พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 20 ก.ย. 2015 9:41 pm

img037.jpg
img037.jpg (167.13 KiB) เปิดดู 3318 ครั้ง


พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพระราชพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่กระทำต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงความจงรักภักดีอย่างถึงที่สุด ได้แบบอย่างมาจากขอม ซึ่งรับมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง

พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือ พระพิพัฒน์สัจจา คือ พระราชพิธีศรีสัจปานกาล คำว่า "ปานะ" แปลว่า "เครื่องดื่ม" หรือ "น้ำสำหรับดื่ม"

พิธีศรีสัจปานกาล ก็หมายถึงพิธีดื่มน้ำกระทำสัตย์สาบานเพื่อความสวัสดิมงคลตามวาระ โดยมากเรียกกันสั้นๆ ว่า "ถือน้ำ" คือ ผู้ที่เข้าร่วมในพิธี จะต้องดื่มน้ำล้างอาวุธของพระราชา เพื่อแสดงว่าจะจงรักภักดีต่อพระราชาธิบดีของตน หากผู้ใดมิได้รักษาคำสัตย์ปฏิญาณที่ได้กล่าวไว้ในพิธีนั้น ก็อาจจะต้องมีอันเป็นไปด้วยอาวุธหอกดาบอันใช้จุ่มในน้ำที่ตนดื่ม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ว่า พระราชพิธีนี้เป็นพระราชพิธีใหญ่สำหรับแผ่นดิน เป็นพระราชพิธีสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โดยไม่มีเว้นว่างเพราะมีคำอ้างถึงว่าเป็นพิธีระงับยุคเข็ญของบ้านเมือง ที่พระองค์กล่าวว่า โบราณ นั้นก็สันนิษฐานกันว่าตั้งแต่สมัยอยุธยาลงมา ด้วยไม่ทราบแน่ชัดว่าในสมัยพระมหากษัตริย์องค์ใด แต่ไม่ใช่สมัยสุโขทัยเพราะเหตุว่าการที่จะเน้นอำนาจกษัตริย์อย่างสูงสุดนั้นสุโขทัยไม่ค่อยมี เพราะฉะนั้นน่าจะมีในสมัยอยุธยาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ พิธีก็หมดสิ้นไป จนกระทั่งในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามแบบโบราณราชประเพณี ผนวกเป็นการเดียวกับพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ .๒๕๑๒

ในปัจจุบันนี้คำสาบานต่างๆ เลือนความขลังลงไป เพราะมีการตัดเอาคำแช่งต่างๆออกไปแล้ว ใช้แต่เพียงคำกล่าวคำปฏิญาณว่าจะทำการด้วยความสุจริต และเหลือเพียง "การให้สัญญา" ต่อกันอย่างที่นิยมกันทั่วโลก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่ทุกคนต้องมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน พระมหากษัตริย์มิได้มีอำนาจสูงสุดอย่างเช่นเดิม

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ บทที่ใช้พระราชพิธีถือน้ำมีบทร้อยกลองเพิ่มเข้ามาดังต่อไปนี้


“ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกระทำสัตยาธิฐานสบถสาบานถวายแต่พระเจ้าอยู่หัวจำเพาะพระพักตร์ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ด้วยข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำราชกาลฉลองพระเดชพระคุณโดยสัจสุจริต ซื่อตรง แต่ความสัจจริง มิได้กบฏประทุษร้าย มิได้เอาน้ำใจไปแผ่เผื่อไว้แก่ไท้ต่างด้าวท้าวต่างแดน เพื่อจะให้กระทำประทุษร้ายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ถ้ามีการศึกยกมากระทำแก่พระนครก็ดี พระพุทธเจ้าอยู่หัวจะใช้ข้าพระพุทธเจ้าไปกระทำสงครามแห่งใด ตำบลใดก็ดี ถ้าข้าพระพุทธเจ้าเกรงกลัวข้าศึกมากกว่าเจ้า ไม่ทำการเอาชัยชนะข้าศึกได้ ขอให้เทพยเจ้าอันรักษาโลกในมงคลจักรวาฬ หมื่นโกฎิจักรวาฬแสนโกฏิจักรวาฬ มาเข้าดลพระทัยพระเจ้าอยู่หัว ให้ตัดหัวผ่าอกข้าพระพุทธเจ้า แต่ในปัจจุบันขณะเดียวนี้เถิด อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าเห็นแก่จักษุได้ฟังแก่โสต รู้ว่าผู้อื่นคิดกบฏประทุษร้ายด้วยความทุจริตผิดด้วยพระราชบัญญัติ แล้วนำเอาเนื้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ ถ้าข้าพระพุทธเจ้ามิได้ ตั้งอยู่ในความสัจสาบานดุจกล่าวมานี้ ขอจงภูมิเทวดา อารักษเทวดา อากาศเทวดา รุกขเทวดา ท้าวจตุโลกบาล ท้าวอัฐโลกบาล ท้าวทัศโลกบาลอันมีฤทธิ์สิทธิศักดิ์ลงสังหารผลาญชีวิต ฯ ข้า ฯ ให้ฉินทภินทะพินาศ ด้วยอุปะปีฬก, อุปเฉทคกรรมุปะฆาฏด้วยอัสนีบาตรสายฟ้าฟาด ราชสัตถาวุธดาบ องครักษ์จักรนารายณ์ กระบือเสี่ยว ช้างแทง เสือสัตว์อันร้ายในน้ำในบก จงพิฆาฏอย่าให้ปราศจากปัญจวีสติมหาภัย ๒๕ ประการ และทวดึงส์ กรรมกรณ์ ๓๒ ประการ ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารับพระราชทานน้ำพิพัฒน์สัจจาธิษฐานนี้แล้ว จงบันดาลให้เกิดฝีพิษ ฝีกาลอติสารชราพาธ ฉันนะวุติโรคร้าย ๙๖ ประการ ให้อกาลมรณภาพตายด้วยความทุกข์เวทนาลำบากให้ประจักษ์แก่ตาโลกใน ๓ วัน ๗ วัน แล้วจงไปบังเกิดในมหานรกหมกไหม้อยู่สิ้นแสนกัลป์อนันตชาติ ครั้งสิ้นกรรมจากที่นั้นแล้ว แล้วจงไปบังเกิดในภพใด ๆ อย่าให้ข้าพระพุทธเจ้าพบพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ซึ่งจะมาโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าได้เลย ถ้าข้าพระพุทธเจ้าตั้งในกตัญญูกตเวที ความสัจสุจริตโดยบรรยายกล่าวมาแต่หนหลัง ขอจงภูมิเทวดา อารักษเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดา ท้าวจัตุโลกบาล ท้าวอัฐโลกบาล ท้าวทัศโลกบาล เทวดาผู้มีฤทธิ์สิทธิศักดิ์ จงช่วยอภิบาลข้าพระพุทธเจ้าให้เจริยศรีสวัสดิ์โดยบรรยายอันกล่าวมานั้นจงทุกประการ ข้าพระพุทธเจ้ารับพระราชทานน้ำพิพัฒสัจจาธิษฐานแล้ว จงให้ข้าพระพุทธเจ้าบังเกิดสุขสวัสดิภาพพ้นจากฉันนะวุฒิโรค ๙๖ ประการ เจริญอายุวรรณะสุขพละ ให้ถึงแก่อายุบริเฉทกำหนดด้วยสุขเวทนา ดุจนอนหลับแล้ว และตื่นขึ้นในดุสิตพิมาน เสวยทิพยสุไขสวรรย์สิ้นแสนกัลป์อนันตชาติครั้นข้าพระพุทธเจ้าจากสวรรค์เทวโลกแล้ว ลงมาในมนุษย์โลกจงได้พบพระพุทธเจ้าพระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า แล้วเสร็จแก่พุทธภูมิ อรหัตภูมิ พ้นจากสารทุกข์ด้วยความสัจสุจริตกตัญญูนั้นเถิด” (ดูใน เบญจมาศ พลอินทร์, ๒๔๒๓ : ๒๓)


คำปฏิญาณของผู้ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ในสมัยปัจจุบันจึงมีความดังนี้

" ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า (ออกชื่อผู้ถวายสัตย์สาบาน) ขอพระราชทานกระทำสัตย์ปฏิญาณตัวต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย เฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เฉพาะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ท่ามกลางมหาสันนิบาตนี้ว่า
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี จะภักดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชนและต่อหน้าที่ จะปฏิบัติการทุกอย่างโดยเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ และโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญ ความสงบสุข และความมั่นคงไพบูลย์ของประเทศชาติไทย จนตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่


หากข้าพระพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติฝืนคำสัตย์ปฏิญาณนี้เมื่อใด ขอความวิบัติจงบังเกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อนั้นโดยฉับพลันทันที อย่าให้มีความสุขความสวัสดีด้วยประการใดๆ หากข้าพระพุทธเจ้าดำรงมั่นในสัตย์ปฏิญาณนี้ยั่งยืนไป ขออานุภาพพระรัตนตรัยและเทพยดาอารักษ์ พระสยามเทวาธิราช เป็นต้น จงบันดาลความสุขสวัสดีแก่ข้าพระพุทธเจ้าทุกเมื่อ ให้ข้าพระพุทธเจ้ามีความเจริญในหน้าที่ราชการ เป็นกำลังทะนุบำรุงประเทศชาติสืบไป ได้สมตามปณิธานปรารถนาจงทุกประการ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ"


ประเพณีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยานั้นมาจากตามแนวคิดที่ว่ากษัตริย์เป็นสมมติเทพ ก็คือมาจากอินเดียโดยตรง เนื่องจากทั้งพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ปกครองประเทศแต่ก่อนก็ล้วนทรงเป็นนักรบ ดังนั้นจึงได้ยึดถือเอาการกระทำสัตย์ปฏิญาณตนด้วยวิธีดื่มน้ำชำระล้างอาวุธ หรืออีกนัยหนึ่งที่เรียกกันว่า


"พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา" เป็นพิธีสำคัญของบ้านเมืองมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานว่า ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ประเทศไทยได้รับเอาพิธีนี้มาเป็น


พิธีสำคัญของบ้านเมืองหรือยัง แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยามาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าอู่ทองเริ่มสร้างกรุงศรีอยุธยาทีเดียว และก็ถือว่าการถือน้ำเป็นพิธีสำคัญซึ่งบรรดาข้าราชการผู้มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับความยุติธรรมแห่งบ้านเมืองจะขาดเสียไม่ได้ ถึงกับตราเป็นตัวบทไว้ในกฎมณเฑียรบาลไว้ว่า


๑. ผู้ที่ขาดการถือน้ำพิพัฒน์สัตยามีโทษถึงตาย เว้นแต่ป่วยหนัก
๒. ห้ามสวม "แหวนนากแหวนทอง" มาถือน้ำ
๓. ห้ามบริโภคอาหารหรือน้ำก่อนดื่มน้ำพิพัฒน์
๔. ดื่มน้ำแล้วห้ามยื่นน้ำที่เหลือให้แก่กัน
๕. ดื่มแล้วต้องราดน้ำที่เหลือลงบนผมของตน


ข้อปฏิบัติดังกล่าว เป็นการระวางโทษไว้เหมือนหนึ่งว่า เป็นกบฎ คือโทษใกล้ความตาย และทั้งนี้เพื่อประสงค์จะให้น้ำพิพัฒน์สัตยาที่ทำขึ้นนั้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ และดื่มในโอกาสแรกของวันนั้น ต่อมาภายหลัง ปรากฏว่าวิธีการเช่นนั้น ทำความลำบากให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธีโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ทนหิวไม่ได้จนอาจถึงกับมี อันเป็นไปก่อนได้ดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอนุญาตให้บริโภคอาหารมาก่อนได้และไม่ถือว่าเป็นกบฏ


พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพระราชพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่กระทำต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงความจงรักภักดีอย่างถึงที่สุด ได้แบบอย่างมาจากขอม ซึ่งรับมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง

พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือ พระพิพัฒน์สัจจา คือ พระราชพิธีศรีสัจปานกาล คำว่า "ปานะ" แปลว่า "เครื่องดื่ม" หรือ "น้ำสำหรับดื่ม"

พิธีศรีสัจปานกาล ก็หมายถึงพิธีดื่มน้ำกระทำสัตย์สาบานเพื่อความสวัสดิมงคลตามวาระ โดยมากเรียกกันสั้นๆ ว่า "ถือน้ำ" คือ ผู้ที่เข้าร่วมในพิธี จะต้องดื่มน้ำล้างอาวุธของพระราชา เพื่อแสดงว่าจะจงรักภักดีต่อพระราชาธิบดีของตน หากผู้ใดมิได้รักษาคำสัตย์ปฏิญาณที่ได้กล่าวไว้ในพิธีนั้น ก็อาจจะต้องมีอันเป็นไปด้วยอาวุธหอกดาบอันใช้จุ่มในน้ำที่ตนดื่ม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ว่า พระราชพิธีนี้เป็นพระราชพิธีใหญ่สำหรับแผ่นดิน เป็นพระราชพิธีสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โดยไม่มีเว้นว่างเพราะมีคำอ้างถึงว่าเป็นพิธีระงับยุคเข็ญของบ้านเมือง ที่พระองค์กล่าวว่า โบราณ นั้นก็สันนิษฐานกันว่าตั้งแต่สมัยอยุธยาลงมา ด้วยไม่ทราบแน่ชัดว่าในสมัยพระมหากษัตริย์องค์ใด แต่ไม่ใช่สมัยสุโขทัยเพราะเหตุว่าการที่จะเน้นอำนาจกษัตริย์อย่างสูงสุดนั้นสุโขทัยไม่ค่อยมี เพราะฉะนั้นน่าจะมีในสมัยอยุธยาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ พิธีก็หมดสิ้นไป จนกระทั่งในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามแบบโบราณราชประเพณี ผนวกเป็นการเดียวกับพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ .๒๕๑๒

ในปัจจุบันนี้คำสาบานต่างๆ เลือนความขลังลงไป เพราะมีการตัดเอาคำแช่งต่างๆออกไปแล้ว ใช้แต่เพียงคำกล่าวคำปฏิญาณว่าจะทำการด้วยความสุจริต และเหลือเพียง "การให้สัญญา" ต่อกันอย่างที่นิยมกันทั่วโลก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่ทุกคนต้องมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน พระมหากษัตริย์มิได้มีอำนาจสูงสุดอย่างเช่นเดิม

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ บทที่ใช้พระราชพิธีถือน้ำมีบทร้อยกลองเพิ่มเข้ามาดังต่อไปนี้


“ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกระทำสัตยาธิฐานสบถสาบานถวายแต่พระเจ้าอยู่หัวจำเพาะพระพักตร์ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ด้วยข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำราชกาลฉลองพระเดชพระคุณโดยสัจสุจริต ซื่อตรง แต่ความสัจจริง มิได้กบฏประทุษร้าย มิได้เอาน้ำใจไปแผ่เผื่อไว้แก่ไท้ต่างด้าวท้าวต่างแดน เพื่อจะให้กระทำประทุษร้ายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ถ้ามีการศึกยกมากระทำแก่พระนครก็ดี พระพุทธเจ้าอยู่หัวจะใช้ข้าพระพุทธเจ้าไปกระทำสงครามแห่งใด ตำบลใดก็ดี ถ้าข้าพระพุทธเจ้าเกรงกลัวข้าศึกมากกว่าเจ้า ไม่ทำการเอาชัยชนะข้าศึกได้ ขอให้เทพยเจ้าอันรักษาโลกในมงคลจักรวาฬ หมื่นโกฎิจักรวาฬแสนโกฏิจักรวาฬ มาเข้าดลพระทัยพระเจ้าอยู่หัว ให้ตัดหัวผ่าอกข้าพระพุทธเจ้า แต่ในปัจจุบันขณะเดียวนี้เถิด อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าเห็นแก่จักษุได้ฟังแก่โสต รู้ว่าผู้อื่นคิดกบฏประทุษร้ายด้วยความทุจริตผิดด้วยพระราชบัญญัติ แล้วนำเอาเนื้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ ถ้าข้าพระพุทธเจ้ามิได้ ตั้งอยู่ในความสัจสาบานดุจกล่าวมานี้ ขอจงภูมิเทวดา อารักษเทวดา อากาศเทวดา รุกขเทวดา ท้าวจตุโลกบาล ท้าวอัฐโลกบาล ท้าวทัศโลกบาลอันมีฤทธิ์สิทธิศักดิ์ลงสังหารผลาญชีวิต ฯ ข้า ฯ ให้ฉินทภินทะพินาศ ด้วยอุปะปีฬก, อุปเฉทคกรรมุปะฆาฏด้วยอัสนีบาตรสายฟ้าฟาด ราชสัตถาวุธดาบ องครักษ์จักรนารายณ์ กระบือเสี่ยว ช้างแทง เสือสัตว์อันร้ายในน้ำในบก จงพิฆาฏอย่าให้ปราศจากปัญจวีสติมหาภัย ๒๕ ประการ และทวดึงส์ กรรมกรณ์ ๓๒ ประการ ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารับพระราชทานน้ำพิพัฒน์สัจจาธิษฐานนี้แล้ว จงบันดาลให้เกิดฝีพิษ ฝีกาลอติสารชราพาธ ฉันนะวุติโรคร้าย ๙๖ ประการ ให้อกาลมรณภาพตายด้วยความทุกข์เวทนาลำบากให้ประจักษ์แก่ตาโลกใน ๓ วัน ๗ วัน แล้วจงไปบังเกิดในมหานรกหมกไหม้อยู่สิ้นแสนกัลป์อนันตชาติ ครั้งสิ้นกรรมจากที่นั้นแล้ว แล้วจงไปบังเกิดในภพใด ๆ อย่าให้ข้าพระพุทธเจ้าพบพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ซึ่งจะมาโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าได้เลย ถ้าข้าพระพุทธเจ้าตั้งในกตัญญูกตเวที ความสัจสุจริตโดยบรรยายกล่าวมาแต่หนหลัง ขอจงภูมิเทวดา อารักษเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดา ท้าวจัตุโลกบาล ท้าวอัฐโลกบาล ท้าวทัศโลกบาล เทวดาผู้มีฤทธิ์สิทธิศักดิ์ จงช่วยอภิบาลข้าพระพุทธเจ้าให้เจริยศรีสวัสดิ์โดยบรรยายอันกล่าวมานั้นจงทุกประการ ข้าพระพุทธเจ้ารับพระราชทานน้ำพิพัฒสัจจาธิษฐานแล้ว จงให้ข้าพระพุทธเจ้าบังเกิดสุขสวัสดิภาพพ้นจากฉันนะวุฒิโรค ๙๖ ประการ เจริญอายุวรรณะสุขพละ ให้ถึงแก่อายุบริเฉทกำหนดด้วยสุขเวทนา ดุจนอนหลับแล้ว และตื่นขึ้นในดุสิตพิมาน เสวยทิพยสุไขสวรรย์สิ้นแสนกัลป์อนันตชาติครั้นข้าพระพุทธเจ้าจากสวรรค์เทวโลกแล้ว ลงมาในมนุษย์โลกจงได้พบพระพุทธเจ้าพระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า แล้วเสร็จแก่พุทธภูมิ อรหัตภูมิ พ้นจากสารทุกข์ด้วยความสัจสุจริตกตัญญูนั้นเถิด” (ดูใน เบญจมาศ พลอินทร์, ๒๔๒๓ : ๒๓)


คำปฏิญาณของผู้ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ในสมัยปัจจุบันจึงมีความดังนี้

" ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า (ออกชื่อผู้ถวายสัตย์สาบาน) ขอพระราชทานกระทำสัตย์ปฏิญาณตัวต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย เฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เฉพาะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ท่ามกลางมหาสันนิบาตนี้ว่า
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี จะภักดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชนและต่อหน้าที่ จะปฏิบัติการทุกอย่างโดยเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ และโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญ ความสงบสุข และความมั่นคงไพบูลย์ของประเทศชาติไทย จนตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่


หากข้าพระพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติฝืนคำสัตย์ปฏิญาณนี้เมื่อใด ขอความวิบัติจงบังเกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อนั้นโดยฉับพลันทันที อย่าให้มีความสุขความสวัสดีด้วยประการใดๆ หากข้าพระพุทธเจ้าดำรงมั่นในสัตย์ปฏิญาณนี้ยั่งยืนไป ขออานุภาพพระรัตนตรัยและเทพยดาอารักษ์ พระสยามเทวาธิราช เป็นต้น จงบันดาลความสุขสวัสดีแก่ข้าพระพุทธเจ้าทุกเมื่อ ให้ข้าพระพุทธเจ้ามีความเจริญในหน้าที่ราชการ เป็นกำลังทะนุบำรุงประเทศชาติสืบไป ได้สมตามปณิธานปรารถนาจงทุกประการ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ"


ประเพณีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยานั้นมาจากตามแนวคิดที่ว่ากษัตริย์เป็นสมมติเทพ ก็คือมาจากอินเดียโดยตรง เนื่องจากทั้งพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ปกครองประเทศแต่ก่อนก็ล้วนทรงเป็นนักรบ ดังนั้นจึงได้ยึดถือเอาการกระทำสัตย์ปฏิญาณตนด้วยวิธีดื่มน้ำชำระล้างอาวุธ หรืออีกนัยหนึ่งที่เรียกกันว่า


"พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา" เป็นพิธีสำคัญของบ้านเมืองมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานว่า ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ประเทศไทยได้รับเอาพิธีนี้มาเป็น


พิธีสำคัญของบ้านเมืองหรือยัง แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยามาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าอู่ทองเริ่มสร้างกรุงศรีอยุธยาทีเดียว และก็ถือว่าการถือน้ำเป็นพิธีสำคัญซึ่งบรรดาข้าราชการผู้มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับความยุติธรรมแห่งบ้านเมืองจะขาดเสียไม่ได้ ถึงกับตราเป็นตัวบทไว้ในกฎมณเฑียรบาลไว้ว่า


๑. ผู้ที่ขาดการถือน้ำพิพัฒน์สัตยามีโทษถึงตาย เว้นแต่ป่วยหนัก
๒. ห้ามสวม "แหวนนากแหวนทอง" มาถือน้ำ
๓. ห้ามบริโภคอาหารหรือน้ำก่อนดื่มน้ำพิพัฒน์
๔. ดื่มน้ำแล้วห้ามยื่นน้ำที่เหลือให้แก่กัน
๕. ดื่มแล้วต้องราดน้ำที่เหลือลงบนผมของตน


ข้อปฏิบัติดังกล่าว เป็นการระวางโทษไว้เหมือนหนึ่งว่า เป็นกบฎ คือโทษใกล้ความตาย และทั้งนี้เพื่อประสงค์จะให้น้ำพิพัฒน์สัตยาที่ทำขึ้นนั้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ และดื่มในโอกาสแรกของวันนั้น ต่อมาภายหลัง ปรากฏว่าวิธีการเช่นนั้น ทำความลำบากให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธีโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ทนหิวไม่ได้จนอาจถึงกับมี อันเป็นไปก่อนได้ดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอนุญาตให้บริโภคอาหารมาก่อนได้และไม่ถือว่าเป็นกบฏ
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน

cron