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านสันกลาง ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และได้ทำการสมรสกับ นางประพิน ก๋าใจ ซึ่งได้ทำอาชีพการตัดเย็บเสื้อผ้า โดยมีบุตรด้วยกัน ๑ คน ชื่อ นางสาวจิราภรณ์ เลาคำ ปัจจุบันได้พักอยู่บ้านเลขที่ ๘๑/๑ หมู่ ๑๐ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

นายอินตา เลาคำ เป็นบุตรชายของ นายสุข เลาคำ และนางแสง เลาคำ และมีพี่น้องร่วมสายเลือดทั้งหมด ๘ คน คือ นางบัวเร็ว เลาคำ , เด็กชายประพันธ์ เลาคำ (เสียชีวิตแล้ว) , นายอินตา เลาคำ , นางสมเพชร จินดามัง , นางยุพิน แจ้งสว่าง , นายประสิทธิ เลาคำ (คือปั๋นแก้ว เลาคำ ช่างซอ) , นางพิมพ์พร เลาคำ (เสียชีวิตแล้ว) และนางหงษ์คำ เลาคำ ซึ่ง นายอินตา เลาคำ เป็นบุตรคนที่ ๓ มีอุปนิสัยที่รักการแสดง ศิลปะ และการขับร้อง ขับซอ เป็นชีวิตจิตใจ มีนิสัยอ่อนโยน มีเหตุผล เอาจริงเอาจังกับงาน เป็นคนตรงไปตรงมาไม่ชอบอ้อมค้อม และรักความยุติธรรมเป็นที่สุด

นายอินตา เลาคำ ได้เกิดกับครอบครัวที่มีฐานะยากจน พ่อแม่มีอาชีพทำนา ทำไร รับจ้างทั่วไป แต่ด้วยความชอบและรักในการแสดงร้องรำทำเพลงเป็นชีวิตจิตใจ ทุกวันเวลาไปทำนา ทำไร่ หรือทำงาน นายอินตา จะหิ้ววิทยุทรานซิสเตอร์ไปด้วยทุกครั้งไม่เคยขาด นอกจากเป็นคนที่มีนิสัยอ่อนโยน และยังขยันช่วยพ่อแม่กตัญญูรู้คุณ พอถึงหน้าทำนา นายอินตา ก็จะไปเป็นลูกจ้างเลี้ยงควาย โดยจะต้องตื่นเวลา ๕.๐๐ น.ทุกวันเพื่อขี่ควายไปส่งให้นายจ้างที่ทุ่งนาแล้วกลับไปเก็บมูลควายให้สะอาด จากนั้นจึงกินข้าวอย่างเร่งรีบเพื่อให้ทันไปรับควายมาเลี้ยง พอถึงเวลาเที่ยงก็นำควายกลับให้นายจ้างได้ใช้ไถนา จากนั้นต้องกลับมานำฟืนทำกองไฟเพื่อสุมให้ควายกันเลือบ ยุง พอตกเย็นก็ไปรับควายกลับบ้าน ทำอย่างนี้ตลอดระยะเวลาจนทำนาเสร็จประมาณ ๑ เดือน หรือเดือนครึ่ง ก็จะได้ค่าจ้างเป็นข้าวเปลือก ๕ กระบุง และช่วงของการทำนา นายอินตาก็จะใช้เวลาว่างหรือในช่วงเที่ยงที่เลี้ยงควายทำเบ็ดตกปลาไปด้วย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่อีกทางหนึ่ง เป็นอย่างนี้ตลอดทั้งปี และเป็นประจำทุกปี

เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี นายอินตา เลาคำ ได้จบการศึกษาจากชั้นประถมศึกษาปี่ที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๐๙และได้ออกมาช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ประกอบกับฐานะพ่อแม่ยากจน ครอบครัวจึงไม่มีใครมีโอกาสเล่าเรียนถึงมัธยมปลาย จนอายุได้ ๑๘ ปี ได้ทราบว่ามีเพื่อนในหมู่บ้านเดียวกันไปเรียนการขับซอกับคุณแม่คำปัน เงาใส ศิลปินอาวุโส ชื่อดังแห่งบ้านทุ่งหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งด้วยความชอบ และรักในการแสดง จึงได้เข้าไปขอเป็นศิษย์กับคุณแม่คำปัน เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๕ ในการเรียนช่วงแรกก็มีปัญหาเสียงไม่ดี แต่ด้วยความรักที่จะเป็นศิลปิน จึงหันมาฝึกการแสดงนายอ่าย (ตัวตลก) ซึ่งในตอนนั้นนายอ่ายที่มีชื่อเสียงคือ พ่อบุญตัน ชือทัศ อยู่บ้านหนองไคร่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยแม่ครูเป็นผู้แนะแนว และติตามดูการแสดงมาโดยตลอด พร้อมกันนั้น พ่อบุญตัน ยังได้ทำการฝึกหัดการเป่าปี่ให้กับแม่ครูคำปันอีกทางหนึ่งด้วย
นายอินตา เลาคำ ได้อยู่รับใช้แม่ครูมาจนอายุได้ ๒๕ ปี จึงได้ทำการสมรสกับนางประพิน ก๋าใจ และได้ย้ายตัวเองไปอยู่กับภรรยาที่บ้านหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ แต่ก็ยังไม่เลิกจากการแสดง ยังคงพยายามฝึกฝนมาตลอด พอเสียงดีขึ้นมาจึงได้หันมาศึกษาการขับซออย่างจริงจัง และเริ่มมีลูกศิษย์เป็นของตนเองคือนายประสิทธิ์ เลาคำ (น้องชาย) เมื่อสอนนายประสิทธิ์ (ปั๋นแก้ว ช่างซอ) ให้เป็นศิลปินจนเป็นที่รู้จักของประชาชนอย่างแพร่หลาย ต่อมาก็มีผู้สนใจมาขอเข้าเป็นศิษย์เรื่อยมามีทั้งผู้ที่สามารถเรียนรู้จนจบสิ้นกระบวนการและผู้ที่ยังไม่จบ ในปี ๒๕๑๙ นายอินตา เลาคำได้ร่วมกับเพื่อนๆที่เป็นศิษย์แม่ครูเดียวกัน จัดตั้งละครซอขึ้นมา

๑ วง โดยใช้ชื่อคณะพร้าวล้านนา
นายอินตา เลาคำ รับหน้าที่เป็นผู้กำกับการแสดง และเขียนบท แต่การแสดงก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร จนปี ๒๕๒๕ วงก็ล้ม จากนั้นจึงได้กลับไปประกอบอาชีพทำสวนกะหล่ำ และสวนกระเทียมที่บ้านหนองบัว ควบคู่ไปกับการแสดง แต่การแสดงก็ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด จนกระทั่งในปี ๒๕๒๘ แม่ครูคำปัน เงาใส ได้เสียชีวิตลง นายอินตา เลาคำ จึงคิดที่จะเอาดีทางด้านการเกษตรในการปลูกหอมขาว หอมแดง ปลูกกระหล่ำ ตลอดมา ในระยะนี้งานแสดงซอก็ห่างมาก จนปี ๒๕๓๒ นายมานพ เมืองพร้าว เพื่อนของนายอินตา เลาคำ ซึ่งเป็นศิลปินชื่อดัง ก็มาชักชวนให้เข้าร่วมกับคณะศรีสมเพชร ๒ เพื่อแสดงเป็นตัวตลก ทำให้นายอินตา ได้มีโอกาสกลับเข้าสู่การแสดงอีกครั้ง จากนั้นการแสดงก็เพิ่มมากขึ้น

ปี ๒๕๓๔ จึงได้มีโอกาสร่วมวงกับบุญศรี รัตนัง ซึ่งเป็นคู่สำรอง พอถึงปี ๒๕๓๗ ก็ลาออกจากวงละครซอศรีสมเพชร ๒ และได้ร่วมงานกับบุญศรี รัตนัง จัดตั้งวงละครซอขึ้นอีกครั้ง โดยใช้ชื่อคณะบุญศรี รัตนัง ซึ่งทำเป็นวงละครซอควบคู่กับดนตรีลูกทุ่งวงใหญ่ มีลูกสมาชิกทั้งหมด ๔๒ คน โดยนายอินตา เลาคำ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการวง และคิดหาวิธีพัฒนาการแสดงต่างๆ โดยการนำเอากลองสบัดชัย และกลองปู่เจ่ กลองตึ่งนง และกลองมองเซิงเข้ามามีบทบาทควบคู่ไปกับการขับร้องเพลงลูกทุ่งคำเมือง จนทำให้บุญศรี รัตนัง ได้เป็นนักร้องพระพิฆเนศทองพระราชทานขึ้นในปี ๒๕๓๙ ส่งผลให้การแสดงเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่นั้นมา จนมาถึงปี ๒๕๔๔ บุญศรี รัตนัง เกิดอาการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดอาการวูบ มือเท้าชาจนเดินไม่ได้ อาการดังกล่าวได้เกิดขึ้นในช่วงที่กำลังทำการแสดง ในที่สุดจึงต้องประกาศยุบวงในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๔

นายอินตา เลาคำ จึงได้มาร่วมกับคุณแม่บัวซอน ถนอมบุญ ตั้งคณะละครซอใหม่ขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า คณะดาวล้านนา มีสมาชิกเกินกว่า ๒๐ คน ซึ่งได้รวบรวมลูกศิษย์และเพื่อนๆเข้ามามีส่วนร่วมในคณะละครซอดังกล่าว โดยนายอินตา เลาคำ เป็นผู้ควบคุมวง และการแสดงทั้งหมด

เกียรติคุณและรางวัลที่เคยได้รับ


๑. เกียรติบัตรจากสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอแม่แตง ได้สนับสนุนและส่งเสริม
ศิลปะวัฒนธรรมเพลงซอพื้นบ้าน เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๐

๒. เกียรติบัตรจากคณะสงฆ์ อำเภอแม่ริม ในการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมตามโครงการ
วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒

๓. เกียรติบัตรจากสถาบันราชภัฎเชียงใหม่ที่เข้าร่วมแสดงซอและดนตรีพื้นบ้าน วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๒

๔. เกียรติบัตรจากโรงเรียนสามัคคีวิทยาที่ได้ช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียน

๕. เกียรติบัตรจากสถาบันราชภัฎเชียงใหม่ ในการให้ความร่วมมือแสดงดนตรีพื้นบ้าน (ซอ)
ในงานเทอดพระเกียรติครูการศึกษาพิเศษของแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๒

๖. เกียรติบัตรจากวิทยาเขตอินทนนท์จัดค่ายพัฒนาจัดค่ายอัจฉริยะนักเรียน ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๔

๗. โล่เกียรติยศ นักแสดงยอดเยี่ยมระดับจังหวัด วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๕

ขอขอบคุณที่มา http://www.salahlanna.com/advise_๓.html
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ภาพเก่า และของดีเมืองพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » ศุกร์ 04 ก.พ. 2022 2:56 pm

แม่ครูบัวซอน ถนอมบุญ (บัวซอนเมืองพร้าว) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-การขับซอ) ประจำปี ๒๕๕๕ "

บรมครูวงการซอเมืองพร้าว นางบัวซอน ถนอมบุญ ชื่อในวงการ : บัวซอน เมืองป๊าว

317940_441449119254427_1210127083_n.jpg
317940_441449119254427_1210127083_n.jpg (170.77 KiB) เปิดดู 3405 ครั้ง


ประวัติส่วนตัว

วัน เดือน ปีเกิด ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๗

สถานที่เกิด บ้านต้นรุง ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อบิดา มารดา นายไว - นางหมู ถนอมบุญ

จำนวนพี่น้อง ๔ คน แม่บัวซอนเป็นคนสุดท้อง

สถานภาพ สมรสกับนายสมพร อินถา

จำนวนบุตร ๒ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๑ คน

ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ ๑๑๘/๓ บ้านพระเจ้านั่งโก๋น ตำบลดอนแก้ว

อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ๐-๘๑๒๘-๘๘๑๒๕ ๐-๕๓๘๙-๐๕๐๖



นางบัวซอน ถนอมบุญ

ชื่อในวงการ : บัวซอน เมืองป๊าว



ประวัติส่วนตัว

วัน เดือน ปีเกิด ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๗

สถานที่เกิด บ้านต้นรุง ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อบิดา มารดา นายไว - นางหมู ถนอมบุญ

จำนวนพี่น้อง ๔ คน แม่บัวซอนเป็นคนสุดท้อง

สถานภาพ สมรสกับนายสมพร อินถา

จำนวนบุตร ๒ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๑ คน

ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ ๑๑๘/๓ บ้านพระเจ้านั่งโก๋น ตำบลดอนแก้ว

อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ๐-๘๑๒๘-๘๘๑๒๕ ๐-๕๓๘๙-๐๕๐๖



ประวัติการศึกษา เรียนสำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนต้นรุง

แม่บัวซอนฝึกหัดเล่นลิเกเมื่ออายุได้ ๑๑ ปี

และออกแสดงลิเกตามงานต่างๆ

เป็นเวลา ๒ ปีจากนั้นทางญาติจึงได้นำไปฝากเรียนซอ

กับแม่ครูคำปัน เงาใส ช่างซอเมืองพร้าว

ขณะอายุได้ ๑๓ ปี โดยเป็นลักษณะการเรียนแบบท่องจำเครือซอ

(คำซอทีมีทำนองต่างๆ) พร้อมกับช่วยแม่ครูทำงานบ้านไปด้วย



ประวัติการทำงาน ๑.ด้านการแสดงแม่บัวซอนเรียนซอประมาณ ๓ เดือนก็สามารถออกซอได้ จากนั้นได้ไปซอประกวดในงานประจำอำเภอและได้รางวัลที่ ๑ การซอในระยะแรกๆของแม่บัวซอนยังไปตามบทตามหลักที่แม่ครูสอนมา จากนั้นก็ได้ร่วมคณะปี่คณะซอต่างๆหลายคณะ ทั้งยังได้มีโอกาสซอร่วมกับช่างซอระดับครูเป็นคู่ถ้องหลายคนจนมีประสบการณ์และมีความสามารถในการซออย่างไรก็ตาม แม่บัวซอนได้หยุดพักการซอไปเกือบ ๒๐ ปี เนื่องต้องทำหน้าที่แม่บ้านและดูแลบุตรต่อมา มีผู้เรียกร้องให้แม่บัวซอนกลับมาซออีกครั้งแม่บัวซอนจึงได้ตัดสินใจกลับมาซอและยังคงได้ความนิยมจากผู้ฟังในพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งได้รับความนิยมจากผู้ว่าจ้างให้ไปซอในงานต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ลักษณะเด่นและความสามารถในการซอของแม่บัวซอน คือ เป็นช่างซอทีมีปฏิภาณ ไหวพริบดี ใช้ถ้อยคำได้ไพเราะ คมคาย มีน้ำเสียงไพเราะจับใจผู้ฟัง นอกจากนี้แม่บัวซอนยังได้แต่งเนื้อเพลงซอ หรือบทขับซอ(เครือซอ) ไว้หลายบทหลายเพลง รวมทั้งมีการบันทึกเพลงซอลงแผ่นเสียงและเทปคาสเซสไว้เป็นจำนวนมากโดยได้บันทึกแผ่นเสียงชุดแรกเรื่อง “น้ำตาเมียหลวง” ซอคู่กับ บุญศรี สันเหมืองเมื่ออายุได้ ๑๘ ปี หรือปี พ.ศ ๒๕๐๕ รวมระยะเวลาการเป็นช่างซอ ๔๕ ปี



๒.ผลงานการเผยแพร่ที่สำคัญ

- รับจ้างแสดงซอในงานต่างๆ ทั่วภาคเหนือร่วมงานซอ

กับคณะซอต่างๆ

- ซอออกอากาศทางสถานีวิทยุ ต่างๆ เช่น วปถ. ๒ FM ๑๐๐

รายการมรดกล้านนา วิทยุล้านนา FM ๙๗.๕ เป็นต้น

- ผลิตเทปซอพื้นเมืองออกจำหน่าย เช่น เรื่องประวัติครูบา

เจ้าศรีวิชัย ๑-๒ พระอรหันต์ประจำวันเกิด จ๊อยพระคุณแม่

ศาสนาเหมือนมหาสมบัติสิบประการ เป็นต้น

- ประพันธ์บทซอจำนวนหลายสิบเรื่อง เช่น ประวัติครูบาเจ้า

ศรีวิชัย เรื่องต่อต้านยาเสพติด โครงการสีขาว เรื่องหน้าที่

เยาวชน ซอเกี้ยวสาว เรื่องอริยสัตย์สี่ เรื่องพระคุณของแม่

- เข้าร่วมแสดงซอในงานสำคัญของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ

และเป็นวิทยากรรับเชิญ บรรยายประกอบการสาธิตการซอ

ให้กับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ

- ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๓ เข้าร่วมงานบายศรีสู่ขวัญสืบสานพันธ์

ช้างไทย ณ แม่สาเนิร์สเซอรี่ ปางช้างแม่สา จ.เชียงใหม่

- ๔ ถึง ๖ เมษายน ๒๕๔๔ เข้าร่วมกิจกรรมสืบสานฮีตฮอย

ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา อ.ไชยปราการครั้งที่ ๑

- ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๔ เข้าร่วมการสาธิตการขับซอพื้นเมือง

ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

- ๒๙ ตุลาคม – ๔ พฤศจิกายน กิจกรรมสาธิตวิถีชีวิตและ

หัตถกรรมไทยหมู่บ้านภาคเหนือ

- ๔ ถึง ๖ ธันวาคม ๒๕๔๔ เข้าร่วมในงานสืบสานฮีตฮอย

ฮอมปอยขึ้นเฮือนใหม่ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

- ๙ ธันวาคม ๒๕๔๔ การจัดกิจกรรมสนับสนุนเนื่องในวัน

พระราชชายาเจ้าดารารัศมี

- ๒๕๔๕ งานฮีตฮอยภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาประจำปี

๒๕๔๕ ณ อำเภอฝาง จ.เชียงใหม่

- ๑ เมษายน ๒๕๔๕ ได้เข้าร่วมกิจกรรม งานเวทีเสวนา

ประกอบการสาธิต ณ หอศิลปวัฒนธรรมหลังอนุสาวรีย์

สามกษัตริย์

- ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๕ เข้าร่วมซอและขบวนแห่บูชาเสา

อินทขิล ของโรงเรียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

- ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ร่วมแสดงละครซอเผยแพร่เรื่อง

สุขบัญญัติสิบประการ ให้กับผู้สูงอายุตำบลหนองควาย

ณ วัดตองกาย ต.หนองควาย อ. หางดง จ.เชียงใหม่

- จัดทำโครงการซอพื้นเมืองกับวิถีชีวิตคนล้านเสนอ

คณะกรรมการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยภาค(สกว.)



๓. การถ่ายทอด / การสืบทอด

ปัจจุบันแม่บัวซอนได้ทำการสอนให้กับผู้ที่มีความสนใจการซอทั้งที่บ้านและสอนในโครงการสืบสานตำนานซอ ตามโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่โดยมีพ่อครูจันทร์ตา เลาคำ เป็นครูผู้ช่วย และมีแผนที่จะสร้างศูนย์การเรียนรู้เรื่องซอเพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลและสอนซอ ให้กับเยาวชนที่สนใจ จำนวนลูกศิษย์ที่มาเรียนซอกับแม่ครูบัวซอนมีมากกว่า ๑๐๐ คน และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในปัจจุบันหลายท่านเช่น แม่ศรีอร ทิพย์รัตน์ แม่พิกุล เมืองพร้าว บทบาทและการยอมรับจากสังคม จากประสบการณ์ทียาวนานและการพัฒนาผลงานด้านการซอของแม่บัวซอน รวมถึงการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และการนำความรู้ด้านการซอเผยแพร่สู่กลุ่มเยาวชน สังคมในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้

- รางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม (สวช.) ประจำปี ๒๕๓๐

- รางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาวรรณศิลป์

ระดับจังหวัด (เชียงใหม่)ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๕

- รางวัลผู้อนุรักษ์ส่งเสริมศิลปะล้านนาในด้านวัฒนธรรม

ประจำปี ๒๕๓๘

- มูลนิธิสุจิตโตเพื่อการศึกษามอบโล่เกียรติคุณในฐานะ

ผู้ให้บริการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของเยาวชน

อำเภอพร้าว ประจำปี ๒๕๓๘

- รางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขา วรรณศิลป์ ระดับเขต ๘ ประจำปี ๒๕๓๙

- รางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขา วรรณศิลป์ ระดับชาติ ของภาคเหนือ ประจำปี ๒๕๓๙

- ศิลปินพื้นบ้านดีเด่นสาขาการซอภาคเหนือจากสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๔๐

- เกียรติบัตรจากมูลนิธิวาย.เอ็ม.ซี.เอ เพื่อการพัฒนาภาคเหนือจากการเข้าร่วมแสดงในงาน “เบิกฟ้าเวียงพิงค์คู่สิ่งแวดล้อม ๔๐ “ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก

- ประกาศนียบัตรครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ ๑ สาขาวรรณกรรม (การซอ)จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๔

- ปริญญาบัตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวรรณกรรม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี ๒๕๔๖

- ปริญญาบัตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวิจัยและเผยแพร่ ) มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๖

- อดีตประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอพร้าว

ฟังตัวอย่างซอของแม่บัวซอน

http://www.imeem.com/people/bH1K-Pb/music/1C8LIk-J//

http://www.buasorn.com/bz03.html

ขอบคุณที่มา http://www.buasorn.com/
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ภาพเก่า และของดีเมืองพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 06 ก.พ. 2022 4:57 pm

34-1.jpg
34-1.jpg (3.21 KiB) เปิดดู 3397 ครั้ง

นางบัวตอง แก้วฝั้น (บัวตอง เมืองพร้าว)

นางบัวตอง แก้วฝั้น เป็นบุตรีคนโตในจำนวนพี่น้อง 7 คน ของนายฟู และนางอิ่นคำ แสนพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2491 ที่บ้านห้วยงู ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนห้วยงู เมื่อปี 2504 จากนั้นบิดาได้พาไปเรียนซอพื้นบ้าน กับแม่ครูคำปัน เงาใส บ้านทุ่งหลวง เรียนซอได้ประมาณ 3 ปี แม่ครูก็ให้ไปออกงานต่างๆ จนมีความชำนาญ สามารถใช้ปฏิภาณไหวพริบในการซอได้เป็นอย่างดี
เมื่อเรียนซอจบจากแม่ครูคำปันในปี 2507 แล้ว ได้ลามาอยู่กับนายสวน ธิทัศน์ ซึ่งเป็นช่างปี่เชียงใหม่ และเริ่มรับงานซองานแรกจากหมอรัตนเวช สี่โพแดง ในปีถัดมา ได้ร่วมกับนายอำนวย กลำพัด ตั้งวงดนตรีพื้นเมืองคณะอำนวยโชว์ รับแสดงตามงานต่างๆ ประมาณ 5 ปี พ.ศ. 2511 เริ่มมีผู้สนใจมาสมัครเป็นศิษย์ ฝึกเพลงซอรุ่นแรกรวม 6 คน โดยมีรุ่น พ.ศ.2423 เป็นรุ่นสุดท้ายที่สามารถประกอบอาชีพเป็นช่างซออาชีพได้
นางบัวตองสมรสกับนายบุญปั๋น แก้วฝั้น เมื่อ พ.ศ.2511 มีบุตรี 2 คน ปัจจุบันอยู่บ้าน เลขที่ 14/1 หมู่ 7 ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ยึดอาชีพแสดงซอต่อเนื่องมานานกว่า 30 ปี รวมทั้งมีการบันทึกเสียงและการถ่ายทอดทางโทรทัศน์หลายครั้ง

ผลงานที่สำคัญ เช่น
- เป็นวิทยากรให้สถาบันราชภัฎเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ และวิทยาลัยนาฏศิลป์ เชียงใหม่
- ร่วมซอเฉลิมพระเกียรติแม่ฟ้าหลวง
- สาธิตการซอในงานประชุมสัมมนาดนตรีเอเชียแปซิฟิก ณ จังหวัดมหาสารคาม
- บันทึกเทปเรื่องการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด โครงการพลังงานหารสอง
- สนับสนุนและเป็นกำลังสำคัญในการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งอย่างมีคุณภาพ เขตภาคเหนือตอนบน ปี 2543 จากสำนักนายกรัฐมนตรี
- เป็นตัวแทนของภาคเหนือไปร่วมงานแสดง “โคมไฟสี่ภาคที่สวนสยาม”
- ร่วมแสดงในงานการกุศลต่างๆ และร่วมซอในงานอินทขีลเป็นประจำทุกปี
- สอนซอให้กับนักเรียนและผู้สนใจทั่วไปที่บ้าน ผู้ที่ได้รับการสืบทอดจนสามารถซอได้มีจำนวนหลายสิบคน แต่ที่ซออยู่จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 7 คน ลูกศิษย์ที่มีผลงานซอโดดเด่นเป็นที่รู้จักได้แก่ นางบัวชุม จันทร์ทิพย์ และนายเฉลิมเวช อุปธรรม
- สตรีแม่บ้าน
- อสม. ตำบลป่าแดด

รางวัลและการเชิดชู
- รับรางวัล “ประเภทสื่อพื้นบ้านภาคเหนือ” ประจำปี 2538-2539 รางวัลดีเด่นในการพิจารณาผลงานสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานแห่งชาติ
- ประกาศเกียรติคุณผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาคีตศิลป์พื้นบ้าน ปี 2539 จากศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ และสถาบันราชภัฏเชียงใหม่
- รับรางวัลสื่อพื้นบ้านประเภทบุคคลดีเด่นของภาคเหนือ จากสำนักงานคณะกรรมการประสานงานเยาวชนแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.2540 ณ ทำเนียบรัฐบาล
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: ภาพเก่า และของดีเมืองพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 06 ก.พ. 2022 5:01 pm

“บัวคำเมืองพร้าว” สืบสานตำนานซอล้านนา
29062_2.jpg
29062_2.jpg (73.19 KiB) เปิดดู 3397 ครั้ง

บัวคำเมืองพร้าว หรือ ศรีสวาท ทะกลกิจ ชื่อเล่น บัวคำ เกิดปี พ.ศ.๒๕๐๓ มีพี่น้องท้องเดียวกันรวม ๗ คน แม่บัวคำเป็นลูกคนที่ ๔ ของพ่อดี ทะกลกิจ - แม่สุกันธา ทะกลกิจ (สิทธิราช) เกิดที่บ้านสันทราย ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

หลังเรียนจบการศึกษาภาคบังคับจากโรงเรียนบ้านสันทราย แม่บัวคำได้ไปฝากตัวเรียนซอกับแม่ครูคำปัน เงาใส บ้านทุ่งหลวง อำเภอพร้าว หลังแม่ครูคำปันถึงแก่กรรมจึงไปเรียนกับแม่ครูบัวตอง แก้วฝั้น (แม่บัวคำมักจะซอว่าเป็นศิษย์บัวตอง) ภายหลังจึงได้ขึ้นซอโดยใช้ชื่อ “บัวคำเมืองพร้าว” ด้วยปฏิภาณไหวพริบ น้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ และบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร ทำให้แม่บัวคำมีเพื่อนฝูงในวงการซอจำนวนมากและได้รับการตอบรับจากผู้ฟังเป็นอย่างดี

แม่บัวคำได้หยุดซอในระยะแรกที่แต่งงานกับสามีชาวอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นแม่บ้านและดูแลบุตรสาว ผ่านไปหลายปีจึงกลับมารับงานซออีกครั้ง โดยการชักนำของแม่ครูบัวตองให้เข้าร่วมบันทึกเสียงกับคณะศรีสมเพชร และมีการแสดงละครซอให้กับโทรทัศน์ ช่อง ๘ (ประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๑) น่าเสียดายที่แม่บัวคำอายุสั้น เสียชีวิตด้วยวัยเพียง ๓๑ ปี (วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๔) หลงเหลือเพียงความทรงจำว่าครั้งหนึ่งเคยมีช่างซอนาม “บัวคำเมืองพร้าว” เป็นอีกผู้หนึ่งที่สืบสานศิลปะพื้นบ้านล้านนา
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: ภาพเก่า และของดีเมืองพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พฤหัสฯ. 07 ก.ค. 2022 6:07 am

ตำนานดอยจอมหด – เรื่องเล่าจากดอยหลวง สายสัมพันธ์แห่งความเชื่อ “อารักษ์แห่งเมือง”
ชาวล้านนามีความเชื่อมาอย่างยาวนานว่า เจ้าหลวงคำแดง อารักษ์ผู้เป็นใหญ่แห่งล้านนาสถิตอยู่ที่ดอยหลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในทุกๆวันพระ อารักษ์เมือง เชนเมือง จึงมีการชุมนุมและถือศีลกันที่ดอยหลวง ซึ่งอารักษ์เมือง เชนเมือง ที่สถิตอยู่แห่งอื่นก็จะมาร่วมชุมนุมโดยพร้อมเพรียงกัน ดังเรื่องเล่าที่กล่าวอ้างถึง นายเส็ด พรานล่าเนื้อ ที่หายไปหลังจากเดินทางไปยังดอยหลวง
0-20-800x445_resize.jpg
0-20-800x445_resize.jpg (34.35 KiB) เปิดดู 2670 ครั้ง

(ดอยหลวงเชียงดาว-ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต)

มักมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคนหายหลังเข้าไปในดอยหลวงเชียงดาว บริเวณถ้ำหลวงซึ่งอยู่เชิงดอย เรื่องเล่าที่เชื่อมโยงถึงดอยจอมหด ได้แก่ เรื่องของ นายเส็ดชาวบ้านแม่ก๊ะ อำเภอเชียงดาว ที่ได้หายไปในถ้ำทำนองเดียวกัน เขาหายตัวไปนาน ๓ - ๔ เดือน ถึงแม้จะมีคนออกไปค้นหาเท่าใดก็ไม่พบ จนต้องไปพึ่งหมอไสยศาสตร์ให้ทำพิธีร้องเรียกให้กลับมา หลังทำพิธีเมื่อเทพเจ้าภายในถ้ำเชียงดาวทราบว่าพ่อแม่ ญาติพี่น้อง และลูกเมียของนายเส็ดได้ทำพิธีเรียกร้องให้กลับบ้าน เทพเจ้าจึงปล่อยตัวเขา แต่ว่ามีข้อแม้ว่านายเส็ดจะต้องเดินทางไปเชิญเทพเจ้าทั้งหลายที่สถิต ณ ที่ดอยจอมหด อำเภอพร้าว ให้ร่วมมาชุมนุมกับเทพเจ้าที่ดอยหลวงเชียงดาวและดอยนางเสียก่อน

ไม่เพียงเรื่องเล่าเรื่องคนหายเท่านั้นที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างดอยจอมหดและดอยหลวง คนทั่วไปยังมีความเชื่อว่า เมื่อเข้าไปในถ้ำหลวงเชียงดาวแล้วจะสามารถเดินทะลุมาถึงดอยจอมหดอำเภอพร้าวได้อีกด้วย ความเชื่อเหล่านี้อาจจะเป็นเพราะตำนานที่เล่าสืบทอดกันมาก็เป็นได้

128760_resize.jpg
128760_resize.jpg (42.35 KiB) เปิดดู 2670 ครั้ง

(ดอยจอมหดอำเภอพร้าว-ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก)

ตำนาน ที่มาของชื่อดอยจอมหดและดอยสลุง
มีความเชื่อว่า บนดอยสลุง หรือดอยหลวงเชียงดาว มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตอยู่ เมื่อพระอินทร์และเทวดาต้องการปู่จา (บูชา) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะเอารางรินมาพาดจากดอยจอมหดไปยังดอยสลุง แล้วนำน้ำทิพย์รด(หด)ลงไปบนรางรินนั้น นี่คือที่มาของชื่อดอยจอมหด อำเภอพร้าว และดอยสลุง อำเภอเชียงดาว
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

ย้อนกลับ

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน

cron