จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 11 ต.ค. 2019 11:07 am

สถานีตำรวจ อำเภอบ่อพลอย กาญจนบุรี วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๐
สถานีตำรวจ.jpg
สถานีตำรวจ.jpg (129.82 KiB) เปิดดู 6292 ครั้ง


อาคารกำลังสร้าง ริมถนน อำเภอเมือง กาญจนบุรี วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๐
ริมถนน.jpg
ริมถนน.jpg (89.29 KiB) เปิดดู 6292 ครั้ง


เดินทางด้วยรถ เส้นทางทุ่งมะสัง อำเภอบ่อพลอย กาญจนบุรี วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๐
ทุ่งมะสัง.jpg
ทุ่งมะสัง.jpg (151.6 KiB) เปิดดู 6292 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 11 ต.ค. 2019 11:12 am

รถโดยสาร บ้านหนองไม้แก่น ท่ามะกา กาญจนบุรี วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๐
หนองไม้แก่น2.jpg
หนองไม้แก่น2.jpg (101.87 KiB) เปิดดู 6292 ครั้ง


ห้วยสะพาน ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน กาญจนบุรี วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๐
ห้วยสะพาน3.jpg
ห้วยสะพาน3.jpg (129.75 KiB) เปิดดู 6292 ครั้ง


เรือบรรทุกข้าว คลองพระโขนง สะพานข้ามทางรถไฟ กรุงเทพฯ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๐
พระโขนง.jpg
พระโขนง.jpg (111.54 KiB) เปิดดู 6292 ครั้ง


ภาพ : Pendleton, Robert Larimore
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 11 ต.ค. 2019 11:22 am

ปากคลองพระโขนง ตรงแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพฯ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๐
ปากคลองพระโขนง.jpg
ปากคลองพระโขนง.jpg (63.83 KiB) เปิดดู 6255 ครั้ง


บ้านสวนของพระยาแพทย์พงศาฯ บ้านอ่าง อำเภอมะขาม จันทบุรี วันที่ ๑๓ พฤศจิกยน พ.ศ.๒๔๗๘
บ้านพระยาแพทย์.jpg
บ้านพระยาแพทย์.jpg (68.42 KiB) เปิดดู 6255 ครั้ง


พระยาแพทย์.jpg
พระยาแพทย์.jpg (161.69 KiB) เปิดดู 6255 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 11 ต.ค. 2019 11:27 am

เด็กหญิงยืนข้างต้นพริกไทย เขาวัว อำเภอท่าใหม่ จันทบุรี วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๙
เขาวัว.jpg
เขาวัว.jpg (124.34 KiB) เปิดดู 6255 ครั้ง


บ้านแห่งหนึ่ง เขาวัว อำเภอท่าใหม่ จันทบุรี วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๙
ชาวเขาวัว.jpg
ชาวเขาวัว.jpg (147.6 KiB) เปิดดู 6255 ครั้ง


เตรียมเจดีย์ในงานทิ้งกระจาด หนองปรือ อำเภอท่าใหม่ จันทบุรี วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๐
งานทิ้งกระจาด.jpg
งานทิ้งกระจาด.jpg (125.57 KiB) เปิดดู 6255 ครั้ง


ภาพ : Pendleton, Robert Larimore
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 11 ต.ค. 2019 11:33 am

งานศาลเจ้า หนองปรือ อำเภอท่าใหม่ จันทบุรี วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๐
งานศาลเจ้า.jpg
งานศาลเจ้า.jpg (155.97 KiB) เปิดดู 6255 ครั้ง


โรงเรียนฝึกอาชีพ หรือ โรงเรียนดัดสันดาน ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร พระนครศรีอยุธยา วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๐
โรงเรียนดัดสันดาน.jpg
โรงเรียนดัดสันดาน.jpg (128.93 KiB) เปิดดู 6255 ครั้ง


พระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๐
พระราชวังบางปะอิน.jpg
พระราชวังบางปะอิน.jpg (129.23 KiB) เปิดดู 6255 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 11 ต.ค. 2019 11:39 am

ชุมชนริมน้ำใกล้วัดท่า พระนครศรีอยุธยา วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๐
ใกล้วัดท่า.jpg
ใกล้วัดท่า.jpg (92.13 KiB) เปิดดู 6255 ครั้ง


กระท่อมริมแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๐
บางปะอิน2.jpg
บางปะอิน2.jpg (114.95 KiB) เปิดดู 6255 ครั้ง


ผู้ชายกำลังลอกปอกระเจา อำเภอมหาราช พระนครศรีอยุธยา วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๐
ลอกปอกระเจา.jpg
ลอกปอกระเจา.jpg (138.14 KiB) เปิดดู 6255 ครั้ง


ภาพ : Pendleton, Robert Larimore
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » ศุกร์ 11 ต.ค. 2019 11:51 am

ขอขอบคุณภาพความทรงจำทุกภาพ จากฝีมือการถ่ายภาพของ ดร. โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน (Dr. Robert Larimore Pendleton) นักวิทยาศาสตร์ทางดินและการเกษตร ชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามาปฏิบัติงานในฐานะที่ปรึกษาของกรมเกษตรและการประมง กระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น ในภาพ ดร.โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน กำลังมองแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าโรงแรมโอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓

ดร.โรเบิร์ต.jpg
ดร.โรเบิร์ต.jpg (302.39 KiB) เปิดดู 7021 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

โพสต์โดย admin » พฤหัสฯ. 24 ต.ค. 2019 4:09 pm

"เจ้าวังโนราห์" ตำนานไอ้เข้จังหวัดสุราษฎร์ธานี

K9368342-11.jpg
K9368342-11.jpg (33.14 KiB) เปิดดู 6968 ครั้ง


คลองอีปันซึ่งเป็นคลองธรรมชาติแยกจากแม่น้ำตาปีในจังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้น เป็นคลองที่กล่าวกันว่าในอดีตชุกชุมด้วยจระเข้ใหญ่น้อยมากมาย และที่ถือว่าเป็นตำนานเล่าขานของสองฝั่งคลองอีปันก็ คือสถานที่ซึ่งเรียกกันว่า “วังโนราห์”

เหตุที่ได้ชื่อนี้มีเรื่องเล่ากันว่า ในค่ำคืนหนึ่งคณะมโนราห์กลับจากการไปแสดงในยามดึกจึงจำต้องล่องเรือสำปั้นใหญ่ผ่านเข้าสู่เวิ้งน้ำกว้างของคลองอีปัน ทันใดนั้นเองก็ปรากฏจระเข้ใหญ่อันซ่อนเร้นกายอยู่ในวังน้ำจู่โจมหมุนเรือจนคว่ำและขย้ำฉีกกินเหล่ามโนราห์เคราะห์ร้ายจนหมดทั้งลำเรือ สถานที่แห่งนั้นจึงเต็มไปด้วยกลิ่นคาวเลือดและกระแสโลหิตอันไหลหลั่งเต็มท้องธาร ณ ที่แห่งนั้นจึงได้รับการเรียกขานกันว่า“วังโนราห์” และเรียกขานขนานนามจ้าวผู้ครอบครองวังน้ำแห่งนั้นว่า “เจ้าวังโนราห์”

จากวันนั้นถึงวันนี้นับเป็นกาลเวลาล่วงเลยผ่านไปไม่นานนักก็ปรากฏเหยื่อเคราะห์ร้ายอีก ๒ รายซ้อนๆ ทั้งคู่เป็นชายชาวบ้านและเป็นคู่หูกันมายาวนาน วันหนึ่งทั้งสองออกไปตัดหวายตามปกติเพื่อนำมาจุนเจือครอบครัวบริเวณทางตอนเหนือของคลองแล้ว ก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย ชาวบ้านละแวกนั้นพร้อมผู้ใหญ่บ้านต่างระดมลูกบ้านออกตามหาแต่ก็ไม่เจอ พบแค่เพียงเรือของทั้งสองที่ถูกคว่ำจนจมและแตกละเอียดดั่งโดนแรงมหาศาลของพญาสัตว์เข้าขย้ำ จนชาวบ้านต่างลงความเห็นว่า ชายทั้งสองโดนจ้าววังโนราห์คาบไปกินเสียแล้ว

อีกไม่กี่วันต่อมามีหญิงสาวพายเรือกลับบ้าน แต่เมื่อผ่านวังโนราห์แล้วก็หายตัวไปเฉยๆ ชาวบ้านพบเพียงเรือพายที่คว่ำพร้อมกับมีรอยแตกจากการขบกัดด้วย แรงมหาศาล หลังจากได้ลิ้มรสชาติเนื้อมนุษย์มาหลายๆครั้ง จระเข้ร้ายคงรู้สึกติดใจจึงเริ่มออกอาละวาดอีก คราวนี้เหยื่อของมันเป็นชายชราผู้มีอาชีพหาของป่าถูกคว่ำเรือและลากไปกินอีกราย

ท่ามกลางความหวาดกลัวของชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้านจึงทำการว่าจ้างหมอปราบจระเข้ฝีมือฉกาจมาจากแหล่งต่างๆ แต่ก็ดูเหมือนว่าจ้าววังโนราห์จะรู้ทัน มันกบดานเงียบจนชาวบ้านต่างเล่าลือกันว่ามันเป็น “จระเข้ผีสิง”

แต่จะอย่างไรก็ตามแต่ด้วยความสามารถของ “โอม ชุมทอง” พรานจระเข้หนุ่มฝีมือดีที่เข้ามาล่าจ้าววังจนมันต้องเป็นฝ่ายหนีหัวซุกหัวซุนบ้างและถูกเผด็จศึกลงได้ในไม่ช้า ความสงบสุขของที่นี่จึงหวนกลับมาอีกครั้ง เหลือเพียงตำนานเล่าขาน ถึงความโหดร้ายอำมหิตของจระเข้ร้ายที่ชื่อ “เจ้าวังโนราห์” เอาไว้เล่าให้ลูกหลานฟัง

งานบวชพระ ที่บ้านศรีสวรรค์ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ไม่ทราบ พ.ศ.
ภาพ :พนม ทรัพย์พร้อม
12638.jpg
12638.jpg (53.79 KiB) เปิดดู 6959 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 01 ม.ค. 2020 3:37 pm

ใครได้ดู "สี่แผ่นดิน" คงได้ชมฉากที่แม่พลอยต้องตามเสด็จไปยังบางปะอินเพื่อร่วมพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ นั่นคือพระศพของ พระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ และหลังจากนั้น ช้อย ได้มาบอกคุณสายและพลอยว่า สมเด็จหญิงใหญ่ สิ้นพระชนม์ เป็นพระองค์ต่อมาซึ่งก็คือ เจ้าฟ้าหญิงจันทราสรัทวาร นั่นเอง

ความผูกพันของสองพี่น้อง จนวันสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ
a1.jpg
a1.jpg (169.65 KiB) เปิดดู 6733 ครั้ง

เรื่องราวความรักและผูกพันที่คลังประวัติศาสตร์ไทยจะนำเสนอในค่ำคืนนี้ก็คือ ความรักและผูกพันระหว่างพี่สาวกับน้องสาว ที่เต็มไปด้วยความปลื้มปิติ ความสนุกสนาน และความเศร้าสลด สองพี่น้องที่ว่านี้ก็คือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ กับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงจันทราฯ ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โดยมีพระประวัติดังนี้

๑.พระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ที่ ๒ ประสูติในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๑๑ ชาววังออกพระนามว่า เสด็จพระองค์ใหญ่ ประสูติจากเจ้าจอมมารดาแพ บุนนาค

๒.เจ้าฟ้าหญิงจันทราสรัทวาร ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ที่ ๖ ประสุติในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๑๖ ชาววังออกพระนามว่า สมเด็จหญิงใหญ่ ประสูติจากพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์

จะเห็นได้ว่าทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพี่น้องต่างมารดากันและมีพระชนม์ที่ห่างกันถึง5ปี แต่ก็เป็นเรื่องแปลกที่ทั้งสองพระองค์กับมีความรักใคร่สนิทสนมกันเป็นพิเศษมากกว่าพี่น้องแม่เดียวกันเสียอีก เล่ากันว่าวันใดที่ต้องขึ้นเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวบนพระที่นั่ง ทั้งสองพระองค์ก็มักจะประทับอยู่ข้างๆกันเสมอ เมื่อเสร็จจากเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวแล้ว สมเด็จหญิงใหญ่เป็นต้องขอตามเสด็จพระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ไปประทับเล่นต่อที่พระตำหนักทุกครั้งไป บางวันสมเด็จหญิงใหญ่ก็จะเสด็จไปเฝ้าพระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ตั้งแต่เช้า เสด็จกลับอีกทีก็ใกล้ค่ำ ทั้งสองพระองค์สามารถประทับทรงพระสำราญกันได้ครั้งละนานๆและมักจะหากิจกรรมทำร่วมกันอยู่เสมอๆเช่น งานประดิษฐ์ งานดอกไม้สด งานครัว เป็นต้น บางวันเสด็จพระดำเนินผ่านกันโดยบังเอิญก็เป็นต้องหยุดคุยกันเป็นนานสองนาน เป็นที่รู้กันของชาววังสมัยนั้นว่า ถ้าสองพระองค์นี้เจอกันทีไรเป็นต้องมีเรื่องสนุกสนานพูดคุยกันทุกที

แต่แล้วก็มาถึงวันที่ไม่มีผู้ใดคาดคิด คือวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๗ พระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ทรงประชวรหนักและสิ้นพระชนม์ลงอย่างกะทันหันรวมพระชนม์ ๓๖ พรรษา สร้างความโศกเศร้าให้แก่พระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นพ่อและน้องๆทุกคน หนึ่งในนั้นก็คือ สมเด็จหญิงใหญ่ผู้เป็นน้องสาวที่รักใคร่และสนิทสนมกันมาตั้งแต่ยังเด็กๆ ในการนี้พระเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดงานพระราชทานเพลิงพระศพที่บางปะอิน สมเด็จหญิงใหญ่จึงรีบพระดำเนินล่วงหน้าไปประทับที่บางปะอินเพื่อรอรับศพพระพี่นาง แต่เมื่อถึงวันพระราชทานเพลิง สมเด็จหญิงใหญ่กลับมีพระอาการประชวรเป็นไข้พิษพระวรกายร้อนกะทันหัน พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้แพทย์หลวงเข้ารักษาโดยไว และสั่งให้ทหารสูบน้ำจากสระแล้วฉีดขึ้นไปบนหลังคาพระตำหนัก เสมือนฝนตกเพื่อเป็นการคลายความร้อนให้แก่พระราชธิดา แต่พระอาการก็ไม่ดีขึ้น พระองค์ทรงทนไข้ไม่ไหวถึงกับเพ้อตรัสเป็นภาษาอังกฤษ และสิ้นพระชนม์ลงในคืนบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิพระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ รวมพระชนม์ ๓๒ พรรษา
a2.jpg
a2.jpg (126.67 KiB) เปิดดู 6733 ครั้ง

นับว่าสมเด็จหญิงใหญ่ทรงทำหน้าที่ในฐานะพระขนิษฐา(น้องสาว)ถวายงานพระพี่นางอย่างเต็มกำลังจนนาทีสุดท้ายของพระชนม์ชีพ คือการมารอรับพระศพทั้งๆที่ตัวของพระองค์เองยังประชวรอยู่ สุดท้ายผู้ที่ได้รับความโทรมนัสและทรมานจิตใจมากที่สุดเห็นจะเป็นพระเจ้าอยู่หัวที่ต้องแห่พระศพพระราชธิดาองค์หนึ่งขึ้นมาเผาที่บางประอิน แต่ก็ต้องแห่พระศพพระราชธิดาอีกองค์หนึ่งกลับเข้าวังหลวง

อ้างอิง: บทสัมภาษณ์ หม่อมเจ้าหญิงจงจิตีถนอม ดิศกุล,ลูกๆของพ่อ โดยเฉลิมฉัตร, เมื่อสมเด้จพระพุทธเจ้าหลวงหลั่งน้ำพระเนตร โดยเวนิสา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา

จากภาพด้านบนคือ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ สถานที่ประดิษฐานพระศพพระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์

สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พร้อมด้วยพระราชชายา พระเจ้าลูกเธอ เจ้าจอมมารดา พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารฝ่ายใน ทรงฉายภาพเป็นที่ระลึกในงานพระเมรุ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ สุนทรศักดิ์กัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี ณ พระราชวังบางปะอิน โดยผู้มีพระชันษาสูงกว่าพระเจ้าลูกเธอในพระโกศ จะทรงสีดำไว้ทุกข์ส่วนผู้ที่มีพระชันษาอ่อนกว่าจะทรงชุดขาว ตามธรรมเนียมในสมัยนั้น (ภาพจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร / ลงสีภาพโดย Disapong Netlomwong) ภาพนี้น่าจะถ่ายระหว่าง วันที่ ๘ – ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๘ ที่ฝ่ายในล่วงหน้าไปที่พระราชวังบางปะอินก่อน และก่อนที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ จะทรงประชวร ซึ่งต่อมาได้สิ้นพระชนม์ ในวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๘ เพราะภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะทรงชุดขาวไว้ทุกข์ จึงเปลี่ยนมาแต่งขาวทั้งหมด
สีขาวดำไว้ทุกข์-696x343.jpg
สีขาวดำไว้ทุกข์-696x343.jpg (56.37 KiB) เปิดดู 6733 ครั้ง

การไว้ทุกข์ในสมัยก่อนนั้นมีอยู่หลายอย่างต่างชนิด คือ

๑. สีดำ สำหรับผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีอายุแก่กว่าผู้ตาย
๒. สีขาว สำหรับผู้เยาว์หรือผู้ที่มีอายุอ่อนกว่าผู้ตาย
๓. สีม่วงแก่หรือน้ำเงินแก่ สำหรับผู้ที่มิได้เป็นญาติเกี่ยวดองกับผู้ตายแต่ประการใด

ฉะนั้นในงานศพคนหนึ่งๆ หรือในงานเผาศพก็ตาม เราจะได้ความรู้ว่า ใครเป็นอะไรกับใครเป็นอันมาก เพราะผู้ที่แต่งตัวตัวไปในงานนั้นๆ จะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวข้องกับตัวเองโดยถูกต้องจึงจะแต่งสีให้ถูกได้ ถ้าผู้ใดแต่งสีและอธิบายไม่ได้ ก็มักจะถูกดูหมิ่นว่าเป็นผู้ไม่มีความรู้ แม้เรื่องเลือดเนื้อของตัวเอง

ของทุกอย่างมีดีก็ต้องมีเสีย แต่ก่อนก็ดีที่ได้รู้จักกันว่าใครเป็นใคร แต่ก็ลำบากในการแต่งกายเป็นอันมาก ถ้าจะต้องไปพร้อมกัน ๒ ศพในวันเดียวกัน ก็จะต้องกลับบ้านเพื่อไปผลัดสีให้ถูกต้องอีก

ฉะนั้นในการที่มาเลิกสีอื่นหมด ใช้สีดำอย่างเดียวเช่นทุกวันนี้ก็สะดวกดี แต่ก็ขาดความรู้จักกัน เด็กสมัยนี้จึงมักจะตอบเรื่องพืชพันธุ์ของตัวเองไม่ได้ แม้เพียงปู่ก็ไม่รู้เสียแล้วว่าเป็นใคร และได้ทำอะไรเหนื่อยยากมาเพียงใดบ้าง แต่ถ้าจะพูดกันถึงเพียงความสะดวกแล้ว การแต่งตัวสีดำเพียงสีเดียวก็ดีแล้ว
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 01 ม.ค. 2020 4:23 pm

การส่ง “ส.ค.ส.” หรือ ส่งความสุข เริ่มครั้งแรกในประเทศไทย คือรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๔) ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์คัดลอกเพื่อที่จะพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และชาวต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน โดยมีการค้นพบ ส.ค.ส. ที่เก่าแก่ที่สุดคือฉบับปี พ.ศ.๒๔๐๙ ผู้ที่ค้นพบ ส.ค.ส. ฉบับที่เก่าแก่ที่สุดคือ คุณธวัชชัย ตั้งศิริวานิช ซึ่งค้นพบที่ประเทศอังกฤษ เป็นฉบับที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้แก่ กัปตันจอห์น บุช หรือหลวงวิสูตรสาครดิษฐ ที่ดูแลกรมเจ้าท่าในขณะนั้น
ส.ค.ส.2-696x451.jpg
ส.ค.ส.2-696x451.jpg (75.69 KiB) เปิดดู 6732 ครั้ง

ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช. “ส.ค.ส. ฉบับแรกของสยาม”. สารคดี ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๑๙๑ มกราคม ๒๕๔๔
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » อังคาร 17 พ.ย. 2020 11:26 am

๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีฝังเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ
1696.jpg
1696.jpg (146.96 KiB) เปิดดู 4002 ครั้ง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขึ้นเสวยราชสมบัติโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา

พระองค์มีพระบรมราชโองการให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่ดินเพื่อสร้างพระนครใหม่ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕

ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว ๙ บาท (๕๔ นาที) ปีขาล จ.ศ.๑๑๔๔ จัตวาศก

ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ เวลา๐๖.๕๔ น.

ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น

การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่า พระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา ๒๙ เซนติเมตร สูง ๑๘๗ นิ้ว

กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน ๑๐๘ นิ้ว ฝังลงในดินลึก ๗๙ นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง

การฝังเสาหลักเมืองเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑ นั้น ได้เกิดอวมงคลนิมิตขึ้น

คือเมื่อถึงมหาพิชัยฤกษ์อัญเชิญเสาลงสู่หลุม ปรากฏว่ามีงูเล็ก ๔ ตัวเลื้อยลงหลุมในขณะเคลื่อนเสา

จึงจำเป็นต้องปล่อยเลยตามเลย โดยปล่อยเสาลงหลุมและกลบงูทั้ง ๔ ตัวตายอยู่ภายในก้นหลุม

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทำนายชะตาเมืองว่าจะอยู่ในเกณฑ์ร้ายนับจากวันยกเสาหลักเมืองเป็นเวลา ๗ ปี ๗ เดือน จึงสิ้นพระเคราะห์

ทั้งยังทรงทำนายว่า จักดำรงวงศ์กษัตริย์สืบไปเป็นเวลา ๑๕๐ ปี

ชะตาแผ่นดินที่ร้ายถึงเจ็ดปีเศษนั้น เป็นช่วงที่ไทยติดพันศึกพม่าจนถึงศึกเก้าทัพ ซึ่งสิ้นสุดการพันตูหลังครบห้วงเวลาดังกล่าว

ส่วนคำทำนายว่าจักดำรงวงศ์กษัตริย์สืบไป ๑๕๐ ปีนั้น ไปครบเอาปี พ.ศ.๒๔๗๕ ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองพอดี

ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงตรวจดวงพระชะตาของพระองค์ว่าเป็นอริแก่ลัคนาดวงเมืองกรุงเทพมหานคร จึงทรงแก้เคล็ดโดยโปรดให้ช่างแปลงรูปศาลหลักเมืองเสียใหม่ให้เป็นรูปปรางค์ และโปรดให้ถอนเสาหลักเมืองเดิมและประดิษฐานเสาหลักเมืองใหม่พร้อมบรรจุชะตาพระนครให้มีสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล มีอุดมมงคลฤกษ์ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๙๕ เวลา ๐๔.๔๘ น.

รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด

เป็นแกนไม้สัก ประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่น สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า ๕ เมตร

และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานในอาคารศาลหลักเมืองที่สร้างใหม่ มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว ได้แบบอย่างจากศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา

พอถึงปี พ.ศ.๒๔๗๕ ซึ่งเป็นปีที่ ๑๕๐ ของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทำนายไว้ว่า

“จักดำรงวงศ์กษัตริย์สืบไปเป็นเวลา ๑๕๐ ปี“ เหตุการณ์อันไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นจริงๆ ดั่งคำทำนาย

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ นั้น เจ้านายที่ทรงความสำคัญรวม ๔ พระองค์ที่ทรงบังคับบัญชากิจสำคัญคือ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพระนครสวรรค์วรพินิต

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพ็ชร์บุรีราชสิรินทร

ทั้ง ๔ พระองค์นี้มีพระราชสมภพและพระราชประสูติปีเดียวกันคือปีมะเส็ง (งูเล็ก)

ต่างกันเพียงรอบปีพระราชสมภพกับพระประสูติ

โดยทั้งสี่พระองค์ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นอย่างยิ่ง

“นิมิตงูเล็กในเสาหลักเมืองจึงออกจะเป็นเรื่องอัศจรรย์”

กรณีคำทำนายการดำรงวงศ์กษัตริย์เป็นเวลา ๑๕๐ ปี เป็นไปตามคำทำนาย แต่ไม่เป็นไปตามคำนายครบทั้งหมด

เพียงเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

คือสิ้นสุด พระราชอำนาจในการปกครองบ้านเมืองอีกต่อไป

กรณีนี้โหราจารย์ให้ความเห็นว่า คงเนื่องด้วยพระบารมีของรัชกาลที่ ๔ ที่ทรงแก้อาถรรพณ์ถอนเสาหลักเมืองและวางดวงชะตาพระนครขึ้นใหม่

ด้วยเหตุนี้ เสาหลักเมืองที่ประดิษฐาน ณ ศาลพระหลักเมืองจึงมีสองต้น เสาเดิมครั้งรัชกาลที่ ๑ คือต้นสูง ที่ได้ทำพิธีถอนเสาแล้ว

แต่หาที่เก็บที่เหมาะสมไม่ได้ จึงคงไว้ แกนในเป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ มีไม้จันทน์ประดับนอก ลงรักปิดทอง หัวเสาเป็นทรงบัวตูม ภายในกลวงสำหรับบรรจุชะตาพระนคร ดวงนี้อยู่ใจกลางยันต์สุริยาทรงกลด จารึกในแผ่นทอง เงิน นาก

ส่วนเสาพระหลักเมืองครั้งรัชกาลที่ ๔ คือต้นที่มีส่วนสูงทอนลงมา แกนในเป็นเสาไม้สัก มีไม้ชัยพฤกษ์ประดับนอก หัวเสาเป็นรูปยอดเม็ดทรงมัณฑ์ เป็นต้นที่สถิตประทับของพระหลักเมือง

นอกจากนี้ ภายในศาลพระหลักเมืองยังเป็นที่ประดิษฐานพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าพ่อเจตคุปต์ และเจ้าพ่อหอกลอง เป็นเทพารักษ์สำคัญ ๕ องค์ที่ให้ความร่มเย็นแก่แผ่นดินและประชาราษฏร์ทั้งปวง

ความมหัศจรรย์ของไสยศาสตร์อันเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ อาจเป็นจริงได้ ถ้าผู้ที่ทำเป็นผู้มีศีล สมาธิ ปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงเท่านั้น

ข้อมูล : อัษฎางค์ ยมนาค
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 25 เม.ย. 2021 2:48 pm

ภายในเรือยนต์เกษตร๒ ขณะเดินทางกลับกรุงเทพฯ ซ้ายสุดพระพิจารณ์พาณิชย์ หรือนายพิจารณ์ ปัณยวณิช (เทียดน้องคำแก้ว) ส่วนสุภาพสตรีผู้ควบคุมพวงมาลัยคือ MS.Josephine Faulkner เลขานุการของผู้แทนคณะกรรมการธนาคารโลก ถ่ายเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๓ เหตุการณ์หลังจากพระพิจารณ์พาณิชย์เกษียณอายุตำแหน่ง อธิบดีกรมสหกรณ์ ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๓ แล้วไปรับตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [ข้อมูลจากหนังสือ พระพิจารณ์พาณิชย์ แผ่นดินสำหรับสิ่งที่งอกเงยได้ เขียนโดย อาจารย์พิเศษ ดร.อาบ นคะจัด] ตัวหนังสือที่เขียนอธิบายเป็นลายมือของพระพิจารณ์พาณิชย์
216116_2.jpg
216116_2.jpg (50.21 KiB) เปิดดู 3717 ครั้ง


เรื่องราวตำนานรักที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตามหานี้ เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่๒ ซึ่งขณะนั้นกองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งฐานทัพที่ จ.นครนายก ประเทศไทย
216057.jpg
216057.jpg (10.66 KiB) เปิดดู 3717 ครั้ง

ชาวบ้านในละแวกนั้นต่างพากันมาขายของทั้งของกินของใช้ให้กับเหล่าทหารญี่ปุ่น และหนึ่งในนั้นก็มีหญิงสาวอายุราว ๆ ๑๘ ปี นามว่า “พันนา แสงอร่าม” เธอเป็นสาวน้อยหน้าตาน่ารักที่ทำขนมพื้นบ้านของไทยต่าง ๆ เช่น ขนมไข่หงส์ ซาลาเปาทอด กล้วยทอด มาขายให้กับนายทหารญี่ปุ่นด้วย

พันนาขายได้เรื่อย ๆ แต่มิได้ขายดีเท่าไรนัก แต่เธอก็ยังอดทนขายขนมต่อไปแถว ๆ ฐานทัพญี่ปุ่นอยู่สักพักหนึ่ง ก็ได้รู้จักกับนายแพทย์ทหารญี่ปุ่น ชื่อว่า “ซาโต้”

ทั้งคู่สนิทสนมกันจนกลายเป็นความรัก แต่ก็เป็นความรักที่ต้องรักษาระยะห่างกันไว้ตลอด เพราะอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ การจะคบหากับทหารญี่ปุ่นไม่เป็นเรื่องที่น่ายินดีนักสำหรับคนไทย และสำหรับชาวญี่ปุ่นเองเรื่องหน้าที่ในการทำงานต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั้งคู่คบหากันอย่างเงียบ ๆ

ช่วงเวลาแห่งความรักของทั้งสองคนดูจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว เพราะอยู่ ๆ ก็มีคำสั่งให้ซาโต้ย้ายไปปฏิบัติงานราชการที่อื่น แต่ก่อนที่ทั้งคู่จะแยกจากกัน ซาโต้ได้สอนพันนาทำขนมโมจิ เพื่อให้ขนมชนิดนี้เปรียบเสมือนความรักอันแสนพิเศษที่เขาจะมอบให้แก่เธอ

(ขนมโมจิ หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า วากาชิ (Wagashi) เป็นขนมที่ชาวญี่ปุ่นจะทำขึ้นในงานมงคล อาทิ งานแต่งงาน หรือพิธีชงชา และเป็นขนมที่ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบอย่างมาก)

ขณะซาโต้สอนพันนาทำขนมโมจิอยู่นั้น เขาก็ได้บอกกับเธอว่า “ขนมหวานนี้ จะเป็นตัวแทนของประเทศญี่ปุ่นและเป็นตัวแทนความรู้สึกของผม หากแม้วันใดที่ผมไม่อยู่ และพันนายังระลึกถึงผม ได้โปรด...ทำขนมหวานนี้ หากผมยังไม่ตาย ผมจะกลับมาหาคุณ”

ขนมโมจิที่ซาโต้สอนพันนานั้น มิใช่ขนมโมจิแบบของฝากนครสวรรค์ หรือสระบุรีที่มีจุด ๆ อยู่ตรงกลางนะคะ แต่เป็นโมจิแบบญี่ปุ่น ที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว มีไส้ถั่วแดงกวนอยู่ด้านใน และใช้วิธีการต้มสุก จากนั้นคลุกด้วยแป้งเพื่อป้องกันไม่ให้ขนมติดกัน มีรสชาติหวานนิดหน่อย

และเมื่อซาโต้สอนพันนาทำขนมโมจิจนเสร็จดีแล้ว เขาก็หยิบขนมขึ้นมาใส่ปาก เพื่อลิ้มรสชาติ เขาหลับตาแล้วค่อย ๆ กัดอย่างช้า ๆ จากนั้นก็หันไปบอกกับสาวพันนาด้วยหน้าเปื้อนยิ้มว่า

"คุณรู้มั้ย...คุณเป็นผู้หญิงที่ทำขนมโมจิได้อร่อยที่สุดในโลก คุณจำไว้นะหากวันใดที่คุณคิดถึงผม ขอให้คุณทำขนมโมจิ ถ้าวันนั้น ‘ซาโต้’ คนนี้ยังมีชีวิตอยู่ ผมจะกลับมาหาคุณอีกครั้ง "

ก่อนซาโต้จะจากพันนาไป เขาได้แนะนำพันนาให้ทำขนมโมจินี้มาขายแก่ทหารชาวญี่ปุ่นด้วย เพราะยังมีทหารชาวญี่ปุ่นหลายคนที่คิดถึงบ้าน หากได้กินขนมโมจินี้คงจะทำให้เหล่าทหารคลายความคิดถึงลงไปบ้าง และซาโต้ยังบอกอีกว่าเธอจะต้องขายดีแน่นอน

และแล้วก็ถึงเวลาที่ทั้งคู่ต้องร่ำลากันเป็นครั้งสุดท้าย แล้วมันก็เป็นครั้งสุดท้ายของทั้งคู่จริง ๆ ซาโต้ไม่เคยกลับมาอีกเลย…

ภายหลังการจากไปของซาโต้ ไม่มีวันไหนที่พันนาจะไม่คิดถึงเขา แต่เธอต้องเข้มแข็ง และแต่ละวันเธอยังคงทำอาชีพหาบขนมไปขายแก่เหล่าทหารญี่ปุ่นอยู่เช่นเดิม แต่ที่ต่างไปจากเดิมคือ เธอทำขนมโมจิไปขายด้วย แน่นอนเธอขายดีอย่างที่ซาโต้เคยบอกไว้จริง ๆ

วันเวลาผ่านไปจนถึงวันที่สงครามโลกครั้ง ๒ จบลง เหล่าทหารญี่ปุ่นต่างกลับไปประเทศของตนกันหมดแล้ว แต่พันนายังคงรอคอยการกลับมาของซาโต้ วันแล้ววันเล่า อย่างไร้วี่แวว… จนอยู่มาวันหนึ่ง มีกลุ่มทหารไทยเข้ามาแจ้งกับเธอให้ยุติการขายขนมโมจิ เพราะถือว่าขนมโมจิคือของต้องห้าม ห้ามทำ ห้ามขาย!

คำสั่งนี้ถือเป็นสิ่งทำร้ายจิตใจเธออย่างที่สุด และถึงแม้เธอจะไม่ได้ขายมันอีกต่อไปแล้ว แต่เมื่อใดที่เธอคิดถึงซาโต้ เธอก็จะแอบทำขนมโมจินี้พร้อมกับสวดมนต์ภาวนาขอให้ซาโต้กลับมาชิมขนมของเธออีกครั้ง แต่ก็อย่างที่บอกไป...ซาโต้ไม่เคยกลับมาอีกเลย

ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงได้ทราบประวัติความเป็นมาตำนานรักขนมโมจินี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารคนสนิทไปสืบหาขนมโมจิต้นตำรับสูตรนางพันนามาให้เสวย บรรดาข้าราชบริพารต่างก็ไปหาขนมโมจิต่าง ๆ มาถวาย แต่พระองค์ก็ไม่ถูกพระทัย พร้อมตรัสว่า

“นี่ยังไม่ใช่ขนมโมจิสูตรที่ตามหาอยู่”

ต่อมาอดีตผู้ว่าฯ จังหวัดนครนายก ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครนายก ไปประชาสัมพันธ์และสืบหาขนมโมจิต้นตำรับสาวพันนา กระทั่งได้ทราบจาก “นายมานพ ศรีอร่าม” ข้าราชการพัฒนาชุมชนว่า ผู้ทำขนมโมจิดังกล่าวคือมารดาของตนเอง

นางพันนาขณะนั้นอายุมากแล้ว แต่ยังความจำดี และสามารถทำขนมโมจิถวายได้อยู่

การทำขนมโมจิครั้งนี้ นางพันนารู้สึกปลื้มปิติเป็นล้นพ้น สมกับการรอคอยที่จะได้ทำขนมโมจิเพื่อระลึกถึงนายแพทย์ทหารซาโต้อีกครั้ง ที่แม้เวลาจะผ่านไปนานเท่าใด นางพันนาก็ไม่เคยลืมเลือน…

และหากเปรียบชีวิตคุณยายพันนาเป็นต้นไม้ ต้นไม้ต้นนี้คงจะขาดน้ำจนใบทยอยร่วงหล่นลงไปตามกาลเวลา และรอวันล้มลง “กรมสมเด็จพระเทพฯ” เปรียบเสมือนน้ำชโลมใจ ที่ทำให้ต้นไม้ที่กำลังล้มกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

ปัจจุบัน คุณยายพันนาได้จากโลกนี้ไปแล้ว และในงานฌาปนกิจของนางพันนาก็ได้รับพระราชทานเพลิงศพจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกด้วย

ส่วนขนมโมจิของยายพันนานั้นก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้จะมิได้เป็นสูตรต้นตำรับที่แท้จริง แต่ก็มีความคล้ายคลึงและอร่อยไม่แพ้กันเลย

นี่แหละ “ตำนานรักขนมโมจิ” อันน่าประทับใจ ของสาวน้อยพันนากับนายแพทย์ทหารซาโต้ ที่ “กรมสมเด็จพระเทพฯ” ถึงกับต้องทรงตามหา

ที่มา : http://www.blockdit.com Youtube FNDiary Cr.น้ำเงินเข้ม
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน