ภาพเก่า และของดีเมืองพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย น้ำฟ้า » พุธ 22 ต.ค. 2014 4:53 pm

เฮาฮักเมืองป้าว เฮาภูมิใจ๋ตี้เกิดเป๋นคนป้าว (เรารักเมืองพร้าว เราภูมิใจที่เกิดมาเป้นคนพร้าว)


8696.jpg
8696.jpg (231.33 KiB) เปิดดู 17583 ครั้ง



ภาพบนจากซ้าย พระธาตุดอยเวียง พระธาตุก๋างใจเมือง พระธาตุดอยจ๋อมหด และพระธาตุดอยนางแล


ภาพล่างจากซ้าย พระอริยสงฆ์เมืองป้าว หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง และครูบาอินสม สุมโน วัดต้งหน้อย


ไหว้สาป๋าระมี
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 15 พ.ย. 2014 5:57 am

วัดพระเจ้าล้านทอง

1sam_0037.jpg
1sam_0037.jpg (63.35 KiB) เปิดดู 17545 ครั้ง


เมื่อเดินทางจากอำเภอพร้าวไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๔ กิโลเมตรไม่นานนักก็จะพบทางแยกไปยังหมู่บ้านหนองปลามัน ตำบลน้ำแพรซึ่งก็คือทางไปวัดพระเจ้าล้านทองนั่นเอง


วัดแห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอพร้าว เนื่องจาก สันนิษฐานว่าที่แห่งนี้ เคยเป็นที่ตั้งเมืองพร้าววังหินหรือเวียงหวายแต่เดิมนั่นเองซึ่งในปัจจุบันยังคงมีคูเมืองหลงเหลือ ให้เห็นอยู่โดยรอบวัด และเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเก่าแก่คู่เมืองพร้าว อันได้แก่ “ พระเจ้าล้านทอง ”


พระเจ้าล้านทอง ( พระเจ้าล้านตอง ) ถูกขนานนามว่า " พระเจ้าหลวง "เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพร้าววังหินมาช้านานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด ขนาดหน้าตัก ๑๘๐ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๒๗๔ เซนติเมตรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๒ ตอนที่ ๒ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘

วัดพระเจ้าล้านทองเป็นวัดแห่งประวัติศาสตร์ ว่ากันว่าในอดีตนั้น นอกจาก วัดแห่งนี้จะเป็นเมืองเก่าแก่แล้ว เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ยกทัพผ่านเมืองพร้าวนั้น พระองค์ได้ ทรงหยุดทัพ ณ วัดพระเจ้าล้านทองแห่งนี้อีกด้วย

วัดพระเจ้าล้านทองนั้นไม่มีพระสงฆ์จำวัดอยู่เลย มีเพียงคำร่ำลือถึงอาถรรพ์ต่างๆซึ่งชาวเมืองพร้าวเชื่อกันว่า พระสงฆ์ผู้มีบุญญาธิการจริงๆเท่านั้น จึงจะจำพรรษาอยู่ณ วัดเก่าแก่แห่งนี้ได้ ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ ของทุกปีนั้น ทางวัดจะมีประเพณีทำบุญเป็นประจำทุกปีนับว่าเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่ยังทรงคุณค่าในสายตาของชาวเมืองพร้าวเสมอมา และจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดกาล

ประวัติพระเจ้าล้านทอง

ตามหนังสือเวียงพร้าววังหิน
" พระเจ้าล้านทองวียงพร้าว เป็นฝีมือการสร้างแบบสุโขทัย สร้างเมื่อจุลศักราช ๘๘๘ และเป็นพระพุทธรูปที่ซึ่งมีความสำคัญทางจิตใจอย่างมากต่อคนเมืองพร้าว และทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือของทุกปี ทางวัดจะมีการจัดให้มีการสรงน้ำพระขึ้น "

ตามหนังสือคนดีเมืองเหนือ
" พ่อท้าวเกษกุมารได้ครองเมืองเชียงใหม่ สืบมาในปี พ.ศ. ๒๐๖๘ ทรงมีพระนามในการขึ้นครองราชย์ว่าพระเมืองเกษเกล้า พระองค์ได้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ที่เมืองพร้าวองค์หนึ่ง ซึ่งหล่อด้วยทองปัญจะโลหะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๙ เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้

ตามหนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าวของท่านพระครูโสภณกิติญาณ หน้า ๒


"พระเจ้าล้านทองเรียกอีกนามว่า พระเจ้าหลวง " ที่ฐานพระพุทธรูปมีข้อความ จารึกเป็น หนังสือลายฝักขาม ซึ่งท่าสนผู้รู้ได้แปลไว้บ้างตอนว่า " ศาสนาพระได ๒๐๖๙ วัสสาแล…๘๘๘ ปี รวายเสด หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๖๙ ปีจอ อัฐศก" สมัยพระเกษ แก้วครอง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีท้าวเชียงตง ครองเวียงพร้าว วังหินตามหลัก ฐานจากหนังสือดัง กล่าวสันนิษฐานได้ว่า พระพุทธรูปองค์นี้น่า จะหล่อขึ้น ณ บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองปัจจุบันซึ่งเป็นวัดในตัวเมืองชั้นในสมัยนั้นจากประวัติของเวียงพร้าววังหินจะทราบว่า หลังจากเวียงพร้าววังหินได้ร้างไปเพราะภัยสงครามของพระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ปี ๒๑๐๑ผู้คนหนีออกจากเมืองหมด คงปล่อยให้องค์พระเจ้าล้านทองประดิษฐานอยู่ในเมืองร้างนานถึง ๓๔๙ ปีจนมาถึง พ.ศ.๒๔๕๐ ได้มีดาบสนุ่งขาว ห่มขาวเป็นคนเชื้อชาติลาว เข้ามาอาศัยอยู่ที่วัดสันขวางตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าวเชียงใหม่ ชื่อจริงว่าอย่างไรไม่ปรากฎหลักฐานแต่ชาวบ้านในสมันนั้นเรียกว่า ปู่กาเลยังยังที่เรียก อย่างนี้เนื่องจากว่า ชาวบ้านได้ยินบทสวดของท่านดาบสท่านนี้ขึ้นต้นว่า "กาเลยังยัง"จึง เรียกชื่อว่า ปู่กาเลยังยังท่านดาบสองค์นี้ชอบทานข้าวกับหัวตะไคร้ใส่ปลาร้าเป็นประจำหรือเป็นอาหารโปรดของท่าน ส่วนท่านกาเลยังยังท่านไม่กลัว เมื่อท่านกาเลยังยังอยู่ที่วัดสันขวางได้ไปเที่ยวชมทิวทัศน์บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง ตั้งอยู่บนฐานอิฐที่ชำรุดทรุดโทรมจะล้มมิล้มแหล่ และองค์พระพุทธรูปก็ถูกไฟป่าที่เผาเศษไม้ใบไม้แห้งรอบองค์พระประดิษฐานอยู่จนพระองค์ถูกรมควันไฟจนดำสนิท ท่านกาเลยังยังจึงได้หาก้อนอิฐซึ่งพอหา ได้ใน บริเวณนั้นมาชุบด้วยน้ำไก๋ (ชื่อไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียว) ซึ่งอยู่แถวนั้นมากมายแล้วนำอิฐที่ชุบไก๋แล้วมาซ่อมแซมฐานพระพุทธรูป จนเป็นที่มั่นคงแล้วได้สร้างเพิงหมาแหงนด้วยเสาสี่ต้น มุงด้วยหญ้าคาเนื่องจากขาดคนดูแล เพิงหมาแหงนจึงถูกไฟป่าเผาไหม้หมดจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ท่านครูบาอินตา สาธร เจ้าอาวาสวัดหนองปลามัน ได้ร่วมกับคณะศรัทธา ซึ่งบริเวณนั้นชาวบ้านไม่อยากสัญจรไป เนื่องจากกลัวต่อภูติผีปีศาจตามคำบอกเล่าของคนเฒ่า ใครไปทำอะไรแถวๆ นั้น มักจะเกิดความวิปริตจิตฟั่นเฟือน พูดจาไม่รู้เรื่อง เดือดร้อนถึงหมอผีต้องทำบนบานศาลกล่าวถึงจะหาย บางคนถึงตายไปก็มี

จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ท่านครูบาอินตา สาธร ได้ไปขอกุฎิวัดสันขวางของ ท่านครูบาปัญญา เชื้อสายไทยใหญ่ซึ่งชาวบ้านจะเผาทิ้ง นำมาสร้างวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าล้านทองสาเหตุที่ชาวบ้านจะเผากุฏิ เนื่องจากกุฏิวัดสันขวางหลังนี้ ได้มาโดยท่าน พระยาเพชร และแม่เจ้านางแพอุทิศบ้านไม้สักขนาดใหญ่ของตนเอง สร้างเป็นกุฏิถวายแด่ท่านครูบาไว้เป็นที่จำวัดและอาศัย ซึ่งท่านทั้งสองมีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านครูบามากแต่หลังจากได้สร้างกุฏิหลังใหม่ถวายได้ไม่นาน ท่านก็เกิดอาพาธทั้งๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนชาวบ้านซึ่งมีความรักในตัวครูบาเป็นอย่างมาก ต่างก็ลงความเห็นว่าอาการเจ็บป่วยของท่านคงมาจากกุฏิหลังใหม่เป็นแน่ ความทราบไปถึงครูบาอินตาซึ่งเป็นเจ้าอาวาส "วัดหนองปลามัน "จึงได้ไปขอกุฏิหลังนี้แล้วนำไปสร้างวิหาร ณ วัดพระเจ้าล้านทอง (ขณะนี้เหลือแต่ฐานของวิหารเท่านั้น ซึ่งอยู่ ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังปัจจุบัน)

ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้มีท่านครูบาอินถา แห่ง วัดพระเจ้าตนหลวง อำเภอสันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่ ได้มาเป็นองค์ประธานก่อสร้างวิหาร แบบจตุรมุขทางทิศตะวันตกของวิหารหลังเดิมจนเสร็จได้ประมาณ ๘๐ % เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ แล้วได้ย้ายองค์พระเจ้าล้านทองขึ้นมาประดิษฐาน ณ วิหารหลังปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตรงกับเดือน ๕ เหนือ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีกุน จุลศักราช ๑๓๓๓ ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔ได้มีการซ่อมแซมวิหารแบบจตุรมุข ให้มีสภาพดีขึ้นโดยการนำของ ท่านพระบุญชุ่มญาณสังวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเมือง อำเภอท่าขี้เหล็ก สหภาพเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมีพล.ท.ภุชงค์ นิลขำ (ถึงแก่กรรมแล้ว) กับคุณเทอดศักดิ์ แก้วสว่าง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินใน การซ่อมแซม วิหารหลังนี้ ด้วยเงินประมาณ ๑ ล้านบาทเศษ นับได้ว่าวัดพระเจ้าล้านทองเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่สร้างมาแต่สมัยเวียงพร้าว วังหิน เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญละมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 22 ธ.ค. 2014 6:27 am

“วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล"วัดโบราณที่ประดิษฐานพระเจดีย์อายุกว่าเจ้ดร้อยปี

“วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล (พระมหาธาตุเจดีย์ บารมี ๑๙ ยอด)อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองโบราณของอำเภอพร้าว สร้างสมัยพระราชวงศ์มังรายมหาราชแห่งอาณาจักรล้านนาไทย มีอายุการสร้างเจ้ดร้อยกว่าปี เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลหลังจากล่มสลายไปตามกาลเวลาเมื่อหลายร้อยปีก่อน เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๖ ได้มีการค้นพบวัดพระธาตุดอยเวียง มีการค้นพบพระธาตุภายในซึ่งบรรจุเส้นพระเกศาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากตำนานที่เล่าย้อนหลังถึงแบ่งเป็น ๔ ยุคในประวัติขององค์พระธาตุนี้ จากนั้นได้เริ่มพัฒนาบูรณะปฏิสังขรณ์ จนปัจจุบัน ได้ค้นพบโบราณวัตถุหลายรายการเช่น ก้อนอิฐที่จารึกตัวอักษรฝักขาม, ถ้วยชามสังคโลก, เครื่องปั้นดินเผา, ยอดฉัตรพระธาตุ (เจดีย์) ที่ทำจากทองจังโก้ และโบราณวัตถุอีกมากมาย

E8496449-4.jpg
E8496449-4.jpg (134.86 KiB) เปิดดู 10492 ครั้ง


ขอบคุณภาพจาก คุณ TeeChoco
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 22 ธ.ค. 2014 6:29 am

ประวัติพระพุทธรูปปางทรงเครื่อง (พระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดี) จำนวน ๑๐ องค์

องค์ที่ ๑ พระนามว่า พระมหาจักรพรรดิดับภยชัยมงคล (หลวงพ่อเศรษฐี) หล่อด้วยทองสำริด หน้าตัก ๘๔ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องล้านนาโบราณ

องค์ที่ ๒ พระนามว่า พระเจ้าล้านทองหล่อด้วยทองเหลือบริสุทธิ์ หน้าตัก ๔๒ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องเชียงแสนลังกาวงศ์

องค์ที่ ๓ พระนามว่า พระเจ้าแสนล้านหล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์ หน้าตัก ๓๙ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องเชียงแสนสิงห์สาม

องค์ที่ ๔ พระนามว่า พระเจ้าห้ามมารบันดาลโชคหล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์ ยืนสูง ๖๐ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องล้านนา

พระอัครสาวกปัจวัคคีย์ทั้ง ๕ องค์ หล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์ หน้าตัก ๒๑ นิ้ว ศิลปะล้านนาทรงเครื่องปางนั่งพนมมือ

E8496449-3.jpg
E8496449-3.jpg (99.9 KiB) เปิดดู 10493 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 22 ธ.ค. 2014 6:29 am

พระมหาธาตุดอยเวียงชัยมงคล เป็นธาตุเจดีย์โบราณที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอพร้าว มีขนาดความกว้างของฐานทั้งสี่ด้านรวม ๓๖ เมตร อดีตใช้เป็นที่พักทัพ ตั้งทัพของกษัตริย์ล้านนาเมื่อครั้งเดินทางผ่านเข้าออกเมืองพร้าว ในยามบ้านเมืองสงบ และยามศึกสงคราม เพราะยังปรากฏร่องรอยแนวคู่ค่ายให้เห็นรอบวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล จึงนับว่าเป็นสถานที่เก่าแก่ และสำคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่งของอำเภอพร้าว ที่ควรค่าแก่การศึกษา อนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการะบูชาสืบไป

E8496449-0.jpg
E8496449-0.jpg (60.68 KiB) เปิดดู 10493 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 22 ธ.ค. 2014 6:31 am

วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ มีพระพุทธรูปประธาน คือ พระเจ้ามหาจักรพรรดิดับภัยชัยมงคล หรือหลวงพ่อเศรษฐี หล่อด้วยทองสำริด หน้าตัก ๘๔ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องล้านนาโบราณ

วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล ต.โหล่งขอด เป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่กว่า ๗๓๐ ปี ในอดีตเป็นสถานที่ตั้งทัพสมัยราชวงศ์มังราย โดยพญามังรายมหาราชได้สร้างเมืองพร้าวขึ้นในปีพ.ศ.๑๘๒๔

E8496449-15.jpg
E8496449-15.jpg (77.87 KiB) เปิดดู 10493 ครั้ง


ขอบคุณภาพจาก TeeChoco
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 22 ธ.ค. 2014 6:51 am

วัดสันปง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

9999.jpg
9999.jpg (216.01 KiB) เปิดดู 10491 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พฤหัสฯ. 26 มี.ค. 2015 10:18 pm

ประวัติโรงเรียนพร้าววิทยาคม

1380741_641594459225927_412077184_n.jpg
1380741_641594459225927_412077184_n.jpg (15.02 KiB) เปิดดู 10126 ครั้ง


his4.jpg
his4.jpg (37.32 KiB) เปิดดู 10366 ครั้ง



โรงเรียนพร้าววิทยาคมเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาประจำอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 196 หมู่ 1 ตำบลเขื่อนผาก ถนนเชียงใหม่ - พร้าว อำเภอพร้าว


จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอพร้าว ประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอเมืองเชียงใหม่ ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 90 กิโลเมตร ตามหลักฐานของทาง ราชการระบุว่า ได้เปิดเรียนเมื่อวันที่ 1พฤษภาคม 2515 ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็น โรงเรียนสหศึกษา สอนตามหลักสูตร กระทรวงศึกษา สังกัดกรมวิสามัญศึกษา( ในสมัยนั้น )




แรกเริ่มเปิดทำการสอนยังไม่มีอาคารเรียนต้องอาศัย สถานที่ และอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านหม้อ ตำบลทุ่งหลวง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในขณะนั้น ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาห่างจาก
โรงเรียนพร้าววิทยาคมไปทางทิศเหนือมี นักเรียน 72 คน และยังไม่มีข้าราชการครูสังกัดกรมสามัญศึกษาเลย โดยว่าที่ร้อยตรีสุวิช แก้วเกษ ศึกษาธิการอำเภอพร้าว และโรงเรียนบ้านแจ่งกู่เรือง มาช่วยสอน 3 คน
คือ นายส่วน ถนอมพันธุ์ นายจำนงค์ อุ่นแสง นายวิทิต ศรีจอมแปง มาทำการสอนจนถึง วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2515 กรมสามัญศึกษา ได้บรรจุ นายพูลศักดิ์ สุวรรณไพโรจน์ วุฒิ ป.กศ. สูง และวันจันทร์ที่
12 มิถุนายน 2515 ได้บรรจุ นายประสิทธ์ ไชยมหาวัน วุฒิ ป.กศ. สูง




จนกระทั่ง ถึงวันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2515 นายทอง อินทรีย์ ได้เดินทางมารับตำแหน่งครูใหญ่คนแรก โดยบันทึกในสมุดหมายเหตุรายวันครั้งแรก เมื่อวันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2515 ว่า " มีการเปลี่ยนแปลงตารางสอน ให้ครูใหญ่สอนวิชาคณิตศาสตร์ และ หน้าที่พลเมือง - ศิลธรรม นักเรียนมาเรียน 69 คน ครูดำเนินการสอนตามปกติ" ( ลงชื่อ ) ทอง อินทรีย์




เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2516 ได้เริ่มสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก. จำนวน 4 ห้องเรียน บ้านพักครู 2 หลัง บ้านพักภารโรง 1 หลัง โดยงบประมาณกรมสามัญศึกษา สร้างบนพื้นที่ของโรงเรียนปัจจุบัน ซึ่งได้รับบริจาคที่ดินจำนวน 2 แปลง ติดกัน คือ นายช่วง นาคะวิโรจน์ และ นายจำรัส เสตังคบุตร บริจาคที่ดิน 22 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา การก่อสร้าง เสร็จเมื่อวันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2517 จึงย้ายมาเรียนในสถานที่ปัจจุบัน และได้ถือเอาวันนี้เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนทุกปี ดังบันทึกในสมุดหมายเหตุรายวันว่า " เช้านำนักเรียนไปเข้าแถว ที่โรงเรียนบ้านหม้อกล่าวคำของคุณ ทางครูใหญ่ ครูและนักเรียน โรงเรียนบ้านหม้อ ที่กรุณาให้ยืมสถานที่ มอบของที่ระลึกแล้วเดินเข้าแถวไปเรียนที่อาคารเรียนหลังใหม่……"
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พฤหัสฯ. 26 มี.ค. 2015 10:22 pm

ประวัติโรงพยาบาลพร้าว

603838_1546273422291228_7525749390612149240_n.jpg
603838_1546273422291228_7525749390612149240_n.jpg (21.65 KiB) เปิดดู 10366 ครั้ง


ปี 2503 : เริ่มจากเป็นสถานีอนามัยชั้น 1 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2503 โดยมี นายแพทย์จินดา คล้ายเชื้อวงศ์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล

ปี 2517 : นายแพทย์อภิเชษฐ์ นาคเลขา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและกรรมการโรงพยาบาลอีก 25 ท่าน มีนายอำเภอเป็นประธานสร้างเหรียญหลวงปู่แหวน(เหรียญทองแดงรมดำ) จำนวน 75,000 เหรียญ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2547 ได้เงิน 1.2 ล้านบาท สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานเงินส่วนพระองค์สมบทอีก 50,000 บาท เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง โดยที่ดินเป็นที่ดินราชพัสดุ 5 ไร่ และได้รับ บริจาคที่ดินอีก 11 ไร่ จากนางบัวจีน สัตยพานิช การสร้างโรงพยาบาล 10 เตียง ใช้เงินงบประมาณและเงินรายได้จากการสร้างเหรียญ โดยการเปิดประมูลถมดิน ในการก่อสร้าง สร้างอาคารซีเมนต์ชั้นเดียว

1. ห้องตรวจ 2 ห้อง
2. ห้องฉุกเฉิน 1 ห้อง
3. ห้องผ่าตัด 1 ห้อง
4. ห้องคลอด 1 ห้อง
5. ห้องยา 1 ห้อง
มีเตียงนอนในโรงพยาบาล 4 เตียง ครุภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น เครื่องเอกซเรย์ เป็นต้น

ปี 2525 : เริ่มก่อสร้างตึกผู้ป่วยใน ยกระดับเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง จากเงินงบประมาณ เป็นอาคารชั้นครึ่งซีเมนต์ พร้อมอุปกรณ์การแพทย์ตามกรอบกระทรวงพร้อมบ้านพัก สร้างเสร็จเดือน ตุลาคม 2526 โดยมี นายแพทย์ธานี กลิ่นขจร เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล

ปี 2528 : ก่อสร้างตึกผู้ป่วยนอก สร้างเสร็จปี 2528

ปี 2529 : เริ่มเปิดใช้บริการเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง อย่างเป็นทางการในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2529 โดยมี นายแพทย์จิราวุธ พันธชาติ เป็นผู้อำนวยการ และมี นายชัยยา พูนศิริวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน

ปี 2543 : เปิดอาคารหลวงพ่อดาบส สุมโน อาคารผู้ป่วยใน 60 เตียง แบบ 7919 (หลวงพ่อดาบส สุมโน ได้บริจาคเงินสร้างอาคาร พร้อมครุภัณฑ์ เป็นเงิน 11 ล้านบาท) และวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 นายแพทย์พหล วงค์สาโรจน์ เป็นประธานพิธี นายแพทย์วุฒิไกร มุ่งหมาย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวรายงานนับได้ว่าโรงพยาบาลพร้าวเปิดบริการให้กับประชาชนในอำเภอพร้าว จนถึงปัจจุบันนี้
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พฤหัสฯ. 26 มี.ค. 2015 10:24 pm

รำลึกถึงหมอเมืองพร้าว “นายแพทย์อภิเชษฎ์ นาคเลขา”


11021170_1546287402289830_6225788734765648826_n.jpg
11021170_1546287402289830_6225788734765648826_n.jpg (39.85 KiB) เปิดดู 10366 ครั้ง


หากทุกวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นครู แพทย์ ทหาร ตำรวจ ตุลาการ นักการเมือง ฯลฯ ตั้งมั่นอยู่ในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพและมีอุดมการณ์จริงๆ ประเทศไทยเราคงจะก้าวหน้าไปมากกว่านี้หลายเท่านัก น่าเสียดายที่ปัจจุบันหาคนที่จะทำอะไรด้วยอุดมการณ์ได้ยาก มีเพียงคนที่ทำเพียงฉาบหน้าเสียเยอะ เมืองไทยจึงลุ่มๆดอนๆอย่างที่เป็นอยู่ คนในหลากหลายสายอาชีพให้ความสำคัญกับเงินมากจนลืมให้เกียรติตนเอง และมีอัตตาจนกลายเป็นคนเอาแต่ใจ หนักเข้าก็กลายเป็นเห็นแก่ตัว วันนี้จะมาเล่าถึงคนในอดีต หมอ..ที่มีความเป็นหมอด้วยอุดมการณ์ที่แท้จริง “นายแพทย์อภิเชษฎ์ นาคเลขา”

หลัง นายแพทย์อภิเชษฎ์ นาคเลขา หรือนามปากกาที่เป็นที่รู้จักคือ "หมอเมืองพร้าว" จบจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เขาถือเป็นผู้หนึ่งที่ได้สร้างตำนานการอุทิศตนเพื่อรักษาผู้เจ็บป่วยในชนบทห่างไกล โดยเลือกไปเป็นแพทย์ประจำสถานีอนามัย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ในช่วงหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และเขียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความทุกข์ยากของคนไข้ในชนบทและการถูกคุกคามจากอิทธิพลท้องถิ่นมาลงในหนังสือหลายฉบับจนมีการรวมเป็นเล่มชื่อ "จดหมายจากหมอเมืองพร้าว" ต่อมาได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับแพทย์และบุคลากรด้านสาธารณสุขมุ่งมั่นที่จะออกไปทำงานในชนบทอย่างมากในช่วงดังกล่าว

นพ.อภิเชษฎ์ ผู้กลายเป็นตำนานในวงการแพทย์หมอชนบทของไทย เป็นที่รู้จักกันดีในนาม "หมอเมืองพร้าว" จากหนังสือ "เสี้ยวหนึ่งของชีวิต หมอเมืองพร้าว" ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์การทำงานในเมืองพร้าว อำเภอไกลปืนเที่ยงในจังหวัดเชียงใหม่ ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน

ปี ๒๕๑๕ หลังจบการศึกษาจากแพทย์ศิริราช นพ.อภิเชษฎ์รักษาคนไข้ที่ยากไร้ใน อ.พร้าวอยู่ ๓ ปี ที่นั่น เขาไม่เพียงแต่จัดบริการด้านสาธารณสุขเท่านั้น หากยังช่วยชาวบ้านต่อสู้กับความอยุติธรรมในสังคม จนตัวเขาเองถูกข่มขู่โดย "ผู้มีบารมี" และถูกบังคับให้กลับเข้าเมืองในไม่กี่ปีถัดมา

หนังสือของนพ.อภิเชษฎ์เป็นที่นิยมและถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ "หมอเมืองพร้าว" ในปี ๒๕๒๒

แม้จะลาออกจากการเป็นแพทย์ของรัฐหลังกลับมาจากเมืองพร้าวแล้ว นพ.อภิเชษฎ์ก็ยังคงให้บริการแก่คนยากคนจนในคลินิกส่วนตัวย่านพระโขนง

วันที่ ๒๖ พ.ย. ๒๕๔๙ นพ.อภิเชษฎ์ นาคเลขา เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร ด้วยวัย ๕๗ ปี ทิ้งคลินิก นางซินี ภรรยาของเขา(เป็นพยาบาลชาวฮ่องกงที่เขาได้พบในงานสัมมนาเกี่ยวกับบริการสาธารณสุขที่ศรีลังกาเมื่อ ๒๖ ปีก่อน) และลูกทั้งสองเอาไว้เบื้องหลัง

ถึงคุณหมอจะจากไปแล้ว แต่ความดีของคุณหมอจะคงอยู่คู่กับวงการแพทย์ไทยไปตลอดกาล
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 03 พ.ค. 2015 10:06 am

ภาพคนเมืองพร้าวในอดีต

11041758_913743332011037_5857173802620056515_n (1).jpg
11041758_913743332011037_5857173802620056515_n (1).jpg (62.4 KiB) เปิดดู 9875 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 03 พ.ค. 2015 10:14 am

ทุ่งนาเมืองพร้าว

10419386_913077405410963_7537921274405260086_n.jpg
10419386_913077405410963_7537921274405260086_n.jpg (78.63 KiB) เปิดดู 9875 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 70 ท่าน

cron