ศาสนาพุทธ วัด ความเชื่อ และความศรัทธาของล้านนา

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: วัด ความเชื่อ และความศรัทธาของล้านนา

โพสต์โดย ภาษาสยาม » เสาร์ 07 พ.ค. 2016 3:11 pm

WP_20160506_002_resize.jpg
WP_20160506_002_resize.jpg (429.46 KiB) เปิดดู 7942 ครั้ง


วัดพระธาตุกลางใจเมืองเป็นวัดสำคัญที่ไม่ค่อยมีใครรู้ประวัติ จึงไม่เห็นความสำคัญ วัดแห่งนี้สร้างโดยพระเจ้ากือนาธรรมมิกราช เมื่อ ๖๓๑ ปีที่แล้ว คือในปี พ.ศ.๑๙๒๘ ประทานนามว่า 'วัดสะดือเมือง' เนื่องจากอยู่ใจกลางเมืองพร้าว ต่อมากลายเป็นวัดร้างเมื่อล้านนาเสียแก่พม่า จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ครูบาศรีวิชัยเดินทางมายังเมืองพร้าว ได้พบพระบรมสารีริกธาตุ และโบราณวัตถุที่มีค่า อาทิ หินสีนิล ท่านจึงบูรณะวัดขึ้นใหม่และตั้งชื่อว่า 'วัดพระธาตุกลางใจเมือง' เมื่อท่านมรณภาพได้นำอัฐิกระดูกแขนขวาของท่านมาบรรจุไว้ในสถูปที่วัดแห่งนี้จนปัจจุบัน
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: วัด ความเชื่อ และความศรัทธาของล้านนา

โพสต์โดย Namfar » ศุกร์ 28 เม.ย. 2017 10:12 pm

วัดพระธาตุดอยคำ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวแม่เหียะ รวมไปถึงชาวเชียงใหม่มานานกว่า ๑,๔๐๐ ปี เป็นสถานอันศักดิ์สิทธิ์เป็นศูนย์รวมน้ำใจของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา

01-400x600.jpg
01-400x600.jpg (86.17 KiB) เปิดดู 7861 ครั้ง


วัดพระธาตุดอยคำ ตั้งอยู่ที่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เดินทางไปตามเส้นทางเลียบคลองชลประทาน จะมีป้ายบอกข้ามคลองไปทางตำบลแม่เหียะ และพบทางขึ้นเขาไปยังพระธาตุดอยคำ ตามประวัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ วัดดอยคำเป็นวัดร้าง ต่อมากรุแตก ชาวบ้านพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ (เนื้อดิน) ซึ่งนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระธาตุดอยคำ พระธาตุดอยคำนอกจากจะเป็นที่สักการะบูชาของคนท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์อีกแห่งหนึ่งของการบินไทยที่ใช้กำหนดพื้นที่ทางสายตา ก่อนที่จะลงจอดที่สนามบิน

สำหรับเรื่องปฏิหาริย์หรือสิ่งอันเร้นลับในวัดแห่งนี้ก็มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำ โดยเฉพาะ “หลวงพ่อทันใจ” ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าท่านจะให้โชคลาภและมีญาณวิเศษที่รักษาโรคภัยไข้เจ็บ แม้กระทั่งอัมพฤกษ์หรืออัมพาตให้หายขาดได้ รวมถึงผู้คนที่นิยมเสี่ยงดวงกับกับการซื้อหวย ก็ล้วนได้รับโชคลาภกันอย่างไม่น่าเชื่อ
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: วัด ความเชื่อ และความศรัทธาของล้านนา

โพสต์โดย Namfar » พฤหัสฯ. 12 ต.ค. 2017 8:30 am

พระพุทธศาสนาสมัยล้านนา

4545.jpg
4545.jpg (78.83 KiB) เปิดดู 7730 ครั้ง


พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๖ สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ๙ สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง ๗ ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ


ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ภาคเหนือของไทยสมัยปัจจุบันนั้น ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งแห่งอาณาจักรล้านนาอันรุ่งเรือง พระนางจามเทวี พระราชธิดาแห่งกษัตริย์มอญ ในอาณาจักรทวาราวดีได้ขึ้นมาครองเมืองหริภุญไชยทรงเป็นกษัตริย์องค์แรก


เมืองหริภุญไชย คือ ลำพูนในปัจจุบัน
๑. ได้ทรงนำเอาอารยธรรมแบบทวาราวดีขึ้นมาเผยแผ่ เช่น การสร้างสถูป สุวรรณจังโกฎิเจดีย์ เป็นต้น
๒.ทรงนำเอาพระพุทธศาสนาเถรวาทมาเผยแผ่ด้วย ทำให้พุทธศาสนาประดิษฐานอย่างมั่นคงในสมัยนี้
๓. ทรงสร้างวัดไว้ ๔ มุมเมือง เรียกว่า เป็นจตุรพุทธปราการ
๔. เมื่องขอมมีอำนาจทำให้อิทธิของศิลปะทวาราวดีสามารถกั้นวัฒนธรรมของขอมถึงแค่ลำน้ำปิงเท่านั้น
๕. สมัยพระเจ้าอาทิจจราชแห่งลำพูน ทรงสร้างพระธาตุหริภุญไชย มีการเรียนพระไตรปิฎก พุทธศาสนาใช้ภาษาแบบบาลีเพราะไทยติดต่อกับลังกา


ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พญามังราย กษัตริย์แห่งนครเงินยาง (เชียงแสนเก่า) ได้รวบรวมเผ่าไทยในอาณาจักรล้านนาขึ้นเป็นปึกแผ่นเพราะทรงขับไล่มอญออกจากลุ่มน้ำปิงสำเร็จ ปี พ.ศ.๑๘๓๙ พญามังราย ทรงสร้างราชธานีขึ้น ชื่อว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ ลุ่มแม่น้ำปิง ได้สร้างเมือง สร้างวัง และวัดขึ้น ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ได้สร้างวัดต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่เป็นฝ่ายคามวาสี และอรัญญวาสี จนพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง เมืองต่างๆ ในอาณาจักรล้านนา เช่น เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา ต่างก็มีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพระพุทธศาสนา พิธีกรรมและความเชื่อทางศาสนามีอิทธิพลต่อชาวล้านนาอย่างมาก
๑. เข้าตีเมืองหริภุญไชย ทอดพระเนตรเห็นวัดพระบรมธาตุ โดนไฟไฟหม้แต่วิหารที่ประดิษฐานพระเสตังคมณี(พระแก้วขาว สร้างในสมัยพระนางจามเทวี) ไม่ไหม้ไฟก็ทรงเลื่อมใสมาก
๒. ทรงโปรดสร้างเมืองที่เชิงเขาสุเทวบรรพต (ดอยสุเทพ) บนฝั่งขวาแม่น้ำปิง ปัจจุบันนี้คือ เชียงใหม่(นวบุรี)
๓. เป็นกษัตริย์องค์แรกแห่งล้านนา
๔. ทรงสร้างวัดเชียงมั่น เพื่อประดิษฐานพระเสตังคมณีโดยสถาปนาพระตำหนักเป็นวัด
๕. ทรงรับพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทจากมอญ ศิลปกรรมทางศาสนา จึงมีอิทธิพลทวาราวดีอยู่มาก


นักโบราณคดีแบ่งสมัยพระพุทธรูปทางภาคเหนือ เป็น ๒ สมัย คือ
๑. เชียงแสนยุคต้น พระพุทธรูปเป็นแบบอินเดียสมัยราชวงศ์ปาละมหาวิทยาลัยนาลันทากำลังรุ่งเรือง นักปราชญ์เดินทางไปมาอยู่เนืองๆ ลักษณะของพระพุทธรูป พระองค์อวบอ้วน พระรัศมีเป็นต่อมกลม นั้งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์มารวิชัย (พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางห้อยลงมาทางพระชานุขวา) พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวพระถัน พระพักตร์กลมสั้น พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม เส้นพระศกใหญ่เป็นต่อมกลม หรือเป็นก้นหอย ไม่มีไรพระศก ฐานมีบัวรองมีทั้งบัวคว่ำบัวหงาย มีกลีบแซมและมีเกสร
๒. เชียงแสนรุ่นหลัง เป็นของไทย ชาวล้านนาและลานช้างทำอย่างสุโขทัย มีลักษณะต่างจากรุ่นแรกมาก คือ ลักษณะของพระพุทธรูป ทำรัศมีเป็นเปลว นั่งขัดสมาธิราบ ชายสังฆาฏิยาว เสันพระศกละเอียด มีไรพระศกเอาอย่างมาจากสุโขทัยซึ่งสุโขทัยก็เอาอย่างมาจากลังกา


สมัยพระเจ้ากือนา
ทรงเป็นธรรมิกราช ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข พระองค์ทราบข่าวว่าพระชาวลังกาชื่อ พระอุทุมพรบุบผามหาสวามี มาอาศัยอยู่ที่นครพัน(เมาะตะมะ) เผยแผ่ลัทธิลังกาวงศ์อยู่ จึงส่งทูตไปนิมนต์ แต่พระอุทุมพรฯ ทรงปฏิเสธว่าชรามากแล้ว จึงส่งพระหลานชายมาแทน ชื่อ พระอนันทเถระ
เหตุการณ์สำคัญในสมัยพระเจ้ากือนา
๑. ทรงบวชกุลบุตรชาวเชียงใหม่ตามแบบลังกาวงศ์ โดยพระอุทุมพรฯ สั่งให้นิมนต์พระจากสุโขทัย(สมัยพระเจ้าลือไทย)มาเป็นอุปัชฌาย์ คือ พระสุมนเถระ กับพระอโนทัสสีเถระ ส่วนตัวพระอุทุมพร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทั้งสองมาจำพรรษาที่วัดพระยืน ลำพูน อุปสมบทชาวลำพูนเป็นจำนวนมาก เมื่อออกพรรษาจึงขึ้นไปเชียงใหม่ จำพรรษาอยู่ที่วัดสวนดอก
๒. ทรงสถาปนาพระสุมนะเถระ ขึ้นเป็นพระสังฆราช เป็นองค์แรกแห่งล้านนา
๓. พระเจ้ากือนาทรงสร้างพระบรมธาตุส่วนหนึ่งที่วัดสวนดอกและที่ดอยสุเทพ(สุเทวบรรพต) เป็นศิลปะแบบลังกา


สมัยพระเจ้าแสนเมือง
เมื่อพระเจ้ากือนาเสด็จสวรรคตโอรสชื่อพระเจ้าแสนเมืองขึ้นครองราชย์ได้พระพุทธสิหิงค์มาจากเชียงราย จึงโปรดสร้างวัดพระสิงห์ เป็นที่ประดิษฐานจนถึงปัจจุบัน


สมัยพระเจ้าติโลกราช พระราชนัดดาของพระเจ้าแสนเมือง
ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ได้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันขึ้น ณ วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) เมื่อ ปี พ.ศ.๒๐๒๐ ในสมัยล้านนา ได้เกิดมีพระเถระนักปราชญ์ชาวล้านนาหลายรูป ท่านเหล่านั้นได้รจนาคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ พระสิริมังคลาจารย์ พญาณกิตติเถระ พระรัตนปัญญา พระโพธิรังษี พระนันทาจารย์ และพระสุวรรณรังสี ในช่วงเวลานั้นคณะสงฆ์ได้แตกแยกออกเป็น ๓ นิกาย คือ
๑. นิกายเดิม
๒. นิกายที่สืบเนื่องมาจากพระสุมนะ
๓. นิกายลังกาวงศ์ใหม่ มีพระเมธังกร เป็นหัวหน้าตั้งสำนักที่วัดป่ากวางเชิงดอยสุเทพประพฤติ
เคร่งครัดกว่าลังกาวงศ์เดิมซึ่งตั้งอยู่ที่วัดสวนดอก พวกอำมาตย์เลื่อมใสพระสงฆ์ลังกาวงศ์ใหม่ ทรงอุปถัมภ์นานาประการ ได้ผนวชในนิกายนี้เป็นเวลา ๗ วัน เมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๕ ทรงสถาปนาพระเมธังกรเป็นพระสังฆราชแห่งล้านนา


เหตุการณ์สำคัญในสมัยพระเจ้าติโลกราช
๑. พ.ศ.๑๙๙๙ โปรดให้สร้างวัดชื่อมหาโพธาราม ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเชียงใหม่ จำลองแบบวิหารพุทธคยา โลหะปราสาทรัตนมาลีเจดีย์ขึ้น ซึ่งเรียกว่าวัดเจดีย์เจ็ดยอดมาถึงทุกวันนี้
๒. พ.ศ.๒๐๒๐ โปรดให้มีการทำสังคายนา พระธรรมวินัยขึ้น ณ วัดมหาโพธาราม มีพระธรรมทินนาเถระเป็นประธาน ทำการสังคายนาอยู่ ๑ ปี จึงแล้วเสร็จ
๓. การศึกษาทางเมืองเหนือรุ่งเรืองกว่าทางอยุธยา มีพระเถระเชียงใหม่รจนาปกรณ์เป็นภาษาบาลีหลายรูป เช่น พระสิริมังคลาจารย์ และพระรัตนปัญญาเป็นต้น


สมัยพระเจ้าเมืองแก้ว
เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศสานา
๑. ทรงสร้างวัดและเรื่องบวชเป็นกิจประจำทุกปี มีพิธีบวชนาคครั้งใหญ่คือ พิธีบวชนาคหลวง จำนวน ๑,๒๐๐ รูป มีพิธีติดต่อกันหลายวัน
๒. มีการฟื้นฟูศาสนาจนได้มีคัมภีร์สำคัญที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้คือ
๒.๑ ปัญญาสชาดก คือ ชาดก ๕๐ เรื่อง เช่น สมุทโฆษชาดก แต่งเลียนแบบอรรถกถาชาดกเก่าลังกา เป็นต้น
๒.๒ พระสิริมังคลาจารย์ แต่งคัมภีร์มังคลัตถทีปนี อธิบายมงคลสูตร(มงคล ๓๘) แต่งพระเวสสันดรทีปนี อธิบายเรื่องพระเวสสันดร ฯลฯ
๒.๓ พระญาณกิตติ แต่งโยชนา(หนังสือประกอบ) พระวินัย และ พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ แลัโยชนาอภิธัมมัตถสังคหะ
๒.๔ พระรัตนปัญญา แต่งชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นประวัติศาสตร์ พุทธศาสนาในลังกาและเมืองไทยโดยสังเขป

การสร้างวัดของชนชาวล้านนา มีความเชื่อว่า วัดมีความหมายในฐานะจักรวาลอันเป็นที่รวมของสรรพสิ่ง สรรพสัตว์ต้องเวียนว่ายตายเกิดตามวัฏสังสาร กำแพงวัดเปรียบเสมือนจักรวาลอันหาที่สุดมิได้ พระวิหารเปรียบเสมือนอนุทวีป อันเป็นที่สถิตของเหล่าทวยเทพ พระธาตุเจดีย์เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ อันเป็นแกนกลางของจักรวาล ลานทรายรอบๆวัดเปรียบได้กับทะเลสีทันดรอันล้อมรอบเขาพระสุเมรุ เหตุนี้เองจึงทำให้สรรพสัตว์ผู้มีกรรมเป็นผู้กำหนด ต้องแหวกว่ายเพื่อจะข้ามท้องทะเลไปพบแสงแห่งพระธรรม นอกจากนี้วัดทุกวัดและองค์พระประธานจะถูกสร้างให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเสมอ เพื่อให้รับแสงแห่งอรุณซึ่งเปรียบประดุจประทีปธรรมแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บันไดที่ทอดลงมาจากวิหารจะมีนาคเฝ้า เพื่อรำลึกถึงเมื่อครั้งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จเทศนาธรรมโปรดสัตว์ ได้มีพญานาคตนหนึ่งเกิดความเลื่อมใสจึงขอบวชเป็นพระสาวก แต่พระพุทธองค์ไม่อนุญาต พญานาคจึงขอติดตามรับใช้พระองค์ไปทุกหนทุกแห่ง พุทธบัญญัติจึงบัญญัติเอาไว้ว่า ก่อนจะบวชเป็นพระหรือสามเณรผู้บวชจะต้องบวชเป็นนาคก่อน เพื่อระลึกถึงความตั้งใจของพญานาคตนนั้น และเป็นที่มาของการสร้างบันไดนาคให้เฝ้าองค์พระบนวิหารสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ที่มา พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พระพุทธศาสนาในอาเซีย, http://www.templethailand.org
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ศาสนาพุทธ วัด ความเชื่อ และความศรัทธาของล้านนา

โพสต์โดย Namfar » พุธ 18 ต.ค. 2017 4:04 pm

ชาวล้านนาจะมีคำนามเรียกขานเจ้าอาวาสวัดว่า ตุ๊เจ้า ซึ่งมาจากคำว่า สวาธุเจ้า ในอดีต ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา คำว่า “สวาธุเจ้า” เกิดการกร่อนคำมาเป็นคำว่า “ตุ๊เจ้า” ดังที่เรามักจะได้ยินกันในปัจจุบัน

325161.jpg
325161.jpg (24.6 KiB) เปิดดู 7726 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ศาสนาพุทธ วัด ความเชื่อ และความศรัทธาของล้านนา

โพสต์โดย Namfar » พุธ 18 ต.ค. 2017 4:07 pm

ครูบา สมณศักดิ์แห่งวัฒนธรรมล้านนา

ครูบา_resize.jpg
ครูบา_resize.jpg (67.65 KiB) เปิดดู 6892 ครั้ง




๑. "ครูบา" เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า "ครุปิ อาจาริโย" แปลว่า เป็นทั้งครูและอาจารย์ มาจากคำว่า "ครุปา" ภายหลังเพี้ยนเป็น "ครูบา" ในที่สุด เป็นคำที่พบว่า ใช้กันเฉพาะในกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาเท่านั้น ที่หมายถึง ตำแหน่งของพระสงฆ์ผู้ที่ได้รับการพิจารณา เลือกสรรแล้ว ว่ามีศีลาจารวัตรเรียบร้อย มั่นคงอยู่ในพระธรรมวินัย เป็นที่ยอมรับทั้งในส่วนของคณะสงฆ์ และฆราวาส ศรัทธาประชาชนทั่วไป หรือมีผลงานปรากฏแก่ชุมชน ในการก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างวัดวาอาราม เช่น ครูบาอภัยสารทะ(ครูบาหลวง วัดฝายหิน) ครูบาศรีวิชัย ครูบาขาวปี ครูบาบุญชุ่ม เป็นต้น หรือมีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ในการทำงานเพื่อพระศาสนา หรือเป็นที่พึ่งของประชาชน เช่น ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง เป็นหมอยาแผนโบราณ ครูบากัญจนะ เมืองแพร่ เชี่ยวชาญเรื่องการจาร รวบรวมคัมภีร์ใบลาน ครูบา จึงเป็นคำนำหน้าเฉพาะพระสงฆ์ รูปนั้นๆ ซึ่งพระภิกษุทั่วๆไปไม่มีสิทธิ์ใช้ หรือแต่งตั้งตัวเองเป็นครูบา

๒.การสถาปนาครูบาในล้านนานั้นทำครั้งสุดท้ายในสมัยเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ชุดที่ได้รับการสถาปนา รดน้ำมุรธานั้นก็คือ ครูบาหลวงวัดฝายหิน(อภัยสารทะ) จากนั้นการคณะสงฆ์ล้านนา ก็ถูกเรียกอำนาจการบริหารจัดการเข้าไปรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ และครูบาหลวงอภัยสารทะก็ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าคณะจังหวัดรูปแรกของ จังหวัดเชียงใหม่

๓. ครูบา เป็นตำแหน่งของพระสงฆ์สงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิต้องพร้อมทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ เปรียบเทียบสมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ นครเชียงตุงในปัจจุบัน

๓.๑ สมเด็จพระอาชญาธรรม เป็นตำแหน่งสูงสุดในคณะสงฆ์ เป็นผู้มีอายุ ๗๐ และมีพรรษา ๕๐ ขึ้นไป

๓.๒ พระครูบา เป็นตำแหน่งของพระสงฆ์สงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้มีอายุ ๔๐ และมีพรรษา ๒๐ ขึ้นไป (มีผู้ให้ข้อมูลว่า ทางล้านนาพระสงฆ์จะต้องมีอายุ ๔๕ ปีขึ้นไป)

๓.๓ พระสวามี เป็นตำแหน่งของสงฆ์ผู้อุดมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นผู้มีอายุ ๓๐ และมีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป

๓.๔ พระสวาทิ เป็นตำแหน่งของสงฆ์ผู้ทรงศีล สมาธิ ปัญญา เป็นผู้มีอายุ ๓๐ และมีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป

ทั้ง นี้ การถวายสมณศักดิ์จะอยู่ในดุลยพินิจของคณะสงฆ์ และสำนักโฆปก(คล้ายสำนักงานพระพุทธศาสนา)ของนครเชียงตุง ซึ่งในบางกรณี อาจมีการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษเพื่อความเหมาะสม เช่นครูบาบุญชุ่ม เป็นต้น

นอกเหนือจากตำแหน่งที่เป็นทางการนี้ทางเชียงตุงยังปรากฏว่ายังมีตำแหน่งทางสังคมอื่นๆอีก ได้แก่

๓.๕ สามเณรศีลมั่น คือสามเณรที่ตั้งแต่บวชมาเณรถือศีลมาโดยตลอด ไม่ซุกซนเหมือนเณรน้อยทั่ว ๆ ไป ที่สำคัญการวัตรปฏิบัติก็ดี เรียบร้อย จึงเป็นที่เคารพรัก

๓.๖ หากสามเณรศีลมั่นยังมีความมั่นคงอยู่ถึงเป็นพระภิกษุ ก็จะเรียกว่า “ตุ๊เจ้าศีลธรรม” ดังที่ครูบาศรีวิไชยของล้านนาเรา ได้รับการเรียกขานอีกนามหนึ่งว่า “ครูบาศีลธรรม”

๓.๗ หากท่านได้ตั้งใจประพฤติดี ไม่หวั่นไหว ถึงขั้นสัจจะอธิษฐานว่า ขอเป็นพระโพธิสัตว์ หรือขอบำเพ็ญบารมีช่วยเหลือผู้คนให้พ้นทุกข์ ขอเป็นพระพุทธเจ้าองค์ในอนาคต เช่นนี้ก็จะได้ชื่อว่า "เจ้าหน่อต๋นบุญ”

๔.ประเพณีการสรงน้ำ หรือรดน้ำพระสงฆ์ขึ้นเป็นครูบาจึงหายไปจากล้านนานับแต่นั้น ครูบาศรีวิชัย คือผู้ได้รับผลกระทบอย่างมากจากกระบวนการรวมศูนย์นี้ เนื่องเพราะมาในจังหวัดหัวเลี้ยวหัวต่อพอดี เมื่อพิธีกรรมดังกล่าวหายไปจากล้านนากลับปรากฏว่า ในรัฐฉาน เมืองยอง และเมืองเชียงตุง อันเป็นบ้านพี่เมืองน้องของเชียงใหม่ยังคงมีประเพณีในการสรงน้ำสถาปนาครูบาสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

๕.การถวายสมณศักดิ์จะอยู่ในดุลยพินิจของคณะสงฆ์ ในเชียงตุงคือ สำนักโฆปก(คล้ายสำนักงานพระพุทธศาสนา)ของนครเชียงตุง ซึ่งในบางกรณี อาจมีการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษเพื่อความเหมาะสม เช่นครูบาบุญชุ่ม เป็นต้น

ก่อนการสถาปนาจะมีการป่าประกาศให้ ประชาชนได้ทราบก่อนว่า จะยกยอพระภิกษุรูปนี้ขึ้นไปเป็นครูบา ขอให้ศรัทธาชาวบ้านได้ไปร่วมอนุโมทนา สมเด็จอาชญาธรรม(ใส่) วัดเชียงยืนราชฐาน องค์ปัจจุบันโปรดเมตตาเล่าให้ฟังว่า“ หากพระภิกษุรูปใด ไม่มีศีลธรรม บ่มีคุณสมบัติตามที่นำเสนอมา อันเป็นการมุสาคณะสงฆ์ หลอกลวงเอาฐานะที่ไม่สมควรแก่ตน ยังแห่ไม่เสร็จก็จะเป็นไข้ ไม่สบาย แสดงว่าไม่มีบุญที่จะได้รับการสถาปนา แต่หากสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เจ็บไข้ นั้นย่อมหมายความว่า เป็นผู้มีบุญญาธิการ บุญศีลธรรมกัมมัฏฐานคุ้มครอง ควรแก่การยกยอขึ้นสู่ตำแหน่งนั้นๆ”

ที่มา พระมหาสง่า ธีรสํวโร จาก การสัมมนาวิชาการเรื่อง “เถราภิเษก พิธียอยกสมณศักดิ์พระสงฆ์ในล้านนา”
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ศาสนาพุทธ วัด ความเชื่อ และความศรัทธาของล้านนา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 02 ก.ย. 2019 9:02 pm

.......................
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot], Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 63 ท่าน

cron