ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือตอนบน(ล้านนา)

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือตอนบน(ล้านนา)

โพสต์โดย น้ำฟ้า » ศุกร์ 09 ม.ค. 2015 6:19 am

ประวัติล้านนาโดยย่อ


378845_390565044354636_1393658271_n.jpg
378845_390565044354636_1393658271_n.jpg (87.6 KiB) เปิดดู 6629 ครั้ง



พญามังราย ซึ่งเป็นโอรสของพญาลาวเมง และพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง แห่งเมืองเงินยาง

และทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๕ แห่งราชวงศ์ลาว ได้ใช้เวลาเกือบตลอดรัชกาลในการรวบรวม

หัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายเข้าด้วยกัน โดยใช้ชื่อว่าอาณาจักรล้านนา




อาณาจักรล้านนา ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ โดยพญามังราย ได้รวบรวมเมืองสำคัญ

ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย เชียงแสน ลำพูน ลำปาง พะเยา โดยมีศูนย์กลางได้แก่ เมืองเชียงใหม่




ความรุ่งเรืองของล้านนาได้เริ่มจากสมัยพญากือนา ( พ.ศ. ๑๘๙๘ - ๑๙๒๘ ) จนถึงสมัย

พญาแก้ว ( พ.ศ. ๒๐๓๘ - ๒๐๖๘ ) และมีความรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช

( พ.ศ . ๑๙๘๔ - ๒๐๓๐ ) ซึ่งเรียกว่าเป็นยุคทองของล้านนาเลยก็ว่าได้ เนื่องจากในรัชสมัยนี้

ล้านนาได้เมืองแพร่ เมืองน่านไว้ในอำนาจ ทำให้แผ่อิทธิพลไปถึงเมืองต่างๆ ที่มีความรุ่งเรือง

ในสมัยนั้น อาทิ เชียงตุง สีป้อ เมืองนาย เมืองยอง สิบสองปันนา หลวงพระบาง ฯลฯ




ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนาเกิดขึ้นในรัชสมัยของ พญาเกศเชษฐราช

( พ.ศ .๒๐๖๘ - ๒๐๘๑ ) จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในปี พ.ศ. ๒๑๐๑
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือตอนบน(ล้านนา)

โพสต์โดย น้ำฟ้า » ศุกร์ 09 ม.ค. 2015 6:24 am

นพบุรีศรีนครพิงค์ “เชียงใหม่”


223290_458799164172125_618587124_n.jpg
223290_458799164172125_618587124_n.jpg (133.46 KiB) เปิดดู 6628 ครั้ง




ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์

เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรมมาช้านานกว่า ๗๐๐ ปีแล้ว เมืองแห่งนี้เป็นศูนย์รวมแห่งความเจริญทางศาสนา และศิลปวัฒนธรรม ก่อน พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดินแดนล้านนานั้นยังไม่รวบรวมขึ้นเป็นอาณาจักร ตราบจน ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ พญามังรายได้ทรงปรึกษากับพระสหายคือพญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหงในการสร้างเมืองใหม่ในบริเวณที่ราบดอยสุเทพ ให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา จึงทรงสถาปนาเมืองเชียงใหม่ขึ้น โดยมีชื่อเต็มว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ หรือ เวียงพิงค์


เมืองเชียงใหม่มีความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช และพระยาแก้ว โดยเฉพาะความเจริญทางด้านพระพุทธศาสนา ซึ่งในปัจจุบันนั้นยังมีให้เห็นตามวัดร้างต่าง ๆ ในอดีตนั้นวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เมืองเชียงใหม่จึงมีวัดมากมายกว่าร้อยแห่ง จะเห็นได้ว่ามีร่องรอยของศิลปวัฒนธรรมล้านนาปรากฏอยู่ตามวัดสำคัญ เช่น วัดเจ็ดยอด วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ วัดสวนดอก วัดบุพพาราม เป็นต้น ในรัชสมัยของพระนางจิระประภาเมืองเชียงใหม่เริ่มเสื่อมอำนาจลง(พ.ศ. ๒๐๘๙-๒๐๙๐) เชียงใหม่จึงยอมอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชสมัย ของเจ้าฟ้าเมกุฏิ (พ.ศ. ๒๐๙๔-๒๑๐๑) เมืองเชียงใหม่มีความอ่อนแอลงมาก จึงถูกพระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่า ยึดอำนาจไว้ได้อย่างง่ายดาย


(พ.ศ. ๒๑๐๑) เมืองเชียงใหม่จึงตกอยู่ใต้การปกครองของพม่าเป็นเวลากว่า ๒๐๐ ปี จนในปี พ.ศ. ๒๓๑๔ พญาจ่าบ้านและพญากาวิลละทำการสู้รบกับโปมุง่วน ของพม่า แต่ไม่สามารถต่อสู้กำลังของพม่าได้ จึงขอกำลังสมทบจากกรุงศรีอยุธยา ภายใต้การนำของพระยาตาก เมืองเชียงใหม่จึงขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ พญาจ่าบ้านจึงขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ โดยมีพระนามว่า พระยาวิชิรปราการ ในปีพ.ศ. ๒๓๑๘ พม่าได้นำทัพมาตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง พระยาวชิรปราการไม่สามารถต้านทานกำลังของพม่าได้ จึงล่าถอยไปตั้งมั่นอยู่ที่ป่าซาง เชียงใหม่จึงตกเป็นเมืองร้างกว่า ๒๐ ปี


จนถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระองค์ทรงแต่งตั้งให้พญากาวิลละขึ้นปกครองเชียงใหม่ แต่ในขณะนั้นยังมีกองกำลังของพม่าอยู่ในเมืองเชียงใหม่ พญากาวิลละจึงรวบรวมกำลังขับไล่พม่าออกไป โดยใช้เวลาประมาณ ๑๔ ปี หลังจากนั้นพระองค์จึงทรงฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ขึ้นจนมี ความรุ่งเรืองดังเดิม เมืองเชียงใหม่มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทยจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงการปกครองแบบจังหวัดเชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบัน


รวบรวมจาก "ประวัติเมืองเชียงใหม่"
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือตอนบน(ล้านนา)

โพสต์โดย น้ำฟ้า » ศุกร์ 09 ม.ค. 2015 6:25 am

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมืองสามหมอก


XH7GX5869466-02.jpg
XH7GX5869466-02.jpg (26.39 KiB) เปิดดู 6628 ครั้ง



ประวัติศาสตร์ล้านนา ตอนที่ ๑๔
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมืองสามหมอก

แต่เดิมนั้นบริเวณที่ตั้งเมืองแม่ฮ่องสอนปัจจุบันนี้ เป็นเพียงสถานที่ที่มีผู้คนมาปลูกกระท่อมอาศัยอยู่ บริเวณที่ราบริมเชิงเขา เป็นทำเลที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกมาก ผู้คนที่อาศัยตามที่ราบมักจะเป็นชาวไทยใหญ่ ส่วนผู้คนที่อาศัยอยู่บนดอยมักจะเป็นกะเหรี่ยง ลัวะ และมูเซอ บริเวณนี้อยู่ห่างจากแม่น้ำคง (แม่น้ำสาละวิน) ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดกับรัฐฉาน ประเทศพม่า ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๔ สมัยเจ้าหลวงพุทธวงศ์ เป็นพระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และต้องการช้างป่าไว้ใช้งาน จึงให้เจ้าแก้วเมืองมา ซึ่งเป็นญาติพร้อมด้วยกำลังช้างต่อหมอควาญออกเดินทางไปสำรวจและไล่จับช้างป่ามาฝึกใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมาจึงยกกระบวนเดินทางรอนแรมจากเชียงใหม่ผ่านไปทางเมืองปาย ใช้เวลาหลายคืนจนบรรลุถึงป่าแห่งหนึ่ง ทางทิศใต้ริมฝั่งแม่น้ำปาย เป็นป่าดงว่างเปล่าและเป็นดินโป่งที่มีหมูป่าลงมากินโป่งชุกชุม เจ้าแก้วเมืองมาพิจารณาเห็นว่า ที่แถวนี้เป็นทำเลที่ดี น้ำท่าบริบูรณ์สมควรที่จะตั้งเป็นหมู่บ้าน จึงหยุดพักอยู่ ณ ที่นี้ และเรียกผู้คนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมห้วย ริมเขาซึ่งเป็นชาวไทใหญ่ และกะเหรี่ยง (ยางแดง) มาประชุม ชี้แจงให้ทราบถึงความคิดที่จะตั้งบริเวณนี้ขึ้นเป็นหมู่บ้าน และบุกเบิกที่ดินที่เป็นไร่นาที่ทำมาหากินต่อไป และเจ้าแก้วเมืองมาแต่งตั้งให้ชาวไทใหญ่ผู้หนึ่งซึ่งเป็นคนเฉลียวฉลาดและมีความรู้ดีกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน ชื่อว่า “ พะกาหม่อง ” ให้เป็น “ ก๊าง ” ( คือตำแหน่งนายบ้านหรือผู้ใหญ่บ้าน) มีหน้าที่คอยควบคุมดูแล และให้คำแนะนำพวกลูกบ้านใน การดำเนินการต่อไป พะกาหม่องได้เป็นผู้ชักชวนเกลี้ยกล่อมพวกที่อยู่ใกล้เคียง ให้ย้ายมาอยู่รวมกัน แล้วตั้งชื่อหมู่บ้านนั้นว่า “บ้านโป่งหมู” โดยถือเอาว่าที่โป่งนั้น มีหมูป่าลงมากินโป่งมากนั่นเอง ปัจจุบันหมู่บ้านนี้ เรียกว่า “บ้านปางหมู” อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ ๖ กิโลเมตร (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ๒๕๔ ๘ : ๔๘-๔ ๙)

เมื่อจัดตั้งหมู่บ้านแล้ว เจ้าแก้วเมืองมาก็ยกขบวนออกเดินทางตรวจชายแดน และคล้องช้างป่าต่อไป จนถึงลำห้วยแห่งหนึ่ง มีรอยช้างป่าอยู่มากมาย ก็หยุดคล้องช้างป่าได้หลายเชือก แล้วให้ตั้งคอกสอนช้างในร่องห้วย ริมห้วยนั้นเป็นพื้นที่ราบกว้างขวางพื้นดินดีกว่าบ้านโป่งหมูและมีชาวไทใหญ่ตั้งกระท่อมอยู่เป็นอันมาก เจ้าแก้วเมืองมาพิจารณาเห็นว่า เป็นทำเลที่เหมาะสมพอที่จะตั้งเป็นหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง จึงเรียกชาวไทใหญ่อีกคนหนึ่งซึ่งเป็นบุตรเขยของพะกาหม่อง ชื่อ “ แสนโกม ” มาแนะนำชี้แจงแต่งตั้งให้เป็นก๊าง ให้เป็นหัวหน้าเกลี้ยกล่อมผู้คนให้มาอยู่รวมกัน จนกลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ เจ้าแก้วเมืองมาตั้งชื่อหมู่บ้านนั้นว่า “ บ้านแม่ฮ่องสอน ” ซึ่ง ฮ่อง ในภาษาล้านนา คือ ร่อง โดยอาศัยที่ร่องน้ำนั้น เป็นคอกที่ฝึกสอนช้างป่า เมื่อเจ้าแก้วเมืองมาคล้องช้างป่าได้พอสมควรแล้วก็เดินทางกลับเมืองเชียงใหม่ แล้วกราบทูลให้พระเจ้ามโหตรประเทศฯ ทราบ (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ๒๕๔ ๘ :๔ ๙)

เมื่อเจ้าแก้วเมืองมากลับนครเชียงใหม่แล้วพะกาหม่องและแสนโกมบุตรเขยก็ได้พยายามชักชวนผู้คนที่อยู่ใกล้เคียง ให้อพยพครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนอยู่ทำมาหากินจนแน่นหนาขึ้นเป็นหมู่บ้านใหญ่ และต่อมาเห็นว่าบริเวณนั้นมีไม้สักมาก พะกาหม่องและแสนโกม เห็นว่าหากตัดเอาไม้สักนั้นไปขายประเทศพม่าโดยใช้วิธีชักลากลงลำห้วย แล้วปล่อยให้ไหลลงแม่น้ำคง(แม่น้ำสาละวิน) ก็คงได้เงินมาช่วยในด้านเศรษฐกิจและการบำรุงบ้านเมือง เมื่อปรึกษาหารือกันดีแล้วพะกาหม่องและแสนโกม จึงเดินทางเข้ามาเฝ้าพระเจ้ามโหตรประเทศฯ ที่นครเชียงใหม่ กราบทูลขออนุญาตตัดฟันชักลากไม้ไปขายแล้วจะแบ่งเงินค่าตอบแทนถวายตลอดปี พระเจ้ามโหตรประเทศฯก็ทรงอนุญาต พะกาหม่องและแสนโกม จึงทูลลากลับ และเริ่มลงมือทำไม้ขอนสักส่งไปขายที่เมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่าได้เงินมาก็เก็บแบ่งถวายพระเจ้ามโหตรประเทศทุกปี นอกนั้นก็ใช้ประโยชน์ส่วนตัวและบำรุงบ้านเมือง (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ๒๕๔ ๘ :๔ ๙)

ครั้นถึงพ.ศ. ๒๓๙๗ พระเจ้ามโหตรประเทศฯถึงแก่พิลาลัย เจ้ากาวิโลรสซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าหัวเมืองแก้วได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่แทน ทรงนามว่า “ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ” ใน พ.ศ. ๒๓๙๙ พะกาหม่อง และแสนโกม ก็ยังคงทำป่าไม้และส่งเงินไปถวายทุกปี พะกาหม่องกับแสนโกมจึงมีฐานะดีขึ้น และหมู่บ้านโป่งหมูและบ้านแม่ฮ่องสอนก็เจริญขึ้นตามลำดับ ในครั้งนั้นหัวเมืองไทใหญ่ตามแถบตะวันตกฝั่งแม่น้ำคง(แม่น้ำสาละวิน) เกิดการจลาจลเกิดรบราฆ่าฟัน จึงมีชาวไทใหญ่อพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านปางหมูหรือโป่งหมู และบ้านแม่ฮ่องสอนมากขึ้น บางพวกก็ลงไปอาศัยอยู่ที่บ้านขุนยวม (หมู่บ้านไทใหญ่บนเขา) บางพวกอพยพเลยขึ้นไปทางเหนือ ไปอยู่ที่เมืองปาย กลุ่มพวกไทใหญ่ที่อพยพเข้ามานี้ มีผู้หนึ่งชื่อว่า “ ชานกะเล ” เป็นชาวเมืองจ๋ามกา เป็นคนขยันขันแข็งชานกะเลเข้ามาอาศัยที่บ้านปางหมู และช่วยพะกาหม่องทำไม้ด้วยความซื่อสัตย์ และตั้งใจทำงานโดยไม่เห็นแก่เหนื่อยยาก พะกาหม่องไว้วางใจและรักใคร่มาก ถึงกับยกลูกสาวชื่อนาง ใส ให้เป็นภรรยา นางใส มีบุตรกับชานกะเลคนหนึ่งชื่อนางคำ (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ๒๕๔ ๘ : ๔๙-๕๐)

กาลเวลาผ่านไปหมู่บ้านปางหมู และบ้านแม่ฮ่องสอนก็มีผู้คนมาอาศัยหนาแน่นยิ่งขึ้น และในปี พ.ศ. ๒๔๐๙ นั่นเอง มีเหตุการณ์สำคัญที่ชักนำเอาบุคคลสำคัญของชาวไทใหญ่ให้มาอพยพอยู่ในแม่ฮ่องสอนอีกคือเจ้าฟ้าเมืองนายมีเรื่องขัดเคืองกับ เจ้าฟ้าโกหล่านเจ้าเมืองหมอกใหม่ จึงได้ยกทัพมาตีเมืองหมอกใหม่แตก เจ้าฟ้าโกหล่านเจ้าเมืองหมอกใหม่จึงพาครอบครัวอพยพเข้ามาอาศัยอยู่กับแสนโกมที่บ้านแม่ฮ่องสอน เจ้าฟ้าโกหล่านมีภรรยาชื่อ นาง เกี๋ยง มีบุตรชายชื่อ เจ้าขุนหลวง มีหลาน ๔ คนเป็นชาย ๑ หญิง ๓ ชายชื่อ ขุนแจ หญิงชื่อ เจ้าหอม เจ้านางนุ เจ้านางเมียะ เมื่อเจ้าฟ้าโกหล่านมาอาศัยอยู่ด้วย แสนโกมได้มีหนังสือทูลให้พระเจ้ากาวิโลรสฯ ทราบพระเจ้ากาวิโลรสฯ จึงรับสั่งให้ส่งตัวเข้าเฝ้า แต่เจ้าฟ้าโกหล่านป่วย จึงส่งเจ้าขุนหลวงบุตรไปแทน พระเจ้ากาวิโลรส โปรดเจ้าขุนหลวงทรงยกเจ้าอุบลวรรณาผู้เป็นหลานให้เป็นภรรยาอยู่กินด้วยกันที่เชียงใหม่ จนมีบุตรคนหนึ่งชื่อ เจ้าน้อยสุขเกษมและอนุญาตให้เจ้าฟ้าโกหล่านอาศัยอยู่ในเขตแดนต่อไป ต่อมานางใส ภรรยาของชานกะเลถึงแก่กรรม เจ้าฟ้าโกหล่านจึงทรงยกเจ้านางเมียะหลานสาวคนเล็กให้เป็นภรรยาของชานกะเล ชานกะเลได้ไปตั้งเมืองอยู่บนภูเขาอีกแห่งหนึ่งทางเหนือต้นแม่น้ำยวม เรียกว่า เมืองขุนยวม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ ทรงแต่งตั้งให้ ชานกะเลเป็น “ พญาสิงหนาทราชา ” เป็นพ่อเมืองคนแรก และยกฐานะหมู่บ้านแม่ฮ่องสอนขึ้นเป็นเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นเมืองหน้าด่านต่อไป และยกเมืองปาย เมืองขุนยวมเป็นเมืองรอง (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ๒๕๔๙: ๕๐)

พญาสิงหนาทราชา ได้ปกครองเมืองและพัฒนาเมืองแม่ฮ่องสอนให้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการขุดคูเมืองและสร้างประตูเมืองขึ้นอย่างมั่นคง จนถึง พ.ศ. ๒๔๒๗ พญาสิงหนาทราชาได้ถึงแก่กรรม เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้แต่งตั้งเจ้านางเมียะผู้เป็นภรรยาของพญาสิงหนาทเป็นเจ้านางเมวดีขึ้นปกครองแทน ชาวแม่ฮ่องสอนเรียกเจ้านางเมวดีว่า “ เจ้านางเมียะ ” โดยให้ปู่โทะ (พญาขันธเสมาราชานุรักษ์) เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๔ เจ้านางเมียะถึงแก่กรรม เจ้าอินทวิชยานนท์ผู้ปกครองนครเชียงใหม่ จึงแต่งตั้งพญาขันธเสมาราชานุรักษ์ เป็นพญาพิทักษ์สยามเขต ให้ปกครองเมืองแม่ฮ่องสอน จนถึงพ.ศ. ๒๔๓๓ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยาศรีสหเทพปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยได้ตรวจราชการพื้นที่หัวเมืองมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือจึงจัดระบบการปกครองใหม่เป็น รวมเมืองแม่ฮ่องสอน เมืองขุนยวม เมืองปาย และเมืองยวม (แม่สะเรียง) เป็นหน่วยเดียวกันเรียกว่า “ บริเวณเชียงใหม่ตะวันตก ” ตั้งที่ว่าการแขวง (เทียบเท่าเมือง) ที่เมืองขุนยวม โดยแต่งตั้งนายโหมดเป็นนายแขวง (แจ้งความเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๙ ) และในปีเดียวกันนี้เมืองเชียงใหม่ได้แต่งตั้งขุนหลู่บุตรของพญาพิทักษ์สยามเขต เป็นพญาพิศาลฮ่องสอนบุรี พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้ย้ายที่ว่าการแขวงจากเมืองขุนยวม ไปตั้งที่เมืองยวมแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “ บริเวณพายัพเหนือ ” จนพญาพิทักษ์สยามเขตถึงแก่กรรม เมืองเชียงใหม่จึงแต่งตั้ง พญาพิศาลฮ่องสอนบุรีขึ้นปกครองเมืองแทน พ.ศ. ๒๔๕๓ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ตั้งเมืองจัตวาขึ้นกับมณฑลพายัพ ย้ายที่ว่าการแขวงจากเมืองยวมมาตั้งที่แม่ฮ่องสอนให้ชื่อว่า “ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ” แล้วโปรดเกล้าฯให้พระศรสุรราช (เปลื้อง) มาปกครองเมืองแม่ฮ่องสอน ถือว่าเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนคนแรก (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ๒๕๔ ๘ : ๗๓)

ข้อมูล สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน, www.pasasiam.com
เครดิตตามภาพ
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือตอนบน(ล้านนา)

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 10 ม.ค. 2015 10:51 am

ประวัติศาสตร์จังหวัดเชียงราย


aa11.jpg
aa11.jpg (407.5 KiB) เปิดดู 6625 ครั้ง




ประวัติศาสตร์จังหวัดเชียงราย

จากการศึกษาด้านตำนานพื้นเมืองต่าง ๆ นักวิชาการท้องถิ่นของเชียงรายกล่าวว่าเรื่องราวเกี่ยวด้วยเรื่องการตั้งอาณาจักรต่าง ๆ ที่เป็นดินแดนของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบันนั้นได้ปรากฏในพงศาวดารเหนือ เป็นหนังสือคัมภีร์ใบลาน ตัวหนังสืออักษรธรรมล้านนา ตำนานเมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน บางแห่งเรียกว่า ตำนานโยนกนครราชธานี ไชยบุรีศรีช้างแสง เช่น ตำนานสิงหนวัติ เป็นต้น แต่ละเล่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองโยนกทั้งสิ้น จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพงสาวดารโยนก อีกประการหนึ่งจะเกี่ยวพันกับอาณาจักรโบราณต่าง ๆ อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน

ตามแนวความคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยในหลายความคิด ได้มีความเชื่อว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยนั้นน่าจะอยู่ทางประเทศจีนมาก่อน ในยุคที่ชนชาติไทยเรากำลังหนีจีนมาตั้งนครหลวงอยู่ที่แคว้นเมาและหนองแสนั้น ถิ่นที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายนี้เป็นที่อยู่ของชาวป่าชาวเขาพวกหนึ่งเรียกว่า “ลัวะ” (หรือลังวะ หรือละว้า) และชาวป่าพวกอื่นอาศัยอยู่

ครั้งนั้น ราว พ.ศ. ๕๐ ไทยเผ่าหนึ่งเรียกว่า อ้ายลาว ตั้งอาณาจักรอยู่ที่นครปา ถูกจีนรุกรานหนักเข้า จึงอพยพมาตั้งอยู่บริเวณเมืองเล็ม เชียงรุ้ง เชียงลาว ริมแม่น้ำสาย ตั้งราชวงศ์ขึ้นปกครองสืบต่อกันมาจนถึงสมัย ลวจักราช จึงได้ลงมาตั้งเมืองที่ตำบลยางเสี่ยวใกล้ดอยตุง เรียกว่า เชียงลาว

ราวพุทธศตวรรษที่ ๕ มีพวกไทยถอยร่นจากจีนตอนใต้ มาสมทบไทยที่เมืองเชียงลาวมากขึ้นทุกที จึงได้ขยายเมืองให้กว้างขวางขึ้นอีก เรียกว่า แคว้นยุนซาง หรือยวนเซียง มีอาณาเขตแผ่ไปถึงหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง (อำเภอเวียงป่าเป้าในปัจจุบันนี้) เวียงฮ่อ ดงเวียง เวียงวัง แจ้ห่ม เชียงแสน ทั้งนี้ภายหลัง พ.ศ. ๕๙๐ เป็นต้นมา

ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ขอมมีอำนาจถึงอาณาจักรโครตบูรณ์ จึงยกเข้ามาตีแคว้นยวนเซียง ขับไล่ชาวไทย แล้วตั้งเมืองขึ้นที่เชียงแสน เรียกว่า สุวรรณโคมคำ บริเวณที่เคยเป็นเมืองเชียงลาว ใกล้ฝั่งน้ำโขง และได้สร้างเมือง อุมงคเสลา ที่เมืองฝาง ต้นลำน้ำกก อาณาเขตสุวรรณโคมคำของขอมครั้งนั้น ทิศเหนือจดถึงเมืองหนองแส ทิศใต้จนฝายนาค (ลีผี) ตะวันออกถึงแม่น้ำแตก (แม่น้ำแท้) ทิศตะวันตกถึงแม่น้ำตู แต่ขอมปกครองไทยอย่างป่าเถื่อนและทารุณจนไทยเราอพยพจากเมืองสุวรรณโคมคำกระจัดกระจายไปอีก ขอมจึงย้ายไปตั้งเมืองอุมงคเสลา (เมืองฝางในปัจจุบัน) ทิ้งให้เมืองสุวรรณโคมคำร้างไว้)

เจ้าสิงหนวัติกุมาร โอรสพระเจ้าเทวกาล กษัตริย์เมืองหนองแส เป็นชั้นหลานปู่ของขุนบรม ได้อพยพคนไทยประมาณแสนครัวจากหนองแส (ตาลิฟู) ลงมาสร้างเมืองขึ้นใหม่อีกให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้น แล้วขนานนามว่า เมืองนาคพันธุสิงหนวัตินคร ภายหลังเรียกสั้น ๆ ว่า นาเคนทร์นคร, นาคบุรี, โยนกนาคนคร และโยนกนครหลวง เป็นต้น (คือเมืองเชียงแสนในปัจจุบัน)

พระเจ้าสิงหนวัติครองราชย์สมบัติในโยนกนครหลวงได้ ๕๒ ปี สวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๓๖๗ มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาอีกหลายองค์ องค์ที่สำคัญ ๆ เช่น รัชกาลที่ ๓ พระเจ้าอชุตราช ผู้สร้างมหาสถูปดอยตุง ปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงรายและล้านนาไทย
รัชกาลที่ ๔ พระเจ้ามังรายนราช (โอรสพระเจ้าอชุตราช) พระองค์มีโอรส ๒ พระองค์ องค์ใหญ่มีพระนามว่า พระองค์เชือง องค์เล็กมีพระนามว่า ไชยนารายณ์ รัชกาลที่ ๕ พระองค์เชือง (ราชโอรสพระเจ้ามังรายนราช ครองเมืองโยนกนครหลวงต่อมา)
ส่วนโอรสองค์ที่ ๒ ของพระเจ้ามังรายนราช มีพระนามว่า พระองค์ไชยนารายณ์ ซึ่งเป็นพระองค์น้อง ได้ไปสร้างเมืองใหม่ที่ตำบลดอนมูล ริมแม่น้ำลาว (น้ำกาหลง) เรียกว่าเมืองไชยนารายณ์

พระองค์ไชยนารายณ์ ได้ครองเมืองไชยนารายณ์ และมีกษัตริย์สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนถึงองค์ที่ ๒๗ มีพระนามว่า พระองค์พังคราช ชาติไทยได้อ่อนกำลังลง ขอมซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เมืองอุมงคเสลา ได้ยกทัพเข้าตีเมืองโยนกนาคนคร พระองค์พังคราชหนีไปอยู่เวียงสีทวง แต่นั้นมาไทยก็เป็นเมืองขึ้นของขอมเรื่อยมา ใน พ.ศ. ๑๔๖๑ พระมเหสีก็ได้ประสูติพระโอรส มีพระนามว่า เจ้าทุกขิตกุมาร และต่อมา พ.ศ. ๑๔๓๖ พระมเหสีก็ประสูติเจ้าพรหม กุมารอีกพระองค์หนึ่ง

ครั้งเจ้าพรหมกุมารมีพระชนมายุ ๑๗ พรรษา ทรงแกล้วกล้าในการรบพุ่ง อย่างยิ่ง ได้ขับไล่ขอมจนสำเร็จ เมื่อ พ.ศ. ๑๔๗๙ แล้วเชิญพระราชบิดาไปครองเมืองโยนกนาคนครต่อไป เจ้าพรหมกุมารตีได้เมืองอุมงคเสลาซึ่งมีอำนาจร่วม ๕๐๐ ปีแตก ขับไล่ขอมจนถึงเมืองหริภุญไชย และเมืองกำแพงเพชรจนหมดสิ้นเชื้อชาติขอมในอาณาจักรโยนก พระองค์สร้างเมืองอุมงคเสลาขึ้นใหม่ ขนานนามว่า เมืองไชยปราการ ในปี พ.ศ. ๑๔๗๙ นั้นเอง อนึ่ง เมืองโยนกนาคนครก็เปลี่ยนนามใหม่ว่า เวียงไชยบุรี เพื่อระลึกถึงชัยชนะของพระองค์

พระเจ้าพรหมนครองเมืองไชยปราการต่อมา เสด็จสวรรคต พ.ศ. ๑๕๘๒ ก็ได้เสียเมืองให้แก่ขุนเสือขวัญฟ้า (บางฉบับก็ว่าพระยาสุธรรมวดี) แม้กษัตริย์ที่เมืองนครไชยบุรีและนครไชยนารายณ์จะยกทัพมาช่วยก็สู้ข้าศึกไม่ได้ พระเจ้าไชยศิริจึงรับสั่งให้เผาเมือง แล้วอพยพผู้คนพลเมืองหนีมาทางใต้ ไปตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทองเพื่อตั้งตัวต่อไป

ยังมีกษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง พระนามว่า ลาวจก หรือลาวจง ปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์จังกราช (คำว่า ลว เป็นชื่อราชวงศ์ ไม่ใช่ลัวะหรือละว้าซึ่งเป็นชื่อชาวป่าชาวเขา) ซึ่งครองเมืองเชียงลาว (แคว้นจก) ได้ขยายอำนาจมาจนถึงเมืองเงินยาง จนรวบรวมบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นแล้วได้ขนานนามเมืองว่า หิรัญนครเงินยาง และมีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาอีกหลายพระองค์ที่ได้กล่าวมานี้ เป็นสังเขปประวัติความเป็นมาก่อนสร้างเมืองเชียงราย นับเป็นประวัติความเป็นมาของชาติไทยในดินแดนภาคเหนือ อันมีนครโยนกเป็นราชธานีตามการศึกษาจากตำนานพื้นเมือง

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบางยุคบางสมัยในดินแดนเหล่านี้ บางครั้งก็มีความคลาดเคลื่อนกันไป ทั้งทางด้านสถานที่ หรือด้านของเวลา จึงยากที่จะชี้ชัดลงไปอย่างชัดเจนว่าหลักฐานใดถูกต้อง สำหรับอาณาจักรโบราณและเมืองต่าง ๆ อันเป็นที่ตั้ง ของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ที่ปรากฏในตำนานหรือพงศาวดารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น พอจะแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้
๑. ยุคอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน
๒. ยุคหิรัญนครเงินยาง
๓. ยุคเชียงราย (มังราย)
๔. ยุคพันธุมติรัตนอาณาเขต

ยุคอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน

เรื่องราวของอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน (ช้างแส่งก็เรียก) ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโยนกนครราชธานีศรีช้างแสน หรือเมืองนาคพันธุ์สิงหนวัตินครนั้น เป็นเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารโยนก ได้กล่าวถึงมหากษัตริย์องค์หนึ่ง ชื่อว่า เทวกาละ ครองราชย์สมบัติเป็นใหญ่แก่ไทยทั้งหลายในเมืองนครไทยเทศ อันมีเมืองราชคหะ (ราชคฤห์) เป็นนครหลวงมหากษัตริย์พระองค์นั้น มีราชโอรส ๓๐ พระองค์ ราชธิดา ๓๐ พระองค์ รวมทั้งหมด ๖๐ พระองค์ ราชโอรสองค์แรกมีพระนามว่า พิมพิสารราชกุมาร องค์ที่สองมีพระนามว่า สิงหนวัติกุมาร (บางตำราเป็นสิงหนติกุมาร และเพี้ยนไปเป็น สีหนติกุมาร หรือศรีหนติกุมาร ก็มี) ด้วยเหตุว่ามีลักษณะและกำลังดุจราชสีห์นั่นเอง

เมื่อนั้น มหากษัตริย์ผู้เป็นพ่อได้แบ่งราชสมบัติให้แก่ราชโอรสและธิดาทั้ง ๖๐ พระองค์แล้วได้แต่งตั้งให้เจ้าพิมพิสาร โอรสองค์แรกเป็นอุปราชา และให้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาผู้หนึ่งให้อยู่ในเมืองราชคฤห์นครหลวง ส่วนโอรสและราชธิดา ๒๙ คู่นั้น ให้จับคู่กันแล้วแยกย้ายออกไปตั้งบ้านเมืองอยู่ตามที่ต่าง ๆ

ส่วนเจ้าสิงหนวัติกุมารโอรสที่สองกับน้องหญิงผู้หนึ่งได้แบ่งเอาราชสมบัติพร้อมไพร่พลแสนหนึ่ง แล้วก็เสด็จออกจากเมือง ราชคฤห์นครหลวง ข้ามแม่น้ำสระพูมุ่งหน้าไปทางทิศอาคเนย์ออกจากเมืองราชคฤห์ได้ ๔ เดือน “พอถึงเดือน ๕ ออก ๑๑ ค่ำ วันศุกร์ ก็จึงได้ไปถึงประเทศที่หนึ่งมีสัณฐานราบเปียงเรียงงาม มีแม่น้ำใหญ่ น้ำฮาม น้ำน้อยมากนัก ก็บ่พอไกลขรนที (แม่น้ำโขง) เท่าใดนัก แลมีน้ำห้วยน้อยอันจักสร้างไร่นาดีนัก แลเป็นแว่นแคว้นเมืองสุวรรณโคมคำเก่าอันร้างไปแล้วนั้น ในกาลนั้น มีแต่พวกลัวะ มิละขุ คือชาวป่าชาวดอยทั้งหลาย ยังอยู่ในซอกห้วยราวเขาภูดอยไคว่จุที่แล้ว และมีขุนหลวงผู้หนึ่ง นามว่า ปู่เจ้าลาวจก เป็นใหญ่แก่มิละขุทั้งหลายก็ยังอยู่ดอยดินแดงอันมีหนประจิมทิศประเทศนั้น และยามนั้นสิงหนวัติกุมารก็มารอดถึงที่หนึ่ง หมดใสกว้างขวางนัก บ่ไกลแม่น้ำใหญ่ แม่น้ำฮาม แม่น้ำน้อยมากแล แลห่างจากแม่น้ำ ขรนทีนั้น ๗,๐๐๐ วา แลเมืองสุวรรณโคมคำเก่านั้น อยู่เบื้องฝ่ายแม่น้ำขรนทีก้ำหน้านั้นแล”

ในตำนานนั้นได้กล่าวอีกว่า “เมื่อนั้น ท่านก็ให้แปงปางจอดยั้งเยาอชัยอยู่ที่นั้น รอดเดือนสี่ ขึ้นหนึ่งค่ำ วันศุกร์ มหาศักราชขึ้นใหม่แถมตัวหนึ่งเป็น ๑๘ ตัวปีล่วงเป้า วันนั้นยังมีพญานาคตัวหนึ่ง มีชื่อว่า “พันธุนาคราช” ก็มาเนรมิตตนเป็น พราหมณ์ผู้หนึ่ง แล้วเข้ามาสู่ที่แห่งเจ้าสิงหนวัติกุมาร แล้วกล่าวว่า “ดูกร เจ้ากุมารท่านนี้ เป็นลูกท้าวพระยามหากษัตริย์ หรือว่าเป็นลูกเศรษฐีหรือคหบดี กระฎุมพี แลว่าพ่อค้า อั้นจา ลูกบ้านใดเมืองใดมานั้นจาแลเจ้ากุมารเห็นว่ามีประโยชน์อันใดจา จึงมายั้งพักยังสถานที่นี้ ว่าอั้น ว่าดังนี้ เมื่อนั้นเจ้าสิงหนุวัติกุมาร กล่าวว่าดูกรท่านพราหมณ์ เรานี้หากเป็นลูกกษัตริย์ตนหนึ่ง ชื่อว่าเทวกาละ ผู้เป็นเจ้าแผ่นดินเมืองราชคฤห์นครหลวงพุ้นแล เรามานี่เพื่อจักแสวงหาที่ควรสร้างบ้านตั้งเมืองอยู่แล ว่าอั้น เมื่อนั้นนาคพราหมณ์ก็ว่า ดีแท้แล ท่านจุ่งมาตั้งที่นี้ให้เป็นบ้านเมืองอยู่เทอะ จักวุฒิจำเริญดี จักบริบูรณ์ด้วยข้าวของราชสมบัติประการหนึ่ง ข้าศึกศัตรูทั้งหลาย เป็นต้นว่าศึกมหานครเมืองใหญ่ทั้งหลายจักมารบก็เป็นอันยาก เหตุว่าแม่น้ำใหญ่ สะเภาเลากาจักมาก็ไม่ถึง แต่ว่าขอให้มีสัจจะรักษายังข้าคนและสัตว์ทั้งหลายแด่เทอะ”

เมื่อนั้น เจ้าสิงหนวัติกุมารจึงกล่าวว่า “ดูกร ท่านพราหมณ์ ท่านนี้อยู่ที่ใด อยู่บ้านเมืองใด และมีชื่อว่าดังฤา” นาคพราหมณ์ก็กล่าวว่า “ข้านี้มีชื่อว่าพันธุพราหมณ์ อยู่รักษาประเทศที่นี่มาตั้งแต่ตระกูลเค้ามาแล ท่านจุ่งใช้สัปปรุริสะแห่งท่านไปตามดูที่อยู่แห่งข้าเทอะ ว่าอั้น” แล้วก็กล่าวอำลาเจ้าสิงหนวิตกุมารออกไปแล เจ้าสิงหนวัติกุมารจึ่งใช้ให้บ่าวแห่งท่านตามไปดู ๗ คน ไปทางหนหรดี ไกลประมาณ ๑,๐๐๐ วา แล้วก้ลวดหายไปเสียแล เมื่อนั้นบ่าวทั้ง ๗ คน จึงกลับคืนมาบอกแก่เจ้าแห่งเขา ตามดั่งที่ได้เห้นมานั้นทุกประการแล เจ้าสิงหนวัติกุมารได้ยินคำดังนั้นก็สลั่งใจอยู่แล ส่วนว่านาคพราหมณ์ผู้นั้นก็เอาเพศเป็นพญานาคดังเก่าแล้วก็ทวนบุ่นไปให้เป็นเซตคูเวียง กว้าง ๓,๐๐๐ วา รอดชุกน้ำ แล้วก็หนีไปสู่ที่อยู่แห่งตนในกลางคืนนั้นแล ครั้นรุ่งแจ้งแล้ว เจ้าสิงหนวัติกุมารเห็นเป็นประการฉันนั้นแล้ว ก็มีใจชื่นชมยิ่งนัก จึงให้หาพราหมณ์อาจารย์มา แล้วก็ตรัสถามว่า “พราหมณ์ผู้มาบอกให้แก่เรานั้น จักเป็นเทวบุตร เทวดา พระยาอินทร์พรหมดังฤา พราหมณ์อาจารย์จึงกล่าวว่า ตามดั่งข้าผู้เฒ่ามาพิจารณาดูนี้ คงจะเป็นพญานาคเป็นแน่แท้ เมื่อนั้นก็พร้อมกันเข้ายังเรือนหลวง แล้วตั้งหอเรืองบริบูรณ์แล้ว ก็เข้าอยู่เป็นเมืองใหญ่ แล้วพราหมณ์อาจารย์ผู้นั้นก็พิจารณา เอาชื่อพญานาคพันธุ์นั้น กับชื่อกุมารผู้เป็นเจ้านั้น ชื่อสิงหนวัตินั้นมาผสมกัน แล้วเรียกนามเมืองนั้นว่า เมืองพันธุสิงหนวัตินคร นั้นแล

เมื่อเจ้าสิงหนวัติกุมารได้เป็นเจ้าเมืองพันธุสิงหนวัตินครแล้ว ได้มีอาชญาเรียกว่าเอาขุนหลวง มิลักขุทั้งหลาย ให้เข้ามาสู่สมภารแห่งพระองค์นั่นแล แต่นั้นไปภายหน้าได้ ๓ ปี ยังมีเมืองอันหนึ่งอยู่หนหรดี ไกลประมาณ ๔ คืนทาง มีข้างหัวกุกกะนที (แม่น้ำกก) ที่นั่น ชื่อว่าเมืองอุมงคเสลานคร เมืองนั้นเป็นที่อยู่ของชาวขอมทั้งหลาย และส่วนว่าเมืองขอมนี้ก็เป็นเมืองพร้อมกันกับ เมืองสุวรรณโคมคำ แต่ครั้งสมัยศาสนาพระกัสสปะและยังไม่เคยเป็นเมืองร้างเลย พระยาขอมเจ้าเมืองอุมงคเสลานครนั้น มีมานะกระด้างไม่ยอมเข้าสู่บรมโพธิสมภารเจ้าสิงหนวัติ พระองค์จึงยกกำลังรี้พลไปรบเอาเมืองอุมงคเสลานครได้เข้าสู่ บรมโพธิสมภารแต่นั้นมา มหาศักราชได้ ๒๒ ตัว ปีดังไส้ ตั้งเมืองพันธุสิงหนวัตินครได้ ๕ ปี ถึงปีนั้นท่านก็ปราบได้ล้านนาไทยทั้งมวลแล ฯ

เสนาอำมาตย์ พราหมณ์อาจารย์ ไพร่ไทยทั้งหลาย ก็พร้อมใจกันราชาภิเษกยังเจ้าสิงหนวัติราชกุมารขึ้นเป็นเอกราชมหากษัตริย์ ปราบล้านนาไทยทั้งมวล ขนานพระนามว่าเจ้าพระยาสิงหนวัติราชกษัตริย์ตั้งแต่นั้นมา และเมืองนี้ก็บริบูรณ์ด้วยผู้คน ช้างม้าวัวควาย สมบัติมากนัก เกิดเป็นเมืองใหญ่แต่นั้นมา มีอาณาเขตดังนี้
ในทิศบูรพา มีแม่น้ำขรนทีเป็นแดน
ในทิศปัจฉิม มีดอยรูปช้างชุนน้ำย้อยมาหาแม่คงเป็นแดน
ในทิศอุดร มีต้าง (เขื่อน) หนองแสเป็นแดน
ในทิศทักษิณ มีลวะรัฐเป็นแดน

ที่มา กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดเชียงราย
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือตอนบน(ล้านนา)

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 10 ม.ค. 2015 10:51 am

ประวัติศาสตร์จังหวัดเชียงราย

บ้านเมืองก็มีความสงบสุขร่มเย็นตลอดสมัยของพระเจ้าสิงหนวัติ พระองค์ครองราชสมบัติได้ ๑๐๒ ปี มีอายุได้ ๑๒๐ ปี (บางตำนานก็ว่าครองราชย์ได้ ๕๒ ปี) ในภายหลังอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน ที่มีเมืองพันธุสิงหนวัตินครเป็นเมืองหลวงนั้น ตำนานได้กล่าวไว้ว่า ได้มีกษัตริย์ปกครองสืบเนื่องต่อกันมาประมาณกว่า ๔๐ พระองค์ ซึ่งบางพระองค์ก็จะปรากฏพระนาม ในตำนานของการสร้างเมืองใหม่ หรือโบราณสถานที่ยังคงมีมาอยู่จนถึงยุคปัจจุบัน ได้แก่ พระเจ้าอชุตราช กษัตริย์องค์ที่ ๓ เป็นผู้สร้างพระธาตุเจ้าดอยตุง โอรสองค์ที่สองของพระเจ้ามังรายนราช กษัตริย์องค์ที่ ๔ คือ พระองค์ไชยนารายณ์ เป็นผู้สร้างเวียงไชยนารายณ์ พระองค์เว่าหรือพระองค์เวา กษัตริย์องค์ที่ ๑๐ เป็นผู้สร้างพระธาตุดอยเวา อำเภอแม่สาย เป็นต้น

รายนามกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน
(จากพงศาวดารโยนก ของพระยาประชากิจกรจักร)
๑. สิงหนกุมาร
๒. คันธกุมาร
๓. อชุตราช
๔. มังรายนราช
๕. พระองค์เชือง
๖. พระองค์ชืน
๗. พระองค์ดำ
๘. พระองค์เกิง
๙. พระองค์ชาติ
๑๐. พระองค์เวา
๑๑. พระองค์แวน
๑๒. พระองค์แก้ว
๑๓. พระองค์เงิน
๑๔. พระองค์ตน
๑๕. พระองค์งาม
๑๖. พระองค์ลือ
๑๗. พระองค์รวย
๑๘. พระองค์เชิง
๑๙. พระองค์กัง
๒๐. พระองค์เกา
๒๑. พระองค์พิง
๒๒. พระองค์ศรี
๒๓. พระองค์สม
๒๔. พระองค์สวรรย์ (สวน)
๒๕. พระองค์แพง
๒๖. พระองค์พวน
๒๗. พระองค์จักทร์
๒๘. พระองค์ฟู
๒๙. พระองค์ผัน
๓๐. พระองค์วัง
๓๑. พระมังสิงห์
๓๒. พระมังแสน
๓๓. พระมังสม
๓๔. พระองค์ทิพ
๓๕. พระองค์กอง
๓๖. พระองค์กม (กลม)
๓๗. พระองค์ชาย (จาย)
๓๘. พระองค์ชิน (จิน)
๓๙. พระองค์ชม (จม)
๔๐. พระองค์กัง (ปัง)
๔๑. พระองค์กิง (พึง)
๔๒. พระองค์เกียง (เปียง)
๔๓. พระองค์พัง (พังคราช)
๔๔. ทุกชิต
๔๕. มหาวัน
๔๖. มหาไชยชนะ

อาณาจักรโยนก ได้มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาจนสมัยพระองค์มหาไชยชนะ อาณาจักรจึงได้ถึงกาลล่มจม ดังปรากฏในตำนานสิงหนวัติที่กล่าวว่า ได้มีชาวเมืองไปได้ปลาไหลเผือก (บางตำนานก็ว่าปลา

มหากษัตริย์ พระองค์จึงให้ตัดเป็นท่อนแจกกันกินทั่วทั้งเวียง และในคืนนั้นก็ได้เกิดมีเหตุเสียงดังสนั่นเหมือนกับแผ่นดินไหว ถึงสามครั้ง จนเป็นเหตุให้เมืองโยนกถล่มกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ แต่ก็เป็นน่าอัศจรรย์ที่ยังคงเหลือบ้านของหญิงหม้ายคนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับส่วนแบ่งเนื้อปลานั้นจากชาวเมืองไปบริโภค ในปัจจุบันหนองน้ำดังกล่าวจึงได้มีผู้สันนิษฐานไปต่าง ๆ กัน บ้างก็สันนิษฐานว่าคือทะเลสาบเชียงแสน (หนองบงกาย) ในเขตอำเภอเชียงแสน บ้างก็ว่าคือเวียงหนองล่ม (เวียงหนองหรือเมืองหนองก็ว่า) ในเขตอำเภอแม่จัน เนื่องจากมีชื่อสถานที่ต่าง ๆ ได้ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้น เช่น บ้านแม่ลาก ก็หมายถึงตอนที่ชาวเมืองได้ช่วยกันลากปลาไหลตัวนั้น บ้านแม่ลัว (คงเลือนมาจากคำว่าคัว) ก็หมายถึงตอนที่ได้ชำแหละปลาไหลนั้นเพื่อแจกจ่ายกัน แม่น้ำกก หมายถึงตัดเป็นชิ้น ๆ ซึ่งชื่อดังกล่าวนี้ปัจจุบันมีอยู่ในท้องที่ของอำเภอท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน และยังมีผู้สันนิษฐานว่าคือหนองหลวง ในเขตอำเภอเวียงชัยอีกด้วย

หลังจากที่อาณาจักรโยนกได้ล่มสลายพร้อมด้วยราชวงศ์ดังกล่าวแล้ว ชาวเมือง จึงได้ปรึกษากันพร้อมใจกันยกให้ขุนลัง ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านขึ้นมาเป็นผู้ปกครองแทนราชวงศ์ และได้มีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ชื่อ เวียงปรึกษา (เวียงเปิ๊กษา) ซึ่งเมืองใหม่นี้ ว่ากันว่าเป็นต้นแบบของประชาธิปไตย เนื่องจากผู้นำได้มาจากการประชุมปรึกษาหารือกันคล้ายระบบการเลือกตั้งจึงเป็นที่มาของชื่อเวียงปรึกษา เวียงปรึกษาได้มีผู้ปกครองสืบต่อกันมา ๑๕ คน เป็นระยะเวลา ๙๓ ปี

ยุคหิรัญนครเงินยาง

ในยุคนี้ได้กล่าวถึงลวจังกราชหรือลวจักกราช ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์นี้ ซึ่งในหลักฐานบางฉบับเรียกว่า ราชวงศ์ลาว เนื่องจากพระนามของกษัตริย์ในราชวงศ์นี้ล้วนขึ้นต้นด้วยคำว่า “ลาว” มีอำนาจอยู่ในเมืองเชียงลาว (เชียงเรือน) สันนิษฐานว่าอยู่ใกล้บริเวณดอยตุงและแม่น้ำสาย ต่อมาได้ขยายจากเมืองเชียงลาวมาสู่เมืองเงินยางหรือเงินยัง ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง สันนิษฐานว่าเมืองเงินยางนี้อยู่ใกล้กับเมืองเชียงแสน หรืออาจเป็นบริเวณเดียวกันก็เป็นได้ เมืองเงินยางมีชื่อเรียกเป็นภาษาบาลีว่า “หิรัญนคร” อันเป็นที่มาและเรียกชื่อเมืองนี้ว่า หิรัญนครเงินยาง

ลวจังกราช (ลาวจง) มีราชบุตร ๓ พระองค์ คือ ลาวครอบ ลาวช้าง และลาวเก๊าแก้วมาเมือง ลวจังกราชได้ส่งราชบุตรออกไป สร้างบ้านแปงเมือง คือ ให้ลาวครอบราชบุตรองค์โตไปครองเมืองเชียงของ ลาวช้างราชบุตรองค์ที่สองไปครองเมืองยอง ส่วนลาวเก๊าแก้วมาเมือง ราชบุตรองค์เล็กนี้ให้ครองเมืองเชียงลาวสืบเนื่องมา ด้วยเหตุนี้ภายหลังจึงทำให้ราชวงศ์ลาว (ลวจังกราช) เป็นต้นของราชวงศ์เมืองต่าง ๆ เช่น พะเยา เชียงของ เชียงคำ จนถึงสมัยพญามังรายได้สร้างเมืองเชียงรายแล้ว พบว่าเจ้าเมืองต่าง ๆ ได้มีเชื้อสายมาจากวงศ์ลวจังกราชด้วยกัน จึงมีพระราโชบายรวบรวมให้เป็นปึกแผ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

รายนามกษัตริย์ราชวงศ์ลาว (ลวจังกราช หรือวงศ์หิรัญนคร)

รัชกาลที่ ๑ ลวจังกราช (ลาวจง)
รัชกาลที่ ๒ ลาวเก๊าแก้วมาเมือง
รัชกาลที่ ๓ ลาวเส้า (ลาวเสา)
รัชกาลที่ ๔ ลาวตัง (ลาวพัง)
รัชกาลที่ ๕ ลาวกลม (ลาวหลวง)
รัชกาลที่ ๖ ลาวเหลว
รัชกาลที่ ๗ ลาวกับ
รัชกาลที่ ๘ ลาวคิม (ลาวกิน)
รัชกาลที่ ๙ ลาวเคียง
รัชกาลที่ ๑๐ ลาวคิว
รัชกาลที่ ๑๑ ลาวเทิง (ลาวติง)
รัชกาลที่ ๑๒ ลาวทึง (ลาวเติง) รัชกาลที่ ๑๓ ลาวคน
รัชกาลที่ ๑๔ ลาวสม
รัชกาลที่ ๑๕ ลาวกวก (ลาวพวก)
รัชกาลที่ ๑๖ ลาวกิว (ลาวกวิน)
รัชกาลที่ ๑๗ ลาวจง
รัชกาลที่ ๑๘ จอมผาเรือง
รัชกาลที่ ๑๙ ลาวเจิง (ลาวเจื๋อง)
รัชกาลที่ ๒๐ ลาวเงินเรือง
รัชกาลที่ ๒๑ ลาวซิน (ลาวชื่น)
รัชกาลที่ ๒๒ ลาวมิง
รัชกาลที่ ๒๓ ลาวเมือง (ลาวเมิง)
รัชกาลที่ ๒๔ ลาวเมง

ลาวจงมีราชบุตร ๒ พระองค์ องค์พี่ชื่อ ลาวชิน ได้ให้ปกครองเมืองไชยนารายณ์ ส่วนผู้น้องชื่อจอมผาเรืองนั้น ให้ครองเมืองเชียงลาวต่อมา จอมผาเรือง (ลาวจอมเรือง) มีราชบุตรชื่อลาวเจื่อง (ขุนเจื่อง) ลาวเจื่องได้ครองเมืองเชียงลาวอยู่ระยะหนึ่ง และได้แผ่ขยายอาณาเขตไปถึงเมืองของพระยาแก๋ว แล้วได้อยู่ครองหลายเมือง ส่วนทางเมืองเงินยาง (เชียงลาว) นั้น ได้ให้ลาวเงินเรืองราชบุตรปกครองแทน และในสมัยของลาวเจื่องนี้ได้ให้ราชบุตรอีกหลายพระองค์ไปครองยังเมืองต่าง ๆ เช่น เมืองล้านช้าง เมืองน่าน เป็นต้น อันเป็นการกระจายราชวงศ์ลาว (ลวจังกราช) ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ อีกสมัยหนึ่ง

มาจนถึงสมัยลาวเมง ลาวเมืองพระบิดาได้สู่ขอนางอั้วมิ่งจอมเมืองหรือนางเทพคำขยาย ธิดาท้าวรุ้งแก่นชาย เจ้านครเชียงรุ้ง เมืองใหญ่แว่นแคว้นสิบสองปันนา มาอภิเษกเป็นชายาเจ้าลาวเมง ครั้นภายหลังอภิเษกแล้วไม่นานเท่าใด นางเทพคำขยายก็ทรงมีครรภ์แล้วประสูติพระราชโอรส เมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๒ ทรงพระนามว่า “เจ้ามังราย”

อาณาจักรหิรัญนครเงินยาง (เชียงลาว หรือเชียงเรือง หรือหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ก็เรียก) นั้น เคยมีความรุ่งเรืองมาก่อน มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ได้มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันในราชวงศ์ลวจังกราชมาหลายพระองค์ มาจนถึงสมัยพญามังราย จึงได้มีการสร้างเมืองใหญ่ขึ้นที่เชียงราย และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้เริ่มมีความชัดเจนขึ้น นับแต่การสร้างเมืองเชียงรายเป็นต้นมา

ยุคเชียงราย(มังราย)

พญามังราย ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติที่เมืองหิรัญนครเงินยาง เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๒ ในขณะมีพระชนม์ได้ ๒๐ ปี พระองค์จึงได้ให้พระยามหานครทั้งหลายไปถวายบังคม เมืองใดขัดแข็งมิยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี ก็แต่งกองทัพยกออกไปปราบปราม ตีได้เมืองมอบ เมืองไร เมืองเชียงคำ ได้ปลดเจ้าผู้ครองนครออกแล้วแต่งตั้งให้ขุนนางอยู่รั้งเมืองเหล่านั้น แต่นั้นหัวเมืองทั้งหลาย มีเมืองเชียงช้าง เป็นต้น ก็พากันอ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น

เมื่อรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือได้แล้ว คิดจะปราบหัวเมืองฝ่ายใต้ จึงได้ลงไปอยู่ที่เมืองหนึ่งชื่อเมืองว่า เวียงเต่ารอง เผอิญช้างมงคลของพญามังรายได้พลัดไป พญามังรายเสด็จตามช้างไปถึงยอดจอมทองริมแม่น้ำกก เห็นภูมิประเทศที่เป็นชัยภูมิดี จึงให้สร้างพระนครไว้ ณ ที่นั้นก่อปราการโอบล้อมเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง ขนานนามว่า เมืองเชียงราย ใน พ.ศ. ๑๘๐๕ แล้วพญามังรายก็ยกจากเมืองหิรัญนครเงินยาง ขึ้นมาประทับอยู่ที่เมืองเชียงรายในปีเดียวกันนี้ยังได้ตีเมืองเชียงตุงอีกด้วย ถัดมาอีก ๓ ปี พญามังรายได้เสด็จจากเมืองเชียงรายไปประทับอยู่ที่เมืองฝาง (เวียงไชยปราการ) โดยมีพระราชประสงค์ที่จะแผ่ขยายอาณาเขตไปทางล้านนา หลังจากนั้น ๑ ปี ก้ได้ยกทัพไปตีเมืองผาแดง เชียงจอง ตีได้เมืองเชียงจองแล้วก็กลับประทับที่เมืองฝางอีก ต่อมาราว ๖ ปี ได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองเชิง แล้วกลับมาประทับ ณ เมืองฝางดังเก่า

เมืองฝางที่พญามังรายประทับอยู่ติดต่อกับแคว้นล้านนาพ่อค้าวานิชชาวเมืองหริภุญไชยไปมาที่เมืองฝางเป็นอันมาก พญามังรายทราบว่าเมืองหริภุญไชยเป็นเมืองมั่งคั่งสมบูรณ์ ก็อยากได้ไว้ในอำนาจ จึงทรงให้ อ้ายฟ้า เข้าไปเป็นไส้ศึกอยู่ในเมืองหริภุญไชย แล้วจึงสามารถตีเมืองหริภุญไชยจากพระยายีบาได้ในเวลาต่อมา รวมทั้งตีได้เมืองเขลางค์จากพระยาเบิก เจ้าเมืองเขลางค์ ซึ่งเป็นน้องของพระยายีบาในภายหลังอีกด้วย

ในปี พ.ศ. ๑๘๑๘ พญามังรายได้ให้ราชบุตรองค์ใหญ่ชื่อ ขุนเครื่อง มาครองเมืองเชียงราย ขุนเครื่องได้เชื่อถ้อยคำขุนใสเรียงคิดการกบฎ พญามังรายจังได้ออกอุบายให้ขุนเครื่องไปเฝ้ายังเมืองฝาง แล้วให้อ้ายเผียนซุ่มริมทางดักยิงด้วยหน้าไม้ปืนผา (หน้าไม้ที่อาบยาพิษ) ถูกขุนเครื่องตาย พญามังรายจึงได้กลับมาครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองเชียงรายอีกครั้ง

พ.ศ. ๑๘๑๙ พญามังรายได้ยกกองทัพบงไปตีเมืองพะเยา พระยางำเมือง เจ้าเมืองพะเยาเห็นว่าสู้ด้วยกำลังมิได้ จึงยกกองทัพออกไปรับปลายแดน ต้อนรับอย่างไมตรี แล้วยกตำบลปากน้ำให้แก่พญามังราย พญามังรายก็รับปฏิญาณเป็นมิตรกัน ต่อมาได้ยกทัพไปตีเมืองหงสาวดี พระยาหงสาวดีสุทธโสม เจ้าเมือง จึงได้ยกนางปายโค พระธิดา ให้เป็นราชธิดา เพื่อขอเป็นพระราชไมตรี ในภายหลังได้ยกกองทัพไปตีเมืองพุกามอังวะ เจ้าเมืองอังวะได้นำเอาเครื่องราชบรรณาการมาถวายต้อนรับขอพระราชไมตรีด้วย ในครั้งนี้ได้นำเอาช่างต่าง ๆ เช่น ช่างฆ้อง ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่างคำ ช่างทอง กลับมาเผยแพร่อีกด้วย พร้อมทั้งได้บำรุงพระพุทธศาสนาโดยได้รับอิทธิพลตามแบบอย่างของอังวะ

ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ พญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ และขนานนามเมืองว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” พระองค์ได้เสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ตราบจนสวรรคต ขณะเสด็จประพาสกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. ๑๘๖๐ ส่วนเมืองเชียงรายนั้นได้ให้ขุนครามมาครองเมืองแทน นับเป็นจุดเริ่มต้นที่เมืองเชียงรายเริ่มลดบทบาทลง และในขณะเดียวกัน เมืองเชียงใหม่ก็ได้เริ่มมีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงและรุ่งเรืองอย่างสูงสุดในสมัยของพญามังราย

เมื่อพญามังรายสวรรคต พระยาไชยสงคราม (ขุนคราม) ราชโอรส จึงครองเมืองเชียงรายต่อมา และสถาปนาให้พระยาแสนภู โอรสองค์ใหญ่ไปครองเมืองเชียงใหม่ ใน พ.ศ. ๑๘๖๑ ใน พ.ศ. ๑๘๗๐ พระยาไชยสงครามถึงแก่ทิวงคต พระยาแสนภูได้ให้เจ้าคำฟูราชโอรสไปครองเมืองเชียงใหม่ แล้วพระองค์ได้กลับมาครองเมืองเชียงราย

รุ่งขึ้นปี พ.ศ. ๑๘๗๑ พระยาแสนภูมีพระราชประสงค์จะสร้างพระนครอยู่ใหม่ต้องการชัยภูมิที่ดี ขุนนางได้สำรวจหาได้ที่เมืองเก่าริมแม่น้ำโขง อันเป็นเมืองโบราณของเวียงไชยบุรีจึงโปรดให้สร้างนครใหม่ขึ้นที่นั้น เอาแม่น้ำโขงเป็นคูปราการเมืองด้านตะวันออกอีก ๓ ด้าน ให้ขุดโอบล้อมพระนครไว้ ตั้งพิธีฝังหลักเมืองวันศุกร์ เดือน ๕ (เดือน ๗ เหนือ) ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๑๘๗๑ ขนานนามว่า หิรัญนครชัยบุรีศรีเชียงแสน (ตามพระนามของพระองค์) แต่คนต่อมาภายหลังเรียกว่า เชียงแสน คืออำเภอเชียงแสนในปัจจุบัน ซึ่งยังมีซากกำแพงเมืองปรากฏอยู่

พระยาแสนภู ครองอยู่เมืองเชียงแสนได้ ๗ ปี ก็ได้ถึงแก่ทิวงคต พระยาคำฟู ราชโอรสจึงได้ครองเมืองเชียงแสนต่อมา พระยาคำฟูจึงได้ให้ท้ายผายูราชโอรสไปครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระยาคำฟูถึงแก่ทิวงคต ท้ายผายู ราชโอรส ซึ่งครองเมืองเชียงใหม่อยู่ ก็ได้ครองเมืองเชียงใหม่ต่อมา แล้วให้ท้าวกือนา (ตื้อนา) ราชโอรส มาครองเมืองเชียงรายแทน นับแต่นั้นมาเมืองเชียงราย (รวมทั้งเชียงแสนด้วย) ได้เริ่มมีฐานะคล้ายเมืองลูกหลวง โดยมีเชียงใหม่เป็นเมืองหลวง แต่ก็ยังคงมีเชื้อพระวงศ์ปกครองสืบต่อกันมาอีกหลายพระองค์ สุดท้ายในสมัยพระยากลม เป็นเจ้าเมืองเชียงแสน โดยมีพระเจ้าเมกุฏครองเมืองเชียงใหม่ ใน พ.ศ. ๒๑๐๑ เมืองเชียงใหม่และเชียงแสนก็เสียให้แก่บุเรงนอง เจ้ากรุงหงสาวดี อาณาจักรล้านนา (รวมทั้งเชียงรายและเชียงแสนด้วย) จึงได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าตั้งแต่นั้นมา แต่มีบางครั้งก็เป็นอิสระและบางครั้ง ก็ตกอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา รวมเป็นระยะเวลาอันยาวนานนับ ๒๐๐ ปี จนถึงสมัยธนบุรี แม้ว่าบางสมัยจะมีการจับอาวุธขึ้นต่อสู้เพื่อ เป็นอิสระจากพม่าแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ในระยะหนึ่งพม่าได้ฟื้นฟูเมืองเชียงแสนให้เป็นเมืองเอกในการปกครอง เนื่องจากต้องการให้เป็นหัวเมืองเพื่อป้องกัน การรุกรานจากรุงศรีอยุธยา และยังษมารถใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงในยามศึกสงครามกับกรุงศรีอยุธยาอีกด้วย

ยุคพันธุมติรัตนอาณาเขต

ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ยกทัพมาปราบปรามขับไล่ข้าศึกพม่าทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ แต่ไม่สำเร็จเด็ดขาด ครั้นสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งราชวงศ์จักรี พ.ศ. ๒๓๔๗ กรมหลวงเทพหริรักษ์และพระยายมราช ยกกองทัพขึ้นมาขับไล่พม่าออกจากเชียงแสนได้สำเร็จ ให้เผาเมืองเสียสิ้น กวาดต้อนเอาผู้คนพลเมือง ๒๓,๐๐๐ ครอบครัว แบ่งเป็น ๕ ส่วน โดยให้ไปอยู่เมืองเชียงใหม่ นครลำปาง นครน่าน เมืองเวียงจันทน์ และลงมายังกรุงเทพฯ บางส่วนให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ เมืองสระบุรี เมืองราชบุรี บ้าง

หลังจากที่ได้กวาดต้อนเอาผู้คนพลเมืองให้ไปอยู่ตามเมืองต่าง ๆ แล้ว เชียงแสนจึงกลายเป็นเมืองร้าง จึงทำให้นับแต่นั้นมา หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองเชียงแสนได้ขาดหายไประยะหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วมักจะกล่าวถึงเมืองเชียงใหม่ที่เป็นศูนย์กลางของล้านนาในยุคนั้น โดยมีตระกูลเจ้าเจ็ดตนปกครอง ซึ่งจะเกี่ยวพันกับการทำศึกสงครามกับพม่า บางครั้งก็ถูกพม่ารุกราน บางครั้งก็ยกทัพไปตีเขตหัวเมืองขึ้นของพม่าและกวาดต้อนเอาผู้คนลงมาด้วย อันได้แก่ พวกไทยใหญ่ ไทยเขิน เป็นต้น

พ.ศ. ๒๓๘๖ ในรัชกาลที่ ๓ ได้มีการจัดตั้งเมืองเชียงรายฟื้นคืนให้เป็นบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นกำลังช่วยเหลือเชียงใหม่ป้องกันภัยจากพม่าโดย มีฐานะเป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่ พระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้ให้ญาติพี่น้อง อันมีเจ้าหลวงธรรมลังการเป็นเจ้าหลวงเมืองเชียงราย เจ้าอุ่นเรือนเป็นพระยาอุปราช เจ้าคำแสนเป็นพระยาราชวงศ์ เจ้าชายสามเจ้าพูเกี๋ยง เป็นพระยาราชบุตร และพระยาบุรีรัตน์ มีราษฎรที่ถูกกวาดต้อนมาจากหัวเมืองขึ้นของพม่า ในสมัย “เก็บผักใสซ้า เก็บข้าใส่เมือง” พร้อมด้วยพ่อค้าที่เป็นคนพื้นเมืองของไพร่เมือง ๔ เมือง คือ เมืองเชียงตุง เมืองพยาก เมืองเลน และเมืองสาด ประมาณ ๑,๐๐๐ ครอบครัวขึ้นมาตั้งสร้างบ้านเมือง เมืองเชียงรายในยุคนี้ได้มีการก่อกำแพง สร้างประตูเมืองต่าง ๆ เพิ่มเติมในส่วนที่เคยเป็นเมืองเก่ามาแต่สมัยพญามังรายให้เป็นเมือง “พันธุมติรัตนอาณาเขต” มีสะดือเมืองอยู่ที่วัดจันทโลก (ปัจจุบันคือวัดกลางเวียง) ในสมัยนั้นเมืองเชียงใหม่มีชื่อว่า เมืองรัตตนติงสาวภิวนบุรี การปกครองเมืองเชียงรายในฐานะเป็นเมืองบริวาร ของเมืองเชียงใหม่ในสมัยนี้ เป็นยุคที่เรียกว่า เจ้าขัน ๕ ใบ ซึ่งเป็นเชื้อสายในตระกูลเจ้าเจ็ดตนที่ได้รับการแต่งตั้งจากเมืองเชียงใหม่มาเป็น คณะปกครองเมืองเชียงราย ประกอบด้วย เจ้าหลวง (มีฐานะเป็นเจ้าเมือง) และผู้ช่วยอีก ๔ ตำแหน่ง คือ พระยาอุปราช พระยาราชวงศ์ พระยาราชบุตร พระยาบุรีรัตน์

พ.ศ. ๒๔๑๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ นครเชียงใหม่ มีใบบอกข้อราชการไปยังกรุงเทพฯ ว่า พม่า ลื้อ เขิน เมืองเชียงตุง ประมาณ ๓๐๐ ครอบครัว มาอยู่เมืองเชียงแสนตั้งตัวเป็นอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองของไทย จึงให้อุปราชแต่งคนไปว่ากล่าวให้ถอยออกจากราชอาณาจักร ถ้าอยากจะตั้งอยู่ให้อยู่ในบังคับบัญชาเมืองเชียงรายและนครเชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้ผล เพราะพวกนั้นไม่ยอมออกไป พ.ศ. ๒๔๑๗ เจ้าอินทวิไชยยานนท์ เจ้านครเชียงใหม่เกณฑ์กำลังจากเชียงใหม่ นครลำปาก เมืองลำพูน มีไพร่ทั้งสิ้น ๔,๕๐๐ คน ยกจากเชียงใหม่มาเชียงรายและเชียงแสน ไล่ต้อนพวกนั้นออกจากเชียงแสน จึงทำให้เชียงแสนกลายเป็นเมืองร้างไประยะหนึ่ง จวบจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๓ จึงได้ให้ เจ้าอินต๊ะ บุตรเจ้าบุญมา (เจ้าบุญมาเป็นน้องของเจ้ากาวิละ เจ้านครเชียงใหม่) เจ้าผู้ครองเมืองลำพูน เป็นหัวหน้า นำราษฎรเมืองลำพูน เชียงใหม่ ประมาณ ๑,๕๐๐ ครอบครัว ขึ้นมาตั้งรกราก “ปักซั้งตั้งถิ่น” อยู่เมืองเชียงแสน นับเป็นการ สร้างบ้านแปงเมือง ครั้งใหญ่ของเมืองเชียงแสน กลุ่มที่อพยพมารุ่นแรกได้มาตั้งถิ่นฐาน ทำกินอยู่เรียงรายตามลำแม่น้ำแม่คำ ตั้งแต่บ้านแม่คำ บ้านห้วยน้ำราก จนถึงเขตเชียงแสน ตลอดถึงบ้านกว๊านบุญเรือง ในเขตประเทศลาวปัจจุบัน

ต่อมา เจ้าอินต๊ะ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นพระยาราชเดชดำรง ตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงแสน สมัยนั้นการปกครองล้านนาเฉพาะมณฑลพายัพเหนือ มีเจ้าเมืองบริเวณหัวเมืองมี ๕ ชื่อ ประจำเมืองต่าง ๆ คือ
พระยาประเทศอุตรทิศ เจ้าเมืองพะเยา
พระยามหิทธิวงศา เจ้าเมืองฝาง
พระยารัตนเขตต์ เจ้าเมืองเชียงราย
พระยาราชเดชดำรง เจ้าเมืองเชียงแสน
พระยาจิตวงศ์วรยศรังษี เจ้าเมืองเชียงของ

ใน พ.ศ. ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ พระศรีสหเทพ (เส็ง วิริยสิริ) จัดการปกครองมณฑลพายัพใหม่ เมืองใหญ่มี เก๊าสนามหลวง เป็นศูนย์กลางจัดให้มีแคว่นแก่บ้าน (กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน) แต่ละแคว่นขึ้นกับเมือง เรียกผู้ปกครองเมืองว่า เจ้าเมือง เมืองขึ้นกับ บริเวณ เรียกผู้เป็นหัวหน้าว่า ข้าหลวงบริเวณ ข้าหลวงบริเวณขึ้นต่อเก๊าสนามหลวง โดยได้จัดทำขึ้นเป็นพระราชบัญญัติ เรียกว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งมณฑลพายัพ ตั้งนครเชียงใหม่เป็นตัวมณฑล และเมืองเชียงแสนสมัยนั้นขึ้นต่อกระทรวงกลาโหม ต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๓ ตรงกับ ร.ศ. ๑๒๙ ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกเมืองเชียงราย เป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลพายัพ
เมืองพันธุมติรัตนอาณาเขต คือเมืองเชียงรายในอดีต ที่แปลมาตรงกับตัวอักษรล้านนา(ตัวเมือง) ในดวงตรานั้น ส่วนอักษรไทยข้างล่างเขียนว่า เมืองพันธุมติอะณาเขรษ เป็นการสะกดผิด เนื่องจากการทำตราต่าง ๆ ในสมัยนั้นต้องส่งไปทำต่างประเทศที่ใกล้ที่สุด คือประเทศอินเดีย ชื่อเมืองพันธุมติรัตนอาณาเขตเลยต้องใช้อย่างนั้นมา แต่คนเชียงรายในสมัยนั้นอ่านภาษาไทย(กลาง)ไม่ออก

สภาพบ้านเมืองในยุคพันธุมติรัตนอาณาเขตนั้น ได้เกิดความยุ่งยากเกี่ยวกับกบฎเงี้ยว ซึ่งได้เกิดขึ้นตามหัวเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านนา ซึ่งเป็นผลมาจากยุคการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก ที่ได้เข้ามามีอิทธิพลในดินแดนพม่าและลาว และต่อมาได้มีการยุยงสนับสนุนให้เงี้ยวก่อความไม่สงบขึ้นตามหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อที่จะขยายอิทธิพลเข้ามายังล้านนา ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยแล้ว แต่ทางการก็สามารถปราบปรามลงได้

ยุคพันธุมติรัตนอาณาเขต ได้มีการพัฒนารูปแบบการปกครองจากหัวเมืองที่มีเจ้าเมืองครองมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๕๓ (ร.ศ. ๑๒๙) จึงได้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล อันเป็นต้นแบบมาสู่การปรับปรุงพัฒนามาสู่ในยุคปัจจุบันที่มีฐานะเป็นจังหวัด แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๖ อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอ

ที่มา กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดเชียงราย
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือตอนบน(ล้านนา)

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 12 ม.ค. 2015 8:12 pm

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดลำพูน


Hon04.jpg
Hon04.jpg (26.29 KiB) เปิดดู 6621 ครั้ง



จังหวัดลำพูน เดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ ๑,๓๔๓ ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤาษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตร หรือ ชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวง และแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญ ราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชย สืบราชวงศ์กษัตริย์ ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พญามังรายมหาราช ผู้รวบรวม แว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา เมืองลำพูน ถึงแม้ว่า จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรีเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครอง สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

“ เมืองโบราณหริภุญไชย” อาณาจักรอันรุ่งเรืองและเก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ แบ่งเป็น ๕ ยุค คือ
◦ยุคก่อนประวิติศาสตร์
◦ยุคประวัติศาสตร์แรกเริ่ม
◦ยุคล้านนา
◦ยุคต้นรัตนโกสินทร์
◦ยุคการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน



“ยุคก่อนประวัติศาสตร์” ประมาณ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ปี แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ เป็นชุมชนโบราณยุคแรก ที่ปรากฏหลักฐาน ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำกวง ในเขต ต.เวียงยองอ.เมืองลำพูน กลุ่มชนที่นี่คือเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมที่อยู่อาศัยในดินแดนแถบนี้ก่อนที่จะรับวัฒนธรรมในรูปแบบใหม่ที่แผ่ขยายเข้ามาและผสมผสานกับวัฒนธรรมเดิม



“ยุคประวัติศาสตร์แรกเริ่ม” พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๙ อาณาจักรหริภุญไชย ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับแบบอย่าง วัฒนธรรมทวารวดี จากลุ่มน้ำเจ้าพระยาในภาคกลางที่มีระเบียบแบบแผน ทั้งการปกครองศาสนา ศิลปวัฒนธรรม รุ่งเรืองในด้านการค้าเศรษฐกิจ มีกษัตริย์ปกครอง ที่ต้องทำนุบำรุงศาสนา และประชาชนศรัทธาพุทธศาสนาอย่างยิ่งมีปฐมกษัตรีย์ คือ พระนางจามเทวี



“ยุคล้านนา” พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๑ พญามังรายได้ย้าย ศูนย์กลางการปกครองไปเชียงใหม่และให้เมืองหริภุญไชยเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา ทำให้พุทธศาสนาประดิษฐานอย่างมั่นคงและต่อเนื่องในดินแดนหริภุญไชย



“ยุคต้นรัตนโกสินทร์” พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ เป็นยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ในช่วงที่พม่าครอบครอง ดินแดนล้านนา เกิดสงครามขึ้นบ่อยครั้ง ชาวเมืองพากันหลบหนีเข้าป่า ปล่อยบ้านเมืองร้างพญากาวิละ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้แต่งตั้งน้องชาย คือ พระยาบุรีรัตน์ (คำฝั้น)มาครองเมืองลำพูนและได้อพยพผู้คนชาวยอง มาสร้างบ้าน แปงเมืองใหม่โดยตั้งถิ่นฐานที่อยู่แถบ ริมน้ำกวง น้ำปิง และน้ำทาชาวยองได้นำวัฒนธรรม ศิลปกรรม และงานช่างต่างๆ มาด้วย ยุคนี้บ้านเมืองสงบสุข ร่มเย็น



“ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยยกเลิกการปกครองแบบ เจ้าผู้ครองนครมีการแต่งตั้งข้าหลวงประจำเมือง มาปกครองเมืองลำพูน รวมหัวเมืองที่อยู่ใกล้เคียงตั้งเป็นมณฑล มีข้าหลวงใหญ่ปกครองขึ้นตรงต่อสยาม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาล ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้ารัตนหัวเมืองแก้ว (พระยาราชวงศ์คำฝั้น) เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนยุคใหม่ ซึ่งมีจำนวน ๑๐ พระองค์ คือ

๑ . เจ้าคำฝั้น พ.ศ. ๒๓๕๗ - ๒๓๕๘
๒ . เจ้าศรีบุญมา พ.ศ. ๒๓๕๘ - ๒๓๗๐
๓ . เจ้าน้อยอินทร (อิ่น) พ.ศ. ๒๓๗๐ - ๒๓๘๑
๔ . เจ้าน้อยคำตัน พ.ศ. ๒๓๘๑ - ๒๓๘๔
๕ . เจ้าน้อยธรรมลังกา พ.ศ. ๒๓๘๔ - ๒๓๘๖
๖ . เจ้าน้อยไชยลังการ์ พ.ศ. ๒๓๘๖ - ๒๔๑๔
๗ . เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ (เจ้าดาวเรือง) พ.ศ. ๒๔๑๔ - ๒๔๓๑
๘ . เจ้าเหมพันธุ์ไพจิตร (เจ้าคำหยาด) พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๘
๙ . เจ้าอินทยงยศ (เจ้าน้อยอินทยงยศ) พ.ศ. ๒๔๓๘ - ๒๔๕๔
๑๐ . เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๘๖

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง จากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย จึง ให้ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครทั้งหมด ไม่แต่งตั้งขึ้นใหม่อีก ระบบเจ้าผู้ครองนครจึงสิ้นสุดลง และเริ่มปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางมาจนถึงปัจจุบัน



ที่มา : จังหวัดลำพูน
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือตอนบน(ล้านนา)

โพสต์โดย น้ำฟ้า » พุธ 14 ม.ค. 2015 5:54 am

เมืองแพร่ เวียงโกศัย

payapon.jpg
payapon.jpg (34.29 KiB) เปิดดู 6615 ครั้ง


เมืองแพร่ เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ประวัติการสร้างเมือง ไม่มีจารึกในที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะการศึกษาเรื่องราวของเมืองแพร่จึงต้องอาศัยหลักฐาน ของเมืองอื่น เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนาน การสร้างพระธาตุลำปางหลวง และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นต้นตำนานพระธาตุช่อแฮกล่าวว่า เมืองแพร่มีมาตั้งแต่ สมัยพุทธกาล ตำนานวัดหลวงกล่าวไว้ว่าประมาณ พ.ศ. 1371 พ่อขุนหลวงพล ราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้าได้อพยพคนไทย ( ไทยลื้อ ไทยเขิน) ส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำลงมาสร้างเมืองบนที่ราบริมฝังแม่น้ำยม ขนานนามว่า เมืองพลนคร (เมืองแพร่ปัจจุบัน) ตำนานสิงหนวัติกล่าวว่าเมืองแพร ่เป็นเมือง ที่ปกครองโดยพญายี่บาแห่งแคว้นหริภุญไชยสันนิษฐานว่าเมืองแพร่และเมืองลำพูนเป็นเมือง ที่สร้างขึ้นมาในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักศิลาจารึก พ่อขุนราม คำแหง มหาราชหลักที่ 1 ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 24 - 25 ซึ่งจารึกไว้ว่า . “.. เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพล เมืองน่าน เมือง … เมืองพลัวพ้นฝั่งของ เมืองชวา เป็นที่แล้ว …” ในข้อความนี้ เมืองแพล คือ เมืองแพร่ ศิลาจารึกนี้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1826 จึงเป็น สิ่งที่ยืนยันถึง ความเก่าแก่ ของเมืองแพร่ ว่าตั้งขึ้นมาก่อนเมืองเชียงใหม่และเชื่อว่าเมืองแพร่ได้ก่อตั้งขึ้นแล้วก่อนการตั้งกรุงสุโขทัยเป็น ราชธานี ชื่อเดิมของเมืองแพร่ การก่อตั้งชุมชนหรือบ้านเมืองส่วนใหญ่ในภาคเหนือมักปรากฎ ชื่อบ้านเมืองนั้นในตำนาน เรื่องเล่า หรือจารึกตลอดจนหลักฐานเอกสารพื้นเมืองของเมืองนั้น ๆ แต่สำหรับเมืองแพร่นั้น แตกต่างออกไปเนื่องจากไม่มีหลักฐาน ที่เกี่ยวข้อง โดยตรงจึงมีที่มาของ ชื่อเมืองจากหลักฐานอื่นดังนี้ เมืองพล นครพลหรือพลรัฐนคร เป็นชื่อเก่าแก่ดั้งเดิมที่สุดที่พบ



ในตำนานเมืองเหนือ ฉบับใบลาน พ.ศ. 1824 กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคน มาติดต่อเจ้านครพล ให้ไปร่วมงานนมัสการ และฉลองวัดพระธาตุลำปางหลวง และจากตำนาน พระธาตุลำปางหลวงตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเจ้าเมืองพลยกกำลังผู้คนไปขุดหาพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุไว้ในพระธาตุ แต่ไม่พบ เมื่อศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของนครพลตามตำนานดังกล่าว พบว่าคนเมืองแพร่ปัจจุบัน ชื่อพลนครปรากฎเป็นชื่อวิหารในวัดหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ โดยเชื่อว่าวัดนี้เป็นวัด ที่สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่และเจ้าเมืองแพร่ให้ความอุปถัมภ์มา ตลอดจนหมดยุค การปกครองโดยเจ้าเมืองเมืองโกศัย เป็นชื่อที่ปรากฎในพงศาวดารเมืองเงิน ยางเชียงแสน ชื่อนี้ใช้เรียกเมืองแพร่ ในสมัยขอมเรืองอำนาจที่ชื่อเมืองในอาณาจักร ล้านนาเปลี่ยนเป็นภาษาบาลีตามความในยุคนั้น เช่น น่านเป็นนันทบุรี ลำพูนเป็นหริภุญไชย ลำปางเป็นเขลาค์นคร เป็นต้น



ชื่อ เวียงโกศัย น่าจะมาจากชื่อดอยที่เป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองแพร่ คือ ดอยโกสิยธชัคบรรพต หมายถึง ดอยแห่งผ้าแพร เมืองแพล เป็นชื่อที่ปรากฎ ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ 1 ด้านที่ 4 โดยคำว่า แพล น่าจะมาจากศรัทธาของ ชาวเมืองที่มีต่อพระธาตุช่อแพร หรือช่อแฮที่สร้างขึ้น ภายหลังการสร้างเมืองต่อมาจึงได้เรียกชื่อ เมืองของตนว่า เมืองแพล และได้กลายเสียงเป็นเมืองแพร่ปัจจุบัน



ที่มา : กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดแพร่


เมืองแพร่เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาล แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐาน แน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง

เมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองจารึกไว้ในที่ใดๆ โดยเฉพาะ นอกจากปรากฏในตำนาน พงศาวดาร และจารึกของเมืองอื่นๆ บ้างเพียงเล็กน้อย ดังจะกล่าวรายละเอียดในตอนต่อไป

จากการศึกษาค้นคว้าและตรวจสอบหลักฐานจากตำนานเมืองเหนือ พงศาวดารโยนก และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เมืองแพร่น่าจะสร้างยุคเดียวกันกับกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน ซึ่งบ้านเมืองของเมืองแพร่ในยุคนั้นคงไม่กว้างขวางและมีผู้คนมากมายเหมือนปัจจุบัน

เมืองแพร่มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ตำนานเมืองเหนือเรียกว่า “พลนคร” หรือ “เมืองพล”

ดังปรากฏในตำนานสร้างพระธาตุลำปางหลวงว่า

“เบื้องหน้าแต่นั้นนานมา ยังมีพระยาสามนตราชองค์หนึ่ง เสวยราชสมบัติในพลรัฐนคร อันมีในที่ใกล้กันกับลัมภกัปปะนคร (ลำปาง) นี่ ทราบว่าสรีรพระธาตุพระพุทธเจ้ามีในลัมภกัปปะนคร

ก็ปรารถนาจะใคร่ได้”

ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ราว พ.ศ. ๑๔๗๐ - ๑๕๔๐ นั้น พระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตลานนา ได้เปลี่ยนชื่อเมืองในเขตลานนาเป็นภาษาเขมร เช่น ลำพูนเป็น หริภุญไชย น่านเป็นนันทบุรี เมืองแพร่เป็นโกศัยนคร หรือนครโกศัย

ชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่า “เมืองพล” และได้กลายเสียงตามหลักภาษาศาสตร์เป็น “แพร่” ชาวเมืองนิยมออกเสียงว่า “แป้”



เมืองแพร่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย

จุลศักราช ๔๒๑-๔๘๐ (พ.ศ. ๑๖๕๔-พ.ศ. ๑๗๗๓) พงศาวดารโยนก กล่าวถึงเมืองแพร่ว่า

“จุลศักราช ๔๖๑ (พ.ศ. ๑๖๕๔) ขุนจอมธรรมผู้ครองเมืองพะเยา เมื่อครองเมืองพะเยาได้ ๓ ปี ก็เกิดโอรสองค์หนึ่ง ขนานนามว่า เจื๋อง ต่อมาได้เป็น ขุนเจื๋อง”

พอขุนเจื๋องอายุได้ ๑๖ ปี ไปคล้องช้าง ณ เมืองน่าน พระยาน่านตนชื่อว่า “พละเทวะ” ยกราชธิดาผู้ชื่อว่า นางจันทร์เทวีให้เป็นภรรยาขุนเจื๋อง แล้วขุนเจื๋องก็ไปคล้องช้าง ณ เมืองแพร่ พระยาแพร่คนชื่อ พรหมวงศ์ ยกราชธิดาผู้ชื่อว่า นางแก้วกษัตรีย์ให้ขุนเจื๋อง

พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนกล่าวถึงความตอนนี้ว่า เมื่อตติยศักราช ๔๒๑ ขุนเจียงประสูติ ครั้นอายุได้ ๑๗ ปี ไปคล้องช้างที่เมืองแพร่ พญาแพร่ชื่อ พรหมวังโส ยกลูกสาวชื่อ นางแก้วอิสัตรีให้ขุนเจียงพร้อมกับช้างอีก ๕๐ เชือก

แทรกกล่าว จากพงศาวดารทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเมืองแพร่เป็นเมืองที่สร้างขึ้นแล้วในระหว่างจุลศักราช ๔๒๑ - ๔๖๑ (พ.ศ. ๑๖๑๔ - ๑๖๕๔) แต่คงเป็นเมืองขนาดเล็กและจะต้องเล็กกว่าเมืองพะเยาด้วย

อนึ่ง ในระหว่างจุลศักราช ๔๖๒ - ๔๘๐ (พ.ศ. ๑๖๕๕ - พ.ศ. ๑๗๗๓) เมืองแพร่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมเพราะในระยะเวลาดังกล่าว ขอมเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรลานนาไทย

มีข้อน่าสังเกตว่าในระยะที่ขอมเรืองอำนาจได้เปลี่ยนชื่อเมืองแพร่เป็นโกศัยนคร (โกศัยหมายถึงผ้าแพรเนื้อดี) แต่ไม่มีเหตุการณ์สำคัญอะไรปรากฏให้เห็น



เมืองแพร่สมัยกรุงสุโขทัย (จุลศักราช ๔๘๐ - ๖๒๙ พ.ศ. ๑๗๗๓ - พ.ศ. ๑๙๒๒)

จุลศักราช ๔๘๐ พ.ศ. ๑๗๗๓ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง พ่อขุนบางกลางท่าวและขุนผาเมืองได้รวมกันลงเข้าด้วยกันยกเข้าตีกรุงสุโขทัย ซึ่งตอนนั้นเป็นเมืองหน้าด่านของขอม

จุลศักราช ๕๐๗ พ.ศ. ๑๘๐๐ ฝ่ายไทย คือ พ่อขุนบางกลางท่าวมีชัยชนะแก่พวกขอม พ่อขุนบางกลางท่าวประกาศตนเป็นอิสระ ยกเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีของเมืองไทย

หัวเมืองต่างๆ ในเขตลานนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน จึงต่างเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นแก่ใคร

จุลศักราช ๕๒๗ พ.ศ. ๑๘๒๐ พ่อขุนรามคำแหงได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่าง กว้างขวางดังปรากฏในศิลาจารึก กล่าวว่า


“เบื้องตีนนอนรอดเมืองแพล เมืองม่าน เมืองน่าน เมืองพลัว”

แทรกกล่าว เมื่อพิจารณาตามสภาพภูมิศาสตร์ “เมืองแพล” ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงสุโขทัย และเมืองที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองแพร่ คือ เมืองน่าน

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า “เมืองแพล” ที่ปรากฏในศิลาจารึกก็คือ “เมืองแพร่” นั่นเอง

จุลศักราช ๖๒๙ พ.ศ. ๑๙๒๒ แผ่นดินสมัยพระเจ้าไสยลือไท สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพขึ้นมาตีกรุงสุโขทัยและได้ชัยชนะ กรุงสุโขทัยจึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา เมืองแพร่จึงตั้งตนเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง

พงศาวดารเมืองน่าน กล่าวถึงเมืองแพร่ว่า

จุลศักราช ๖๕๒ พ.ศ. ๑๙๕๔ สมัยเจ้าศรีจันต๊ะครองเมืองน่านได้ ๑ ปี ก็มีพระยาแพร่สองคนพี่น้อง คนพี่ชื่อพระยาเถร คนน้องชื่อพระยาอุ่นเมือง ยกกองทัพไปตีเมืองน่าน จับตัวเจ้าศรีจันต๊ะฆ่าเสียแล้วพระยาเถรก็ขึ้นครองเมืองน่านแทน

ฝ่ายอนุชาของเจ้าศรีจันต๊ะ ชื่อเจ้าหุง หนีไปพึ่งพระยาชะเลียงที่เมืองชะเลียง (ซึ่งขณะนั้นเมืองชะเลียงขึ้นต่อพระเจ้าไสยฤาไท แห่งกรุงสุโขทัย)

พระยาเถร ครองเมืองน่านได้ ๖ เดือนกับ ๙ วัน ก็ล้มป่วยเป็นไข้โลหิตออกจากรูขุมขนถึงแก่กรรม พระยาอุ่นเมืองผู้น้องจึงครองเมืองน่านแทน

พระยาอุ่นเมือง ครองเมืองน่านได้เพียง ๑ ปี เจ้าหุงอนุชาของเจ้าศรีจันต๊ะก็คุมพลชาว

ชะเลียงยกมารบพุ่งชิงเอาเมืองคืน เจ้าหุงจับตัวพระยาอุ่นเมืองได้นำไปถวายพระยาใต้และถูกกักตัวไว้ที่เมืองชะเลียงเป็นเวลาถึง ๑๐ ปี และถึงแก่กรรมที่นั่นด้วย

ตำนานเมืองเหนือ กล่าวว่า

ในสมัยพระเจ้าติโลกราช จุลศักราช ๘๐๕ พ.ศ. ๑๙๘๖ กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ยก กองทัพไปตีเมืองน่านและได้ชัยชนะ พญาอินต๊ะแก่น เจ้าเมืองน่านหนีไปเมืองชะเลียง

ขณะที่พระองค์กำลังตีเมืองน่านอยู่นั้น ได้แต่งกองทัพให้พระมหาเทวีผู้มารดายกไปตีเมืองแพร่ พระมหาเทวียกกองทัพไปถึงเมืองแพร่ก็ให้ทหารล้อมไว้

ฝ่ายท้าวแม่คุณ เจ้าเมืองแพร่ เห็นกำลังทหารของกองทัพเชียงใหม่เข้มแข็งกว่าจึงออกไปอ่อนน้อมต่อพระมหาเทวี และพระมหาเทวีก็ให้ท้าวแม่คุณครองเมืองแพร่ดังเดิม

พงศาวดารโยนก กล่าวถึงความตอนนี้และแตกต่างไปจากตำนานเมืองเหนือว่า

จุลศักราช ๘๐๕ พ.ศ. ๑๙๘๖ พระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ได้ทรงทราบว่าเจ้ามืองน่านได้กระทำเหตุหลอกลวงพระองค์ ดังนั้นก็ทรงพระพิโรธ จึงเสด็จยกทัพหลวงไปตีเมืองน่าน กองทัพยกออกจากเมืองเชียงใหม่ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน เบญจศก แล้วแบ่งกองทัพให้พระมหาเทวีผู้เป็นชนนียกไปตีเมืองแพร่อีกทัพหนึ่ง

กองทัพพระมหาเทวียกมาถึงเมืองแพร่ ก็แต่งทหารเข้าล้อมเมืองแพร่ไว้ มีหนังสือแจ้งเข้าไปให้เจ้าเมืองแพร่ออกมาถวายบังคม

ฝ่ายท้าวแม่คุณ ผู้ครองเมืองแพร่ก็แต่งพลรักษาเมืองมั่นไว้ไม่ออกไปถวายบังคมและไม่ออกต่อรบกองทัพเชียงใหม่จะหักเอาเมืองแพร่ก็มิได้ นายทัพนายกองทั้งหลายจึงคิดทำปืนปู่เจ้ายิงเข้าไปในเมืองแพร่ นัดแรกกระสุนต้องต้นตาลใหญ่ในเมืองแพร่หักเพียงคอ นัดที่สองถูกกลางต้นตาลหักโค่นลง ท้าวแม่คุณเห็นดังนั้นก็ตกใจกลัว จึงออกไปถวายบังคมต่อพระมหาเทวี พระมหาเทวีจึงให้ท้าวแม่คุณครองเมืองแพร่ดังเก่า แล้วเลิกทัพกลับเชียงใหม่



เมืองแพร่สมัยกรุงศรีอยุธยา (จุลศักราช ๘๒๒ พ.ศ. ๒๐๐๓)

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ยกทัพหลวงจากกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาตีเมืองแพร่ทางเขาพึง

หมื่นด้งนคร รักษาเมืองเชียงใหม่แทนพระเจ้าติโลกราช ซึ่งเสด็จไปตีเมืองพง ยกกองทัพไปตั้งรับไว้

พอพระเจ้าติโลกราชทรงทราบข่าว จึงเสด็จยกทัพหลวงลงไปช่วยหมื่นด้งนคร สมเด็จ พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ จึงล่าถอยทัพกลับกรุงศรีอยุธยา

หนังสือสังคมศึกษา เขตการศึกษา ๘ กล่าวถึงความตอนนี้ว่า

ปี พ.ศ. ๒๐๐๓ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้ราชโอรสพระนามว่าพระอินทราชาเป็น แม่ทัพหน้ายกไปตีเมืองเชียงใหม่ ตีเมืองรายทางถึงลำปาง พระอินทราชาเข้าชนช้างกับแม่ทัพข้าศึกต้องปืนสิ้นพระชนม์ในที่รบ กองทัพพระอินทราชาและกองทัพสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจำต้องยกกลับ ขณะนั้นเมืองแพร่อยู่ในอาณาเขตของเชียงใหม่

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระนพรัตนวัดพระเชตุพนกล่าวถึงตอนนี้ว่า ศักราช ๘๐๙ ปีเถาะ นพศก พระยาเชลียงนำมหาราชมาเอาเมืองพระพิษณุโลกเข้าปล้นเมืองเป็นสามารถเอามิได้ จึงยกทัพไปเอาเมืองกำแพงเพชร เข้าปล้นเมืองถึงเจ็ดวันมิได้ สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถเจ้า และสมเด็จพระอินทราชาเสด็จขึ้นไปช่วยเมืองกำแพงเพชรทันและสมเด็จพระอินท-ราชาตีทัพพระยาเกียรติแตก ทัพท่านมาปะทะทัพหมื่นนครได้ชนช้างด้วยหมื่นนคร และข้าศึกลาวทั้งสี่เข้ารุมเอาช้างพระที่นั่งข้างเดียว ครั้งนั้นพระอินทราชาเจ้าต้องปืน ณ พระพักตร์ ทัพมหาราชนั้นเลิกทัพคืนไป

จุลศักราช ๘๖๘ พ.ศ. ๒๐๔๙

แผ่นดินสมัยพระเมืองแก้วครองเมืองเชียงใหม่ ท้าวเมืองคำข่าย นำบริวารหมู่จุมมาเป็นข้า พระเมืองแก้วจึงให้ไปกินเมืองแพร่ (กิน = ครอง)

จุลศักราช ๘๗๐ พ.ศ. ๒๐๕๑ แม่ทัพกรุงใต้ (กรุงศรีอยุธยา) ชื่อพระยากลาโหมยกเอา รี้พลมารบเมืองแพร่ หมื่นจิตรเจ้าเมืองน่านยกทัพมาช่วยต่อสู้ด้วยจนได้ชัยชนะ

จุลศักราช ๘๗๒ พ.ศ. ๒๐๕๓

แม่ทัพกรุงใต้ชื่อ ขราโห (เพี้ยนมาจากคำว่า “กลาโหม”) ยกทัพมารบเมืองแพร่อีก หมื่นคำคาย เจ้าเมืองละกอน (ลำปาง) ยกทัพไปช่วยเมืองแพร่ รบกันจนทัพเมืองใต้แตกพ่ายหนีกลับไป

ในปีเดียวกัน คือ จุลศักราช ๘๗๒ พ.ศ. ๒๐๕๓

พระเมืองแก้วให้เจ้าเมืองแพร่สร้อยไปกินเมืองน่าน แทนท้าวเมืองคำข่าย (หมื่นสามล้าน)

ครั้นจุลศักราช ๘๗๘ พ.ศ. ๒๐๕๙ พระเมืองแก้วให้เจ้าเมืองแพร่คำยอดฟ้าไปครองเมืองน่าน และทรงย้ายเจ้าเมืองน่านไปครองเมืองพะเยา

พระยาแพร่ยอดคำฟ้าครองเมืองน่าน (พ.ศ. ๒๐๕๙, พ.ศ. ๒๐๖๒, พ.ศ. ๒๐๖๙) ต่อมายกทัพไปรบศึกที่เชียงใหม่ป่วยเป็นฝีเนื้อร้ายจนถึงแก่กรรม

จุลศักราช ๙๘๕ พ.ศ. ๒๐๖๖

ขณะที่พม่าเข้าครอบครองลานนาไทย เจ้าอุ่นเฮือนผู้ครองเมืองน่านได้รบกับพม่า สู้พม่า ไม่ได้หนีไปพึ่งเมืองชะเลียง

พอถึงจุลศักราช ๙๘๖ พ.ศ. ๒๐๖๗ เจ้าอุ่นเฮือนก็คุมพวกเข้าหักเอาเมืองน่าน ไล่ข้าศึกหนีจากเมืองน่านไปอยู่เมืองแพร่

จุลศักราช ๙๐๗ พ.ศ. ๒๐๘๘

เมืองเชียงใหม่เกิดจลาจล ทางกรุงศรีอยุธยาแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาได้ยกกองทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงใหม่

พระนางจิระประภา ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้นำเอาเครื่องราชบรรณาการไปถวาย พระไชยราชาจึงยกกองทัพกลับ เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาไปด้วย

จุลศักราช ๙๑๒ พ.ศ. ๒๐๙๓

พระยาแพร่ เป็นที่พระยาสามล้านเชียงใหม่ได้ร่วมกันคบคิดจะเป็นใหญ่ในนครพิงค์กับ พระยาล้านช้าง พระยาหัวเวียงล้านช้างรวบรวมไพร่พลยกกำลังเข้าไปถึงนครพิงค์จักกระทำร้ายแก่เมือง ครั้นกระทำมิได้ก็ออกหนีไป

ฝ่ายเจ้าขุนทั้งหลายในนครพิงค์ต่างก็แต่งทหารออกรบ พระยาสามล้าน (พระยาแพร่) และพวกก็แตกพ่ายหนีไปเมืองแพร่

จุลศักราช ๙๒๐ พ.ศ. ๒๑๐๑

พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่ายกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ทหารเมืองเชียงใหม่มีน้อยกว่าพม่า อีกทั้งกองทัพพระเจ้าบุเรงนองเข้มแข็งชาญศึกสงครามกว่าพม่าจึงได้ชัยชนะ

เชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพม่า เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าด้วย

พม่าปกครองประเทศราชในอาณาจักรลานนาไทย อันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ด้วยการให้ขุนนางของพม่าพร้อมด้วยทหารจำนวนหนึ่งอยู่เป็นข้าหลวงอยู่กำกับเมือง

จุลศักราช ๙๓๑ พ.ศ. ๒๑๑๑

อาณาจักรลานนาไทยถูกพม่าเกณฑ์ให้ยกกองทัพไปช่วยรบกรุงศรีอยุธยา เมืองแพร่ก็ยกกองทัพร่วมไปกับพม่าครั้งนี้ด้วย

และในที่สุด จุลศักราช ๙๓๒ พ.ศ. ๒๑๑๒ กรุงศรีอยุธยาก็แตก ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อาณาจักรลานนาไทยจึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าดังเดิม

จุลศักราช ๙๘๓ พ.ศ. ๒๑๖๓

แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กรุงศรีอยุธยามีกองทัพไม่ค่อยเข้มแข็งเกรียงไกร อาณาจักรลานนาจึงตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา

จุลศักราช ๙๙๗ พ.ศ. ๒๑๗๗

พระเจ้าสุทโธธรรมราชา กษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และจับกุมเอาตัว พระเจ้าเชียงใหม่ไปคุมขังไว้ที่เมืองหงสาวดี

เมื่อจัดการปกครองในเมืองเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว พระเจ้าสุทโธธรรมราชายกทัพไปปราบเมืองต่างๆ ในเขตลานนาไทยยึดเมืองทุกเมืองไว้ในอำนาจ เมืองแพร่จึงตกอยู่ในอำนาจของพม่าอีกครั้ง

จุลศักราช ๑๐๒๔ พ.ศ. ๒๒๐๕

แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงเป็นจอมทัพตีหัวเมืองรายทางตั้งแต่ลำปาง แพร่ ลำพูน จนถึงเมืองเชียงใหม่ โปรดให้เจ้าพระยาโกษาเหล็กถมดินทำเป็นเชิงเทินตั้งปืนใหญ่ ยิงกราดเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ก็แตก

ฝ่ายกองทัพพม่ายกมาแต่เมืองอังวะเพื่อช่วยเหลือเมืองเชียงใหม่ (เพราะพม่าปกครองเมืองเชียงใหม่) ก็ถูกทัพไทยซุ่มโจมตีกระหนาบแตกพ่ายยับเยินไป

ดังนั้น อาณาจักรลานนาจึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา

แทรกกล่าว มีข้อน่าสังเกตว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเมืองแพร่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขณะใดที่กองทัพเมืองเชียงใหม่เข้มแข็ง เมืองแพร่ก็จะขึ้นอยู่กับเชียงใหม่ หากขณะใดที่ กองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้มแข็ง เมืองแพร่ก็จะขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยา ระยะเวลาใดที่ทั้งสองฝ่ายอ่อนแอหรือเกิดจลาจล เมืองแพร่ก็จะตั้งตนเป็นอิสระทันที

จุลศักราช ๑๑๐๓ พ.ศ. ๒๒๘๓ พระเจ้าอังวะ กษัตริย์พม่าให้โปทัพพะการมังดีเป็นแม่ทัพยกกำลังหนึ่งหมื่นคนมาตีเมืองเทิน เมืองแพร่ เมืองน่าน กวาดต้อนผู้คนในเมืองดังกล่าวไปไว้ที่เมืองเชียงแสน

ในปีต่อมา จุลศักราช ๑๑๐๔ พ.ศ. ๒๒๘๔

พระยาแพร่พร้อมกับเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ มีพระยายองเป็นต้น ต่างรวบรวมไพร่พล ยกเข้ารบพุ่งฆ่าฟันพม่าที่ปกครองเมืองเชียงแสน พม่าทราบข่าวจึงส่งกองทัพใหญ่ลงมาช่วย พระนครลำปางจึงกวาดต้อนผู้คนของตนไปไว้ที่เมืองเทิง

ส่วนพระยายองและพระยาแพร่ ได้นำผู้คนของตนไปไว้ที่เมืองภูคา (อำเภอปัว จ.น่าน) แต่ก็ถูกพม่าตามตีแตกพ่ายจนต้องหนีเข้าไปในเมืองน่าน

จุลศักราช ๑๑๐๕ พ.ศ. ๒๒๘๕ เจ้าเมืองแพร่ และเจ้าเมืองน่านพร้อมด้วยเจ้าเมืองฝ่ายลานนา มีพระยายองเป็นหัวหน้า ต่างรวมกำลังไพร่พลยกไปรบพม่าที่ปกครองเมืองเชียงแสนแล้วตั้งตนเป็นอิสระนครอีกครั้งหนึ่ง

จุลศักราช ๑๑๒๑ พ.ศ. ๒๓๐๒

เจ้าชายแก้ว โอรสพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม (ทิพช้าง) เจ้าเมืองละกอน (ลำปาง) พาครอบครัวญาติพี่น้องและบริวารหนีท้าวลิ้นก่านไปซ่องสุมผู้คนอยู่เมืองแพร่ แล้วยกกองทัพไปรบกับท้าวลิ้นก่านที่เมืองลำปางแต่สู้ไม่ได้จึงหนีไปพึ่งพม่า

จุลศักราช ๑๑๒๓ พ.ศ. ๒๓๐๔

กองทัพพม่ายกมาตีเมืองเชียงใหม่ ครั้นแล้วก็ยกกองทัพเข้าตีเมืองลำปาง (เจ้าชายแก้วซึ่งหนีไปพีงพม่าเมื่อคราวก่อนร่วมมากับกองทัพพม่าด้วย) พม่ายึดเมืองลำปางได้ เจ้าชายแก้วจึงจับท้าวลิ้นก่านประหารชีวิตเสีย

กองทัพพม่ายกมายึดครองเมืองแพร่ เมืองน่าน และลานนาไทยเกือบทั้งหมด ครั้นปีต่อมาพม่าจำต้องยกกองทัพกลับเพราะเกิดจลาจลในเมืองอังวะ

จุลศักราช ๑๑๒๙ พ.ศ. ๒๓๑๐ พวกชาวลานนาไทย ถูกพม่าข่มเหงรังแกเบียดเบียน บ่อยครั้งจึงคิดจะกอบกู้อิสรภาพ พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าทราบข่าวได้นำกองทัพใหญ่ลงมาปราบ อาณาจักรลานนาไว้ได้ทั้งหมด

หลังจากปราบปรามหัวเมืองฝ่ายเหนือแล้ว พระเจ้ามังระก็กรีฑาทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา และในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็เสียอิสรภาพแก่พม่า

เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าอีกครั้งหนึ่ง จนถึงจุลศักราช พ.ศ. ๑๑๓๑ พ.ศ. ๒๓๑๒



เมืองแพร่สมัยกรุงธนบุรี

จุลศักราช ๑๑๓๑ พ.ศ. ๒๓๑๒ พงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวว่า

หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกเพียงปีเดียว สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ได้รวบรวมกำลังไพร่พล ต่อสู้กับพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น กรุงศรีอยุธยา พิษณุโลก พิชัย สวรรคโลกจนข้าศึกแตกพ่ายหนีไป

จุลศักราช ๑๑๓๒ พ.ศ. ๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเห็นว่าอาณาจักรลานนายังมีพม่ายึดครองอยู่มาก จึงโปรดให้ยกกองทัพขึ้นไปตีพม่าที่ครองเมืองเชียงใหม่

ขณะเดินทางเรือมาถึงเมืองพิชัยก็มีเจ้ามังชัย ผู้ปกครองเมืองแพร่พาขุนนางกรมการเมือง และไพร่พลเข้าเฝ้าถวายบังคมขอเป็นเมืองในขอบขัณฑสีมา

สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดแต่งตั้งให้เป็น “พระยาศรีสุริยวงศ์” แล้วให้เข้าร่วมขบวนทัพ ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่

พระราชพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวถึงความตอนนี้ว่า

“พระยาแพร่ ผู้ชื่อว่า มังไชย พม่าจับตัวไปครั้งทัพอะแซหวุ่นกี้มาตีเมืองพิษณุโลกมากับกองทัพครั้งนี้ด้วย พระยาแพร่มีจิตคิดสวามิภักดิ์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพฯ จึงคิดอ่านชักชวนพระยายองยกกองทัพไปตีเมืองเชียงแสน เจ้าเมืองเชียงแสนสู้ไม่ได้จึงหนีไปหาพระยาเชียงราย พระยาแพร่ และพระยายอง ก็ยกทัพติดตามไปที่เชียงราย

พระยาเชียงรายเห็นว่า พระยาแพร่และพระยายองเป็นชนชาติเชื้อลาวด้วยกัน จึงจับตัว เจ้าเมืองเชียงแสนชื่อ อาปรกามณี เป็นชาวพม่าส่งให้พระยาแพร่และพระยายอง”

พระราชพงศาวดารเมืองเหนือ กล่าวถึงความตอนนี้ว่า

จุลศักราช ๑๑๓๓ พ.ศ. ๒๓๑๔ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปตีเชียงใหม่, มังไชยะ เจ้าเมืองแพร่มาสวามิภักดิ์จึงโปรดตั้งให้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์แล้วเกณฑ์ไปตีเมืองเชียงใหม่ด้วย

ปีกุน เอกศก จุลศักราช ๑๑๔๑ เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ได้แต่งกองทัพหลวง ๓๐๐ คน ให้มาตรวจราชการทางเมืองแพร่ เมืองน่าน ตลอดไปจนถึงเมืองนครลำปาง

กองข้าหลวงดังกล่าวได้ทำโจรกรรมแย่งชิงทรัพย์สินของราษฎร ฉุดคร่าบุตรภรรยาของ ชาวบ้านไปทำอนาจารต่างๆ ราษฎรได้นำความเข้าร้องทุกข์ต่อพระยากาวิละ เจ้าเมืองนครลำปาง พระยากาวิละขัดใจก็ยกพวกไพร่พลออกไปขับไล่ฆ่าฟันข้าหลวงที่อยู่บ้านวังเกิง ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบข่าวจึงให้มีตราหาตัวพระยากาวิละลงไปกรุงเทพฯ แต่พระยากาวิละก็ขัดตราเสียหาไปไม่ พระยากาวิละคิดจะทำความชอบแก้โทษที่ทำผิดจึงยกกองทัพไปตีเมืองลอ เมืองเทิง กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยจำนวนมากแล้วจึงลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงธนบุรี แต่พระยากาวิละยังถูกลงโทษอีกนั่นเองคือทรงให้เฆี่ยน ๑๐๐ ที แล้วให้จำคุกไว้

พระยากาวิละได้ร้องขออาสาไปตีเมืองเชียงแสนแก้โทษ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรง พระกรุณาโปรดพระราชทานให้ถอดออกจากคุกและให้ไปทำราชการตามเดิม

พระยากาวิละไปถึงเมืองป่าช้าง จึงแต่งให้พระยาอุปราชคุมพลร้อยเศษไปเกลี้ยกล่อม

นาขวา เมืองเชียงแสน เพราะเวลานั้นกองทัพพม่าเลิกไปหมดแล้ว ให้นาขวารักษาเมืองไว้พร้อมด้วยทหารพม่าจำนวนหนึ่ง

นาขวาปลงใจด้วยกับพระยาอุปราช พระยากาวิละจึงได้ตัวพระยาแพร่ พระยาเถินคืนจากพม่า

จุลศักราช ๑๑๔๒ พ.ศ. ๒๓๒๓ เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ พงศาวดารเมืองน่านฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวว่า พญาจ่าบ้าน พญาละกอน พญาแพร่ และชาวเมืองหลวงพระบางได้ร่วมกันคบคิดยกทัพไปพร้อมกันที่สมกก เพื่อไปตีเมืองเชียงแสน และในที่สุดก็ตีเมืองเชียงแสนได้เมื่อเดือน ๗ ขึ้น ๙ ค่ำ วันจันทร์ยามเช้า

จุลศักราช ๑๑๔๔ พ.ศ. ๒๓๒๕ พงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากบุคคลสำคัญของอาณาจักรลานนาไทย เช่น พระยา จ่าบ้าน เจ้ากาวิละทำการขับไล่ฆ่าฟันพม่าที่ยึดครองเมืองเชียงใหม่จนพวกพม่าแตกพ่ายหนีไป หลังจากนั้นได้เข้าตีหัวเมืองอื่นๆ เช่น ลำปาง ลำพูน เชียงราย แพร่ น่าน ขับไล่พม่าไปจนหมดสิ้น

เมืองแพร่และเมืองอื่นๆ ดังกล่าวจึงอยู่ใต้อำนาจของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอีกครั้งหนึ่ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือตอนบน(ล้านนา)

โพสต์โดย น้ำฟ้า » พุธ 14 ม.ค. 2015 5:55 am

ประวัติศาสตร์ล้านนา ตอนที่ ๑๗/๒ เมืองแพร่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (มาอ่านกันค่ะ ว่าเหตุใดจึงไม่มีสายตระกูล ณ แพร่ เหลืออยู่เลย ทั้งๆที่แพร่ก็เคยมีเจ้าหลวงมาก่อน)

ระหว่างจุลศักราช ๑๑๔๗ - จุลศักราช ๑๒๒๙ (พ.ศ. ๒๓๒๘ - พ.ศ. ๒๔๑๐) จุลศักราช ๑๑๔๗ พ.ศ. ๒๓๒๘ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนกล่าวว่ากษัตริย์พม่าแต่งให้กาละมังดีเป็นแม่ทัพมีกำลังหมื่นหนึ่ง ยกมาตีอาณาจักรลานนาแวะถึงเมืองเชียงแสนในเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำวันเสาร์ เข้ายึดเมืองเชียงแสนได้แล้วยกทัพเข้าตีเมืองเทิง ฝ่ายเมืองเชียงใหม่และละกอนลำปาง ต่างพร้อมใจกันรวบรวมไพร่พลต่อสู้กับพม่าและ ป้องกันเมืองเอาไว้ได้ ฝ่ายพญาแพร่ พญาน่าน เห็นว่ากองทัพพม่าใหญ่หลวงนักเกรงจะสู้ไม่ได้ จึงบ่สู้บ่รบ ยอมอ่อนน้อมเป็นข้าของพม่าแต่โดยดี แม่ทัพพม่าคือ กาละมังดี จึงให้พญาแพร่ พญาน่าน ยกกองทัพไปแวดล้อมเมืองละกอนไว้ เมื่อพม่าไม่สามารถตีเอาเมืองใดได้ จึงล่าถอยทัพกลับไป จุลศักราช ๑๑๔๘ พ.ศ. ๒๓๒๙ เดือน ๕ เพ็ญ พญาแพร่พร้อมกับเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ คิดกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า จึงยกทัพไปตีเมืองเชียงแสน มวยหวาน ซึ่งปกครองเมืองเชียงแสนหนีพ่ายไปเชียงราย พญาเชียงรายจับตัวได้ส่งไปยังเมืองละกอนลำปาง พญาละกอนส่งตัวมวยหวานไปยังกรุงเทพฯ ฝ่ายพญาละกอน เมื่อส่งมวยหวานไปกรุงเทพฯ แล้ว ก็ยกกองทัพไปเมืองเชียงแสนจับตัว พญาแพร่ใส่คา จองจำส่งตัวลงกรุงเทพฯ จุลศักราช ๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๒๘ พม่าส่งกองทัพมาตีหัวเมืองอาณาจักรลานนา แต่เวลานั้นทางเมืองเชียงใหม่ยังร้างอยู่ไม่มีใครปกครอง จึงเลยลงไปตีเมืองลำปาง เจ้าเมืองลำปางคือพระยา กาวิละได้ต่อสู้ต้านทานทัพพม่า สามารถรักษาเมืองไว้ได้ พม่าจึงแต่งกองทัพให้ล้อมเมืองไว้ก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทราบข่าวศึก จึงโปรดให้กรมหลวงเจษฎายกกองทัพขึ้นมาช่วย ฝ่ายพระยากาวิละ รู้ว่ากองทัพในกรุงขึ้นมาช่วยก็มีกำลังห้าวหาญยกกองทัพตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากเมือง ได้สู้รบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง กองทัพพม่าจึงแตกพ่ายไป เมื่อกองทัพพม่าถูกไล่ออกจากอาณาจักรลานนาแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้โปรดพระราชทานบำเหน็จให้แก่เจ้านายฝ่ายเหนือโดยให้พระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางขึ้นไปครองเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระยามังชัย เจ้าเมืองแพร่ พระองค์ทรงเห็นว่าถ้าจะให้ไปครองเมืองแพร่ก็ยังไม่ไว้วางพระราชหฤทัย เพราะพระยามังชัยเคยอยู่กับพม่ามานาน จึงโปรดให้ไปช่วยราชการอยู่ที่เมืองลำปางก่อน

จุลศักราช ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงโปรดให้ เจ้าเมืองฝ่ายเหนือยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง พระยามังชัย เจ้าเมืองแพร่ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่เมืองลำปางได้ร่วมไปกับกองทัพด้วย พระยามังชัยได้แสดงความห้าวหาญชาญศึกอาสาเป็นนายกองหน้าเข้าตีเมืองเชียงตุง และสามารถตีเมืองเชียงตุงจนได้ชัยชนะ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงเห็นความดีและความสามารถจึงโปรดให้กลับไปครองเมืองแพร่ดังเดิม หลังจากรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแล้ว ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองแพร่ไม่มีกล่าวถึงจนกระทั่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมืองแพร่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ระหว่างจุลศักราช ๑๒๕๓ - จุลศักราช ๑๒๙๖ (พ.ศ. ๒๔๓๔ - พ.ศ. ๒๔๗๗)

จุลศักราช ๑๒๕๓ พ.ศ. ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนระบอบการปกครองประเทศ เป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลลดอำนาจเจ้าผู้ครองเมืองให้น้อยลงกว่าเดิ, เมืองแพร่ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดมณฑลพิษณุโลก มาเป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ หนังสือการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ พ.ศ. ๒๔๓๖ - พ.ศ. ๒๔๗๖ กล่าวถึงตอนนี้ว่า เมืองแพร่จัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลหลังจากพระยาทรงสุรเดช ได้ไปตรวจ ราชการในเมืองแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ กล่าวคือ เมื่อพระยาทรงสุรเดชไปถึงเมืองแพร่ “พระยาพิริยวิไชย” เจ้าเมืองแพร่ได้ให้การต้อนรับพระยาทรงสุรเดชเป็นอย่างดี พร้อมกับแสดงความจำนงให้พระยาทรงสุรเดชทราบว่าต้องการให้จัด ราชการ ๖ ตำแหน่งขึ้นในเมืองแพร่ให้เหมือนกับแบบแผนราชการเมืองเชียงใหม่ เหตุที่พระพิริยวิไชยเสนอเช่นนั้นก็ประสงค์จะขอพระราชทานเลื่อนยศขึ้นเป็น “เจ้า”

พระยาทรงสุรเดชเห็นว่างานราชการทั้งหมดของเมืองแพร่ตกอยู่ในอำนาจของพระยาพิริยวิไชยทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อให้การปกครองของเมืองแพร่เรียบร้อย จึงให้ทำการทดลองจัดราชการ ๖ ตำแหน่งขึ้นในเมืองแพร่ พระยาทรงสุรเดชได้มอบหมายให้ นายราชาภักดิ์ ข้าหลวงเมืองแพร่ ทำหน้าที่เป็น ที่ปรึกษาของพระยาพิริยวิไชย จัดการราชการงานในเมืองแพร่ร่วมกัน แทรกกล่าว มีข้อน่าสังเกตว่าประวัติศาสตร์เมืองเหนือของ ตรี อมาตยกุล กล่าวว่า “โปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยบูรณ์ไปเป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรกปี พ.ศ. ๒๔๔๐” ส่วนปริญญานิพนธ์ของสรัสวดี ประยูรเสถียร ข้างต้นนี้กล่าวว่า พระยาทรงสุรเดชได้ มอบหมายให้ นายราชาภักดิ์ ข้าหลวงเมืองแพร่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของพระยาพิริยวิไชย จัดการ ราชการงานในเมืองแพร่ร่วมกัน จึงทำให้เป็นที่น่าสงสัยว่า นายราชาภักดิ์ หรือพระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงเมืองแพร่ คนแรกกันแน่

กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ จุลศักราช ๑๒๖๔ พ.ศ. ๒๔๔๕ ในขณะที่พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่อยู่นั้น ปรากฏว่ามีพวกเงี้ยวหรือไทยใหญ่ได้คบคิดกันก่อการจลาจลขึ้นในเมืองแพร่ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

วันศุกร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ เวลาประมาณ ๗ นาฬิกา พวกไทยใหญ่นำโดย พะกาหม่องและสะลาโปไชย หัวหน้าพวกโจรเงี้ยวนำกองโจรประมาณ ๔๐ - ๕๐ คน บุกเข้าเมืองแพร่ทางด้านประตูชัย จู่โจมสถานีตำรวจเป็นจุดแรก ขณะนั้นสถานีตำรวจเมืองแพร่มีประมาณ ๑๒ คน จึงไม่สามารถต้านทานได้ กองโจรเงี้ยวเข้ายึดอาวุธตำรวจแล้วพากันเข้าโจมตีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โจรเงี้ยวได้ตัดสายโทรเลขและทำลายอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เพื่อตัดปัญหาการสื่อสาร ครั้นแล้วก็มุ่งหน้าสู่บ้านพักข้าหลวงประจำเมืองแพร่ แต่ก่อนที่กองโจรเงี้ยวจะไปถึงบ้านพักข้าหลวงนั้น พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ได้พา ครอบครัวพร้อมด้วยคุณหญิงเยื้อน ภริยาหลบหนีออกจากบ้านพักไปก่อนแล้ว พวกโจรเงี้ยวไปถึงบ้านพักไม่พบพระยาไชยบูรณ์จึงบุกเข้าปล้นทรัพย์สินภายในบ้านพักข้าหลวง และสังหารคนใช้ที่หลงเหลืออยู่จนหมดสิ้น จากนั้นจึงยกกำลังเข้ายึดที่ทำการเค้าสนามหลวง ทำลายคลังหลวงและกวาดเงินสดไปทั้งหมด ๔๖,๙๑๐ บาท ๓๗ อัฐ หลังจากนั้นพวกโจรเงี้ยวก็มุ่งตรงไปยังเรือนจำเพื่อปล่อยนักโทษให้เป็นอิสระพร้อมกับ แจกจ่ายอาวุธให้แก่นักโทษเหล่านั้น ทำให้พวกกองโจรเงี้ยวได้กำลังสนับสนุนเพิ่มขึ้นอีกจนภายหลังมีกำลังถึง ๓๐๐ คน

ในระหว่างที่กองโจรเงี้ยวเข้าโจมตีสถานที่ราชการต่างๆ อยู่นั้น ราษฎรเมืองแพร่ตื่นตกใจกันมาก บางส่วนได้อพยพหลบออกไปอยู่นอกเมืองทันที กองโจรเงี้ยวจึงประกาศให้ราษฎรอยู่ในความสงบ เพราะพวกตนจะไม่ทำร้ายชาวเมืองจะฆ่าเฉพาะคนไทยภาคกลางที่มาปกครองเมืองแพร่เท่านั้น ราษฎรจึงค่อยคลายความตกใจลง และบางส่วนได้เข้าร่วมกับพวกกองโจรเงี้ยวก็มี ทำให้กองโจรเงี้ยวทำงานคล่องตัวและมีกำลังเข้มแข็งขึ้น ขณะเดียวกันพระยาไชยบูรณ์ซึ่งพาภริยา คือ คุณหญิงเยื้อนหลบหนีออกจากบ้านพักตรงไปยังคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ หวังขอพึ่งกำลังเจ้าเมืองแพร่หรือเจ้าหลวงเมืองแพร่ คือ พระยาพิริยวิไชย เมื่อไปถึงคุ้มเจ้าหลวง เจ้าหลวงเมืองแพร่กล่าวว่า “จะช่วยอย่างไรกัน ปืนก็ไม่มี ฉันก็จะหนีเหมือนกัน” พระยาไชยบูรณ์ตัดสินใจพาภริยาและหญิงรับใช้หนีออกจากเมืองแพร่ไปทางบ้านมหาโพธิ์เพื่อหวังไปขอกำลังจากเมืองอื่นมาปราบ ส่วนเจ้าเมืองแพร่นั้นหาได้หลบหนีไปตามคำอ้างไม่ ยังคงอยู่ในคุ้มตามเดิม ตอนสายของวันที่ ๒๕ กรกฎาคม เมื่อกองโจรเงี้ยวสามารถยึดเมืองแพร่ได้แล้ว พะกาหม่องและสะลาโปไชยก็ไปที่คุ้มเจ้าหลวง เพื่อเชิญให้เจ้าเมืองแพร่ปกครองบ้านเมืองตามเดิม ก่อนจะปกครองเมือง พะกาหม่องได้ให้เจ้าเมืองแพร่และเจ้านายบุตรหลานทำพิธีถือ น้ำสาบานก่อน โดยมีพระยาพิริยวิไชยเป็นประธานร่วมด้วยเจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงครามและเจ้านายบุตรหลานอื่นๆ รวม ๙ คน ในพิธีนี้มีการตกลงร่วมกันว่าจะร่วมกันต่อต้านกองทัพของรัฐบาลโดยพวกกองโจรเงี้ยวเป็นกองหน้าออกสู้รบเอง ส่วนเจ้าเมืองและคนอื่นๆ เป็นกองหลังคอยส่งอาหารและอาวุธตลอดทั้งกำลังคน

วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พวกกองโจรเงี้ยวเริ่มลงมือตามล่าฆ่าข้าราชการไทยและคนไทย ภาคกลางทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือสตรีที่หลบหนีไปโดยประกาศให้รางวัลนำจับ เฉพาะค่าหัวพระยาไชยบูรณ์และพระเสนามาตย์ยกบัตรเมืองแพร่ คนละ ๕ ชั่ง หรือ ๔๐๐ บาท นอกนั้นลดหลั่นลงตามลำดับความสำคัญ แต่อย่างต่ำจะได้ค่าหัวคนละ ๔๐ บาท

วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พระยาไชยบูรณ์ซึ่งอดอาหารมาเป็นเวลา ๓ วัน กับ ๒ คืน โดยหลบซ่อนอยู่บนต้นข่อยกลางทุ่งนาใกล้ๆ กับหมู่บ้านร่องกาด ได้ออกจากที่ซ่อนเพื่อขออาหารจากชาวบ้านร่องกาด ราษฎรคนหนึ่งในบ้านร่องกาดชื่อหนานวงศ์ จึงนำความไปแจ้งต่อพะกาหม่องเพื่อจะเอาเงินรางวัล พะกาหม่องนำกำลังไปล้อมจับพระยาไชยบูรณ์ทันที จับตัวได้ก็ควบคุมตัวกลับเข้าเมืองแพร่ และได้บังคับขู่เข็ญพระยาไชยบูรณ์ตลอดทาง พระยาไชยบูรณ์จึงท้าทายให้พวกโจรเงี้ยวฆ่าตนเสียดีกว่า ดังนั้นพอมาถึงทางระหว่างร่องกวางเคา (ปัจจุบันเรียกว่าร่องคาว) โจรเงี้ยวคนหนึ่งชื่อ จองเซิน จึงคิดฆ่าพระยาไชยบูรณ์ทันที นอกจากพระยาไชยบูรณ์แล้ว พวกโจรเงี้ยวยังได้จับข้าราชการไทยอีกหลายคนฆ่า ที่สำคัญได้แก่ พระเสนามาตย์ ยกกระบัตรศาล หลวงวิมล ข้าหลวงผู้ช่วย ขุนพิพิธ ข้าหลวงคลัง นายเฟื่อง ผู้พิพากษา นายแม้น อัยการ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก นับเป็นการเข่นฆ่าข้าราชการไทยครั้งยิ่งใหญ่จริงๆ ในภาคเหนือ

ทางรัฐบาลไทยได้ส่งกองทัพจากเมืองใกล้เคียง เช่น พิชัย สวรรคโลก สุโขทัย ตาก น่าน และเชียงใหม่ เข้ามาปราบปรามพวกกองโจรเงี้ยวอย่างรีบด่วน โดยกำหนดให้ทุกเมืองระดมกำลังเข้าปราบปราม พวกกองโจรเงี้ยวในเมืองแพร่พร้อมกันทุกด้าน และยังได้มอบหมายให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) นำกองทัพหลวงขึ้นมาปราบปรามพร้อมทั้งให้ดำเนินการสอบสวนสาเหตุการปล้นครั้งนี้ด้วยและให้ถือว่าเป็น “กบฏ” ด้วย ดังนั้นจึงเรียกว่า กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ส่วนพวกกองโจรเงี้ยวเมื่อสามารถก่อการกบฏได้สำเร็จก็ไม่ได้ตระเตรียมกำลังป้องกันแต่อย่างใด จนกระทั่งวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพรัฐบาลจะมาปราบปรามจึงได้แบ่งกำลังออกเป็น ๒ กอง กองหนึ่งนำโดยสะลาโปไชย ยกกำลังไปทางด้านใต้เพื่อขัดตาทัพ รัฐบาลที่ส่งมา อีกกองหนึ่งนำโดยพะกาหม่อง ยกกำลังไปทางด้านตะวันตกเพื่อโจมตีนครลำปางหวังยึดเมืองเป็นฐานกำลังอีกแห่งหนึ่ง

การโจมตีนครลำปางนั้น พวกกองโจรเงี้ยวต้องประสบกับความผิดหวัง เพราะนครลำปางรู้เหตุการณ์และเตรียมกำลังไว้ต่อสู้อย่างรวดเร็ว เมื่อพวกเงี้ยวไปถึงนครลำปางในวันที่ ๓ สิงหาคม จึงถูกฝายนครลำปางตีโต้กลับทำให้ กองโจรเงี้ยวแตกพ่ายหนีกระจัดกระจายไป ตัวผู้นำคือ พะกาหม่องต้องสูญเสียชีวิตเพราะถูกยิงในระหว่างการต่อสู้ ส่วนพวกกองโจรเงี้ยวที่นำโดยสะลาโปไชยนั้น ในระยะแรกสามารถสกัดทัพเมืองพิชัยไว้ได้ชั่วคราว แต่ก็ไม่สามารถต้านทานทัพเมืองสวรรคโลกและสุโขทัยได้ จึงถอยกลับไปตั้งหลักที่เมืองแพร่ตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม แต่ในที่สุดพวกโจรเงี้ยวก็หนีกระจัดกระจายไปเพราะต่อสู้ไม่ไหว ดังนั้น ในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์) ผู้ว่าราชการเมืองพิชัย จึงนำกองกำลังตำรวจภูธรและทหารจำนวนหนึ่งบุกเข้าเมืองแพร่ได้สำเร็จ

วันที่ ๒๐ สิงหาคม เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ก็นำทัพหลวงถึงเมืองแพร่ หลังจากเหตุการณ์สงบลงหลายวันแล้ว เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงทำการสอบสวนความผิดผู้ เกี่ยวข้องทันที ขั้นแรก ได้สั่งจับชาวเมืองแพร่ ราษฎรบ้านร่องกาด คือ หนานวงค์ ที่หวังเงินรางวัลนำจับพระยาไชยบูรณ์มาประหารชีวิตเป็นเยี่ยงอย่างก่อน ขั้นที่สอง สั่งให้จับตัว พญายอด ผู้นำจับหลวงวิมลมาประหารชีวิตอีกคนหนึ่ง จากนั้นเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้สอบสวนพยานหลายคน โดยยึดถือตามแนวนโยบายที่กรมหลวงดำรงราชานุภาพทรงกำชับไว้ คือ ไม่ให้ตั้งข้อสงสัย หรือกล่าวหาเจ้าเมืองแพร่และเจ้านายบุตรหลานล่วงหน้า

เมื่อสอบสวนพยานเสร็จไปหลายคน ก็พบหลักฐานต่างๆ ผูกมัดเจ้าเมืองแพร่และ เจ้านายบุตรหลานบางคน เช่น เจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงครามอย่างแน่นหนาว่ามีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับกบฎครั้งนี้ ดังคำให้การของพระยาเขื่อนขัณฑ์อดีตนายแคว้น (กำนัน) เมืองสอง เป็นคนที่เจ้าเมืองแพร่ไว้วางใจ ได้กล่าวให้การไว้ตอนหนึ่งว่า “เจ้าแพร่พูดว่า เมืองแพร่ต่อไปจะเป็นของไทยนานเท่าใด จะต้องเป็นเมืองของเงี้ยว เจ้าแพร่จะคิดให้พะกาหม่อง สะลาโปไชย ซึ่งเป็นหัวหน้าเงี้ยวบ่อแก้วเข้ามาตีปล้นเมืองแพร่ พวกเงี้ยวจะจับคนไทยฆ่าเสียให้หมด แต่พะกาหม่องและสะลาโปไชยจะยกเข้าตีเมืองแพร่เมื่อใดยังไม่มีกำหนด ถ้าจะให้พะกาหม่องและสะลาโปไชยยกเข้าตีเมืองแพร่วันใด จะได้มีหนังสือไปนัดพะกาหม่องและสะลาโปไชยทราบ เจ้าแพร่ได้สั่งข้าพเจ้าว่า เมื่อออกนอกราชการแล้ว อย่ามาเที่ยวเกะกะ วุ่นวายทำราชการกับไทย เมื่อเงี้ยวมันเข้าตีบางทีจะถูกปืนตายเสียเปล่า ผู้ที่ร่วมคิดให้เงี้ยวเข้าปล้นเมืองแพร่คราวนี้ เจ้าหลวงบอกข้าพเจ้าว่า พระยาราชบุตร พระไชยสงคราม เป็นผู้ร่วมคิดด้วย” นอกจากนั้น ก่อนที่พวกโจรเงี้ยวเข้าปล้นเมืองแพร่ก็ได้ส่งข่าวมาบอกเจ้าเมืองแพร่ไว้แล้ว ดังคำให้การของหลวงจิตรจำนงค์ เจ้าของสัมปทานป่าไม้มีความว่า “พระไชยสงครามไปที่บ้านข้าพเจ้าว่า วันที่ ๒๔ กรกฎาคม เวลากลางคืนประมาณ ๓ ทุ่มเศษ พวกเงี้ยวมีหนังสือมาบอกเจ้าแพร่ว่าถ้าในกลางคืนนี้ไม่ทัน ก็จะยกเข้าปล้นเวลาเช้ามืด”

เจ้าเมืองแพร่รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าจึงได้ป้องกันภัยแก่ญาติและคนสนิท ดังนายส่างกราบ ผู้ ดูแลคุ้มหลวงได้ให้การไว้ตอนหนึ่งว่า “ครั้นข้าพเจ้าเข้านอนเฝ้าคุ้มหลวงได้ ๖ คืน เจ้าหลวงก็บอกข้าพเจ้าว่า พวกเงี้ยวจะพากันเข้ามาปล้นเมืองแพร่วันพรุ่งนี้รู้หรือเปล่า ข้าพเจ้าก็บอกว่าไม่รู้ เจ้าหลวงจึงบอกข้าพเจ้าไปเอาปืน ๑๒ นัดที่บ้านพระไชยสงครามมาป้องกันตัวไว้ ๑ กระบอก”

ในวันที่ ๒๔ กรกฎาคมนั้น เจ้าเมืองแพร่ก็ได้เรียกตัว เจ้าพลอยแก้ว หลานสาวซึ่งไป คลุกคลีอยู่ในบ้านพักข้าหลวงกับคุณหญิงเยื้อน ภริยาของพระยาไชยบูรณ์ให้กลับคุ้มด่วน เพราะเกรงอันตรายจากพวกเงี้ยวจะเกิดแก่เจ้าพลอยแก้ว เมื่อพวกกองโจรเงี้ยวปล้นเมืองแพร่สำเร็จแล้ว เจ้าเมืองแพร่ได้แสดงตัวเป็นผู้สนับสนุนพวกโจรเงี้ยวอย่างเด่นชัด โดยเกณฑ์ข้าวสารชาวบ้านหลังคาละ ๒ ทะนาน อาวุธปืน กระสุนดินดำ เงิน และกองกำลัง จำนวน ๕๐ คน ส่งไปช่วย พะกาหม่องต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล จากหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวมาทำให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเข้าใจว่า เจ้าเมืองแพร่ เจ้า ราชบุตร เจ้าไชยสงคราม มีส่วนสนับสนุนให้กองโจรเงี้ยวก่อการกบฏขึ้นอย่างแน่นอน และเชื่อว่าต้องมีการตระเตรียมการล่วงหน้ามาช้านานพอสมควร

ก่อนที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจะได้ชำระความผิดผู้ใด เจ้าราชวงษ์และภริยาก็ตกใจกลัวความผิดดื่มยาพิษฆ่าตัวตายเสียก่อน เพราะได้ข่าวลือว่ารัฐบาลจะประหารชีวิตผู้เกี่ยวข้องกับกบฏเงี้ยว ทุกคน เมื่อเกิดอัตวินิบาตกรรมขึ้นเช่นนี้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเกรงว่าจะเป็นการสร้างความ เข้าใจผิดกันว่ารัฐบาลกระทำการรุนแรงต่อเจ้านายเมืองแพร่ ครั้นจะสืบหาพยานต่อไปอีกหลักฐานก็จะผูกมัดเจ้าเมืองแพร่ และเจ้านายบุตรหลานที่เกี่ยวข้องยิ่งขึ้น จนในที่สุดจะต้องถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหากบฏอย่างแน่นอน หากคดีจบในรูปนั้นย่อมกระทบกระเทือนใจเจ้านายฝ่ายเมืองเหนือทุกเมือง เพราะต่างเกี่ยวพันฉันท์ญาติผู้สืบสายราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนด้วยกัน ทั้งยังสร้างความสะเทือนใจแก่ราษฎรทั้งหลายในลานนาไทย ดังนั้นเจ้าพระยาสุรศักศ์มนตรี จึงพยายามคิดหาวิธีที่ละมุนละม่อมตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งต้องการใช้วิธีผ่อนปรนต่อเจ้านายเมืองแพร่ ขณะเดียวกันก็พยายามไม่ให้เจ้านายเมืองแพร่ตื่นตกใจหนีเข้าพึ่งอิทธิพลอังกฤษ อันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศได้ ในที่สุด เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีก็ใช้วิธีปล่อยข่าวว่าจะมีการจับกุมตัวเจ้าเมืองแพร่และ เจ้าราชบุตร ข่าวลือนี้ได้ผล เพราะตอนดึกคืนนั้น เจ้าเมืองแพร่พร้อมด้วยคนสนิทอีกสองคนก็หลบหนีออกจากเมืองแพร่ทันที อย่างไรก็ดี การหลบหนีของเจ้าเมืองแพร่ในคืนนั้นได้รับการสนับสนุนจากเจ้าพระยา สุรศักดิ์มนตรี โดยมีคำสั่งลับมิให้กองทหารที่ตั้งสกัดอยู่รอบเมืองแพร่ขัดขวาง ทำให้การหลบหนีของ เจ้าเมืองแพร่เป็นไปอย่างสะดวกจนถึงหลวงพระบางอย่างปลอดภัย เมื่อเจ้าเมืองแพร่หนีไปได้ ๑๕ วัน ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการ จึงเป็นโอกาสให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีสามารถออกคำสั่งถอดเจ้าพิริยเทพวงศ์ออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองแพร่ทันที พร้อมกับสั่งอายัดทรัพย์เพื่อชดใช้หนี้หลวงที่เจ้าเมืองแพร่ค้างกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สำหรับคดีความผิดฐานร่วมก่อการกบฏก็เป็นอันต้องระงับโดยปริยาย ไม่มีการรื้อฟื้นขึ้นอีก เจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าเมืองแพร่คนสุดท้ายได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบางจนถึงแก่พิราลัย

สำหรับเจ้าราชบุตร ผู้เป็นบุตรเขยเจ้าเมืองแพร่นั้น มีพยานหลักฐานและพฤติการณ์บ่งชัดว่าได้รู้เห็นเป็นใจกับพวกเงี้ยวเพราะโดยหน้าที่ เจ้าราชบุตรเป็นร้อยตำรวจเอกจะต้องนำกำลังออกต่อสู้ต้านทานพวกโจรเงี้ยว แต่ปรากฏว่าเจ้าราชบุตรไม่ได้ทำหน้าที่อันควรกระทำ กลับไปทำสิ่งตรงกันข้ามคือ เป็นผู้เกณฑ์กำลังออกไปสนับสนุนพวกโจรเงี้ยว ทั้งยังส่งกระสุนดินดำพร้อมเสบียงอาหารให้พวกเงี้ยว พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นความผิดขั้นรุนแรงมีโทษถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายหลีกเลี่ยงการประหารชีวิต เพราะไม่ประสงค์จะให้กระทบกระเทือนใจเจ้านายเมืองเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าราชบุตรเป็นบุตรชายของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่าน หากกระทำตามกฎเกณฑ์ก็จะกระทบกระเทือนใจเจ้าเมืองน่าน ดังนั้น เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงสั่งให้ร้อยตำรวจเอกเจ้าราชบุตรนำกองกำลังตามขึ้นไปตีพวกโจรเงี้ยวที่แตกไปอยู่ตำบลสะเอียบ อันเป็นวิธีสร้างความดีลบล้างความผิด ซึ่งร้อยตำรวจเอกเจ้าราชบุตรก็สามารถกระทำงานที่มอบหมายสำเร็จคือตีพวกกองโจรเงี้ยวจนแตกพ่ายไป ได้ริบทรัพย์จับเชลยกลับมาเป็นจำนวนมาก

ในปีต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๖ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่าน ได้ขอย้ายเจ้าราชบุตรไปรับราชการที่เมืองน่าน และขอรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าราชดนัย อันเป็นตำแหน่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเห็นชอบด้วย เมื่อพิจารณา สาเหตุกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประการ คือ

ประการแรก เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองภายในเมืองแพร่นับตั้งแต่ช่วงจัดการ ปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งเป็นตอนที่รัฐบาลยุบเลิกฐานะเมืองประเทศราชและรวมอำนาจเข้าสู่ ส่วนกลาง ดังจะเห็นได้ว่าฐานะทางการเมืองนั้น เจ้าเมืองมีแต่เกียรติยศ ไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง เพราะอำนาจสิทธิขาดตกเป็นของข้าหลวง ซึ่งเป็นข้าราชการที่ส่งมาจากส่วนกลาง

ในทางด้านเศรษฐกิจก็ถูกตัดทอนผลประโยชน์ลงสร้างความไม่พอใจแก่เจ้าเมือง และ เจ้านายบุตรหลานทั้งหลายในแต่ละเมือง จึงปรากฏปฏิกิริยาออกมาในลักษณะต่างๆ กัน เช่นที่เชียงใหม่เจ้านายบุตรหลานไม่พอใจเรื่องลดผลประโยชน์เป็นอันมาก เมืองแพร่ตกอยู่ในสภาพลำบาก เนื่องจากในช่วงที่พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้จัดการอย่าง รุนแรงและบีบบังคับยิ่งกว่าเมืองอื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงว่าเมืองแพร่เพิ่งจะจัดการปกครองเป็นครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๓๗

ในครั้งนั้น ด้านการคลังพระยาทรงสุรเดชยังผ่อนปรน ไม่ได้แบ่งเงินผลประโยชน์ของ เจ้าเมืองออกจากเงินแผ่นดิน ดังนั้น เจ้าพิริยเทพวงศ์จึงเก็บรักษาเงินปนกันหมด และนำเงินหลวงมาจ่ายในกิจการป่าไม้ของตนก่อน โดยเข้าใจว่าเป็นเงินของตน เมื่อพระยาศรีสหเทพตรวจสอบการเงินก็พบว่าเงินหลวงขาดไป จึงสั่งกักขังเจ้าเมืองแพร่ไว้จนกว่าจะหาเงินมาชดใช้ให้ครบภายใน ๒๔ ชั่วโมง เจ้านายบุตรหลานต้องหาเงินมาชดใช้จนครบ เจ้าเมืองแพร่จึงได้รับการปล่อยตัว นับเป็นการกระทำที่บีบคั้นจิตใจและไม่ให้เกียรติกัน นอกจากนั้นยังกำหนดอัตราการใช้จ่ายเงินของเจ้าเมืองแพร่ไม่ให้จ่ายฟุ่มเฟือย เพราะฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำ จนกระทั่งกำหนดให้ใช้เงินเพียงเดือนละ ๒,๐๐๐.- บาท และจะต้องขอยืมจากท้องพระคลังก่อน ประการที่สอง เนื่องจากเงี้ยวชาวเมืองและราษฎรพื้นเมืองให้การสนับสนุนกองโจรเงี้ยว การโจมตีเมืองแพร่ มิใช่มีแต่บรรดาเจ้านายเมืองแพร่เท่านั้นที่สนับสนุนพวกโจรเงี้ยว ชาวเมืองก็จับอาวุธขึ้นช่วยพวกกองโจรเงี้ยวด้วย ทั้งนี้ มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากชาวเงี้ยวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจาก รัฐฉานเข้ามาอาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในมณฑลพายัพเป็นเวลานานแล้ว พวกเงี้ยวส่วนใหญ่มักเป็นผู้ทำมาหากินตามปกติและปะปนอยู่กับชาวบ้านเมืองแพร่ ทำให้มีความสนิทสนมกันเป็นอันดี เมื่อเกิดความทุกข์ยากลำบากใจจึงร่วมมือสนับสนุนทันที

การจัดรูปการปกครองเมืองแพร่ตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลของเมืองแพร่

ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ทางราชการได้ประกาศให้รวมหัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นเป็นมณฑล โดยจัดให้เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองลำปาง รวมเป็นมณฑลเรียกว่ามณฑลมหาราษฎร์และให้ตั้งที่ว่าการมณฑลขึ้นที่จังหวัดลำปาง ผู้สำเร็จราชการมณฑล ๓ ท่าน คือ มหาเสวกตรี พระยาเพชรรัตนราชสงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน) จางวางตรี พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกะพุกกะณะ) มหาเสวกโท พระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค) ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ทางราชการได้สั่งให้รวมมณฑลมหาราษฎร์กับมณฑลพายัพดังเดิม มีที่ว่าการมณฑลตั้งอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ทางราชการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแบ่งเป็นภาคๆ เมืองแพร่จัดอยู่ในภาคที่ ๕ ที่ทำการภาคตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางราชการได้ประกาศยกเลิกการปกครองแบบภาค ให้ทุกจังหวัดขึ้นตรงรัฐบาลกลางที่กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดแพร่
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือตอนบน(ล้านนา)

โพสต์โดย น้ำฟ้า » ศุกร์ 16 ม.ค. 2015 5:11 pm

ประวัติศาสตร์นครลำปาง


lampang.jpg
lampang.jpg (125.12 KiB) เปิดดู 6612 ครั้ง



จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดที่มีความเก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาแล้วไม่น้อยกว่า ๑,๓๐๐ ปี ตั้งแต่สมัยหริภุญไชย (พระนางจามเทวี) เป็นต้นมา คือ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ชื่อของเมืองเขลางค์อันเป็นเมืองในยุคแรก ๆ และเมืองนครลำปาง ปรากฏอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายแห่ง ทั้งจากตำนานศิลาจารึกพงศาวดาร และจากคำที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปอย่างแพร่หลาย ได้แก่ตำนานจามเทวี ชินกาลบาลีปกรณ์ ตำนานมูลศาสนา ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเจ้าเจ็ดตน พงศาวดารโยนก

คำว่า '"ละกอน" หรือ "ละคร" (นคร) เป็นชื่อสามัญของเมืองเขลางค์ที่นิยมเรียกกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในตำนานและภาษาพูดโดยทั่วไป แม้แต่จังหวัดใกล้เคียงเช่น แพร่ น่าน เชียงราย ลำพูน เชียงใหม่ มักจะเรียกชาวลำปางว่า "จาวละกอน" ซึ่งหมายถึง ชาวนคร คำว่าละกอนมีชื่อทางภาษาบาลีว่า เรียกว่า "เขลางค์ "เช่นเดียวกับ ละพูรหรือลำพูน ซึ่งทางภาษาบาลีเรียกว่า "หริภุญไชย"และเรียกลำปางว่า "ลัมภกัปปะ" ดังนั้น เมืองละกอนจึงหมายถึง บริเวณอันเป็นที่ตั้งของเมืองเขลางค์ คือเมืองโบราณรูปหอยสังข์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวัง อยู่ในตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ส่วนคำว่า"ลำปาง" เป็นชื่อที่ปรากฎหลักฐานอย่างชัดแจ้งในตำนานพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นภาษาบาลีว่า "ลัมภกัปปนคร" ตั้งอยู่บริเวณลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศใต้ตามแม่น้ำวังประมาณ ๑๖ กิโลเมตร อันเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุลำปางหลวงในปัจจุบัน ตัวเมืองลัมภกัปปนครมีพื้นที่ประมาณ ๒๐๐ ไร่

ลักษณะของเมือง ศึกษาดูจากภาพถ่ายทางอากาศและการเดินสำรวจทางภาคพื้นดิน พบว่ามีคันคูล้อมรอบ ๓ ชั้น (แต่ปัจจุบันเหลือเพียงบางส่วนเท่านั้น) นอกจากนี้พบเศษกระเบื้อง ภาชนะดินเผา เศียรพระพุทธรูปดินเผาสมัยหริภุญไชยและสถูปแบบสมัยหริภุญไชย สันนิษฐานว่าเมืองลัมภกัปปะนี้น่าจะเป็นเมืองกัลปนาสงฆ์ (เมืองทางศาสนา) มากกว่าจะเป็นเมืองทางอาณาจักรที่มีอำนาจทางการปกครองบ้านเมืองอย่างเป็นระเบียบแบบแผน

ตามตำนาน วัดพระธาตุลำปางหลาง (ฉบับสาขาสมาคม เพื่อการรักษาสมบัติวัฒนธรรมประจำจังหวัดลำปาง) ได้กล่าวถึงเรื่องราวของเมืองลำปางไว้ว่า
"พระพุทธเจ้าได้เสด็จด้วยลำดับบ้านใหญ่เมืองน้อย ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าไปรอดบ้านอันหนึ่งชื่อ ลัมพการีวัน พระพุทธเจ้านั่งอยู่เหนือดอยม่อนน้อย สูงสะหน่อย ยังมีลัวะ ชื่ออ้ายคอน มันหันพระพุทธเจ้า เอาน้ำผึ้งใส่กระบอกไม้ป้างมาหื้อทานแก่พระพุทธเจ้า กับหมากพ้าว ๔ ลูก พระพุทธเจ้ายื่นบอกน้ำเผิ้งหื้อแก่มหาอานนท์ถอกตกปากบาตร พระพุทธเจ้าฉันแล้ว ชัดบอกไม้ไปตกหนเหนือ แล้วพระพุทธเจ้าทำนายว่า สถานที่นี้จักเป็นเมืองอันหนึ่งชื่อ "ลัมภางค์"

ดังนั้นนามเมืองลำปาง จึงหมายถึงชื่อของเมืองอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุลำปางหลวงในปัจจุบัน

จังหวัดลำปางเดิมชื่อ "เมืองนครลำปาง" จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ ศิลาจารึก เลขทะเบียน ลป.๑ จารึกเจ้าหมื่นคำเพชรเมื่อ พ.ศ.๒๐๑๙ และศิลาจารึกเลขทะเบียน ลป.๒ จารึกเจ้าหาญสีทัต ได้จารึกชื่อเมืองนี้ว่า "ลคอร" ส่วนตำนานชินกาลมารีปกรณ์ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเมืองเชียงแสน ตลอดจนพงศาวดารของทางฝ่ายเหนือ ก็ล้วนแล้วแต่เรียกชื่อว่า เมืองนครลำปาง แม้แต่เอกสารทางราชการสมัยรัตนโกสินตอนต้น ก็เรียกเจ้าเมืองว่า พระยานครลำปาง นอกจากนี้จารึกประตูพระอุโบสถวัดบุญวาทย์วิหาร ก็ยังมีข้อความตอนหนึ่งจารึกว่า เมืองนครลำปาง แต่เมื่อมีการปฏิรูปบ้านเมืองจากมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ปรากฏว่า ชื่อของเมืองนครลำปาง ได้กลายมาเป็นจังหวัดลำปาง มาจนกระทั่งทุกวันนี้


ประวัติความเป็นมาของเมืองนครลำปาง

เรื่องราวของเมืองนครลำปางในยุคแรกๆ หรือยุคเมืองเขลางค์นั้น ส่วนใหญ่ทราบหลักฐานในตำนาน ชินกาลบาลีปกรณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงประวัติการสร้างเขลางค์ ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ว่า

ในราว พ.ศ.๑๒๐๐ พระสุเทวฤษี ซึ่งอาศัยอยู่ที่ดอยสุเทพได้เชิญชวนให้พระสุกทันตฤษีแห่งละโว้ มาช่วยกันสร้างเมืองนครหริภุญไชย เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงไปทูลขอผู้ปกครองจากพระเจ้านพราชกษัตริย์แห่งละโว้ (ลพบุรี) ซึ่งได้ประทานพระนางจามเทวี ราชธิดาให้มาเป็นผู้ปกครอง พร้อมกับนำพระภิกษุสงฆ์ผู้รอบรู้ในพระไตรปิฎก พรามณ์โหรา นักปราชญ์ราชบัณฑิต แพทย์ ช่างฝีมือ เศรษฐี คหบดีอย่างละ ๕๐๐ คนมาด้วย ขณะนั้นพระนางทรงครรภ์ เมื่อมาถึงได้ราว ๓ เดือน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝด ผู้พี่ทรงพระนามว่า "เจ้ามหันตยศกุมาร" ส่วนผู้น้องทรงพระนามว่า "เจ้าอนันตยศกุมาร" เมื่อพระโอรสทั้ง ๒ ทรงเจริญวัยขึ้น ประกอบกับพระนางชราภาพมากแล้ว จึงได้ทำพิธีราชาภิเษกให้ เจ้ามหันตยศกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์ ครองเมืองหริภุญไชย ส่วนเจ้าอนันตยศกุมารทรงดำรงตำแหน่ง อุปราช

ตำนานเล่าว่า เมื่อพระนางจามเทวีได้ราชาภิเษก ให้เจ้ามหันตยศกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองหริภุญไชยแล้ว ฝ่ายเจ้าอนันตยศกุมารก็ปรารถนาอยากไปครองเมืองแห่งใหม่ จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลให้พระมารดาได้ทรงทราบ พระนางทรงแนะนำให้ไปหา ฤษีวาสุเทพ เพื่อขอให้สร้างเมืองถวาย แต่ฤษีวาสุเทพได้แนะนำให้ไปหาพรานเขลางค์ซึ่งอยู่ที่ภูเขาบรรพต ดังนั้นพระเจ้าอนันตยศจึงพาข้าราชบริพารเสด็จออกจากหริภุญไชยไปยังเขลางค์บรรพต ครั้นเมื่อพบพรานเขลางค์แล้ว ก็ทรงขอให้นำไปพบพระสุพรหมฤษีบนดอยงามหรือภูเขาสองยอด แล้วขออาราธนาช่วยสร้างบ้านเมืองให้ พระสุพรหมฤษีจึงขึ้นไปยังเขลางค์บรรพตเพื่อมองหาชัยภูมิสร้างเมือง เมื่อมองไปทางยังทิศตะวันตกของแม่น้ำวังกนที ก็เห็นสถานที่แห่งหนึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม จึงได้สร้างเมืองขึ้นที่นั่น โดยกำหนดให้กว้างยาวด้านละ ๕๐๐ วาแล้วเอาศิลาบาตรก้อนหนึ่งมาตั้งเป็นหลักเมืองเรียกว่า "ผาบ่อง" เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงขนานนามตามชื่อ ของนายพระหมผู้นำทางและมีส่วนร่วมในการช่วยสร้างเมืองว่า "เขลางค์นคร" และยังมีชื่อเรียกในตำนานกุกุตนครว่า"ศิรินครชัย" อีกนามหนึ่ง

ภายหลังสร้างเมืองแล้วเสร็จ พระเจ้าอนันตยศได้ทรงราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "พระเจ้าอินทรเกิงการ" พระองค์ครองเมืองเขลางค์อยู่ได้ไม่นาน ก็ทรงมีความรำลึกถึงมารดา จึงได้ทูลเชิญเสด็จพระนางจามเทวี พร้อมทั้งสมณชีพราหมณ์ มายังเมืองเขลางค์นคร ทรงสร้างเมืองให้พระราชมารดาประทับอยู่เบื้องปัจฉิมทิศแห่งเขลางค์นคร ให้ชื่อว่า "อาลัมพางค์นคร"


เรื่องราวเกี่ยวกับที่ตั้งของเมืองเขลางค์นคร

เมื่อสำรวจผังเมือง จากภาพถ่ายทางอากาศและการสำรวจภาคพื้นดิน รวมทั้งการศึกษาเรื่องราวในตำนานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเมืองเขลางค์พบว่า ผังเมืองอันเป็นที่ตั้งของเมืองเขลางค์แบ่งออกเป็น ๓ ยุคได้แก่

ยุคแรกยุคสมัยจามเทวี

ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงเหนือ สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๑๒๒๓ โดยพระสุพรหมฤษีสร้างถวายพระเจ้าอนันตยศกุมารหรือ อินทรเกิงการ โอรสของพระนางจามเทวี เป็นเมืองคู่แฝดของเมืองหริภุญไชย ผังเมืองมีลักษณะคล้ายรูปหอยสังข์ (สมุทรสังขปัตตสัณฐาน) กำแพงเมืองชั้นบนเป็นอิฐ ชั้นล่างเป็นคันดิน ๓ ชั้น สันนิษฐานว่ากำแพงอิฐที่สร้างบนกำแพงดินเป็นการต่อเติมในสมัยหลัง มีความยาววัดโดยรอบ ๔,๔๐๐ เมตร สร้างในพื้นที่ประมาณ ๖๐๐ ไร่ มีประตูเมืองสำคัญ ๆ ได้แก่ ประตูม้า ประตูผาป่อง ประตูท่านาง ประตูต้นผึ้ง ประตูป่อง ประตูนกกดและประตูตาล

ปูชนียสถานที่สำคัญได้แก่ วัดพระแก้วดอนเต้า ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๗๙ - ๒๐๑๑ นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานสำคัญอีกหลายแห่งได้แก่ วัดอุโมงค์ซึ่งเป็นวัดร้าง อยู่บริเวณประตูตาล ส่วนวัดที่อยู่นอกกำแพงเมืองได้แก่ วัดป่าพร้าว อยู่ทางด้านเหนือ วัดพันเชิง วัดกู่ขาวหรือเสตกุฎาราม ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระสิกขีปฏิมากร ในสมัยพระนางจามเทวี วัดกู่แดง วัดกู่คำ อยู่ทางทิศตะวันตก ในปัจจุบันนี้บริเวณวัดพันเชิงและวัดกู่แดง ถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพของโบราณอยู่อีกต่อไป ระหว่างวัดกู่ขาวมายังเมืองเขลางค์มีแนวถนนโบราณ ทอดเข้าสู่ตัวเมืองทางประตูตาล สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ขณะมาประทับอยู่ในเขลางค์นคร แนวถนนโบราณนี้ยังใช้เป็นคันกั้นน้ำป่าเพื่อทดน้ำเข้าสู่คูเมืองและแบ่งเข้าไปใช้ในตัวเมืองด้วย ระดับคูน้ำจะสูงกว่าแม่น้ำสายใหญ่ เมืองในยุคนี้มีการเก็บน้ำไว้ในคอรอบทิศ โดยให้มีระดับสูงกว่าแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลผ่านบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นแบบเฉพาะเมืองรูปหอยสังข์ยุคนี้เท่านั้น

เมืองเขลางค์เป็นเมืองคู่แฝดกับเมืองหริภุญไชย มีชื่อในตำนานว่า เมืองละกอน หรือลคร ภายหลังจากสมัยพระเจ้าอนันตยศแล้ว สภาพของเมืองฝาแฝดกับหริภุญไชยก็หมดไป สันนิษฐานว่า เขลางค์นครมีเจ้าผู้ครองต่อมาอีกประมาณ ๕๐๐ ปีแต่ไม่ปรากฏพระนามในหลักฐานหรือเอกสารใดๆ จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๑๗๕๕ ได้ปรากฏชื่อของเจ้านายเมืองเขลางค์พระองค์หนึ่งมีพระนามว่า เจ้าไทยอำมาตย์แห่งเขลางค์ ได้แย่งชิงอำนาจจากพระยาพิณไทย เจ้าเมืองลำพูนแล้วสถาปนาพระองค์ปกครองหริภุญไชยสืบต่อกันมาถึง ๑๐ รัชกาล จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบา ก็สูญเสียอำนาจให้แก่พญามังราย ใน พ.ศ. ๑๘๔๔


ยุคที่สองสมัยลานนาไทย

เมืองเขลางค์ยุคที่ ๒ เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยลานนาไทย มีเนื้อที่ประมาณ ๑๘๐ ไร่ กำแพงยาว ๑,๑๐๐ เมตร ตั้งอยู่ในตำบลเวียงเหนือ อยู่ถัดจากเมืองเขลางค์ยุคแรกลงมาทางใต้ เป็นเมืองที่ก่อกำแพงด้วยอิฐ ประตูเมืองที่มีชื่อปรากฏคือ ประตูเชียงใหม่ ประตูนาสร้อย ประตูปลายนาอันเป็นประตูที่อยู่ร่วมกับประตูนกกต ตอนท่อนหัวสังข์ของตัวเมืองเก่าและประตูป่อง ที่ประตูป่องยังคงมีซากหอรบรุ่นสมัยเจ้าคำโสมครองเมืองลำปาง ซึ่งได้ใช้เป็นปราการต่อสู้กับพม่าครั้งสำคัญ ในปี พ.ศ. ๒๓๓๐ พม่าล้อมเมืองอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งกองทัพทางกรุงเทพฯ ยกขึ้นมาช่วยขับไล่พม่าแตกพ่ายไป
โบราณสถานสำคัญในเมืองเขลางค์ยุคที่ ๒ ได้แก่วัดปลายนาซึ่งเป็นวัดร้างและวัดเชียงภูมิ หรือวัดปงสนุกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อลิ้นก่านที่ดำน้ำชิงเมืองแข่งกับเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว (บิดาของเจ้า ๗ ตน) แต่เจ้าลิ้นก่านแพ้จึงถูกพม่าประหารชีวิต สันนิษฐานว่าพระเจ้าลิ้นก่านคงจะเป็นเจ้าสกุลล้านนาไทยองค์สุดท้ายที่อยู่ในเมืองเขลางค์

เมืองเขลางค์สมัยลานนาไทย ได้รวมเอาเมืองเขลางค์ยุคแรก (เมืองรูปหอยสังข์) กับเมืองเขลางค์ยุคใหม่เช้าด้วยกัน ตั้งอยู่เขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวัง ซึ่งเรียกกันอย่างแพร่หลายในตำนานต่าง ๆ ของทางเหนือว่า"เมืองละกอน"



ความสำคัญของเมืองละกอนในสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๑๘๓๙ - ๒๑๐๑)
เมื่อพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี ในปี พ.ศ.๑๘๓๙ แล้ว ได้แผ่ขยายอิทธิพลมาครอบครองลำพูนและเมืองลคร (เขลางค์) กล่าวคือในพ.ศ. ๑๘๔๔ พระเจ้าเม็งรายโปรดให้ขุนคราม โอรส ยกกองทัพไปตีเมืองลำพูน พระยายีบาสู้ไม่ได้ จึงอพยพหนีมาพึ่งพระยาเบิกพระอนุชาที่เมืองลคร (เขลางค์) กองทัพของพญามังรายซึ่งมีขุนครามเป็นแม่ทัพ ได้ยกติดตามมาประทะกับกองทัพของพระยาเบิกที่ริมน้ำแม่ตาล ปรากฏว่าพระยาเบิกเสียชีวิตในการสู้รบ ส่วนพระยายีบาเจ้าเมืองลำพูน ได้พาครอบครัวหนีไปพึ่งเจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก ) ประทับอยู่ที่นั่นจนสิ้นพระชนม์ จึงสิ้นวงศ์เจ้าผู้ครองเขลางค์ยุคแรก

ส่วนเรื่องราวในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมต่อไปอีกว่า ภายหลังจากที่พญามังรายได้รับชัยชนะต่อพระยาเบิกแล้ว ได้แต่งตั้งชาวมิลักขะเป็นเจ้าเมืองแทน เจ้าเมืองคนใหม่พยายามชักชวนชาวเมืองเขลางค์สร้างเมืองใหม่ ซึ่งกลายเป็นเมืองเขลางค์ยุค ๒ หลังจากนี้ก็มีเจ้าผู้ครองนครซึ่งมียศเป็นหมื่นปกครองสืบต่อกันมา เป็นเวลานาน จนกระทั่งสิ้นราชวงศ์มังราย พม่าก็แผ่อิทธิพลเข้ามาแทนที่ในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง

เมืองนครลำปางเป็นหัวเมืองสำคัญของลานนาไทยมาจนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าแห่งหงสาวดีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองลานนาไทยใน พ.ศ. ๒๑๐๑ ซึ่งสัญลักษณ์แห่งอำนาจของบุเรงนองยังปรากฏอยู่ทั่วไป ได้แก่ไม้แกะสลักรูปหงส์ประจำวัดต่าง ๆ (หมายถึงหงสาวดี) นับตั้งแต่นั้นมา นครลำปางตกอยู่ภายใต้อำนาจของพม่าเป็นเวลานานร่วม ๆ ๒๐๐ ปีเศษ (พ.ศ.๒๑๐๑ - ๒๓๑๗) และบางครั้งก็อยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยาบ้างเช่น สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น




ที่มา : สำนักงานจังหวัดลำปาง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือตอนบน(ล้านนา)

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 18 ม.ค. 2015 7:16 am

พะเยา เมืองภูกามยาว

e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b896e0b988e0b8b2e0b8a20250_d9c858e8162e98e454afbd2ecf761059.jpg
e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b896e0b988e0b8b2e0b8a20250_d9c858e8162e98e454afbd2ecf761059.jpg (359.67 KiB) เปิดดู 6603 ครั้ง



พะเยา เป็นเมืองประวัติศาสตร์ เดิมมีชื่อว่า เมืองภูกามยาว หรือ พยาว มีเอกราชสมบูรณ์ มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันติวงศ์มา ปรากฎตามตำนานเมืองพะเยา กษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์เมืองภูกามยาว มีดังนี้

ขุนจอมธรรม
ขุนจอมธรรม เป็นพระราชโอรสของขุนเงินหรือลาวเงิน กษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสน เมื่อ พุทธศักราช ๑๖๐๒ (จุลศักราช ๔๒๑) พ่อขุนเงินหรือลาวเงิน ดำริให้พระราชโอรส ๒ องค์ คือ ขุนชิน ให้อยู่ในราชสำนักครองนครเงินยางเชียงแสน และ ขุนจอมธรรม โอรสองค์ที่ ๒ให้ปกครองเมืองภูกามยาว ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้
ขุนจอมธรรมพร้อมข้าราชการบริวาร ขนเอาพระราชทรัพย์ บรรทุกม้า พร้อมพลช้าง พลม้า ตามเสด็จถึงเมืองภูกามยาว และตั้งรากฐานเมืองใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณเมืองหนึ่ง นามว่า “สีหราช” อยู่เชิงเขาชมภูหางดอยด้วน ลงไปจรดฝั่งแม่น้ำสายตา มีสัณฐานคล้ายลูกน้ำเต้า มีหนองน้ำใหญ่อยู่ทางตะวันตก (อันหมายถึงกว๊านพะเยาในปัจจุบัน) และทางทิศอีสาน คือ หนองหวีและหนองแว่นต่อมารวมไพร่พลหัวเมืองต่าง ๆ ได้ ๘๐,๐๐๐ คน จัดแบ่งได้ ๓๖ พันนา นาละ ๕๐๐ คน มีเขตแคว้นแดนเมืองในครั้งกระโน้น ดังนี้
ทิศบูรพา จรดขุนผากาดจำบอน ตาดม้าน บางสีถ้ำ ไทรสามต้น สบห้วยปู น้ำพุง สบปั๋ง ห้วยบ่อทอง ตาดซาววา กิ่วแก้ว กิ่วสามช่อง มีหลักหินสามก้อนฝังไว้ กิ่วฤาษี แม่น้ำสายตา กิ่วช้าง กิ่วง้ม กิ่วเปี้ย ดอยปางแม่นา
ทิศตะวันตก จรดโป่งปูดห้วยแก้วดอยปุย แม่คาว ไปทางทิศใต้ กิ่วรุหลาว ดอกจิกจ้อง ขุนถ้ำ ดอยตั่ง ดอยหนอก ผาดอกวัว แซ่ม่าน ไปจรดเอาดอยผาหลักไก่ทางทิศหรดี
ทิศใต้สุดจรดนครเขลางค์และนครหริภุญชัย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือต่อแดนขรนคร (เชียงของ)
มีเมืองในอำนาจปกครอง คือ เมืองงาว เมืองกาว สะเอียบ เชียงม่วน เมืองเทิง เมืองสระ เมืองออย สะสาว เมืองดอบ เชียงคำ เมืองลอ เมืองเชียงแลง เมืองหงาว แซ่เหียง แซ่ลุล ปากบ่อง เมืองป่าเป้า เมืองวัง แซ่ซ้อง เมืองปราบ แซ่ห่ม
ขุนจอมธรรมปกครองไพร่ฟ้าประชาชน โดยตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม และยึดมั่นในบวรพุทธศาสนา บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองด้วยโภคสมบัติ ฟ้าฝนตกตามฤดูกาล ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน ซื่อสัตย์สุจริตต่อกัน ไม่มีสงคราม เจ้าประเทศราชต่าง ๆ มีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ทรงสั่งสอนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยหลักธรรม ๒ ประการ คือ อปริหานิยธรรม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๑ ประเพณีธรรมขนบธรรมเนียมอันเป็นระเบียบแบบแผนอันดีงานของครอบครัว ๑
ขุนจอมธรรมครองเมืองพะเยาได้ ๒ ปี มีโอรส ๑ พระองค์ โหรถวายคำพยากรณ์ว่า ราชบุตรองค์นี้จะเป็นจักรพรรดิราชปราบชมพูทวีป มีบุญญาธิการมากเวลาประสูติ มีของทิพย์เกิดขึ้น ๓ อย่าง คือ แส้ทิพย์ พระแสงทิพย์ คณโฑทิพย์ จึงให้พระนามว่า “ขุนเจื๋อง” ต่อมาอีก ๓ ปี ได้ราชบุตรอีกพระนามว่า “ขุนจอง” หรือ “ชิง”
ขุนจอมธรรมปกครองเมืองพะเยาได้ ๒๔ ปี พระชนมายุได้ ๔๙ พรรษา

พระยาเจื๋องธรรมมิกราช หรือ ขุนเจื๋อง
พระยาเจื๋องธรรมมิกราช หรือ ขุนเจื๋อง ประสูติเมื่อปีพุทธศักราช ๑๖๔๑ เป็นโอรสของขุนจอมธรรม เมื่อเจริญวัยขึ้น ทรงศึกษาวิชายุทธศาสตร์ เช่น วิชาดาบ มวยปล้ำ เพลงชัย จับช้าง จับม้า และเพลงอาวุธต่าง ๆ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ปี พาบริวารไปคล้องช้างที่เมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่าน เห็นความสามารถแล้วพอพระทัย ยกธิดาชื่อ “จันทร์เทวี” ให้เป็นชายาขุนเจื๋อง พระชนมายุได้ ๑๗ ปี พาบริวารไปคล้องช้างที่เมืองแพร่ เจ้าผู้ครองเมืองแพร่พอพระทัย จึงยกธิดาชื่อ “นางแก้วกษัตริย์” ให้เป็นชายา พระราชทานช้าง ๒๐๐ เชือก
ขุนเจื๋องครองราชย์สืบแทนขุนจอมธรรมเมื่อพระชนมายุ ๒๔ ปี ครองเมืองได้ ๖ ปี มีข้าศึกแกว (ญวน) ยกทัพมาประชิดนครเงินยางเชียงแสน ขุนชินผู้เป็นลุง ได้ส่งสาส์นขอให้ส่งไพร่พลไปช่วย ขุนเจื๋องได้รวบรวบรี้พลยกไปชุมนุมกันที่สนามดอนไชยหนองหลวง และเคลื่อนทัพเข้าตีข้าศึกแตกกระจัดกระจายไป เมื่อขุนชินทราบเรื่องก็เลื่อมใสโสมนัสยิ่งนัก ทรงยกธิดาชื่อ “พระนางอั๊วคำคอน” ให้และสละราชสมบัตินครเงินยางเชียงแสนให้ขุนเจื๋องครองแทน เมื่อขุนเจื๋องได้ครองราชเมืองเงินยางแล้ว ทรงพระนามว่า “พระยาเจื๋องธรรมมิกราช” ได้มอบสมบัติให้โอรสชื่อ“ลาวเงินเรือง” ครองเมืองพะเยาแทน หัวเมืองใหญ่น้อยเหนือใต้ยอมอ่อนน้อม ได้ราชธิดาแกวมาเป็นชายานามว่า “นางอู่แก้ว”
ขุนเจื๋องมีโอรส ๓ พระองค์คือ ท้าวผาเรือง ท้าวคำห้าว และท้าวสามชุมแสง ต่อมายกราชสมบัติเมืองแกวให้ท้าวผาเรือง ให้ท้าวคำห้าวไปครองเมืองล้านช้าง ท้าวสามชุมแสงไปครองเมืองน่าน ต่อมาได้โยธาทัพเข้าตีเมืองต่างๆ ที่ยังไม่ยอมสวามิภักดิ์ ทรงชนช้างกับศัตรูเสียทีข้าศึกเพราะชราภาพ จึงถูกฟันคอขาดและสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง พวกทหารจึงนำพระเศียรไปบรรจุไว้ที่พระเจดีย์เมืองเหรัญนครเชียงแสน
ขุนเจื๋องครองราชย์สมบัติครองแคว้นล้านนาไทยได้ ๒๔ ปี ครองเมืองแกวได้ ๑๗ ปี รวมพระชนมายุ ๖๗ ปี ฝ่ายท้าวจอมผาเรืองราชบุตรขึ้นครองราชสมบัติเมืองพะเยาได้ ๑๔ ปี ก็ถึงแก่พิราลัย ขุนแพงโอรสครองราชย์ แทนได้ ๗ ปี ขุนซอง ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า แย่งราชสมบัติ และได้ครองราชย์เมืองพะเยาต่อมาเป็นเวลา ๒๐ ปี และมีผู้ขึ้นครองราชสืบต่อมา


พ่อขุนงำเมือง
พ่อขุนงำเมือง เป็นกษัตริย์เมืองพะเยาองค์ที่ ๙ นับจากพ่อขุนจอมธรรม ประสูติเมื่อพุทธศักราช ๑๗๘๑ เป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง สืบเชื้อสายมาจากท้าวจอมผาเรือง เมื่อพระชนมายุ ๑๔ ปี พระราชบิดาส่งไปศึกษาเล่าเรียนศิลปะศาสตร์เทพในสำนักเทพอิสิตนอยู่ภูเขาดอยด้วน ๒ ปี จึงจบการศึกษา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ปี พระราชบิดาส่งไปศึกษาต่อ ขอถวายตัวอยู่ในสำนักสุกันตฤาษี ณ กรุงละโว้ (ลพบุรี) จึงได้รู้จักคุ้นเคยกับ พระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย สนิทสนมผูกไมตรีต่อกันอย่างแน่นแฟ้น ศึกษาศิลปศาสตร์ร่วมครูอาจารย์เดียวกันเป็นสหายกันตั้งแต่นั้นมา ทรงเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์เช่นเดียวกับพระร่วงเจ้า เมื่อเรียนจบก็เสด็จกลับเมืองพะเยา ปีพุทธศักราช ๑๓๑๐ พระราชบิดาสิ้นพระชนม์ จึงครองราชย์สืบแทน
ตำนานกล่าวถึงพ่อขุนงำเมืองไว้ตอนหนึ่งว่า ทรงเป็นศรัทธาเลื่อมใสใน พระพุทธศาสนา ไม่ชอบสงคราม ปกครองบ้านเมืองด้วยความเที่ยงธรรม ผูกไมตรีจิตต่อประเทศราช และเพื่อนบ้าน ขุนเม็งรายเคยคิดยกทัพเข้าบดขยี้เมืองพะเยา พ่อขุนงำเมืองล่วงรู้เหตุการณ์ ก่อนแทนที่จะยกทัพเข้าต่อต้าน ได้สั่งไพร่พลให้อยู่ในความสงบ สั่งให้เสนาอำมาตย์ออกต้อนรับโดยดี เชิญขุนเม็งรายเสวยพระกระยาหารและเลี้ยงกองทัพให้อิ่ม ขุนเม็งรายจึงเลิกการทำสงคราม แต่นั้นมา พ่อขุนงำเมือง จึงยกเมืองปลายแดน ซึ่งมีเมืองพาน เมืองเชี่ยงเคี่ยน เมืองเทิง และเมืองเชียงของ ให้แก่พระเจ้าเม็งราย และทำสัญญาปฏิญาณต่อกันจะเป็นมิตรต่อกันตลอดไป


ฝ่ายพระยาร่วงซึ่งเป็นสหายคนสนิทก็ได้ถือโอกาสเยี่ยมพ่อขุนงำเมืองปีละ ๑ ครั้ง ส่วนใหญ่เสด็จในฤดูเทศกาลสงกรานต์ ได้มีโอกาสรู้จักขุนเม็งรายทั้ง ๓ องค์ ได้ชอบพอเป็นสหายกัน เคยหันหลังเข้า พิงกันกระทำสัจจปฏิญาณแก่กัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำขุนภู ว่าจะไม่ผูกเวรแก่กัน จะเป็นมิตรสหายกัน กรีดโลหิตออกรวมกันขันผสมน้ำ ทรงดื่มพร้อมกัน (ภายหลังแม่น้ำนี้ได้ชื่อว่า แม่น้ำอิง)
พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอุปฐากพระธาตุจอมทองซึ่งตั้งอยู่บนดอยจอมทอง ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพะเยา ที่ประชาชนสักการะบูชามาจนตราบเท่าทุกวันนี้
พ่อขุนงำเมืองสิ้นพระชนมเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๑๖ โอรส คือ ขุนคำแดง สืบราชสมบัติแทน ขุนคำแดงมีโอรสชื่อ ขุนคำลือ ซึ่งครองราชสมบัติแทนต่อมา


เมืองพะเยาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นล้านนาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (หลัง พ.ศ. ๑๘๐๐ ) ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพระยาคำฤาบุตรพระยาคำแดง (สุวรรณสามราช) เป็นเจ้าเมืองครองเมืองพะเยาเป็นลำดับที่ ๑๔ ตั้งแต่ขุนจอมธรรมเป็นต้นมา และเป็นลำดับที่ ๓ ตั้งแต่พญางำเมืองมา พญาคำฟูแห่งเมืองเชียงแสน คบคิดกับเจ้าเมืองน่านทำศึกขนาบเมืองพะเยา เข้าสมทบกองทัพกันไปรบเมืองพะเยา ครั้งนั้นกองทัพพระยาคำฟูเข้าเมืองพะเยาได้ก่อน ได้ผู้คนช้างม้าและทรัพย์สิ่งของ เป็นอันมาก ก็มิได้แบ่งปันให้พระยากาวน่าน พระยากาวน่านขัดใจจึงยกกองทัพเข้ารบกับพระยาคำฟู พระยาคำฟูเสียที ล่าทัพหนีกลับมาเมืองเชียงแสน กองทัพน่านยกเลยไปตีปล้นเอาเมืองฝางได้ พระยาคำฟูก็ยกกองทัพใหญ่ไปตีกองทัพน่านยังเมืองฝาง กองทัพเมืองน่านสู้กำลังไม่ได้ก็เลิกถอยกลับไปเมืองน่าน พระยาคำฟูก็เลิกทัพกลับมาเมืองเชียงแสน นับแต่นั้นมา เมืองพะเยาก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา แล้วถูกลดฐานะเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่ขึ้นอยู่กับเมืองเชียงราย


เมืองพะเยาภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา

ตำนานที่กล่าวถึงเมืองพะเยา มีปรากฏในยุคของกษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรล้านนา มีดังนี้

พระเจ้าติโลกราช
พระเจ้าติโลกราช ครองอาณาจักรล้านนา ในช่วงพุทธศักราช ๑๙๘๕ - ๒๐๓๐ มีการทำสงครามขยายพระเดชานุภาพนับได้หลายครั้งตลอดรัชสมัย ทรงตีเมืองฝาง เมืองน่าน เมืองยอง ไทลื้อ เมืองหลวงพระบาง เมืองของหลวง เมืองของน้อย เมืองเชียงรุ่ง (ปัจจุบัน คือ แคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน) เมืองลอง เมืองตุ่น เมืองแช่ เมืองอิง เมืองนาย ไลค่า ล๊อกจ๊อก เชียงทอง เมืองปั่น หนองบอน ยองห้วย เมืองสู่ เมืองจีด เมืองจาง เมืองกิง จำคา เมืองพุย สีป้อ เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และมีเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ มาสวามิภักดิ์ อาทิ เมืองเชลียง เมืองสองแคว (พิษณุโลก) อาณาจักรล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช มีอาณาเขตกว้างขวาง โดยทิศเหนือจรดเมืองเชียงรุ้ง (เชอหลี่ใหญ่หรือจิ่งหง )สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ภาคใต้ของประเทศจีน และเมืองเชียงตุง(เชอหลี่น้อยหรือเขมรัฐ) ทิศตะวันตกจรดรัฐฉาน ฝั่งตะวันตกแม่น้ำสาละวิน ติดพรมแดนมู่ปางหรือแสนหวี คือเมืองสีป้อ เมืองนาย เมืองไลค่า เมืองเชียงทอง รวมกว่า ๑๑ เมือง ทางทิศตะวันออกจรดล้านช้าง ประเทศลาว ทิศใต้จรด ตาก เชลียง (ศรีสัชนาลัย) เชียงชื่น (สวรรคโลก)
พระเจ้าติโลกราชทรงปกครองอาณาจักรล้านนาเป็นระยะเวลา ๔๖ ปี บ้านเมืองมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและได้รับการทำนุบำรุงเป็นอย่างดี พระสงฆ์แตกฉานภาษาบาลี มีการตรวจชำระพระไตรปิฎกหรือสังคายนา เป็นครั้งที่ ๘ ของโลก ณ วัดเจ็ดยอด อ.เมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๐๒๐


พระยายุธิษฐิระ
พระยายุธิษฐิระ หรือ พระยาสองแควเก่า เป็นพระโอรสของ พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (พระบรมปาล) แห่งแคว้นสุโขทัย ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๔ เมืองสุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอย่างสมบูรณ์
เมื่อพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) กษัตริย์อยุธยาเสด็จสวรรคต พระราเมศวรพระราชโอรส ขณะนั้นทรงเป็นเจ้าเมืองสองแควอยู่ (ขณะนั้นเมืองสองแควมีความสำคัญรองจากอยุธยาในฐานะเป็นเมืองลูกหลวง) เสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา แล้วเถลิงพระนามเป็น "สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ" และให้พระยายุธิษฐิระเป็นเจ้าเมืองสองแควแทน ตามหลักฐานในตำนานสิบห้าราชวงศ์เชียงใหม่และพงศาวดารโยนกได้กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า ก่อนที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจะเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงสัญญาไว้กับพระยายุธิษฐิระว่า ถ้าพระองค์ได้เป็นกษัตริย์อยุธยาแล้ว จะทรงแต่งตั้งให้พระยายุธิษฐิระ ผู้เป็นพระญาติทางฝ่ายมารดา เป็นอุปราชครองแคว้นสุโขทัยทั้งหมด แต่เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว หาได้ทรงกระทำตามสัญญาไม่ กลับโปรดฯ ให้พระยายุธิษฐิระเป็นเพียงแค่เจ้าเมืองสองแควเท่านั้น นอกจากนั้น พระองค์ทรงจัดให้มีการปฏิรูปการปกครองโดยลด ความสำคัญในฐานะเมืองลูกหลวงของเมืองสองแควลง พร้อมยกเลิกประเพณีการแต่งตั้งเจ้านายหรือพระญาติให้มาปกครองเมืองสำคัญ ทำให้เจ้านายเชื้อพระวงศ์สุโขทัยสูญเสียอำนาจและถูกลดบทบาทลง พระยายุธิษฐิระในฐานะเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ไม่พอพระทัย จึงเกิดความขัดแย้งรุนแรงกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในที่สุดพระยายุธิษฐิระตัดสินพระทัยหันไปสวามิภักดิ์กับพระเจ้าติโลกราช และช่วยพระเจ้าติโลกราชทำสงครามรบกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเพื่อชิงดินแดนสุโขทัยกลับคืนจากอยุธยา สงครามยืดเยื้อถึง ๗ ปีจึงสงบลง กองทัพล้านนาของพระเจ้าติโลกราชสามารถยึดครองเมืองสำคัญของสุโขทัยได้ครึ่งหนึ่ง เช่น เมืองทุ่งยั้ง เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย ส่วนอยุธยาได้เมืองสองแคว เมืองกำแพงเพชร เมืองพิชัย เมืองนครไทย
พระยายุธิษฐิระทรงได้รับปูนบำเน็จจากพระเจ้าติโลกราชโปรดชุบเลี้ยง ในตำแหน่งพระโอรสบุญธรรม ให้ครองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย รวมถึงพะเยาซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายอาคเนย์ ซึ่งรวมอาณาบริเวณเมืองพร้าว เมืองงาว และกาวน่าน การที่พระเจ้าติโลกราชทรงมอบ เมืองพะเยาและกาวน่าน ให้พระยายุทธิษฐิระ ปกครองนั้น อันเนื่องมาจาก กลุ่มหัวเมืองอาคเนย์นี้เป็นหัวเมืองที่ได้มาใหม่ เจ้าเมืองกาวน่านเดิมมีเชื้อสายพระร่วงเจ้าทางราชนิกูล ส่วนทางเมืองพะเยา ก็ให้ความเคารพพระร่วงเจ้าสุโขทัยมาแต่ครั้งพ่อขุนงำเมืองนั่นเอง ต่อมาเมื่อเสียสุโขทัยและศรีสัชนาลัยแก่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระยายุทธิษฐิระได้รับโปรดฯให้ไปเป็นเจ้าสี่หมื่นครองเมืองพะเยา และหัวเมืองอาคเนย์
พระยายุธิษฐิระ ทรงทรงทำนุบำรุงเมืองพะเยาเป็นอย่างมาก เริ่มตั้งแต่ทรงสร้างเวียงใหม่ ที่บ้านพองเต่า สร้างวัดป่าแดงหลวง (ปัจจุบัน ราชการได้ประกาศรวมกับวัดดอนไชยบุนนาค ที่อยู่ติดกันเป็นวัดเดียวกัน ชื่อว่า วัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุนนาค) ทรงหล่อพระพุทธรูปหลวงพ่อนาค รวมถึงอัญเชิญพระพุทธรูปแก่นจันทน์ จากเมืองแจ้ตาก และ รอยพระพุทธบาท จากสุโขทัย มาประดิษฐานในเวียงใหม่ของพระองค์
จวบจนในปี ๒๐๒๒ ทรงมีคดีกับพระเจ้าติโลกราช จึงทรงถูกถอดยศเจ้าเมืองออก แต่ยังได้ความปราณี ยังคงชุบเลี้ยงในฐานะพระโอรสบุญธรรมต่อไป ส่วนเมืองพะเยา พระเจ้าติโลกราชทรงเวนราชสมบัติให้นางเจ้าหมื่นเมืองพะเยาปกครองต่อ


ยุครุ่งเรืองของเมืองพะเยา ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา คือ มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดทางศิลปและวิทยาการในช่วงเวลาประมาณ ๑๐๐ ปี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (หรือหลัง พ.ศ. ๒๐๐๐) ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (หรือหลัง พ.ศ. ๒๑๐๐) หรืออาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า เริ่มที่ยุคพระยายุทธิษฐิระเป็นเจ้าครองเมือง แล้วสิ้นสุดลงก่อนที่ อาณาจักรล้านนาจะถูกพม่ายึดครองเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๑ ซึ่งพม่าเข้าครอบครองเมืองเชียงใหม่และดินแดนล้านนาทั้งหมด พร้อมกวาดต้อนผู้คนไปด้วย ทำให้บ้านเมืองต่าง ๆ ร่วงโรยลง เมื่อพระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ อำนาจของพม่าซี่งปกครองที่เมืองเชียงใหม่อ่อนแอลง และบางครั้งก็ถูกกองทัพจากกรุงศรีอยุธยายกมารบกวนซ้ำอีก ทำให้บ้านเมืองต่าง ๆ ในดินแดนล้านนา คิดตั้งตัวเป็นอิสระแล้วแย่งชิงความกันเป็นใหญ่ จนเกิดความวุ่นวายทั่วไป ด้วยเหตุนี้เอง ฐานะและความสำคัญของเมืองพะเยาจึงหายจากดินแดนล้านนาราวกับร้างผู้คนไป


เมืองพะเยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีดังนี้

ปี พ.ศ. ๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ยึดเมืองเชียงใหม่สำเร็จ และโปรดให้พระเจ้ากาวิละเป็น เจ้าเมืองลำปาง ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของฝ่ายไทยเพื่อต่อต้านพม่าที่ยังยึดครองดินแดนล้านนาบางส่วน
ปี พ.ศ. ๒๓๓๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) พม่ายกกองทัพเข้าตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ เดินทางผ่านเมืองฝาง เชียงราย เชียงแสน และพะเยา เจ้าเมืองและชาวบ้านฝ่ายล้านนาต่างพากัน ลี้ภัยอพยพไปอยู่ลำปาง ทำให้เมืองพะเยาร้างไป
ปี พ.ศ. ๒๓๘๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) พระยาน้อยอินทร์ ผู้ครองนครลำปาง กับ พระยาอุปราชมหาวงศ์ ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ทูลขอตั้งเมืองเชียงรายเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ และตั้งเมืองงาว เมืองพะเยา เป็นเมืองขึ้นของนครลำปาง ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ เจ้าหลวงวงศ์ (หรือ พุทธวงศ์) น้องชายของพระยาน้อยอินทร์ เป็น " พระยาประเทศอุดรทิศ " ผู้ครองเมืองพะเยา เจ้าหลวงยศ (หรือ มหายศ) เป็นพระยาอุปราชเมืองพะเยา เจ้าบุรีรัตนะ (หรือ แก้ว) เป็นพระยาราชวงศ์เมืองพะเยา เจ้าหลวงวงศ์นำชาวเมืองพะเยามาจากเมืองลำปาง แล้วฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นใหม่ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ทั้งสิ้น ๗ องค์ มีดังนี้

พ.ศ. ๒๓๘๖ เจ้าหลวงวงศ์ เป็นผู้นำชาวเมืองพะเยามาจากเมืองลำปาง แล้วฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ เป็นเจ้าเมืองพะเยาจนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๑ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓)
พ.ศ. ๒๓๙๒ เจ้าหลวงยศ รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ (ตรงกับสมัยรัลกาลที่ ๓-๔ )
พ.ศ. ๒๓๙๘ เจ้าหลวงบุรีขัติยวงศา รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔)
พ.ศ. ๒๔๐๓ เจ้าหอหน้าอินทรชมภู รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔-๕)
พ.ศ. ๒๔๑๘ เจ้าหลวงอริยะ รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ )
พ.ศ. ๒๔๓๖ เจ้าหลวงมหาประเทศอุดรทิศ รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕)
พ.ศ. ๒๔๔๙ เจ้าอุปราชมหาชัยศีติสาร ได้รับสัญญาบัตรเป็นพระยาประเทศอุดรทิต ดำรงตำแหน่งผู้ครองเมืองพะเยาองค์สุดท้าย (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕)

ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ถึง พ.ศ.๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้ปฏิรูปการปกครองจากแบบเดิมเป็น “มณฑลเทศาภิบาล” มีการบริหารงานเป็นกระทรวง มณฑล จังหวัด อำเภอ ผู้บริหารระดับกระทรวงเรียกว่าเสนาบดี ผู้บริหารระดับมณฑลเรียกว่าสมุหเทศาภิบาล ผู้บริหารระดับจังหวัดเรียกว่าข้าหลวงประจำจังหวัด ผู้บริหารระดับอำเภอเรียกว่านายอำเภอ เมืองพะเยาถูกปรับเปลี่ยนฐานะจาก “เมือง” เป็น “จังหวัด” เรียกว่า “จังหวัดบริเวณพะเยา” เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลลาวเฉียง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลพายัพ มีที่ว่าการมณฑลอยู่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ถูกยุบ “จังหวัดบริเวณพะเยา” ให้มีฐานะเป็น “อำเภอเมืองพะเยา” แล้วให้ เจ้าอุปราชมหาชัย ศีติสาร รักษาการในตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยา องค์สุดท้าย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ให้ยุบ “อำเภอเมืองพะเยา” เป็น “อำเภอพะเยา” อยู่ในอำนาจการปกครองจังหวัดเชียงราย
จากปี พ.ศ. ๒๔๕๗ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๐ อำเภอพะเยา มีนายอำเภอทั้งสิ้น ๒๕ นาย

การก่อตั้งจังหวัดพะเยา
ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งจังหวัดพะเยาตาม พระราชบัญญัติ เรื่อง ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๐ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๒๐
จังหวัดพะเยา ตั้งขึ้นในวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๐ ประกอบด้วยอำเภอ ๗ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ และมีนายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาคนแรก คนแรก


ที่มา สำนักงานจังหวัดพะเยา
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือตอนบน(ล้านนา)

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อังคาร 20 ม.ค. 2015 5:22 am

ประวัติศาสตร์น่าน

น่าน.jpg
น่าน.jpg (462.89 KiB) เปิดดู 2929 ครั้ง


เมืองน่านในอดีตเป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน และแม่น้ำสาขา ในหุบเขา ทางตะวันออกของภาคเหนือ


ในอดีตผืนแผ่นดินเมืองน่านเคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ย้อนหลังไปหลายพันปีก่อน จากการสำรวจแหล่งโบราณคดีพบหลักฐานการผลิตเครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราว ๔,๐๐๐ ปี ในพื้นที่ต่อเนื่องมากกว่า ๑๐ ตร.กม. และพบแหล่งผลิตเครื่องถ้วยชามเคลือบเนื้อแกร่ง ฆ้อนหิน สะเก็ดหิน เครื่องมือหินรูปร่างหยาบๆในขั้นตอนแรกๆของการผลิตหรือโกลน และเครื่องมือที่ชำรุดแตกหักเสียหายระหว่างการผลิต

ราชวงศ์ภูคาสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว
ประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. ๑๘๒๕ ภายใต้การนำของพญาภูคา เจ้าเมืองย่าง ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอย ชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ ต่อมาพญาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม ๒ คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองหลวงพระบาง) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำของ (แม่น้ำโขง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนคร(เมืองปัว) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ การที่ให้ชื่อว่าเมือง "วรนคร" ก็เนื่องมาจาก พญาภูคา ได้เลือกชัยภูมิที่ดี เหมาะสมในการสร้างเมือง เสร็จแล้วจึงขนานนามว่าเมือง "วรนคร" ซึ่งหมายถึง เมืองดี นับว่าเป็นการเริ่มต้นราชวงศ์ภูคา

เมื่อบ้านเมืองวรนครเริ่มมั่นคงเป็นปึกแผ่น เจ้าขุนฟองก็ได้เป็นพญาแล้วเสวยราชสมบัติในเมืองวรนคร ทรงมีพระโอรส ๑ พระองค์ ใส่ชื่อเบิกบายว่า "เจ้าเก้าเกื่อน" ต่อมาไม่นานักพญาขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองภูคาหรือเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ แต่เจ้าเก้าเกื่อนไม่ค่อยเต็มใจนัก เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่าง และมอบให้ชายาคือนางพญาแม่ท้าวคำปิน ซึ่งทรงครรภ์อยู่คอยปกครองดูแลรักษาเมืองวรนคร(เมืองปัว) แทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน

ในช่วงที่เมืองวรนคร (เมืองปัว) ว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่คือพญาภูคา พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองปัวทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายท่ามกลางท้องไร่นั้น ชื่อว่า "เจ้าขุนใส" ปรากฎว่านายบ้านห้วยแร้งนั้น เป็นพ่อครัวพญาเก้าเกื่อนมาก่อน จึงรับนางพญาแม่ท้าวคำปินและกุมารไปเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ อายุได้ ๑๖ ปี ก็นำไปไหว้สาพญางำเมือง เมื่อพญางำเมืองเห็น ก็มีใจรักเอ็นดูรับเลี้ยงดูไว้ แลเติบใหญ่ได้เป็นขุนนาง รับใช้พญาคำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็น เจ้าขุนใสยศ ครองเมือง เป็นเจ้าเมืองปราดภาย หลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา แล้วกลับมาเป็นพญาเสวยเมืองวรนคร (เมืองปัว) และได้รับการสถาปนาเป็น "พญาผานอง" เมืองวรนคร จึงกลายชื่อมาเป็นเมืองปัว ซึ่งหันไปมีความสัมพันธ์กับกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ดังปรากฎชื่อเมืองปัวอยู่ในหลักศิลาจารึก หลักที่ ๑

ความสัมพันธ์ด้านอารยธรรมระหว่างเมืองน่านกับกรุงสุโขทัย
พญาผานองเสวยเมืองปัวอยู่ได้ ๓๐ ปี มีโอรส ๖ คน คนแรกชื่อเจ้าการเมือง คนสุดท้องชื่อ เจ้าใส พอพญาผานองถึงแก่พิราลัยไปแล้ว เสนาอำมาตย์ทั้งหลายก็อภิเษกให้เจ้าใสผู้น้องเสวยเมืองแทน เพราะเป็นผู้มีความรู้เฉลียวฉลาด แต่อยู่ได้ ๓ ปี ก็ถึงแก่พิราลัย ไปอีก เสนาอำมาตย์ทั้งหลายจึงเชิญเจ้าการเมืองขึ้นเสวยเมืองแทน

ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัว ได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ ๗ องค์ พระพิมพ์ทองคำ ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัวด้วย

ครั้งนั้น พญาการเมือง ได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลและได้เลือกสถานที่ บรรจุพระบรมธาตุ จึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง ด้วยความเชื่อว่าเป็นที่เคยบรรจุพระบรมธาตุมาแต่ปางก่อน ดอยภูเพียงแช่แห้งเป็นเนินไม่สูงนัก ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเตี๋ยนกับน้ำลิง ทางฟากตะวันออกของแม่น้ำน่าน จึงได้ระดมผู้คนก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่เนินแล้วอัญเชิญพระบรมธาตุมาบรจุไว้ พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัว ลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า "เวียงภูเพียงแช่แห้ง" เมือปี พ.ศ. ๑๙๐๒ โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง

เวียงใต้
พญาการเมืองครองเมืองภูเพียงแช่แห้งได้นานถึง ๕ ปี ก็ถึงแก่พิราลัย หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือ พญาผากอง ขึ้นครองแทน ต่อมาอีก ๖ ปี พญาผากอง ตระหนักได้ถึงปัญหาน้ำไม่พอใช้ เพราะเวียงแช่แห้งอยู่บนเนินสูงและลำน้ำลิงที่แหล่งน้ำสำคัญนั้น มีขนาดเล็ก น้ำแห้งขอดในฤดูแล้งไม่พอกับพลเมืองที่เพิ่มขึ้น เกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณ บ้านห้วยไคร้ (ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน) เรียกว่า "เวียงน่าน" ซึ่งเมื่อมีการอพยพหนีน้ำท่วมไปเวียงเหนือจึงเรียกอีกชื่อว่า "เวียงใต้"

ในปี พ.ศ. ๑๙๑๑ พญาผากอง ครองเมืองน่านนี้อยู่ได้ ๒๑ ปี ก็ถึงแก่พิราลัย และได้มีรัชทายาทครองเมืองน่านมาอีก ๑ องค์ คือ เจ้าคำตัน และครองเมืองน่านได้ ๑๑ ปี ก็ถึงแก่พิราลัย เจ้าศรีจันตะได้ครองเมืองน่านแทน พระยาแพร่ ๒ องค์ ก็ยกทัพมาตีเมืองน่าน และครองเมืองน่านอยู่ได้ชั่วเวลาอันสั้น ราชวงศ์เมืองน่านก็ตีกลับคืนมาได้ ในสมัยเจ้าปู่เข่ง

ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๕๐ - ๑๙๖๐ ก็ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร, วัดพระธาตุเขาน้อย, วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อนพญางั่วฬารผาสุม ผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้าง พระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

เมืองน่านเข้ารวมอยู่ในอาณาจักรล้านนา
ต่อมาอีกไม่นาน แม้เมืองน่านซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ รักษาตัวอยู่รอดมาได้ตลอดสมัยสุโขทัย จนกระทั่งถึงสมัยอยุธยา แต่ทางอาณาจักรล้านนาไทย (เชียงใหม่) ก็มีกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพเกิดขึ้น นั่นคือ พระเจ้าติโลกราช และในปี พ.ศ. ๑๙๙๓ พระเจ้าติโลกราช มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่านและแหล่งเกลือบ่อเกลือสินเธาว์ ของเมืองน่าน (ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ เพื่อจะได้ส่งส่วยค้ำจุนเมืองปิงเชียงใหม่ จึงได้จัดกองทัพผ่านมาทางเมืองลอ เมืองปง เมืองควัน ดอยวาว เข้าตีและยึดเมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าว ไม่อาจต้านทาน จึงได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) ด้วยเหตุนี้ ทำให้พระเจ้าติโลกราชยกกองทัพลงมาตีเมืองชากังราว และจะเลยไปตีสุโขทัย แต่ก็ตีไม่ได้ จึงเลิกทัพกลับไป

เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนา แต่ก็ยังมีเจ้าผู้ครองนครน่านเป็นราชวงศ์ภูคาอยู่จนถึง พญาผาแสงถึงแก่พิราลัย ฐานะเมืองน่านก็เปลี่ยนเป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่นั้นมาตลอดระยะเวลาเกือบ ๑๐๐ ปี เมืองน่านอยู่ในครอบครองของ อาณาจักรล้านนา ได้ค่อย ๆ ซึมชับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนามาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัย อย่างชัดเจน ดังเช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น

จนกระทั่งมาสมัย ท้าวขาก่าน เจ้าเมืองน่านองค์ที่ ๑๘ ครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๑๙-๒๐๒๓ ได้บูรณะพระธาตุแช่แห้ง จากสภาพรกร้างเป็นจอมปลวกอยู่ในป่าไผ่ โดยการก่อสร้างเป็นเจดีย์ครอบองค์พระธาตุเดิมให้สูงขึ้นอีก ๖ วา นอกจากนั้น ยังได้ปราบญวนที่ยกมาตีเมืองน่านได้ราบคาบ ชาวเมืองน่านดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุข

เมืองน่านขึ้นพม่า
พ.ศ.๒๑๐๑ เจ้าฟ้าหงสามังตรา (บุเรงนอง) ได้ยึดเมืองเชียงใหม่เป็นประเทศราช พญาพลเทพฤชัยหนีไปเมืองล้านช้าง นับตั้งแต่นั้นมา เมืองน่านต้องขี้นตรงต่อการปกครองของพม่าที่เมืองเชียงใหม่ เป็นระยะเวลาร่วม ๒๐๐ ปีเศษในระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๐๓ - ๒๓๒๘

พญาหน่อคำเสถียรชัยสงคราม ครองเมืองน่านระหว่าง พ.ศ. ๒๑๐๓-๒๑๓๔ ไดู้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุแช่แห้ง ร่วมกับเจ้าฟ้าสาระวดี พญาเชียงใหม่ (มังนรธาช่อ-โอรสบุเรงนอง)

เจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ โอรสพญาหน่อคำ ครองเมืองน่าน พ.ศ. ๒๑๓๔-๒๑๔๖ สร้างวัดดอนแท่นที่เมืองป้อ (อำเภอเวียงสา) และสร้างวัดพรหมินทร์ ได้พยายามแข็งเมืองกับพม่า (ตรงกับสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกจับไปประหารชีวิตที่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๑๔๖

เจ้าอุ่นเมือง ครองเมืองน่าน พ.ศ. ๒๑๕๘-๒๑๖๘ และเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๗ พระเจ้าสุทโธธรรมราชยกทัพมาตีเมืองน่าน ชาวเมืองน่านจำนวนมากถูกกวาดต้อนไปไว้ที่เมืองหงสาวดี

เมืองน่านคราวเป็นจลาจล
พระยาหลวงเมืองนคร (เจ้าเมืองลำปาง) ยกกำลังจากลำปางมาชิงเมืองน่าน

เจ้าพญาแหลมมุม (พ.ศ.๒๑๙๒-๒๒๐๕) ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยายกทัพมาตีเมืองน่าน และจับตัวไป

พระเมืองราชา (พ.ศ. ๒๒๓๒-๒๒๔๖) สมคบกับลาวแสนแก้ว แข็งเมืองกับพม่า พระเจ้ากรุงอังวะรู้ข่าวจึงยกทัพมาปราบปราม เมืองน่านถูกเผาทำลายเสียหายหนัก ผู้คนหลบหนีหลบซ่อนตามป่าเขา เมืองน่านถูกทิ้งร้างไปนานร่วม ๕ ปี

เจ้าเมืองอังวะแต่งตั้งให้พญานาซ้ายรักษาเมือง เพื่อรวบรวมไพร่พลเมืองน่านที่หลบซ่อนอยู่ในป่า ให้ออกมาร่วมสร้างเมืองขึ้นใหม่

เจ้าฟ้าเมืองคอง (เงี้ยว) ครองเมืองน่านร่วมกับพญานาซ้าย (พ.ศ.๒๒๕๑-๒๒๕๗) รวบรวม ผู้คนสร้างเมืองน่านให้เป็นปึกแผ่นและมิให้ก่อการกระด้างกระเดื่อง

เจ้าฟ้าเมียวซา (พม่า) ครองเมืองน่านร่วมกับพญานาซ้าย (พ.ศ. ๒๒๕๗-๒๒๕๙) บูรณะซ่อมแซมองค์พระธาตุแช่แห้ง พร้อมทั้งยกฉัตร ๗ ชั้น


สกุลเจ้าพญาหลวงติ๋น ต้นวงศ์เจ้านครเมืองน่าน
เมื่อพระนาขวาดูแลเมืองน่านร่วม ๑๑ ปี ก็ได้ไปทูลพระเจ้ากรุงอังวะเพื่อขอเจ้าพระยาติ๋นหลวงเมืองเชียงใหม่ มาเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้าพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ครองเมืองน่านระหว่าง พ.ศ. ๒๒๖๙-๒๒๙๔ เป็นลำดัีบที่ ๕๑ นับเป็นบรรพบุรุษสกุล "ณ น่าน" ปัจจุบัน

เมืองน่านรวมอยู่ในราชอาณาจักรสยาม
ในช่วง พ.ศ. ๒๒๙๗-๒๓๒๗ หัวเมืองล้านนาต่างๆ พยายามแข็งข้อต่อพม มีการสู้รบกันตลอดมา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สามารถโจมตีขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๗ แต่เมืองน่านยังตกอยู่ในฝ่ายพม่า เจ้าน้อยวิฑูร เจ้าเมืองน่านถูกจับและถูกคุมตัวส่งไปยังกรุงธนบุรี (พ.ศ.๒๓๒๑) เมืองน่านจึงขาดผู้นำ

พม่าได้ยกทัพกวาดต้อนผู้คนไปอยู่ที่เชียงแสน ทำให้เมืองน่านถูกทิ้งร้างว่างเปล่า จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงแต่งตั้งให้เจ้ามงคลวรยศ หลานเจ้าพญาหลวงติ๋น มาปกครองเมืองน่านที่รกร้างว่างเปล่า และในปีพ.ศ. ๒๓๒๘ กองกำลังพื้นเมืองล้านนาโดยการสนับสนุนของกองทัพไทย ขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ น่านจึงรวมเข้าอยู่ในอาณาจักรสยาม และเจ้ามงคลวรยศได้ยกเมืองน่านให้เจ้าฟ้าอัตวรปัญโญปกครองสืบไป

เมืองน่านขึ้นกับกรุงรัตนโกสินทร์
ในปี พ.ศ. ๒๓๓๑ เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เพื่อขอเป็นข้าขอบขันฑสีมา เจ้าอัตถวรปัญโญ หลังจากขึ้นครองเมืองน่าน ยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียว เนื่องจากเมืองน่านยังรกร้างอยู่ ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา) หลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่านแล้ว พร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่าน และรัชกาลที่ ๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เป็นเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน และแต่งตั้งเจ้าสุมนเทวราชขึ้นเป็นเจ้าพระยาหอหน้าฯ

ในปี พ.ศ. ๒๓๔๔ เมืองน่านจึงมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราชของกรุงเทพฯ ตั้งแต่นั้นมา เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ มีความสามารถในการปกครองและบริหารบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดปรานและรักใคร่ดังลูกหลาน
- นำกำลังทัพร่วมกับเมืองเชียงใหม่และลำปาง ตีเมืองเชียงแสน ยึดคืนจากพม่าได้
- นำเมืองสิบสองปันนา เชียงรุ้ง มาสวามิภักดิ์
- ถวายพระเกศาธาตุเจ้า
- บูรณะปฏิสังขรณ์และพุทธาภิเษกเฉลิมฉลอง วัดพระธาตุแช่แห้งครั้งใหญ่
- สร้างกำแพงและบูรณะเวียงเก่าน่านขึ้นใหม่
- บูรณะสร้างเวียงป้อ (เวียงสา) ขึ้นมาใหม่
- สร้างฝาย กั้นแม่น้ำสา
- สร้างวัดบุญยืนที่เวียงสา

ถึงแม้เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญเป็นข้าขอบขัณฑสีมากรุงรัตนโกสินทร์ และเจ้าผู้ครองนครมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองพลเมือง แม้ว่าการขึ้นครองนครจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรุงรัตนโกสินทร์ก็ตาม แต่โดยทางปฏิบัติแล้ว พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงให้เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ในเมืองน่าน เลือกตัวเจ้านายผู้มีอาวุโสเป็นเจ้าผู้ครองนครกันเอง มิได้ทรงยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายใน

เจ้าผู้ครองนครเมืองน่านในชั้นหลังทุกพระองค์ ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญๆ หลายครั้งหลายคราวด้วยกัน เช่น ช่วยราชการสงครามเมืองเชียงแสนในรัชกาลที่ ๑ ปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ในรัชการที่ ๓ ช่วยราชการสงครามเมืองเชียงตุง ในรัชกาลที่ ๔ และ รัชกาลที่ ๕ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ ทำนุบำรุงกิจการพระพุทธศาสนาในเมืองน่าน ซ่อมแซมวัดวาอารามต่างๆ อยู่เป็นนิจ ทำให้เมืองน่านกลับคืนสู่สันติสุข ร่มเย็น ต่างจากระยะแรกๆ ที่ผ่านมา

เวียงเหนือ
ในปี พ.ศ. ๒๓๖๐ (ในรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ น้ำในแม่น้ำน่านไหลเข้าสู่ตัวเมืองน่านด้วยความแรงและเชี่ยว ได้พัดพากำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกพังทลายลงทั้งแถบ บ้านเรือนพังทลายเกือบหมด วัดวาอารามในนครน่านหักพังเป็นอันมาก พ.ศ. ๒๓๖๒ พญาสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน จึงได้ย้ายเมืองไปอยู่บริเวณดงพระเนตรช้าง ซึ่งเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึงอยู่ทางทิศเหนือของเมืองเดิม ใช้เวลาสร้าง ๖ เดือน จึงแล้วเสร็จ เรียกว่า "เวียงเหนือ" (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านมหาโพธิ์ และบ้านสถารส อ.เืมือง) ห่างจากเวียงใต้ประมาณ ๒ กิโลเมตร

เวียงเหนือ ทอดไปตามลำน้ำน่าน ห่างจากแม่น้ำน่านประมาณ ๘๐๐ เมตร มีคูเมืองล้อมรอบ ซึ่งปัจจุบัน ยังพบร่องรอยคูน้ำคันดินเวียงเหนือ สันนิษฐานว่า ครั้งที่ย้ายเมืองนั้น มีวัดสถารสเป็นวัดหลวงของเขตเวียงเหนือในปัจจุบัน คือ ถนนหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
ด้านเหนือ จดบ้านหัวเวียงเหนือ
ด้านใต้ จดทุ่งนาริน
ด้านตะวันออก ยาวไปตามถนนสุมนเทวราช
ด้านตะวันตก ตั้งแต่มุมรั้วสนามกีฬา จังหวัดน่าน ทิศเหนือ และทุ่งควายเฒ่าข้าวสาร
วัดสถารสเป็นวัดเดียวในเวียงเหนือ ที่มีพระธาตุเจดีย์ จึงสันนิษฐานว่าเป็นวัดหลวง

ศูนย์กลางนครน่าน อยู่ที่เวียงเหนือสืบกันมาได้ ๓๖ ปี จนถึงสมัยของเจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ ผู้ครองนครน่าน จึงได้ย้ายเมืองมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันใน จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๙๗

เวียงน่าน "เจ็ดประตู หนึ่งหนอง สิบสองวัด"
หลังจากที่ย้ายเมืองมาเวียงเหนือแล้ว ต่อมาแม่น้ำน่านเปลี่ยนเส้นทางเบี่ยงห่างจากกำแพงเวียงใต้ไปมาก ในปีพ .ศ. ๒๓๙๗ เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ย้ายเมืองน่านจากเวียงเหนือ (บริเวณดงพระเนตรช้าง) กลับไปยังเวียงใต้ ปฏิสังขรณ์กำแพงเมือง ส่วนที่เคยถูกกระแสน้ำพัดพังทลายและซ่อมแซมสิ่งชำรุดทรุดโทรมให้ดีดังเดิม จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ (ภาพถ่ายทางอากาศ แสดงทำเลที่ตั้งของเวียงเหนือ เวียงใต้ และเมืองน่านปัจจุบัน และแนวแม่น้ำน่านซึ่งเบี่ยงไปทางตะวันออก) อนึ่ง แม่น้ำส่วนที่เบี่ยงไปนั้น ความยาวเพียง ๑ กิโลเมตรเศษ ลำน้ำที่เบี่ยงเกิดจากธรรมชาติหรือคนขุดมิอาจสรุปได้ เพราะไม่มีหลักฐานบันทึกไว้

ตัวเมืองน่านมีกำแพง ๔ ด้าน มีคูเืมือง ๓ ด้าน เว้นด้านติดแม่น้ำ กำแพงสูงประมาณ ๒ วา กำแพงด้านตะวันออก มีประตูไชย (ประตูน้ำเข้ม) กำแพงด้านตะวันตก มีประตูปล่อง ประตูหนองห่าน กำแพงด้านทิศเหนือ มีประตูริม กำแพงด้านใต้มี ประตูเชียงใหม่ ประตูท่าลี่ จนคนน่านผูกเป็นคำคล้องจองว่า เจ็ดประตู หนึ่งหนอง สิบสองวัด (หนองในที่นี้คือ หนองแก้ว และวัดลำดับที่สิบสอง คือวัดน้อยในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านในปัจจุบัน)


เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครน่านองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน
สมัยเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแก้ไขวิธีการปกครองแผ่นดินขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็นมณฑลเทศาภิบาล ได้ทรงส่งข้าราชการผู้ใหญ่ที่วางพระราชหฤทัยจากกรุงเทพฯ เป็นผู้แทนต่างพระเนตรพระกรรณ มากำกับดูแลการบริหารบ้านเมืองของเจ้าผู้ครองนคร เรียกชื่อตามตำแหน่งทำเนียบว่า "ข้าหลวงประจำเมือง"

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่านได้ประกอบคุณงามความดีแก่ราชการบ้านเมือง เป็นที่รักใคร่นับถือของเจ้านายท้าวพระยาและพลเมืองโดยทั่วไป จึงได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลือนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า "พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ พระเจ้านครน่าน" เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรก และองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน


พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้สร้าง หอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของ เจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ และด้านหน้าหอคำ มีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่างๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จหรือขบวนรักแขกเมืองสำคัญ

เมื่อพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ถึงแก่พิราลัย เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้าอุปราช) ได้ขึ้นครองเมืองน่าน ในสมัยนี้อำนาจของเจ้าผู้ครองนครลดน้อยลง ทางกรุงเทพฯ ได้จัดส่งข้าราชการ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด คลังจังวหัด และสรรพากรจังหวัด มาประจำหน่วยงาน เรียกกันว่า "เค้าสนามหลวง" ส่วนตัวเจ้าผู้ครองนครได้กำหนดรายได้เป็นอัตราเงินเดือน ส่วยอากรต่างๆ ต้องเก็บเข้าท้องพระคลังทั้งสิ้น

และในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน ถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็น ศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ. ๒๕๑๑ จังหวัดน่าน ได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน จนกระทั่งปัจจุบัน

การเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขตเมืองน่านให้ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖

บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำโขงเป็นเขตอิทธิพลของล้านนา ถือกันมาแต่โบราณแล้วว่า เขตแดนล้านนาจดกับแม่น้ำโขง โดยมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นล้านนาและล้านช้าง หลักการข้างต้น ยังปฏิบัติสืบมาถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ เพราะมีหลักฐานกล่าวถึง เมืองเงิน หรือ กุฎสาวดี ตั้งอยู่ฝั่งขวาริมแม่น้ำโขงอยู่ในความปกครองของเมืองน่าน

น่านครอบคลุมฝั่งขวาของแม่น้ำโขง
หัวเมืองชายแดนด้านฝั่งขวาของแม่น้ำโขงที่ขึ้นกับเมืองน่าน ประกอบด้วย เมืองเิงิน เมืองคอบ เมืองเชียงลม เมืองเชียงฮ่อน แม้จะเป็นเมืองชายขอบของเมืองน่าน แต่เมืองน่านดูแลอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม เมื่อจักรวรรดินิยมมีความต้องการดินแดนส่วนนี้ ก็เข้าแทรกแซงด้วยกำลังที่เหนือกว่า จนกระทั่งได้ไปในที่สุด

สาเหตุของการเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ นั้น สืบเนื่องมาจากปัญหาสองประการคือ
ประการแรก ผลของการตีความในสนธิสัญญาที่ลงนามเืมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ โดยเฉพาะในข้อ ๓ และข้อ ๔ ซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขต ๒๕ กิโลเมตร ดังนี้
- ข้อ ๓ คอเวอนเมนต์สยาม จะไม่ก่อสร้างด่าน ค่ายคูหรือที่อยู่ของทหารในแขวงเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ และในจังหวัด ๒๕ กิโลเมตร (๖๒๕ เส้น) บนฝั่งขวาฟากตะวันตกแม่น้ำโขง
- ข้อ ๔ ในจังหวัดที่กล่าวไ้ว้แล้วในข้อ ๓ นั้น บรรดากองตระเวนรักษาจะมีแต่กองตระเวนเจ้าพนักงานเมืองนั้นๆ กับคนใช้เป็นกำลังเพียงจำเป็นแท้ และทำการตามอย่างเช่นเคย รักษาเป็นธรรมเนียมในที่นั้นๆ จะไม่มีพลประจำหรือพลเกณฑ์ สรรพค่าย เป็นพลทหารอย่างใดอย่างหนึ่งตั้งอยู่ที่นั้นด้วย

ผลของสัญญาดังกล่่าวในข้อ ๓ ซึ่งห้ามไม่ให้สร้างซ่อมด่าน ค่าย คู นั้น ทำให้รัฐบาลไทยไม่อาจป้องกันการรุกรานของฝ่ายลาวหลวงพระบางได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ฝรั่งเศสขยายอำนาจเข้ามาอย่างรวดเร็ว ส่วนข้อความในสนธิสัญญาข้อที่ ๔ นั้น รัฐบาลไทยตีความว่า ไทยจะไม่ส่งกำลังทหารเข้าไปในเขต ๒๕ กิโลเมตร ซึ่งไม่ได้รวมถึงข้าราชการพลเรือนด้วย แต่รัฐบาลฝรั่งเศสกลับตีความว่า ห้ามส่งข้าราชการพลเรือนด้วย ฝรั่งเศสจึงขับไล่ข้าราชการพลเรือนของไทยออกจากบริเวณดังกล่าว แล้วฝรั่งเศสก็ส่งข้าราชการจากหลวงพระบางเข้าไปปกครองดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขต ๒๕ กิโลเมตรนั้นเสียเอง ดังนั้นสนธิสัญญาข้อ ๓ และข้อ ๔ นี้ จึงเป็นข้อเสียเปรียบอย่างยิ่งของไทยในการป้องกันรักษาดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง

ประการที่สอง สาเหตุของการเสียดินแดนฝั่งขวา สืบเนื่องมาจากปัญหาการแย่งชิงบ่อเกลือ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณต้นแม่น้ำน่าน เมืองที่มีบ่อเกลือมากได้แก่ เมืองเงิน หรือเมืองกุสาวดี จึงเกิดปัญหาโต้แย้งกันบ่อยที่สุดและเป็นเมืองอยู่ในเขต ๒๕ กิโลเมตร ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง โดยตั้้งอยู่ริมแม่น้ำเงินซึ่งไหลลงแม่น้ำโขง ประกอบกับเป็นเมืองที่มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ มีพลเมืองไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ คน ราษฎรส่วนใหญ่มีเชื้อสายเป็นลื้อ ที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองพง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองสิง สิ่งต่างๆ ดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยยั่วยุให้ฝรั่งเศสคิดครอบครองบริเวณส่วนนี้มากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามราษฎรในเมืองเงินซึ่งเป็นพวกลื้อ มีความจงรักภักดีต่อเจ้าเมืองน่านมาก จึงเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยกล่อมของฝรั่งเศสไม่น้อย นอกจากเมืองเงินหรือเมืองกุสาวดี ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของปัญหาต่างๆ แล้ว ยังมีเมืองที่อยู่ในเขต ๒๕ กิโลเมตร เช่น เมืองคอบ เมืองเชียงลม และเมืองเชียงฮ่อน ล้วนต้องประสบปัญหาการแทรกแซงจากฝรั่งเศสทั้งสิ้น

การดำเนินงานของฝรั่งเศส เพื่อแทรกแซงในดินแดนส่วนนี้นั้น ใช้หลวงพระบางเป็นแนวหน้า โดยฝรั่งเศสได้สนับสนุนให้เจ้าหลวงพระบาง ส่งคนเข้าแทรกแซงฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขตเมืองน่าน และให้เจ้าหน้าที่กงสุลฝรั่งเศสประจำเมืองน่าน สนับสนุนการกระทำของเจ้าหลวงพระบาง ดังจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี ร.ศ. ๑๑๔ หรือปี พ.ศ. ๒๔๓๘ เป็นต้นมา ม.ฮารดูวิน รองกงสุลฝรั่งเศสประจำเมืองน่าน ได้เสนอความเห็นสนับสนุนการกระทำของเจ้าหลวงพระบางต่อพระพรหมสุรินทร์ ข้าหลวงประจำเมืองน่านว่า ฝรั่งเศสเห็นด้วยกับเจ้าหลวงพระบางในการที่อ้างว่า ดินแดนหัวเมืองริมฝั่งขวาแม่น้ำโขงเป็นดินแดนที่เคยขึ้นกับหลวงพระบางมาก่อน ทั้ง ๆ ที่ความจริงฝรั่งเศสก็ได้ยอมรับในสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของไทย ในเรื่องนี้ ฝ่ายไทยจึงไม่ยอมเพราะถือว่าเมืองเหล่านั้น เป็นเมืองขึ้นของเมืองน่านมาช้านานแล้ว ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิครอบครองดินแดนส่วนนี้กัน

จากการที่ฝรั่งเศสได้แสดงท่าทีสนับสนุนอย่างจริงจังดังกล่าว ทำให้เจ้าหลวงพระบางกำเริบใจยิ่งขึ้นถึงกับจัดส่งพระยาเมืองแพนพร้อมกับทหาร และข้าราชการพลเรือนจำนวนหนึ่งเข้ามาอยู่ในเมืองเงิน แล้วให้ดำเนินการปกครอง จัดเก็บภาษีอากรต่างๆ โดยพลการ ทั้งๆที่ขณะนั้น เจ้าเมืองน่านได้จัดการปกครองเมืองเงินให้เป็นที่เรียบร้อยอยู่แล้ว โดยมีหนานสุทธิสาร บุตรชายเจ้าเมืองน่านเป็นผู้รักษาราชการเมืองเงิน สถานการณ์ในเมืองเงินขณะนั้น จึงอ้างสิทธิและแย่งชิงกัน

นอกจากเจ้าหลวงพระบางจะส่งคนเข้ามาปกครองในดินแดนดังกล่าวแล้ว เจ้าหลวงพระบางยังได้ดำเนินการแทรกแซงไทยด้วยวิธีการต่างๆ อีก เช่น ห้ามไม่ให้ข้าราชการพลเรือนฝ่ายไทยเข้าไปในเขต ๒๕ กิโลเมตร ริมฝั่งขวาแม่น้ำโขงซึ่งฝรั่งเศสได้ประกาศว่า เป็นแผ่นดินกลางที่ยังไม่ตกลงว่าเป็นของฝ่ายใดแน่ แต่พวกหลวงพระบางกลับเข้ามาเกลี้ยกล่อมให้ราษฎรฝั่งขวาแม่น้ำโขงอพยพไปอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นคนในบังคับของฝรั่งเศส ผู้ใดขัดขืนจะบังคับจับกุมตัวไป โดยพวกหลวงพระบางได้ขยายขอบเขตการแทรกแซงเข้าสู่เมืองอื่นๆ นอกจากเมืองเงินด้วย เช่น การส่งคนเข้าปกครอบเมืองคอบ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ในบางครั้งฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการกระทำของหลวงพระบาง ยังได้แสดงอาการคุกคามไทยอย่างเด่นชัด เช่น กรณีทหารฝรั่งเศสยกกำลังเข้ายึดบ่อเกลือที่ตำบลบ่อเจ้า

การแทรกแซงและคุกคามไทยด้วยลักษณะต่างๆ ดังกล่าว ทางรัฐบาลไทยไม่ได้โต้ตอบอย่างรุนแรง แต่ตลอดเวลาไทยกลับใช้นโยบายทางการฑูตเจรจากับฝรั่งเศส เพราะไทยต้องการหลีกเลี่ยงการปะทะกันด้วยกำลังอาวุธกับฝรั่งเศส ด้วยเข้าใจดีว่าหากเกิดการปะทะกัน ไทยจะต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างแน่นอน ทั้งนี้นับเป็นบทเรียนที่ไทยได้รับมากจากการปะทะกันที่ปากน้ำในวิกฤตกาล ร.ศ. ๑๑๒ เมื่อพ.ศ.๒๔๓๖ นั่นเอง อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีทางฑูตเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ก่อให้เกิดผลดีขึ้นได้อย่างเต็มที่นัก ดังนั้น รัฐบาลไทย จึงได้พยายามดำเนินนโยบายออกคำสั่งไม่ให้ผู้ว่าราชการเมืองทุกเมืองที่อยู่ในเขต ๒๕ กิโลเมตร ของฝั่งขวาแม่น้ำโขงถอนตัวออกตามคำสั่งของฝ่ายหลวงพระบางเป็นอันขาด แม้จะถูกข่มขู่เพียงใด ผู้ว่าราชการเมืองก็จะต้องรักษาเมืองไว้ให้ได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิและอธิปไตยของไทยในดินแดนเหล่านั้นให้ถึงที่สุด หากไทยถอนตัวออกก็เท่ากับปล่อยให้ฝ่ายหลวงพระบางปกครองอยู่ฝ่ายเดียว อันนำไปสู่การยึดครองของฝรั่่งเศส ซึ่งจากคำสั่งให้ผู้ว่าราชการเมืองทุกเมืองในเขต ๒๕ กิโลเมตร รักษาเมืองจนถึงที่สุดนี้เอง รัฐบาลจึงได้อนุญาตให้แต่ละเมืองมีการกะเกณฑ์กำลังป้องกันตนเองเตรียมพร้อมเพื่อรักษาดินแดนส่วนนั้น อย่างไรก็ตาม หากฝรั่งเศสขับไล่ถึงขั้นใช้อาวุธปะทะกันแล้ว แต่ละเมืองจะต้องใช้กำลังในท้องถิ่นของตน ป้องกันเมืองเอง ไม่ต้องเกณฑ์กำลังจากเมื่องอื่นๆ ไปช่วย ทั้งนี้เพื่่อป้องกันมิให้การปะทะนั้นลุกลามกลายเป็นสงครามขึ้น

ในขณะเดียวกันข้าหลวงเมืองน่าน ก็ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยการชี้แจงให้ข้าราชการและราษฎรทั้งหลายได้ทราบว่า ดินแดน ๒๕ กิโลเมตร ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงนั้นเป็นส่วนของไทย ไม่ใช่ดินแดนของกลางดังที่ฝรั่งเศสอ้าง ทั้งนี้เพื่อให้ข้าราชการ และราษฎรในบริเวณนั้น เข้าใจในความเป็นจริง จะได้ร่วมมือร่วมใจกันรักษาดินแดนส่วนนั้น รวมทั้งไม่ต้องยอมเสียเงินให้แก่ฝ่ายหลวงพระบางอีก

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อป้องกันการรุกรานของหลวงพระบางและฝรั่งเศสนั้น ไม่เ็ป็นผลสำเร็จเ่ท่าที่ควร เพราะฝรั่งเศสมีความปรารถนาที่จะครอบครองดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่างจริงจัง ประกอบกับฝ่ายไทยไม่ต้องการโต้ตอบด้วยการใช้อาวุธอย่างเต็มที่ ทำให้การป้องกันการรุกรานเป็นไปด้วยความยากลำบากและเป็นสิ่งที่ไม่มีทางเป็นไปได้ ซึ่งในเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัวก็ทรงตระหนักในเหตุผลเป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากพระราชกระแสที่ทรงมีถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพตอนหนึ่งว่า
"...ฉันยังไม่แลเหรหนทางอย่างใด ซึ่งจะป้องกันพวกหลวงพระบางไม่ให้รุกเหลือมเอาเขตแดนตามอำเภอใจได้..."
หนทางแก้ไขปัญหาการรุกรานของฝ่ายหลวงพระบางจึงมีทางเดียว ดังที่กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาตั้งแต่ ร.ศ. ๑๑๔ (พ.ศ.๒๔๓๘) คือจำเป็นจะต้องยกดินแดนฝั่งขวาให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งในระยะแรก ที่กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนอความเห็นดังกล่าวนี้ รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการทันที แต่ครั้นเมื่อการแก้ไขปัญหาในดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ต้องประสบความล้มเหลวเรื่อยมา ไทยไม่อาจรักษาดินแดนส่วนนี้ไว้ได้จริงๆ จำเป็นต้องยกให้แก่ฝรั่งเศสไป ดังนั้น ปัญหาการรุกรานฝั่งขวาแม่น้ำโขงของฝ่ายหลวงพระบางและฝรั่งเศส ซึ่งยืดเยื้อมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๘ ก็ได้ยุติลงเมื่อฝ่ายไทยยินยอมยกดินแดนส่วนนี้ให้แก่ฝรั่งเศส โดยลงนามในสนธิสัญญา เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๒ (พ.ศ.๒๔๔๖) ซึ่งมีสาระสำคัญระบุไ้ว้ในสัญญาข้อ ๒ ว่า
" ฝ่ายเขตแดนในระหว่างเมืองหลวงพระบางข้างฝั่งขวาแม่น้ำโขง และเมืองพิไชยกับเมืองน่านนั้น เขตแดนตั้งแต่ปากน้ำเหืองที่แยกแม่น้ำโขงเนื่องไปตามกลางลำน้ำเหือง จนถึงที่แยกปากน้ำตามเลยขึ้นไปตามลำน้ำจนบันจบถึงยอดภูเขาปันน้ำ ในระหว่างดินแดนตกแม่น้ำโขงและดินแดนแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงที่แห่งหนึ่งที่เขาภู แดนดินตั้งแต่ที่นี้ เขตแดนต่อเนื่องไปทางทิศเหนือตามแนวยอดเขาปันน้ำในระหว่างดินแดนน้ำตกแม่น้ำโขง และดินแดนน้ำตกแม่น้ำเจ้าพระยาจนบันจบถึงปลายน้ำคอบแล้ว เขตแดนต่อเนื่องไปตามลำน้ำจนบันจบไปกับแม่น้ำโขง"

จากสาระสำคัญของสัญญาดังกล่าว ไทยต้องสูญเสียดินแดนหัวเมืองฝั่งขวาที่ขึ้นกับเมืองน่าน อันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพให้แก่ฝรั่งเศสไป หัวเมืองที่อยู่ในบริเวณเหล่านี้ได้แก่ เมืองเงินหรือเมืองกุสาวดี เมืองเชียงลม เมืองเชียงฮ่อนและเมืองคอบ นั่นเอง

เหตุผลที่ไทยต้องยอมสูญเสียดินแดนดังกล่่าวให้แก่ฝรั่งเศสในครั้งนั้น เห็นได้ชัดว่าเป็นเพราะไทยต้องการยุติปัญหาการแย่งชิงเมืองเงินระหว่างเมืองน่านกับเมืองหลวงพระบาง ซึ่งทั้งสองได้เข้าแย่งกันปกครองจนเกิดการวิวาทถกเถียงกันเสมอ โดยทุกครั้งไทยต้องพยายามอดกลั้นไม่ใช้กำลังโต้ตอบตลอดมา เพราะไม่ปรารถนาจะประจัญหน้ากับฝรั่งเศส ผู้สนับสนุนการกระทำของฝ่ายหลวงพระบาง ฉะนั้น เพื่อยุุติปัญหาที่ยืดเยื้อ ไทยจึงจำเป็นต้องยกเมืองเงินหรือเมืองกุสาวดี และเมืองอื่นๆ ในบริเวณนั้นให้แก่ฝรั่งเศสตามต้องการ ซึ่งเป็นผลใหการคุกคามของฝรั่งเศสทางด้านมณฑลพายัพยุติลงด้วย ทำให้ฝ่ายไทยมีโอกาสจัดการปกครองภายในมณฑลพายัพได้อย่างเต็มที่ขึ้น นอกจากนั้นการสูญเสียดินแดนดังกล่่าว เพื่อแลกกับการเลิกยึดครองเมืองจันทบุีรีที่ฝรั่งเศสยึดไว้เป็นประกัน

การสูญเสีียเขตแดนล้านนาด้านฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขตเมืองน่านแก่จักรวัรรดินิยมดังกล่าวทำให้แม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขงซึ่งควรใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศสยามกับพม่า และสยามกับลาว เปลี่ยนแปลงงไป เพราะพรมแดนได้ขีดเข้าไปในบริเวณป่าเขาที่ไม่ชัดเจน เป็นปัญหาต่อการรุกล้ำได้ง่าย และยากต่อการป้องกันประเทศตามรอยชายแดนที่ผ่านป่าเขา ผลกระทบจากการเสียดินแดนในครั้งนั้น จึงมีผลสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ในรัชกาลที่ ๕ พระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการปกครองโดยแบ่งการปกครองหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาลและทรงส่งข้าราชการผู้ใหญ่ไปประจำหัวเมืองต่าง “ข้าหลวงประจำเมือง” ซึ่งเป็นการลดตำแหน่ง หน้าที่และฐานะของเจ้านายฝ่ายต่างๆลง จนตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครน่านถูกยุบเลิกนับแต่นั้นมา และในช่วงนี้เองที่มีการเข้ามาของชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวอังกฤษ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน เป็นต้น เข้ามาทำการค้า สัมปทานป่าไม้ พร้อมกับการมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ และในช่วงนี้ประเทศไทยก็เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ด้วย

ที่มา เรียงเรียงจากหนังสือวัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดน่าน , ข้อมูลท่องเที่ยงจังหวัดน่าน
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm


ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 68 ท่าน

cron