จากอดีตสู่ความทรงจำ..ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองไทย

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 26 มี.ค. 2018 10:29 am

พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)

page-23.jpg
page-23.jpg (191.24 KiB) เปิดดู 7871 ครั้ง


พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ บิดาคือพระยาศรีเนาวรัตน์ (อากามะหะหมัด) มารดาชื่อท่านชี เป็นน้องชายของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) มีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เริ่มรับราชการโดยถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนได้เป็นหลวงศรียศ (แก้ว) ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงสมัยสมเด็จพระเพทราชา ไม่ทราบว่าเสียชีวิตเมื่อใด

ช่วงที่ท่านเป็นจุฬาราชมนตรีอยู่นั้น เป็นช่วงที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เรืองอำนาจและมีความขัดแย้งระหว่างชาวคริสต์และมุสลิมในราชอาณาจักรมาก และคาดว่าท่านเป็นจุฬาราชมนตรีคนที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เอ่ยถึงว่าลงไปเจรจาที่เมืองปัตตาเวีย เกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในมะละกาในจดหมายที่เขาส่งถึงบาทหลวงเดอลาแซ

พระยาจุฬาราชมนตรี ยังเป็นน้องชายของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) มีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) ซึ่งเฉกอะหมัด ได้เข้ามาตั้งรกรากที่กรุงศรีอยุธยา ค้าขายจนกลายเป็นเศรษฐีใหญ่ ช่วยปรับปรุงราชการกรมการท่าจนได้ผลดี สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าขวา และ เป็นปฐมจุฬาราชมนตรีคนแรกในสยาม นับเป็นผู้ที่นำพาศาสนาอิสลามนิกายชีอะหฺอิษนาอะชะรียะหฺ มาสู่ไทย และท่านยังเป็นต้นตระกูลบุนนาค ในเมืองไทยอีกด้วย

ในปัจจุบันคนที่ใช้นามสกุลบุนนาคส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ทั้งที่ต้นตระกูลเป็นมุสลิม (ชีอะห์) ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยามีความตอนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "ณ เดือนแปดแรมสิบค่ำ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรหนัก จนสะอึกสามชั้น ต่อกลางคืนตีสิบเอ็ดจึงคลาย ครั้นเดือนสิบสองขึ้น เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปสมโพธน์พระพุทธบาท เป็นกระบวนรับเสด็จพัก ณ พระตำหนักท่าเจ้าสนุก แล้วทรงพระวอขึ้นไปประทับร้อนบ่อโศก เพลาเย็นเสด็จไปถึงท้ายพิกุล ครั้นสมโพธน์พระพุทธบาทครบเจ็ดวันแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับยังกรุงเทพพระนครศรีอยุธยา"

ในการเสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธบาทครั้งนั้น ข้าทูลละอองธุลีพระบาททุกคนคงยินดีที่พระเจ้าอยู่หัวหายประชวร ต่างคนก็ต่างอยากตามเสด็จ แต่พระยาเพ็ชร์พิไชย (ใจ) ไม่มีชื่ออยู่ในจำนวนที่โปรดให้ตามเสด็จในกระบวน พระยาเพ็ชร์พิไชยจึงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานตามเสด็จด้วย พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่าพระยาเพ็ชร์พิไชยเป็นแขก ไม่ควรไปนมัสการพระพุทธบาท แต่ถ้าทิ้งเพศแขกมาเข้ารีดไทย จึงจะให้ตามเสด็จ พระยาเพ็ชร์พิไชยกราบบังคมทูลว่า เต็มใจที่จะเป็นไทยตามพระบรมราชประสงค์ จึงทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระยาเพ็ชร์พิไชยตามเสด็จไปด้วย ครั้นเสด็จถึงพระพุทธบาทแล้ว พระยาเพ็ชร์พิไชยได้รับศีล ปฏิญาณ เป็นพุทธศาสนิกชนต่อสมเด็จพระสังฆราช หน้าที่นั่งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นี่เป็นต้นเหตุให้วงศ์เฉกอะหมัดละศาสนาเดิมมาถือพุทธศาสนา และเมื่อเสด็จกลับพระนครแล้ว พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์พระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ขึ้นเป็นเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย และให้ว่าราชการที่สมุหนายกด้วย

ลูกหลานของท่านเฉกอะหมัดนับถือศาสนาอิสลามมาจนถึง พระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ถือเป็นตระกูลเฉกอะหมัดชั้นที่ ๔ ท่านเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และท่านให้ลูกชายท่าน ๒ คน คือ เสน กับ หนู เปลี่ยนมาเป็นพุทธ ส่วนคนโตคือ เชน ให้นับถืออิสลามต่อไป

ซึ่ง "เชน" บุตรพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ต่อมาภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี คนที่ ๔ แห่งอยุธยา และบุตรของท่านชื่อ "ก้อนแก้ว" ต่อมาภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี คนแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๑

ผู้สืบเชื้อสายท่านเฉกอะหมัดในชั้นที่ ๖ นั้นมีท่านหนึ่งที่ถือเป็นต้นสกุลบุนนาค คือ "นายบุนนาค" เป็นบุตรเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) เมื่อตอนเด็ก ๆ นั้นนายบุนนาคเคยเป็นเพื่อนสนิทกับ นายสินบุตรจีนแต้ไหฮอง (ซึ่งต่อมาได้ขึ้นขึ้นครองราชเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี) ส่วนเพื่อนอีกคนคือนายทองด้วง บุตรหลวงพินิจอักษร (ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)

เมื่อเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งผู้ที่เคยทำความดีความชอบให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ นายบุนนาค หลานพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ก็ได้ขึ้นเป็นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม และ นายก้อนแก้ว หลานพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี คนแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๑

เจ้าพระยาอรรคมหาเสนาบดี (บุนนาค) ถึงแก่อสัญกรรมในปลายแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ รวมอายุ ๖๗ ปี ถือว่าท่านเป็นต้นสกุลนับชั้นที่ ๑ ของสายสกุลบุนนาค และนับเป็นชั้นที่ ๖ ที่สืบเชื้อสายจากเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)

วงศ์เฉกอะหมัดอันรวมเป็นวงศ์เดียวกันมา ๕ ชั่วคนนั้น ตั้งแต่ชั้นที่ ๖ นี้ไปแยกออกไป ๕ สาย และเมื่อครั้งตั้งนามสกุลคนไทยในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ สายหนึ่ง ๆ ยังแยกออกเป็นหลายสกุล

จะเห็นได้ว่าสายตระกูลเฉกอะหมัด จะแตกออกเป็น ๒ สายในชั้นที่ ๔ ของวงศ์ตระกูล แตกออกเป็นที่นับถือศาสนาพุทธ และที่นับถือศาสนาอิสลาม

สายที่นับถือศาสนาพุทธ คือ ท่านเสนกับท่านหนู บุตรพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) มีสกุลภายหลัง เช่น บุนนาค จาติกรัตน์ บุรานนท์ ศุภมิตร ภานุวงศ์ วิชยาภัย ศรีเพ็ญ ฯลฯ ซึ่งสายนี้มีลูกหลานที่สืบสกุลเข้ารับราชการต่อเนื่องกันมาตลอดจนได้ครองตำแหน่งเสนาบดีที่ทรงอำนาจในหลายรัชกาล และเป็นที่ยินดีเมื่อสกุลนี้มีผู้สืบสกุลที่รับราชการทำความดีความชอบจนได้รับพระราชทานตำแหน่งสูงสุดคือ "สมเด็จเจ้าพระยา" มากถึง ๓ ท่าน ซึ่งถ้าเทียบกับปัจจุบันก็คือตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี"

สายที่นับถือศาสนาอิสลาม คือ ท่าน เชน บุตรพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) มีสกุลภายหลัง เช่น อหะหมัดจุฬา จุฬารัตน อากาหยี่ ชิตานุวัตร์ ช่วงรัศมี บุญยรัตกลิน ฯลฯ ซึ่งสายนี้มีลูกหลานที่สืบสกุลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรีตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลที่ ๒๑ จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ในต้นรัชกาลที่ ๙ รวมทั้งสิ้น ๑๓ ท่าน

สายสกุลนี้ ถือเป็นสกุลหนึ่งที่เก่าแก่และทรงอิทธิพลมากที่สุดในอดีต เนื่องเพราะบรรพชนในสกุลนี้ตั้งแต่ปฐมวงศ์เป็นต้นมาเข้ารับราชการสนองคุณแผ่นดินโดยแต่ละท่านล้วนได้ครองตำแหน่งเสนาบดีอันถือว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดในราชการแทบทุกคน นับเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ผ่านเลยมา ๔๑๖ ปีแล้ว ถือเป็นสกุลหนึ่งที่มีเครือญาติมากที่สุดและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ที่มา : โบราณนานมา , news.muslimthaipost.com , สำละ วรนิวัฒน์. การเผยแพร่อิสลามในสยาม ใน มุสลิมมัสยิดต้นสนกับบรรพชน ๓ ยุคสมัย
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อังคาร 08 พ.ค. 2018 7:15 pm

'กรมขุนวิมลภักดี' ในละคร หรือ กรมขุนวิมลพัตร พระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ

Dbt9x5uVAAAAsqf_resize.jpg
Dbt9x5uVAAAAsqf_resize.jpg (79.22 KiB) เปิดดู 7808 ครั้ง


กรมขุนวิมลพัตร หรือ กรมขุนวิมลวัต เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และเป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์ถูกกวาดต้อนไปประทับ ณ พระราชวังหลวงอังวะจนกระทั่งสวรรคต

กรมขุนวิมลพัตรมีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าแมงเม่า บางแห่งออกพระนามว่า เม้า หรือเมาฬี "บัญชีพระนามเจ้านาย" ในคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่าพระองค์เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศรี มีพระเชษฐาและพระภคินีร่วมพระชนกชนนีคือ พระองค์เจ้าหญิงผอบ, พระองค์เจ้าชายสถิต, พระองค์เจ้าชายพงศ์ และพระองค์เจ้าชายแตง

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า หลังสงครามพระเจ้าอลองพญาในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ สมเด็จพระอนุชาธิราชให้สึกพระองค์เจ้าแมงเม่าจากชี นำมาถวายเป็นบาทบริจาริกาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมาจึงทรงยกเจ้าแมงเม่าเป็นพระอัครมเหสี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็นกรมขุนวิมลพัตร และทรงให้มเหสีอื่น ๆ มียศถาบรรดาศักดิ์เสมอกัน ส่วนบันทึกของบาทหลวงปีแยร์ บรีโก (Pierre Brigot) บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ระบุว่า "...ตั้งแต่สมัยก่อน ๆ มา พระราชโองการของพระเจ้าแผ่นดินเท่ากับเป็นกฎหมายในเมืองนี้ ครั้งมาในบัดนี้ เจ้านายผู้หญิงทุกองค์ก็มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดินและข้าราชการก็ต้องเปลี่ยนกันอยู่เสมอ..."

กรมขุนวิมลพัตรมีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือเจ้าฟ้าหญิงสิริจันทรเทวี บางแห่งออกพระนามเป็นศรีจันทเทวี (คำให้การขุนหลวงหาวัด) หรือเจ้าฟ้าน้อย (คำให้การชาวกรุงเก่า) หลังประสูติกาลมีการประโคมดนตรีสามครั้งตามโบราณราชประเพณี

พระราชอำนาจ
พระนางมีบทบาททางการเมืองระดับหนึ่ง ดังที่ปีแยร์ บรีโก บาทหลวงฝรั่งเศสได้เขียนจดหมายเหตุบันทึกไว้ว่า "... บ้านเมืองแปรปรวน เพราะฝ่ายใน [พระราชชายา] ได้มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดินผู้มีความผิดฐานกบฏ ฆ่าคนตายเอาไฟเผาบ้านเรือนจะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ความโลภของฝ่ายในให้เปลี่ยนเป็นริบทรัพย์สิน ริบได้ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายใน ก็แสวงหาผลประโยชน์กับผู้ต้องหาคดีให้ได้มากที่สุดที่จะหาได้ จะได้แบ่งเอาบ้าง ความเดือดร้อนลำเค็ญก็ยิ่งทับถมราษฎรมากขึ้น..." และบาทหลวงคนนี้ยังสรุปว่าการที่ฝ่ายในมีอำนาจนี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้อาณาจักรอ่อนแอ และเป็นแบบอย่างให้เหล่าข้าราชการทำตาม

หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์, กรมขุนวิมลพัตร และเจ้านายพระองค์อื่น ๆ ต่างพากันหลบหนีพม่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์เสด็จสวรรคต พม่าตามจับกรมขุนวิมลพัตรพระมเหสี พระราชบุตร และพระบรมวงศานุวงศ์อื่น ๆ กวาดต้อนไปยังกรุงอังวะ โดยพระเจ้ามังระโปรดให้พระองค์รวมทั้งเจ้านายฝ่ายในพระองค์อื่นประทับอยู่ภายในพระราชวังหลวงอังวะ พระองค์ประทับอยู่ที่นั่นจนกระทั่งเสด็จสวรรคต



ที่มา : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์. พระราชพงศาวดารพม่า. นนทบุรี : ศรีปัญญา,๒๕๕๐. ,ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม ๓ เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, ๒๕๕๓.
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 12 พ.ค. 2018 9:57 pm

วัดกระซ้าย วัดเก่าที่มีความเชื่อว่าเป็นวัดที่ผีดุ อันดับ ๘ ของเอเชีย เรื่องราวของวัดกระซ้าย https://www.youtube.com/watch?v=kaUTCXpOyok

486203.jpg
486203.jpg (87.65 KiB) เปิดดู 7654 ครั้ง


วัดกระซ้าย หรือวัดกระชาย หรือวัดเจ้าชาย เป็นวัดที่พระเอกาทศรถ ได้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำพระองค์ พระเอกาทศรถ คือพระอนุชาผู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระนเรศวรมหาราช ชาวตะวันตกเรียกขานพระองค์ว่า พระองค์ขาว ตามสีพระวรกาย พระองค์เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ. ๒๑๐๓ เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชกับพระวิสุทธิกษัตรีย์ เป็นพระอนุชาของพระสุพรรณกัลยาและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระเอกาทศรถได้ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรมหาราชออกรบอยู่เสมอจนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา จึงทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๔๘ โดยไม่มีพระราชโอรส บรรดาเสนาอำมาตย์จึงอัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์แต่พระองค์เดียว ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ สมเด็จบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักรพรรดิสร บวรราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาษภาษกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนศวรวรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศัย สมุทยตโรมนต์ สากฬจักรพาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดีวิบุลย์ คุณรุจิตฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธ์ มกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร บรมบพิตร

กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระองค์ไม่มีข้าศึกเข้าประชิดพระนคร แต่มีต่างชาติเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารมากยิ่งกว่าแต่ก่อน เช่น พระเจ้าเชียงใหม่นรธาเมงสอ พญาตองอู พญาล้านช้าง นอกจากนี้ยังมีพระราชสาส์นติดต่อกับอุปราชโปรตุเกสประจำเมืองกัวด้วย

สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๕๓ อยู่ในราชสมบัติได้ ๕ ปี สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ซึ่งเป็นพระราชโอรสจึงได้สืบเสวยราชสมบัติต่อ

“วัดกระซ้าย” สันนิษฐานว่า ช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ แถบวัดกระซ้าย วัดเต่า วัดสุเรนทร์ เป็นที่ตั้งทัพของพม่า จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุประเภทอาวุธ เช่น มีด หอก ดาบ ทวน ลูกกระสุนปืนใหญ่ เป็นหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนข้อมูล ทางประวัติศาสตร์ว่าวัดกระซาย ใช้เป็นที่ตั้งทัพสงคราม คราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒

นอกจากโบราณวัตถุประเภทอาวุธแล้ว ยังพบโบราณวัตถุที่เป็นส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม เช่น กระเบื้องมุงหลังคาแบบกาบกล้วย กระเบื้องเชิงชายเป็นลายเส้นโค้งประกอบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม พระพิมพ์ดินเผาแบบพระแผง และโบราณวัตถุที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และคาดว่าวัดกระซายถูกทิ้งร้างนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

จากการขุดแต่งโบราณสถานวัดเจ้าชาย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๔ พบหลักฐานหลายอย่างเป็นข้อมูลว่า วัดแห่งนี้แบ่งพื้นที่ออกเป็น “เขตพุทธาวาส” กับ “เขตสังฆาวาส”

เขตพุทธาวาส เป็นที่ตั้งของโบราณสถานต่างๆ ตามแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก โดยมีเจดีย์ทรงระฆังกลม ตั้งบนฐานปัทม์แปดเหลี่ยมเป็นประธาน ด้านหน้าเจดีย์ประธานทางทิศตะวันออก เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถ เพราะจากการขุดแต่งพบฐานเสมาและใบเสมา รอบเจดีย์ประธานพบฐานเจดีย์ราย ๔ องค์ล้อมรอบด้วยกำแพงวัด

โบราณสถานต่างๆส่วนใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าประธานทางทิศตะวันออก นอกจากเขตพุทธาวาสแล้ว เนินดินทางทิศใต้ขององค์เจดีย์ประธาน พบเศษภาชนะดินเผาประเภท หม้อทะนน เตาเชิงกราน ไหจากเตาแม่น้ำน้อย และแหล่งเตาบ้านบางปูน ส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน รวมทั้งเศษกระเบื้องมุงหลังคา แต่ไม่พบรูปเคารพทางศาสนา สันนิษฐานว่า เนินดินบริเวณนี้เป็นเขตสังฆาวาส นอกจากนี้ยังพบว่าวัดกระซาย มีการปรับพื้นที่ในเขตพุทธาวาส หลายครั้งด้วยกัน

ในสมัยแรกมีการปรับพื้นที่โดยนำดินเหนียวท้องนา มาถมปรับพื้นที่ให้สูงขึ้นจากเดิม เพื่อให้พ้นจากน้ำท่วม จากหลักฐานที่ขุดค้นพบว่าในสมัยแรกยังไม่มีการสร้างเจดีย์ประธาน และตั้งอยู่ห่างไกลจากชุมชน โดยเป็นพื้นที่โล่งอยู่นอกเมือง โบราณวัตถุที่พบในดินช่วงนี้มีน้อยมาก

สมัยที่สอง มีเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมเป็นประธาน มีวิหารอยู่ทางด้านหน้าเจดีย์ประธาน โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นคตินิยมของการสร้างวัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ในสมัยนั้นเจดีย์ประธาน มีทั้งที่เป็นเจดีย์ทรงกลม เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม หรือปรางค์ เช่นวัดส้มใช้ปรางค์เป็นประธาน วัดพลับพลาชัยใช้เจดีย์ทรงกลมเป็นประธาน

ส่วนการใช้เจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมเป็นประธานแบบวัดกระซาย ได้แก่ วัดหัสดาวาส วัดตะไกร วัดจงกลม เป็นต้น ซึ่งวัดทั้งสามนี้ ขุดค้นขุดแต่งระบุได้ว่า สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ต่อมาในสมัยที่สามมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นและก่อสร้างสิ่งใหม่เพิ่มเติมคือ วิหารที่อยู่ด้านหน้าของเจดีย์ประธานถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นอุโบสถ มีการสร้างเจดีย์รายและกำแพงแก้วรอบอุโบสถขึ้น

การเปลี่ยนวิหารให้กลายเป็นอุโบสถ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญกับอุโบสถ ซึ่งลักษณะเช่นนี้ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นไป เช่น วัดวังชัย สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ต่อมาเมื่อถึงพุทธศตวรรษที่๒๓ ความสำคัญของอุโบสถยิ่งมีมากขึ้น วัดที่สร้างขึ้นในช่วงนี้จะสร้างอุโบสถเป็นประธานของวัด เช่น วัดบรมพุทธาราม ที่สร้างสมัยสมเด็จพระเพทราชา และหากเป็นวัดที่ปฏิสังขรณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว ก็มักแปลงจากวิหารที่เคยตั้งอยู่หน้าเจดีย์ประธานให้กลายเป็นอุโบสถ เช่น วัดมเหยงคณ์ ที่ปฏิสังขรณ์ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ พ.ศ. ๒๒๕๔

วัดกระซ้าย ในช่วงนี้ได้มีการก่อพอก เฉพาะส่วนฐานของเจดีย์ประธาน แปลงจากแปดเหลี่ยมเป็นสี่เหลี่ยมเพื่อค้ำองค์เจดีย์ไม่ให้ทรุดไปมากกว่าที่เป็นอยู่ ก่อกำแพงรอบโบราณสถานตั้งแต่อุโบสถ เจดีย์รายทั้งสี่องค์ รวมทั้งเจดีย์ประธานและได้ขยายพื้นที่โบราณสถานไปทางทิศตะวันตก

อนึ่งวัดกระซ้าย แห่งนี้มีชาวบ้านแถบวัดกลางทุ่งปากกราน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด เคยเข้ามาขุดกรุที่องค์เจดีย์ ได้โบราณวัตถุเป็นพระพิมพ์ดินเผา ลักษณะของพระพิมพ์เป็นดินแผ่นรูปห้าเหลี่ยมด้านไม่เท่ากัน พิมพ์เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิบรรจุอยู่ ๓ แถว แถวละ ๓ องค์ และอยู่บนสุดอีก ๑ องค์ พระพิมพ์ที่ขุดได้มี ๒ ขนาด คือ ขนาด ๑๗ x ๑๐ x ๑.๕ เซนติเมตร กับขนาด ๑๑ x ๖.๕ x ๑.๕ เซนติเมตร

พระพิมพ์วัดกระซ้ายนี้ ชาวบ้านแถบนั้นมีความเคารพนับถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก และมักจะเรียกพระพิมพ์ลักษณะนี้ว่า “พระเจ้าสิบชาติ” ซึ่งหมายถึงชาติทั้งสิบของพระพุทธเจ้านั่นเอง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 16 มิ.ย. 2019 12:49 pm

เรื่องเล่าจากโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู : หนึ่งในความทรงจำของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

001-563x353.jpg
001-563x353.jpg (82.96 KiB) เปิดดู 6691 ครั้ง


โรงเรียนฝึกหัดครูกรุงเก่าตั้งอยู่หลังพระราชวังจันทรเกษม จากนั้นย้ายไปที่ตำหนักเพนียดระยะหนึ่ง ก่อนจะย้ายมาตั้งอยู่ ณ กรมทหารเก่าในย่านหัวแหลม แล้วจึงแยกย่อยออกไปสร้างใหม่ ๒ โรงเรียน คือ โรงเรียนฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา หรือ ฝค.อย. ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชาย มีที่ตั้งอยู่ข้างวัดวรโพธิ์ ทางตอนเหนือของตัวเมือง จึงมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “บ้านเหนือ” และ โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา หรือ สฝ.อย. ตั้งอยู่ริมคลองมะขามเรียง ด้านใต้ของตัวเมือง เรียกกันว่า “บ้านใต้” ก่อนที่โรงเรียนฝึกหัดครูชาย จะย้ายมาตั้งอยู่ ณ พื้นที่ปัจจุบันคือ ปลายถนนปรีดี พนมยงค์ (เดิมชื่อถนนโรจนะ) แล้วยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครู ช่วงเวลานี้เองที่ได้ยุบรวมโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูไว้ด้วยกัน ก่อนวิวัฒนาการมาเป็น สถาบันราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ตามลำดับ

เค้าโครงความเป็นมาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จึงมีโรงเรียนฝึกหัดครู พระนคร-
ศรีอยุธยา (ฝึกหัดครูชาย) เป็นแกนเรื่องหลัก ในขณะที่เนื้อเรื่องของโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู เป็นโรงเรียนที่ถูกย้ายเข้ามาผนวกเป็นสถานศึกษาเดียวกัน สิ่งหนึ่งสะท้อนได้จากการใช้ “สีเหลือง-แดง” อันเป็นสีประจำโรงเรียนฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา (ฝึกหัดครูชาย) มาใช้เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ขณะที่ “สีเขียว-ขาว” ประจำโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู กลับเหลือไว้เพียงความทรงจำ

อีกทั้งร่องรอยในอดีตของโรงเรียนฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา (ฝึกหัดครูชาย) ก็ยังปรากฏเป็นอนุสรณ์อย่างโดดเด่นและชัดเจน โดยได้รับการดูแลรักษา และใช้งานให้เกิดคุณค่าเป็นอย่างดีจากโรงเรียนประตูชัย ซึ่งเป็นสถานศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษา ที่ครอบครองดินแดนและอาคารเรียนที่เคยเป็นของโรงเรียนฝึกหัดครูเดิม ตรงข้ามกับโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู ที่ในปัจจุบันถูกปรับใช้เป็นหอพักนักศึกษาหญิงของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ทำให้จำต้องซ่อนตัวอยู่ในรั้วกำแพงทึบ เป็นพื้นที่หวงห้าม ตามระบบความปลอดภัยของหอพักนักศึกษา นอกจากนี้อาคารเรียนหลังเดียวของโรงเรียน ก็ไม่หลงเหลือร่องรอยใด ๆ เป็นอนุสรณ์แล้ว ส่วนเรือนนอน ๓ หลัง ที่ยังเหลืออยู่ก็มีสภาพทรุดโทรม และมีแนวโน้มที่จะถูกรื้อเพื่อสร้างอาคารหอพักใหม่แทนที่ในเวลานี้

ด้วยปัจจัยต่างๆ ข้างต้นนี้ เป็นเหตุผลที่ชาวราชภัฏรับรู้ถึงการมีอยู่ของโรงเรียนฝึกหัดครู พระนคร-
ศรีอยุธยา (ชาย) ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาได้ดีกว่าโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา



คำถามที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ เบื้องหลังของกลุ่มเรือนนอนของโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูที่หลงเหลืออยู่เหล่านั้น มีเรื่องราวใดๆ เกิดขึ้นบ้าง โดยเมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับศิษย์เก่าแห่งโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูหลายท่าน ประกอบด้วย อาจารย์เฉลียว มีแสงเพชร อดีตครูใหญ่โรงเรียนวัดพระญาติการาม ศิษย์เก่า รุ่นปี ๒๔๙๑ อาจารย์อัมรา หันตรา อดีตครูประจำโรงเรียนวัดหันตรา ศิษย์เก่ารุ่นปี ๒๕๐๓ และอาจารย์อวยพร สัมมาพะธะ อดีตอาจารย์โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่า ปกศ.รุ่นที่ ๘ ก็ทำให้ทราบว่า หลังกำแพงหอพักนักศึกษาหญิงของมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้น มีเรื่องเล่าจากความทรงจำต่างๆ ที่น่าจดจำซ่อนไว้มากมาย

โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา
โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา มีสัญลักษณ์เป็นรูปพระสรัสวดี ประทับเหนือนกยูง มีสี เขียว-ขาว อันเป็นสีของหางนกยูง เป็นสีประจำโรงเรียน มีพื้นที่ตั้งอยู่ริมถนนอู่ทอง เลียบคลองมะขามเรียง (คลองในไก่) พื้นที่ด้านหลัง (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นด้านหน้า) จรดถนนปรีดี พนมยงค์ เริ่มเปิดทำการศึกษา ณ สถานที่ตั้งนี้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ ก่อนที่จะย้ายไปรวมกับวิทยาลัยครู ใน พ.ศ.๒๕๐๙ รวมระยะเวลาที่สถานที่นี้ทำหน้าที่เป็นสถานบ่มเพาะครูสตรีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และท้องถิ่นใกล้เคียง นานถึง ๒๖ ปี

ในช่วงแรกโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู เปิดสอน ๓ ระดับ คือ หลักสูตรครูประชาบาล (ป.บ.) หลักสูตร “ครูประกาศนียบัตรจังหวัด” (ว.) และ วุฒิ ครูมูล (ป.) ต่อมารัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา โรงเรียนจึงได้เปิดสอน ปกศ. ต้น ๒ ปี ๆ ละ ๒ ห้องเรียน ๆ ละ ๔๐ คน นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาออกมา บ้างไปเป็นครูตามท้องถิ่นต่าง ๆ บ้างไปศึกษาต่อในระดับ ปกศ.สูง ที่โรงเรียนเทพสตรี จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นการศึกษาวิชาชีพครูในระดับที่สูงขึ้น

โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา เป็นโรงเรียนประจำ หรือที่เรียกกันว่า “โรงเรียนกินนอน” คือนักเรียนที่เข้ารับการศึกษา ไม่ว่าจะมีที่พำนักอยู่ไกล หรือใกล้ชิดติดขอบรั้วโรงเรียนเพียงใด ก็ต้องเข้ามากิน-อยู่ ในโรงเรียนตลอดการศึกษา สามารถกลับบ้านได้ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เท่านั้น ดังนั้น นอกจากโรงเรียนจะมีอาคารเรียนสำหรับทำการศึกษาแล้ว ยังต้องมีเรือนนอนเพื่อเป็นสถานที่พักของนักเรียนทุกคน ประกอบด้วยหอพักต่างๆ ที่มีชื่อตามลำดับดังนี้ หอพักนพมาศ (หอ ๑) หอพักศรีสุริโยทัย (หอ ๒) หอพักทั้ง ๒ หลัง สร้างเรียงต่อกัน และใช้แบบก่อสร้างเดียวกัน คือเป็นเรือนไม้สองชั้น ชั้นบนเป็นเรือนนอน ส่วนชั้นล่างเป็นใต้ถุนโล่ง โดยชั้นล่างของ หอ ๑ ใช้เป็นที่เรียนหนังสือด้วย ส่วนชั้นล่างของ หอ ๒ ใช้เป็นโรงอาหาร ต่อมามีการสร้างหอ ๓ เพิ่มขึ้นภายหลัง ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นหอพักที่ทันสมัยที่สุด เพราะเป็นอาคารคอนกรีต ชั้นบนเป็นเรือนนอนที่ติดมุ้งลวด ส่วนด้านล่างเป็นโถงกว้าง มีเวทีสำหรับใช้เป็นหอประชุมของโรงเรียน

ทั้งโรงเรียนฝึกหัดครู (ชาย) และโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู เปิดสอนด้วยหลักสูตรเหมือนๆ กัน ชีวิตประจำวันจึงคล้ายคลึงกัน เพียงแต่แยกเป็นโรงเรียนชายและโรงเรียนสตรี มีกิจกรรมร่วมกันบ้างเป็นครั้งคราว เช่นงานออกร้านที่พระราชวังจันทรเกษม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งสองโรงเรียนจะมีการจัดพิธีมอบประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษาร่วมกัน โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพคนละปี

อาจารย์อวยพร เล่าถึงบรรยากาศความคึกคักของพิธีมอบประกาศนียบัตร เมื่อคราวที่จัดขึ้นที่ “บ้านเหนือ” ไว้อย่างชุ่มชื่นหัวใจว่า ครั้งนั้น นักเรียนโรงเรียนฝึกหัดครูชายมีการแสดงร้องเพลงรำตัด ท่อนหนึ่งมีใจความที่จำได้ทุกวันนี้ว่า “หัวแหลม หัวรอ แล้วก็ต่อมาถึงสถานี ไปโน้น ไปโน้น มานี่ ลอดสะพานปรีดี เข้าสตรีฝึกหัดครู” ความหมายของเนื้อร้องนี้ ก็คือชื่อสถานที่ ตามรายทางจากโรงเรียนฝึกหัดครูชาย จนถึงโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนั่นเอง


กินข้าวหม้อเดียวกัน
การใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนประจำ ทำให้ช่วงเวลา ๒ ปีแห่งการศึกษา ของนักเรียนในโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู มีความทรงจำที่ละเอียดลออ เทียบไม่ได้กับระยะเวลาเวลา ๒ ปี ในโรงเรียนปกติ เพราะทุกคนอยู่ร่วมกันในโรงเรียนตลอด ๒๔ ชั่วโมง ดังนั้น เมื่อเหล่าศิษย์เก่ามาพบปะกัน จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตประจำวันในรั้วโรงเรียนมาเล่าขานกันได้อย่างไม่รู้จบ

หนึ่งในเรื่องที่อยู่ในความทรงจำของนักเรียนประจำเป็นอย่างดีก็คือเรื่องการกิน จนดูเหมือนประโยคที่ว่า “กินข้าวหม้อเดียวกัน” หรือที่จริงควรกล่าวว่ากินข้าวกระทะเดียวกัน จะเป็นคำที่ถูกเหล่าศิษย์เก่าหยิบขึ้นมาใช้อยู่เสมอๆ จนน่าสงสัยไปถึงความหมายที่ซ่อนอยู่ในประโยคนี้

อาจารย์เฉลียว ได้เล่าถึงเรื่องอาหารการกินในโรงเรียนไว้ว่า “พอถึงเวลารับประทานอาหาร นักเรียนทั้งหมดก็มาเข้าแถว แล้วเดินเข้าไปนั่งที่โต๊ะ ซึ่งมีอาหารวางรอไว้แล้ว อาหารมีกับข้าว ๒ อย่าง ส่วนใหญ่เป็นแกง กับผัดหรือทอด แกงที่ไม่เคยได้รับประทานอีกเลย คือ แกงมะเขือ แกงแบบแกงบอน แต่ใช้มะเขือยาวแทนบอน มื้อเช้าเป็นข้าวต้ม กับข้าวที่มีประจำคือผัดผักกาดเค็มใส่ไข่ ถั่วลิสงคั่ว ปลาทูเค็ม นาน ๆ จะมีข้าวแปลกปลอมเข้ามาเช่นมี ผัดผัก ไข่เจียว ไข่เค็ม ปลาตัวเล็ก บางครั้งก็เป็นข้าวต้มเครื่อง”

ระหว่างการรับประทานอาหารร่วมกันในโรงอาหาร นักเรียนทุกคนต้องรักษาระเบียบวินัยอย่างเข้มงวด อาจารย์อวยพรเล่าว่า ทุกคนต้องทานอาหารโดยไม่ให้ช้อน-ส้อมกระทบกัน หรือพูดคุยเสียงดังเกินควร มิเช่นนั้น จะมีเสียงกระดิ่งจากครูดังขึ้น เป็นอันรับรู้กันว่า ทุกคนต้องหยุดทานอาหารทันที แล้วค่อยเริ่มต้นทานใหม่อีกครั้งอย่างมีวินัย

นักเรียนหลาย ๆ คน ได้มีโอกาสทานอาหารที่ไม่เคยทานที่ไหนมาก่อน จึงย่อมมีเมนูที่ถูกปากบ้าง ไม่ถูกปากบ้าง ต้องจำใจฝืนรับประทานกันไป แต่ก็มีนักเรียนบางส่วนที่ไม่พอใจฝึมือการทำอาหารของแม่ครัว ถึงขั้นล้มโต๊ะเป็นการประท้วงก็เคยมีมาแล้ว อาจารย์อัมรา เล่าว่านักเรียนที่เบื่ออาหารของโรงเรียน และพอมีสตางค์ติดตัวอยู่บ้าง ก็มักแอบสั่ง “ก๋วยเตี๋ยวชักรอก” ขึ้นไปทานบนหอพัก คือเป็นก๋วยเตี๋ยวที่ลักลอบซื้อขายกับแม่ครัว และแอบส่งขึ้นไปทานบนหอพักโดยการชักรอกขึ้นไป ตามแต่กลวิธีและช่องทางที่มี

กรณีที่น่าสนใจ คือการแอบปรุงอาหารกันบนหอพัก โดยใช้วัตถุดิบเท่าที่หาได้ และประยุกต์วัสดุอุปกรณ์ในการทำ ดังเรื่องเล่าของอาจารย์เฉลียวและกลุ่มเพื่อนๆ ที่แอบลักมะละกอดิบในโรงเรียน มาทำส้มตำทานกันบนหอพัก แม้จะไม่มีอุปกรณ์สำคัญอย่างครกและสาก แต่ก็หาได้เป็นอุปสรรค์อย่างใด กลุ่มนักเรียนนำมะละกอดิบห่อใส่ผ้าแล้วทุบจนได้ที่ ใช้น้ำปลา พริก และถั่วลิสงที่เก็บสะสมจากอาหารเช้ามาเป็นเครื่องปรุงรส จนได้เมนูส้มตำสุดโปรด แจกจ่ายรับประทานกันทุกระดับชั้น จนขนานนามส้มตำจานนั้นว่าเป็น “ส้มตำประสานสามัคคี”

เรื่องเล่าต่าง ๆ เกี่ยวกับอาหารการกินของศิษย์เก่าโรงเรียนประจำนั้น ทำให้ตั้งข้อสังเกตว่า ความหมายของคำว่า “กินข้าวหม้อเดียวกัน” นั้น อาจลึกซึ้งเกินกว่าความหมายโดยผิวเผิน เพราะมันมิได้หมายถึงเรื่องกินอย่างเดียว แต่หมายรวมไปถึงประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกันตลอดเวลา จนเกิดความรักใคร่กลมเกลียว ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนรุ่นใหม่ที่กินอยู่แบบ “กินใคร-กินมัน” และ “ต่างคนต่างอยู่” จะเข้าใจในความหมายของคำนี้ได้อย่างรู้แจ้ง

ความประทับใจที่เกิดขึ้นในบ้านหลังที่สอง
เมื่อผู้ปกครองมอบความไว้วางใจ ฝากบุตรหลานเข้าสู่รั้วโรงเรียนประจำแล้ว โรงเรียนก็ทำหน้าที่เสมือนบ้านหลังที่สอง อาจารย์เฉลียว เล่าถึงความประทับใจที่เกิดขึ้นในโรงเรียนว่า ท่านประทับใจในความรักใคร่ สามัคคีกลมเกลียวของเหล่ามิตรสหาย โดยหยิบยกกรณีตัวอย่าง ที่มีผู้มาจ้างวานให้โรงเรียนทำพวงมาลัยสำหรับใช้ในงานพิธีต่างๆ ครูก็ได้ขอให้นักเรียนช่วยกันทำ สิ่งที่น่าประทับใจคือ ทุกคนเต็มใจอาสา ช่วยกันทำงานร่วมกันอย่างไม่เกี่ยงงอน โดยแบ่งหน้าที่กันทำงานจนสำเร็จลุล่วงเสมอ ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว

คล้ายกับความประทับใจของอาจารย์อวยพร ที่มีต่อเพื่อน ๆ และครูอาจารย์ โดยยกเหตุการณ์ที่ตราตรึงอยู่ในใจ ตอนจัดพานพุ่มดอกไม้ไหว้ครูว่า “เราใช้ดินเหนียว และดอกกุหลาบ ทำอย่างสวยงามมาก ตั้งใจให้เพื่อนที่หน้าตาสวยที่สุดในห้องถือพาน พอเช้ามาดอกไม้เหี่ยวหมดเลย เหลือแต่ดินเหนียว จึงเป็นที่ขำขันกันไปทั่ว ครูประจำชั้นท่านก็อายมากนะ แต่ไม่ดุเลยซักคำ แล้วคุณครูก็เอาท็อฟฟี่มาแจกคนละสองเม็ด แล้วพูดว่า ไปคิดกันเอาเองนะ ว่าทำไมครูถึงแจกท๊อฟฟี่” เหตุการณ์นี้ทำให้ ชั้นเรียนของอาจารย์อวยพร เป็นที่กล่าวขานไปทั่ว และมิวายที่งานไหว้ครูปีถัดมา ครูท่านเดิมยังทักอีกเสียด้วยว่า “ปีนี้ฉันคงไม่ต้องแจกท๊อฟฟี่อีกแล้วนะ” ความทรงจำปนรอยยิ้มนี้สะท้อนได้ถึงความประทับใจที่มีต่อเพื่อนๆ และครูประจำชั้น ที่เป็นประสบการณ์ให้อาจารย์อวยพร ใช้เป็นกรณีศึกษา ไว้สั่งสอนนักเรียนของท่านเรื่อยมา

ในขณะที่ความประทับใจของอาจารย์อัมรานั้น แตกต่างออกไปบ้าง เนื่องจากการเล่าเรียนของท่านมิได้ราบรื่นเหมือนคนอื่นนัก เพราะบิดาของท่านมีปัญหาด้านสุขภาพระหว่างทำการศึกษา จนกระทบกระเทือนต่อปัญหาทางการเงิน แต่ท่านก็ผ่านพ้นวิกฤตเหล่านั้นมาได้ด้วยความช่วยเหลือของอาจารย์หลายท่าน จนทำให้อาจารย์อัมราได้เข้าถึงความหมายของ “จิตวิญญาณแห่งความเป็นครู” ที่ปกป้องดูแลลูกศิษย์อย่างสุดหัวใจ โดยเฉพาะเมื่ออาจารย์อนงค์ สังขะวร ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ ทราบข่าวบิดาป่วย ก็พยายามหางานสร้างรายได้พิเศษมาให้ทำ และส่งเสริมให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น แต่ด้วยสภาพปัญหาครอบครัวในขณะนั้น ทำให้อาจารย์
อัมราจำต้องเข้าไปขออนุญาตที่จะไม่เรียนต่อในระดับ ปกศ.สูง ตามที่อาจารย์อนงค์ได้ฝากฝังไว้ ด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ อาจารย์อนงค์ได้มอบเงินจำนวน ๑,๐๐๐ บาท ซึ่งในสมัยนั้นถือเป็นเงินจำนวนมาก มาให้เป็นการใช้จ่ายในการไปศึกษาต่อ

มิเพียงเท่านั้น แม้จะพ้นจากภาระของการเป็นศิษย์-อาจารย์ในโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยาไปแล้ว แต่ดูเหมือนว่าหน้าที่ของการเป็นครูด้วยจิตวิญญาณนั้นมิได้สิ้นสุดลงเลย ซึ่งสะท้อนได้จากตอนที่ ท่านอาจารย์เฉลา วายวานนท์ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู ทราบข่าวการเสียชีวิตของบิดาอาจารย์อัมรา ที่ขณะนั้นไปศึกษาอยู่ในระดับปกศ.สูง ที่จังหวัดลพบุรีแล้ว แต่ท่านอาจารย์เฉลา ยังได้มีความอุตสาหะนั่งเรือไปเรียกหาที่ท่าน้ำหน้าบ้าน เพื่อสั่งให้อาจารย์อัมราไปรับเงินช่วยเหลือทุกเดือน จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา อาจารย์อัมราเล่าผ่านน้ำเสียงที่สั่นเครือ สะท้อนความตื้นตันใจ ในความเป็นครูด้วยจิตวิญญาณที่ผูกพัน ดูแลทุกข์-สุข และปรารถนาดีต่อลูกศิษย์อย่างเที่ยงแท้ แม้จะจบการศึกษาไปแล้วก็ตาม ด้วยเหตุนี้ตลอดระยะเวลาที่รับราชการ อาจารย์อัมราได้ปฏิบัติหน้าที่ครูด้วยจิตวิญญาณ เฉกเช่นที่เคยได้รับมา และแม้ภายหลังเกษียณราชการแล้ว อาจารย์ยังคงมีเมตตา และปรารถนาดีต่อศิษย์ไม่เสื่อมคลาย

ความปรารถนาของคุณครูที่อยากให้ศิษย์ได้ดี มีการศึกษาสูง ๆ ยังสอดคล้องตรงกับที่ อาจารย์อวยพร ได้จดจำคำพูดของครูอาจารย์ ที่เป็นผู้จุดประกายอนาคตแห่งการเป็นครูของท่านว่า “ถ้าเธออยู่แค่นี้ เธอจะไม่สามารถค้นพบตัวเธอเองหรอกนะ เธอต้องไปต่ออีกก้าวหนึ่ง อย่าเรียนแค่ ปกศ.ต้น ต้องพยายามไปต่อ ปกศ.สูงให้ได้ แล้วจะรู้ว่าเธอคือใคร” คำพูดเหล่านี้ ที่เป็นแรงผลักดันให้อาจารย์อวยพร สำเร็จการศึกษาระดับ ปกศ.สูง ออกมาเป็นอาจารย์ในโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสมดังปณิธาน

ทุกย่างก้าวยังกรุ่นด้วยความทรงจำ
การใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทั้งกิน-นอน และเล่นอยู่ในนั้น ทำให้ทุกย่างก้าวของบรรดาศิษย์เก่า ยังเต็มไปด้วยเรื่องเล่าและความทรงจำอันหลากหลาย แตกต่างกันไป ตามประสบการณ์ของแต่ละคน

สถานที่ต่างๆ ตั้งแต่อาคารเรียน เรือนนอน โรงอาหาร บ่อน้ำ สวน และแม้แต่ป่าหลังโรงเรียน ล้วนเต็มไปด้วยเรื่องราวในลักษณะที่เป็นตอนสั้นๆ ซ่อนอยู่มากมาย เช่น ความทรงจำของ อาจารย์เฉลียว เกี่ยวกับป่าข้างโรงเรียน ท่านเล่าว่า ท่านและเพื่อนๆ ใช้เวลาว่างไปนั่งเล่นกันในป่าข้างรั้ว บ้างนั่งอ่านหนังสือ แต่ส่วนใหญ่นั่งเล่น นั่งคุยกันเสียมาก อาจารย์เฉลียวเล่าเกี่ยวกับเรือนนอนต่อไปอีกว่า เมื่อก่อนเรือนนอนทั้งสองหลังมีระเบียงทางเดินอยู่ด้านหน้า นักเรียนที่ยังมีการบ้านคั่งค้าง หรือต้องการดูหนังสือต่อหลังจากครูเคาะระฆังดับไฟแล้ว ก็จะจุดตะเกียง ปูเสื่ออ่านหนังสือ ในบางคืนมีปรากฏการณ์ดาวหางมาให้ชมจากระเบียงเรือนนอนด้วย แต่ภายหลังทางโรงเรียนได้มีการกั้นฝาเรือนเพื่อเพิ่มพื้นที่เรือนนอน ทำให้ระเบียงทางเดินในความทรงจำได้หมดสิ้นไป

นอกจากความทรงจำเกี่ยวกับอาคารเรียนและหอพักแล้ว แม้แต่ต้นไม้ ต้นกล้วย ต้นมะละกอทั้งหลาย ที่สามารถออกผลให้สามารถแอบเด็ดมารับประทานได้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำด้วยเหมือนกัน

อาจารย์อวยพรเล่าว่า ท่านและเพื่อนๆ เคยพากันจับจองต้นกล้วยที่อยู่มุมหนึ่งของโรงเรียน เมื่อสบโอกาสในเวลากลางคืน ก็แอบปีนเก้าอี้เพื่อไปตัดเครือกล้วยลงมา แต่กลับพลาดท่าล้มลงกับพื้น เกิดเสียงดัง
พลัก จนครูเวรเปิดหน้าต่างออกมาทักเสียงหลงว่า “อะไรน่ะ …” ในขณะที่เหล่านักเรียนผู้ก่อการได้แต่ซุ่มเงียบกริบอยู่ในความมืด กลายเป็นวีรกรรมที่เล่าขานกันอย่างครื้นเครงมาจนถึงวันนี้

ภายหลังจากจบการศึกษา ทุกคนแยกย้ายกันไปประกอบอาชีพ โดยมีส่วนหนึ่งทำงานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และครั้งใดที่เพื่อนร่วมรุ่นได้เดินทางมาจากต่างจังหวัด ก็มักจะขอร้องให้อาจารย์อวยพร พาไปเกาะรั้วยืนดูสภาพปัจจุบันของโรงเรียนอยู่บ่อยๆ บางครั้งก็ขออนุญาตเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเข้าไปดูบริเวณรอบๆ เพื่อร่วมกันระลึกถึงอดีตที่น่าจดจำ ทั้งเรื่องราวของเพื่อนๆ ครู สถานที่ ตลอดจนวีรกรรมต่างๆ แต่สภาพปัจจุบัน ที่เคยเป็นโรงเรียนนั้น กลับแปรเปลี่ยนไปมาก จนท่าน และเพื่อนจำไม่ได้ว่าต้นไม้ที่เคยจองผลไม้เอาไว้อยู่ตรงไหนบ้าง

แม้สรรพสิ่งมีการผันเปลี่ยนไปอันเป็นกฎแห่งธรรมชาติ แม้ไม่มีระเบียงหอพักทอดยาวที่เคยนั่ง-นอนอ่านหนังสือและชมดาวหาง ไม่มีต้นไม้และป่าข้างรั้วโรงเรียน แต่ถึงกระนั้นเรื่องราวต่างๆ ก็มิได้ถูกพรากไปจากความทรงจำของศิษย์เก่าทั้งหลาย ยังคงตราตรึง และมีความสุขทุกครั้งที่คิดถึง และได้ถ่ายทอดเรื่องราว เหล่านั้น


รอยเท้าที่นับวันยิ่งจางหาย
เมื่อทุกย่างก้าวยังคุกรุ่นด้วยความทรงจำ ทว่าสิ่งที่สวนทางกันคือรอยเท้าเหล่านั้น นับวันยิ่งจางหายไปตามกาลเวลา เพราะอาคารไม้ซึ่งเคยเป็นเรือนนอนของโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูที่เหลืออยู่นั้น กำลังอยู่ในสภาพทรุดโทรม อันเนื่องมาจากอุทกภัยครั้งใหญ่ ในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ที่ได้สร้างความเสียหายไว้แสนสาหัส และยังต้องเผชิญกับศัตรูไม้ตัวฉกาจอย่างปลวก ที่กำลังช่วยกัน กัด กิน และกลืนอนุสรณ์สถานแห่งนี้อยู่ตลอดเวลา

ในปัจจุบัน อาคารหอ ๑ และหอ ๒ ถูกใช้เป็นสถานที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ประสงค์ใช้งานแล้ว ซึ่งหากต้องการรักษาอาคารไว้ ย่อมต้องใช้งบประมาณในการดูแลไม่น้อย เรือนไม้ที่ไม่ถูกใช้สอยนี้จึงอยู่ในแผนการณ์ที่จะรื้อ และทดแทนด้วยอาคารหอพักนักศึกษาหลังใหม่

แม้ดูเหมือนไม่มีปฏิกิริยาใดๆ จากศิษย์เก่า แต่เบื้องลึกแล้ว ข่าวคราวความเคลื่อนไหว รวมถึงแผนดำเนินการต่าง ๆ อันจะเกิดขึ้นเพื่อลบรอยอดีตของโรงเรียนสตรีฝีกหัดครูนั้น ล้วนอยู่ในกระแสการติดตามของเหล่าศิษย์เก่าเสมอมา

อาจารย์อวยพรเล่าถึงบรรยากาศในงานเลี้ยงรุ่นศิษย์เก่าของโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา ในปีที่จัดขึ้น ณ สถานที่เดิมของโรงเรียนว่า บรรดาศิษย์เก่ารุ่นต่าง ๆ ที่มางานเลี้ยงต่างสลดใจกับสภาพความเป็นไปของเรือนนอนที่ถูกปลวกกัดกินจนได้รับความเสียหาย พากันหารือถึงแนวทางที่จะรักษาเยียวยาเรือนนอนที่เหลืออยู่ให้คงอยู่ต่อไป บ้างก็มีความเห็นว่าควรรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ ตราสัญลักษณ์ ใบประกาศต่างๆ หรือแบบเรียนที่ได้เก็บรักษากันไว้ มาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนรุ่นหลังได้เข้าชม เพื่อรักษาคุณค่าของอาคาร อันเป็นการประวิงเวลาออกไป เพราะต่างไม่อยากให้ร่องรอยสุดท้ายของโรงเรียนถูกรื้อไปในช่วงชีวิตของพวกท่าน

ในขณะที่อาจารย์อัมรา แสดงความเห็นในประเด็นเดียวกันนี้ว่า “…เข้าใจเรื่องของการเกิด การเสื่อมเป็นเรื่องธรรมดา และเข้าใจว่าการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าเป็นเรื่องจำเป็น แต่มันน่าจะได้ปรับปรุงพัฒนาสถานที่นั้นให้สามารถใช้ได้คุ้มค่า ในขณะเดียวกันก็ยังอยู่เป็นความทรงจำของผู้ที่ผูกพันอยู่ด้วย อยากให้เป็นการพัฒนา ไม่ใช่เป็นการรื้อถอนทำลาย.. อยากให้ยื้อไว้เท่าที่จะทำได้ แต่ว่าถ้ามันเหลือบ่ากว่าแรง ก็จนใจ..”

เรื่องราวของโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยานี้ สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มอาคารเก่าๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ในหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ซึ่งดูเหมือนไม่มีคุณค่าสำหรับคนรุ่นปัจจุบันนั้น แท้จริงแล้ว คืออนุสรณ์สถานที่เปี่ยมด้วยความทรงจำ และความภาคภูมิของบรรดาผู้ที่ได้รับการประสิทธิ์ประสาทวิชา จากโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูแห่งนี้ และยังกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในประจักษ์พยานแห่งความสถาพรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาที่ยังเหลืออยู่


ที่มา: คลังจดหมายเหตุจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์ข้อมูลอยุธยาศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษา
ไฟล์แนป
006.png
006.png (699.09 KiB) เปิดดู 6691 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 16 มิ.ย. 2019 12:52 pm

แรกสยามมีโรงเรียนสำหรับสตรี
ในเรื่องการศึกษาของหญิงชาวสยาม แต่เดิมไม่นิยม ที่จะให้สตรีเล่าเรียนทางหนังสือ นอกจากจะเรียนรู้ในเรื่องของการบ้านการเรือนเท่านั้น จะมีสตรีที่เล่าเรียนความรู้ในด้านหนังสืออยู่บ้าง ก็เฉพาะสตรีชั้นสูงในรั้วในวังเท่านั้น จนกระทั่งมาถึงยุคสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังรัชกาลที่ ๔ จึงได้มีการยอมรับที่จะให้สตรีสามัญ สามารถเล่าเรียนทางหนังสือเกิดขึ้น

11009088_513028455502054_4384061372470823171_n.jpg
11009088_513028455502054_4384061372470823171_n.jpg (62.5 KiB) เปิดดู 6691 ครั้ง


ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๗ โรงเรียนสตรีแห่งแรกในประเทศสยามจึงเกิดขึ้น โดยคณะมิชชั่นนารีชาวอเมริกันได้ก่อตั้ง "โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง" ขึ้น ซึ่งต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ ก็คือ "โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย" ในปัจจุบัน

จากนั้นก็ได้เกิดโรงเรียนสำหรับสตรีขึ้นอีกหลายแห่ง ดังนี้

ปีพุทธศักราช ๒๔๒๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง "โรงเรียนสุนันทา" ขึ้นที่ปากคลองตลาด เพื่อเป็นอนุสาวรีย์แด่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ( พระนางเรือล่ม ) แต่ตั้งได้อยู่ไม่นานโรงเรียนประจำสำหรับสตรีแห่งแรกที่คนจัดตั้งขึ้น ก็มีอันต้องเลิกล้มไป

ปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "โรงเรียนเสาวภาผ่องศรี" ขึ้นจากพระนามเดิมของพระองค์ ตรงบริเวณที่เป็นวังของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ข้างโรงเรียนราชินี ปากคลองตลาดในเวลานี้ ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้ เป็นโรงเรียนไป-กลับ

ปีพุทธศักราช ๒๔๔๔ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม "โรงเรียนบำรุงสตรีวิชา" โรงเรียนสตรีของรัฐบาลแห่งแรกได้เปิดทำการสอน สถานที่ตั้งของโรงเรียนแห่งนี้ก็คือ บ้านเดิมของขุนหลวงพระยาไกรสีห์ (เปล่ง เวภาระ) ที่ตำบลบ้านหม้อ (โรงเรียนเสาวภาผ่องศรีในปัจจุบัน)

ปีพุทธศักราช ๒๔๔๘ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้โปรดฯให้ตั้งโรงเรียนสตรีขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ตรงบริเวณตึกมุมถนนอัษฎางค์ กับถนนจักรเพชร ตำบลปากคลองตลาด แล้วพระราชทานนามว่า"โรงเรียนราชินี"แต่ในเวลาต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่ข้างวังหน้า ข้างวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์ ตรงข้ามกับโรงพยาบาลทหารบกที่ถนนพระอาทิตย์ จนถึงปี พุทธศักราช ๒๔๔๙ จึงย้ายมาอยู่ที่ตึกสุนันทาลัย ปากคลองตลาด หรือในสถานที่ตั้งปัจจุบันนี้เอง

ส่วนโรงเรียนเสาวภา นั้นต่อมาได้ยับมารวมกับโรงเรียนบำรุงสตรีวิชา กลายมาเป็น "โรงเรียนเสาวภา" ในเวลาต่อมา

กว่าจะเป็นกระทรวงธรรมการ
ในขณะที่การศึกษาเริ่มขยายตัวออกไปนั้น กรมมหาดเล็กหลวง ยังมีหน้าที่ในการดูแลเรื่องการจัดการโรงเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นทั้งที่เป็นโรงเรียนสำหรับพลเรือน และของฝ่ายทหาร จึงทรงมีพระราชดำริว่า

"ถึงเวลาอันสมควรแล้ว ที่จะแยกการจัดการ โรงเรียนออกจากกรมมหาดเล็กจัดเป็นกรมหนึ่ง ในส่วนราชการ ฝ่ายพลเรือนขึ้นมาต่างหาก"
ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งกรมศึกษาธิการขึ้น แล้วโปรดฯให้โอนโรงเรียนทั้งปวงที่มีอยู่ในเวลานั้นมาขึ้นกับกรมศึกษาธิการ ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ,โรงเรียนสวนนันทอุทยาน,โรงเรียนกรมแผนที่ โดยมีที่ทำการของกรมศึกษาธิการตั้งอยู่ที่ตึกยาว ข้างประตูพิมานไชยศรีด้านตะวันออก

โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีประกาศตั้ง "กรมศึกษาธิการ" เป็นกรมอิสระขึ้น เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๓๐

ในเวลาต่อมาอีกสองปี คือปีพุทธศักราช ๒๔๓๒ ทรงโปรดเกล้าฯให้กรมศึกษาธิการไปรวมกับกรมอิสระอื่นๆ อาทิ กรมแผนที่,กรมพยาบาล และกรมพิพิธภัณฑ์ แล้วยกฐานขึ้นเป็น "กระทรวงธรรมการ"แต่ยังให้เรียกชื่อว่า "กรมธรรมการ" ไปก่อนและโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ทำหน้าที่เป็นอธิบดีบัญชากระทรวง

จนเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๓๕ จึงทรงโปรดเกล้าฯให้มีประกาศตั้ง "กรมธรรมการ" ขึ้นเป็น "กระทรวงธรรมการ" แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาภาสกรวงศ์ (เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ - พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ มาทำหน้าที่เป็นเสนาธิการกระทรวงธรรมการคนแรก

นับตั้งแต่นั้นมาระบบการศึกษาของประเทศ ก็ได้มีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงมาเรื่อย อย่างเช่น

การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง "โรงเรียนข้าราชการพลเรือน" ขึ้นมาเพื่อฝึกคนเข้ารับราชการตามกระทรวงต่างๆ ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ และต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย (ที่เป็นรูปแบบมหาวิทยาลัยทั่วไป แต่ถ้าหมายถึงสถานที่รวบรวมวิชาการทุกสาขาไว้ วัดโพธิ์ หรือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ได้ชื่อว่าเป็น มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย)

ปีพุทธศักราช ๒๔๖๔ ประกาศ "พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔" บังคับให้เด็กเข้าเกณฑ์เรียนหนังสือ ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ และอยู่ในโรงเรียนจนถึงอายุ ๑๔ ปีบริบูรณ์ โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน

ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง "สภาการศึกษา" ขึ้น

กระทรวงธรรมการ เปลี่ยนชื่อมาเป็น "กระทรวงศึกษาธิการ" ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ (ซึ่งเคยเปลี่ยนชื่อเป็น "กระทรวงศึกษาธิการ" ครั้งหนึ่งแล้ว และก่อนปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ ก็ได้กลับมาใช้ว่า "กระทรวงธรรมการ" ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกในครั้งนี้)

จัดตั้ง "กรมการฝึกหัดครู" ขึ้นในปี พุทธศักราช ๒๔๙๗

จัดตั้ง "ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ" ในปี พุทธศักราช ๒๔๗๑ ก่อนจะยุบรวมเข้ากับกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน ฯลฯ


ที่มา : นิตยสารสยามอารยะ,ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคใหม่ในสยาม
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 30 ก.ย. 2019 6:05 am

กรุงเทพฯ ตลาดน้ำขายส่งผลไม้ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๘
กทม1.jpg
กทม1.jpg (141.41 KiB) เปิดดู 6327 ครั้ง


กรุงเทพฯ ค่ายกักกันเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ท่าพระจันทร์ คลองบางกอกน้อย วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๙
กทม2.jpg
กทม2.jpg (84.2 KiB) เปิดดู 6327 ครั้ง


ปทุมธานี - กรุงเทพฯ ซุงไม้สักล่องแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๐
กทม3.jpg
กทม3.jpg (84.18 KiB) เปิดดู 6327 ครั้ง


ภาพ : Pendleton, Robert Larimore
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 30 ก.ย. 2019 6:15 am

กรุงเทพฯ ชุมชนริมคลองมีนบุรี (น่าจะเป็นตลาดคลองสามวา) เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๙๑
กทม4.jpg
กทม4.jpg (108.86 KiB) เปิดดู 6327 ครั้ง


กรุงเทพฯ ร้านขายส่งอ้อย ตลาดมหานาค คลองมหานาค วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๙
กทม5.jpg
กทม5.jpg (150.43 KiB) เปิดดู 6327 ครั้ง


กรุงเทพฯ เรือบรรทุกเครื่องปั้นดินเผา คลองบางกอกน้อย วันที่ ๘ กรกฎาคม ปี พ.ศ.๒๔๗๘
กทม6.jpg
กทม6.jpg (116.21 KiB) เปิดดู 6327 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 30 ก.ย. 2019 6:21 am

กรุงเทพฯ เรือขนส่งสินค้า คลองบางกอกใหญ่ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๘
bank1.jpg
bank1.jpg (114.05 KiB) เปิดดู 6327 ครั้ง


กรุงเทพฯ ตลาดหัวตะเข้ คลองประเวศ ลาดกระบัง เดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๘๑
bank2.jpg
bank2.jpg (135.61 KiB) เปิดดู 6327 ครั้ง


กรุงเทพฯ ชุมชนริมคลองบางกอกใหญ่ (แม่น้ำเจ้าพระยาเดิม) วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๘
ในคลองบางหลวงมีโรงสีข้าว ๓ หลัง มีตรงหน้าวัดกัลยาณ์ ข้างบ้านหลวงฤทธิ์ณรงค์รอน กับตรงข้ามวัดใต้ มีผู้ให้ข้อมูลว่าจุดนี้น่าจะเป็นทางที่มองออกไปปากคลองบางหลวง ซึ่งก็คือปล่องโรงสีวัดกัลยาณ์
bank4.jpg
bank4.jpg (64.34 KiB) เปิดดู 6327 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 30 ก.ย. 2019 6:28 am

กรุงเทพฯ แข่งเรือ ในคลองบางกอกน้อย วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๘
bank3.jpg
bank3.jpg (119.03 KiB) เปิดดู 6100 ครั้ง


กรุงเทพฯ เรือบรรทุกมะพร้าว คลองภาษีเจริญ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙
bank5.jpg
bank5.jpg (116.99 KiB) เปิดดู 6100 ครั้ง


ปทุมธานี คนงานกำลังขนข้าวลงเรือ เพื่อนำไปส่งที่โรงสี รังสิต เดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๗๘
bank6.jpg
bank6.jpg (98.45 KiB) เปิดดู 6100 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 30 ก.ย. 2019 6:37 am

กรุงเทพฯ เรือนแพ คลองบางกอกน้อย วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๘
bank7.jpg
bank7.jpg (134.26 KiB) เปิดดู 6100 ครั้ง


กรุงเทพฯ คนงานขนข้าวที่โรงสี คลองบางกอกใหญ่ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๘
bank8.jpg
bank8.jpg (95.49 KiB) เปิดดู 6100 ครั้ง


กรุงเทพฯ ชาวนากำลังนวดข้าว โดยใช้ควาย คลองแสนแสบ มีนบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๐
bank9.jpg
bank9.jpg (158.2 KiB) เปิดดู 6100 ครั้ง


ภาพ : Pendleton, Robert Larimore
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 30 ก.ย. 2019 6:42 am

กรุงเทพฯ ชุมชนริมคลองแสนแสบ บางกะปิ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๐
bank10.jpg
bank10.jpg (121.88 KiB) เปิดดู 5513 ครั้ง


กรุงเทพฯ ชายตกปลา คลองแสนแสบ บางกะปิ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๐
bank11.jpg
bank11.jpg (114.05 KiB) เปิดดู 5513 ครั้ง


กรุงเทพฯ ตลาดชุมชน หน้าวัดนรนาถ น่าจะเป็นชาวสวนทุเรียนบางขุนนนท์นำทุเรียนมาขาย เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๑
bank12.jpg
bank12.jpg (159.02 KiB) เปิดดู 5513 ครั้ง


ภาพ : Pendleton, Robert Larimore
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: จากอดีตสู่ความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 30 ก.ย. 2019 6:50 am

กรุงเทพฯ ท่าน้ำ วัดวัดหงส์รัตนาราม ริมคลองบางกอกใหญ่ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๘
bank13.jpg
bank13.jpg (164.52 KiB) เปิดดู 5513 ครั้ง


กรุงเทพฯ เรือบรรทุกข้าว คลองเตย วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๐
bank14.jpg
bank14.jpg (143.87 KiB) เปิดดู 5513 ครั้ง


กรุงเทพฯ คลองสาทร และถนนสาทร วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๙
bank15.jpg
bank15.jpg (178.2 KiB) เปิดดู 5513 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 63 ท่าน

cron