จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย Namfar » ศุกร์ 20 พ.ค. 2016 3:04 pm

บ้านพะโป้ หรือ บ้านห้างโบราณสมัยรัชกาลที่ ๕ แรงบันดาลใจภาพยนตร์ "ชั่วฟ้าดินสลาย"

ypafl20150223235346.jpg
ypafl20150223235346.jpg (516.04 KiB) เปิดดู 12639 ครั้ง



บ้านที่สวยที่สุดในอดีตของคลองสวนหมาก เห็นจะได้แก่บ้านพะโป้ หรือที่ชาวกำแพงเพชรเรียกกันติดปากในปัจจุบันนี้ว่า “บ้านห้าง ร.5” ตั้งอยู่ริมคลองสวนหมาก คลองเล็กๆ ที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง บริเวณวัดพระบรมธาตุ

พะโป้ เป็นพ่อค้าไม้และเป็นคหบดีใหญ่ชาวกระเหรี่ยง ผู้ปฏิสังขรณ์เจดีย์โบราณพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม ต่อจากแซงพอ หรือพญาตะก่า ผู้เป็นพี่ชาย ได้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คราวเสด็จประพาสต้นวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ดังมีชื่อในพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ และมีภาพตัวบ้านในอัลบั้มภาพทรงถ่าย เคยมีชื่ออยู่ในนิยายอิงบรรยากาศจริงเรื่อง “ทุ่งมหาราช” ของ “เรียมเอง” หรือมาลัย ชูพินิจ นักเขียน ผู้ถือกำเนิดจากชุมชนปากคลองสวนหมากโดยตรง

จากถนนพหลโยธินเลี้ยวเข้าตลาดนครชุม ขับรถผ่านบ้านเรือนและตลาดเล็กๆ ที่น่ารักไม่กี่ร้อยเมตรก็ถึงวัดสว่างอารมณ์ นั่งดื่มโอเลี้ยงอร่อยๆ ได้ต้นไม้อันร่มรื่นบริเวณหน้าวัด แล้วเดินเลียบคลองสวนหมากต่อไปเพียงเล็กน้อยก็ถึงบ้านพะโป้ ทันทีที่เห็นบ้านสองชั้นสูงตระหง่านตรงหน้า เราจะรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของบ้านหลังนี้ได้โดยไม่มีใครต้องบอกเลย มันสูงใหญ่มาก สูงกว่าบ้านสองชั้นปกติทั่วไป มันตั้งอยู่บนเสาสูงเหนือพื้นและมีความกว้างถึง ๗ คูหา ข้างบนมีระเบียงไม้เป็นแนวยาว ทั้งเสาหลักและ ตัวราวกันตกกลึงเกลาอย่างบ้านฝรั่ง บนเชิงชายประดับด้วยลายลูกไม้ตามธรรมเนียมนิยม ในยามน้ำลดหน้าแล้ง หากเดินออกไปยืนดูวิวจากระเบียง จะมองเห็นลำคลองและหาดทรายแสนสวยคั่นระหว่างบ้านและตัวตลาด เป็นภาพที่งดงามยากยิ่งที่จะลืมเลือน

รูปทรงกลิ่นยุโรปของชาวบ้านให้นึกถึงคฤหาสน์แสนสวยที่เคยมีผู้คนพลุก พล่านอยู่ข้างใน มีนาย มีบ่าว มีเครื่องใช้ราคาแพง สมฐานะพ่อค้าไม่ผู้ร่ำรวย ยิ่งผู้ใดได้อ่านหนังสือทุ่งมหาราชอันหมายถึงท้องถิ่นแถบคลองสวนหมาก ที่พระปิยะมหาราช (รัชกลาที่ ๕) เคยสะเด็จประพาสต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ก็จะยิ่งจินตนาการเห็นภาพลึกเข้าไปราวเดินอยู่ในบรรยากาศเมื่อครั้งกระโน้น อย่างสดใสเกินบรรยาย

มาลัย หรือครูมาลัย เขียนเรื่องทุ่งมหาราชเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ ขณะอายุ ๕๐ ปี ของปู่มาลัยเป็นข้าราชการ ส่วนพ่อของมาลัยเป็นพ่อค้า ประกอบอาชีพค้าไม้สักและไม้กระยาเลยเป็นอันทรัพยากรสำคัญของกำแพงเพชร ภายหลังพ่อของมาลัยได้เป็นกำนันตำบลคลองสวนหมาก ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นตำบลนครชุม

รายละเอียดของมาลัย และรายละเอียดเกี่ยวกับบ้านพะโป้ คลองสวนหมากตลอดจนภูมิประเทศประวัติศาสตร์แถบกำแพงเพชร มีอยู่ในหนังสือสามเล่มที่ผมขอแนะนำให้ผู้สนใจไปหาอ่านต่อ

เล่มแรก คือ วารสารเมืองโบราณ ฉบับเดือนเมษายน – มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๖ ปกพะโป้กับภรรยา ข้างในมีข้อเขียนของฆรณี แสงรุจิ และศรัณย์ ทองปาน ให้ภาพบ้านพะโป้และประวัติพะโป้ค่อนข้างดี รูปประกอบก็สวยงามชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปถ่ายพะโป้ที่กองบรรณาธิการสามารถขอก็อปปี้จากทายาทโดย ตรง จะเรียกว่าเป็นการเผยแพร่ภาพพะโป้สู่สาธารณชนครั้งแรกก็ว่าได้

เล่มที่สอง คือ หนังสือชื่อ “ทุ่งมหาราชกับประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร” งานวิจัยวรรณกรรมเรื่องทุ่งมหาราช โดยศูนย์พัฒนาการเรียนกราฟสอนวิชาภาษาไทยจังหวัดกำแพงเพชร โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม และสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร เล่มหลังนี้ พิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ ข้างในมีประวัติครูมาลัย มีเรื่องบ้านคลองสวนหมาก และเรื่องพะโป้จากการสัมภาษณ์ลูกหลาน

เล่มที่สาม หนังสือชื่อ “เสด็จประพาสต้น ร.ศ.๑๒๕” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพนายภาวาส บุนนาค วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๗ ข้างในมีภาพถ่ายคราวเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ อันเป็นคราวที่ ร.๕ เสด็จแวะบ้านพะโป้ มีภาพถ่าย (ฝีพระหัตถ์)อันล้ำค่าพิมพ์คมชัดงดงามมาก

พระราชนิพนธ์กล่าวตอนหนึ่งว่าวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ เสด็จประพาสคลองสวนหมาก น้ำในคลองไหลเชี่ยวแต่ใสเพราะมาจากลำห้วย ถ้าไปตามลำคลองใช้เวลา ๓ วันจึงถึงป่าไม้ ซึ่ง “พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทยชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวัน และอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้น ไปขึ้นถ่ายรูปที่หน้าบ้าน ๒ บ้านนี้แล้วจึงกลับมาจอดกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ.......”

พระราชนิพนธ์กล่าวต่อไปว่า คลองสวนหมากเป็นที่มีไข้ชุม แต่เมื่อแซงพอพี่ชายของพะโป้มาตั้งการทำป่าไม้ ความเกรงกลัวไข้ก็เสื่อมไป มีคนมาตั้งบ้านเรือนมากขึ้นภายหลังแซงพอได้ปฏิสังขรณ์เจดีย์วัดพระบรมธาตุ นครชุม แต่ทำยังไม่ทันสำเร็จก็ตายเสียก่อน พะโป้น้องชายจึงทำต่อ ขณะนั้นเพิ่งยกฉัตรซึ่งทำการจากเมืองมรแหม่งขึ้นบนยอดไม่นาน

ในส่วนวารสารเมืองโบราณ ให้ความรู้ที่น่าสนใจว่า บ้านพะโป้หลังเดิมเป็นเรือนปั้นหยาหลังเล็ก ส่วน “บ้านห้าง” ที่เป็นบ้านกว้างใหญ่บนเสาสูงนั้น ปลูกภายหลังเล่ากันว่าซื้อมาจากพระยาราม บริเวณบ้านห้างสมัยพะโป้ยังอยู่ มีโรงช้างและผู้คนบ่าวไพร่มากมาย

พะโป้ถึงแก่กรรมราว พ.ศ.๒๔๖๐ หลังจากนั้นกิจการทำไม้ของพะโป้ก็ตกเป็นของบริษัททำไม้แห่งหนึ่ง (ไม่ระบุชื่อ) จนเมื่อไม้มีไม่พอทำแล้ว บริษัทก็ปิดที่ทำการนี้ลงและบ้านห้างก็ถูกทิ้งนับตั้งแต่นั้น....

พะโป้ มีบุตรหลานหลายคน เช่น นางแกล นางทับทิม และนายทองทรัพย์ รัตนบรรพต นายทองทรัพย์ คนหลังเป็นพ่อของอาจารย์กัลยา รัตนบรรพต ที่คณะวารสารเมืองโบราณและคณะอาจารย์ชาวกำแพงเพชรเคยสัมภาษณ์

แม้บ้านพะโป้ในโลกปัจจุบันจะทรุดโทรมและเรือนบริวารก็ไม่มีให้เห็นเหมือน เมื่อครั้งเก่าก่อน แต่ก็คงประทับใจบ้านหลังนี้มาก เกิดความซาบซึ้งและอยากหวนกลับไปอีก

ที่มา เว็บไซต์เทศบาลนครชุม
แก้ไขล่าสุดโดย Namfar เมื่อ อาทิตย์ 22 พ.ค. 2016 7:59 am, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย Namfar » ศุกร์ 20 พ.ค. 2016 3:07 pm

การเล่นสวาทในอดีต (ผู้ชายกับผู้ชาย)

710555-img-1380608962-1.jpg
710555-img-1380608962-1.jpg (128.04 KiB) เปิดดู 12639 ครั้ง


คณะ "ละครนอก" ในราชสำนักที่ต้องเล่นเป็นตัวพระหรือตัวนาง ก็จะต้องใช้ผู้ชายแต่งกายเป็นหญิง ว่ากันว่าคณะละครของพระองค์เจ้าไกรสรนั้น เล่นดีไม่มีคณะไหนเทียมติด ครั้นเดินทางไปไหน พระองค์เจ้าไกรสรก็มี พวกนายละครแห่แหนหน้าตาคมสัน ผิวขาวบอบบาง แล้วพระองค์เจ้าไกรสรยังได้เอาใจใส่ให้เงินทองของใช้อย่างล้นหลาม แต่งตัวกันอย่างหรูหรา นุ่งผ้าราคาแพง สวมแหวนเพชร ผัดหน้า วางท่ากรีดกราย เป็นที่ขัดนัยน์ตาของผู้แลเห็น กระทั่งยอมให้พวกละครแต่งกายเป็นหญิงออกงานอย่างงานลอยกระทง

พระองค์ เจ้าไกรสร ทรงหมกมุ่นหลงใหลอยู่กับนายละคร ถึงกลับนอนค้างในเก๋งในเรือนร่วมกับพวกนักแสดง ไม่กลับเวียงวังเข้าห้องหับกับหม่อมห้ามนางในแต่อย่างใด มีบันทึกไว้ในหนังสือพิมพ์จดหมายเหตุ สยามว่า นายละครคนโปรดของท่านคือ นายขุนทอง รองลงมาคือ นายแย้ม ทั้งสองคนได้รับการชุบเลี้ยงให้อยู่ดีกินดีเป็นพิเศษ

การ "เล่นสวาท" หรือกิจกรรมทางเพศระหว่างชายกับชาย ถือเป็นเรื่องเสื่อมเสียอย่างมากทั้งกับตัวและตระกูล เพราะเป็นชายแต่มิได้ทำหน้าที่อย่างชาติชาย คือ ดูแลครอบครัวและสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ กลับไปงมงายเล่นสวาทกับชายด้วยกัน

พฤติกรรมของหม่อมไกรสรในขณะนั้น ชาวบ้านร้านช่องล้วนแต่ทราบทั้งสิ้น เพราะท่านไม่ได้ "แอบ" ตัวเองแต่อย่างใด ท่านมีรสนิยมส่วนตัวอย่างไร ก็ "แสดงออก" กันให้เห็นกันตรงๆ "ไม่เอาธุระ" แก่สายตาผู้ใดทั้งสิ้น เหตุผลหนึ่งก็เพราะว่า ท่านนักเลงพอ และท่านก็มีอำนาจบารมี ไม่มีผู้ใดกล้าแตะ แม้แต่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ก็ให้ความเกรงอกเกรงใจ จึงไม่ต้องเรียกร้องให้สังคมยอมรับเหมือนในยุคต่อๆ มา

ด้วยความที่ ท่านเป็นผู้มีอำนาจมากมายก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะอริสัตรูคอยใส่ความจ้องจะจับ ผิดทุกย่างก้าว เมื่อท่านถูกถามถึงเรื่องเล่นสวาทนี้คราวสอบสวนความผิดฐานเป็นกบฏ ท่านก็ตอบอย่างไม่สะทกสะท้านว่า "การที่ไม่อยู่กับลูกกับเมียนั้นไม่เกี่ยวข้องต่อการแผ่นดิน" ยืนยันความเป็นตัวเองอย่างชัดแจ้ง

บันทึกนี้ มีความน่าสนใจอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือ ได้มีรับสั่งให้เอาพวกละครมาทำการสอบสวนไต่ถาม ได้ความว่าเป็นสวาทจริงแต่ไม่ถึงกับชำเรา เป็นเพียงการ "เอามือของนายละครและมือของท่านกำคุยหฐานด้วยกันทั้งสองฝ่าย ให้สำเร็จภาวะธาตุเคลื่อนพร้อมกัน" กล่าวคือ” เป็นเพียงการเอามือมาจับอวัยวะเพศให้กันและกัน จากนั้นก็ช่วยเหลือกันจนสำเร็จเสร็จกิจด้วยกันทั้งคู่”

จากภาพด้านบน เป็นภาพตัวอย่างเหล่าละครนอกในขณะทำการแสดงในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงต้นรัชกาลที่ ๕

จาก ภาพด้านล่าง เป็นภาพตัวอย่างการแต่งกายเป็นหญิงของผู้ชายในการแสดงละคร ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๖ ในภาพคือ เจ้าพระยารามราฆพ และพระยาอนิรุทธเทวา

ที่มา : เพจคลังประวัติศาสตร์ไทย
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย Namfar » ศุกร์ 20 พ.ค. 2016 3:19 pm

‘บ้านสาดแสงเดือน’ เรือนโบราณริมกว๊านพะเยา

saleman.jpg
saleman.jpg (58.88 KiB) เปิดดู 12518 ครั้ง



เป็นบ้านโบราณใกล้ๆกว๊านพะเยาที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึงปัจจุบันเพราะเคยเป็นบ้านของคหบดีที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของจังหวัด พะเยา คือหลวงศรีนครานุกูล และเป็นบ้านที่เคยให้การต้อนรับบุคคลสำคัญของชาติมากมาย เช่น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ.หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (จอมพลผิน ชุณหะวัณ) เป็นต้น เจ้าของบ้านนี้ได้รับพระราชทานนามสกุล จากสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี ในรัชกาลที่ ๖ ว่า “สุทธิภักติ”
บริเวณ บ้าน ตั้งอยู่ติดถนนชายกว๊าน เป็นบริเวณที่มีมุมมองกว๊านที่สวยงามที่สุด เนื้อที่กว้างประมาณ ๙ ไร่ ตัวบ้านสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง มีทั้งหมด ๓ หลัง เป็นเรือนใหญ่ ๑ หลัง มีเรือนชั้นเดียวเชื่อมต่อเรือนหลังใหญ่ ๑ หลัง และมีเรือนไม้ชั้นเดียวแยกออกไปทางทิศตะวันตกอีก ๒ หลัง เรือนหลังใหญ่สร้างเป็นทรงปั้นหยา โดยช่างจากประเทศจีน หลังคามุงด้วย “แป้นเกล็ด” บานประตูหน้าต่างมีลวดลายงดงามมาก เดิมบานหลังนี้มีเครื่องประดับตกแต่งบ้านที่ทำจากช่างฝีมือประณีต

ข้อมูลจาก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพะเยา
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อังคาร 18 ต.ค. 2016 8:19 pm

“ทหารล้อมวัง” ในคืนสวรรคต ธรรมเนียมโบราณที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาฯ

2x.jpg
2x.jpg (119.44 KiB) เปิดดู 12453 ครั้ง


สร้างความโศกเศร้าไปทั่วทั้งแผ่นดินไทย หลังสำนักพระราชวัง ออกแถลงการณ์ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” เสด็จสวรรคต เมื่อเวลา ๑๕.๕๒ น. ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ณ โรงพยาบาลศิริราช ปวงชนชาวไทยหลั่งน้ำตา ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ พร้อมใจร่วมกันน้อมส่งเสด็จพ่อหลวงสู่สวรรคาลัย



โดยหากกล่าวถึงการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าแผ่นดินแล้วในนั้น ในอดีตเคยมีบันทึกเกี่ยวกับ “ธรรมเนียมทหารล้อมวัง ในคืนสวรรคต” ซึ่งเป็นธรรมเนียมราชประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า แต่การที่ทหารจะมาล้อมพระราชวังนั้นจะต้องเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร เช่นเป็นการรักษาป้อมกำแพงพระราชวังเมื่อกำแพงหรือประตูวังมีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ และที่สำคัญคือ “ถวายความปลอดภัยแก่องค์รัชทายาทในช่วงเวลาผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน” ซึ่งมีการอธิบายดังนี้



ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระเจ้าอยู่หัวมีพระอาการประชวรหนักใกล้สวรรคต พระราชวงศ์ผู้ใหญ่หรือเจ้าพระยากลาโหมจะต้องทำหน้าที่ในการสั่งการเจ้ากรมทหาร เพื่อนำกำลังไปปิดล้อมกำแพงวังอันเป็นที่ประทับขององค์พระมหาอุปราช , องค์พระยุพราช หรือองค์รัชทายาท เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกลอบปลงพระชนม์จากขบฏหรือผู้ไม่เห็นด้วยในการสืบราชบัลลังก์ ณ ขณะนั้น

โดยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เองก็ได้ปรากฏธรรมเนียมทหารล้อมวังในคืนผลัดเปลี่ยนแผ่นดินเช่นกัน ดังที่มีการบันทึกถึง ๒ ครั้งคือครั้งที่ ๑ ตรงกับวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๔๑๑ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระประชวรหนักจวนจะสวรรคต ณ พระที่นั่งภานุมาศจำรูญในพระบรมมหาราชวัง ด้านเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ผู้เป็นพระราชโอรสเจ้าฟ้าชายใหญ่ประทับอยู่ที่พระตำหนักสวนกุหลาบซึ่งขณะนั้นพระองค์ก็ทรงพระประชวรหนักเช่นเดียวกัน

เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหมจึงเร่งประชุมขุนนาง และข้าราชการทั้งปวง จึงมีมติเห็นว่า พระเจ้าอยู่หัวและพระราชโอรสเจ้าฟ้าชายใหญ่ประชวรหนักกันทั้งคู่ อาจมีผู้ใดคิดแย่งชิงพระราชบัลลังก์ได้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงจัดตั้งกองทหารล้อมวังรักษาพระบรมมหาราชวังอย่างเข้มแข็ง และส่งทหารอีกกองหนึ่งไปล้อมรักษาถวายความปลอดภัยรอบๆ พระตำหนักสวนกุหลาบด้วย


ครั้งที่ ๒ ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระประชวรหนัก อยู่บนพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ซึ่งในขณะนั้นเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ผู้เป็นองค์รัชทายาท ได้เฝ้าดูพระอาการอยู่บนพระที่นั่งด้วย พระองค์เจ้าชายจิรประวัติวรเดช ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ จึงเข้าเฝ้าเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เพื่อขอพระอนุญาตนำกองกำลังทหารเข้าล้อมพระราชวังดุสิตเพื่อเป็นการถวายความปลอดภัยแก่องค์รัชทายาทให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมโบราณ ด้านเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธจึงมีพระดำรัสกลับไปว่า “ทำเถิด เห็นจะเป็นธรรมเนียม”

อ้างอิง: หนังสือปิยมหาราชจอมกษัตริย์,ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖
จากภาพด้านซ้าย คือพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมหาราชวัง สถานที่ประทับของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ในขณะกำลังพระประชวร
จากภาพด้านขวา คือพระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต สถานที่สวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
จากภาพด้านล่าง คือ ทหารรักษาพระองค์ ฯ ในสมัยก่อน
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 15 พ.ค. 2017 10:20 am

เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ค.๒๕๖๐ มีการเปิดเผยข้อมูลด้านธรณีวิทยาจากรายงานการศึกษาดินตะกอนน้ำพารูปพัด (Alluvial fan) พื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำโดย คเชนทร์ เหนี่ยวสุภาพ, วีรวัฒน์ ธิติสวรรค์ และวชิระ อังคจันทร์ จากสำนักงานทรัพยากรธรณีเขค ๓ (ปทุมธานี) กรมทรัพยากรธรณี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งระบุว่า เมืองอู่ทองสร้างอยู่บนชั้นตะกอนที่เกิดจากทางน้ำ (Fluvial deposit) อายุราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว หมายความว่า อู่ทองเป็นบ้านเป็นเมืองมาอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ.๕๐๐ ส่วนก่อนหน้านั้นมีผู้คนอาศัยอยู่แล้ว แต่ยังไม่ขยายตัวเติบโตจนนับได้ว่าเป็นชุมชนเมือง

ต่อมาตะกอนจากภูเขาพัดพาลงมาทับถมลงบนพื้นดินเมืองอู่ทองระหว่างที่เป็นบ้านเป็นเมืองแล้ว จนเกิดเป็นชั้นดินแบบตะกอนน้ำพารูปพัด ประกอบกับมีตะกอนที่เกิดจากทางน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก (Floodplain deposit) ทำให้แม่น้ำเปลี่ยนเส้นทางเดินเมื่อ ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ตรงกับราว พ.ศ. ๑๐๐๐ เป็นเหตุแห่งการล่มสลายของเมืองอู่ทอง
ไฟล์แนป
เมืองอู่ทอง-728x724.jpg
เมืองอู่ทอง-728x724.jpg (142.83 KiB) เปิดดู 12396 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 28 ม.ค. 2018 11:55 am

"ผณี สิริเวชชะพันธ์" ผู้ช่วยชีวิตเชลยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผู้เป็นสายสัมพันธ์อันดีระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและประเทศไทยในยามตกอยู่อาณัติของทหารญี่ปุ่น


คนสำคัญ2.jpg
คนสำคัญ2.jpg (37.12 KiB) เปิดดู 12038 ครั้ง


ผณี สิริเวชชะพันธ์ วีรสตรีไทยในสงครามโลกที่คนไทยไม่รู้จัก แต่ถูกยกย่องจากทั่วโลกเธอโด่งดังมากในต่างแดน ในฐานะที่เธอช่วยเหลือชีวิตเชลยสงครามโลกไว้เป็นจำนวนมาก แต่น่าแปลกที่ในเมืองไทย น้อยคนนักที่จะเคยได้ยินเรื่องของเธอ

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ "ด.ญ.ผณี สิริเวชชะพันธ์" อายุได้ ๑๔ ปี กำลังเรียนอยู่ที่ โรงเรียนราชินี ก็ถูกครอบครัวเรียกกลับมาที่กาญจนบุรีเพื่อหนีสงคราม แต่เปรียบได้กลับหนีเสือปะจระเข้เลยนะ เพราะตอนกลับไปถึงบ้าน เมืองกาญจน์นี่แหละ หนึ่งในบริบทที่เศร้าที่สุดของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในประเทศไทย ที่นั่นทหารญี่ปุ่นเข้าควบคุมทุกพื้นที่ มีการตั้งค่ายเชลยตามจุดต่างๆ เพื่อสร้างทางรถไฟข้ามไปยึดอินเดียผ่านไทยไปทางพม่า ต้อนเชลยหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งเชลยชาวดัชท์ ออสเตรเลีย อังกฤษ อเมริกัน มารวมกันเพื่อการนี้ คนญี่ปุ่นบอกไว้ว่าจะไม่ทำอะไรคนไทย เพราะพวกเราเป็นพันธมิตรกัน แต่ถ้าคุณเข้ามาขวางเมื่อไหร่ ก็ไม่ปล่อยไว้เหมือนกัน

เชลย ๒ แสนกว่าชีวิตถูกพรากไประหว่างการสร้างทางรถไฟสายนี้ ด้วยการร่นระยะเวลาทำงานของญี่ปุ่น จากเส้นทางที่ต้องใช้เวลาตามปกติถึง ๕ ปี พวกเขาทรมานเชลยให้ทำทั้งวันทั้งคืนจนสำเร็จใน ๑๔ เดือน สภาพเชลยนี่ไม่ต่างอะไรกับโครงกระดูกเดินได้ บางคนก็เป็นคอตีบ บิด อหิวาห์ บ้างก็ออกไปอึ๊แล้วก็ตายจมหลุมส้วมไม่กลับมาอีกเลย ยารักษาโรค ญี่ปุ่นก็แทบไม่ประทานมาให้แพทย์ประจำค่าย ทำงานได้แผลมาก็ค่อยๆ เป็นแผลเปื่อย เนื้อเน่า ตายกันไปตามๆ กัน บางคนป่วยหรือทำงานช้าก็จะถูกยิงทิ้งให้เพื่อนดูเป็นอุทาหรณ์ ณ จุดนั้น ญี่ปุ่นเกินขอบเขตคำว่า "มนุษยธรรม" ไปมากจริงๆ แต่มีอยู่ครอบครัวหนึ่ง ครอบครัวของคุณบุญผ่อง พ่อของคุณผณีนี่แหละ เลี้ยงชีพด้วยการทำร้านขายของชำ ซึ่งต้องส่งของเข้าไปที่ค่ายเชลยเป็นประจำ พวกเขาทนเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเชลยเหล่านี้ไม่ได้ คุณบุญผ่องเลยร่วมมือกับแพทย์เชลยในค่ายชื่อคุณหมอดันล็อป แอบซ่อนยาเข้าไปในเสบียงต่างๆ อย่างมิดชิด ปอกก้านส้มโอเพื่อสอดยาบ้าง ซ่อนไว้ที่ตาข่ายเข่งสานบ้าง ใส่ถุงมัดยางไว้ในแก้วแล้วเทโอเลี้ยงใส่ลงไปบ้าง

โดยให้คุณผณี ลูกสาวตัวน้อยๆ อายุเพียง ๑๔ ปีเป็นนกต่อ ด้วยความเป็นเด็กน่ารัก ทหารญี่ปุ่นจึงเอ็นดูเธอ ไม่ค่อยจะตรวจตราเธอเท่าไหร่นัก และด้วยความฉลาดหัวไว เธอจึงเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นได้ไวมาก บางครั้งเธอก็หันเหความสนใจทหารญี่ปุ่นด้วยการร้องเพลงญี่ปุ่น เหล่าทหารก็เคลิ้มหยุดฟังด้วยความคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน ทหารญี่ปุ่นเริ่มคุ้นชินกับเธอ เธอจึงเข้าออกค่ายเชลยเป็นว่าเล่น แต่หารู้ไม่ว่า รอบตะเข็บผ้าถุงของเธอนี่เต็มไปด้วยยารักษาเชลยทั้งนั้น พวกเขารู้ดีว่า ถ้าทหารญี่ปุ่นจับได้เมื่อไหร่วาระสุดท้ายของพวกเขาจะมาถึงเมื่อนั้น แต่ก็ยังไม่หยุดที่จะช่วยเหลือเชลยจนวินาทีสุดท้ายของสงคราม เราประทับใจคำหนึ่งตอนสัมภาษณ์คุณผณี เธอบอกว่า "ถ้าเธอเดินช้าไปนิดนึง เชลยจะตายไปคนนึงเลย ต้องรีบเดิน เพื่อจะเอายาไปให้เค้าให้ไวที่สุด"

หลังสงครามจบ คุณบุญผ่องถูกลอบยิง ๑ ครั้ง แต่ก็รอดมาได้ กองพันประเทศต่างๆ รีบส่งคนมาคุ้มกัน ไม่ให้ฮีโร่ของพวกเขาต้องเป็นอะไรไป เงินมากมายที่ให้เชลยยืมไปใช้ก่อนหลายส่วนก็ไม่ได้คืน ทำเอาบริษัทของเขาเกือบล้มละลาย รัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรก็วิ่งโร่ช่วยส่งเงินส่งของมาให้เค้าหนุนกิจการ เชลยหลายคนกลับมาเยี่ยมเขาพร้อมครอบครัว ในขณะที่ชาวบ้านยังงงอยู่ว่าทำไมบ้านนี้มีทหารฝรั่งมาเยี่ยมเยียนมากขนาดนี้ คุณผณีเองก็ไม่ได้เล่าเรื่องนี้ให้ใครต่อใครฟังเท่าไหร่ คุณอมรศรีลูกสาวของเธอเล่าว่าเธอยังรู้สึกผิด เพราะเธอเองก็เป็นเพื่อนกับทหารญี่ปุ่นเหล่านั้น ทุกคนดีกับเธอมาก ในขณะเดียวกันก็ทนเห็นพวกเขาทำสิ่งที่ผิดมนุษยธรรมขนาดนั้นไม่ได้ คงเป็นเรื่องที่ขัดแย้งอยู่ในใจเธอเหมือนกัน

เรื่องราวสิ้นสุดลงที่คุณบุญผ่องถูกขนานนามให้เป็น "วีรบุรุษสิงโตเงียบ" และเรื่องราวของพวกเขาก็เงียบจริงๆ ไม่ได้ถูกเล่าขานต่อไปในหมู่คนไทยนัก ในขณะที่เรื่องราวของแพทย์ทหารชาวออสเตรเลียที่ร่วมมือกัน ถูกประโคมลงในบทเรียนจนคนออสเตรเลียทุกคนรู้จัก คุณผณี สตรีผู้เป็นตำนานของแผ่นดินคนนี้ เราคิดว่าสิ่งที่เธอเคยทำไว้มันมากเกินกว่าจะเงียบหายไปพร้อมตัวเธอ การส่งต่อเรื่องนี้อาจไม่ได้ทำให้คนรู้จักเธอมากขึ้นมากมาย แต่เราก็ยังอยากทำความระลึกถึงเธอสักครั้งหนึ่งด้วยการเขียนถึงเธอในห้วงเวลานี้

คนสำคัญ7.jpg
คนสำคัญ7.jpg (36.15 KiB) เปิดดู 12038 ครั้ง


ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ เรื่องของเมืองกาญจนบุรี Cr: FOOFOO / Thai PBS
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 28 ม.ค. 2018 12:02 pm

“โรงรับทำชำเราบุรุษ”

26803499_10156049854582733_118451448_n.jpg
26803499_10156049854582733_118451448_n.jpg (58.36 KiB) เปิดดู 12038 ครั้ง


ปลายสมัยอยุธยาราว ๓๐๐ กว่าปีที่แล้ว มี “โรงรับทำชำเราบุรุษ” อันเป็นสถานที่ประกอบการของโสเภณี

เอกสารของ มองซิเออร์ ซิมอง เดอ ลา ลูแบร์ (Monsieur Simon de la Loubre) อัครราชทูตชาวฝรั่งเศสผู้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี กับราชอาณาจักรอยุธยาในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกความทรงจำเกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม และตีพิมพ์ออกจำ หน่ายจนเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์” หนึ่งในเอกสารจำนวนไม่กี่ชิ้นที่ทำให้เราทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการค้าประเวณีในราชอาณาจักรอยุธยา บันทึกเกี่ยวกับหญิงโสเภณีว่า

“ถ้าบุตรีคนใดกระทำชั่วขุนนางผู้บิดาก็ขายบุตรีส่งให้แก่ชายผู้หนึ่งซึ่งมีความชอบธรรมที่จะเกณฑ์ให้สตรีที่ตนซื้อมานั้นเป็น หญิงแพศยาหาเงินได้ โดยชายผู้มีชื่อนั้นต้องเสียเงินภาษีถวายพระมหากษัตริย์ กล่าวกันว่า ชายผู้นี้มีหญิงโสเภณีอยู่ในปก ครองของตนถึง ๖๐๐ นาง ล้วนแต่เป็นบุตรีขุนนางที่ขึ้นหน้าขึ้นตาทั้งนั้น อนึ่ง บุคคลผู้นี้ยังรับซื้อภรรยาที่สามีขายส่งลงเป็นทาสี ด้วยโทษคบชู้สู่ชายอีกด้วย”

อีกตอนหนึ่งที่ ลา ลูแบร์ บันทึกไว้ว่า “บรรดาผู้ที่มีบรรดาศักดิ์สูงนั้นหาใช่เจ้าใหญ่นายโตเสมอไปไม่ เช่น เจ้ามนุษย์อัปปรีย์ที่ซื้อผู้หญิง และเด็กสาวมาฝึกให้เป็น หญิงนครโสเภณีคนนั้น ก็ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ออกญา เรียกกันว่า ออกญามีน (Oc-ya Meen) เป็นบุคคลที่ได้รับการดูถูกดูแคลนมากที่สุด มีแต่พวกหนุ่มลามกเท่านั้นที่ไปติดต่อด้วย”

ชายคนที่ว่ามีหญิงโสเภณีอยู่ในปกครองมากถึง ๖๐๐ นาง ลา ลูแบร์ คงหมายถึง ออกญามีนอย่างไม่ต้องสงสัย ข้อความตอนนี้แสดงให้เห็นว่ า การค้าประเวณีไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย เพราะต้องเสียภาษี ซ้ำนายมีนเองก็มียศเป็นถึงออกญา ซึ่งแน่นอนว่ากษัตริย์ต้องเป็นผู้พระราชทานให้ แต่โรงรับชำเราบุรุษสมัยอยุธยา มีอยู่ที่ไหนบ้าง หลักฐานบอกไว้ไม่ชัด ทราบแต่เพียงบางแห่งเท่านั้น

เอกสารจากหอหลวงยุคปลายกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า “ตลาดบ้านจีน ปากคลองขุนละครไชย มีหญิงละครโสเภณีตั้งอยู่ท้ายตลาด ๔ โรงรับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ ตลาดนี้เป็นตลาดใหญ่ใกล้ทางเรือ แลทางบก มีตึกกว้านร้านจีนมากขายของจีนมากกว่าของไทย มีศาลเจ้าจีนศาลหนึ่งอยู่ท้ายตลาด”

“ คลองขุนละครไชย” ที่ว่าพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปรต์) อ้างไว้ในเอกสารอธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา ว่าคือ “คลองตะเคียน” ปัจจุบันยังมีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่ไม่ใช่ย่านชาวจีนเสียแล้ว บ้านจีนปัจจุบันไม่ใช่ตลาด และไม่ใช่ชุมชนชาวจีน แต่เป็นมุสลิมมีมัสยิดกำลังสร้างอยุ่บริเวณปากคลอง

ย่านตลาดบ้านจีน เป็นตลาดใหญ่มีการสัญจรผ่านไปมาทั้งทางบก และทางน้ำ มีอาคารร้านค้า ทั้งร้านจีน ร้านไทย เป็นอีกย่านหนึ่งข องอยุธยาที่มีทำเลดีเหมาะแก่การค้าขาย เพราะตั้งอยู่ติดกับปากคลองขุนละครไชยเชื่อมต่อแม่น้ำเจ้าพระยา ในหนังสืออธิบายแผนที่พระน ครศรีอยุธยา กับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์อธิบายว่าคือ คลองตะเคียน อยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ หรือที่ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า คลองน้ำยาเป็นที่ตั้งของวัดนักบุญโยเซฟ และเนื่องด้วยเป็นย่านที่มีผู้คนอาศัยผ่านไปมาอย่างเนืองแน่น ทั้งชาวจีน ไทย และตะวันตก คงเป็นเหตุให้สามารถตั้งโรงรับจ้างทำชำเราบุรุ ษได้มากถึง ๔ โรงในท้ายตลาดเดียว และคงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีจนต้องบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

หากเปรียบเทียบกับปัจจุบัน “โรงรับจ้างทำชำเราบุรุษ” ก็คือ “ซ่อง” ส่วนออกญามีนก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าหน้าที่ทำอะไรไม่ต้องอธิบายกันต่อ น่าสนใจว่าเอกสารสมัยอยุธยาไม่ใช้คำว่า “ซ่อง” ในความหมายที่เป็นสถานที่ พบแต่เพียงว่าส่อไปในทางกามวิสัยอยู่บ้าง ดังปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า “ห้ามอย่าให้ไทมอญลาวลอบลักไปซ่องเสพเมถุนณธรรมด้วยแขกฝรั่งอังกฤษคุลามะลายู” พิจารณาแล้ว ก็ไม่ได้เกี่ยวกับ ซ่องที่เป็นโรงรับจ้างทำชำเราบุรุษ หรือหญิงโสเภณี คำว่า ซ่อง ในที่นี้คงหมายถึงการซ่องสุม, การชุมนุมเสียมากกว่า อย่างเ ช่น บ้านซ่อง (ซ่อง) คล้ายกับคำว่า ป่า ที่หมายถึงที่ประชุมไว้ด้วยของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ เช่นกัน

แม้กระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ หนังสือพิมพ์ไทย ฉบับวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็ยังใช้คำว่าโรง หญิงนครโสเภณี ไม่ได้มีการเรียกว่า ซ่อง แต่อย่างไร ที่เรียกว่า ซ่อง แล้ว หมายถึง ซ่องโสเภณี คงเป็นคำเรียกสมัยหลังเมื่อหลายสิบปีมานี้เอง แต่จะมีเหตุเป็นมายังไงก็ยังไม่ทราบแน่ชัด
ที่มา คนรักประวัติศาสตร์ไทย
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 04 ก.พ. 2018 6:23 pm

"ศยามล" บันทึกรัก-รอยแค้น
หลายสิบปีมาแล้วที่ "นพ.บัณฑิต โฆษิตชัยวัฒน์" อดีตแพทย์ รพ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถูกจองจำอยู่ในเรือนจำกลางบางขวาง ในฐานะผู้ต้องขังคดีอันครึกโครมสะเทือนใจยิ่ง จ้างวานฆ่าภรรยาตัวเอง "ศยามล ลาภก่อเกียรติ" !!!

"หมอบัณฑิตถือเป็นนักโทษชั้นดี มีวิถีชีวิตในเรือนจำไม่ต่างจากนักโทษรายอื่นๆ และได้อาสาเข้าไปช่วยงานในเรือนพยาบาลแดน ๖ อยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ยังคอยรักษาพยาบาลอาการป่วยเบื้องต้นให้แก่เพื่อนๆ นักโทษที่อยู่แดนเดียวกันด้วย" อัศวิน คุณพันธ์ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง เปิดเผยกับ "คม ชัด ลึก"

อัศวินยืนยันด้วยว่า หมอบัณฑิตไม่มีอภิสิทธิ์เหนือนักโทษรายอื่น ชีวิตความเป็นอยู่เหมือนกับนักโทษทั่วไป ระหว่างต้องโทษอยู่ในเรือนจำสนใจเรียนหนังสือ และเพิ่งจบการศึกษาสาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ชีวิตของนายแพทย์อนาคตไกลต้องพลิกผันกลายมาเป็นนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ หลังจากว่าจ้างให้ บรรจบ นิลน้อย, สมหมาย สังข์เคลือบ, สมหมาย เนียมศรี และ สาธิต มีเย็น ฆาตกรรมภรรยาตัวเอง

เช้าตรู่วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๓๖ ขณะพระภิกษุเดินบิณฑบาตผ่านทางเข้าหมู่บ้านหนองปลาไหล หมู่ ๑๒ ต.ไร่มะขาม อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ได้ยินเสียงร้องไห้สะอึกสะอื้นเล็ดลอดออกมาจากรถเก๋งนิสสัน ซันนี่ สีขาว ทะเบียน ก ๒๓๔๔ ประจวบคีรีขันธ์ ที่จอดสงบนิ่งอยู่ริมถนน เมื่อเพ่งมองเข้าไปในรถก็พบภาพชวนสลดใจ เด็กหญิงตัวน้อยนั่งกอดศพหญิงสาววัยประมาณ ๓๐ ปี บริเวณเบาะหน้าข้างคนขับที่ถูกปรับเอนราบไปกับเบาะหลัง เลือดท่วมร่างแห้งเกรอะกรัง กางเกงถูกรูดลงมาอยู่แค่เข่า หน้าอกและลิ้นปี่มีรอยถูกแทงเป็นแผลฉกรรจ์

ภาพที่ชวนสังเวชใจแก่ผู้พบเห็นอีกประการก็คือ เด็กหญิงตัวเล็กๆ ร้องไห้จนเสียงแหบแห้ง มือกำกระดาษทิชชูคอยเช็ดคราบเลือดออกจากร่างไร้วิญญาณที่นอนทอดกายไม่ไหวติง ด้วยความรักห่วงใยและอาลัยอาวรณ์ เมื่อตำรวจตรวจสภาพศพและที่เกิดเหตุแล้วเชื่อว่า เด็กหญิงร้องไห้กอดศพซับเลือดอยู่ไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง และแม้จะพยายามอุ้มเด็กออกจากร่างปราศจากลมหายใจอย่างไร เด็กก็ไม่มีทีท่าจะยอมออกห่าง เป็นที่น่าเวทนาแก่ผู้อยู่ในเหตุการณ์ ตำรวจต้องใช้เวลาอยู่นานกว่าจะปลอบประโลมหนูน้อย และแม้จะแยกออกมาได้แล้วหนูน้อยก็ยังพร่ำเรียกหาแต่แม่

จากการสอบสวนทำให้ทราบว่าผู้ตายคือ ศยามล ลาภก่อเกียรติ ผู้ช่วยพยาบาล รพ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าบูติก "บารมี" ในตัวเมืองหัวหิน ส่วนเด็กหญิงคือ น้องอิงอิง บุตรสาวของศยามลวัย ๒ ขวบเท่านั้นเอง !?!

หลังพบศพ พ.ต.อ.พิสิทธิ์ คำแน่น ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบุรี (ตำแหน่งขณะนั้น) เดินทางมายังที่เกิดเหตุและสืบสวนสอบสวนคลี่คลายคดีด้วยตนเอง

"มันเป็นคดีสะเทือนใจชวนหดหู่ ผมสงสารน้องอิงอิงมาก เด็กอายุ ๒ ขวบ กอดศพแม่อยู่นานกว่า ๖ ชั่วโมง ในมือกำทิชชูคอยซับเลือดให้แม่ ปากก็พร่ำบอกเช้าแล้วแม่ ตื่นเถอะ หนูหิว ผมยังจำติดหู" พ.ต.อ.พิสิทธิ์ย้อนเหตุการณ์

ตำรวจใช้เวลาสืบสวนหาตัวคนร้ายเพียง ๓ สัปดาห์ ก็สามารถจับกุม บรรจบ นิลห้อย คนรับงาน, สมหมาย สังข์เคลือบ คนขับรถพาหนี, สมหมาย เนียมศรี มือมีด และ สาธิต มีเย็น ทีมสังหารศยามลได้ครบชุด แล้วสิ่งที่ทั้งสี่ให้การสาภาพก็นำมาสู่ความจริงอันแสนโหดร้าย และเป็นตำนานอีกบทหนึ่งของความรักแรงแค้น ที่กล่าวขานมาจนถึงทุกวันนี้

...นานมาแล้วที่ ศยามล ลาภก่อเกียรติ ผู้ช่วยพยาบาล แอบหลงรัก นพ.บัณฑิต โฆษิตชัยวัฒน์ นายแพทย์หนุ่มอนาคตไกล กระทั่งพัฒนาความสัมพันธ์จนถึงขั้นแอบจดทะเบียนสมรสกันอย่างลับๆ อยู่กินกันจนให้กำเนิดน้องอิงอิง

เนื่องจากครอบครัวของศยามลและหมอบัณฑิต ค่อนข้างมีฐานะ และเป็นที่นับหน้าถือตาใน อ.หัวหิน เมื่อทราบเรื่องของทั้งสองจึงโกรธถึงขั้นยื่นคำขาดให้ศยามลเลือกว่าจะอยู่กับฝ่ายชายหรือญาติพี่น้อง ในที่สุดศยามลก็จำใจหย่ากับ นพ.บัณฑิต พร้อมกับเรียกร้องเงิน ๒ ล้านบาท เป็นค่าเลี้ยงดูบุตรสาว

๒ ปีให้หลัง นพ.บัณฑิต พบรักใหม่กับแพทย์หญิงคนหนึ่งใน รพ.หัวหิน เมื่อศยามลทราบเรื่องอาจด้วยความรักและเยื่อใยที่ยังมีเหลืออยู่ ทำให้เธอไม่อาจยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เรื่องรักสามเส้าเริ่มตึงเครียดเขม็งเกลียวขึ้นทุกขณะ กระทั่งศยามลถูกข่มขู่ให้ออกไปจาก อ.หัวหิน

ความรักที่ไม่ลงตัวยังคงดำเนินต่อไปจนวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๓๖ นพ.บัณฑิตโทรศัพท์หาศยามลบอกให้ไปพบเพื่อจะพาไปดูบ้านหลังใหม่ ที่สร้างเป็นของขวัญให้เธอและลูก พร้อมกับกำชับไม่ให้บอกคนในครอบครัว แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นอยู่ในสายตาของ "ปาริชาติ ลาภก่อเกียรติ" พี่สาวศยามลตลอด และรู้แม้กระทั่งว่าน้องสาวออกไปพบอดีตสามี

ศยามลขับรถเก๋งนิสสัน ซันนี่ สีขาว ออกจากร้านบารมีภายในศูนย์การค้าหัวหิน คอมเพล็กซ์ โดยมีน้องอิงอิงตามไปด้วย จนปั๊มน้ำมันหนองหอย ถนนเพชรเกษม มุ่งหน้า อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่งขับรถปาดหน้าบังคับให้ศยามลหยุดรถ ก่อนจะกรูกันขึ้นไปบนรถของเธอ ใช้มีดและปืนจี้บังคับศยามลและน้องอิงอิงให้มานั่งเบาะหน้าคู่คนขับ

บรรจบ นิลน้อย และ สมหมาย เนียมศรี ตรงไปนั่งเบาะหลังประกบหญิงสาวกับลูกไว้ แล้วให้ สมหมาย สังข์เคลือบ เป็นคนขับรถเก๋งของเธอไปยังทางเข้าหมู่บ้านหนองปลาไหล หมู่ ๑๒ ต.ไร่มะขาม อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี สมหมาย เนียมศรี ใช้เชือกรัดคอและใช้มีดแทงศยามลอย่างโหดเหี้ยมต่อหน้าน้องอิงอิง ก่อนจะจับถอดเสื้อผ้าแล้วทำบางสิ่งบางอย่างอำพรางว่าเป็นการฆ่าข่มขืนชิงทรัพย์ให้เป็นไปตามคำสั่งของผู้จ้างวาน

ใช่แล้ว นพ.บัณฑิต โฆษิตชัยวัฒน์ คือผู้จ้างวานคนนั้น !?!

"ตอนที่ผมนำกำลังเข้าจับกุม หมอทำงานอยู่ที่ รพ.หัวหิน โดยระหว่างเข้าจับกุม เขามีทีท่าเรียบเฉย ไม่ตกใจหรือหวั่นวิตกใดๆ และยังปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โชคดีที่ผมจับผู้สังหารได้ทั้งหมดและให้การสอดคล้องต้องกันว่า รับว่าจ้างจาก นพ.บัณฑิต จึงทำให้หมอดิ้นไม่หลุด" พ.ต.อ.พิสิทธิ์กล่าว

การสืบสวนแรกๆ อาจจะติดขัดอยู่บ้าง เพราะคนร้ายพยายามจัดฉากว่าเป็นการฆ่าข่มขืนเพื่อชิงทรัพย์ แต่พยานหลักฐานในที่เกิดเหตุขัดแย้งกับข้อเท็จจริง ทำให้การสืบสวนพุ่งเป้าไปที่ความขัดแย้งระหว่างศยามลกับหมอบัณฑิตอดีตสามี ทว่ากระบวนการสอบปากคำหมอบัณฑิตกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากหมอบัณฑิตเองก็มีหลักฐานยืนยันแหล่งที่อยู่ชัดเจน

ช่วงเวลาที่ศยามลถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม เป็นช่วงเดียวกันกับหมอบัณฑิตลาพักร้อน มีกำหนดตั้งแต่วันที่ ๒๗-๓๐ กันยายน และลากิจเพิ่มอีกในวันที่วันที่ ๑ ตุลาคม อีก ๑ วัน ประกอบกับหมอบัณฑิตมีหลักฐานมายืนยันแหล่งที่อยู่ เป็นภาพถ่ายและใบเสร็จค่าโรงแรมที่พักใน รร.แปซิฟิกไอซ์แลนด์ จ.ภูเก็ต ซึ่งหมอบัณฑิตอ้างว่าพักอยู่ที่นั่นตลอดช่วงลาพักร้อน

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ทว่าในส่วนของพนักงานสอบสวนเองก็สามารถหักล้างได้ว่า หมอบัณฑิตมีเจตนาจะจัดฉากขึ้น เพื่อปกปิดความผิดของตัวเอง เพราะผู้ต้องหาที่ลงมือสังหารต่างให้การซัดทอดถึงตัวผู้บงการสอดคล้องกัน ไม่มีประเด็นใดสงสัยเป็นอย่างอื่นได้

"สาเหตุการสังหารมาจากหมอต้องการไปแต่งงานกับผู้หญิงคนใหม่ แม้จะหย่ากับศยามลแล้ว แต่ก็หวั่นวิตกว่าในวันแต่งงานศยามลจะไปก่อกวนงานแต่งจึงต้องสังหาร" พ.ต.อ.พิสิทธิ์ ระบุ

หลังการจับกุม พนักงานสอบสวน สภ.อ.บ้านลาด ได้สรุปสำนวนส่งอัยการพิจารณาสั่งฟ้องดำเนินคดี นพ.บัณฑิต โฆษิตชัยวัฒน์ ในข้อหาจ้างวานฆ่า ส่วน สมหมาย เนียมศรี สมหมาย สังข์เคลือบ บรรจบ นิลน้อย และ สาธิต มีเย็น ถูกฟ้องในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่น ศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิต นพ.บัณฑิต ส่วนผู้ต้องหาที่เหลือจำคุกตลอดชีวิต นพ.บัณฑิตยื่นอุทธรณ์แต่ไม่เป็นผลจึงยื่นฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต่อมา นพ.บัณฑิต ได้รับการอภัยโทษประหารชีวิตลดเหลือจำคุกเพียง ๔๐ ปี
ที่มา mthai
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 04 ก.พ. 2018 6:29 pm

๑๐ สุดยอด คดีฆาตกรรมโหดในประเทศไทย

47257.jpg
47257.jpg (63.85 KiB) เปิดดู 12005 ครั้ง


อันดับที่ ๑๐ คดีฆ่าหั่นจู๋ พนักงาน รฟม.
คดีเขย่าขวัญคนกรุงรับปี ๒๕๕๐ เมื่อมีคนพบศพนายพิชัย ทองใบ พนักงานช่างเทคนิคของ รฟม. ในสภาพถูกฟันที่ท้ายทอย คอถูกปาดลึกเกือบขาด รวมทั้งอวัยวะเพศของผู้ตายถูกคนร้ายใช้มีดตัดเกือบขาดเช่นกัน อีกทั้งยังใช้เลือดเขียนเป็นรูปหัวใจไว้ที่กลางหน้าอกของผู้ตาย สร้างความสยดสยองเป็นอย่างยิ่ง จนในที่สุดนายกฤษฎาพร บรรพชาติ หรือนายเก่งรฟม.ผู้ที่ลงมือฆ่าก็ขอเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่เนื่องจากทนแรงกดดันไม่ไหว โดยนายเก่งสารภาพถึงมูลเหตุจูงใจมาจากเรื่องชู้สาว


อันดับที่ ๙ คดีฆาตกรต่อเนื่องหมอนวด
คดีฆาตกรต่อเนื่อง คดีที่ ๒ ของประเทศไทย หลังจากคดีซีอุยเมื่อ ๔๐ กว่าปีก่อน โดยนายสมคิด พุ่มพวง ก่อเหตุฆ่าหมอนวดถึง ๕ ศพ ในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน โดยคดีต่างๆ นายสมคิดจะทำการติดต่อเหยื่อมาร่วมหลับนอนด้วย เมื่อมีการร่วมประเวณีแล้วก็จะฆ่าเหยื่อถึงแก่ความตาย

อันดับที่ ๘ คดีแม่ฆ่าลูกบูชาพระอินทร์
ด.ญ.ประภัสสร เจียมเจริญ อายุ ๑๒ ปี ถูกคนในครอบครัวคือนางกาญจนา เจียมเจริญ ผู้เป็นแม่ ซึ่งอ้างว่าเป็นร่างทรงพระอินทร์ นางอนงค์ เจียมเจริญ มีศักดิ์เป็นป้า อ้างเป็นร่างทรงพระอาทิตย์ นางจรินทร์ เจียมเจริญ น้าสาว และนางบัว เจียมเจริญ ผู้เป็นยายร่วมกันฆ่า โดยใช้มีดปาดคอตายอย่างสยดสยองภายในบ้าน โดยนางกาญจนาอ้างว่าสาเหตุที่ฆ่าลูกสาวเพื่อต้องการปลดปล่อยวิญญาณไปให้พระอินทร์ จากนั้นตำรวจได้ส่งตัวทั้งหมดไปที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เนื่องจากพบว่าทั้งหมดมีอาการทางประสาท ถือได้ว่าเป็นคดีศึกษาอีกคดีหนึ่งในไทยก็ว่าได้

อันดับที่ ๗ คดีห้างทอง ธรรมวัฒนะ
ปริศนาการตายของ ห้างทอง ธรรมวัฒนะ อดีต ส.ส.พรรคประชาไทย ยังคงคาใจทุกฝ่ายอยู่ในขณะนี้ว่าเป็นการฆาตกรรมหรือฆ่าตัวตาย หลังจากมีผู้พบศพนายห้างทองเสียชีวิตอยู่ในคฤหาสน์หรู สภาพนั่งอยู่บนเก้าอี้ คอแหงนไปด้านหลังมีบาดแผลลูกกระสุนเจาะทะลวงที่ศรีษระ ๑ นัด โดยเสียชีวิตภายในห้องนอนของนายนพดล ธรรมวัฒนะ ผู้ที่เป็นน้องชายนั่นเอง มีการผ่าพิสูจน์ศพหาสาเหตุการตายอยู่หลายครั้ง จนกระทั่งปัจจุบัน ก็ยังไม่สามารถสรุปผลที่แท้จริงได้ จนกว่าจะมีคำสั่งของศาลเป็นที่สิ้นสุด ปัจจุบันศพก็ยังแช่เย็นอยู่ไม่ได้ถูกนำไปเผาแต่อย่างใด


อันดับที่ ๖ คดีหมอผัสพร
แพทย์หญิงโรงพยาบาลรถไฟที่หายตัวไปนานร่วมเดือน นำไปสู่การสืบสวนสอบสวน น.พ.วิสุทธ์ บุญเกษมสันติ ผู้เป็นสามีซึ่งให้การปฎิเสธมาโดยตลอด จนเมื่อทีมสืบสวนเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจค้นอาคารวิทยนิเวศน์พบคราบเลือดและเส้นผมและหลักฐานสำคัญ
ที่เป็นชิ้นส่วนของมนุษย์ในบ่อพักน้ำเสียของอาคาร ซึ่งตรงกับ DNA ของหมอผัสพร สอดคล้องกับพยานที่เห็น น.พ.วิสุทธิ์ อยู่กับหมอผัสพรเป็นคนสุดท้าย รวมถึงเรื่องการฟ้องหย่าที่มีปัญหาขัดแย้งกันมานานจนนำไปสู่มูลเหตุจูงใจฆ่า ปัจจุบันศาลได้พิพากษาให้ประหารชีวิตแล้ว แต่ยังสามารถอุทรได้อยู่

อันดับที่ ๕ คดีเสริม สาครราษฎ์
นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ ๒ ก่อเหตุฆ่าหั่นศพ น.ส.เจนจิรา พลอยองุ่นศรีแฟนสาว โดยนายเสริมให้การว่าใช้ปืนสังหารที่ขมับ น.ส.เจนจิรา เนื่องจากตกลงกันไม่ได้เรื่องมีชายอื่นมาพัวพันหลังจากนั้นได้ใช้มีดผ่าตัดเฉือนศพเป็นชิ้นๆ ทิ้งลงชักโครก จนมีผู้พบชิ้นเนื้อมนุษย์จนนำไปสู่การพิสูจน์ DNA ก็พบว่าตรงกับเจนจิรา


อันดับที่ ๔ คดีศยามล
อีกหนึ่งคดีที่สร้างความสลดหดหู่ยิ่งนัก เมื่อมีผู้พบศพพยาบาลสาวถูกฆ่าโดยอำพรางศพว่าเป็นการขมขื่นและทิ้งศพไว้ในรถโดยมีลูกสาววัย ๒ ขวบ ร้องไห้กอดศพผู้เป็นแม่อยู่ทั้งคืน ซึ่งผู้ที่บงการสั่งฆ่าก็ไม่ใช่ใครอื่น นั่นก็คือสามีหมอของเธอนั่นเอง

อันดับที่ ๓ คดีเชอร์รี่แอน ดันแคน
เด็กสาววัยรุ่นลูกครึ่งเชื้อชาติ ไทย-อเมริกัน ถูกพบเป็นศพหลังจากมีผู้พบเห็นว่าถูกล่อลวงขึ้นรถแท็กซี่ไปจากหน้าโรงเรียน ฆาตกรใช้สายรัดคอจนขาดอากาศหายใจและนำศพไปทิ้งไว้บริเวณป่าแสมบางสำราญ และนำไปสู่การจับผู้ต้องหาถึง ๕ คน ซึ่งในเวลา ๖ ปีต่อมา ศาลจึงมีคำสั่งว่าพวกเค้าทั้ง ๖ คนไม่มีความผิด จนเป็นคดีที่กล่าวขานในเรื่องของการจับแพะมากที่สุดคดีหนึ่ง

อันดับที่ ๒ คดีซีอุย ซีอุย แซ่ตั้ง
เป็นชื่อของฆาตกรที่ฆ่าเด็กและนำตับมาต้มกินโดยมีเด็กอย่างน้อย ๖ คนที่ถูกนายซีอุยสังหาร ซีอุยเป็นชาวจีนโพ้นทะเลเข้ามาในเมืองไทยและขึ้นฝั่งที่ประจวบคีรีขันธ์ ชอบจับเด็กมาผ่าและควักเอาเครื่องในมากินโดยมีความเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ โดยได้ทำการฆ่าเด็ก ๓ รายแรกที่ประจวบคีรีขันธ์ และรายสุดท้ายจับได้หลังจากคดีฆาตกรรมที่จังหวัดระยอง ซี่งสุดท้ายโดนจับขังคุกและยิงเป้าประหารชีวิต


อันดับที่ ๑ คดีนวลฉวี
ย้อนหลังไปเมื่อ ๔๐ กว่าปีก่อน เกิดคดีเขย่าขวัญคนกรุง เมื่อมีผู้พบศพพยาบาลสาวถูกฆ่าข่มขืนอย่างทารุณแล้วโยนศพทิ้งน้ำ บริเวณสะพานนนทบุรีซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ สะพานนวลฉวี ซึ่งผู้ที่บงการสั่งฆ่านั่นก็คือหมออุทิศผู้ที่เป็นสามีของเธอนั่นเอง สาเหตุมาจากความหวั่นวิตกของหมอว่าเธอจะเข้าไปทำลายครอบครัวของเขา เขาก็เลยสั่งให้ฆ่าทั้งๆ ที่ยังรักเธออยู่ และแม้ว่าต่อมาหมออุทิศจะสำนึกขึ้นได้และจะยกเลิกคำสั่งนั้น แต่ก็ไม่ทันการเสียแล้ว

ที่มา Eduzones
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 25 ก.พ. 2018 4:48 pm

ปิดตำนาน “เสือใต้” พลตำรวจเอก สล้าง บุนนาค

download.jpg
download.jpg (6.11 KiB) เปิดดู 11956 ครั้ง


พลตำรวจเอก สล้าง บุนนาค เกิดเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ที่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ท่านเป็นอดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ เป็นบุตรของหลวงพินิตพาหนะเวทย์ (พิง) มารดาชื่อ ทองอยู่ (สกุลเดิม ลิมปิทีป) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รับราชการในกรมตำรวจ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบัน) ตำแหน่งที่สำคัญได้แก่ ผู้บังคับการตำรวจภูธร ๑๒ ผู้บัญชาการศึกษา ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ และรองอธิบดีกรมตำรวจ ฝ่ายป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ ตามลำดับ ปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก มหาวชิรมงกุฏ และเหรียญจักรพรรดิมาลา พลตำรวจเอกสล้าง มีบุตรกับภรรยาชื่อ สุพรรณวดี (สกุลเดิม ชุมดวง) ๓ คน ได้แก่ วันจักร พลจักร และเหมจักร นับเป็นลำดับชั้นที่ ๗ พลตำรวจเอก วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ สล้าง บุนนาค เสียชีวิต ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ

ระหว่างที่รับราชการอยู่นั้น พล.ต.อ.สล้าง ได้รับฉายาว่า "เสือใต้" จากผู้ใต้บังคับบัญชา จากการเป็นนายตำรวจมือปราบ คู่กับ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ซึ่งได้รับฉายาว่า "สิงห์เหนือ" เพราะท่านเป็นตำรวจมือปราบที่มีฝีมือเป็นที่เลื่องลือ โดย คดีเด่นที่สร้างชื่อเสียงให้ท่านเป็นอย่างมาก คือ คดีวิสามัญฆาตกรรม โจ ด่านช้าง และพวกอีก ๕ คน

๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่ง คือ นายศุภฤกษ์ เรือนใจมั่น หรือ โจ ด่านช้าง หัวหน้าแก๊ง นายสุบิน เรือนใจมั่น น้องชายของโจ ด่านช้าง นายประสิทธิ์ โพธิ์หอม นายยิ้ว ปริวัตรสกุลแก้ว นายหยัด และนายปราโมทย์ (ไม่ทราบนามสกุล) นำอาวุธสงครามครบมือ หวังฆ่านายอุบล หรือ เล็ก บุญช่วย อายุ ๓๑ ปี หลังถูกหักหลังในธุรกิจค้ายาบ้าที่ทำร่วมกัน แต่ตำรวจ สภ.อ.สองพี่น้องสามารถสกัดทัน คนร้ายหลบที่ใต้ถุนสูงและมีน้ำท่วมรอบบ้านเลขที่ ๑๐๗/๑ หมู่ ๕ ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า และมีตัวประกันอยู่ในบ้านถึง ๓ คน คือ นายประสงค์ ครุฑใจกล้า อายุ ๔๕ ปี เจ้าของบ้าน ที่ป่วยเป็นอัมพาต นางบรรยงค์ ข้อทน อายุ ๔๐ ปี ภรรยา และ ด.ญ.ประสาน ครุฑใจกล้า อายุ ๑๑ ขวบ ลูกสาว จึงมีการปะทะกันอย่างต่อเนื่องกับคนร้าย

20150616_1536.jpg
20150616_1536.jpg (222.16 KiB) เปิดดู 11955 ครั้ง


พล.ต.อ.สล้าง นั่งเฮลิคอปเตอร์เดินทางไปสั่งการด้วยตัวเอง และเรียกประชุมนายตำรวจที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางคลี่คลาย มีคำคำสั่งให้ใช้การเจรจาเกลี้ยกล่อม และให้ตำรวจแฝงกายล้อมตัวบ้านในระยะใกล้ที่สุด เพื่อรอจังหวะลงมือ พร้อมส่ง พ.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองปราบปราม ถอดเครื่องแบบเดินถือโทรโข่งลุยน้ำเข้าไปเจรจา คนร้ายทั้ง ๖ คน ยอมปล่อยตัวประกันและขอมอบตัว ต่อมาคนร้ายทั้ง ๖ ถูกใส่กุญแจมือ และถูกตำรวจพาเดินลุยน้ำมาจนถึงฝั่ง เหตุการณ์ที่ดูทีท่าว่าจะคลี่คลายไปด้วยดีกลับตาลปัตรไปอย่างไม่น่าเชื่อ คำให้การของฝ่ายตำรวจบอกว่า คนร้ายได้ขอให้ตำรวจนำตัวกลับเข้าในบ้านอีกรอบ เพื่อค้นหาอาวุธของกลาง ตำรวจจึงพากลับไปตามที่ร้องขอ หลังเข้าไปในบ้านประมาณ ๒๐ นาที เกิดมีเสียงปืนรัวขึ้น สิ้นเสียงปืนคนร้ายทั้ง ๖ คนถูกวิสามัญฆาตกรรม จนเป็นตำนาน "อื้อฉาว" ไปทั่วโลกของ ตำรวจมือปราบวิสามัญ

ที่มา วิกิพีเดีย
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 18 มี.ค. 2018 7:23 pm

เจ้าพระยาวิชเยนทร์จ่ายฟัน ๒ ซี่ เป็นค่าดูโขน! ฐานสึกพระเณรเอาไปทำงานกุลีก่อสร้างบ้านตัวเอง

220px-พระบรมรูป_สมเด็จพระเจ้าเสือ_วัดไทร.jpg
220px-พระบรมรูป_สมเด็จพระเจ้าเสือ_วัดไทร.jpg (18.59 KiB) เปิดดู 8773 ครั้ง


เรื่องเก่าเล่าสนุก โดย โรม บุนนาค

อดีตเด็กรับใช้ในสำเภาสินค้าชาวกรีก ซึ่งบุญมาวาสนาส่งได้เป็นถึงอัครเสนาบดีผู้มีอำนาจสูงสุดของกรุงศรีอยุธยา และอาจจะเป็นใหญ่กว่านี้ขึ้นไปอีก ถ้าแผนการที่เขารับใช้พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศสสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย แม้จะมีระดับนายพลคุมกองทหารฝรั่งเศสติดอาวุธทันสมัยมาช่วย ก็ไม่อาจไปถึงฝั่งฝันได้ เพราะมีคนๆ หนึ่งซึ่งเกิดที่โคนต้นมะเดื่อจองล้างจองผลาญเขามาตั้งแต่เด็ก จนนำเขาไปสู่หลักประหารได้ในที่สุด

นักชาตินิยมหัวรุนแรงซึ่งถูกจารึกไว้ว่าเป็นกษัตริย์ดุร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์พระองค์นี้ ก็คือ พระสุริเยนทราธิบดี หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ กษัตริย์พระองค์ที่ ๒๙ ของกรุงศรีอยุธยา แต่รู้จักกันทั่วไปในพระสมัญญานามว่า “พระเจ้าเสือ” ผู้เป็นกษัตริย์ประสูติที่โคนต้นมะเดื่อในชนบทเมืองพิจิตร

พระเจ้าเสือเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะสมเด็จพระนารายณ์ทรงเข็ดหลาบกับการนำโอรสของพระเชษฐาที่สวรรคตมาเลี้ยง พอโตขึ้นก็ลอบปลงพระชนม์ แม้จะทรงอภัยให้ครั้งแล้วครั้งเล่าก็ยังไม่สำนึก จึงจำพระทัยต้องประหาร เลยเข็ดที่จะเอาลูกคนอื่นมาเลี้ยง ทั้งยังขยาดที่จะมีลูกกับพระสนมด้วย แต่ก็ทรงพระปริวิตกที่จะไม่มีพระราชโอรสสืบบัลลังก์ จึงโปรดให้พระมเหสีทั้ง ๒ พระองค์ตั้งสัตยาธิษฐานขอพระโอรส ห้ามพระสนมขอ และถ้าหากพระสนมคนใดตั้งครรภ์ก็ให้รีดออก เพราะกลัวว่าจะเลี้ยงไม่เชื่องอย่างลูกพระเชษฐา

วันหนึ่ง สมเด็จพระนารายณ์ทรงสุบิน มีเทวดามาบอกว่าพระสนมที่ชื่อนางกุสาวดี ซึ่งเป็นธิดาพระเจ้าเชียงใหม่มีครรภ์ โอรสที่จะเกิดมามีบุญญาธิการมาก พระสุบินนี้ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ไม่สบายพระทัย จะรีดทิ้งตามที่ได้ตั้งสัตย์ไว้ ก็ติดที่พระโอรสองค์นี้มีบุญญาธิการ จึงรับสั่งให้ไปนิมนต์พระอาจารย์พรหม วัดปากน้ำประสบ ที่ทรงนับถือมาปรึกษา

พงศาวดารฉบับขุนหลวงหาวัดกล่าวว่า

“พระมหาพรหมผู้เป็นอาจารย์จึ่งว่า อันทรงสุบินนี้ดีหนักหนา พระองค์จะได้พระราชโอรสเป็นกุมาร แต่ไม่ชอบใจอยู่สิ่งหนึ่งว่ามีพระราชโอรสกับพระสนมกำนัลแล้วให้ทำลายเสีย อันนี้กูไม่ชอบใจยิ่งนัก พระองค์มาทำดังนี้ก็เป็นบาปกรรมนั้นประการหนึ่ง ถ้าในพระอัครมเหสีและมิได้มีพระราชโอรส มีแต่พระราชโอรสในพระสนมนี้ พระองค์ก็จะทำประการใดที่จะได้สืบศรีสุริยวงศ์ต่อไป อันว่าน้ำพระทัยนี้ จะให้เสนาบดีเศรษฐีคหบดีและพ่อค้า ให้ขึ้นเสวยราชย์สืบศรีสุริยวงศ์หรือประการใด ถึงจะเป็นพระราชโอรสในพระสนมก็ดี ก็ในพระราชโอรสของพระองค์ที่จะได้สืบศรีสุริยวงศ์ต่อไป อันนี้สุดแต่กุศลจะคู่ควรและไม่คู่ควร ถ้าแลพระองค์ไม่ฟังกูว่า ดีร้ายกรุงศรีอยุธยาจะสูญหาย จะเป็นเมืองโกลัมโกลีมั่นคง ถ้าและทำดังกูว่า กรุงศรีอยุธยาจะได้เป็นสุขสุภาพต่อไป”

สมเด็จพระนารายณ์ได้ฟังพระอาจารย์ว่าดังนั้นก็โสมนัสยินดีในพระทัย แต่ขัดอยู่ที่ได้ลั่นพระวาจาไปแล้ว จึงคิดที่จะหาวิธีทำโดยอุบายไม่ให้เสียพระวาจา จึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาสุรสีห์ ขุนนางคู่พระทัย ซึ่งเป็นบุตรพระนมคนหนึ่ง ทั้งยังเป็นครูช้างของพระองค์ ให้เข้าไปในที่ลับบอกเรื่องนางกุสาวดีมีครรภ์ ให้เจ้าพระยาสุรสีห์เอานางไปเลี้ยงเป็นภรรยา ถ้าลูกในครรภ์ออกมาเป็นผู้ชายก็ให้เป็นลูกเจ้าพระยาสุรสีห์ แต่ถ้าเป็นลูกผู้หญิงก็ให้ส่งคืนมา

ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์เสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ที่เมืองพิษณุโลก พระเพทราชาก็พานางกุสาวดีตามเสด็จไปด้วย พอมาถึงตำบลโพธิ์ประทับช้าง แขวงเมืองพิจิตร นางได้กำหนดครบทศมาสพอดี จึงได้คลอดบุตรเป็นชายที่โคนต้นมะเดื่อ และนำรกฝังไว้ที่โคนต้นมะเดื่อนั้น พระเพทราชาจึงตั้งชื่อกุมารว่า “เดื่อ”

ครั้นกุมารโตขึ้นรู้ความก็เข้าใจว่าพระเพทราชาคือบิดาของตัว จึงรักใคร่สนิทสนม ครั้นเจริญวัย พระเพทราชานำไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก วันหนึ่งสมเด็จพระนารายณ์ให้เจ้าพนักงานเชิญพระฉายมาตั้ง ทรงส่องแล้วกวักพระหัตถ์เรียกนายเดื่อเข้าไปใกล้พระองค์ ทรงรับสั่งว่า

“เอ็งจงดูเงากระจกเถิด”

นายเดื่อก็คลานเข้าไปส่องพระฉายข้างสมเด็จพระนารายณ์ ทรงดำรัสถามว่า "เอ็งเห็นรูปเรากับรูปเอ็งนั้นเป็นอย่างไรบ้าง”

นายเดื่อก็กราบทูลว่า “รูปทั้งสองอันปรากฏอยู่ในพระฉาย มีพรรณสัณฐานคล้ายคลึงกันพ่ะย่ะค่ะ”

โดยพระราชอุบายส่องพระฉายนี้ นายเดื่อก็รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วตัวเองเป็นใคร จึงวางตัวไม่เกรงกลัวผู้ใด กล้าที่จะบริโภคพระกระยาหารในพระสุพรรณภาชน์ที่เหลือเสวย ทั้งยังเอาพระภูษาทรงที่เจ้าพนักงานตากไว้มานุ่ง ถ้าเป็นคนอื่นก็ต้องโดนโทษหนักแล้ว แต่เมื่อเจ้าพนักงานไปกราบทูลฟ้อง สมเด็จพระนารายณ์ก็รับสั่งว่า

“อ้ายเดื่อนี้มันบ้าๆ อยู่แล้ว อย่าถือมันเลย มันชอบใจสิ่งของทั้งนั้น จึงบริโภคนุ่งห่มตามทีมันเถิด”

แต่นั้นมานายเดื่อทำอะไรก็ไม่มีใครกล้าว่ากล่าว เลยได้ใจวางอำนาจ ทั้งยังปากว่ามือถึง ขนาดเจ้าพระยาวิชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน อัครมหาเสนาบดีสัญชาติกรีก คนโปรดของสมเด็จพระนารายณ์ที่คนเกรงกันทั้งแผ่นดิน ยังโดนเอาเท้าลูบหัวเล่นเสียดื้อๆ

โดยวันหนึ่งท่านอัครมหาเสนาบดีเข้าเฝ้าขณะที่นายเดื่อเข้าเฝ้าอยู่ก่อนแล้ว พอเจ้าพระยาวิชเยนทร์ก้มลงกราบ นายเดื่อก็แกล้งเหยียดเท้าออกไปจนถูกหัวท่านอัครมหาเสนาบดี สมเด็จพระนารายณ์ทอดพระเนตรเห็นก็ทรงรับสั่งว่า

“อ้ายคนนี้มันเป็นเด็กไม่รู้เดียงสา อย่าถือโทษมันเลย”

เจ้าพระยาวิชเยนทร์ก็จำใจต้องกราบทูลว่าไม่ได้ถือโทษ

220px-Constantin_Phaulkon.jpg
220px-Constantin_Phaulkon.jpg (40.84 KiB) เปิดดู 8773 ครั้ง


ต่อมาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ได้สร้างตึกสี่เหลี่ยมใหญ่มีกำแพงแก้วล้อมรอบ เป็นที่อยู่ใกล้วัดปืน กรุงละโว้ ขณะสมเด็จพระนารายณ์ไปประทับที่กรุงละโว้นั้นด้วย วิชเยนทร์ได้สึกเอาภิกขุสามเณรมาเป็นกุลีก่อสร้าง นายเดื่อที่เติบใหญ่เป็นหลวงสรศักดิ์ จึงนำความไปกราบทูลให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงทราบ แต่สมเด็จพระนารายณ์ก็มิได้ทรงลงโทษวิชเยนทร์แต่อย่างใด หลวงสรศักดิ์จึ่งคิดว่าไอ้ฝรั่งคนนี้มันเป็นที่โปรดปรานยิ่งนัก จะกระทำผิดอย่างใดก็มิได้ทรงลงโทษ กูจะทำโทษมันเอง

ว่าแล้วก็ไปคอยดักเจ้าพระยาวิชเยนทร์อยู่ในวัง พอเช้าสมุหนายกฝรั่งมาทำงาน หลวงสรศักดิ์ก็ตรงเข้าไปชกหน้าเอาดื้อๆ ทำเอาเจ้าพระยาฝรั่งล้มทั้งยืน เลือดกบปาก ฟันหน้าหักไป ๒ ซี่ แล้วคุณหลวงก็เดินลงเรือกลับไปกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยาวิชเยนทร์ลุกขึ้นบ้วนฟันออกจากปากแล้วก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว กราบทูลขณะเลือดยังกลบปากว่าทั้งเจ็บทั้งอาย ขอทรงพระกรุณาลงพระราชอาชญาแก่หลวงสรศักดิ์จงหนัก ข้าพระพุทธเจ้าจึ่งจะสิ้นความเจ็บอาย

สมเด็จพระนารายณ์ทรงพระพิโรธหลวงสรศักดิ์ยิ่งนัก ดำรัสสั่งตำรวจให้ไปเอาตัวหลวงสรศักดิ์มา แต่ตามหาจนทั่วก็ไม่มีใครเห็นแล้ว จึงตรัสแก่เจ้าพระยาวิชเยนทร์ว่าจะหาตัวมันให้ได้ก่อน เจ้าพระยาวิชเยนทร์เข้าเฝ้าเมื่อใดก็กราบทูลติดตามเรื่องนี้ทุกครั้ง สมเด็จพระนารายณ์ทรงทราบต้นเหตุของเรื่องนี้แล้วก็ดำรัสว่า ไอ้เดื่อมันเห็นท่านทำผิดจึ่งชกให้ได้ทุกขเวทนา เราจะมีโขนโรงใหญ่ทำขวัญให้แก่ท่าน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ก็มิพอใจกับการปลอบขวัญแบบนี้ จึงกราบทูลขอแต่ให้ทำโทษหลวงสรศักดิ์ถ่ายเดียว

หลวงสรศักดิเมื่อรู้ว่าพระเจ้าอยู่หัวพิโรธ จึงไปเฝ้ากรมพระเทพามาตย์ เจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นมารดาเจ้าพระยาโกษาเหล็กเจ้าพระยาโกษาปาน และเป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์ ให้ช่วยกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ อ้างว่าที่ทำไปก็เพราะวิชเยนทร์ย่ำยีพระพุทธศาสนา

เจ้าแม่ผู้เฒ่าเห็นโทษที่เจ้าพระยาฝรั่งทำผิดมหันต์ จึงรีบเสด็จขึ้นไปยังเมืองลพบุรี โดยนำหลวงสรศักดิ์ขึ้นไปด้วย แต่ให้รออยู่ที่ท่าเรือก่อน เข้ากราบทูลโดยเหตุทั้งปวงนั้นทุกประการ สมเด็จพระนารายณ์มีพระราชโองการให้หลวงสรศักดิ์มาเฝ้า ดำรัสบริภาษเป็นอันมาก แต่ก็ไม่ได้ทรงลงโทษแต่อย่างใด เจ้าพระยาวิชเยนทร์เลยจำใจต้องเสียฟัน ๒ ซี่เป็นค่าดูโขนไป

แต่โทษของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ที่หลวงสรศักดิ์เป็นผู้ชำระครั้งนี้ ก็คือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับการลงโทษครั้งสุดท้ายที่จะตามมาอีก เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ประชวรหนัก หลวงสรศักดิ์ที่ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาศรีสรศักดิ์ ก็ได้ให้คนไปบอกกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ว่าพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้เข้าเฝ้า คนรอบด้านเจ้าพระยาวิชเยนทร์ก็เตือนว่าทหารของพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์ล้อมวังไว้หมดแล้วไม่ควรไป อาจเป็นเรื่องลวงก็ได้ แต่วิชเยนทร์เชื่อมั่นในกองทหารฝรั่งที่อารักขา แต่เมื่อจะเข้าวังชั้นใน ทหารต่างชาติจำต้องวางปืนไว้ข้างนอก พอวิชเยนทร์ก้าวพ้นประตูเข้าไปประตูก็ปิด ทหารไทยถือดาบก็กรูออกมารอบด้าน ทหารฝรั่งมือเปล่าที่ติดตามวิชเยนทร์เข้าไปเพียงไม่กี่คนก็ถอยกรูด หลวงสรศักดิ์ก็จับเจ้าพระยาฝรั่งไปเข้าหลักประหารอย่างง่ายๆ

นี่ก็เป็นจุดจบของอดีตกลาสีเรือชาวกรีก ซึ่งเจ้านายเก่าสรรเสริญว่า “...เป็นฝรั่งที่เป็นใหญ่กว่าเจ้าของเมือง...”


ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 18 มี.ค. 2018 9:42 pm

ท้าวทองกีบม้า (มารี ดอญา กีมาร์ เดอ ปีนา) เป็นชาวอยุธยาลูกครึ่งเชื้อสายโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ที่ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งท้าวทองกีบม้า หัวหน้าพนักงานวิเสทกลาง (ครัว) ดูแลของหวานแบบเทศ และได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นตำรับขนมตระกูลทอง ไม่ว่าจะเป็น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารของโปรตุเกส

ท้าวทองกีบม้า.jpg
ท้าวทองกีบม้า.jpg (89.75 KiB) เปิดดู 8772 ครั้ง


ท้าวทองกีบม้า มีชื่อจริงว่า มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา เป็นคริสตังเชื้อสายโปรตุเกส, เบงกอล และญี่ปุ่น เป็นธิดาคนโตของฟานิก กูโยมาร์ (Fanik Guyomar) บิดามีเชื้อสายโปรตุเกส, ญี่ปุ่น และเบงกอล ที่อพยพมาจากอาณานิคมโปรตุเกสในเมืองกัวกับมารดาชื่ออูร์ซูลา ยะมะดะ (Ursula Yamada; ญี่ปุ่น: 山田ウルスラ ?) ลูกหลานผู้ลี้ภัยจากการเบียดเบียนศาสนาในญี่ปุ่น

จากการเบียดเบียนศาสนาในญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ ตามคำบัญชาของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ทำให้เซญอรา อิกเนซ มาร์แตงซ์ หรือ อิกเนซ มาร์ตินซ์ (ญี่ปุ่น: イグネス・マルティンス ?) ย่าบ้างก็ว่าเป็นยายของท้าวทองกีบม้า ถูกนำตัวมาไว้ที่เมืองไฮโฟในเวียดนาม ระหว่างนั้นนางได้สมรสกับลูกหลานไดเมียวตระกูลโอโตะโมะ ภายหลังครอบครัวของนางจึงได้อพยพมาลงหลักปักฐานในกรุงศรีอยุธยาอีกทอดหนึ่ง แต่ข้อมูลบางแห่งก็ว่า ครอบครัวของนางไปอยู่ที่กัมพูชาก่อนถูกกวาดต้อนมาสู่กรุงศรีอยุธยาเมื่อคราสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตีเมืองละแวก ในปี ค.ศ. ๑๕๙๗ จากข้อมูลนี้มารีอาอาจมีเชื้อสายเขมรหรือจามผ่านทางมารดาด้วยก็เป็นได้

ครอบครัวของยะมะดะเป็นตระกูลที่เคร่งครัดในคริสต์ศาสนา เซญอรา อิกเนซ มาร์แตงซ์ ผู้เป็นยาย อ้างว่านางเป็นหลานสาวของนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ (Saint Francis Xavier) นักบุญชื่อดัง ที่ได้ประทานศีลล้างบาปและตั้งนามทางศาสนาให้ แต่อย่างไรก็ตามมารดาของท้าวทองกีบม้าค่อนข้างจะมีประวัติด่างพร้อยว่านางคบชู้กับบาทหลวงทอมัส วัลกัวเนรา (Thomas Vulguaneira) บาทหลวงเยสุอิตเชื้อสายซิซิลี และกล่าวกันว่าท้าวทองกีบม้า มิใช่ลูกของฟานิก สามีตามกฎหมายของนางยะมะดะ แต่เกิดกับบาทหลวงรูปดังกล่าว ดังปรากฏใน Mémoire touchant l'enlèvement et la reddition de Madame Constance ความว่า

"ส่วนนางอูร์ซูลนั้นเล่า พอเข้าพิธีแต่งงานกับสามีที่ถูกต้องนามว่าฟานิกได้ไม่ทันไร ก็ไปมีความสัมพันธ์กับบาทหลวงวัลกัวเนรา ซึ่งเป็นบาทหลวงชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายเยสุอิต ผู้ออกแบบการก่อสร้างป้อมค่ายกำแพงเมืองให้สยาม มาดามฟอลคอน [ท้าวทองกีบม้า] ซึ่งผิวขาวยิ่งกว่านายฟานิกและน้อง ๆ ของเธอ ถือกำเนิดในช่วงเวลานี้เอง ปรากฏว่าบาทหลวงวัลกัวเนราถูกเรียกตัวไปประจำที่มาเก๊าเพราะมีข่าวอื้อฉาวเรื่องนี้เอง ว่ากันว่าท่านบาทหลวงข้ามแม่น้ำไปยังหมู่บ้านญี่ปุ่นอีกฟากฝั่งหนึ่งเพื่อไปหานาง"

ทั้งยังปราฏใน Mémoire en forme de lettre d'un anglais catholique เช่นกัน มีเนื้อความว่า
"พ่อฟานิกคนนี้ เป็นคนผิวดำลูกครึ่งเบงกอลกับญี่ปุ่น [...] ที่ข้าพเจ้าระบุว่าเขาผิวดำนี้ มิพักต้องคัดค้านดอกว่าก็บุตรธิดาของเขาบ้างบางคนนั้นผิวขาว และคนอื่น ๆ กลับผิวคล้ำ ก็นี่ล่ะที่จะเป็นเหตุให้ต้องค้นหากันละสิ [...] ข้าพเจ้าจะบอกว่า นักบวชตาชาร์... ท่านทำให้ทุก ๆ คนหัวเราะกันอยู่เรื่อย เวลาที่พูดว่า มร. กงส์ต็องส์เรียกขานบาทหลวงเยสุอิตว่าเป็นพี่เป็นน้อง"

ทั้งนี้ไม่มีการชี้ชัดว่าฟานิกเป็นบิดาแท้จริงของมารีอาหรือไม่ ขณะที่งานเขียนของ อี. ดับเบิลยู ฮัตชินสัน (E. W. Hutchinson) ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยามสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจำนวนสองเล่ม ที่มีการกล่าวถึงประวัติชีวิตของท้าวทองกีบม้า คือ Adventure in Siam in the 17th Century. และ 1688 Revolution in Siam. โดยเมื่อกล่าวถึงฟานิกเขามักใช้คำว่า "ผู้เลี้ยงดู" หรือ "พ่อเลี้ยง" แต่เอกสารบางชิ้นก็ว่า ท้าวทองกีบม้าผิวคล้ำละม้ายฟานิก และเอกสารของบาทหลวงฝรั่งเศส ต่างไม่ลังเลใจที่จะเรียกฟานิกว่าเป็นบิดาของนาง
มารีอาได้สมรสกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางชาวกรีกอันเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขณะนั้นที่นางมีอายุได้ ๑๖ ปี เบื้องต้นบิดาของนางแสดงความไม่พอใจในพฤติกรรมและวัตรปฏิบัติของลูกเขยที่หลงลาภยศสรรเสริญและมักในโลกีย์นัก ฟอลคอนจึงแสดงความจริงใจด้วยยอมละนิกายแองกลิคันที่ตนนับถือ เปลี่ยนเป็นนิกายโรมันคาทอลิกตามมารีอา ฟานิกจึงเห็นแก่ความรักของคอนสแตนตินและยินยอมได้ทั้งสองสมรสกัน โดยมีสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและขุนนางผู้ใหญ่เข้าร่วมงานมงคลสมรสดังกล่าวด้วย

หลังการสมรส มารีอาก็ยังดำรงชีวิตอย่างปกติไม่โอ้อวดในยศถาบรรดาศักดิ์ ซ้ำยังชี้ชวนให้สามีคือเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ประพฤติและปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอขึ้นกว่าเก่า ดังปรากฏในงานเขียนของบาทหลวงโกลด เดอ แบซ (Claude de Bèze) ว่า"...สตรีผู้ถือมั่นในพระคริสตธรรมนี้มีอายุได้ไม่เกิน ๑๖ ปี ได้หลีกหนีความบันเทิงเริงรมย์ทั้งหลาย อันสตรีในวัยเดียวและฐานะเดียวกันกับนางใฝ่หากันหนักหนานั้น แล้วมุ่งแต่จะรับใช้พระผู้เป็นเจ้ากับทำความสบายอกสบายใจแก่ท่านสามีเท่านั้น นางไม่ออกจากทำเนียบไปไหนมาไหนเลย นอกจากจะไปวัด..."

ท้าวทองกีบม้าและเจ้าพระยาวิชเยนทร์ มีบุตรด้วยกันสองคนคือ จอร์จ ฟอลคอน (George Phaulkon) กับคอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantin Phaulkon) บ้างว่าชื่อควน ฟอลคอน (Juan Phaulkon) แต่ก่อนหน้านี้ฟอลคอนมีบุตรสาวคนหนึ่งที่เกิดกับหญิงชาววังที่ได้รับพระราชทานจากกรมหลวงโยธาเทพเพื่อผูกมัดฟอลคอนไว้กับราชสำนัก หลังสมรสแล้วมารีอาจึงส่งหญิงผู้นั้นไปเมืองพิษณุโลก มารีอาก็แสดงน้ำใจด้วยนำบุตรของหญิงผู้นั้นมาเลี้ยงเองเป็นอย่างดี นอกจากนี้เธอและสามียังอุปถัมภ์เด็กเข้ารีตกว่า ๑๒๐ คน แต่ชีวิตสมรสของเธอก็ไม่ราบรื่นนัก เหตุก็เพราะความเจ้าชู้ของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ที่นอกใจนางไปมีสัมพันธ์สวาทกับคลารา (Clara) นางทาสชาวจีนในอุปการะของเธอ มารีอาจึงขนข้าวของและผู้คนจากลพบุรีกลับไปที่กรุงศรีอยุธยามาแล้วครั้งหนึ่ง

ชีวิตที่รุ่งโรจน์ของเธอก็พลันดับวูบลงเมื่อเจ้าพระยาวิชเยนทร์ผู้เป็นสามี ถูกตัดสินประหารชีวิตและริบราชบาตรหลังเกิดจลาจลก่อนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพียงไม่กี่วัน ขณะที่เจ้าพระยาวิชเยนทร์กำลังจะถูกประหารนั้น บางบันทึกระบุว่า "[นาง]เศร้าโศกร่ำไห้ปิ่มว่าจะขาดใจ" บ้างก็ว่า นางมิได้ร่ำไห้ให้สามีแม้แต่น้อย แต่นางกลับถ่มน้ำลายรดหน้าสามี และไม่ยอมให้จูบลาลูกบาทหลวงอาร์ตุส เดอ ลียอน (Artus de Lionne) ที่เข้ามาเผยแผ่พระศาสนาในช่วงนั้น ได้ระบุเหตุการณ์การจัดการทรัพย์สินของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ดังกล่าวว่า
"...วันที่ ๓๐ พฤษภาคม เขาได้เรียกตราประจำตำแหน่งของสามีนางคืนไป วันที่ ๓๑ ริบอาวุธ เอกสาร และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย วันต่อมาได้ตีตราประตูห้องหับทั่วทุกแห่งแล้วจัดยามมาเฝ้าไว้ วันที่ ๒ มิถุนายน ขุนนางผู้หนึ่งนำไพร่ ๑๐๐ คนมาขนเงิน เครื่องแต่งบ้านและจินดาภรณ์ไป..." แต่กระนั้นเธอยังลอบแบ่งทรัพย์สินและเครื่องเพชรออกเป็นสามกล่อง สองกล่องแรกไว้กับบาทหลวงเยสุอิต ส่วนอีกกล่องเธอฝากไว้ที่ทหารฝรั่งเศสชั้นนายร้อยไป แต่บาทหลวงเยสุอิตเกรงจะไม่ปลอดภัยจึงฝากไว้กับนายพันโบช็อง แต่เมื่อทั้งบาทหลวงและนายพันโบช็องมาถึงบางกอก นายพลเดฟาร์ฌ (General Desfarges) จึงเก็บทรัพย์สินทั้งหมดไว้เอง ครั้นเมื่อถึงเวลาคืนทรัพย์สินของฟอลคอนแก่ออกญาโกษาธิบดีผู้แทนของไทย "ทรัพย์สินที่คงเหลือมีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น" ด้วยเหตุนี้มารีอาจึงมีสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว นางต้องประสบเคราะห์กรรมและความทุกข์อย่างสาหัส ทั้งยังต้องทนทุกขเวทนากับกับคุมขัง ดังปรากฏในบันทึกของบาทหลวงเดอ แบซ ความว่า "...สุภาพสตรีผู้น่าสงสารผู้นั้น ถูกโยนเข้าไปขังไว้ในโรงม้าอันคลุ้งไปด้วยกลิ่นเหม็นและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ไม่มีข้าวของติดตัวไปเลย มีแต่ฟากสำหรับนอนเท่านั้น"

ท่ามกลางความโชคร้ายก็ยังมีความโชคดี เพราะผู้คุมที่เคยได้รับการอุปการะเอื้อเฟื้อจากนางได้ลักลอบให้ความสะดวกบางประการแก่นาง ขณะที่ชาวต่างด้าวคนอื่นจะถูกกักขังและทำโทษอย่างรุนแรง ต่อมาได้ถูกนำตัวไปเป็นคนใช้ในวัง แต่โชคร้ายของนางยังไม่หมดเท่านี้ เมื่อหลวงสรศักดิ์ พระโอรสในสมเด็จพระเพทราชา พระเจ้าแผ่นดินใหม่ ได้หลงใหลพึงใจในรูปโฉมของนาง และมีพระประสงค์ที่จะนำนางไปเป็นภริยา มีการส่งคนมาเกลี้ยกล่อมพร้อมคำมั่นนานัปการ หวังเอาชนะใจนาง เมื่อไม่สมดั่งใจประสงค์ก็แปรเป็นความเกลียดและขู่อาฆาต ดังปรากฏในพงศาวดารว่า "...ฝ่ายภรรยาฟอลคอน ได้ถูกรังแกข่มเหงต่าง ๆ บุตรพระเพทราชาก็เกลียดนัก ด้วยบุตรพระเพทราชาได้ไปเกี้ยวภรรยาฟอลคอน แต่ภรรยาฟอลคอนไม่ยอม บุตรพระเพทราชาจึงเกลียดและขู่จะทำร้ายต่าง ๆ" ตลอดเวลาทุกข์ลำบากนี้ นางพยายามหาทุกวิถีทางที่จะติดต่อกับชาวฝรั่งเศส เพื่อขอออกไปจากแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา นายพลเดฟาร์ฌที่ประจำการที่ป้อมวิไชยเยนทร์ที่บางกอกได้ให้สัญญากับนางว่าจะพาออกไปพ้นกรุงสยาม แต่นายพลเดฟาร์ฌได้บิดพลิ้วต่อนาง "...ถ้าพวกเขาพามาดามกงส์ต็องส์ออกไปแล้วไซร้ พวกคริสตังทั้งนั้นจะได้รับการข่มเหงจากพวกคนสยาม และจะพากันถูกลงโทษประหารอย่างอเนจอนาถ พวกคนป่าเถื่อนเหล่านั้นจะทำลายโรงคลังสินค้าของฝรั่งเศสเสีย อันจะเป็นความเสียหายใหญ่หลวงแก่กิจการค้าของบริษัทในชมพูทวีป..." นอกจากปฏิเสธนางแล้ว ยังได้กักขังหน่วงเหนี่ยวนางในหอรบและควบคุมอย่างเข้มงวด บาทหลวงเดอ แบซ ได้บันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวว่า "...เรายังได้ทราบต่อมาอีกถึงความทุกข์ทรมานที่เธอได้รับจากการถูกทอดทิ้งในคราวนั้น แม้กระทั่งน้ำก็ไม่มีให้ดื่ม"หลังจากนั้นประวัติของนางก็หายไปช่วงหนึ่ง และปรากฏอีกครั้งว่านางกลับมายังกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง มีชาวฝรั่งเศสบันทึกถึงนางว่า "...มาดามกงสต็องส์ได้ออกจากบางกอกด้วยกิริยาองอาจ ดูสีหน้ารู้สึกว่ามิได้กลัวตายเท่าใดนัก แต่มีความดูถูกพวกฝรั่งเศสมากกว่า..." แต่ขณะเดียวกันนั้น นายพลเดฟาร์ฌซึ่งเดินทางออกจากสยามหวังคืนสู่ฝรั่งเศสโดยที่เขาหอบสมบัติของนางไปด้วย ก็ได้ถึงแก่มรณกรรมที่แหลมกู๊ดโฮป ทั้งลูกน้องที่เหลือยังถูกชาวเนเธอร์แลนด์จับกุมเป็นเชลยที่นั่น ทรัพย์สินของฟอลคอนที่นางฝากมาก็พลอยถูกยึดและอันตรธานไปด้วย

หมอเองเงิลแบร์ท เคมพ์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) แพทย์ชาวเยอรมัน ได้กล่าวถึงนางกับบุตรอย่างไม่แน่ใจว่า "...เจ้าเด็กน้อยกับแม่คงเที่ยวขอทานเขากินมาจนทุกวันนี้ หามีใครกล้าเกี่ยวข้องด้วยไม่..."

เรื่องราวของมาดามฟอลคอน หรือมารีอา กูโยมาร์ ปรากฏอีกครั้ง โดยเธอเขียนจดหมายส่งไปยังบิชอปฝรั่งเศสในประเทศจีนเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๔๙ เพื่อขอให้บาทหลวงกราบทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บังคับให้รัฐบาลฝรั่งเศสส่งส่วนแบ่งรายได้ของบริษัทฝรั่งเศสที่สามีเคยเป็นผู้อำนวยการแก่นางบ้าง และพรรณนาความทุกข์ยากลำบากของนาง ความว่า "...พระผู้เป็นเจ้าจะไม่พิศวงในเวรกรรมและภาวะของข้าพเจ้าในขณะบ้างละหรือ ตัวข้าพเจ้านั้นหรือ เมื่อก่อนจะไปในที่ประชุมชนแห่งใดในกรุงศรีอยุธยาก็ไปเช่นพระราชินี ข้าพเจ้าได้เคยรับพระมหากรุณาโดยเฉพาะโดยเอนกประการจากสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน บรรดาเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ทั้งปวงก็นับถือไว้หน้า ตลอดจนไพร่ฟ้าประชาชนทั้งหลายก็รักใคร่ [...] ต้องทำงานถวายตรากตรำด้วยความเหนื่อยยากและระกำช้ำใจ มืดมนอนธการไปด้วยความทุกข์ยาก ตั้งหน้าแต่จะคอยว่าเมื่อใดพระเจ้าจะโปรดให้ได้รับแสงสว่างบ้าง ตอนกลางคืนนางก็ไม่มีที่พิเศษอย่างใด คงแอบพักนอนที่มุมห้องพระเครื่องต้น บนดินที่ชื้น ต้องคอยระวังเฝ้ารักษาเฝ้าห้องเครื่องต้น..."จากจดหมายดังกล่าวก็จะพบว่า ขณะนี้นางได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานเครื่องต้นในวังแล้ว สอดคล้องกับ จดหมายเหตุฝรั่งเศสโบราณ ที่บันทึกการปฏิบัติหน้าที่ในห้องเครื่องต้นของนาง ความว่า "...ภรรยา [ของนายคอนสแตนติน] เป็นท้าวทองกีบม้าได้เป็นผู้กำกับการชาวเครื่องพนักงานหวาน ท่านท้าวทองกีบม้าผุ้นี้เป็นต้นสั่งสอนให้ชาวสยามทำของหวานคือขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอด ขนมทองโปร่ง ทองพลุ ขนมผิง ขนมฝรั่ง ขนมขิง ขนมไข่เต่า ขนมทองม้วน ขนมสัมปันนี ขนมหม้อแกง และสังขยา"

ในบันทึกของเมอซีเยอโชมง (คนละท่านกับเชอวาลีเยเดอโชมง) ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในปี พ.ศ. ๒๒๖๒-๒๒๖๗ ได้ให้ข้อมูลว่าหลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าเสือ ชีวิตของมาดามฟอลคอนได้กลับมาดีขึ้นโดยลำดับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดเกล้าให้มาดามฟอลคอนเข้ามารับราชการฝ่ายใน โดยไว้วางพระราชหฤทัยให้นางดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง และเป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และมีสตรีในบังคับบัญชากว่า ๒,๐๐๐ คน ทั้งนี้ท้าวทองกีบม้าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต คืนเงินสู่ท้องพระคลังปีละครั้งมาก ๆ ทุกปี จนเป็นที่โปรดปรานในองค์พระมหากษัตริย์ รวมทั้งจอร์จ บุตรชายของเธอที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดไว้ใกล้ชิดพระองค์ ดังปรากฏจากบันทึกของเมอซีเยอโชมง ความว่า "...พระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งให้หาจอร์จ บุตรของเมอซีเยอกงส์ต็องส์ แล้วโปรดให้แต่งตัวอย่างดี ๆ และรับสั่งให้นายจอร์จเรียนภาษาไทยเสียให้รู้ ได้โปรดให้เอานายจอร์จไว้ใช้ใกล้ชิดพระองค์ และได้โปรดเป็นครูด้วยพระองค์เอง สอนภาษาไทยให้แก่นายจอร์จ..."

จากความเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดปรานบุตรคนโตของนางมาก ส่วนบุตรคนเล็กคือ คอนสแตนติน ได้สนองพระเดชพระคุณสร้างออร์แกนเยอรมันถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จากหลักฐานของมิชชันนารีฝรั่งเศส คอนสแตนตินถูกเรียกว่า ราชมนตรี เป็นตำแหน่งผู้นำของชุมชนคริสตัง

ในปี พ.ศ. ๒๒๖๐ รัฐบาลฝรั่งเศสได้มีมติอนุมัติให้ส่งเงินรายได้ที่เป็นของฟอลคอนแก่นางตามที่นางขอร้องในจดหมายที่เคยส่งไปมาให้ ที่สุดหลังพ้นจากวิบากกรรมอันเลวร้าย ท้าวทองกีบม้าได้ใช้เวลาแห่งบั้นปลายชีวิตที่เหลือด้วยการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดโดยพำนักอยู่กับลูกสะใภ้ที่ชื่อ ลุยซา ปัสซัญญา (Louisa Passagna) ภริยาม่ายของคอนสแตนติน และได้ถึงแก่มรณกรรมในปี พ.ศ. ๒๒๖๕

ภาพ : mgronline.com

ที่มา ท้าวทองกีบม้าเจ้าตำรับขนมไทย". กระทรวงวัฒนธรรม,วิกิพีเดีย
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 61 ท่าน

cron