ศาสนาพุทธ วัด ความเชื่อ และความศรัทธาของล้านนา

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

ศาสนาพุทธ วัด ความเชื่อ และความศรัทธาของล้านนา

โพสต์โดย Namfar » เสาร์ 03 ต.ค. 2015 8:41 pm

วัดโลกโมฬี อำเภอเมือง เชียงใหม่


id_60513.jpg
id_60513.jpg (191.79 KiB) เปิดดู 15891 ครั้ง




ยุคที่ ๑ ตำนานวัดพระธาตุดอยสุเทพ บันทึกไว้ว่า ปีพุทธศักราช ๑๙๑๐ ในสมัยพญากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ในราชวงศ์มังราย ลำดับที่ ๖ เสวยราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงเสื่อมในศรัทธาในพระพุทธศาสนา ปรารภได้พระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกพระพุทธพจน์สามารถทำสังฆกรรมใหญ่น้อยได้ทุกประการมาไว้ในอาณาจักร เมื่อได้ทรงทราบสุปฏิปันตาทิคุณแห่งพระอุทุมพรบุปผามหาสวามีเจ้า ซึ่งอยู่ที่เมืองพัน จึงให้ราชทูตไปอาราธนาพระมหาสวามีเจ้า แต่พระสวามีเจ้ารับนิมนต์ไม่ได้ จึงให้ภิกษุลูกศิษย์ ๑๐ รูป มีพระอานนท์เถรเป็นประธานมาสู่เมืองเชียงใหม่แทนท่านพญากือนา ก็ให้พระเถระเจ้าทั้งหลายพำนักอยู่ ณ วัดโลกโมฬี กำแพงเวียงชั้นนอก บ้านหัวเวียง


จากหลักฐานที่ปรากฏนี้พอจะอนุมานได้ว่า วัดโลกโมฬี น่าจะสร้างขึ้นในสมัยพญากือนาประมาณปีพุทธศักราช ๑๙๑๐ หรือก่อนหน้านั้น


SDC11260cr.jpg
SDC11260cr.jpg (57.1 KiB) เปิดดู 15891 ครั้ง



ยุคที่ ๒ ๑๖๐ ปีต่อมา หนังสือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่หน้า ๘๗-๘๘ บันทึกไว้ว่า ปีพุทธศักราช ๒๐๗๐ ในสมัยของพระเมืองเกศเกล้า กษัตริย์ราชวงศ์มังรายลำดับที่ ๑๒ (พระเมืองเกศเกล้าเมืองครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ ๒๐๖๘-๒๐๘๑ ) หลักฐานบันทึกไว้ว่า “พญาเกศได้ถวายบ้านหัวเวียงให้เป็นอารามวัดโลกโมฬี ) ปีพุทธศักราช ๒๐๗๑ พญาเกศ เมื่อได้บูรณะฟื้นฟูวัดโลกโมฬีและได้ทำบุญฉลองถวายให้เป็นอารามวัดโลกโมฬีแล้ว ก็ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ ขนาดองค์ใหญ่ (มหาเจดีย์) ขึ้น พร้อมกันนั้นก็ได้สร้าง พระวิหาร เพื่อใช้ประกอบพิธีบำเพ็ญศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน พระเมืองเกศเกล้า หรือพญาเกศ ครองราชย์ครั้งที่ ๒ เป็นลำดับที่ ๑๔ พ.ศ ๒๐๘๖-๒๐๘๘ พญาเกศฯ ทรงออกผนวชมีพระสิริมังคลาจารย์เป็นพระอุปัชฌาจารย์ พระองค์ยังได้โปรดเกล้าแต่งตั้ง พระมหาสรภังค์เถระเป็นพระมหาสังฆราชนครพิงค์เชียงใหม่พญาเกศเสด็จสวรรคตถูกขุนนางลอบปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช ๒๐๘๘

หลังจากสวรรคตแล้ว ข้าราชการขุนนาง ได้ทำพิธีปลงศพที่วัดแสนพอก กำแพงเมืองชั้นในหลังจากได้ถวายพระเพลิงแล้วก็ได้นำพระอัฐิของพระองค์มาบรรจุไว้ ณ วัดโลกโมฬี เอากระดูกไปบรรจุไว้ยังวัดโลกโมฬี ฝ่ายแจ่งหนเหนือทางนอกนั้น”
ปีพุทธศักราช ๒๐๘๘ หลังจากที่พญาเกศ ได้สวรรคตแล้ว พระนางจิระประภา ราชธิดาของพญาเกศ ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาเป็นกษัตริย์ ในราชวงศ์มังรายลำดับที่ ๑๕


ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ครั้งนั้นเมืองเชียงใหม่มีเหตุการณ์ไม่สงบ เนื่องจากขุนนางทั้งหลายไม่สามัคคีกัน สมเด็จพระไชยราชาธิราช กษัตริย์อยุธยาได้ยกทัพขึ้นมาหมายจะตีเมืองเชียงใหม่ พระนางจิระประภาทรงทราบว่า กำลังทัพหลวงของพระไชยราชาธิราช และเมืองเชียงใหม่ไม่พร้อมที่จะรับศึกได้ เมื่อกองทัพพระไชยราชาธิราช ยกทัพมาถึงนอกเมือง พระนางจึงได้แต่งเครื่องราชบรรณาการออกปถวายและทูลเชิญเสด็จพระไชยราชาธิราช ได้นำเสด็จมาทำบุญที่กู่เฝ่า พระเมืองเกศเกล้า ที่วัดโลกโมฬี สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้พระราชทานพระราชทรัพย์ทำบุญไว้กับกู่พญาเกศเกล้าอีก ๕,๐๐๐ เงิน กับผ้าทรง ๑ ผืน นอกจากนั้นยังได้รับพระราชทานรางวัลให้กับเจ้านาย ขุนนางที่รับเสด็จด้วย




ยุคที่ ๓ ๖๐ ปี ต่อมาหลังจากที่เมืองเชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าหลักฐานพงศาวดารโยนกและตามรอยโครงมังทรารบเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช ๒๑๔๙ กษัตริย์ที่ครองเชียงใหม่ชื่อ มังนราช่อ (สาวัตถีนรถามังคะยอ)ซึ่งเป็นราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ ๒๑๒๒-๒๑๕๐) ได้มีเมตตาธรรมให้พระมหาสมเด็จวัดโลกโมฬี ไว้กับวัดวิสุทธาราม ให้คนบ้านแปะและพวกยางบนดอยเป็นข้าวัดดูแลห้ามฝ่ายบ้านเมืองนำไปใช้แม้จะมีศึกสงคราม (วัดบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ปัจจุบัน)


ปีพุทธศักราช ๒๑๘๒ หลักฐานตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ บันทึกไว้ว่า พระเจ้าสุทโธธรรมราชา ได้มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาและได้อาราธนาพระสวามี ถวายทานในพระบาทสมเด็จพระสังฆราชโมฬีเจ้า วัดทุกวัดเป็นราชฐาน ทำบุญเดือนยี่เป็ง บูชาพระพุทธรูป พระธาตุเจ้าและพระภิกษุ สามเณร ตามพระราชประเพณีแห่งเมืองเชียงใหม่

ยุคที่ ๔ ยุคกาวิละวงศ์ หลักฐานรายชื่อวัดในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่
ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ สมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และสมัยของเจ้าอินทวโรรส เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำดับที่ ๗ และ ๘ มีบันทึกไว้ว่า “ วัดโลกโมฬี ตั้งอยู่แขวงบ้านทับม่านขึ้นกับแคว้นเจ็ดยอด เจ้าอธิการชื่อ ตุ๊พวง นิกายเชียงใหม่ ยังไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์ รองอธิการชื่อ ตุ๊คำ และในปีพุทธศักราช ๒๔๕๒-๒๔๘๒ พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ ๙ ได้ บูรณะวัดโลกโมฬี เหนือเวียงและสร้างพระพุทธรูปพร้อมทั้งธรรมมาสน์
หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานใด ๆ ที่จะบอกถึงความเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาต่อเนื่องมาอีก นับแต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒

ประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ วัดโลกโมฬี ก็ตกอยู่ในสภาพเป็นวัดที่ว่างเว้นจากผู้ปกครองสงฆ์นาน ๖๐ ปี ที่ดินของวัดในอดีตก่อนหน้านั้นมีเนื้อที่กว้างขวางหลายสิบไร่ ได้ถูกถือครองโดยเอกชนและต่อมามีการออกโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนหลายแปลง จึงเหลือเนื้อที่ตามที่ปรากฏในหลักฐานขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้าง ในความดูแลของกรมศาสนา จำนวนเนื้อที่ ๔-๑-๓๗ ไร่ พื้นที่ด้านหน้าของพระเจดีย์ ซึ่งติดถนนมณีนพรัตน์ กองศาสนาสมบัติกลางกรมการศาสนาได้ให้กรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เช่าเป็นที่ทำการของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะเวลากว่า ๓๐ ปี อีกส่วนด้านทิศตะวันออกได้ให้สมาคมธรรมศาสตร์ภาคเหนือเช่า เป็นที่ทำการของสมาคม ฯ เป็นระยะเวลาหลายสิบปีเช่นกัน และต่อมาสมาคมธรรมศาสตร์ภาคเหนือได้ให้บริษัทโคโนโก้เช่าต่อ ถือสัญญาเช่ามีระยะเวลา ๓๐ ปี (๒๕๓๕) มีการปรับปรุงเป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน


ยุคที่ ๕ ตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน
พระญาณสมโพธิ “ปัจจุบันได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระเทพวรสิทธาจารย์” เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เจ้าคณะอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอ จังหวัดเชียงใหม่ และได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ในปี ๒๕๔๗ และเป็นรองเจ้าคณะภาค 7 ในปัจจุบัน ได้พิจารณาสถานที่วัดร้างในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ ที่มีเนื้อที่กว้างพอประมาณหลายแห่ง ดังนี้

วัดเจ็ดลิน (ร้าง) ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัด เชียงใหม่ (หลังตลาดประตูเชียงใหม่) ซึ่งเป็นวัดร้างมีเนื้อที่ ๗-๐-๙๖ ไร่ เพียงพอที่จะสร้างสำนักงานได้ จึงทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ฉบับที่ ๑ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ ๒๕๔๓ เพื่อเช่าพื้นที่ตามระเบียบของกรรมการศาสนา แต่มีปัญหาพื้นที่มีผู้บุกรุกอยู่จำนวนมาก จึงได้ทำหนังขอยกเลิกไป


วัดโลกโมฬี (ร้าง) พระญาณสมโพธิ (พระราชสิทธาจารย์) ได้ทำหนังสือลงวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ ๒๕๔๔ เพื่อขอเช่าวัดโลกโมฬี ตั้งอยู่ถนนมณีนพรัตน์ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดร้างเช่นกัน มีเนื้อที่ ๒-๓-๐๙ ไร่ แทนวัดเจ็ดลินที่ยกเลิกไป ขณะที่กำลังรอคำตอบจากกรรมการศาสนานั้น ก็ทราบว่ามีปัญหาคล้ายกัน ทั้งยังมีผู้ยื่นคำร้องขอเช่าที่ดินวัดร้างเพื่อทำประโยชน์ทางธุรกิจ สวนสาธารณะและอื่น ๆ ดังนั้นจึงได้มีหนังสือลงวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ ๒๕๔๔ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่ เพื่อขออนุญาติให้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมส่งเสริมประเพณีปี๋ใหม่เมืองประจำปี ๒๕๔๔ มีกำหนด ๔ วัน คือ วันที่ ๑๒-๑๕ เมษายน พ.ศ ๒๕๔๔ และได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการได้

พระญาณสมโพธิจึงได้สั่งการให้มีการปรับพื้นที่ซึ่งรกร้างมานาน และกำหนดกิจกรรมงานประเพณีปี๋ใหม่เมือง โดยได้รับความร่วมมือจาก นายบุญฤทธิ์ ตุลาพันธ์พงศ์ (สื่อมวลชน) ได้ประชาสัมพันธ์ข่าวเผยแพร่เป็นระยะ ๆ จนเกิดกระแสจากพุทธศาสนิกชน พระมหาเถระผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ วัดปากน้ำภาษีเจริญ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก วัดสระเกศ ได้เดินทางมาตรวจสถานที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะยกให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาตลอดไป มหาเถระทั้งสองมีเมตตาที่จะให้การสนับสนุนในเรื่องนี้อย่างเต็มที่


ต่อมาพระญาณสมโพธิ (พระราชสิทธาจารย์) มอบหมายให้นายบุญธรรม ยศบุตร เลขานุการมูลนิธิพระบรมธาติดอยสุเทพ ทำหนังสือเรียนเชิญ ศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม วัฒนชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น (ปัจจุบันได้โปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งองคมมนตรี) มาเป็นประธานเปิดงานในวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ ๒๕๔๔ โดยได้นิมนต์พระสงฆ์จำนวน ๗๐๕ รูป ซึ่งเท่าอายุเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น มาเจริญพระพุทธมนต์ ฉันภัตตาหารเพล พร้อมกันนั้นพระสงฆ์ทั้งจังหวัดเชียงใหม่ ได้กระทำปทักษิณรอบพระเจดีย์รวม ๓ รอบ เป็นภาพที่น่าประทับใจมาก


ต่อมา พระราชพุทธิญาณ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำหนังสือลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เพื่อขอยับยั้งการพิจารณาเช่าที่วัดร้างของกรรมการศาสนา และขอให้ยกวัดโลกโมฬี (ร้าง) เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอดไปแทน ซึ่งก็ได้รับอนุมัติจากกรรมการศาสนา ตามประกาศวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ พร้อมหนังสือแต่งตั้งให้ พระญาณสมโพธิ เป็นรักษาการเจ้าอาวาส คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ คณะกรรมการฟื้นฟูวัดโลกโมฬี จึงได้จัดพิธีเฉลิมฉลองตราตั้งวัดโลกโมฬี ในช่วงเช้า พระญาณสมโพธฺ (พระราชสิทราจารย์) ได้ประกอบพิธีหล่อพระพุทธรูป พระพุทธสันติจิรบรมโลกนาถ ขนาดหน้าตักกว้าง ๘๐ นิ้วขึ้น เพื่อเป็นองค์ประธานประจำวิหารหลังใหม่ เนื่องจากตรงกับเทศกาลยี่เป็งจึงได้มอบหมายให้อาจารย์ยุพิน เข็มมุกด์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่) จัดกิจกรรมเทศน์มหาชาติในเทศกาลยี่เป็งขึ้นเป็นครั้งแรกของวัดโลกโมฬีประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๔

กิจกรรมนี้ได้จัดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเพื่อสืบสานและส่งเสริมประเพณีการตั้งธรรมหลวง ประกอบกับในช่วงนั้นมีภาพยนตร์เรื่องสุริโยทัย กำลังโด่งดังมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อเรื่องกล่าวถึงวัดโลกโมฬีและพระมหาเทวีจิระประภา ทางคณะกรรมการฟื้นฟูวัดจึงได้นำมาฉายให้ประชาชนได้ชม ปรากฏว่าประชาชนนับหมื่นให้ความสนใจ


12036739_1017936841584422_683457344276247385_n.jpg
12036739_1017936841584422_683457344276247385_n.jpg (83.65 KiB) เปิดดู 15891 ครั้ง




ที่มา http://www.watlokmolee.com/
ภาพ : Doungdao ดาว Khomsiri , Sakchai,จานีน ยโสวันต์
แก้ไขล่าสุดโดย Namfar เมื่อ พุธ 18 ต.ค. 2017 3:43 pm, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ว่าด้วยเรื่อง...วัด

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 07 ธ.ค. 2015 2:20 pm

วัดต้นเกว๋น (วัดอินทราวาส)

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๔ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

cd95ab8929e30452143721b065b523cb.jpg
cd95ab8929e30452143721b065b523cb.jpg (116.54 KiB) เปิดดู 15855 ครั้ง



เป็นวัดเก่าซึ่งคงความเป็นล้านนาและมีลักษณะงดงามมาก โดยสิ่งที่น่าสนใจ คือ ศาลาจัตุรมุขซึ่งพบเพียงหลังเดียวในภาคเหนือ นอกจากนี้ศิลปกรรมล้านนาดั้งเดิมภายในวัดนี้ยังจัดว่าเป็นต้นแบบที่สมบูรณ์และมีคุณค่ามาก สมาคมสถาปนิกสยามประกาศให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ วัดต้นเกว๋น เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงแบบแผนทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมล้านนา ที่งดงามและทรงคุณค่า แม้จะได้รับการบูรณะซ่อมแซม แต่ยังคงไว้ซึ่งศิลปะแบบดั้งเดิม วิหารวัดต้นเกว๋นต้นแบบหอคำหลวงที่งานพืชสวนโลก


ประวัติ

สร้างขึ้นประมาณ จ.ศ. ๑๒๑๘ (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๑๒) สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เป็นเจ้าหลวงปกครองนครเชียงใหม่ ต้นเกว๋น (ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งตามภาษาพื้นเมืองล้านนา) ซึ่งมีอยู่ในบริเวณที่ สร้างวัด จึงได้ชื่อวัดครั้งแรกว่า "วัดต้นเกว๋น" ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "วัดอินทราวาส" มาจากชื่อของ เจ้าอาวาสที่สร้างวัดผสมกับคำว่าเจ้าอาวาส (อินทร์ + อาวาส)
วัดต้นเกว๋น เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงแบบแผนทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงามและทรงคุณค่ายิ่ง แม้จะได้รับการบูรณะซ่อมแซม แต่ยังคงไว้ซึ่งศิลปะแบบดั้งเดิม

ความสำคัญ
1. เป็นวัดที่ใช้เป็นสถานที่พักกระบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุ จาก อ. จอมทอง มานครพิงค์เชียงใหม่ สมัยก่อน ซึ่งถือเป็นประเพณีของเจ้าหลวงเชียงใหม่ วัดต้นเกว๋นเป็นเส้นทางสายเดิม กระบวนแห่ฯ ต้องแวะพักประดิษฐาน ณ ศาลาจตุรมุข เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำสมโภชก่อนที่จะอัญเชิญเข้าเมืองเชียงใหม่

2. วิหารสร้างเมื่อ จ. ศ. ๑๒๒๐ (พ. ศ. ๒๔๐๑) ซึ่งได้บันทึกไว้ที่ใต้เพดานด้านเหนือด้วยอักษรไทยยวน (ตั๋วเมือง) นายช่างผู้สร้างวิหารมีความสามารถและชำนาญการแกะสลัก เช่น ลวดลายดอก ลายรูปสัตว์ที่หน้าจั่ว และช่อฟ้า ฐานชุกชีเป็นลายรูปปั้นดอกกูด ฝาหนังด้านหลังพระประธานเป็นซุ้มและมีพระพิมพ์โลหะติดฝาผนัง พระพิมพ์แบ่งได้ ๒แบบคือ ๑.แบบใบโพธิ์ปางมารวิชัยขนาด ๒x๔ซม. ๒.แบบนาคปรก ขนาด ๓x๕ซม.

3. มณฑปแบบจตุรมุขศิลปกรรมล้านนาใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุชั่วคราว

4. อาสน์สำหรับตั้งโกฏิพระบรมธาตุ เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำ

5. รินรองน้ำสุคนสินธุธารา คือน้ำอบ น้ำหอมที่ประชาชนสรงน้ำพระธาตุ

6. เสลี่ยง สำหรับหามบั้งไฟจุดบูชา สมัยก่อนเรียกว่า "เขนีย"

7. กลองโยนหรือ ก๋องปู่จา ใช้สำหรับตีในวันพระซึ่งได้ยินทั่วตำบลหนองควาย


การเดินทาง

“วันต้นเกว๋น” อยู่ใน บ้านหนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ บนถนนสายหางดง-สะเมิง เลยสี่แยกสะเมิง(สี่แยกข้ามคลองชลประทาน)ไปสัก ๑๐๐ เมตร มองหาป้ายวัดอยู่ทางซ้ายมือ ชื่อวัด “วัดอินทราวาส”(วัดต้นเกว๋น) เข้าไปในซอยไม่ไกลมาก ก็จะเจอวัดแล้ว หรือจะสังเกตได้ว่าวัดจะอยู่หลัง อบต.หนองควาย
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ว่าด้วยเรื่อง...วัด

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 03 ม.ค. 2016 8:43 pm

วัดสังเวช โบราณสถานอายุห้าร้อยกว่าปีในกองบิน ๔๑ เชียงใหม่

วัดสังเวช เป็นวัดที่พระเจ้ายอดเชียงราย หรือพระญายอดเชียงราย กษัตริย์เชียงใหม่ ราชวงศ์มังราย องค์ที่๑๐ ได้มีรับสั่งให้ประหารบุคคลที่ใส่ร้าย ว่า ‘ท้าวบุญเรือง’พระราชบิดาของพระองค์วางแผนแย่งชิงราชบัลลังก์พระเจ้าติโลกราช(ท้าวบุญเรืองเป็นโอรสพระองค์เดียวของพระเจ้าติโลกราช) ทำให้ท้าวบุญเรืองต้องโทษประหาร ต่อมาเมื่อพระเจ้ายอดเชียงรายขึ้นนั่งแท่นแก้วเสวยเมืองจึงรับสั่งให้ประหารผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใส่ร้ายพระราชบิดา แต่ต่อมาพระองค์ทรงเกิดความสลดพระทัยเกรงว่าจะเป็นการสร้างเวรกรรมต่อกัน จึงได้สร้างวัดสังเวชขึ้น ในปี พ.ศ.๒๐๓๕

3700080871464.jpg
3700080871464.jpg (158.56 KiB) เปิดดู 15833 ครั้ง


พระราชประวัติพระญายอดเชียงราย

พระญายอดเชียงราย มีพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระเมืองยอด(ท้าวยอดเมือง) ทรงเป็นกษัตริย์ล้านนาลำดับที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์มังรายทรงเป็นโอรสของท้าวบุญเรือง เจ้าเมืองเชียงรายซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้าติโลกราช ท้าวยอดเชียงรายประสูติที่เชียงราย และในฐานะที่เป็นหลานของพระเจ้าติโลกราชจึงได้ครองเมืองแช่สัก ท้าวยอดเชียงรายเป็นกำลังสำคัญในการทำศึกสงครามของพระเจ้าติโลกราช ครั้นถึงปลายรัชสมัยของพระอัยกา ท้าวบุญเรืองพระบิดาต้องอาญาถูกเนรเทศไปอยู่เมืองน้อยและถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา เพราะเหตุถูกท้าวหอมุก พระสนมเอกของพระเจ้าติโลกราชทูลยุยงใส่ร้ายท้าวบุญเรือง ท้าวยอดเชียงรายในฐานะโอรสของท้าวบุญเรืองจึงได้รับสิทธิในการสืบราชสมบัติแทนพระบิดา ครั้นพระเจ้าติโลกราชสิ้นพระชนม์ ท้าวยอดเชียงรายจึงได้ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.๒๐๓๐ พระญายอดเชียงรายขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้ ๓๒ พรรษา อยู่ในราชสมบัติได้ ๘ ปี (คัมภีร์ชินกาลมาลีเรียกพระนามว่า ชังรายัคคราชา) ทรงจัดพิธีถวายพระเพลิงพระศพพระเจ้าติโลกราช ผู้เป็นพระอัยกา ณ วัดมหาโพธาราม แล้วก่อสถูปใหญ่บรรจุพระอัฐิและอังคารธาตุไว้ในวัดนั้น ใน พ.ศ. ๒๐๓๕ ทรงสร้างวัดตโปทาราม และโปรดให้ชำระขัณฑสีมาที่เกาะดอนแท่น

3700091504376.jpg
3700091504376.jpg (170.16 KiB) เปิดดู 15833 ครั้ง


ในรัชกาลนี้ปรากฏเหตุพระแก้วขาว พระพุทธรูปสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ หอพระแก้วหายไป จึงทรงให้สืบได้ความว่าพระภิกษุชาวอยุธยาทำอุบายลอบนำไปยังอยุธยา หลังจากส่งสาส์นและเครื่องบรรณาการไปยังพระมหากษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยาแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้า พระญายอดเชียงรายจึงยกทัพหลวงไปกรุงศรีอยุธยา ตั้งทัพเพื่อทวงเอาพระแก้วขาว เวลาล่วงไป ๑ เดือนจึงได้พระแก้วขาวคืนมา ในช่วงดังกล่าวได้เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง โดยหลักฐานของจีนทำให้สันนิษฐานได้ว่าพระญายอดเชียงรายทรงตอบสนองความต้องการของจีนหรือกรมการเมืองของยูนนานมาก จนไม่สนใจความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานท้องถิ่นคือ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานพื้นเมืองลำพูน ที่กล่าวถึงพระญายอดเชียงรายไม่รักเจ้าแก้ว(รัตนราชกุมาร) ราชบุตรของพระองค์ที่เกิดจากพระเทวีชื่อ ปงน้อย (ปร่งน้อย หรือโป่งน้อย) แต่กลับเอาใจใส่ลูกฮ่อ ซึ่งเลี้ยงเป็นลูกและให้ไปครองเมืองพร้าว ทั้งยังมีการกล่าวถึงเจ้าแก้วที่ถูกบังคับให้ไหว้ลูกฮ่ออีกด้วย เนื่องจากการที่พระองค์สนิทสนมกับฮ่อมากเกินไป จึงสร้างความไม่พอใจแก่เหล่าขุนนางเนื่องจากพระองค์ไม่ทรงรับฟังขุนนาง ซึ่งขุนนางเหล่านั้นต่างเชื่อถือโชคลางและเห็นว่าวิปริตต่างๆ เกิดจากการปฏิบัติที่มิได้เป็นไปตามขัติยประเพณีจารีต ท้าวคลองพญา หมู่อำมาตย์ราชวงศานุวงศ์สมณพราหมณาจารย์และราษฎรพากันเดือดร้อน ท้ายที่สุดพระองค์ก็ถูกขุนนางปลดออกจากราชสมบัติ แล้วถูกเนรเทศไปอยู่เมืองชวาดเมืองน้อย(เมืองซะมาดในเขตแม่ฮ่องสอน) ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๐๓๘ จากนั้นก็ยกเจ้ารัตนราชกุมาร ชนมายุ ๑๔ พรรษา ราชบุตรของพระองค์ที่เกิดกับนางโป่งน้อยขึ้นครองราชย์แทนต่อมาขณะที่มีการยกเจ้าแก้วขึ้นครองราชย์ ก็พบว่านางโป่งน้อย มีอำนาจสูงมาก เนื่องจากมีบทบาทในการปกครองร่วมกับพระโอรส โดยในหลักฐานมีการเรียกมหาเทวีและกษัตริย์ว่า "พระเป็นเจ้าสองพระองค์" และ “พระเป็นเจ้าแม่ลูกทั้งสอง”ขณะเดียวกันบทบาทของขุนนางได้เพิ่มพูนมากขึ้นตามลำดับ ส่วนกษัตริย์กลับถูกลิดรอนอำนาจ ส่วนพระญายอดเชียงราย เมื่อถูกปลดและเนรเทศไปอยู่เมืองชวาดเมืองน้อย (เขตตำบลแม่ขะจาน เวียงป่าเป้า) อยู่ต่อมาอีก ๑๑ ปี พระชนมายุได้ ๕๑ พรรษาจึงสิ้นพระชนม์ในปีขาล พ.ศ.๒๐๔๙
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ว่าด้วยเรื่อง...วัด

โพสต์โดย Namfar » พุธ 04 พ.ค. 2016 12:47 pm

ศาลเจ้าสมคำแดง แจ่งหัวริน

13138767_1148936821825019_246473421320824194_n.jpg
13138767_1148936821825019_246473421320824194_n.jpg (119.5 KiB) เปิดดู 15730 ครั้ง


13178964_1149553695096665_7372064669571575943_n.jpg
13178964_1149553695096665_7372064669571575943_n.jpg (76.17 KiB) เปิดดู 15730 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ว่าด้วยเรื่อง...วัด

โพสต์โดย Namfar » พุธ 04 พ.ค. 2016 12:50 pm

๑.วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ไหว้สาพระธาตุหริภุญชัย เป็นที่แรกเนื่องจากทางล้านนาจะยกให้วัดแห่งนี้เป็นเก๊าเหง้า ยามใดจะมีงานสลากภัตก็จะต้องเริ่มที่วัดแห่งนี้ก่อน วัดนี้เป็นวัดประจำของผู้ที่เกิดปีเร้าหรือปีระกา

20160503_081259_resize.jpg
20160503_081259_resize.jpg (94.58 KiB) เปิดดู 15730 ครั้ง
ไฟล์แนป
20160503_083143_resize.jpg
20160503_083143_resize.jpg (109.8 KiB) เปิดดู 15730 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ว่าด้วยเรื่อง...วัด

โพสต์โดย Namfar » พุธ 04 พ.ค. 2016 12:52 pm

๒.วัดเชียงมั่น วัดแห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้นหลังสร้างเมืองเชียงใหม่ เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว

20160503_105535_resize.jpg
20160503_105535_resize.jpg (133.43 KiB) เปิดดู 15730 ครั้ง
ไฟล์แนป
20160503_110217_resize.jpg
20160503_110217_resize.jpg (98.57 KiB) เปิดดู 15730 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย Namfar เมื่อ พุธ 04 พ.ค. 2016 12:53 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ว่าด้วยเรื่อง...วัด

โพสต์โดย Namfar » พุธ 04 พ.ค. 2016 12:52 pm

20160503_110347_resize.jpg
20160503_110347_resize.jpg (104.53 KiB) เปิดดู 15730 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ว่าด้วยเรื่อง...วัด

โพสต์โดย Namfar » พุธ 04 พ.ค. 2016 12:54 pm

๓. วัดเชียงยืน วัดอันเป็นเดชเมืองเชียงใหม่ สร้างในรัชสมัยของพญามังราย

พระเจ้าทันใจประดิษฐานในศาลา ข้างเจดีย์

20160503_104006_resize.jpg
20160503_104006_resize.jpg (126.34 KiB) เปิดดู 15730 ครั้ง


พระประธานในวิหาร
ไฟล์แนป
20160503_104531_resize.jpg
20160503_104531_resize.jpg (129.07 KiB) เปิดดู 15730 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ว่าด้วยเรื่อง...วัด

โพสต์โดย Namfar » พุธ 04 พ.ค. 2016 12:56 pm

20160503_104215_resize.jpg
20160503_104215_resize.jpg (100.51 KiB) เปิดดู 15730 ครั้ง
20160503_104215_resize.jpg
20160503_104215_resize.jpg (100.51 KiB) เปิดดู 15730 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ว่าด้วยเรื่อง...วัด

โพสต์โดย Namfar » พุธ 04 พ.ค. 2016 12:59 pm

๔. วัดชัยพระเกียรติ แต่เดิมมีชื่อว่า “วัดชัยผาเกียรติ์” โคลงนิราศหริภุญไชยกล่าวถึงพระอารามแห่งนี้เอาไว้ว่า สร้างขึ้นในช่วงที่ราชวงศ์มังรายปกครองเมืองเชียงใหม่ วัดนี้ประดิษฐานพระเจ้าห้าตื้อ

20160503_111537_resize.jpg
20160503_111537_resize.jpg (125.5 KiB) เปิดดู 15730 ครั้ง
ไฟล์แนป
20160503_111735_resize.jpg
20160503_111735_resize.jpg (89.31 KiB) เปิดดู 15730 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ว่าด้วยเรื่อง...วัด

โพสต์โดย Namfar » พุธ 04 พ.ค. 2016 1:00 pm

๕.วัดหมื่นล้าน วัดหมื่นล้าน มีชื่อเดิมว่า “วัดหมื่นสามล้าน” มีหลักฐานกล่าวไว้ว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๐๒ โดย “หมื่นโลกสามล้าน” ขุนพลคู่พระทัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์พระองค์ที่ ๙ แห่งเวียงพิงค์ หมื่นโลกสามล้านนานั้นคนส่วนใหญ่รู้จักกันในนาม “หมื่นด้ง” หรือ “หมื่นด้งนคร” ท่านสร้างวัดนี้เพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับแม่ทัพนายกอง และทหารของล้านนาที่เสียสละชีพในสงคราม เนื่องจากท่านเป็นแม่ทัพใหญ่ของเชียงใหม่จนตลอดชีพ

20160503_112508_resize.jpg
20160503_112508_resize.jpg (102.71 KiB) เปิดดู 14802 ครั้ง
ไฟล์แนป
20160503_112629_resize.jpg
20160503_112629_resize.jpg (113.88 KiB) เปิดดู 14802 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย Namfar เมื่อ พุธ 04 พ.ค. 2016 2:51 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ว่าด้วยเรื่อง...วัด

โพสต์โดย Namfar » พุธ 04 พ.ค. 2016 1:02 pm

๖.วัดดวงดี วัดแห่งนี้มีจารึกที่ฐานพระประธานภายในพระวิหารระบุเอาไว้ว่า พระประธานองค์นี้สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว ปี พ.ศ. ๒๐๓๙

20160503_113841_resize.jpg
20160503_113841_resize.jpg (135.54 KiB) เปิดดู 14802 ครั้ง


วิหารหลังเก่า
ไฟล์แนป
20160503_114112_resize.jpg
20160503_114112_resize.jpg (96.7 KiB) เปิดดู 14802 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 60 ท่าน

cron