หน้า 4 จากทั้งหมด 5

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์เมื่อ: จันทร์ 02 ก.ย. 2019 9:22 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ภาพเจดีย์และพระประธานวัดอาทิต้นแก้ว เมืองเชียงแสน
5633.jpg
5633.jpg (104.11 KiB) เปิดดู 6337 ครั้ง

รูปแบบศิลปกรรมของเจดีย์องค์นี้เป็นการสร้างทับซ้อนกัน เจดีย์องค์ในเป็นเจดีย์เหลี่ยมยอดระฆังตี่มีอายุไม่เกินไปกว่าพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ส่วนเจดีย์องค์นอกเป็นเจดีย์ทรงกลมที่มีฐานบัวลูกแก้วอกไก่ในฝังแปดเหลี่ยมซ้อนกันสามชั้นรองรับองค์ระฆัง สถาปัตยกรรมรูปแบบนี้เป็นที่นิยมในรัชสมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ ๑๑ แห่งราชวงค์มังราย พระองค์ทรงครองเมืองเชียงใหม่

อายุของเจดีย์องค์นอกสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ วัดอาทิต้นแก้วเป็นโบราณสถานขึ้นทะเบียน ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗ ตอนที่๑๐ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๓


ส่งสการล้านนา (งานศพ)
งานศพ.jpg
งานศพ.jpg (43.48 KiB) เปิดดู 6546 ครั้ง

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์เมื่อ: พุธ 30 ต.ค. 2019 2:43 pm
โดย admin
วัดกู่เต้า จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๗
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
16995.jpg
16995.jpg (23.28 KiB) เปิดดู 6457 ครั้ง


ซอยยาสูบ(ยาขื่น)
16998.jpg
16998.jpg (35.46 KiB) เปิดดู 6457 ครั้ง

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์เมื่อ: พุธ 30 ต.ค. 2019 2:44 pm
โดย admin
เจดีย์ขาว ด้านหน้าเยื้องๆเทศบาลนครเชียงใหม่
FB_IMG_1566294617006.jpg
FB_IMG_1566294617006.jpg (32.72 KiB) เปิดดู 6413 ครั้ง


FB_IMG_1566294620602.jpg
FB_IMG_1566294620602.jpg (47.79 KiB) เปิดดู 6413 ครั้ง


FB_IMG_1566294635771.jpg
FB_IMG_1566294635771.jpg (13.84 KiB) เปิดดู 6413 ครั้ง

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 23 พ.ย. 2019 7:05 am
โดย admin
“ขุนกัน ชนะนนท์” กับถนนโค้งสุดท้ายสู่พระธาตุดอยสุเทพวันนี้ บริเวณถนนโค้งสุดท้ายที่จะขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ มีป้ายขนาดใหญ่เขียนว่า “โค้งขุนกันชนะนนท์” ใครกันคือขุนกัน ชนะนนท์ เหตุใดจึงตั้งชื่อโค้งถนนตามชื่อของท่าน
32425.jpg
32425.jpg (69.62 KiB) เปิดดู 6354 ครั้ง


ย้อนกลับไปเมื่อครั้งพ.ศ. ๒๔๗๗ ท่านครูบาศรีวิชัยได้นำราษฎรผู้มีจิตศรัทธาหลายหมื่นคนมาร่วมสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ การก่อสร้างดำเนินมาจนถึงเส้นทางช่วงสุดท้ายก่อนจะถึงหัวบันไดนาคประมาณ ๑ กิโลเมตร ซึ่งบริเวณนี้เป็นภูเขาหินสูงชัน คณะสำรวจได้มีความเห็นว่าควรจะตัดถนนอ้อมไปทางม่อนสนที่ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับดอยสุเทพ (บ้านนิมมานนรดีปัจจุบัน) แต่ครูบาเถิ้มเห็นสมควรที่จะตัดตรงไปบรรจบทางเดินเท้าเก่าที่มีอยู่เดิม ซึ่งครูบาศรีวิชัยก็เห็นด้วยกับคำแนะนำนี้ แต่ด้วยบริเวณนี้เป็นภูเขาหินสูงชัน การตัดถนนตรงขึ้นดอยจึงยากลำบากมาก อีกทั้งผู้ร่วมสร้างทางทุกคนต่างเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า

“ขุนกัน” คหบดีชาวไทใหญ่ผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาและต่อครูบาศรีวิชัย จึงอาสาสร้างถนนช่วงโค้งหักศอกนี้ ซึ่งท่านมีประสบการณ์ในการสร้างทางลากขอนไม้ซุงที่ อ.พร้าวมาก่อนหน้านี้แล้ว ขุนกันได้ระดมกำลังคนของท่านมาสร้างถนนเต็มกำลัง อีกทั้งยังใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวของท่านในการสร้างอีกด้วย ถนนโค้งสุดท้ายสู่พระธาตุดอยสุเทพจึงสำเร็จลงได้ในที่สุด ท่านครูบาศรีวิชัย จึงตั้งชื่อโค้งนี้ว่า “โค้งขุนกัน” เพื่อเป็นที่ระลึกถึง “ขุนกัน” ผู้เป็นกำลังสำคัญในการโค้งสุดท้ายที่แสนยากลำบากนี้

“ขุนกันชนะนนท์” เดิมชื่อ “ส่างกันนะ” เป็นชาวไทใหญ่ ถือกำเนิดที่บ้านหมอกใหม่ รัฐฉาน ต่อมาบิดามารดาของท่านได้อพยพมาตั้งบ้านที่ จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อท่านเติบโตเป็นหนุ่มได้ทำการค้าขายผ้าไหม-ยา โดยซื้อจากพม่าและแม่ฮ่องสอนแล้วนำมาขายต่อที่เชียงใหม่

การเดินทางไปมาเชียงใหม่อยู่บ่อยครั้งนี่เอง ท่านจึงได้พบกับ “แม่วันดี” บุตรีของพญานาวา จนได้สมรสครองเรือนกันในที่สุด และมีบุตรธิดาสืบต่อมาเป็นตระกูล “ชนะนนท์” ตามชื่อของท่าน (พญานาวาได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าชีวิตอ้าว “เจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์” ให้เป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนเรือของท่าน ทั้งยังได้แต่งตั้งให้เป็นแก่บ้านดูแลบ้านสันทรายหลวง บ้านวังสิงห์คำ บ้านป่าตัน บ้านเมืองลัง บ้านเชียงยืน ราวปี พ.ศ. ๒๔๔๔ )

ภาพถ่ายของพ่อขุนกันแทบทุกภาพ จะเห็นท่านเคียนหัวแบบชาวไทใหญ่เสมอ จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในรัฐสมัย “ตามผู้นำชาติพ้นภัย” พ่อขุนกันผู้มีวิสัยทัศน์ไกล จึงยินดีที่จะตัดมวยผมทิ้งแล้วเปลี่ยนมาสวมหมวกกะโล่แทนการเคียนหัว เพื่อให้สอดคล้องต่อความเปลี่ยนแปลงของประเทศชาติบ้านเมืองตามยุคสมัย ซึ่งท่านยอมรับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างเข้าใจด้วยชีวิตนั้นได้ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเนิ่นนาน

ที่มา : เรียบเรียงจากหนังสือ “โค้งขุนกัน ต้นตระกูลชนะนนท์” โดย ทองอินทร์ ชนะนนท์, ศิรินวล จีระมณีมัย, คำจันทร์ ชนะนนท์ • ภาพถ่าย จากหนังสือ “โค้งขุนกัน ต้นตระกูลชนะนนท์”

32424.jpg
32424.jpg (41.53 KiB) เปิดดู 6354 ครั้ง

พ่อขุนกัน และแม่วันดี ชนะนนท์ ถ่ายรูปกับเชี่ยนหมากเงินและหีบบุหรี่เงิน ที่พระราชชายาดารารัศมีประทานมาให้ ภายหลังลูกหลานได้มอบของทั้งสองชิ้นกลับคืนไปยังพิพิธภัณฑ์พระราชชายาเจ้าดารารัศมี อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 01 มี.ค. 2020 12:28 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ที่ทำการบริษัทบอร์เนียว กิจการสัมปทานไม้แห่งแรกของสยาม ซึ่งมีนายหลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์ ลูกชายของแอนนา ลีโอโนเวนส์ หรือแหม่มแอนนา พระอาจารย์สอนภาษาอังกฤษของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้จัดการคนแรก
137_pillars_house_3.jpg
137_pillars_house_3.jpg (196.01 KiB) เปิดดู 6133 ครั้ง

ปัจจุบันกลายเป็น 137 Pillars Houseโรงแรมย่านวัดเกตการาม จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความพิเศษหลายประการ

ความพิเศษประการสำคัญ คือการบูรณะบ้านบอร์เนียวที่ก่อสร้างด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลล้านนา ซึ่งเคยถูกใช้เป็นอาคารสำนักงานเมื่อกว่า ๑๓๐ ปีก่อน

บ้านบอร์เนียวที่เคยทรุดโทรมตามกาลเวลา ทุกวันนี้กลับมามีชีวิตเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงประวัติศาสตร์ของบ้านและพื้นที่ เลานจ์ ฟิตเนส และห้องอาหารระดับหรูของโรงแรม โดยยังคงเก็บคุณค่าและร่องรอยทางประวัติศาสตร์เอาไว้อย่างครบถ้วน จนได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
137_pillars_house_27.jpg
137_pillars_house_27.jpg (241.22 KiB) เปิดดู 6133 ครั้ง


ภาพและข้อมูล : readthecloud

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 01 มี.ค. 2020 12:33 pm
โดย น้ำฝน ทะกลกิจ
ประวัติศาสตร์ดินแดนล้านนา
137-pillars-38.jpg
137-pillars-38.jpg (48.63 KiB) เปิดดู 6133 ครั้ง

จุดเริ่มต้นของ 137 Pillars House มาจากความสนใจในวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เชียงใหม่ของคุณนิพันธ์ วงศ์พันเลิศ เจ้าของกังวาลเท็กซ์ไทล์ อุตสาหกรรมด้ายอันดับ ๑ ของไทย ทำให้ต้องการหาเรือนแถวเรียบง่ายไว้พักอาศัยเป็นบ้านตากอากาศที่เมืองเหนือ จนได้มาพบกับที่ดินร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ในซอยวัดเกตผืนนี้
137-pillars-37.jpg
137-pillars-37.jpg (201.7 KiB) เปิดดู 6133 ครั้ง

สิ่งที่ติดมากับที่ดินคือบ้านไม้สักเก่าสีดำซึ่งซ่อนตัวอยู่ในหมู่ต้นไม้ เมื่อสืบค้นอย่างละเอียด ปรากฏว่าบ้านหลังนี้ชื่อบ้านบอร์เนียว มีประวัติศาสตร์คู่เมืองเชียงใหม่มายาวนานนับร้อยปี
137-pillars-35.jpg
137-pillars-35.jpg (227.92 KiB) เปิดดู 6133 ครั้ง

บ้านหลังนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๒ ในสมัยดินแดนล้านนาหรือจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน ยังเป็นหัวเมืองประเทศราชของสยาม เพื่อเป็นสำนักงานทำการของบริษัทบอร์เนียว ซึ่งมาทำกิจการสัมปทานไม้สักที่ภาคเหนือของประเทศไทย
ภาพและข้อมูล : readthecloud

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์เมื่อ: อังคาร 17 พ.ย. 2020 11:30 am
โดย บ้านเพียงพอ
ถนนสายลำปาง - เชียงราย ถ่ายเมื่อปีค.ศ.๑๙๒๐ (พ.ศ.๒๔๖๓)
Image Source: Changton Natee, Thailand
94129.jpg
94129.jpg (35.32 KiB) เปิดดู 4836 ครั้ง

ขบวนโกศบรรจุพระศพพระราชชายาเจ้าดารารัศมีไปยังพระเมรุที่วัดสวนดอก เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖
Lanna (1).jpg
Lanna (1).jpg (120.25 KiB) เปิดดู 4689 ครั้ง

พระองค์ท่านสิ้นพระชนม์ในจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๖
ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ
#พระราชทานพระโกศกุดั่นน้อยชั้นรอง ๒ ชั้น
#เครื่องสูง ๑ สำรับ
#พระกลดขาวลายทอง
#เสลี่ยงแว่นฟ้าผ้าไตร ๒๐ ไตร
#มีประโคมเวลาสรงพระศพและประจำ
คือ กลองชนะแดง ๒๐ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ แตนงอน ๒ แตรฝรั่ง ๒ สังข์ ๑
#พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมรับพระราชทานฉันอาหารภัตร เช้า ๗ รูป เพล ๔ รูป มีกำหนด ๑๕ วัน
#โปรดเกล้าฯให้ข้าราชบริพารไว้ทุกข์ถวายมีกำหนด ๗ วัน เป็นพระเกียรติยศ

วัดสวนดอก เมื่อ ๙๐ ปีก่อน ภาพก่อนบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕
Lanna (31).jpg
Lanna (31).jpg (82.75 KiB) เปิดดู 4689 ครั้ง

เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือที่สมัยก่อนเรียกว่า เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ อยู่ทางด้านขวาสุดของภาพ
เจดีย์ทรงดอกบัวตูมจะเป็นสัญลักษณ์ของรัฐสุโขทัย แต่สาเหตุที่มาสร้างยังวัดสวนดอกนั้น สันนิษฐานตามชินกาลมาลีปกรณ์ พญากือนา ได้อัญเชิญพระสุมนเถระมาจากสุโขทัยถึงเมืองเชียงใหม่ และ โปรดให้แปลงพระราชอุทยานของพระองค์เป็นวัดปุบผารามมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ.๑๙๑๕ (จุลศักราช๗๓๓) (ฉบับพิมพ์ปี ๒๕๔๐ : หน้า ๒๙๒ , ๓๐๐)
ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 13 ธ.ค. 2020 7:54 pm
โดย admin
เจดีย์วัดหนองหล่ม ในซอยถนนช้างม่อยเก่าจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๓
ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย
Lanna (16).jpg
Lanna (16).jpg (72.45 KiB) เปิดดู 4687 ครั้ง

วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๘๖
Lanna (29).jpg
Lanna (29).jpg (40.15 KiB) เปิดดู 4687 ครั้ง

นายพลอาเคโตะ นากามูระ ผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พร้อมผู้ติดตามทั้งทหารไทยและญี่ปุ่นเข้าเยี่ยมชมวัด จากหนังสือ...ผู้บัญชาการชาวพุทธ บันทึกผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งผู้เขียนก็คือนายพลอาเคโตะ นากามูระ
ที่มา : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
ฟ้อนรับเสด็จที่สนามบิน จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๗ จากหนังสือ "ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจประเทศไทย"
Lanna (24).jpg
Lanna (24).jpg (52.43 KiB) เปิดดู 4687 ครั้ง

ข้อมูลประกอบภาพในหนังสือมีดังนี้คือ..."ชาวเชียงใหม่ยังคงรักษาแบบฉบับการแต่งกายประจำภาคและงานเทศกาลประจำปีไว้อย่างสม่ำเสมอ จึงมีนักทัศนาจรชาวต่างประเทศและชาวไทยไปเที่ยวเสมอๆปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงใช้เป็นที่แปรพระราชฐานรับแขกเมืองบ่อยครั้ง ดังภาพ ทรงพาสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม ไปเยี่ยมเชียงใหม่"
ที่มา : ภาพเก่าเล่าเรื่อง

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 13 ธ.ค. 2020 8:02 pm
โดย admin
น้ำท่วมครั้งใหญ่ วัดศรีโคมคำ หรือวัดพระเจ้าตนหลวงเมืองพะเยา ปี พ.ศ.๒๔๙๕
Lanna (18).jpg
Lanna (18).jpg (31.94 KiB) เปิดดู 4803 ครั้ง

ฟ้อนเล็บบริเวณถนนสายต้นยางสารภี งานสมโภชเชียงใหม่ ๗๒๐ ปี เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๙ จัดโดยเทศบาลนครเชียงใหม่
Lanna (17).jpg
Lanna (17).jpg (101.48 KiB) เปิดดู 4803 ครั้ง

“ถนนสายต้นยางนา” เส้นทางเชียงใหม่-ลำพูนสายเก่าในอดีต
Lanna (6).jpg
Lanna (6).jpg (119.2 KiB) เปิดดู 4803 ครั้ง

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 13 ธ.ค. 2020 8:08 pm
โดย admin
ภาพถ่ายรถขายปลาหมึกบดหน้าประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ สมัย ปี พ.ศ.๒๕๒๐
Lanna (14).jpg
Lanna (14).jpg (76.33 KiB) เปิดดู 4803 ครั้ง

อ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๑๗
Lanna (13).jpg
Lanna (13).jpg (29.33 KiB) เปิดดู 4803 ครั้ง

สองหนุ่มขับมอเตอร์ไซค์ผ่านผ่านเจดีย์ขาวหรือเจดีย์กิ่ว จังหวัดเชียงใหม่ ราวๆพ.ศ.๒๕๑๐
Lanna (12).jpg
Lanna (12).jpg (20.82 KiB) เปิดดู 4803 ครั้ง

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 13 ธ.ค. 2020 8:12 pm
โดย admin
นักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัด แอ่วน้ำตกแม่กลาง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๘๒
จากหนังสือ "สมุดภาพเที่ยวที่ต่างๆ"ของ ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์
Lanna (3).jpg
Lanna (3).jpg (49.91 KiB) เปิดดู 4275 ครั้ง

ซอยยาขื่น
ภาพ : ดำรงเกียรติ แข่งขัน
Lanna (2).jpg
Lanna (2).jpg (49.86 KiB) เปิดดู 4275 ครั้ง

บวชลูกแก้ว บ้านคะปวง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑
Lanna (25).jpg
Lanna (25).jpg (581.82 KiB) เปิดดู 4275 ครั้ง

ถ่ายโดย ดร.ชาร์ลส เอฟ ไคส์ นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับทุนฟูลไบรท์มาเป็นอาจารย์แลกเปลี่ยนที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๐๖-๒๕๑๑

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 13 ธ.ค. 2020 8:18 pm
โดย admin
บวชลูกแก้ว บ้านคะปวง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑
Lanna (26).jpg
Lanna (26).jpg (582.84 KiB) เปิดดู 4275 ครั้ง

ถ่ายโดย ดร.ชาร์ลส เอฟ ไคส์ นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับทุนฟูลไบรท์มาเป็นอาจารย์แลกเปลี่ยนที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๐๖-๒๕๑๑
Lanna (27).jpg
Lanna (27).jpg (485.22 KiB) เปิดดู 4275 ครั้ง

Lanna (28).jpg
Lanna (28).jpg (752.56 KiB) เปิดดู 4275 ครั้ง